รู้จัก ‘นาฬิกาชีวิต’ กับกิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 16 เม.ย. 2020
  • ชวนมารู้จักกับ ‘นาฬิกาชีวิต’ (Body Clock / Biological clock) 😄🕐
    วงจรของระบบการทำงานในร่างกาย ที่สัมพันธ์กับกิจวัตรประจำวันของเรา
    มาดูกันค่ะว่า นาฬิกาชีวิต คืออะไรกันแน่? สำคัญต่อ สุขภาพ ยังไง?
    และเราควรทำอะไรในช่วงเวลาไหนของวันจึงจะดีต่อร่างกาย
    🔰 รายละเอียดเพิ่มเติม www.chillpainai.com/scoop/11711/
    ⏰ 01.00 - 03.00 น. ช่วงเวลาของตับ
    อวัยวะที่ทำหน้าที่ขับสารพิษและสะสมอาหารสำรองให้กับร่างกาย ผลิตอินซูลิน ตลอดจนผลิตน้ำดีเพื่อเก็บไว้ย่อยไขมัน ซึ่งตับจะทำงานตอนที่เราหลับ ฉะนั้นถ้าถึงช่วงนี้แล้วเรายังไม่นอน จะส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ ทำให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยลง อาจทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน หรือโรคหัวใจ ฯลฯ
    ⏰ 03.00 - 05.00 น. ช่วงเวลาของปอด
    เราควรตื่นนอนในช่วงนี้เป็นประจำค่ะ เพื่อช่วยให้ปอดทำหน้าที่ขับของเสียออกจากร่างกายได้ดี อีกทั้งยังส่งผลทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งอีกด้วย โดยเฉพาะคนที่เป็นภูมิแพ้ หอบหืด ไซนัส หรือโรคทางเดินหายใจ ควรตื่นแต่เช้าตรู่มาสูดอากาศบริสุทธิ์ ปอดจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจ้า
    ⏰ 05.00 - 07.00 น. ช่วงเวลาของสำไส้ใหญ่
    เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการขับถ่ายในทุกๆ วัน โดยเราสามารถกระตุ้นลำไส้ใหญ่ให้ทำงานได้ดีด้วยวิธีง่ายๆ คือ การดื่มน้ำ 1-2 แก้ว หลังจากตื่นนอน และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อให้ลำไส้ใหญ่ได้ขยับตัว ช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น ส่งผลให้ผิวพรรณสดใสขึ้น และยังลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคริดสีดวงทวารด้วยค่ะ
    ⏰ 07.00 - 09.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะอาหาร
    เริ่มเช้าวันใหม่กันด้วยมื้อเช้าที่ดี เพิ่มพลังงานให้ร่างกายกันค่ะ อย่างที่ได้ยินมาเสมอว่า อาหารเช้าเป็นมื้อสำคัญที่สุด เพราะกระเพาะทำหน้าที่ย่อยอาหารได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ ร่างกายเราจึงดูดซึมสารอาหารต่างๆ ไปใช้ได้ดี และยังช่วยให้กระเพาะอาหารแข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกระเพาะด้วยนะคะ ส่วนอาหารที่ควรเลือกทานในช่วงเช้า ก็จะเป็นอาหารประเภทโปรตีนเป็นหลักเลยค่ะ
    ⏰ 09.00 - 11.00 น. ช่วงเวลาของม้ามและตับอ่อน
    ช่วงเวลาที่ม้ามและตับอ่อน จะเริ่มทำงานเต็มที่ ในช่วงนี้เพราะส่วนต่างๆ จะตื่นตัวสุดหลังจากเริ่มวันใหม่ ตับอ่อนจะนำสารอาหารที่ได้ ส่งไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนม้ามจะคอยดักจับเชื้อโรค สร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ฉะนั้นในช่วงนี้เราควรตื่นนอน ลุกจากเตียงนะคะ เพราะถ้าใครยังขี้เซานอนต่อ อาจจะอาจส่งผลเสียต่อม้ามและตับอ่อน ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรงได้ค่ะ
    ⏰11.00 - 13.00 น. ช่วงเวลาของหัวใจ
    ในช่วงเวลานี้หัวใจจะทำงานหนักเป็นพิเศษ เพราะต้องสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ทำให้ความดันเลือดจะสูงขึ้นกว่าปกติ จึงเป็นช่วงเวลาที่เราควรหลีกเลี่ยงเรื่องเครียดๆ หรือเรื่องที่ทำให้ตื่นเต้นตกใจ และหาอะไรที่ผ่อนคลายทำบ้าง เพื่อรักษาความสมดุลในการทำงานของหัวใจ
    ⏰ 13.00 - 15.00 น. ช่วงเวลาของลำไส้เล็ก
    มาถึงช่วงเวลาที่ควรงดทานอาหารกันแล้วจ้า เพราะช่วงนี้เป็นเวลาที่ลำไส้เล็กทำหน้าที่ดูดซึมอาหารที่เป็นน้ำ เพื่อนำไปสร้างกรดอะมิโนเพื่อใช้ในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ทำให้ไม่ควรทานอะไรในช่วงนี้ ลำไส้เล็กจะได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพค่ะ
    ⏰ 15.00 - 17.00 น. ช่วงเวลาของกระเพาะปัสสาวะ
    ช่วงเวลานี้เป็นช่วงที่เหมาะกับการออกกำลังกายมากๆ ค่ะ เพราะร่างกายจะได้ขับของเสียออกมาผ่านทางเหงื่อ ซึ่งถ้าอยากให้กระเพาะปัสสาวะทำงานได้ดีขึ้นอีก ให้เราดื่มน้ำเยอะๆ และไม่ควรอั้นปัสสาวะ เพื่อช่วยให้การขับของเสียจากร่างกายได้เร็วขึ้น
    ⏰ 17.00 - 19.00 น. ช่วงเวลาของไต
    หลังจากที่เราได้ขับถ่ายของเสียและเผาผลาญโปรตีนมาทั้งวัน ทำให้ไตทำงานหนักมาตลอด ช่วงเวลานี้ตัวเราจึงควรพักด้วยค่ะ ไม่ควรทำงานหนัก แต่ก็ต้องทำตัวให้สดชื่น ไม่ง่วงหงาวหาวนอนเช่นกัน เพราะมิฉะนั้น ไตอาจอ่อนแอและเสื่อมได้
    ⏰ 19.00-21.00 น. ช่วงเวลาของเยื่อหุ้มหัวใจ
    ถึงเวลาผ่อนคลายจิตใจกันบ้างค่ะ ช่วงนี้ควรเลือกทำกิจกรรมเบาๆ เพื่อให้หัวใจทำงานน้อยลง ไม่ว่าจะเป็นนั่งสมาธิหรือ ดูหนัง ฟังเพลงแบบสบายๆ ร่างกายจะได้เตรียมปรับโหมดสู่การเข้านอนที่มีประสิทธิภาพ ในทางกลับกันถ้าไม่พักผ่อนในช่วงนี้จะทำให้เลือดข้น กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก ส่งผลให้หัวใจโต โดยเฉพาะคนที่ชอบทำงานตอนดึกๆ หรือเที่ยวกลางคืน
    ⏰ 21.00-23.00 น. ช่วงเวลาที่ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่น
    เป็นช่วงเวลาที่เหมาะที่สุดในการเข้านอน เพราะช่วงนี้เราควรพักผ่อน ทำให้ร่างกายอบอุ่น ไม่ร้อน ไม่หนาวไป ฉะนั้นไม่ควรอาบน้ำเย็น หรือออกไปเดินเล่นนอกบ้านในช่วงนี้ ซึ่งถ้าใครหลับยากลองดื่มนมอุ่นๆ สักแก้วก่อนนอน จะช่วยให้หลับง่ายและสบายขึ้นค่ะ สำหรับผลเสียของการไม่พักผ่อนในช่วงนี้ ก็คือจะทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายมากขึ้น อาจจะให้เกิดอาการเลือดจางตามมาได้
    ⏰23.00 - 01.00 น. ช่วงเวลาของถุงน้ำดี
    เป็นช่วงเวลาที่ต้องพักผ่อนเช่นกันค่ะ และควรจิบน้ำก่อนนอนด้วย เพื่อช่วยให้ถุงน้ำดี อวัยวะที่มีหน้าที่ย่อยไขมัน ไม่ต้องทำงานหนักจนเกินไป มีน้ำเก็บเอาไว้หล่อเลี้ยงร่างกายในเวลาที่หลับใหล และเป็นการเจือจางไม่ให้น้ำดีข้นจนเกินไป เพราะจะทำให้ไขมันตกตะกอนในตัวเรา อาจมีผลเสียต่างๆ ตามมา เช่น ตื่นกลางดึก อารมณ์ฉุนเฉียวง่าย ลงพุง มีถุงไขมันใต้ตา หรือขาดวิตามินเอ ดี อี เค ซึ่งเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน
    #นาฬิกาชีวิต #สุขภาพ #นาฬิกา
    ติดตาม " ชิลไปไหน " ผ่านช่องทางต่างๆ ได้ที่
    📌Website : www.chillpainai.com/
    📌 IG : chillpainai
    📌 Twitter : chillpainai
    📌Facebook : / chillpainai
    🔰ดูวอเชอร์ที่พักทั่วไทยได้ที่นี่ bit.ly/ChillMarketFB

ความคิดเห็น • 14

  • @neverdieluckytime2985
    @neverdieluckytime2985 4 ปีที่แล้ว +2

    ดีเลยครับ ได้รู้ ว่าเราควรรักษาสุขภาพยังไง
    ดีมากเลยครับขอบคุณ

  • @hializ
    @hializ 3 ปีที่แล้ว +15

    ข้อมูลหลายอย่างไม่ถูกต้องนะคะ เช่น ตับไม่ได้สร้าง insulin เป็นตับอ่อนต่างหาก
    กระเพาะอาหาร ย่อยแค่โปรตีน และไม่ได้ดูดซึมอาหารเป็นหลัก ดูดซึมแค่แอลกอฮอล์และยาบางชนิด และ
    ตับอ่อนไม่ได้เป็นอวัยวะที่นำสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย แต่ผลิตน้ำย่อยและฮอร์โมนบางชนิด
    ลำไส้เล็กไม่ได้ดูดซึมน้ำเพื่อนำไปสร้างเป็นกรดอะมิโน ควรตรวจสอบข้อมูลก่อนทำคลิปนะคะ อาจสร้างความเข้าใจผิดได้หลายประเด็น

    • @weerayutkophon9117
      @weerayutkophon9117 ปีที่แล้ว

      ข้อมูลมาจากไหนครับ

    • @hializ
      @hializ ปีที่แล้ว

      @@weerayutkophon9117 หนังสือเรียน สรีรวิทยา เล่ม 1,2,3 ค่า

    • @weerayutkophon9117
      @weerayutkophon9117 ปีที่แล้ว

      @@hializขอบคุณครับ

  • @viewqueen
    @viewqueen 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณนะคะ😀

  • @user-iv4bw9vi9s
    @user-iv4bw9vi9s 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณคะ

  • @user-hm8rw8mx9z
    @user-hm8rw8mx9z 8 หลายเดือนก่อน

    ดีมากครับ

  • @SuperNaiyan
    @SuperNaiyan 3 ปีที่แล้ว +10

    คนทำงานกะดึกอย่างผมมันต้องปรับตัวและต้องใช้ชีวิตอีกรูปแบบหนึ่งครับ ทานอาหารก่อนเข้างานทานแค่พออิ่ม โยเกิร์ตสักแก้วไม่มีน้ำตาล ห้ามทานหวานในเวลากลางคืนเพราะจะทำให้เราง่วงได้ ก่อนจะออกจากงานสักชั่วโมง ทานอาหารหลัก ๆ ได้เลย ข้าว แป้ง น้ำตาล ได้เลย ตอนกลับบ้านให้ใส่แว่นตาดำกันไม่ให้แสงกระทบตาเรา เพราะแสงจะทำให้สมองส่วนกลางเราตื่นตัวขึ้นเป็นสาเหตุนอนหลับไม่เต็มที่ในเวลากลางวัน พอถึงบ้านเข้าทำกิจกรรมที่บ้านก่อนอย่างน้อย 30 นาที เช่น ซักผ้า รีดผ้า เข้าห้องนอนก็ปิดผ้าม่านประเภท Blackout ทึบแสง 100 เปอร์เซ็นต์ หาผ้าอะไรปิดตาก่อนที่จะนอนหลับ เพียงเท่านี้ก็สามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตในเวลากลางดึนได้แล้ว กะเช้า กะบ่าย กะดึก ผมจะมีวีธีปรับตัวของผมแบบนี้ทุกทีเมื่อต้องเข้าเวรกะ

    • @user-fr1qw4tv1e
      @user-fr1qw4tv1e ปีที่แล้ว

      ปรับตัวได้สุดยอดเลยค่ะ ขอให้สุขภาพแข็งแรงนะคะ

  • @pimpahasup1157
    @pimpahasup1157 3 ปีที่แล้ว +1

    ต้องทำงานเข้ากะดึกตลอด ร่างกายรวนหมดแล้ว😭

  • @chanatip882
    @chanatip882 2 หลายเดือนก่อน

    😮

  • @rachapongwiangdindam5468
    @rachapongwiangdindam5468 2 ปีที่แล้ว

    อาบน้ำเวลาไหนดีครับ

  • @user-et8hi2nj4s
    @user-et8hi2nj4s 4 ปีที่แล้ว

    🌷👍👍👍👍👍🌷
    🌿💐❤️🙏🏻❤️💐🌿
    🥀ขอบคุณค่ะ🥀