ฎีกา InTrend EP.33 ขอลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและไม่ต้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 24 ส.ค. 2021
  • ฎีกา InTrend ep.33 ขอลาออกจากสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและไม่ต้องค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, จีรวรรณ เจริญยศ
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย บางครั้งก็ฮิตไปอยู่ใจกลางเมืองในคอนโดมิเนียมสูง ๆ เพื่อจะได้ใกล้ที่ทำงานและแหล่งช้อปปิ้ง แต่บางครั้งก็ต้องการออกไปห่างเมืองหน่อย เพื่อจะได้อยู่ในบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่สำหรับครอบครัวที่ขยายมากขึ้น การอยู่ร่วมกันในชุมชนเช่นหมู่บ้านจัดสรรจึงกลายเป็นเรื่องที่พบเห็นได้ทั่วไป ในตอนนี้จะเป็นเรื่องที่ว่าสมาชิกในหมู่บ้านรายหนึ่งไม่พอใจการบริการของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจึงทำให้มีปัญหาว่าจะขอลาออกจากการเป็นสมาชิกและไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่
    คุณเกียรติและครอบครัวไปซื้อบ้านจัดสรรในหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร หมู่บ้านที่คุณเกียรติไปซื้อจัดได้ว่าเป็นหมู่บ้านระดับราคาค่อนไปทางสูง เนื่องจากคุณเกียรติหวังว่าจะได้อยู่ในชุมชนที่น่าอยู่ มีบรรยากาศที่ดีและมีความปลอดภัย
    นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรแห่งนี้ได้กำหนดเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภคของหมู่บ้านจากสมาชิกที่ซื้อบ้านและที่ดินจัดสรรในหมู่บ้านตามขนาดพื้นที่ของบ้าน สำหรับบ้านของเกียรติ จะต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนกลางนี้ในอัตราปีละ 10,000 บาท
    ในช่วงแรก เกียรติจ่ายค่าส่วนกลางตามกำหนดไม่เคยขาด แต่ต่อมาเกียรติเริ่มเห็นว่านิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทำงานไม่ค่อยดี สวนสาธารณะที่อยู่บริเวณใกล้บ้านของเกียรติก็มีต้นไม้และหญ้าขึ้นรกรุงรัง สโมสรของหมู่บ้านก็ให้บริการไม่ดี แถมบ้านของเกียรติเคยถูกคนร้ายเข้าไปขโมยของระหว่างที่ไปพักผ่อนต่างจังหวัดด้วย เกียรติเคยไปบ่นให้คณะกรรมการของหมู่บ้านฟังแล้ว แต่ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ เกียรติจึงตัดสินใจแจ้งให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรทราบว่าตนขอลาออกจากการเป็นสมาชิกและหยุดจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลาง
    นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรจึงได้ฟ้องเกียรติเป็นจำเลยขอให้ชำระค่าใช้จ่ายส่วนกลางที่ค้างหลายปีรวมเป็นเงินต้นและดอกเบี้ยประมาณ 90,000 บาท
    นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ถูกจัดตั้งขึ้นมานี้ พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ต่าง ๆ หลายประการ เช่น การจัดระเบียบและดูแลสาธารณูปโภคภายในหมู่บ้านการดูแลจัดการเกี่ยวกับการจราจรภายในหมู่บ้าน และมีอำนาจยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิกเกี่ยวกับกรณีที่กระทบสิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกจำนวนตั้งแต่สิบรายขึ้นไปได้อีกด้วย โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรรมีฐานะเป็นผู้แทนที่ไปดำเนินการจัดการต่าง ๆ ในนามของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนั้น
    ในการดำเนินการดูแลสาธารณูปโภคต่าง ๆ ย่อมต้องเกิดมีค่าใช้จ่ายที่ต้องให้บรรดาสมาชิกต่าง ๆ เป็นผู้ร่วมกันรับผิดชอบ ซึ่งกฎหมายเองก็ให้อำนาจนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่จะเรียกเก็บค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคเหล่านี้จากสมาชิกได้ แต่ปัญหาสำหรับกรณีนี้คือ หากสมาชิกอย่างเช่นคุณเกียรติเห็นว่าการทำงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรไม่ดี จนรู้สึกว่าตนได้รับการบริการที่ไม่เหมาะสม ไม่ทัดเทียมกับสมาชิกรายอื่นในหมู่บ้าน คุณเกียรติจะขอลาออกจากการเป็นสมาชิกได้หรือไม่ ซึ่งหากสามารถลาออกได้แล้ว คุณเกียรติย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนกลางอีกต่อไป
    ในประเด็นเกี่ยวกับความเป็นสมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนี้ พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดินฯ ได้กำหนดไว้ว่าให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายเป็นสมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร
    ลักษณะของการเป็นสมาชิกดังกล่าวจึงแตกต่างจากการเป็นสมาชิกของหน่วยงานหรือองค์กรอื่น เช่น การเป็นสมาชิกสโมสรออกกำลังกายและฟิตเนส ที่หากเราไม่พอใจย่อมไม่ต่ออายุสมาชิกและไปสมัครเป็นสมาชิกที่อื่นได้ เพราะเป็นเรื่องของความสมัครใจของสมาชิกแต่ละราย
    แต่สำหรับความเป็นสมาชิกของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรนี้เป็นกรณีที่กฎหมายกำหนดสถานะความเป็นสมาชิกไว้โดยเฉพาะให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรทุกรายเป็นสมาชิกด้วย จึงไม่ใช่เรื่องของสัญญาหรือการทำธุรกรรมที่ต้องอาศัยความสมัครใจหรือยินยอมเหมือนกรณีการทำสัญญาหรือธุรกรรมทั่ว ๆ ไป เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะหากต้องอาศัยความสมัครใจ การบริหารนิติบุคคลย่อมทำได้ยากเพราะจะมีทั้งคนที่ยอมเสียค่าบำรุงรักษาและคนที่ไม่ยอม ทั้ง ๆ ที่สาธารณูปโภคทุกอย่าง เช่น ถนนหนทางเป็นสิ่งที่ทุกคนใช้ร่วมกัน สมาชิกบางรายจึงย่อมไม่สามารถอ้างเหตุมาปฏิเสธการชำระค่าบำรุงรักษาได้
    ส่วนเรื่องที่อ้างว่านิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรให้บริการไม่ดีหรือไม่ทำหน้าที่บางอย่างที่ควรต้องทำ คงเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหาก แล้วแต่ว่าแต่ละเรื่องแต่ละกรณีนั้นจะสามารถใช้สิทธิของตนในทางใดได้ ไม่ว่าจะเป็นการลงมติในการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการ หรือแม้กระทั่งการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายหรือเรียกร้องให้ดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่คงไม่ใช่เหตุที่จะปฏิเสธไม่ชำระค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคส่วนกลางได้
    การอยู่ร่วมกันในชุมชนอย่างเช่นหมู่บ้านจัดสรรย่อมก่อให้เกิดความจำเป็นที่สมาชิกในชุมชนจะต้องร่วมมือในการดูแลชุมชน หากเกิดไม่พอใจอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นมา สมาชิกคงไม่สามารถอ้างเหตุนั้นมาขอลาออกจากการเป็นสมาชิกเพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาสาธารณูปโภคได้ เพราะไม่เช่นนั้นชุมชนส่วนรวมของหมู่บ้านนั้นคงบริหารจัดการได้ยากอันจะนำไปสู่ความเสื่อมโทรมของชุมชนในที่สุด
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2563)

ความคิดเห็น • 40

  • @csukasem
    @csukasem 2 ปีที่แล้ว +5

    น้ำเยอะ ฟังไปแทบหลับ

  • @mrgoo1290
    @mrgoo1290 27 วันที่ผ่านมา

    ขอบคุณครับ

  • @jambuffallo7637
    @jambuffallo7637 2 ปีที่แล้ว +8

    กว่าจะเข้าเรื่อง
    ตามชื่อเรื่อง
    นานไปค่ะ

  • @user-pk3bc5qn4s
    @user-pk3bc5qn4s 2 ปีที่แล้ว +4

    ดีมากครับ เนื้อหาทันสมัย ทำต่อไปเรื่อยๆครับ จะช่วยแชร์ไปวงกว้าง

    • @fonfon6742
      @fonfon6742 2 ปีที่แล้ว +2

      เห็นมีแต่ข้อมูลกฏหมายให้ตกอยู่ในภาวะจำยอม .. ไม่มีกฏหมายสำหรับใช้ต่อสู้คนไม่ดีบ้างเลย

  • @wanvisa34
    @wanvisa34 2 ปีที่แล้ว +6

    ขออนุญาต Comment ให้ช่วยเพิ่มเติมคำพิพากษาศาลฎีกาที่อ้างถึงในรูปแบบที่สามารถนำไปอ้างอิงได้ด้วยค่ะ เช่น link ไปสู่คำพิพากษาดังกล่าวในระบบค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกา เพื่อประโยชน์ในการอ้างอิง และศึกษาค่ะ ขอบคุณค่า

  • @ahakookaisrisaeng-ngoen9525
    @ahakookaisrisaeng-ngoen9525 2 ปีที่แล้ว +3

    จอเลขฎีกาสนับสนุนด้วยค่ะ เผื่อว่างจะได้ไปดาวโหลดอ่าน เป็นประโชน์กับ ประชาชนมากๆ เลยค่ะ

    • @somkiatj.6419
      @somkiatj.6419 10 วันที่ผ่านมา

      เห็นปรากฏอยู่ล่างสุด = (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2563)

  • @somyotnamjomjung4140
    @somyotnamjomjung4140 ปีที่แล้ว +3

    กรนีที่โครงการขายเเล้วจัดนิติเองพอขายหมดไม่ไปยังอยู่ครองอำนาจเก็บค่าส่วนกลางอยู่ต่อเนื่องทั้งที่โครงการที่ขายมาดินทรุดบ้านพังเสียหายบริการหลังการขายถูกจำกัดผมเจอมาเเล้วที่บ้านผมๆซื้อจากบ.ยักษ์ใหญ่เเห่งหนึ่งที่มีคำว่า(มหาชน)บ้านที่ว่านี้อยู่ในซอยติวานนท์65ครับขนะนี้ยังอยู่ในระหว่างฟ้องร้องสคบ.ยังเงียบอยู่เเละมีฟ้องร้องถึงศาลปกครองด้วยครับท่านทั้งหลายบ้านราคาสามล้านกว่าขนะนี้อยู่ไม่ได้ครับผมต้องหาที่ใหม่อยู่อาศัยกันทั้งครอบครัว3ชีวิตต้องไปสร้างหนี้สินอีกรอบนี้คือประสบการณ์ที่ซื้อบ้านก่อนซื้อไม่ได้ทุบดูก่อนซื้อไม่ได้เจาะดินดู/มีเเต่เขาเอาสัญญาซื้อขายมาให้เซ็นต์ว่าห้ามต่อเติมสญ.เอาเปรียบชัดๆครับพี่น้อง...

  • @user-rd2uz4lr5o
    @user-rd2uz4lr5o 2 ปีที่แล้ว +7

    ถ้าไม่อยากเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้าน ไม่อยากเสียค่าส่วนกลาง ก็สามารถทำได้ครับ โดยสมาชิกเกินกึ่งหนึ่งลงมติให้ยกเลิกการจัดตั้งนิติ ยกส่วนกลางให้เป็นสาธารณะ ให้เขต หรืออปต.เป็นผู้ดูแลแทน

    • @siwaleelifeproperty430
      @siwaleelifeproperty430 ปีที่แล้ว

      ต้องมติเป็นเอกฉันท์นะค่ะ

    • @palmtreealone4723
      @palmtreealone4723 ปีที่แล้ว

      เมื่ิอเจ้าของโครงการทั้งหลายเป็นเจ้าของบริษัท บริหาร นิติบุคคล มันจะยอมให้คนอื่นมาบริหารเหรอ เมื่อบริหารไม่ได้ประโยชน์ เราในฐานะสมาชิก สามารถฟ้องได้ไหม ในฐานะ ละเว้นปฏิบัติหน้าที่

    • @d.s.whiterose8089
      @d.s.whiterose8089 9 หลายเดือนก่อน

      ถ้าสมมติว่าลูกบ้านชนะมติเอกฉันท์ไม่เอานิติบุคคล แล้วลูกบ้านจะสามารถโอนกรรมสิทธิ์บ้านได้หรือไม่คะ

  • @user-in2jk3vd4v
    @user-in2jk3vd4v ปีที่แล้ว

    ดีมากมีความรู้เพิ่มค่ะ

  • @user-ud3gj5oy2q
    @user-ud3gj5oy2q 2 ปีที่แล้ว +4

    กฏหมายต้องดูว่าเจ้าของโครงการเอาไปใช้ส่วนตัวแต่ตรวจสอบไม่ได้ด้วย เก็บเกินความจำเป็นกะเอารวยกะเอาเป็นรายได้ส่วนตัว กฏหมายมองแต่ว่าลูกบ้านเอาเปรียบไม่มองว่าเจ้าของโครงการจะเอาเปรียบลูกบ้านได้

    • @mocate7733
      @mocate7733 ปีที่แล้ว

      ก่อนซื้อต้องศึกษาก่อนที่จะไปอยู่ร่วมกับคนอื่น

  • @pathompornthananhirunsook8752
    @pathompornthananhirunsook8752 2 ปีที่แล้ว +7

    สอบถามครับ แล้วถ้ากรรมการนิติ ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ และกฏหมายอย่างเคร่งครัด สมาชิกจะสามารถมีวิธีเอาผิดกรรมการนิติบุคคลอย่างไรบ้างครับ เช่น การไม่ตรวจสอบงบการเงินประจำปี การชี้แจงรายรับรายจ่ายไม่ชัดเจน และการที่ประธานนิติควบอำนาจเบ็ดเสร็จ ทั้งประธานและผู้ถือเงิน

    • @Naruemonring
      @Naruemonring ปีที่แล้ว

      ปัจจุบันเป็นยังไงบ้างคะ

  • @napapornnapakeerati4881
    @napapornnapakeerati4881 2 ปีที่แล้ว +4

    ไฟฟ้าถนนทั่วประเทศร่วมทั้งใน ม. ควรต้องเป็นหน้าที่รัฐเพราะเป็นควมมปลอดภัยของชีวิตและสินทรัพย

    • @somkiatj.6419
      @somkiatj.6419 10 วันที่ผ่านมา

      เหตสำคัญเพราะหมู่บ้านยังเป็นพื้นที่เอกชน ลองเทียบเคียงกับบางตลาดที่ยังเป็นของเอกชน

  • @annrayong
    @annrayong 2 ปีที่แล้ว +3

    ขอสอบถามว่า ถ้ากรณีผู้ซื้อที่ดินเปล่าในโครงการหมู่บ้านจัดสรร และยังไม่ได้ปลูกบ้านอยู่อาศัย
    มีข้ออ้างว่าเขายังไม่ได้มาอยู่ และไม่ได้เข้ามาใช้ส่วนกลางใดๆ จึงไม่จ่ายค่าส่วนกลาง
    กรณีอย่างนี้ กระทำได้หรือไม่ได้ เพราะเหตุใด
    และถ้าไม่จ่ายค่าส่วนกลางที่ดินว่างเปล่านี้ ทางนิติของหมู่บ้านมีสิทธิ์ฟ้องเอาผิดได้ไหม?
    ขอบคุณมากค่ะ

  • @peachtree3789
    @peachtree3789 2 ปีที่แล้ว +6

    หัวข้อน่าสนใจแต่การนำเสนอค่อนข้างเลียบค่าย ราชการขนานแท้
    ควรสรุปด้วยว่าถ้าสมาชิกไม่ยอมจ่ายส่วนกลาง นิติบุคคลทำอะไรได้บ้าง หรือต้องรอไว้ตอนขายบ้านแล้วไปหักเอาตอนนั้น
    แต่ถ้าลูกบ้านรายนั้นไม่ขายบ้านไปไหน นิติฯฟ้องได้ไหม? ฟ้องชนะแล้วลูกบ้านยังไม่จ่ายทำไง?
    ควรตอบคำถามของผู้สนใจทุกท่านด้วยนะ

    • @somkiatj.6419
      @somkiatj.6419 10 วันที่ผ่านมา

      มาช่วยตอบ เป็นไปตามขั้นตอนของคดีแพ่ง เมื่อนิติบุคคลฟ้องแล้วศาลตัดสินให้เจ้าของบ้านต้องชำระ หากไมชำระก็จะไปสู่ขั้นตอนบังคับคดีต่อไป

  • @user-fi7me7uz4j
    @user-fi7me7uz4j ปีที่แล้ว +2

    ง่ายๆเลย รัฐไม่อยากดูแลเลยให้ดูแลกันเอง เจ้าของโครงการเลยตุกติกไม่ยอมโอน คอรัปชั่นแทบไม่ต้องพูด บอกเลยว่าปลูกบ้านเองดีกว่า

    • @somkiatj.6419
      @somkiatj.6419 10 วันที่ผ่านมา

      เหตสำคัญเพราะเป็นพื้นที่เอกชน หากต้องการให้เป็นเหมือนทั่วไป ต้องให้หมู่บ้านยกพื้นที่และสาธารณูปโภคทั้งหมดเป็นสาธารณและอยู่ในความดูแลของหน่วยงานปกครองท้องถึ่น/อปท.

  • @lannathai6647
    @lannathai6647 ปีที่แล้ว

    ถ้าไม่จัดตั้งนิติบุคคล เจ้าของโครงการยังดูแล จะเรียกเก็บส่วนกลางได้ไหม

  • @muangcity4233
    @muangcity4233 ปีที่แล้ว +1

    ฟังตั้งนาน สุดื้ายก็ทำอะไรไม่ได้

  • @fonfon6742
    @fonfon6742 2 ปีที่แล้ว +8

    ออกกฏหมายเอื้อประโยขน์มาเฟียชัดๆ ทำไม่ดีไม่มีใครทำอะไรได้ ..
    ทำไม่ดีก็หมุ่บ้านชนกลุ่มน้อยปกครองตนเองดีๆนี่เอง ห้ามใครยุ่ง
    สิทธิออกเสียงพวกมากลากไป ใช้พวกพ้องผลประโยชน์ทับซ้อนมาข่มเหงคนอื่น
    ถนน น้ำไฟมันจะพังตั้งแต่สร้างโครงการเลยหรือไง .กว่าจะต้องซ่อมก็อีกนานถ้าสร้างมาแบบได้มาตรฐาน
    ที่หมู่บ้าน.รับตั้งนิติมาเหมือนไม่ตรวจสอบ ..อยู่ไม่ทันไรขอบพังต้องซ่อมต้องทำใหม่ตลอด
    ดูแลแค่สนามหญ้าส่วนกลางตะปิ๊ดเดียว ลูกบ้าน80หลัง ทำอย่างกับบริหารสนามกล์อฟ... ฟิตเนตสระว่ายน้ำอะไรก็ไม่มี
    ก็แค่หมู่บ้านเล็กๆชนบทติดป่ามัน ใช้การจัดการแค่เล็กๆนิดเดียวแบบใกล้ชิดหน่วยงานรัฐก็ได้ ..
    ค่าน้ำก็ขายแพงหน่วยละ35บาท รับสาธารณูปโภคมาก็ไม่ตรวจ เจอปัญหาก็หาทางแต่จะเอางบไปสร้างของใหม่
    แถวๆนี้ ขนาดหอพักบ้านเช่าอย่างมากก็แค่ 15 20 แพงๆก็ 30 นี่บ้านอยู่อาศัยแนวราบแท้ๆ ไม่ใช่คอนโค
    ขูดรีดอย่างกับโจรทะเลทราย
    ไม่เป็นตัวแทนอยู่ข้างลูกบ้านต่อสู้เพื่อความถูกต้องซักอย่าง ..เข้ามาแทนที่เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ .เป็นผู้อาศัยร่วมกัน
    แทนที่จะดูแลชุมขนแบบเหมือนว่าเป็นเจ้าของร่วม ตัวเองก็อยู่แท้ๆ. ทำตัวเหมือนเป็บผู้คุมรีดไถ เห็นปัญหาลูกบ้านเป็นอากาศไม่เดือดร้อนไม่รู้ไม่ชี้ เหมือนอยู่คนละโลกไม่เดือดร้อนในระหว่างที่ลูกบ้านเดือดร้อน
    จะเก็บแต่เงิน สิ่งที่ควรไฝว้ประสานงาน ไม่ชวนลูกบ้านทำ จะทำอะไรก็เอาแต่พวกตัวเอง
    เพิกเฉยปล่อยผ่านความเดือดร้อน เหมือนได้ผลประโยชน์ ..แค่โน้มน้าวคนเก่งพูเก่งปกปิดเก่ง
    ใครมีข้อแย้งก็พยายามผลักออก .. แค่รายรับรายจ่ายเก็บได้จ่ายอะไรบ้างเหลือเท่าไหร่แต่ละเดือนก็ไม่เปิดเผยในที่สาธารณะ ใบเสร็จก็ไม่ได้มาตรฐาน .. กฏหมายก็ไม่คุ้มครองคนส่วนน้อยอีก เอ่ะอ่ะก็ต้องให้ไปรวบรวมคน
    แทนที่จะใช้ความรู้ความสามรถช่วยลูกบ้าน ในฐานะ เพื่อนบ้านผู้หลักผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือ แบบคนคนชุมชนเดียวกัน กลับใช้กฏหมายมารีดไถ .. ขนาดภาษีภาครัฐเค้ายังไม่ทำขนาดนี้เลย .. ดอกเบี้ยยิ่งกว่าแก๊งหมวกกันน๊อค
    ซื้อบ้านอยู่อย่างกับมาขอเค้าอยู่
    ตอนเก็บเงินเอกชนนิติบุคคลเอา เวลามีปัญหาวิ่งหาภาครัฐ ...
    โจรมาก็ต้องแจ้งตำรวจอยู่ดี ไฟดับก็ต้องแจ้งการไฟฟ้าอยู่ดี
    คนพูดไม่เป็น เข้าสังคมไม่เก่ง ก็ทำอะไรไม่ได้ .. คนที่เออออบ้างก็ขี้เกียจยุ่ง บ้างก็ได้ประโยขน์ร่วมกัน

  • @Uncle156
    @Uncle156 2 ปีที่แล้ว

    อาจารคับ ผมซื้อที่ดินก่อนพรบจัดสรร ก่อน พรงจัดสรร มีผลอย่างไร คับ

  • @niransureeyathanaphat8079
    @niransureeyathanaphat8079 4 หลายเดือนก่อน

    กรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ยื่นใบลาออกจากกรรมการ มีผลเมื่อใดครับ

  • @user-xy1ou2eg5d
    @user-xy1ou2eg5d 9 หลายเดือนก่อน

    ซื้อบ้านจัดสรรมีส่วนกางต้องจ่ายหรือมีภาระไรประโยชน์หรือคือช่องทางหากินของผู้สร้างบ้านขึ้นมาความจริงการซื้อบ้านซืัอที่ดินเป็นการซื้อขาดจากผู้ขายแต่ทำไหมมีการจัดการรูปแบบการจ่ายเงินของเจ้าของบ้านอึกเหมือนการสร้างมาเพื่อให้รู้ว่าถ้าไมีจ่ายใครที่ซืัอบ้านถ้าไม่จ่ายก็จะไม่มีความปลอดภัยเมื่ออยู่อาศัยต่างอะไรกับอยู่ในหมู่บ้านที่มีแต่โจรเลยถ้าพูดง่ายๆคือค่าคุ้มครองดีๆนี้เอง

  • @korbpornskulchan3082
    @korbpornskulchan3082 ปีที่แล้ว

    ขอเรียนถามว่าเป็นบ้านเก่าซื้อมาตั้งแต่ 2538 และเจ้าของโครงการได้ยกถนนและสาธารณูปโภคให้แก่ กทม.ไปแล้วเมื่อ 2540
    จะยังตัดตั้งนิคิบุคคลขึ้นมาตัดเก็บส่วนกลางในปี 2561 ได้ไหมคะ

  • @pathompornthananhirunsook8752
    @pathompornthananhirunsook8752 2 ปีที่แล้ว

    ขอความกรุณาช่วยชี้แนะแนวทางด้วยนะครับ ไม่อยากให้คนชั่วลอยนวลครับ

  • @nijt7394
    @nijt7394 2 ปีที่แล้ว

    .ขอเรียนถามอาจารย์ค่ะ บริษัทขายบ้านจัดสรรเฟสแรกโฉนดขอนุมัติจัดสรรตาม พรย. แต่ขายเฟส 2 ขายไม่ได้ขอจัดสรรตามพรบ.แต่อยู่ในพื้นที่ดินผืนเดียวกับที่ขอจัดสรรเฟสแรก แต่ทั้ง 2 เฟสใช้ส่วนกลางร่วมกัน เช่น ไฟทาง และอื่นๆ บริษัทโอนเงินที่เก็บล่วงหน้าจากผู้ซื้อบ้านล่วงหน้า 3 ปีให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร พอพ้น 3 ปี มีบ้านเฟส 2 ที่ไม่ได้ขอจัดสรร บางหลังไม่จ่ายค่าส่วนกลางเนื่องจากถือว่าไม่ได้เป็นสมาชิกนิติบุคคลจัดสรร คำถามแนวทางแก้ไขที่จะให้บ้านที่นอกจัดสรรเฟา 2 เป็นสมาชิดเช่นเดียวกับเฟส 1 ได้อย่างไรค่ะ
    หรือบ้านเฟส 2 ไม่ต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนกลางได้หรือไม่ค่ะ กรณีไม่จ่ายค่าส่วนกลางนิติบุคคลฟ้องบ้านเฟส 2 ได้หรือไม่ค่ะ

  • @supawanpansrira5325
    @supawanpansrira5325 ปีที่แล้ว +2

    สรุปคือทําไม่ได้ พูดอยู่นาน

    • @thebeer7358
      @thebeer7358 8 หลายเดือนก่อน +1

      จริงครับ เราก็ฟังจนจบ กว่าจะจับใจความได้ และสรุปคือไม่ได้

  • @mocate7733
    @mocate7733 ปีที่แล้ว

    ทำได้แต่ต้องเอาน้ำทิ้งไปทิ้งเอง ไฟหน้าบ้านทางเดินก็ติดเอง ประตูทางเข้าหมู่บ้านก็ลงมาเปิดเอง ขยะก็เอาไปทิ้งเอง ที่จอดรถก็ต้องจอดเองในบ้านใครมาเยี่ยมเยือนก็ให้จอดรถไว้หน้าหมู่บ้านเดินเข้ามาเอง

  • @mahatta1
    @mahatta1 2 ปีที่แล้ว +1

    การที่ผู้พิพากษาเรียกสมาชิกนิติบุคคลเป็นลูกบ้านไม่ถูกต้อง เพราะนึ่ไม่ใช่การปกครองส่วนท้องถิ่น!
    สิ่งที่น่าถามคือการล้มละลายของนิติบุคคลหมู่บ้านเกิดขึ้นได้!

  • @ksmkcctv4739
    @ksmkcctv4739 2 ปีที่แล้ว +4

    เข้าใจว่าต้องจ่ายคับ แต่ถ้านิติโครงการ หยุดการบริการให้เราเช่นไม่เก็บขยะให้ ไม่กวาดถนนตรงหน้าบ้านเราให้ เนื่องจากเราค้างค่าส่วนกลาง แต่จะให้เราจ่ายย้อนหลังจนครบและมีค่าปรับอีก แบบนี้มันถูกต้องมั้ยคับ เพราะถ้าเขายังให้บริการครบทุกอย่างตามเดิมแล้วมาเรียกเก็บเราทุกบาทอันนี้เราเข้าใจได้ แต่เขาหยุดให้บริการเรา ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างเช่นค่าโทรศัพ ค่าเน็ต ค่าเคเบิ้ล ถ้าเราค้างเขาก้อจะตัดสัญญาณและหยุดให้บริการเรา ถ้าเราไม่จ่ายเราก้อยังใช้บริการไม่ได้ ค่าน้ำค่าไฟก้อเช่นเดียวกัน สรุปเราจะจ่ายแค่ที่เราได้ใช้บริการไปแล้วที่ค้างชำระ อันนี้ก้อยุติธรรมถูกต้องแล้ว แต่เมือมาเทียบเคียงกับค่าส่วนกลางแล้วมันไม่น่าจะถูกต้อง เพราะสมมุติว่าเราจ่ายที่ค้างทั้งหมดแล้วเขาจะชดเชยสิ่งที่เขาเลิกให้บริการเราไปย้อนหลังยังงัยได้ มันชดเชยย้อนหลังไม่ได้ แล้วค่าปรับอีกจะมาปรับได้ยังงัยในเมื่อหยุดให้บริการเราแล้ว ถ้ายังให้บริการเรามาตลอดแล้วเรายังไม่จ่าย เรียกเก็บย้อนหลังพร้อมเบี้ยปรับ อันนี้โอเค แต่เมื่อเขาหยุดให้บริการแล้ว ก้อควรจะลดค่าส่วนกลางให้เราด้วยซ้ำเพราะตัดสิทธ์เราบางอย่างไป และเรียกเก็บบางส่วนที่จำเป็นต้องใช้เช่นถนน และระบบรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ไม่ควรจะเรียกเก็บย้อนหลังเต็มจำนวนและไม่ควรมีค่าปรับ แบบนี้จะถูกต้องมั้ยคับท่านหรือมีเคสแบบนี้มั้ยคับ สรุปตัดสินยังงัยคับ

  • @pramethgradea3229
    @pramethgradea3229 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ