ฎีกา InTrend EP.9 เจ้าหนี้กลายเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 มี.ค. 2021
  • ฎีกา Intrend ep.9 เจ้าหนี้กลายเป็นผู้ร้ายลักทรัพย์
    นายสรวิศ ลิมปรังษี
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, จีรวรรณ เจริญยศ
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    การทวงหนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหนี้อาจจำเป็นต้องทำ แต่การทวงจะทำได้เพียงใดเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ปัจจุบันมีกฎหมายจัดระเบียบการทวงหนี้มากขึ้น แต่แม้จะมีกฎหมายแบบนั้น การทวงหนี้บางกรณีอาจเลยเถิดไปจนทำให้ตัวเจ้าหนี้เองกลายเป็นผู้ร้ายไปได้ ในตอนนี้เราจะมาคุยกันถึงกรณีที่เจ้าหนี้ได้เอาทรัพย์สินบางอย่างของลูกหนี้ไปโดยลูกหนี้ไม่ยินยอมจะมีผลทำให้เจ้าหนี้ต้องมีความผิดทางอาญาได้หรือไม่ ถ้ามีความผิด จะเป็นความผิดมากน้อยเพียงใด
    ในกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ นายขาวมีหนี้สินค้างชำระอยู่กับนายดำ นายดำทวงถามอยู่หลายครั้ง นายขาวก็ยังไม่มีเงินไปใช้คืนให้นายดำสักที วันหนึ่ง นายดำเลยพาลูกน้องอีกหนึ่งคนไปที่บ้านของนายขาวเพื่อทวงหนี้ที่ค้าง เมื่อนายขาวไม่ยอมชดใช้เงินคืน นายดำจึงบอกให้นายขาวลงชื่อในสัญญากู้2 ฉบับที่เตรียมมาเพื่อจะใช้เป็นหลักฐานไว้ดำเนินคดีกับนายขาว พร้อมกับขอกุญแจรถยนต์ที่นายขาวอยู่ระหว่างเช่าซื้อมาจากบริษัทเช่าซื้อ นายขาวไม่ยอมให้กุญแจและทำท่าจะลุกหนีออกไป นายดำจึงใช้มือตบศีรษะ 1 ครั้ง นายขาวเกิดความกลัวเพราะถูกตบและเห็นนายดำมีปืนติดตัวมาด้วยจึงได้ยอมลงชื่อในสัญญากู้ดังกล่าว จากนั้นนายดำก็หยิบกุญแจรถยนต์แล้วขับรถยนต์ดังกล่าวไป
    พฤติกรรมของนายดำเจ้าหนี้รายนี้คงเห็นได้ไม่ยากว่าทำเกินเลยไปแน่ ๆ เพราะมีทั้งการขู่เข็ญบังคับและทำร้าย ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏแน่ชัดว่าตัวเลขเงินกู้ในสัญญาที่นายขาวถูกบังคับให้ลงชื่อนั้นมีจำนวนมากน้อยเพียงใด และถูกต้องตามจำนวนหนี้สินที่กู้ไปหรือไม่ แต่คงเป็นอีกประเด็นหนึ่งกับที่จะเป็นปัญหาให้พูดคุยในที่นี้ ปัญหาประการแรกคงเป็นการที่นายดำเอารถยนต์ไปจะมีความผิดหรือไม่ คำตอบคงบอกได้ว่าเป็นความผิดแน่ ๆ โดยฐานความผิดที่นายดำมีความผิดคือ การลักทรัพย์
    แม้นายดำจะเป็นเจ้าหนี้ของนายขาวก็ตาม แต่การจะบังคับชำระหนี้ก็ไม่ใช่ว่าเจ้าหนี้จะมีสิทธิทำอย่างไรก็ได้กับทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะหากให้เจ้าหนี้แต่ละรายไปบังคับยึดเอาทรัพย์สินของลูกหนี้มาได้ก็คงจะเกิดความวุ่นวายแน่นอน แม้แต่ในกรณีนี้ที่นายดำอ้างว่าการที่นำรถยนต์ไปเพียงเพื่อใช้เป็นหลักประกันการชำระหนี้เท่านั้น ไม่ได้ต้องการจะยึดไปเป็นของตนเองก็ตาม แต่การกระทำดังกล่าวก็ถือได้แล้วว่านายดำได้ “แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย” สำหรับตนเองแล้วการที่นายดำเอารถยนต์ของนายดำจึงเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไป “โดยทุจริต” แล้ว ทำให้การกระทำของนายดำเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ โดยไม่จำเป็นที่การเอารถยนต์นั้นไปจะต้องเอาไปเพื่อเป็นของตัวเอง เพียงแต่เอาไปเก็บไว้เป็นหลักประกันการชำระหนี้ก็เป็นความผิดได้แล้ว
    ปัญหาเรื่องนี้ยังไม่จบเพียงแค่นั้น เพราะในระหว่างดำเนินการ นายดำได้ตบศีรษะนายขาวด้วย 1 ครั้ง ทำให้มีปัญหาว่าการใช้กำลังทำร้ายแบบนี้จะทำให้การที่นายดำเอาทรัพย์ไปกลายเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ที่มีโทษหนักกว่าความผิดฐานลักทรัพย์ธรรมดาหรือไม่ เพราะการกระทำลักษณะหนึ่งที่จะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์คือการลักทรัพย์ที่มีพฤติการณ์การใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือพาทรัพย์นั้นไป
    กรณีนี้อาจจะเรียกได้ว่านายดำโชคดีนิดหน่อยที่ยังไม่ถึงขนาดที่จะเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ เพราะเหตุว่าตอนที่นายดำใช้มือตบศีรษะนายขาวนั้นเป็นช่วงขณะที่นายขาวจะลุกหนีจากที่ถูกนายดำบังคับให้ลงชื่อในสัญญากู้ เมื่อถูกตบศีรษะแล้วนายขาวจึงยอมลงชื่อในสัญญากู้ การที่นายดำหยิบกุญแจรถแล้วขับออกไปเกิดขึ้นหลังจากนั้น จึงพอทำให้เห็นได้ว่าการตบศีรษะกับการเอารถไปเป็นคนละช่วงกัน การตบศีรษะจึงไม่ใช่เพื่อจะทำให้สะดวกที่จะเอารถไป แต่เป็นการบังคับให้ลงชื่อในสัญญากู้เสียมากกว่านายดำจึงไม่ถึงขนาดเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์
    อย่างไรก็ตาม การตบศีรษะก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปตบหัวใครได้เล่น ๆ เพราะจะมากจะน้อยก็ทำให้คนที่ถูกตบเจ็บตัวได้ นายดำแม้จะเป็นเจ้าหนี้ไปทวงหนี้ก็ไม่มีสิทธิ ไม่มีอำนาจไปตบหัวลูกหนี้อยู่ดี การตบศีรษะจึงยังคงเป็นความผิดอาญาอีกฐานหนึ่ง เพียงแต่เมื่อนายขาวไม่ได้รับบาดเจ็บอะไรจากการตบศีรษะ การตบศีรษะของนายดำจึงเป็นความผิดที่เรียกว่าการ “ทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ” ที่มีโทษค่อนข้างเบา
    สุดท้ายนี้ การที่เป็นเจ้าหนี้แน่นอนว่ายอมมีสิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ มีสิทธิบังคับชำระหนี้ได้ แต่การบังคับที่จะเอาทรัพย์สินของลูกหนี้ไปต้องทำตามกระบวนการและขั้นตอนของกฎหมายที่ต้องไปฟ้องร้องให้ถูกต้อง การที่อาศัยอำนาจบาตรใหญ่เอาทรัพย์ไปโดยพลการอาจทำให้เจ้าหนี้กลายเป็นคนร้ายลักทรัพย์ของลูกหนี้ไปได้ง่าย ๆ
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2561)

ความคิดเห็น •