ฎีกา InTrend EP.15 ผู้ครอบปรปักษ์ที่ดินกับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ใครมีสิทธิดีกว่ากัน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 เม.ย. 2021
  • ฎีกา InTrend ep.15 ผู้ครอบปรปักษ์ที่ดินกับผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ใครมีสิทธิดีกว่ากัน
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, จีรวรรณ เจริญยศ
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    ในการแย่งชิงสิทธิในทรัพย์สินอย่างเช่นที่ดินนั้น บางครั้งมีผู้ที่อ้างว่าตนมีสิทธิในที่ดินนั้นหลายราย ต่างคนต่างก็ได้สิทธิด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน และมีที่มาของสิทธิไม่เหมือนกัน ทำให้เมื่อต่างคนต่างอ้างสิทธิก็เป็นเรื่องว่าสิทธิของใครมีภาษีดีกว่ากัน ในกรณีที่จะกล่าวถึงนี้เป็นกรณีของที่ดินที่มีผู้ครอบครองปรปักษ์ แต่ที่ดินนั้นถูกบังคับคดีขายทอดตลาดจนมีผู้ซื้อทรัพย์ไป จึงต้องมาดูกันว่าระหว่างสิทธิของผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินกับผู้ที่ซื้อทรัพย์ไปจากการขายทอดตลาดนั้นสิทธิของใครจะอ้างได้มากกว่ากัน
    นางกลอยได้ซื้อที่ดินผืนหนึ่งจากนายศักดิ์ แต่เนื่องจากที่ดินดังกล่าวติดจำนองหนี้เงินกู้รวมอยู่กับที่ดินแปลงอื่นจึงไม่สามารถนำมาโอนทางทะเบียนให้นางกลอยได้ แต่นางกลอยก็ได้ย้ายเข้าไปอยู่อาศัยในที่ดินดังกล่าวมากว่า 20 ปี ในระหว่างนั้นปรากฏว่าหนี้เงินกู้มีการผิดนัดชำระหนี้จนเป็นเหตุให้ธนาคารเจ้าหนี้ยึดที่ดินที่จดทะเบียนจำนองไว้ทุกแปลงมาขายทอดตลาดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา นางศรีได้ประมูลซื้อที่ดินแปลงเดียวกับที่นางกลอยอยู่อาศัยได้จากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ต่อมานางศรีได้ขายที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นางสาย นางสายจึงได้มาฟ้องขับไล่นางกลอยออกจากที่ดิน นางกลอยไม่ยอมออกโดยอ้างว่าตนเองได้กรรมสิทธิในที่ดินแปลงดังกล่าวเนื่องจากครอบครองโดยสงบและเปิดเผยเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี
    สถานการณ์ของนางกลอยนั้นมีปัญหามาตั้งแต่ตอนที่ซื้อที่ดินแปลงที่มีปัญหา แต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินกับพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้ว่าสาเหตุของการไม่ได้จดทะเบียนจะเป็นเพราะที่ดินติดจำนองอยู่ เจ้าหนี้จึงไม่ยินยอมให้นำโฉนดที่ดินไปทำนิติกรรมเปลี่ยนมือเจ้าของได้ ผลของการที่ซื้อขายที่ดินแต่ไม่ได้มีการจดทะเบียนคือทำให้สัญญาซื้อขายที่ดินระหว่างนางกลอยกับนายศักดิ์ตกเป็นโมฆะหรือเสียเปล่าไม่มีผลทางกฎหมายไป เพราะถือว่าเป็นกรณีที่ไม่ได้ทำตาม “แบบ” ที่กฎหมายกำหนดซึ่งก็คือการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์อย่างเช่นที่ดินจะต้องทำสัญญากันเป็นหนังสือประการหนึ่ง และต้องไปจดทะเบียนการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทางที่ดิน แต่เมื่อไม่ทำให้ครบถ้วนจึงถือว่าสัญญาซื้อขายนี้ไม่มีผลบังคับทางกฎหมายไป
    แม้สัญญาซื้อขายจะมีปัญหาดังกล่าว แต่นายศักดิ์ก็ได้มอบการครอบครองที่ดินแปลงนี้ให้แก่นางกลอยซึ่งได้อยู่อาศัยในที่ดินแปลงนี้มานานเกินกว่า 10 ปี กรณีนี้อาจถือได้ว่านางกลอยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนั้นไปด้วยการ “ครอบครองปรปักษ์” แต่ปัญหาก็ยังมีอยู่อีกว่าสิทธิของนางกลอยที่ได้มานี้ก็ยังไม่มีการจดทะเบียนให้เป็นเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียน ชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดจึงยังเป็นชื่อเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมอยู่
    ในอีกทางหนึ่ง นางศรีได้เข้าไปประมูลซื้อที่ดินแปลงเดียวกันนี้จากการขายทอดตลาดที่เกิดขึ้นจากการบังคับคดีในคดีที่เจ้าหนี้จำนองที่ดินแปลงนั้นฟ้องลูกหนี้และบังคับจำนองเอากับที่ดิน และได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อเป็นของนางศรีเรียบร้อยแล้ว กรณีนางศรีจึงได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเนื่องจากถือว่าเป็น “ผู้ซื้อทรัพย์โดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล” ที่จะทำให้นางศรีได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์ที่ซื้อไปแม้ว่าจะปรากฏข้อเท็จจริงต่อมาภายหลังว่าทรัพย์นั้นไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของลูกหนี้ที่ถูกศาลพิพากษาก็ตาม
    การที่กฎหมายกำหนดให้ความคุ้มครองในลักษณะดังกล่าวเป็นเพราะต้องการให้ความเชื่อมั่นกับผู้ซื้อทรัพย์ในกระบวนการบังคับคดีตามกฎหมายว่าเมื่อซื้อทรัพย์ไปแล้วจะไม่มีปัญหาใด ๆ ที่จะทำให้ผู้ซื้อทรัพย์นั้นต้องเสียสิทธิในทรัพย์นั้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีเช่นนี้ นางศรีเข้าไปประมูลที่ดินแปลงดังกล่าวโดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่านางศรีรู้มาก่อนว่าที่ดินได้มีการครอบครองปรปักษ์โดยบุคคลอื่นไปแล้วจึงถือว่านางศรีได้กระทำการไปโดยสุจริต
    ในส่วนของนางสายที่ซื้อที่ดินต่อจากนางศรีอีกทอดหนึ่งนั้น เมื่อสิทธิที่นางศรีมีอยู่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแล้ว สิทธิของนางสายย่อมได้รับความคุ้มครองในลักษณะเดียวกัน ผลจึงทำให้แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงว่าความจริงแล้วนางกลอยจะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ไปด้วยการครอบครองปรปักษ์แล้วก็ตาม แต่สิทธิของนางกลอยดังกล่าวก็ไม่อาจใช้ยันต่อนางสายได้ นางสายจึงมีสิทธิขับไล่นางกลอยออกจากที่ดินแปลงนี้ได้
    บทเรียนของเรื่องนี้คงมีได้ว่าหากมีการซื้อขายที่ดินกันก็ต้องทำการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์กันให้เรียบร้อยมิฉะนั้นอาจทำให้สัญญาซื้อขายเป็นโมฆะไปได้ และแม้จะครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แต่หากมีผู้ที่ซื้อทรัพย์นั้นไปโดยสุจริตจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล ผู้ที่ซื้อทรัพย์จากกรณีดังกล่าวจะได้รับความคุ้มครองไม่เสียสิทธิในทรัพย์นั้นไปแม้ภายหลังจะมีปัญหาว่าความจริงทรัพย์อาจไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของลูกหนี้จริง ๆ ก็ตาม
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3021/2562)

ความคิดเห็น • 29

  • @user-qm6kr6bw4p
    @user-qm6kr6bw4p หลายเดือนก่อน

    ชอบจ้า

  • @user-qu3ns1mn1z
    @user-qu3ns1mn1z 4 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณครับ❤

  • @TaxFocus
    @TaxFocus 2 ปีที่แล้ว +8

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลกฎหมายดีๆ เนื้อหาเข้าใจง่าย

  • @north2212
    @north2212 ปีที่แล้ว +4

    ชอบช่องนี้มากค่ะ กระชับ เข้าใจง่าย กฎหมายเกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันอธิบายให้ชาวบ้าน ๆ เข้าใจได้ ขอบคุณค่ะ

  • @user-cx5sj1hk3z
    @user-cx5sj1hk3z 2 ปีที่แล้ว +5

    ได้ความรู้มากมาย ท่านเป็นบคุลากรอันทรงคุณค่าของศาลยุติธรรมค่ะ

  • @nicholasharvey7532
    @nicholasharvey7532 2 หลายเดือนก่อน

    แล้วเงินที่เรามัดจับ ไป 10 กว่าปี เราจะฟ้องเอาคืนได้หมัยคะ

  • @vivivivo6750
    @vivivivo6750 ปีที่แล้ว +2

    ชอบมากครับท่านที่เคารพ

  • @user-tb7bo8yq4q
    @user-tb7bo8yq4q ปีที่แล้ว +4

    รื่องการครอบครองปรปักษ์เป็นปัญหาฟ้องร้องกันมากมาย เหตุใดกม.จึงเอื้อประโยชน์ให้คนที่ชอบเอาทรัพย์ผู้อื่นมาเป็นของตัว กำหนดเวลา 10 ปีก็ได้สิทธิ เหตุใดจึงไม่ยกเลิกการครอบครองปรปักษ์ ยกเลิกอายุความ คนจนจะได้มรดกมากว่าจะเก็บเงินสร้างบ้านได้ก็ถูกครอบครองปรปักษ์ไปแล้ว หรือไม่ก็ต้องเสียเงินเสียเวลาไปฟ้องก่อนหมดอายุความ และส่วนมากก็จะเป็นคนรวยไปยึดครองที่คนจนทั้งนั้น

    • @user-lf8dq4bw5j
      @user-lf8dq4bw5j ปีที่แล้ว +2

      ใช่คะกฏหมายที่เอื้อให้คนโกงคนอื่นควรยกเลิกได้แล้ว

    • @hs3jrw
      @hs3jrw ปีที่แล้ว

      ที่ดินมีเท่าเดิม แต่คนเพิ่มขึ้นทุกปี คนรวยยึดครองถ้าไม่ไปดูไปแล กรณีมีเยอะจนลืมก็มี คนจนก็เขาไปไปปรปักษ์ได้นิ ถ้าไม่มีกฎหมายตัวนี้ ใครมีที่เยอะก็ครอบครองไปจนฟ้าดินสลายงั้นรี

    • @hs3jrw
      @hs3jrw ปีที่แล้ว +1

      @@user-lf8dq4bw5j ไม่โกงหรอกของมีจำกัด บางคนมีเป็นหมื่นไร่ เยอะเกินรกร้างว่างเปล่า แบ่งๆให้เขาปรปักษ์บางเถอะ

    • @user-og7pj9jt3l
      @user-og7pj9jt3l 11 หลายเดือนก่อน

      เห็นด้วยควรยกเลิก

  • @---iw2jb
    @---iw2jb 2 ปีที่แล้ว +3

    เป็นกำลังใจในงานครับ

  • @user-np6zm3sr1p
    @user-np6zm3sr1p 2 ปีที่แล้ว +6

    ขอขอบคุณ การแนะนำและเผยแพร่ความรู้กฏหมายเกี่ยวกับที่ดินครับ.

  • @rungtiwaintharana9238
    @rungtiwaintharana9238 ปีที่แล้ว +2

    ผู้ร้องได้สิทธิ์ครองครองปรปักษ์มีคำสั่งศาลให้ผู้คัดค้านโอนที่ดินบางส่วนให้ผู้ร้อง แต่ที่ดินติดจำนองกับธนาคารผู้คัดค้านไม่สามารถไปไถ่ถอนเอาโฉนดออกมาได้ จะมีวิธีใดบ้างคะถึงจะแบ่งแยกที่ดินได้

  • @user-dc4vv3ik9g
    @user-dc4vv3ik9g 2 ปีที่แล้ว +2

    มีบุคคลหนึ่งอ้างว่าไปซื้อทรัพย์กับธนาคารแล้วแล้วเข้ามาต่อเติมมาทำเป้นเจ้าของแบบเปิดเผยแต่ห้องนั่นเราซื้อทรัพย์จากธนาคารแล้วจนเวลาล่วงเลยมาเกือบสิบปี.เราก้ฟ้องชับไล่ให้ออกเค้าก้ไม่ออกอ้างสารพัดแต่เอกสารสิทธิ์เค้าไม่มีแม้แตัวตัวเดียวแต่เค้าอ้างจะเอาค่าต่อเติมจากเราหลายแสนบาท้กิสจิงมากไม่ทราบว่าเค้าจัได้ต่าต่อเติมจากบ้านเราที่เราซื้ทรัพย์ธนาคารเป่าคะ..เรามีการจดทะเบียนเรียบร้อยละคะ.เค้าเข้ามาตรอบครองโดยที่เราส่งผ่อนบ้านที่เราผ่อนตลอด

  • @user-ex5hg8vk6h
    @user-ex5hg8vk6h 2 ปีที่แล้ว +1

    เหนือกว่าตามคำสั่งศาลที่ซื้อทรัพย์ แต่จะเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพย์ ได้ตอนไหน

  • @tuokartoon3894
    @tuokartoon3894 2 ปีที่แล้ว +3

    สอบถามหน่อยค่ะ ถ้าเกิดเจ้าของเดิมขายเองละค่ะ โดยไม่มีคำสั่งศาล แบบนี้เจ้าของแบบปรปักษ์มีสิทธิ์มากกว่าไหมค่ะ

    • @dominoaffabatelal6731
      @dominoaffabatelal6731 2 ปีที่แล้ว +1

      ตามๆ

    • @bhaieak2829
      @bhaieak2829 2 ปีที่แล้ว +2

      ผู้รับโอน ไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอนครับ (ยกเว้น กรณีที่รับโอน จาก การซื้อมาโดยสุจริต ตามคำสั่งศาล)

  • @utdsport
    @utdsport 2 ปีที่แล้ว +1

    อยากให้ปรับปรุงเสียงเข้ารายการมากๆครับ เสียงลำโพงแตกมาเลย

  • @karnpanyadilok8682
    @karnpanyadilok8682 2 ปีที่แล้ว +1

    แล้วทำมัยที่พักศาลยุติธรรมเชียงใหม่เคยได้สร้างอาคารในพื้นที่ผิดกฏหมายทั้งๆที่เป็นของศาลผู้รักษากฏหมายครับพลาดตรงใหนยังไงกันนะครับตรงที่ป่าแหว่ง

  • @user-xb1to3fu8v
    @user-xb1to3fu8v 2 ปีที่แล้ว +1

    ฏ.3021/2562
    เป็นข้อยกเว้น หลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิ์ดีกว่าผู้โอนหรือครับ

  • @koonmobile3355
    @koonmobile3355 2 ปีที่แล้ว +2

    อย่างนี้นางกลอยต้องทำอย่างไร

  • @user-pj4sj8tm7p
    @user-pj4sj8tm7p 2 ปีที่แล้ว +3

    ฟังตั้งนานยังไม้รู้ว่าครอบครองปรปักแพ้หรือชนะ

  • @kattikarresanond3928
    @kattikarresanond3928 11 หลายเดือนก่อน

    กรณสน3ก รวมอยู่มั้ยคะ

  • @user-lf8dq4bw5j
    @user-lf8dq4bw5j ปีที่แล้ว +1

    ไปชื้ออสังหาริมทรัพย์ ชื้อโดยสุจริต จ่ายค่าต่างๆอย่างถูกต้อง แล้วมาทราบว่ามีคนอาศัยอยู่บอกว่าชื้อมาตั่งแต่เป็น นส.3ข.ตั้งแต่ปี2541(ไม่เห็นหลักฐานพูดลอยๆ) และเจ้าของได้อนุญาติให้เข้ามาอาศัยอยู่เพราะสงสารไม่มีที่อยู่ จึงได้เข้ามาอาศัยอยู่ ต่อมาปี2552เปลี่ยนเป็นโฉนด ก็ไม่ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิกันให้ถูกต้องถ้าชื้อจริง ต่อมาเจ้าของที่เสียชีวิตปี2560 ที่ตกเป็นของลูก ปี2565 ดิฉันได้ไปชื้อและยื่นข้อเสนอให้เช่าอยู่ฟรีหรือแบ่งขายส่วนที่อาศัยอยู่ก็ไม่ยอมจะยึดครองฟรี ขอดูสัญญาชื้อขายก็ไม่มีให้ดู ตกลงกันไม่ได้ ดิฉันเลยไปแจ้งความขับไล่ให้ย้ายออก ทางคนอาศัยก็ไปฟ้องศาลว่าตัวเองได้ชื้อและอาศัยอยู่มานานจะให้แบ่งส่วนที่สร้างบ้านอยู่ให้. ดิฉันเกิดความเดือดร้อนไม่สบายใจอย่างมาก

  • @user-jt8qm5tf6i
    @user-jt8qm5tf6i ปีที่แล้ว +1

    สร้างบ้านอยู่ในนาเราอยู่มา30กว่าปีแล้วปล่อยล้างมา4ปีทางเทศบาลลงเป็นบ้านล้างแล้วมาวันจะมาอยู่อีกเพื่อขอค่ารื้อถอนอีก