ฎีกา InTrend Ep.158 ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินเป็นชื่อตนเองแล้วโอนให้แม่จะผิดฐานจัดการทรัพย์โดย...

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 ก.พ. 2024
  • ฎีกา InTrend Ep.158 ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินเป็นชื่อตนเองแล้วโอนให้แม่จะผิดฐานจัดการทรัพย์โดยทุจริตหรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, ทัสสญุชุ์ กุลสิทธิ์ชัยญา, ณัฐสิมา อนันทนุพงศ์
    Show Creator : ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, รวิภา กิ่งจักร์
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : โสรัตน์ ไวศยดำรง, สุพัตรา ขำมีศักดิ์, สุภาวัชร์ ดลมินทร์
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์, กนกกูล วสยางกูร
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    ผู้จัดการมรดกย่อมมีหน้าที่ในการรวบรวมและแบ่งปันทรัพย์สินกันในระหว่างทายาท แต่หากผู้จัดการมรดกไม่ได้ทำตามหน้าที่ที่ควรจะเป็นแล้วอาจจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ บางครั้งอาจจะมีปัญหาถึงขนาดที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับความรับผิดทางอาญาก็ได้ ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ผู้จัดการมรดกโอนที่ดินเป็นชื่อตนเองแล้วโอนให้แม่จะผิดฐานจัดการทรัพย์โดยทุจริตหรือไม่
    นายมีนาเป็นผู้จัดการมรดกของบิดาตนเองที่เสียชีวิตไป กองมรดกมีที่ดินอยู่ 50 แปลง ต่อมานายมีนาได้ดำเนินการจดทะเบียนระบุชื่อตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินจำนวน 35 แปลงในฐานะผู้จัดการมรดก หลังจากนั้นจดทะเบียนเปลี่ยนเป็นตนเองเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในฐานะส่วนตัวก่อนที่จะจดทะเบียนโอนให้นางกุมภาซึ่งเป็นมารดาของตน เป็นเหตุให้นายเมษาซึ่งเป็นน้องของนายมีนาไปแจ้งความร้องทุกข์ จนกระทั่งพนักงานสอบสวนฟ้องนายมีนาในข้อหายักยอก
    นายมีนาให้การปฏิเสธ อ้างว่าเหตุที่ตนจดทะเบียนโอนที่ดินทั้ง 35 แปลงให้แก่นางกุมภาซึ่งเป็นมารดาของตน เพราะเข้าใจว่าที่ดินทั้ง 35 แปลงดังกล่าวเป็นสินสมรสระหว่างนางกุมภากับบิดาของตน ตามที่นางกุมภาเองได้เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งขอให้จดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวให้แก่ตนในฐานะที่เป็นสินสมรส ในขณะที่นายมีนาจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่นางกุมภานั้น ศาลชั้นต้นที่นางกุมภาฟ้องคดีได้ตัดสินให้จดทะเบียนโอนที่ดินจำนวน 6 แปลงให้แก่นางกุมภาในฐานะที่เป็นสินสมรส ก่อนที่ศาลฎีกาจะพิพากษาให้ที่ดินทั้ง 35 แปลงเป็นสินสมรสของนางกุมภา
    ในกรณีของนายมีนาที่เป็นผู้จัดการมรดกนี้ตามปกติแล้วต้องมีหน้าที่ในการจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกให้เสร็จสิ้นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย โดยต้องแบ่งปันให้แก่บรรดาทายาทต่าง ๆ ที่จะมีสิทธิได้รับมรดกตามสิทธิของแต่ละคน หรือตามที่ตกลงกัน
    การที่นายมีนาจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์มาเป็นชื่อตนเองในฐานะผู้จัดการมรดก ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นในฐานะส่วนตัว แล้วจดทะเบียนโอนให้แก่นางกุมภาซึ่งเป็นมารดาจะเป็นความผิดหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับว่าการกระทำของนายมีมีเจตนา “โดยทุจริต” หรือไม่ ซึ่งการที่จะเป็นการกระทำโดยทุจริตนั้นจะต้องมีลักษณะของการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
    กรณีนี้นายมีนาอ้างว่าจดทะเบียนโอนให้แก่นางกุมภาโดยเข้าใจว่าเป็นสินสมรสระหว่างนางกุมภากับบิดาของตนซึ่งเป็นเจ้ามรดกจึงไม่ใช่การกระทำโดยทุจริต แต่หากนายมีนากระทำการโดยสุจริตแล้ว หากแม้ที่ดินนั้นเป็นสินสมรสก็จริง แต่นางกุมภาย่อมมีสิทธิเพียงกึ่งหนึ่ง นายมีนาก็ควรจะจดทะเบียนให้นางกุมภามีสิทธิกึ่งหนึ่งร่วมกับทายาทคนอื่น แต่ในกรณีนี้นายมีนากลับจดทะเบียนโอนที่ดินทั้ง 35 แปลงให้แก่นางกุมภาคนเดียว นอกจากนั้น ในขณะที่จดทะเบียนโอน ศาลชั้นต้นในคดีที่นางกุมภาเป็นโจทก์ฟ้องก็ตัดสินให้เฉพาะที่ดินเพียง 6 แปลงเท่านั้นที่เป็นสินสมรส แต่นายมีนากลับจดทะเบียนโอนไปทั้ง 35 แปลง แม้ว่าภายหลังศาลฎีกาจะตัดสินว่าที่ดินทั้ง 35 แปลงเป็นสินสมรสก็ตาม แต่ขณะจดทะเบียนคำพิพากษาที่มีผลตามกฎหมายคือคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว ทำให้การกระทำของนายมีนาไม่อาจถือได้ว่ากระทำโดยสุจริตได้
    ดังนั้น การที่ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนทรัพย์มรดกให้แก่บุคคลอื่นไป โดยทายาทอื่นไม่ได้รู้เห็นและไม่ยินยอม จึงอาจเป็นความผิดฐานจัดการทรัพย์โดยทุจริตได้
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2031/2566)

ความคิดเห็น •