วิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล ไม่ใช่จากหิมะกัด

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 1 ต.ค. 2024
  • สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

ความคิดเห็น • 368

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +85

    วิเคราะห์กรณีนักปีนเขา ไทยเสียชีวิตขณะปีเขาที่เนปาล ไม่ใช่จากหิมะกัด #frostbite #hypothermia
    Frostbite หรือ หิมะกัด หรือ น้ำแข็งกัดไม่ได้ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตน่าจะเกิดจาก Hypothermia หรือ ร่างกายที่อุณหภูมิต่ำจนร่างกายทำหน้าที่ไม่ได้มากกว่า
    การเกิด Frostbite
    ในประเทศไทยอยู่ในเขตร้อน หากจะเกิด Frostbite จริงๆก็อาจเกิดในภาคเหนือในฤดูหนาว
    ตอนที่1

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +13

      ตอนที่คุณหมอมาเรียน Rensidency ที่อเมริกาใหม่ๆ จำเป็นจะต้องทราบเรื่องนี้ เพราะในทางการแพทย์จะพบบ่อยๆในฤตูหนาว โดยเฉพาะดื่มสุราจนมึนเมาแล้วหลับอยู่ข้างถนนในช่วงหน้าหนาว
      Frostbite คือ ส่วนปลายของร่างกาย ไม่ว่าจะมือ เท้า ปลายจมูก หู บริเวณดังกล่าวเลือดจะไปเลี้ยงน้อย พอเจออุณหภูมิเย็นมากๆ บริเวณนั้นจะมีน้ำแข็งเกิดขึ้น ในบริเวณเนื้อเยื่อจะประกอบด้วยเซลล์และน้ำที่อยู่รอบๆเซลล์ ถ้าน้ำแข็งเกิดในเซลล์ เซลล์นั้นจะสามารถแตกและตายได้เลย ส่วนน้ำแข็งที่อยู่รอบๆเซลล์ก็ทำให้เกิดปัญหานี้ได้ แต่เซลล์จะยังไม่ตาย แต่ถ้าเย็นมากๆก็จะตายหมด
      เวลาที่เซลล์ตายจากมีน้ำแข็งเข้าไปอยู่ข้างใน ทำให้เซลล์แตก ก็จะเกิดการอักเสบและปัญหาต่างๆตามมา ทั้งการไปอุดหลอดเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงไม่ดี หรือ เกิดน้ำแข็งในเส้นเลือดก็ทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนปลายได้ นำมาสู่เนื้อตายได้
      อาการที่สงสัยว่ามีภาวะนี้ได้แก่
      ชาส่วนปลาย เช่น หู (ชาจนปวดหู) ปลายจมูก ปาก (บางทีจะเหมือนรู้สึกปากหนักๆพูดไม่ค่อยชัด หรือ อาการคล้ายเวลาเราฉีดยาชาเวลาทำฟัน) มือเคลื่อนไหวไม่ค่อยสะดวก ถ้าเย็นมากๆมือจะแข็งเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ นานๆมือก็จะชา อาการแบบนี้เรียกว่า Frostnip ยังไม่ใช่ Frostbite แต่ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆก็อาจเป็น Frostbite ได้
      ตอนที่2

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +12

      ยกตัวอย่างบริเวณมือ จะเริ่มที่ปลายนิ้วก่อน จะเริ่มจาก ซีด เย็น แดง บวม และถ้าเลยข้อแรกมาข้อที่ 2 ข้อที่ 3 มือ ก็จะมีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ เซลล์ที่ตายไม่ใช่เฉพาะผิวหนัง แต่เป็นเซลล์กล้ามเนื้อที่ลึกลงไป บางครั้งลึกถึงกระดูก กระดูกก็จะตายไปด้วย ดังนั้นคนที่เป็น Frostbite รุนแรงบางคนถึงกับต้องเสียมือไปเลย พอบางทีเวลาผ่านไปมือก็จะดำ ก็ต้องตัดมือทิ้งไป หรือ บางกรณีเมื่อรักษาไปแล้วก็จะเกิดเป็นตุ่มน้ำพอง เหมือนน้ำร้อนลวก จะเกิดกับอวัยวะส่วนปลาย เช่น มือ เท้า จมูก แต่ปากจะเกิดยากหน่อย สาเหตุเพราะความอบอุ่นบริเวณนั้นไม่เพียงพอ เช่น ถุงมือสู้ความเย็นขนาดนั้นไม่ได้
      การรักษา Frostbite
      1. ถ้ายังอยู่ในที่หนาวๆ
      - ห้ามทำให้อุ่นเด็ดขาด จะทำให้บาดเจ็บมากขึ้น
      - ให้นำตัวคนเจ็บลงมาที่เต็นท์ทั้งแบบนั้น
      - ห้ามถอดถุงมือ
      - ห้ามถูมือเพื่อสร้างความอุ่น เพราะจะทำให้บาดเจ็บมากขึ้น
      - ย่ำเท้าลงพื้นให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เมื่อรู้ตัวว่ากำลังเป็น Frostbite ให้แจ้งไกด์แล้วรีบกลับดีกว่า
      - ช่วงกำลังเดินกลับเต็นท์ห้ามยุ่งกับมือ เท้า
      ตอนที่3

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +11

      2. ถ้ามาถึงเต็นท์แล้ว
      - การทำให้อุ่นขึ้นด้วยการเอาอะไรไปวางไว้ (ห้ามวางไว้ในน้ำอุ่น หรือ น้ำร้อน) ใช้น้ำอุณหภูมิห้องดีที่สุด ค่อยๆใช้เวลาช้าๆประมาณ 30 นาที
      - ขณะที่ทำให้อวัยวะอุ่นขึ้นมา คนไข้จะปวดทรมานมาก ดังนั้นหากอุปกรณ์ไม่พร้อม ให้ปล่อยอยู่แบบนั้นจะดีกว่า หากคนไข้ยังมีสติอยู่อุปกรณ์ แรกคือมอร์ฟีน หากเป็นที่มือ มือจะแดงมาก จะเอาไว้ในน้ำที่มีอุณหภูมิห้องและน้ำต้องมีการหมุนเวียน เพื่อให้อุณหภูมิคงที่แล้วค่อยๆอุ่นขึ้นมา แล้วค่อยเพิ่มให้น้ำอุ่นขึ้นนิดหน่อย ช่วงเวลาที่มืออุ่นขึ้น จะเจ็บมาก ต้องให้มอร์ฟีนตลอดเวลา พอหายดีแล้วค่อยมาดูส่วนเสียหายว่ามากน้อยแค่ไหน จะต้องรอ 2-3 วัน จึงตรวจสอบความเสียหาย ว่าอยู่บริเวณไหน เพราะจะมีเส้นแบ่งเซลล์ปกติ และ เซลล์ที่เสียหายชัดเจน ดูว่ามีตุ่มน้ำพองมากน้อยแค่ไหน ถ้าคนที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยัก ก็ต้องให้วัคซีนป้องกันบาดทะยัก เพราะพวกนี้อาจเกิดการติดเชื้อได้ บางคนสามารถรักษาได้ถ้าเป็นไม่มาก อาจต้องตัดเนื้อเยื้อบางส่วนทิ้ง แต่บางคนเป็นมากอาจต้องตัดกระดูก ตัดนิ้วทิ้ง
      ตอนที่4

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +12

      Hypothermia ร่างกายที่อุณหภูมิต่ำจนร่างกายทำหน้าที่ไม่ได้
      - อุณหภูมิร่างกายระหว่าง 32 - 36 จะหนาวสั่น
      - อุณหภูมิร่างกายระหว่าง 28 - 32 จะไม่หนาวสั่นแล้ว แต่จะเกิดความผิดปกติกับร่างกายมากมาย
      - ถ้าต่ำกว่า 28 อาจทำให้เสียชีวิตได้
      สิ่งที่เกิดขึ้นหากเกิด Hypothermia
      - สมอง สับสน การตัดสินใจผิดพลาดได้ คนที่มีอุณหภูมิ 32 อาจเกิดอาการอยากถอดเสื้อออก เรียกว่า Paradoxical undressing ไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น แต่น่าจะเป็นกลไกที่ผิดปกติทางสมองที่เกิดจากความเย็นจัด นอกจากความเย็นที่เทือกเขาเอเวอเรสต์ ยังมีเรื่องของความสูงซึ่งจะไม่ได้กล่าวในวันนี้
      - ถ้าเย็นมากๆจะมีน้ำแข็งอยู่ในจอตา แต่ถ้าใส่แว่นตาป้องกัน ก็จะเกิดยาก จะเกิดปัญหากับคนที่ลงไปว่ายน้ำเย็นมากๆเพื่อทำลายสถิติ Guinness book อาจพบมีน้ำแข็งในจอตาได้
      - ระบบหัวใจ เมื่อเจออากาศเย็นใหม่ๆ ร่างกายจะตื่นตัวมาก จะสั่น จะหนาว หัวใจจะเต้นเร็ว จะหายใจเร็ว แต่เมื่อเย็นมากๆเมื่อเข้าใกล้ 32 องศา จะหยุดสั่น หัวใจจะเต้นช้าลง ถ้าไปกระตุ้นผิดวิธี จะเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ และการเต้นผิดจังหวะแบบนี้จะอันตรายเพราะ ไม่ตอบสนองต่อยาทั่วไปที่มีในทางการแพทย์ จะต้องทำให้ร่างกายอุ่นขึ้นมา หัวใจจึงจะกลับมาเต้นเป็นปกติ
      ตอนที่5

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +1

      - การหายใจของปอด จะมีน้ำท่วมปอด หรือเรียกว่า Pulmonary edema
      - นอกจากหัวใจและหลอดเลือดยังมีระบบฮอร์โมนต่างๆผิดปกติ เช่น ตับอ่อนอักเสบ และทำให้เกิดปัญหาต่างๆ บางครั้งมีน้ำตาลสูงผิดปกติ
      - ระบบไต คนที่หนาวขนาดนั้นร่างกายจะขาดน้ำ ถ้าความดันตกจากความหนาว ปริมาณเลือดก็จะน้อยลง ไตก็ได้รับเลือดน้อยลง ไตก็จะวายได้ ไตมีหน้าที่ควบคุมกรดด่าง ก็ทำให้กรดด่างเสียไปได้ ระบบอิเลคโตรไลท์ก็เสียไปเช่นกัน
      - ปัญหาด้านเลือด เวลามีปัญหาเรื่องความหนาวเย็น โปรตีนตัวที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดเมื่อเราเกิดบาดแผลแล้วโปรตีนตัวนี้จะทำให้เลือดหยุดไหล แต่เมื่อเจออากาศเย็นมากๆ โปรตีนตัวนี้จะไม่ทำงาน เลือดจะไหลไม่หยุด เม็ดเลือดขาวจะต่ำลง ทุก 1 องศาร่างกายที่ต่ำลงค่า Hematocrit หรือ ค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดจะสูงขึ้น เพราะร่างกายเราเสียน้ำไปส่วนหนึ่ง
      ดังนั้นในการแก้ไขจะต้องดูความรุนแรงของคนไข้ ถ้าไม่แก้ไขก็อาจเสียชีวิตได้ และคุณหมอคิดว่านักปีนเขา 2 ท่านนี้เสียชีวิตจากภาวะนี้ Hypothermia เกิดได้ เพราะชุดที่เขาใส่มีปัญหา หรือ การที่ใส่จนร้อนเกินไปแล้วข้างในมีเหงื่อ เมื่อเหงื่อเจอกับความเย็น น้ำเจอกับตัวเราเองจะยิ่งเย็นมากขึ้น
      ตอนที่6

  • @kmzx1128
    @kmzx1128 ปีที่แล้ว +155

    ช่องคุณหมอเป็นหนึ่งในช่องคนไทย ที่ทรงคุณค่่ามากที่สุดเลย ดูแล้วยกระดับความรูัตัวเองมากๆครับ

    • @poonsrisrethaphakdi5776
      @poonsrisrethaphakdi5776 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณคุณหมอที่ได้ให้ความรู้แนะนำค่ะ, เข้าใจสถานะการณ์เพราะตัวดิฉันเองเคยเจอเหตุการณ์แบบเดียวกันตอนไปเที่ยวสก๊อตแลนด์​ ประเทศอังกฤษ​ นึกว่าชีวิตจะไปไม่รอดแล้วเช่นกัน.

    • @ittiphonzamart9092
      @ittiphonzamart9092 ปีที่แล้ว

      ผมได้ความรู้ เรื่องโควิด 19 การรับมือ การปฏิบัติตัวเมื่อติดเชื้อ รวมถึงการป้องกัน ก็ช่องของคุณหมอ ครับ..☺️☺️👍

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +74

    พฤติกรรมการถอดเสื้อผ้าตัวเองออกในภาวะหนาวจัดนี้ มีชื่อเรียกว่า Paradoxical Undressing
    ◾เมื่อร่างกายของเราอยู่ในภาวะที่หนาวจัด ร่างกายจะสูญเสียความร้อนออกไปจนอุณหภูมิภายในลดต่ำลงมาก เข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า hypothermia
    ◾Hypo แปลว่า ต่ำ therme - แปลว่า ความร้อน ดังนั้น hypothermia หมายถึง ภาวะที่ร่างกายขาดความร้อน ส่งผลต่อระบบต่างๆ ให้ทำงานผิดปกติ เริ่มจากสับสน การคิดเชิงเหตุผลติดขัด เพราะระบบเริ่มจะหยุดทำงาน
    ◾สิ่งที่เกิดควบคู่ไปด้วยก็คือ กล้ามเนื้อบริเวณผิวหนังหดตัว รัดให้หลอดเลือดที่จะมาเลี้ยงผิวหนังตีบลง ลดปริมาณเลือดที่จะพาความร้อนมาทิ้งที่ชั้นผิวหนัง ร่างกายพยายามอย่างเต็มที่ ที่จะกักความร้อนไว้ข้างใน
    ◾ร่างกายส่งสัญญาณไปยังสมอง ตีความหมายข้อมูลว่า ผิวนั้นร้อนเกินทนไหว บวกกับภาวะสับสน ผู้ประสบภัยจึงทำไปตามสัญชาติญาณ คือ ถอดเสื้อถอดผ้าออก หวังจะบรรเทาความร้อนที่รู้สึกไปเอง

    • @Lek44888
      @Lek44888 ปีที่แล้ว +2

      ขอบคุณค่ะน้องทริป

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +3

      @@Lek44888 ยินดีค่ะพี่...

    • @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
      @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง ปีที่แล้ว +3

      ขอบคุณคะพี่ทริป มีสิ่งที่เราไม่เคยรู้เยอะจริงๆนะคะคลิปนี้..โดยเฉพาะตัวเองจะไม่ชอบหนาวคะ

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +2

      ขอบคุณค่ะน้องทริป

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +2

      @@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย... กู้ดมอร์นิ่งค่ะ

  • @thanyatornc.4560
    @thanyatornc.4560 ปีที่แล้ว +38

    อาจารย์หมอรอบรู้ทุกเรื่อง ทันเหตุการณ์ มอบข้อมูลที่น่าสนใจ มอบสิ่งที่คนไทยไม่มีความรู้ อาจารย์เป็นผู้ที่ควรค่าแห่งการยกย่อง เชิดชู เคารพนับถือ

  • @kwank4917
    @kwank4917 ปีที่แล้ว +5

    เสื้อผ้า ถุงมือถุงเท้า อุปกรณ์ยังไม่พร้อมพอที่จะไปอยู่ในที่องศาร์ลบมากขนาดนั้น เสื้อผ้าต้องใช้ที่เป็นขนสัตว์ 100%และต้องหนามาก และต้องพก (โฮกกาลอง) ภาษาญี่ปุ่น ที่ทำให้อุ่นไปด้วย (สามีเป็นนักปีนเขาไปมาแล้วหลายครั้ง)

  • @tantawanKanjak
    @tantawanKanjak ปีที่แล้ว +12

    02:06 ส่วนปลายของร่างกาย มือ, เท้า, ปลายจมูก, หู (ได้รับเลือดไปเลี้ยงน้อย)
    10:51 สมอง
    12:13 ระบบหัวใจ
    13:24 ตับอ่อนอักเสบ
    14:00 ระบบไต
    14:52 ระบบการแข็งตัวของเลือด ด้วยโปรตีนของร่างกาย แต่หากภาวะที่หนาวเย็นเกินไป โปรตีนจะไม่ทำงาน
    16:28 สาเหตุการเสียชีวิต 16:47

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 ปีที่แล้ว +16

    วิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล ไม่ใช่จากหิมะกัด#frostbite #hypothermia 🔳🔲📓
    ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วยค่ะ
    ❄️Hypothermia หรือ ภาวะตัวเย็นเกิน คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างรวดเร็วจนมีอุณหภูมิต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ในร่างกาย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ระบบหัวใจและระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ซึ่งนำไปสู่การเสียชีวิตได้
    📘อาการของภาวะตัวเย็นเกิน
    ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิของร่างกายที่ลดต่ำลงและกลุ่มผู้ป่วย โดยแบ่งได้ดังนี้
    🧊อาการไม่รุนแรง หากมีอุณหภูมิร่างกายลดลงถึงระดับประมาณ 32-35 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้
    * หนาวสั่น
    * อ่อนเพลีย
    * หายใจถี่
    * คลื่นไส้
    * มีอาการมึนงง พูดไม่ชัด
    * มีปัญหาในการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
    🧊อาการรุนแรงปานกลาง ผู้ป่วยที่มีอุณภูมิร่างกายอยู่ที่ประมาณ 28-32 องศาเซลเซียส มักมีอาการคล้ายกับอาการในขั้นไม่รุนแรง แต่จะมีความรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลให้ทำกิจวัตรง่าย ๆ ไม่ได้ และอาจพูดไม่ชัดหรือพูดไม่รู้เรื่อง
    🧊อาการรุนแรงมาก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 27 องศาเซลเซียส จะพบอาการดังต่อไปนี้
    * อาการสั่นอาจหายไป
    * เกิดอาการมึนงงอย่างรุนแรง สติสัมปชัญญะลดลง
    * ชีพจรเต้นอ่อนหรือเต้นผิดปกติ
    * หายใจตื้นและหายใจช้าลง
    * มีภาวะโคม่าและอาจเสียชีวิตได้⚠️ทั้งนี้หากพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายกับภาวะ Hypothermia ดังข้างต้น ควรรีบขอความช่วยเหลือจากหน่วยแพทย์ฉุกเฉินทันที เพราะหากปล่อยไว้อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
    📙สาเหตุของภาวะตัวเย็นเกิน
    Hypothermia มีสาเหตุมาจากร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถสร้างความอบอุ่นได้เพียงพอ ทำให้อุณหภูมิร่างกายค่อย ๆ ลดลงจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย โดยร่างกายของคนเราสูญเสียความร้อนได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้
    * การสวมใส่เสื้อผ้าหรือเครื่องป้องกันความหนาวเย็นอื่น ๆ ที่ไม่หนาพอ
    * การสัมผัสกับความเย็นโดยตรง เช่น การตกลงไปในน้ำที่เย็นจัด เป็นต้น
    * การสัมผัสกับลมที่มีอุณหภูมิต่ำมาก ๆ ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ร่างกายสูญเสียความร้อน เพราะลมจะพัดเอาอากาศอุ่น ๆ ที่ปกคลุมบนผิวหนังออกไป
    ถ้าเราจะไปเที่ยวควรศึกษาข้อมูลและเตรียมเครื่องมือชุดอุปกรณ์ให้เหมาะสมและปลอดภัย ขอบคุณมากค่ะ🙇🏻‍♀️

  • @AL86898
    @AL86898 ปีที่แล้ว +9

    สวัสดีค่ะ🙏อาจารย์แพทย์คุณหมอแทน😍วันนี้เรื่องที่พูดน่าสนใจเป็นความรู้ที่ละเอียดมากๆในเรื่องที่เกิดขึ้นกับนักปีนเขาไทยที่ประเทศเนปาลถึงขั้นเสียชีวิต คุณหมอบอกว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีอยู่สองกรณี🌻 คือหิมะกัด และ 🌹ร่างกายอุณหภูมิต่ำมาก 💖อาการต่างๆที่เกิดขึ้นกับคนที่อยู่ในที่อากาศเย็นๆมากแล้วถูกหิมะกัดส่วนจะเกิดปลายเท้า มือจมูก เย็นมากๆ เนื้อเยื่อในร่างกายเรามีน้ำอยู่รอบ ถ้าเย็นมากๆเซลจะตาย เกิดการอักเสบ หรือเกิดน้ำแข็งในเส้นเลือด ทำให้อวัยวะตาย และจะเกิดการชาตามปลายนิ้วมือเท้า💥 ปากชาพูดไม่ชัดเหมือนเวลาเราไปถอนฟันแล้วหมอฉีดยาชาให้ นึกได้เลยค่ะเพราะไปถอนฟัน กว่าจะหายชานานมากแต่ยังหาย ส่วนคนที่เกิดจากที่คุณหมอเล่า เค้าไม่หายและเพิ่มมากขึ้น เริ่มเคลื่อนไหวไม่ได้ เริ่มชา 🍑 ปลายนิ้วซีดแดง จากปลายนิ้วก่อน ถึงกระดูก อาจต้องตัดทิ้ง อาการฟอสไบ้ส อาจเพราะถุงมือ ถุงเท้า ที่ใส่ไม่ดีเพียงพอ 🍓การช่วยเหลือในที่บนเขา ห้ามถอดถุงมือและถูมือจะทำให้อักเสบเจ็บมากขึ้น 🐳เมื่อถึงเต้น ให้มือเท้าอุ่นต้องใช้เวลา ไม่ต้องทำอะไร ให้ใช้อุปกรณ์ หรือใส่ในน้ำที่มีอุณหภูมิปกติ ต้องมีมอร์ฟีนฉีดกันปวด ให้ยาป้องกันบาดทะยัก แต่รักษาหายไม่ทำให้ตาย 🦖กรณีที่ทำให้เสียชีวิต คืออุณหภูมิในร่างกายต่ำกว่า36ลงไปถึง32-28 น่ากลัว มากกับร่างกายที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า32องศา หัวใจจะเต้นเร็วก่อน สั่น แล้วจากนั้นหัวใจจะเต้นช้าลง เราทำได้โดยทำให้ร่างกายกลับมามีอุณหภูมิปกติ เกิดการอักเสบของตับอ่อน และระบบไต ก็เสีย วายไต ความดันผิดปกติ และเลือดไม่แข็งตัว เพราะโปรตีนช่วยการแข็งตัวของเลือดไม่ทำงาน และการที่ร่างกายเสียน้ำไป 💖ทุกระบบเสียหมด เวลาเราอยู่ในที่เย็นอย่าทำให้เหงื่อออก เพราะเหงื่อจะกลายเป็นน้ำแข็ง ดื่มน้ำให้พอ ใช้เสื้อผ้าอุปกรณ์ที่ดีพอปลอดภัยทนความหนาวเย็นได้มีหน้ากาก ถุงมือ ถุงเท้าดีเหมาะอากาศที่เราไป บนเขา 🍒การที่ร่างกายมีอุณหภูมิต่ำกว่า32ร่างกายจะไม่ตอบสนองกับยา ต้องทำให้ร่างกายอบอุ่นก่อน และให้อินซูลินถ้าตับอ่อนมีอาการผิดปกติ 💖คุณหมอสรุปว่าการเสียชีวิตน่าจะเป็นอุณหภูมิต่ำ 🌺ถ้าไม่ไหวต้องกลับก่อน แล้วมาเตรียมตัวใหม่เพื่อการพิชิตสิ่งที่ต้องการ ดีกว่าไม่มีโอกาสที่จะไปอีก ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน👍❤️⚘️

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 ปีที่แล้ว +7

    เคยไปญี่ปุ่น อุณหภูมิต่ำกว่า0องศา เย็นถึงกระดูก ปลายมือ เท้าชา ต้องใช้ทรายร้อนติดหลัง เวลาออกไปด้านนอกบ้าน ขอบคุณอาจารย์แพทย์ สวัสดีค่ะ

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 ปีที่แล้ว +5

    ยินดีด้วยค่ะ⛄️☃️
    ยอดติดตาม348แสนคน
    ขอให้ 500 แสนคน🔜
    ช่วยกดติดตามด้วยค่ะ
    ยูทูป Doctor Tany🧣
    คลิปความรู้ดี สุขภาพดี
    ออกกำลังกาย⛹🏻‍♀️⛹🏻‍♂️
    พักผ่อนเพียงพอ
    ไม่เครียด 🎿🎿
    ตรวจสุขภาพ
    ขอให้สุขภาพดี
    มีความสุขค่ะ🏂⛷
    ขอบคุณมากค่ะ🙇🏻‍♀️
    22-11-22

  • @Jum.A1
    @Jum.A1 ปีที่แล้ว +44

    ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วยค่ะ
    ❄️ Frostbite ฟังแล้วกลัวเลยค่ะ อาการน่าจะทรมานมาก ๆ เคยอ่านเรื่องเกี่ยวกับการปีนเขาเอเวอเรสต์ คนที่ไปปีนเขามักเจอ frostbite กัน โดยเฉพาะหากโชคร้ายหลงทางหรือเจออุบัติเหตุ/พายุหิมะ
    🌡 Hypothermia อันนี้ก็น่ากลัวค่ะเพราะมันคือการเกิดภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำอย่างรวดเร็วและต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส
    เคยไปเที่ยวกำแพงเมืองจีนที่ปักกิ่ง อากาศเย็นติดลบแต่วิวสวยมาก ถ่ายรูปอยู่ดี ๆ มีอาการทนไม่ได้ รู้สึกปวดแขน/ขา ร่างกายบอกว่าให้ไปจากตรงนี้เพราะนอกจากอากาศหนาวแล้วลมยังแรงมาก ๆ ด้วย รีบหนีลงมาแล้วขอขึ้นไปบนรถเพราะเปิดฮีตเตอร์อยู่
    ความรู้ดี ๆ ที่ได้รับในวันนี้
    📌หากอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่า 28 องศาจะทำให้เสียชีวิตได้
    📌หากอุณหภูมิต่ำระหว่าง 32-28 มีความเสี่ยงในการทำงานผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ เช่น
    * มีผลต่อสมอง มีอาการเบลอ การตัดสินใจต่าง ๆ ผิดพลาดได้
    * มีผลต่อหัวใจ การเต้นของหัวใจผิดปกติได้
    * มีผลต่อปอด อาจเกิดภาวะน้ำท่วมปอดได้
    * มีผลต่อระบบหลอดเลือด ความดันโลหิตตกลง เลือดไม่แข็งตัว
    * มีผลต่อตับอ่อน ทำให้เกิดภาวะตับอ่อนอับเสบได้ (Cold induced panniculitis)
    * มีผลต่อระบบไต อาจเกิดไตวายได้
    📌 เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิต่ำตั้งแต่ 32 องศาเซลเซียสลงไป ยาต่าง ๆ จะไม่มีประสิทธิภาพเพราะร่างกายจะไม่ตอบสนองต่อยาใด ๆ
    ขอบคุณคุณหมอกรุณาให้ความรู้ในวันนี้ค่ะ เป็นเรื่องที่คนไทยนึกไม่ถึงเพราะอากาศบ้านเราไม่หนาวเย็นขนาดนั่น
    ดูคลิปคุณหมอทุกวัน ได้รับความรู้ดี ๆ มีประโยชน์ทุกวันค่ะ

    • @dramadrama8861
      @dramadrama8861 ปีที่แล้ว +2

      ไม่ไปเที่ยวอันตรายแบบนั้น มันไม่คุ้มเลย

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 ปีที่แล้ว +3

      @@dramadrama8861 จริง ๆ ที่นี่ไม่อันตรายค่ะ แต่เราชะล่าใจ เครื่องป้องกันน้อย ตัวผอม เลือดน้อย เลยสูญเสียอุณหภูมิเร็วกว่าคนอื่นค่ะ
      ตามที่คุณหมอแนะนำในคลิปเลยค่ะ จะไปเที่ยวที่ไหน อากาศไม่คุ้นเคย ต้องหาข้อมูลและเตรียมตัวดี ๆ เพื่อความปลอดภัยของตัวเองค่ะ 😊

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +1

      ดีจังค่ะน้องจุ๋ม ได้ไปเที่ยวกำแพงเมืองจีนมาแล้ว...

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 ปีที่แล้ว

      @@FragranzaTrippa สวยและยิ่งใหญ่จริง ๆ ค่ะพี่ทริป อยากไปอีก แต่ขอไปตอนใบไม้เปลี่ยนสีคงจะสวยและไม่หนาวทรมานค่ะ

    • @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
      @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง ปีที่แล้ว

      ดีนะกลับตัวทนเลยได้มาป่ะกันในนี้ จิมเหรอฝันไปเถอะแค่อาบน้ำเย็นก็มาคุแระบรึ้ยยยยย..แต่กินม๊อคค่าปั่นได้นะคะ ใส่เสื้อแขนยาวก่อนกิน🤣🤣🤣

  • @pimpim7601
    @pimpim7601 ปีที่แล้ว +5

    ส่วนตัวไปถึง Annapurna Base Camp ระยะความสูง 4,130 เมตร ช่วงเดือนเมษายน ปี 2019 เดินเท้าไปกลับตลอดเส้นทาง 8 วันราว ๆ 120กิโลเมตร อุณหภูมิ สภาพอากาศ จะเปลี่ยนไปเรื่อย ไกด์นำทางจะแนะนำให้เราเดินขึ้นลงไต่ความสูงไปเรื่อย ๆ และเราต้องทานยา diamox เพราะยิ่งใกล้เขต ABC ที่ความสูง 4,130 เมตรจากระดับน้ำทะเล มันจะหายใจยากมากๆ เดินไปไม่กี่ก้าวก็จะเหนื่อยมากๆ แต่ก็คุ้มค่าที่ได้ไปค่ะ เพราะทัศนียภาพสวยจริงๆ การเตรียมตัวให้พร้อมจำเป็นมากๆ เพราะเราคาดเดาธรรมชาติไม่ได้เลย

  • @fitmomthailand9754
    @fitmomthailand9754 ปีที่แล้ว +8

    ขอบพระคุณมากค่ะ ที่คุณหมอสละเวลาให้ความรู้ จะนำความรู้ ที่คุณหมอให้มา นำมาปรับใช้ ชีวิตในช่วงฤดูหนาวใน Switzerland 🇨🇭 ค่ะ เคยหนาว แบบ นิ้วชา ปาก ชา เวลาพูดจะหนักๆ เหมือนที่คุณหมอ กล่าวไว้เลยไม่คิดว่าปล่อยๆไว้นานๆจะอันตราย ตอนนี้ ทราบ ผลเสีย และวิธีป้องกันแล้วจะนำความรู้ที่ได้มาไปแบ่งปันเพื่อนๆค่ะ

  • @junwit2943
    @junwit2943 ปีที่แล้ว +4

    ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วยค่ะ
    คุณหมอให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์มากค่ะ
    สำหรับคนที่จะไปเที่ยวที่มีอากาศหนาวมากๆจะได้เตรียมอุปกรณ์และเสื้อผ้าได้ถูกต้องค่ะ บางที่เสื้อกันหนาวต้องเผื่อทั้งกันหนาวและกันลมด้วย

  • @urandarongsuwan6825
    @urandarongsuwan6825 ปีที่แล้ว +4

    ฟังคุณหมออยู่บ่อยๆ ให้ความรู้แบบที่คนทั่วไปก็ฟังเข้าใจไม่ยากครับ. เป็นกำลังใจให้คุณหมอด้วยครับ

  • @chanakwandulyavit3857
    @chanakwandulyavit3857 ปีที่แล้ว +6

    คลิปคุณหมอทันเหตุการณ์มากค่ะ เห็นด้วยอย่างมากกับการเลือกเครื่องกันหนาวให้เหมาะสม เคยไปยืนถ่ายรูปกลางหิมะตกอยู่เกือบ 3-4 ชั่วโมง ประมาทไปหน่อย หนาวมากแต่ก็ทนเอา มาพบทีหลังว่าเสื้อหนาวเปียกไปหมด ซึมถึงด้านใน โชคดีที่ไม่ป่วยไปซะ กลับมาเปลี่ยนยกชุดเอาแบบกันน้ำได้ด้วยเลย

  • @baitoeywi7414
    @baitoeywi7414 ปีที่แล้ว +6

    ขอบคุณคุณหมอมากๆ เลยค่ะที่ทำหัวข้อนี้ ทำให้ได้รับความรู้ก่อนเตรียมตัวเดินทางไปที่อากาศหนาวเย็น🙏
    และขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้สูญเสียมาในโอกาสนี้ด้วยค่ะ🙏

  • @sasiprapamusikaew
    @sasiprapamusikaew ปีที่แล้ว +6

    มี Stella Lou 🐰 กับ Gelatoni 😺 อยู่ด้านหลังคุณหมอด้วย 😄

  • @aunaun8271
    @aunaun8271 ปีที่แล้ว +7

    ขอขอบคุณ คุณหมอมากค่ะ ที่ทำคลิปอธิบายในเรื่องนี้อย่างละเอียดและเข้าใจได้ง่าย 🙏🏻
    คลิปนี้จะเป็นประโยชน์ ให้ความรู้ความเข้าใจ และเป็นวิทยาทานให้กับคนไทยในวงกว้างต่อไปค่ะ 🌟🌟🌟🌟🌟
    ขอแสดงความนับถือ 🤍

  • @KunlayaneeToy
    @KunlayaneeToy ปีที่แล้ว +5

    ขอบพระคุณ คุณหมอแทนมากค่ะ ขอให้ดวงวิญญาณ ท้ัง ๒ ท่าน สู่ภพภูมิที่ดีค่ะ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 ปีที่แล้ว +5

    🌟คลิปดีๆมีทุกวัน วันนี้
    วิเคราะห์กรณีนักปีนเขา
    ไทยเสียชีวิตขณะปีนเขา
    ที่เนปาลไม่ใช่จากหิมะกัด
    #frostbite#hypothermia
    มาฟังอจ.หมออธิบายสาเหตุ
    กันนะคะ และนอกจากนี้ทุก
    วันจะมีความรู้ทางการ
    แพทย์🩺โรคต่างๆใกล้ๆตัว
    มาฟังแล้วอุ่นใจ ความรู้นำ
    ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อ
    ตนเองและส่งต่อความรู้ให้ผู้
    อื่น ทุกการติดตามของท่าน
    เป็นกำลังใจให้อาจารย์หมอ
    ทำคลิปดีๆๆต่อไปค่ะ ขอให้
    ผู้ติดตามล้านคนไวๆนะคะ
    🌟ขอบคุณมากค่ะ😊🌹

  • @supaneechotthavornrat7468
    @supaneechotthavornrat7468 ปีที่แล้ว +5

    ขอบคุณคุณหมอที่ให้ความรู้ค่ะ🙏
    และขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วยนะคะ
    เรื่องนี้ให้ประโยชน์มากๆในการสังเกตุอาการตัวเอง และวิธีการป้องกันในขณะที่ขึ้นเขาสูง รวมถึงวิธีการรักษาเลยค่ะ และได้ความรู้เพิ่มเติมที่คาดไม่ถึงด้วยค่ะ ว่าการที่เหงื่อออกจะทำให้เราหนาวได้ค่ะ🙇‍♀️

  • @MsNatechanok
    @MsNatechanok ปีที่แล้ว +6

    คุณหมออธิบายชัดเจนดีค่ะ เป็นความรู้ใหม่เลยค่ะ สำหรับเราแค่เจออุณหภูมิ 1 องศาที่ดอยอ่างขางก็แทบตายแล้ว คนที่ไปเที่ยวแบบอุณหภูมิติดลบนี่อึดจริงๆ ค่ะ

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 ปีที่แล้ว +4

    สวัสดีคะ ขอบคุณมากๆคะตุณหมอวันนี้มาให้ความรู้ดีดีมีประโยขน์มากคะ👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ🙏🇹🇭😷🌹❤️

  • @kwannibhatsukit8672
    @kwannibhatsukit8672 ปีที่แล้ว +4

    ยิ่งเหงื่อออกยิ่งมีโอกาส hypothermia สูงขึ้นไปอีก เสื้อผ้าสำคัญมากๆเลยครับ อย่าไปคิดว่าทนหนาวได้เด็ดขาดเลยเชียว

  • @grandmajoy9951
    @grandmajoy9951 ปีที่แล้ว +3

    ครูกำลังจะไปเยี่ยมลูกที่เยอรมันแล้วไปเที่ยวดูหิมะที่สวิสตอนปีใหม่นี้พอฟังลูกหนูอธิบายครูเข้าใจถึงการต้องดูแลเสื้อผ้าเครื่องใช้ต้องมีคุณภาพครูแชร์ให้ลูกฟังด้วยจ้า ขอบใจมากนะลูก

  • @khingteera6120
    @khingteera6120 ปีที่แล้ว +5

    ได้ความรู้ เข้าใจง่ายมากค่ะ ช่องคุณหมอเป็น 1 ในช่องการการแพทย์ สุขภาพที่ชอบมากฟังมากที่สุด
    ฟังตอนทำงานก็เพลินๆ ค่ะ

  • @เพียรภักดี
    @เพียรภักดี ปีที่แล้ว +13

    จากประสบการณ์ของตัวเอง..เคยเฉียดตายมา2ครั้ง..ครั้งแรกในชีวิตตอนไป kawah ljen (Indonesia) ไม่มีประสบการณ์เลยไม่ได้ศึกษาข้อมูลเลยเขาไปก็ไปกับเขาเริ่มเดินตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงเช้าวันใหม่..หัวใจจะวายหน้ามืดปั่นปวนในท้องหายใจไม่ออกอากาศก็น้อย..ลักษณะทางลาดชันตอนขึ้นก็ยากตอนลงยากกว่าอีก..เล็บเท้าหลุดเลย..จะกลับก็กลับไม่ได้ทรมานสุดๆ..เหมือนเป็นภาระให้กลุ่มไปอีก..สุดท้ายก็เลือกที่จะไปให้จบได้ไกด์ช่วย..เดินกันกับไกด์จนเสร็จลงมาอย่างปลอดภัยเกือบตาย..
    ครั้งที่2 จีน แชงกรีล่า ภูเขาเขาหิมะมังกรหยก..อากาศหนาวติดลบมีอาการชามือชาไปทั้งตัวปวดหัวอาเจียนท้องไส้ปั่นป่วนอากาศเบาบางต้องมีกระป๋องอ๊อกซิเจนไว้ติดตัว..ช่วงนั้นเกิดมีประจำเดือนมาอีก..เลือดกลายเป็นสีดำไอมีเสมหะปนเลือดนิดๆ ปลายจมูกมีรอยหิมะกัดนิดหน่อยพอทน..ตอนขาไปยังพอทน..แต่ขากลับนี้แหละเริ่มเป็นเยอะแหละ..พอถึงที่พักน็อคไปเลย..ร่างกายเราคงรวนเพราะมันหนาวมาก..เล่าสู่กันฟังคะ ถือเป็นประสบการณ์ในชีวิต..ส่วนตัวชอบการผจญภัยแบบนี้..ถ้ามีโอกาสก็อยากจะไปแบบนี้อีก
    ## ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่เป็นประโยชน์นะคะ..รักษาสุขภาพด้วยนะคะคุณหมอ👨‍⚕️🙏🙏😊😊

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว

      ขอบคุณที่แชร์เรื่องราว เล่าสู่กันฟังค่ะ...

    • @warmbloodydew
      @warmbloodydew ปีที่แล้ว

      คาวาอีเจี้ยนนี่แค่ช่วงแรกก็หอบแล้วหอบอีก ไม่ฟิต แต่กลัวเส้นทางลงเขามาก อันตรายสุดๆ เหม็นด้วย สงสารคนงานขนกำมะถันมากๆ แชงกรีลานี่ก็เกือบถอดใจช่วงยกสุดท้าย เพราะเหนื่อยต้องพ่นออกซิเจนตลอด แล้วมันดันหมดก่อน

    • @เพียรภักดี
      @เพียรภักดี ปีที่แล้ว

      @@warmbloodydew ...ใดๆชอบแบบนี้ผจญภัยแบบ extreme adventures..รู้สึกตื่นเต้นดีเน้อ..แต่คนรอบข้างว่าเราบ้า..🤣🤣..มีอะไรก็มาเล่าสู่กันฟังค่ะ..แชร์ประสบการณ์🙏🙏

    • @เพียรภักดี
      @เพียรภักดี ปีที่แล้ว

      @@FragranzaTrippa ยินดีค่ะ😊😊

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 ปีที่แล้ว +1

      โอ้โห 😲 สุดยอดทั้ง 2 ที่เลยค่ะ
      ขอบคุณที่แบ่งปันประสบการณ์การณ์นะคะ

  • @vandam4687
    @vandam4687 ปีที่แล้ว +4

    คุณหมอคะทำไมเพื่อนร่วมเดินทางที่ไปด้วยกันไม่ป่วยเหมือน2ท่านที่เป็นคนไทยคะและอายุมีผลต่อการเจ็บป่วยแบบนี้มั้ยคะ รึสามารถเกิดกับทุกคนเท่ากันหมด

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +5

      ต้องไปดูว่าเสื้อผ้าที่คนอื่นใส่เป็นยังไงด้วยครับ อายุก็มีผลแต่อายุของสองคนนั้นก็ไม่ได้ถือว่าเยอะอะไร นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการดื่มน้ำ การคุ้นชินกับที่สูง และโรคประจำตัวต่างๆที่เราไม่มีข้อมูลด้วยครับ

    • @vandam4687
      @vandam4687 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณกับคำตอบที่สงสัยค่ะ🙏

  • @BuddhaLogos
    @BuddhaLogos ปีที่แล้ว +4

    อ๋อเลย ภาวะเลือดไหลไม่หยุด เป็นไปได้นี่เอง
    ในที่หนาวลงมาที่ปกติเคยเจอสองกรณีที่ปรับตัวไม่ถูกค่ะ หนึ่งคือการหายใจตอนตื่นนอน มันจะแห้งมากๆเหมือนกับหายใจไม่ออก ไม่หนาวจัดที่อยู่ลบสี่องศา
    อีกครั้งคือตอนเดินทางในที่อยู่ขึ้นเขาไม่มีหิมะในที่พักแต่เย็นจัดที่เนปาล พอลงมาที่กามัณฑุก็ไม่มีปัญหา แต่ว่าตอนถึงสนามบินไทยแทบแย่เลยค่ะ เหมือนตัวจะแตกอึกอัดมากๆ แบบร้อนแปลกๆข้างใน แต่ตอนนั้นคิดว่าไม่มีอะไรก็ปล่อยผ่านไปค่ะ
    ขอบคุณคุณหมอสำหรับประเด็นนี้อยากฟังเรื่องการดูแลตัวเองในอากาศหนาวเพิ่มอีกค่ะ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +24

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ...
    วันนี้เรื่อง... วิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล ไม่ใช่จากหิมะกัด #frostbite #hypothermia
    ◾อาจารย์ทันเหตุการณ์มากค่ะ เพราะมีรายงานการเสียชีวิตของนักเดินทางชาวไทย 2 ราย ซึ่งเป็นหญิงไทยที่เดินทางไปพิชิตภูเขา ชื่อ Mesokanto La Pass Phedi ในประเทศเนปาล
    ◾เป็นหญิงไทย อายุ 49 ปี และ วัย 37 ปี โดยทั้งคู่เสียชีวิตในเช้าวันศุกร์ที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา
    ◾ผู้เสียชีวิตอยู่ในกลุ่มนักปีนเขาจำนวน 22 คน รวมชาวต่างชาติ 12 คน ลูกหาบ 8 คน และไกด์ 2 คน
    ◾แหล่งข่าวกล่าวว่า ทั้ง 2 คนรู้สึกไม่สบายและได้รับบาดเจ็บจากอาการหิมะกัด เนื่องจากสภาพอากาศหนาวจัดและอยู่ในที่สูงจากระดับน้ำทะเลมากๆ แต่อาจารย์วิเคราะห์ว่า สาเหตุการเสียชีวิตไม่น่าจะเกิดจาก หิมะกัด หรือ frostbite เพราะหิมะกัดไม่ได้ทำให้ถึงแก่ชีวิต แต่น่าจะเกิดจากภาวะ hypothermia หรือ ภาวะตัวเย็นเกิน
    ◾หิมะกัด หรือ Frostbite คือ การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นกับร่างกายเมื่ออยู่ในสภาพอากาศที่หนาวเย็นมากๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยตำแหน่งที่จะเกิดหิมะกัดได้ง่าย คือ บริเวณนิ้วมือ นิ้วเท้า หู จมูก และแก้ม
    ◾อันตรายจาก Frostbite เช่น ปลายนิ้วจะเริ่มดำ แล้วจะมีอาการปวด ต้องรีบลงจากเขามาให้ความอบอุ่น แต่ว่าต้องเป็นขั้นตอน ถ้าทำไม่ดีอาจจะต้องถึงขนาดตัดปลายนิ้วเท้า ปลายนิ้วมือออก ถ้ามันลามมาถึงมืออาจจะต้องตัดมือออก
    ◾ส่วนภาวะ hypothermia ที่น่าจะเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หญิงไทย 2 ท่านนี้เสียชีวิต เกิดจากร่างกายสูญเสียความร้อนอย่างต่อเนื่องและไม่สามารถสร้างความอบอุ่นได้เพียงพอ ทำให้อุณหภูมิร่างกายค่อย ๆ ลดลงจนอยู่ในระดับที่เป็นอันตราย ส่งผลกระทบรุนแรงต่อหลายๆ อวัยวะในร่างกาย รวมถึงสมองด้วย
    ◾ดังนั้น เรื่องการเตรียมพร้อม เรื่องเสื้อผ้าอุปกรณ์กันหนาวต่างๆ ก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ ต้องใช้เสื้อผ้าที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันความหนาวเย็นที่มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพสูง
    ◾สุดท้ายนี้ ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งมายังครอบครัวของหญิงไทยทั้ง 2 ท่าน มา ณ โอกาสนี้ค่ะ

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณค่ะ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +1

      @@kanyamuay3748 ยินดีค่ะพี่หมวย...

    • @newwarnopoor4136
      @newwarnopoor4136 ปีที่แล้ว

      มนุษย์เมืองร้อน อย่างฉัน จะไม่ขยัน ปีนหาความตายในถิ่นหนาว แบบไม่จำเป็น ถ้าเครื่องตกบนเขาก็ไม่ต้องเลือก

  • @phiangumadongtanai8276
    @phiangumadongtanai8276 ปีที่แล้ว +6

    คุณหมอแทนเชี่ยวชาญทุกโรคเลยค่ะ ทันสมัยและวิเคราะห์ได้เก่งมากๆ

  • @rjbamp5352
    @rjbamp5352 ปีที่แล้ว +2

    ขอแสดงความเสียใจ กับครอบครัวผู้สูญเสียด้วยค่ะ
    ขอบคุณคุณหมอ ที่อธิบายเรื่อง Frosbite และการสูญเสียอุณหภูมิได้ความรู้มากเลยคะ ขออนุญาตในฐานะที่มีประสบการณ์ เทรคกิ้งที่เนปาล มาพอประมาณ ขออนุญาต ให้ข้อมูล เกี่ยวกับอันตรายและข้อควรระวังสำหรับผู้สนใจไปเดินไฮกิ้งหรือเทรคกิ้งที่เนปาลเพิ่มเติม ดังนี้
    -คนไทยที่ไปเดินเทรคกิ้งที่เนปาล หากไม่ระวังส่วนใหญ่จะเจอ altitude sickness /AMS เพราะไปจาก กรุงเทพ เหนือระดับน้ำทะเล 1.5เมตร แต่ไปเดินขึ้นเข้าที่อยู่ที่ความสูง 4-5000เมตร
    -ทีบอกไม่ระวัง ส่วนใหญ่จะเกิดปัญหา คือเวลาซื้อทัวร์ ที่มักจะไปเป็นกลุ่มใหญ่ มีไกด์น้อยคน ก็จะเร่งเดินไปตามกำหนด ให้ถึงที่พักหมู่บ้าน/เมืองต่อไป โดย จะไม่หยุดพัก ให้เหมาะสมต่อการปรับตัวกับระดับความสูง ที่เพิ่มขึ้น (ควรเดินช้าๆ คือ อย่าไต่ความสูงเร็วไป ให้หยุดพัก แต่ละหมู่บ้าน/เมือง อาจจะ2คืน เพื่อให้ร่างกายค่อยๆปรับสภาพกับความสูง ปริมาณ อ็อกซิเจนในอากาศ)
    - เมื่อนักท่องเทียว ไม่สบาย ไกด์ก็อาจจะไม่รู้ หรือ ไม่หยุดเดินทาง เพราะมีคนอื่นในกลุ่มต้องการไปต่อ
    -เมื่อหลายปีมาแล้ว บริษัทประกันในเมืองไทย มีประกันเดินทางครอบคลุม การเทรคกิ้งบนพื่นที่สูงในเนปาล ..เมื่อเกิดปัญหาสามารถเรียก เฮลิคอปเตอร์ มารับลงไปที่พื้นราบ หรือกาฐมัณฑุได้เลย
    แต่เมื่อมีคนไทยไปใช้เคลมประกันมากขึ้น บริษัทประกันในเมืองไทยยกเลิกการประกันคุ้มครองการเทรคกิ้งในพื้นที่สูงในเนปาลไปแล้ว
    เพราะฉะนั้น ใครไปเนปาลตอนนี้จะหาประกันเดินทางไม่ได้ มีน้อยเจ้ามาก ..(ที่ประกันเทรคกิ้ง เหนือระดับน้ำทะเลที่4,000เมตร)
    ในกรณีนี้ หากไม่สบาย ไกด์ เร่งให้เดินต่อ เพราะไม่มีประกันเฮลิคอปเตอร์ และไม่มีเงิน (ประมาณ3-6,000 usd) เรียกเฮลิคอปเตอร์มารับ หรือตัดสินช้า อาการก็อาจจะทรุด จนเข้าขั้นวิกฤตได้
    ดังนั้น การไปเทรคกิ้ง เนปาลต้องเตรียม ตัวเยอะมาก ธรรมชาติสวยงามจริง แต่ก็มีอันตรายอยู่มากเช่นกันค่ะ

  • @Iris-ld8uw
    @Iris-ld8uw ปีที่แล้ว +2

    ไม่เคยรู้มาก่อนเลยคะ ว่าความหนาวมากจะเกิดปัญหาเยอะขนาดนี้ ขอบคุณหมอคะ อยากไปแสงเหนือที่อลาสก้า พอฟังคลิปนี้ไม่ไปแล้วคะ เสื้อผ้าที่ใส่ต้องซื้อใหม่หมด เพื่อกันความหนาวระดับนั้น ไม่รู้มาก่อนเลยคะ คิดว่าใส่หลายๆ ชั้น พอ ไม่เคยคิดว่าความหนาวมันจะอันตรายถึงขนาดนี้ คลิปนี้คุณหมอได้ช่วยชี้แนะ การตัดสินใจของคนที่จะเดินทางไปเที่ยวที่หนาว ควรเตรียมตัวอย่างไร ถ้าเกิดอาการแล้วควรรักษาชีวิตอย่างไร หน้าหนาวมันหนาวจริงๆ คะ อยู่อเมริกามาเป็น 10 กว่าปี รถจอดหน้าบ้านยังต้องวิ่งเข้าบ้าน คนไทยอยากเห็นหิมะ สัมผัสหิมะ ก็ให้เริ่มเที่ยวในเมือง ของประเทศที่เราไปก่อน หนาวจะได้เข้าตามอาคาร ร้านค้า มาต่างประเทศค่ารักษาพยาบาลแพงคะ หาหมอก็ยาก

  • @wonsilapattawee8134
    @wonsilapattawee8134 ปีที่แล้ว +4

    สวัสดีค่ะคุณหมอ สมัยเด็กๆภาคเหนือหนาวสุดๆหนาวจนชาและพูดไม่ชัดคางสั่น ปีนี้เชียงใหม่ยังไม่หนาวแค่เย็นๆช่วงเช้าๆบนยอดดอยอาจหนาวค่ะ ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้ดีๆ

  • @wanidayarnruksa5554
    @wanidayarnruksa5554 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ กำลังจะไปเจอกับอากาศหนาวเย็นที่ Toronto ประมาณกุมภาพันธ์ปีหน้า จะได้นำไปบอกสมาชิกที่จะเดินทางด้วยกันค่ะ 😊

  • @jidzyka
    @jidzyka ปีที่แล้ว +2

    มีเพื่อน 1 คนที่ไปในครั้งนี้ เสียชีวิตค่ะ และอีกคนกลับมา ต้องกลับมา แอดมิด รักษาอาการ frost bite ต่อ
    รับรู้เหตุการจากเพื่อนที่กลับมาว่า
    ตอนกลางคืน เพื่อนที่เสียมีอาการเพ้อ จากนั้นหยุดหายใจ ตอนนั้นยังอยู่บนเขาอยู่ เพื่อนที่เป็นหมอลงมาเจอตอนเช้าเพราะเค้าแยกกันนอน คนเสียชีวิตลงมาก่อน เพื่อนอีกคนยังติดอยู่ข้างบนลงมาไม่ได้ เพื่อนที่เป็นหมอลงมาเจอตอนเช้า ช่วยปั๊มหัวใจให้ครึ่งชั่วโมง แต่เพื่อนไม่กลับมา
    ....เหตุการณ์นี้ทำให้ทุกคนใจหายมากๆเลยค่ะ ชีวิตเป็นอะไรที่ไม่แน่นอน ...
    ขอบคุณคุณหมอมากๆเลยนะคะที่มาให้ความรู้...รู้สึกโชคดีที่เหมือนมีคลังความรู้อยู่ใกล้ตัวค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +3

      เสียใจด้วยนะครับ อาจจะมีทั้ง hypothermia และ high altitude cerebral edema/ pulmonary edema ทั้งหมดเลยครับ

  • @thanyathorbjornsen2980
    @thanyathorbjornsen2980 ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆน่ะค่ะ ตอนนี้ที่นอร์เวย์ก็หนามมากๆ อีกอย่างก็กำลังต่อสู้กับมะเร็งกระเพาะอาหาร ลำบากเรื่อกินมากๆถ้าคุณหมอมีเวลาว่างๆ ช่วยแน่ะนำเกี่ยวกับอาหารการกินกับมะเร็งส่วนนี้ได้ไหมค่ะ ฟังโภชนาการที่นี้ไม่เข้าใจ

    • @AvecBella
      @AvecBella ปีที่แล้ว +1

      ตามลิ้งค์นี้ค่ะ อาหารกับมะเร็ง th-cam.com/video/lPUO5GNN5i4/w-d-xo.html

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov ปีที่แล้ว +3

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน
    ได้ความรู้มากเลยค่ะ ขอบคุณที่คุณหมอมาวิเคราะห์สาเหตุที่เกิดเหตุการณ์นี้ให้ฟัง
    ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วยค่ะ

  • @ptphone2301
    @ptphone2301 ปีที่แล้ว +5

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ วิเคราะห์นักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาลไม่ใช่จากหิมะกัด. #forstbite#hypothermia แบ่งเป็นได้2กรณีคือ1.กรณีน้ำแข็งกัด(forstbite)เป็นอันตรายแต่ก็ไม่ทำให้ถึงตายเป็นผลข้างเคียงอย่างเดียวเกิดได้ที่มือ เท้า จมูก เพราะอากาศหนาวเย็นมากบริเวณนี้จะเป็นบริเวณที่เลือดไปเลี้ยงได้น้อยเจออุณภูมิที่เย็นจัดสิ่งที่เกิดขึ้นคือบริเวณนี้มันจะมีน้ำแข็ง ถ้าน้ำแข็งเกิดในเซลล์ๆตัวนี้จะตายส่วนน้ำแข็งที่อยู่รอบๆเซลล์เกิดการอักเสบๆปลายมือ ปลายเท้า หู ชาเช่นที่มือถ้าเลยข้อมือแรกคนที่เป๋นforstbiteรุนแรงอาจเสียมือไปเลยสาเหตุคือความอบอุ่นในบริเวณนั้นไม่เพียงพอ การใส่ถุงมือที่ไม่มีประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันความหนาวเย็นขนาดนั้นได้ 2.hypothermia เป็นกรณีที่ทำให้ตายได้คืออุณภูมิในร่างกายต่ำลงกว่า32องศาภาวะนี้มีผลต่ออวัยวะต่างๆจนทำหน้าที่ไม่ได้ทั้งการตัดสินใจที่ผิดพลาด สมองสับสนเกิดปรากฏการณ์ถอดเสื้อตัวเองหัวใจเต้นช้าลง ถ้าอุณภูมิเข้าใกล้32องศาร่างกายจะไม่ตอบสนองต่อยาทำให้ความดันตกน้ำท่วมปอดฮอร์โมนผิดปกติตับอ่อนอักเสบระบบๆไตเกิดไตวาย อากาศหนาวมากๆร่างกายจะขาดน้ำ โปรตีนไม่ทำงาน เลือดไม่แข็งตัวสำหรับประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนมีภาคเหนืออากาศหนาวเย็นในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ถ้าใครจะไปเที่ยวควรศึกษาเรื่องเครื่องมืออุปรณ์ต่างๆ อาการต่างๆให้ดี สังเกตอาการดื่มน้ำให้เพียงพอเมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการอย่าฝืนไปต่อต้องรักษาชีวิตตัวเองลงมาก่อนแล้วถ้ามีโอกาสค่อยไปสู้ใหม่ยังไม่สายเกินไป ขอบพระคุณอาจารย์หมอเป็นอย่างสูงที่ให้ความรู้เเรื่องนี้เห็นข่าวแล้วค่ะก็คิดอยู่ค่ะว่าเป็นอย่างไรวันนี้ได้รับความกระจ่างแล้วค่ะดิฉันเคยดูหนังฝรั่งเป็นเรื่องวัยรุ่นติดอยู่บนกระเช้าท่ามกลางหิมะที่ตกมือที่จับเหล็กอยู่มันติดดึงไม่ออกจนกระทั่งมีเลือดไหลออกมาใจระทึกเลยค่ะสนุกตื่นเต้นมาก ดิฉันขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ

    • @ptphone2301
      @ptphone2301 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอ

  • @jurgenklopps8753
    @jurgenklopps8753 ปีที่แล้ว +2

    ผมไปดูข่าวน่าจะเป็นการเดิน trekking บนภูเขาไต่ระดับจาก 1-2,000 ไปจนถึงจนที่สูงที่สุด 5,000 เมตรแล้วไต่ระดับลงมาระยะเวลาเดิน 14-20 เดินวันละ 10 กิโลบนเทือกเขาหิมาลัย ปกติคนไทยจะไปช่วงเมษา

  • @รชตจันทร์วิจิตร
    @รชตจันทร์วิจิตร ปีที่แล้ว +5

    ขอบคุณคุณหมอค่ะ สำหรับความรู้ใหม่ๆ สำหรับคนไทยค่ะ

  • @Sstnwn
    @Sstnwn ปีที่แล้ว +3

    ชอบช่องคุณหมอธานี มากค่ะ ได้สาระความรู้ประดับสมองทุหคลิปเลยค่ะ ไม่ว่าจะสุขภาพกายใจและความรู้ทั่วไป

  • @pplus641
    @pplus641 ปีที่แล้ว +2

    ป้ามีแผนจะไปเนปาลจะไปเส้นทางนั้นด้วยเตรียมร่างกายมาแล้วเป็นปีได้ความรู้เพิ่มเติม​ดีมากๆๆ

  • @rungc.2902
    @rungc.2902 ปีที่แล้ว +3

    ได้ความรู้ใหม่และทำให้รู้ว่ายังเข้าใจผิดอีกหลายเรื่อง
    แม้แต่เรื่องเสื้อผ้าก็ยังต้องเลือกจากผู้มีประสบการณ์ ต้องเลือกให้ดีที่สุด ขอบคุณมากค่ะ

  • @rinna4877
    @rinna4877 ปีที่แล้ว +2

    ช่วงนี้อากาศที่ไทยจะหนาวเย็นก็เป็นคะหมอ หลังจากอาบน้ำอุณหภูมิปกติ หนาวสั่น ตัวร้อนเหงื่อแตก แพนิคกำเริบหนักต้องห่มผ้า2ผืน2-3ชม.ถึงดีขึ้นคะ อีกวันต่อมาก็เป็นอีกช่วงเย็นเหมือนเดิม วันไหนที่เเดดไม่ออกฟ้าครึ่มก็เป็นคะ

  • @ichhalt8658
    @ichhalt8658 ปีที่แล้ว +2

    คุณหมอเป็นญาติกันกับ Lee Min Ho หรือเปล่าครับ หล่อจังครับ เก่งด้วยครับ

  • @vireongrongchompooming219
    @vireongrongchompooming219 ปีที่แล้ว +4

    ขอบพระคุณ คุณหมอที่ให้ความรู้ สาระ ที่เป็นประโยชน์มากๆค่ะ

  • @pimvalan1
    @pimvalan1 ปีที่แล้ว +2

    ตามข่าวนี้เหมือนกันค่ะรู้สึกกลัวหิมะไปเลย เพิ่งไปเที่ยวแคชเมียร์ มาตอนต้นปี แอบหลอน

  • @chittipornchuatram5703
    @chittipornchuatram5703 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะ ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวที่ศูนย์เสียด้วยนะค่ะ
    🤗😘❤

  • @บัวตองเขมิกา
    @บัวตองเขมิกา ปีที่แล้ว +2

    เคยมีกรณีคุณผู้ชาย เป็นนักกีฬา ไปปีนเขา แล้วตาย คนไทยเช่นกันค่ะ เมื่อผ่าศพพิสูจน์แล้วปรากฏว่า เกิดลิ่มเลือดวิ่งไปอุดที่ห้วใจ ทำให้หัวใจวาย เฉียบพลันค่ะ..แล้วก็ล้มลงเสียชีวิตในที่สุดค่ะ..เลยมาเล่าสู่ฟัง.

  • @ภาวิณีพลายละมูล
    @ภาวิณีพลายละมูล ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ
    ขอบพระคุณดูคลิปได้ความรู้มาก ๆ ค่ะ
    ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวที่เสียชีวิตด้วยค่ะ

  • @thanapornpunpoon1050
    @thanapornpunpoon1050 ปีที่แล้ว +1

    หมอทำข่าว ผู้รับเหมาดึงแผ่นเจียรไฟเบอร์ที่ปักอกออก แล้วเลือดไหลเยอะ จนเสียหน่อยค่า 🙏

  • @karen-oj2fm
    @karen-oj2fm ปีที่แล้ว +12

    อยากฝากไว้เป็นข้อมูล:สำหรับคนที่เริ่มต้น อยากจะไปส้มผัสทริปเทรคกิ้ง ธรรมชาติที่งดงามมากและเป็นแรงบันดาลใจ เคยไปทริปเทรคกิ้งที่ความสูงต่างๆกันหลายๆทริป สำหรับทริปนึง ประมาณ 10 วัน สำหรับที่ความสูง สี่พันกว่า ถึง base camp คือ อากาศหนาวมากๆ หิมะลงหนักพร้อมลมแรงมากบนยอดเขาสูง อากาศแปรปรวน จนทรมานนอนไม่หลับ ติดลบเกือบสามสิบถึงสี่สิบกว่า มีหลายคนต้องหยุดเดินไปต่อไม่ได้ เพราะป่วยแพ้ความสูง ปวดหัว ออกซิเจนต่ำ ดังนั้นก่อนไปทริป ควรตรวจสุขภาพ ฟิตร่างกายให้พร้อมให้แน่ใจซึ่งอาจใช้เวลาหลายเดือน ขึ้นแต่ละบุคคล ก่อนที่จะไปทริปที่สูงเกินสี่พัน ถึงห้าพัน นั้นไม่ใช่คิดจะไปก้อไปได้เลย ไม่ควรเชื่อแค่รูปสวยๆของคนขายทริป ควรเริ่มไต่ระดับลองไปจากที่ ความสูงสามพันก่อน หลายๆทริปเพื่อเช็คสภาพร่างกายตัวเองให้สามารถปรับตัวกับความสูงระดับออกซิเจน และอากาศ และค่อยๆ ไปทริปเพิ่มความสูงขึ้นไปที่สี่พัน และห้าพัน เลือกคนจัดและนำทริปที่ใส่ใจและชำนาญจริงๆแจ้งข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาและละเอียดรอบคอบ ทั้งเส้นทางระดับยากง่ายของทริปและรู้จักไกด์ท้องถิ่นที่โน้นแบบรู้จักฝีมือนำทางจริงๆ เพราะไกด์ท้องถิ่นจะต้องเก่ง เดินปิดหัวปิดท้าย และตามลูกทริป ช่วยให้เดินจนทันไม่หลงทาง ปรับแพลนเดินทางตามความเหมาะสม จริงๆแล้วความปลอดภัยด่านแรกสำหรับนักเดินทางมือใหม่ คือให้คนจัดทริปที่เป็นคนในประเทศควรประเมินประสบการณ์ของลูกทริปว่าเทรคกิ้งมามากน้อยแค่ไหน ก่อนจะอนุญาตให้ร่วมทริป ให้ความรู้ แม้กระทั่งเรื่อง ถุงมือความหนา เสื้อผ้ารองเท้าอย่างไรยี่ห้อไหน อุปกรณ์ กันลื่นบนหิมะ เตรียมกระติกน้ำร้อน ถุงน้ำร้อน ผ้าห่มฉนวนกันอุณหภูมิแบบพกพาสะดวก อาหารโปรตีนให้พลังงาน ยา เป็นต้น เพราะพอถึงเวลาอะไรเกิดขึ้นได้เสมอ ไม่มีใครช่วยเราได้ทุกครั้ง แม้กระทั้งไกด์ก้ออาจป่วยหรือบาดเจ็บได้ กับสภาพอากาศแปรปรวน โดยคนที่เพิ่งมาทริปแบบนี้ อาจป่วย อาจพลัดหลง เพราะอัตราการเดินช้ากว่า การล้าของร่างกายมากกว่าคนที่เคยมาหลายครั้ง อาจจะเลยกำหนดเวลาจากถึงที่พักกลางวันกลายไปถึงค่ำมืด ท่ามกลางหิมะตกก้อเป็นได้ ขอแสดงความเสียใจกับการสูญเสีย RIP.... อยากให้คนไปเทรคกิ้งมีประสบการณ์ทีดีและปลอดภัย ไม่อยากให้ข่าวนี้ออกไปมีผลกระทบรุนแรงกับประเทศเนปาลที่อาชีพหลักคือเทรคกิ้ง เพราะประเทศเค้าตอนนี้ก้อน่าจะลำบากมากจากโควิด

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn ปีที่แล้ว +2

    โอ้ว น่ากลัว หลายอย่างเป็นความรู้ที่ไม่เคยรู้เลย ขอบคุณนะหมอแทน กด100like เลย

  • @วรัทยาวัฒนะพานิช

    อาจารย์คะ.. คลิปความรู้ชอบมากค่ะ.. แต่ก็ชอบคลิปบ่นไปเรื่อยๆเหมือนกันค่ะคลายเครียดดี..

  • @warongratratanawarang3057
    @warongratratanawarang3057 ปีที่แล้ว +2

    ไปปีนยอดเขา Everestมีความเสี่ยง(ชีวิต) อยู่แล้ว แล้วแต่ว่าใครจะทำสำเร็จหรือถ้าทำไม่สำเร็จก็อาจต้องแลกด้วยชีวิต RIP
    ป ล เคยแปลคำว่า Everest= ever rest แปลว่าตาย?! ขอบคุณค่ะ 22/ 11/22 4.40 p.m.

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali ปีที่แล้ว +5

    😊🌼🍃 สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน
    Have a good day ka 🍒🥞🥨🍵
    📚 วิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล ไม่ใช่จากหิมะกัด #frostbite
    #hypothermia
    โน้ตบางส่วนค่ะ
    🔺️ โดยสรุปทั้งเคส คุณหมอแทนเชื่อว่าคนไทยทั้งสองคนน่าจะเสียชีวิตจาก hypothermia หรืออุณหภูมิในร่างกายต่ำเกินไป แล้วภาวะนี้มีผลต่อ
    ทุกๆอย่างในร่างกาย รวมทั้งการตัดสินใจแล้วก็สมอง frostbite น่าจะเป็นผลข้างเคียงอย่างเดียวที่เจอ เพราะว่ามันหนาวจนเกินไปแล้วถุงมือ
    อาจจะประสิทธิภาพไม่ถึง แล้ว frostbite ก็เกิดได้นอกจากมือ เท้า ยังมีที่จมูก หู ปาก ตรงนี้ได้หมดทุกที่ อาการแรกเริ่มจะเป็น frostnip ก่อน คือมีอาการชา เริ่มรู้สึกเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ มือเริ่มแข็งถ้าปล่อยไว้นานจะเป็นมากกว่านั้น
    แล้วก็มีปัญหาต่างๆตามมามากมาย
    🔺️ ถ้าคนไหนไปเที่ยวที่หนาวศึกษาเรื่องเครื่องมือต่างๆให้ดี ศึกษาเรื่องอาการให้ดี แล้วขึ้นไปข้างบนดูอาการพวกนี้ไว้ด้วย ดื่มน้ำให้เพียงพอ ถ้าเมื่อไหร่เริ่มรู้สึกว่ามีอาการเหล่านี้ท่านต้องเก็บชีวิตตัวเองไว้ก่อนยอมลงมา ไม่ต้องทน ไม่ต้องฝืน ถ้าท่านฝืนสู้แล้วไปไม่รอด มันก็ไม่มีอะไรให้ท่านกลับมาคิด กลับมามองในแง่ของความสำเร็จอีกแล้ว แต่ถ้าท่านยอมแพ้แล้วกลับไปใหม่ เพื่อจะเตรียมตัวให้ดีขึ้นแบบนี้ท่านจะมีโอกาสอีกครั้งหนึ่งซึ่งท่านจะสามารถพิชิตสิ่งที่ต้องการได้
    🚩 ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัวนักปีนเขา
    ทั้งสองท่านที่เสียชีวิตด้วยค่ะ เป็นคนหนึ่งที่ชอบดูสารคดีเกี่ยวกับประเทศเนปาลและเคยคิดว่า
    อยากไปเทรคกิ้งบ้างตามเส้นทางธรรมชาติ
    หมู่บ้านรอบๆเทือกเขาหิมาลัย ซึ่งคงจะเลือกเส้นทางง่ายๆ ไม่ใช่เส้นทาง Annapurna ตามที่เป็นข่าว แต่ก็ได้ล้มเลิกความคิดนี้ไปหลายปีแล้วค่ะ คิดว่าคงไม่เหมาะกับตัวเองเท่าไหร่ คนที่จะไปต้องมีการฝึกฝนร่างกายให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะไปตรงนั้นได้ เพราะเส้นทางที่เดินถือว่ายากพอสมควร แม้กระทั่งคนท้องถิ่นที่เรียกว่า เชอร์ปาขึ้นไปถ้าเขารู้ตัวว่าไม่ไหวจะรีบเดินลงทันที เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง
    รักษาสุขภาพด้วยนะคะ
    ขอบคุณมากค่ะ
    🌹❤🌹

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 ปีที่แล้ว +1

      @ เอื้องมะลิ
      ขอบคุณมากนะคะคุณครู
      หลับฝันดี...ตื่นมาพบเจอแต่สิ่งดีๆนะคะ ⚘❤⚘
      @ Doctor Tany
      ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ
      ทำงานเหนื่อย...พักผ่อนบ้างนะคะ 🌻🧡🌻

    • @Euang-Mali
      @Euang-Mali ปีที่แล้ว +1

      @@boomsong5729
      😊💖🙏 ขอบคุณมากค่ะ
      เช่นกันนะคะ พักผ่อนอย่างมีความสุขนะคะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณที่นำสิ่งดีๆมาพูดให้ฟังนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @blueboy8235
    @blueboy8235 ปีที่แล้ว +1

    ไม่ไหวอย่าฝืน ส่วนผุ้นำทริป ก็ควรจะมีทีมแพทย์หรือประเมินได้ถูกต้อง สำหรับอาการลูกทีม
    ต้อง professional มีประสบการณ์นำทีมจริงเท่านั้น ก่อนเป็นผู้นำต้องเป็นผู้ช่วยผู้นำที่เคยผ่านได้จริงๆมาก่อน
    ผู้นำกลุ่มและผุ้ที่ไปด้วยกัน ก็เป็นกลุ่มนักปีนเขามีเฟสกลุ่มมีความรุ้มากมายที่แชร์กัน
    แต่ประสบกานจริงน้อยมาก ทฤษฎีกับปฏิบัตินั้นคนละเรื่อง

  • @ployyy.2107
    @ployyy.2107 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอขอบคุณข้อมูลความรู้ค่ะได้รับความรู้จากคุณหมอมากมายเลยค่ะขอให้คุณหมอสุขภาพแข็งแรงค่ะ🥰🥰🥰

  • @W1113-v6b
    @W1113-v6b ปีที่แล้ว +4

    ข้อมูลเหล่านี้ไม่เคยทราบเลยค่ะ มีประโยชน์มากๆค่ะ

  • @Lek44888
    @Lek44888 ปีที่แล้ว +6

    สวัสดีค่ะอาจารย์
    "วิเคราะห์ กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล ไม่ใช่จากหิมะกัด #frostbite #hypothermia
    🍀อาจารย์ได้แสดงความเสียใจกับครอบครัว ของนักปีนเขาหญิงไทย 2 ราย ที่เสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล
    🍀กรณีนี้อาจารย์ได้วิเคราะห์ 2 เรื่อง คือ
    1) กรณี frostbite หรือหิมะกัด ไม่ทำให้ถึงกับเสียชีวิตได้
    2) กรณีที่ร่างกายอุณหภูมิต่ำลง จนอวัยวะต่างๆทำหน้าที่ไม่ได้ คือ hypothermia กรณีนี้สามารถเสียชีวิตได้
    🍀หญิงไทย 2 ราย เสียชีวิตนั้น อาจารย์วิเคราะห์ว่าเกิดจาก hypothermia ภาวะนี้มีผลทุกๆอย่างในร่างกาย
    🍀 hypothermia รักษาไม่ง่าย คุณหมอจะเฝ้าระวังตลอดเวลาขณะที่ทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้นมา บางรายต้องใส่ท่อช่วยหายใจ หรือให้สารน้ำที่มีความอุ่นมากๆเข้าไปในร่างกายเพื่อสร้างความอบอุ่น
    🍀ในขณะที่ร่างกายเย็นอยู่ ต้องทำให้อุณหภูมิสูง เท่านั้น ให้ยาจึงจะได้ผล
    🍀สำหรับ frostbite อาจารย์วิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นผลข้างเคียง เพราะมันหนาวจนเกินไป ถุงมืออาจจะมี ประสิทธิภาพไม่ดีพอ
    🍀frostbite จะเกิดได้กับทุกอวัยวะในร่างกาย อาการเริ่มแรกจะชา มือจะแข็งๆเคลื่อนไหวไม่ค่อยได้ ถ้าปล่อยไว้นานจะเป็นมากขึ้น และจะมีปัญหาต่างๆตามมามากมาย
    🍀ถ้าใครจะไปเที่ยวในที่หนาวๆ ควรศึกษาเรื่องเครื่องมือป้องกันร่างกายต่างๆให้ดี ดื่มน้ำให้เพียงพอ ถ้ามีอาการเริ่มชา มือแข็ง ควรลงมา อย่าไปฝืน ถ้าฝืนไปจะไปไม่รอด
    ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตทั้งสองท่านด้วยค่ะ
    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ🙏🏻

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +2

      ขอบคุณค่ะพี่เล็ก... ข้อมูลกระชับแต่ครอบคลุมเนื้อหาค่ะ

    • @Lek44888
      @Lek44888 ปีที่แล้ว +1

      @@FragranzaTrippa
      ขอบคุณค่ะน้องทริป และยินดีค่ะ

    • @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
      @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง ปีที่แล้ว +2

      หนูก็ไม่ชอบหนาวคะมี้ ฟังคลิปแล้วได้รู้วิธีดูแลตัวเองขึ้นหลายอย่างเลยค่ะ🥰👍มี้หม่ำอะโวคาโด้กับหนูไหมคะ😋🥑

    • @Lek44888
      @Lek44888 ปีที่แล้ว +1

      @@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
      หายแล้วใช่ไหมค่ะ ดีใจด้วยนะคะ🌹🌹

  • @mali.5924
    @mali.5924 ปีที่แล้ว +1

    เป็นคนไทยที่อยู่ต่างประเทศ แต่การพูดจา น่ารัก สุภาพเรียบร้อย ไม่ยกตนข่มท่าน ชอบช่องนี้มากเลย ค่ะ

  • @tuyjomza
    @tuyjomza ปีที่แล้ว +3

    คุณหมออธิบายได้เข้าใจลึกซึ้งเลยค่ะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ🙏🏻

  • @กัลยาโมมะณี
    @กัลยาโมมะณี ปีที่แล้ว +1

    อยากให้คุณหมอแนะนำเรื่องการบำรุงไตคะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +1

      ดื่มน้ำมากๆครับ นอกนั้นอย่าไปทานยาอะไรเองโดยเฉพาะพวกยาแก้ปวด หรือสมุนไพรต่างๆถ้าจะทานก็ถามหมอหรือแพทย์แผนไทยครับ

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 ปีที่แล้ว +1

    ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวผู้เสียชีวิตคะ ไม่ได้อ่านหรือดูข่าวเลยเพิ่งมาทราบจากคุณหมอนี่ละคะ ก้เลยต้องดูข่าวย้อนหลัง แม้จะฝึกฝนร่างกายมาหนักแค่ไหนแต่ปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ก้สามารถทำให้ร่างกายได้รับผลกระทบอย่างมากจนบาดเจ็บและเจ็บป่วยถึงขั้นเสียชีวิตกันมามากมายแต่คนที่และทำสำเร็จและรอดมาได้ถือว่าโชคดีมากๆคะ เพราะชอบดูสารคดีเกี่ยวกะการเดินที่เอเวอร์เรสและเห็นทุกๆคนเดินผ่านศพที่ยังนอนอยู่ใกล้ๆกะเส้นทางการเดินกันจนเหมือนเป็นเรื่องปกติ ขอบคุณนะคะ 🙏

  • @ฮูกคับ
    @ฮูกคับ ปีที่แล้ว +2

    ข่าวเพิ่งออก อาจารย์ก็หยิบมาพูดเลย..ว้าววว

  • @yogalover8219
    @yogalover8219 ปีที่แล้ว +2

    ค่ะ ไป snowboard บนเขา บ่อยๆ พอมือเริ่มเจ็บ ชา จะ รีบ เข้าร้าน อาหาร ไป อุ่นร่างกาย ทันที กลัว😅

  • @wijarnmeepol5745
    @wijarnmeepol5745 ปีที่แล้ว +1

    ทำไมนักท่องเที่ยวต่างชาติในกลุ่มที่คนไทยไปด้วยถึงไม่เสียชีวิต ครับ..แสดงว่าคนไทย สองคนนั้นขาดการเตรียมตัว..

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว

      เตรียมแล้วครับ เท่าที่ทราบมาเคยมีประสบการณ์มาก่อนด้วย คงน่าจะมีเหตุผลอื่นด้วยครับ

    • @wijarnmeepol5745
      @wijarnmeepol5745 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ..ผมตั้งใจจะไปปีนเขาที่เนปาลแต่ก็กังวลกับปัญหาที่จะเกิดขึ้น คงไปได้แค่ที่ไม่สูงมาก..

  • @matthanakhorchidklang973
    @matthanakhorchidklang973 ปีที่แล้ว +1

    ได้ความรู้มากเลยค่ะขอบคุณหมอที่มาอธิบายให้เข้าใจ

  • @jishappy6786
    @jishappy6786 ปีที่แล้ว +1

    ขออนุญาตนอกเรื่องนิดนึง ตุ๊กตาด้านหลังน่ารักมากค่ะ เคยดูคลิปรีวิว perfume collection ของคุณหมอ เพลินมากค่ะ รีวิวตุ๊กตา หรือของสะสมอื่นก็ดีนะคะ 😊

  • @jruskij2036
    @jruskij2036 ปีที่แล้ว +2

    ผมเป็น แพทย์ ขอรบกวน อ.หมอ สอบถามลงรายละเอียด นิดนึง ครับ ตรงที่ การรักษา ผป....ที่เป็นเเล้ว.....ใช้น้ำอุณหภูมิห้อง... กรณ๊ ที่ ผป. พามาถึงเต้นท์/ห้อง ที่ อุณหภูมิ ที่ห้อง/เต้นทฺ อยู่ที่10 ซ. อุณ ภูมิ คนไข้ ที่30 ซ. น้ำที่เรา จะเอาไปวางให้คนไข้ ควรเป็น 10 ซ หรือ มากกว่านั้น ครับ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +1

      ควรให้มากกว่านั้นครับ ถ้า 28 ขึ้นไปได้จะดีมากครับ

  • @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
    @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง ปีที่แล้ว +7

    สุดยอดเลยคะมีสิ่งที่ไม่รู้มาก่อนในคลิปนี้เยอะแยะมากมายเลยจริงๆค่ะ ขอบคุณนะคะคุณหมอ😲🙏💚💙👍..เสี่ยงจะพิชิตเอเวอเรสต์สูงกว่าระดับน้ำทะเลตั้ง 8พันกว่าเมตรขนาดนั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลยนะคะต้องเตรียมร่างกาย(ออกกำลังสม่ำเสมอ) เตรียมใจ เตรียมอุปกรณ์เซฟตี้มากมาย และต้องทดสอบสมรรถภาพตัวเองก่อนด้วยว่าทนได้ประมาณไหนกับสภาพอากาศหนาวเย็นมากๆ เพราะปัจจัยเกิดอันตรายได้ตลอดโดยเฉพาะความหนาวเย็นสุดๆไม่ไหวอย่าฝืนเนาะเพราะไม่สามารถกลับมาแก้มือได้อีกเลย😰(เคยเห็นข่าวมีคนตายเยอะด้วย)..ขอร่วมแสดงความเสียใจด้วยคนนะค่ะ😑😑

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 ปีที่แล้ว +2

      ไปพิชิตเอเวอเรสต์ไหมจิม ?
      จุ๋มไม่ไปนะ 😆 ติดดูคลิป Doctor Tany ทุกวัน 😁

    • @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
      @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง ปีที่แล้ว +3

      @@Jum.A1 หืมมมไม่น่าจะผ่านจิมไม่ถูกกับอากาศหนาวคะจุ๋ม🥶🥶
      ...
      ...
      ที่สำคัญคุณหมอไม่อนุญาต..ฮี้วววว🤭🤭🤣

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 ปีที่แล้ว +2

      @@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง ATK ไม่ผ่านเหอะ 😂

    • @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง
      @ยมฑูตขาว..จิมมั้ง ปีที่แล้ว +2

      @@Jum.A1 ขยี้เหรอ...โอ้ยยยเจ็บนะ🤣🤣🤣🤣

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 ปีที่แล้ว

      @@ยมฑูตขาว..จิมมั้ง โอ๋ ๆๆ เราผิดไปแล้ว ขอโทษน๊าาา 🥺

  • @จอมขวัญดําชู-ต7ฃ
    @จอมขวัญดําชู-ต7ฃ ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคุณหมอค่ะที่มาบอกแระสบการเกี่ยวกับอากาศที่หนาวจัดแบบนี้ค่ะ🙏🙏🙏❤️❤️❤️🙏🙏🙏👍

  • @narosakornpat196
    @narosakornpat196 ปีที่แล้ว +1

    บังเอิญได้ฟังคุณหมอจากคลิปมะเร็งปอด คลิปนี้เป็นคลิปที่2 ชอบมาก เป็นชาแนลความรู้สุขภาพช่องเดียวที่กำลังไล่ฟังให้ครบอยู่ค่ะ ฟีลเหมือนไปหาหมอ แล้วถามซอกแซก แต่หมอเต็มใจอธิบายให้ฟัง ยังไงยังงั้นเลย 😂
    ปล. หัวข้อนี้มีประโยชน์มากค่ะ เข้าใจหาประเด็นมาเล่าจริงๆ 😍 ไม่จำเจเลย
    ขอบคุณที่ทำคลิปให้ความรู้คนไทยนะคะ 🙏

  • @thitiratkuanthitiratkuan8934
    @thitiratkuanthitiratkuan8934 ปีที่แล้ว +2

    คุณหมอทันเหตุุการณ์กำลังอยากรู้พอดีชอบคุณค่ะ

  • @MsRichMANTOY
    @MsRichMANTOY ปีที่แล้ว +1

    ชื่นชมคุณหมอมากครับ ที่แชร์ความรู้ดีดีให้ครับ
    เสียใจกับครอบผู้เสียชีวิตด้วยครับ
    หากเป็นไปได้อยากให้อาจารย์ทำคลิปเกี่ยวกับการที่อยู่ในอุณหภูมิที่สูงเกินไปด้วยครับ ขอบคุณครับ

  • @benjamatkikuchi4667
    @benjamatkikuchi4667 ปีที่แล้ว +1

    ทำไมก่อนไปไม่เตรียมถุงร้อนที่พอเจอการเสียดสีแล้วเกิดความร้อนลูกสาวของเราใช้ทุกวันเอาใส่ในถุงเสื้อจักเก็จ แล้วเอามือใส่เข้าไปน่าจะเตรียมตัวดีๆ

  • @arinzhou
    @arinzhou ปีที่แล้ว +1

    เราเคยไปเหยียบหิมะ เท้าเย็นมาก เพราะรองเท้าเราไม่ได้คุณภาพ ไม่ใช่รองเท้าสำหรับเดินหิมะ เกือบตายค่ะ ดีที่เค้ามีห้องกระจกจุดพักให้ แต่พอออกมาก็คือไม่ไหวจะร้องไห้ เพราะเท้ามันชาไปหมด เดินออกมาเป็นกิโล หูปวดมากกก หูเหมือนจะหลุดออกมา รอดมาได้ค่ะ แค่ -6 เองค่ะที่เจอมา ก็ไม่ไหวแล้ว

  • @ไฟเราะจันทร์รัตน์

    ได้รับความรู้มากๆคะขอบพระคุณอาจารย์หมอแทน ทันเหตุการณ์

  • @desirel2807
    @desirel2807 ปีที่แล้ว +1

    เป็นสถานที่ ที่ไม่ควรไปเลยจริงๆ

  • @Rose-mc6qh
    @Rose-mc6qh ปีที่แล้ว +1

    ข้อมูลคุณหมอมีประโยชน์มากเรย เคยขึ้นสกีลิฟต์ที่CAช่วงหน้าร้อนแต่ข้างบนคือ5องศาพอลมมาก็ลดลงไปอีก ลงมาคือปอดเหมือนเป็นน้ำแข็ง วินาทีนั้นไม่รู้ทำไงเรยตัวแข็งไปหมด ได้แต่พยายามเข้าไปนั่งในห้องน้ำ รอดีขึ้น ดังนั้นความรู้ที่คุณหมอให้มันสำคัญจริงๆค่ะ

  • @ดลฤดีรัตนปิติกรณ์

    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ที่ให้ความรู้ เรียนรู้จากสถานการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นทุกเรื่องค่ะ😊

  • @KarnTovara
    @KarnTovara ปีที่แล้ว +2

    𖤣𖤥𖠿𖤣𖤥 ขอบคุณค่ะคุณหมอ..สำหรับ VDO ความรู้การปีนเขาหิมะ และคำแนะนำการเที่ยวในสถานที่หนาวจัดค่ะ 🙇🏻‍♀️
    ꪔ̤̮ ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของนักปีนเขาทั้ง 2 ท่านค่ะ 🙇🏻‍♀️
    ꪔ̤̮ เนื้อหามีประโยชน์มากค่ะ...ชอบดูสารคดีท่องเที่ยว ผจญภัย ท้าทายต่างๆ เช่น ของ National geographic, Netflix, UBC ฯลฯ ก็จะเป็นคำแนะนำที่ไม่ได้อธิบายด้วยเหตุผลทางการแพทย์ค่ะ จะบอกสิ่งที่ควรทำ ข้อดี-ข้อเสีย ได้ฟังหลักการทางการแพทย์จาก VDO ของคุณหมอนี้เลยค่ะ 😃
    ꪔ̤̮ เรียนสอบถามคุณหมอค่า...คนที่ทำกิจกรรมแบบนี้ นอกจากเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ ฝึกสมรรถนะของร่างกายแล้ว คนที่อาศัยอยู่ในเขตร้อน เช่น คนไทย จะต้องไปอยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิต่ำแบบนั้นล่วงหน้าสักระยะ เช่น เป็นสัปดาห์ เป็นเดือน เพื่อให้ร่างกายปรับตัวก่อนหรือไม่คะ
    ꪔ̤̮ คุณหมอพักทานของว่างค่าา 🍫🍈🥝🍵

  • @mamab3518
    @mamab3518 ปีที่แล้ว +2

    เค้าไม่กลับหรอกค่ะ เค้า ตั้งเป้าหมายไว้แล้ว

  • @halloyo7410
    @halloyo7410 ปีที่แล้ว +2

    เห็นมีพวกนักเดินเขาพูดถึงอาการ high Altitude Sickness ด้วย เป็นไปได้ไหมคะว่าอาการนี้จะมีส่วนทำให้เสียชีวิตด้วย

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      มีส่วนด้วยครับ แต่น่าจะน้อยกว่า Hypothermia ในกรณีนี้ เพราะยังไม่ได้ขึ้นสูงนักแต่มีอาการน้ำแข็งกัดที่รุนแรงทั้งมือเท้าครับ

  • @wilaisuadee3158
    @wilaisuadee3158 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ จะได้เตรียมตัวไปเที่ยวที่หนาวได้ดี

  • @pvaskhatem2394
    @pvaskhatem2394 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอไปเที่ยวที่อิหร่านเดินขึ้นภูเขาสูงพอขึ้นไปครึ่งทางรู้สึกหัวใจเต้นแรงจะนั่งพักแล้วเดินต่ออากาศหนาวเช่นกันค่ะ

  • @IchLiebeTh2022
    @IchLiebeTh2022 ปีที่แล้ว +1

    ได้ความรู้เพิ่มเยอะมากๆค่ะ ขอบคุณอาจารย์ที่สละเวลามาให้ความรู้กับพวกเรานะคะ

  • @ploy1105
    @ploy1105 ปีที่แล้ว +2

    อยากเสนอแนะให้อาจารย์นำเนื้อหาใน TH-cam ลงใน Google Podcast ควบคู่ไปด้วยค่ะ
    เนื่องจากบางทีอยู่นอกสถานที่ เช่น ขับรถ ออกกำลังกาย ที่ไม่สะดวกดูจอ ไม่สามารถทำงานในแอปอื่นควบคู่ไปด้วยหรือ การเปิดวิดีโอจะกินแบตมากเกินไป ก็ยังสามารถฟังข้อมูลที่อาจารย์นำเสนอได้ค่ะ น่าจะเป็นประโยชน์มากนะคะ ขอบคุณมากค่ะ 🙏🏼

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      ทำไม่เป็นน่ะครับ ไว้ว่างๆจะไปศึกษาดูครับ

    • @veronicnan
      @veronicnan ปีที่แล้ว +1

      @@DrTany อยากให้อ.Tanyมีลงช่อง sound cloud ค่ะ แบบบอสพอล The iCon ทำ ลงเสียงยาวๆได้ไม่มีโฆษณาเลย ฟังย้ำๆดีมากๆค่ะ มีผลกำกับพฤติกรรมเราว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ เพื่อสุขภาพ ส่วนตัวตั้งแต่2020 นับถือคุณหมอธีรวัฒน์ เหมะจุฑา หมอV และอ.Tanyมากๆเป็นที่พึ่งให้รู้สึกปลอดภัย ข้อมูลที่เชื่อถือได้สนิทใจ น้ำเสียงของคนที่น่าเชื่อถือจะเป็นแบบที่คุณหมอธานีพูดเลยค่ะ ใจเย็นและมีสมาธิ ข้อมูลชัดเจนสืบค้นได้

  • @SurapholKruasuwan
    @SurapholKruasuwan ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับผม
    ความรู้ใหม่
    .
    โชคดี ที่รอดมาได้
    เคยเจอ อุณหภูมิ -18
    ที่ฮาร์บิน จีน
    .
    โชคดี มีเพื่อน ท้องถิ่น
    เขาจัดการ ชุดกันหนาว
    ของรัสเซีย ให้ ครับผม
    .
    ขอบคุณครับผม

  • @maneeann
    @maneeann ปีที่แล้ว +11

    ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน ที่มาวิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล มีหลายๆ ท่านขอมาในหัวข้อนี้ คุณหมอก็ไม่ทำให้ผิดหวังค่ะ
    👍 ♥️ ซื้อ Super thanks ใต้คลิปวิดีโอแต่ละคลิปที่ถูกใจ เพื่อสนับสนุนช่อง "Doctor Tany" โดยตรงได้นะคะ
    🍄 มีราคาให้เลือกตามนี้ค่ะ
    👉ในคอมฯ และมือถือระบบ Android
    เริ่มที่ 40💙, 100💚, 200💛, 1000 💖 บาท
    👉มือถือระบบ iOS
    เริ่มที่ 69💙, 179💚, 349💛, 1800💖 บาท
    📢 เพื่อเป็นกำลังใจให้คุณหมอทำคลิปดีๆ แบบนี้ตลอดไป ขอบคุณมากค่ะ 🙏🏻

    • @Hoshi1451
      @Hoshi1451 ปีที่แล้ว +1

      🧡❤️🎧🎶

    • @maneeann
      @maneeann ปีที่แล้ว +1

      @@Hoshi1451 ฟังเพลงอะไร ฟังด้วย 😃

  • @TheAlcohol40
    @TheAlcohol40 ปีที่แล้ว +2

    ทำไมริมฝีปากถึงเกิดหิมะกัดน้อยกว่าปลายมือปลายจมูกทั้งที่ลักษณะภายนอกมันดูบอบบางกว่ามากๆ เกี่ยวกับมันอยู่ใกล้หัวใจกว่าหรือระบบการหมุนเวียนเลือดในส่วนนั้นหรือปล่าวครับ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +2

      เลือดเลี้ยงมากกว่าครับ

  • @bimmernita1348
    @bimmernita1348 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคลิปดีๆจากคุณหมอมากเลย ที่อังกฤษ เริ่มหนาว มือชา จริงๆค่ะ เวลาออกจากออฟฟิวเข้าทำงาน หน้างาน ลมพัด 3 องศา ฝนตก มือก็จะเริ่มชา ต้องพึ่งถุงมือ ฟังคุณหมอ ต้องเตรียมอุปกรณ์ รับ ความหนาวสำหรับติดลบซะเเล้ว

  • @boydburin
    @boydburin ปีที่แล้ว +1

    ขอแสดงความเสียใจกับผู้เสียชีวิตด้วยคับ 1ใน2 คนนั้น มีน้องที่ผมรู้จักด้วยคับ เป็นน้องที่น่ารักมากๆด้วยคับ หลับให้สบายนะ อุ๋ย!

  • @wannakornthammakulalert6760
    @wannakornthammakulalert6760 ปีที่แล้ว +1

    ได้รับความรู้ความเข้าใจมากค่ะ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ต้องการไปในสถานที่ยากๆต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อน

  • @Airy715
    @Airy715 ปีที่แล้ว +1

    คลิปนี้้ฟังแล้วน่ากลัวค่ะ..อยู่ไทยตากแดดเหงื่อออกจนเสื้อเปียกโชกแล้วเข้าห้องแอร์สักพักหนาวเฉยฟังคลิปนี้แล้วร้องอ๋อขึ้นมาเลย

  • @issabin7549
    @issabin7549 ปีที่แล้ว +1

    เคยเจอทั้งลม ทั้งหิมะ รีบเข้าร้านค้า เกือบไม่รอด ขอบคณคุณหมอคะ

  • @tensyasha
    @tensyasha ปีที่แล้ว +3

    พอฟังอาจารย์อธิบายเรื่อง Hypothermia แล้ว อยากรบกวนให้อาจารย์อธิบายเรื่อง Hyperthermia ด้วยได้ไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +3

      เคยพูดคร่าวๆในคลิปนี้ครับ th-cam.com/video/9jekexAc5NM/w-d-xo.html