EP.11 การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแพ่ง | Podcast

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 มิ.ย. 2023
  • 1. การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง หมายความว่า เป็นกระบวนที่ยังไม่มีการเสนอคําฟ้องต่อศาล ซึ่งถือเป็นระบบการไกล่เกลี่ยเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ที่มีกรณีพิพาททางแพ่งเพื่อเป็นช่องทางในการยุติข้อ พิพาท
    #ขั้นตอนของการยื่นไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดี
    (1) ก่อนยื่นฟ้องคดี บุคคลที่จะเป็นคู่ความอาจยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจ หากมีการฟ้องคดีนั้น เพื่อขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมทําหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณี ที่
    เกี่ยวข้องได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาท
    (2) เมื่อศาลเห็นสมควรให้ศาลรับคําร้องนั้นไว้แล้วดําเนินการสอบถามความ
    สมัครใจของคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ย หากคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งยินยอมเข้า ร่วมการไกล่เกลี่ย ให้ศาลมีอํานาจเรียกคู่กรณีที่เกี่ยวข้องมาศาลด้วยตนเอง โดยคู่กรณีจะมี ทนายความมาด้วยหรือไม่ก็ได้ และแต่งตั้งผู้ประนีประนอมดําเนินการไกล่เกลี่ยต่อไป
    (3) ถ้าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันได้ ให้ผู้ ประนีประนอมเสนอข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาล หากศาลพิจารณา แล้วเห็นว่าข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นไปตามเจตนาของคู่กรณี หลักแห่ง ความสุจริต เป็นธรรม และไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ก็ให้คู่กรณีลงลายมือชื่อในข้อตกลงหรือ สัญญาประนีประนอมยอมความนั้น
    (4) ในวันทําข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความ คู่สัญญาอาจร้อง ขอให้ศาลมีคําพิพากษาตามยอม พร้อมแสดงเหตุผลความจําเป็นต่อศาล หากศาลเห็นว่ากรณี มีความจําเป็นที่สมควรจะมีคําพิพากษาไปในเวลานั้น ก็ให้ศาลมีคําพิพากษาไปตามข้อตกลง หรือ สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้
    (5) การขอและการดําเนินการ ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล
    วิธีการยื่นคําร้อง สามารถทําได้โดยทางไปรษณีย์ ผู้รับส่งพัสดุภัณฑ์ โทรสาร หรือ
    สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นตามที่สํานักงานศาลยุติธรรมประกาศกําหนด ลักษณะคดีข้อพิพาททางแพ่งที่ยื่นได้ คดีข้อพิพาทเกี่ยวกับ การกู้ยืมเงิน การผิด
    สัญญา ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคล สิทธิในครอบครัว หรือกรรมสิทธิ์ใน อสังหาริมทรัพย์สามารถดําเนินการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องได้ทั้งสิ้น เว้นแต่คดีต้องห้ามเท่านั้น
    #ข้อดี เป็นการระงับข้อพิพาททางเลือกให้คู่กรณีสามารถตกลงหรือประนีประนอม ยอมความกันก่อนจะมีการฟ้องต่อศาล ซึ่งยังไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล และหากสามารถตกลงหรือ ประนีประนอมกันได้ สามารถร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคําพิพากษาตามยอมได้ ตามมาตรา 138 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเปรียบเสมือนการให้ศาลมีคําพิพากษาใน ประเด็นแห่งคดีตามที่คู่ความตกลงกันนั่นเอง
    2. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหลังจากยื่นฟ้องคดี
    ข้อกําหนดประธานศาลฎีกาว่าด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2554 และแก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 กําหนดรายละเอียดของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแพ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ ประชาชน ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการระงับข้อพิพาทของคู่พิพาท
    การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทหลังฟ้อง คือ กระบวนการไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้นหลังจากมีการ ยื่นฟ้องคดีต่อศาลแล้ว วัตถุประสงค์ของการไกล่เกลี่ย คือ เปิดโอกาสให้คู่ความสามารถยุติข้อ พิพาทได้ด้วยความพึงพอใจร่วมกัน ไม่มีฝ่ายใดแพ้หรือฝ่ายใดเป็นผู้ชนะ แต่ถือว่าคู่ความทั้ง
    สองฝ่ายชนะด้วยกันทั้งคู่และทั้งสองฝ่ายยังสามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันได้ต่อไป ข้อพิพาทที่สามารถไกล่เกลี่ย ประกอบด้วย ข้อพิพาททางแพ่งและพานิชย์ทั่วไป ข้อพิพาททางอาญาที่ยอมความได้ ข้อพิพาทอื่นที่ยุติได้โดยวิธีไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ผู้ประนีประนอม หมายถึงบุคคล 3 ประเภท 1. ผู้พิพากษา 2. ข้าราชการศาล 3. บุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประนีประนอม เพื่อช่วยเหลือศาลในการไกล่ เกลี่ยให้คู่พิพาทได้ประนีประนอมกัน
    การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใช้เวลานานเท่าใด ระยะเวลาในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทขึ้นอยู่ กับความยาก ง่ายของข้อพิพาทหรือคดี ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 1 - 2 เดือน
    #ขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
    การเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในศาลหลังจากฟ้องร้องคดี หรือระหว่างการ พิจารณาคดีของศาล คู่พิพาทตกลงให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือศาลเห็นควรจัดให้มีการ ไกล่เกลี่ยคดี ทั้งก่อนวันนัดชี้สองสถานหรือนัดสืบพยาน หรือหลังวันนัด หรือระหว่างการ พิจารณาคดีของศาลไม่ว่าจะเป็นศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ หรือศาลฎีกา โดยคู่ความที่ประสงค์ จะไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ให้ติดต่อได้ที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทประจําศาลทั่ว ประเทศ
    การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมีค่าใชจ่ายหรือไม่ การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งในศาลหรือนอก
    ศาล คู่พิพาทไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจําเป็นต้องมีทนายหรือไม่ ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทไม่
    จําเป็นต้องมีทนายความก็ได้ เพราะอํานาจตัดสินใจอยู่ที่คู่พิพาทโดยตรงอยู่แล้ว ผลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาตกลงกันได้ คดีที่อยู่ในศาล จบไปด้วยหรือไม่ เมื่อคดีตกลงกันได้โดยการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทไม่ว่า จะเป็นการยอมความหรือการถอนฟ้อง คดีที่ฟ้องร้องกันอยู่ย่อมยุติหรือจบไปด้วย

ความคิดเห็น • 8

  • @user-bv9xu5nf6t
    @user-bv9xu5nf6t 2 หลายเดือนก่อน

    ขึ้นศาลแล้วค่ะแต่ไม่ได้เซ็นอะไรค่ะ มาเดือนนึง มี ปิดหมายมาว่าไม่มีผู้รับ ปิดหมาย ของหนูคดีรถยนต์ ต้องทำงัยคะ

  • @payungchalaeypoj4770
    @payungchalaeypoj4770 2 หลายเดือนก่อน

    คู่กรณืขอเลื่อนวันไกล่เกลี่ย😅ได้กรือไม่

    • @SupatchaY
      @SupatchaY 26 วันที่ผ่านมา

      ได้ค่ะโดยแจ้งเหตุผลในการขอเลื่อนค่ะเผื่อแจ้งให้คู่กรณีรับทราบ

  • @kid9x9
    @kid9x9 8 หลายเดือนก่อน +1

    สอบถามครับ....โจทย์จะขอปฏิเสธขั้นตอนการไกล่เกลี่ยได้มั้ย
    ถ้าก่อนฟ้อง ได้มีการเจรจากันเอง และโจทย์ถอยสุดซอยแล้วยังไม่จบ

    • @Justicechannel
      @Justicechannel  8 หลายเดือนก่อน +1

      การระงับข้อพิพาทด้วยการไกล่เกลี่ยเป็นการหาทางออกให้คู่ความ 2 ฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันจาก "ความสมัครใจ" ของคู่ความทุกฝ่าย
      สามารถนำมาใช้ได้ทั้งในชั้นก่อนฟ้องคดีและในชั้นหลังฟ้องคดีต่อศาลแล้วจะมีลักษณะ คือ
      1. การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง
      - มีหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยมีกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะกำหนดให้อำเภอ/คณะบุคคลที่มีอำนาจไกล่เกลี่ยหรือจัดให้มีการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาทเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย
      - คู่ความสามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจ เพื่อให้มีการไกล่เกลี่ย โดยไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล และหากตกลงหรือ
      ประนีประนอมกันได้ สามารถร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำพิพากษาตามยอมได้ตามกฎหมายเปรียบเสมือนการให้ศาลมีคำพิพากษาในประเด็นแห่งคดีตามที่คู่ความตกลงกัน
      2. การไกล่เกลี่ยหลังจากมีการฟ้องคดี
      - การไกล่เกลี่ย
      ข้อพิพาทก่อนถึงวันนัดพิจารณา โดยหลังจากมีการฟ้องคดี โจทก์อาจแสดงความประสงค์ต่อศาลเพื่อ
      ขอให้นำคดีเข้าสู่ระบบไกล่เกลี่ย หรือเมื่อจำเลยได้รับสำเนาคคำฟ้องอาจแจ้งความประสงค์เพื่อขอ
      ไกล่เกลี่ย
      - การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างการพิจารณาคดีของศาล คู่ความสามารถขอให้ศาลใช้ระบบไกล่เกลี่ยเวลาใด ๆ ก็ได้ระหว่างการพิจารณาคดี ขณะที่หากคู่ความ 2 ฝ่ายไกล่เกลี่ยตกลงกันได้ก็จะนำมาสู่การถอนฟ้อง ถอนคำร้องทุกข์ หรือศาลมีคำพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอม
      ยอมความตามที่คู่ความตกลง
      สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศาลยุติธรรม โทร. 02 512 8499 หรือ mediation.coj.go.th/ หรือ facebook.com/pr.coj

    • @wudthipat98
      @wudthipat98 13 วันที่ผ่านมา

      ถ้าคู่กรณีไม่มาไกล่เกลี่ยต้องดำเนินการอย่างไรต่อครับ

    • @user-cw1bw3vg6h
      @user-cw1bw3vg6h 11 วันที่ผ่านมา

      😂ได้ครับ..มีข้อมูล ที่ ถอย สุดๆ ประกอบ และ ข้อมูล ที่ ไม่สมยอม (ควร ทำที่ศาล ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆกัน)..เปรียบเทียบ ถ้าเกิดฟ้องกัน และ สืบพยานหลักฐาน

    • @user-cw1bw3vg6h
      @user-cw1bw3vg6h 11 วันที่ผ่านมา

      โดย ร้องขอการไกล่เกลี่ย ก่อนฟ้อง ได้ที่ศาล ท้องที่ขัดแย้งก่อนสืบ เป็นหลักฐาน ต่อสู้ในคดี ได้