ภาคต่อ วิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 24 พ.ย. 2022
  • สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

ความคิดเห็น • 239

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +19

    ภาคต่อ วิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล #altitudesickness #AMS #HAPE #HACE
    จากข่าวกล่าวถึงเพียงเรื่อง Frostbite หรือ หิมะกัด ที่หญิงไทยทั้งสองท่านถูกหิมะกัดอย่างรุนแรง ในคลิปแรกคุณหมอถึงกล่าวถึงเพียงเรื่อง Frostbite และ Hypothermia เท่านั้น
    ในคลิปนี้จะพูดถึงเรื่อง Altitude sickness (Altitude = ระดับความสูง) ถ้าเราขึ้นบนที่สูงมากๆร่างกายเราจะมีการเปลี่ยนแปลงหลากหลายอย่าง การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลต่อการเสียชีวิตของคนไข้ได้ คือ ทางสมอง และ ทางปอด
    ตอนที่1

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +5

      เมื่อเราขึ้นที่สูงจะมีการเปลี่ยนแปลงคือ ออกซิเจนจะมีน้อย ความดันออกซิเจนน้อย หรือ อากาศเบาบางลง แต่เปอร์เซ็นต์ออกซิเจนจะเท่ากับระดับน้ำทะเล (ปริมาณออกซิเจนในอากาศมี 21% เท่ากันหมด แต่ปริมาณอากาศมีไม่เท่ากัน ในที่สูงโมเลกุลออกซิเจนเบาบางกว่า จึงทำให้ออกซิเจนบนที่สูงมีน้อยกว่า) เมื่อออกซิเจนมีน้อย ร่างกายเราก็จะปรับตัว
      - โดยการหายใจเร็วขึ้นก่อน เพราะออกซิเจนตก เราเหนื่อยร่างกายเราก็ต้องการออกซิเจนเข้าไปในร่างกาย จึงเป็นปฏิกิริยาแรกที่ร่างกายตอบสนอง
      - อวัยวะที่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนก็ต้องการเลือดเพิ่มขึ้น เนื่องจากออกซิเจนเข้าไปสู่เม็ดเลือด เม็ดเลือดจะอยู่ในน้ำเลือดก็จะส่งต่อไปตามอวัยวะต่างๆ แต่ถ้าเม็ดเลือดไม่ค่อยมีออกซิเจนติดมาด้วย ตามอวัยวะก็ต้องการเลือดเพิ่มขึ้น โดยร่างกายใช้วิธีการขยายหลอดเลือดทุกที่ๆจะขยายได้
      ตอนที่2

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +5

      1. เมื่อขยายที่สมองก็จะเรียก Cerebral Vasodilatation เมื่อมีน้ำเลือดเข้าไปที่สมองมากๆซึ่งในสมองมีปริมาตรจำกัดสิ่งที่ตามมาคือ ความดันในโพรงกะโหลกจะสูงขึ้น ถ้าสูงขึ้นมากๆจะส่งผลต่อระบบต่างๆของสมอง ไม่ว่าจะเป็นระบบการคิด ปวดหัว เหมือนคนที่เป็นไมเกรน หน้าที่การทำงานของสมองก็จะเสียไป สับสน ไม่สบายตัว คลื่นไส้ อาเจียนไม่อยากอาหาร หากเป็นมากๆ จะเพ้อ สับสน ไม่รู้เรื่อง หลอน และหากเป็นมากๆสมองจะไหลเลื่อนไปกดบริเวณก้านสมอง ซึ่งเป็นศูนย์การหายใจ ความดัน หัวใจ ที่สำคัญต่อร่างกาย ก็ทำให้เสียชีวิตได้ นี่คือปัญหาการเกิดสมองบวมหรือ Cerebral Edema หรือภาษาทางการแพทย์ เวลาเราขึ้นที่สูงแล้วเกิดสมองบวม เรียกว่า High-altitude cerebral edema (HACE) ถ้าสมองบวมจนเลื่อนลงมาเรียกว่า Cerebral Herniation อาการทางสมองเริ่มแรกจะเรียกว่า Acute mountain sickness หรือเมื่อเราขึ้นที่สูงๆแล้วเราจะเริ่มป่วย อาการแรกคือ ปวดหัว ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้
      ตอนที่3

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +1

      2. อาการทางปอดที่ทำให้คนไข้เสียชีวิตได้ เส้นเลือดที่ปอดเป็นอวัยวะเดียวที่ทำงานแตกต่างกับที่อื่น ระบบอื่นๆของร่างกายถ้าออกซิเจนน้อยจะขยายตัว แต่ถ้าเป็นเส้นเลือดที่ปอดจะหดตัว จะเรียกว่า Vasoconstriction (คือการหดตัว) เพราะ ถ้าปกติเรามีออกซิเจนปริมาณต่ำ ปอดจะพยายามเอาเลือดที่ปอดไปไว้ปอดบริเวณที่ๆมีออกซิเจนสูงให้ได้ แต่ปัญหาคือบนที่สูงออกซิเจนต่ำทุกที่ เพราะเราหายใจเอาออกซิเจนต่ำเข้าไป จะหดเส้นเลือดทั้งปอด จึงทำให้เกิดปัญหาความดันในช่องปอดสูงขึ้น หรือเรียกว่า Pulmonary hypertension หรือ High-altitude pulmonary hypertension คือความดันในเส้นเลือดปอดสูงมากๆส่งไปเลี้ยงหัวใจข้างซ้ายได้ไม่เพียงพอ เลือดก็ไปเลี้ยงทั้งร่างกายไม่เพียงพอ ก็ยิ่งแย่เข้าไปใหญ่ นอกจากนี้เส้นเลือดหดตัวเลือดผ่านไปไม่ได้ ก็จะรั่วออกไปข้างนอกตรงถุงลมในปอด จึงทำให้น้ำท่วมปอด หรือ ที่เรียกว่า High-altitude pulmonary edema
      ทั้งหมดเป็นอาการหลักๆที่พบมักจะมาคู่กัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนไข้เสียชีวิตได้
      ตอนที่4

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +5

      อาการเริ่มแรกที่บ่งบอกว่ามีอาการทางปอด เมื่อมีอาการปอดบวมน้ำหรือ High-altitude pulmonary edema จะมีอาการไอแห้งๆ เหมือนคนที่เป็นหวัด ถ้าเป็นมากกว่านั้นอาจไอมีเลือดปน ตอนแรกจะเป็นสีชมพู หลังๆอาจเป็นเลือดแดงๆเลยก็ได้ ตามมาด้วยหายใจไม่ออก และเสียชีวิตได้
      ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสเป็นสูงกว่าปกติ
      1. ขึ้นที่สูงด้วยความเร็วมากเกินไป ( หากคนเคยเป็นมาแล้วไม่ควรขึ้นที่สูงเร็วเกิน 400-500 เมตรต่อวัน)
      2. โดยเฉพาะคนที่เคยเป็นมาก่อน จะเป็นง่ายกว่าคนทั่วไป
      3. ยิ่งออกแรงเยอะจะยิ่งเป็น ยิ่งออกแรงเยอะสมองยิ่งบวมง่าย บางคนมีเส้นเลือดที่จอประสาทตาแตก อาจทำให้ตาบอดได้ หากบอดบนภูเขาก็ยิ่งอันตราย
      ส่วนความเชื่อที่ยังไม่มีหลักฐานพิสูจน์
      - หากคนสูงอายุขึ้นที่สูงจะมีโอกาสสมองบวมน้อยกว่าคนอายุน้อย อันนี้ยังไม่มีหลักฐานยืนยัน แต่มีรายงานบ้าง
      - ทุกคนมีความเสี่ยงเท่ากัน ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ หรือ เป็นคนออกกำลังกาย ร่างกายแข็งแรงแค่ไหน
      ตอนที่5

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +5

      5. ยา ที่ควรเตรียมไป
      - เป้าหมายเพื่อทำให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับที่สูงได้เร็วมากขึ้น ปกติร่างกายก็ปรับอยู่แล้วแต่ใช้เวลานาน เมื่อออกซิเจนน้อยเราจะหายใจเร็ว ข้อเสียของการหายใจเร็วขึ้นร่างกายจะเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปเยอะ เลือดจะกลายเป็นด่าง ซึ่งร่างกายไม่ชอบ สมองเราจะสั่งให้ร่างกายเราหายใจช้าลง ก็จะเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ทำให้เลือดไม่เป็นด่าง แต่ผลเสียก็คือ ออกซิเจนก็จะน้อยลง
      นอกจากนี้ร่างกายเรามีการปรับตัวเมื่อมีด่างสูง หลังจากสมองสั่งให้หายใจช้าลง แต่ร่างกายก็ยังไม่ได้กลับมาสู่สมดุล จนกว่าไตจะขับด่างทิ้งออกไป ร่างกายจะปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติ เรียกว่า Acclimatization
      ตอนที่6

  • @mameawma
    @mameawma ปีที่แล้ว +30

    นอกเหนือจากที่ อ.แทน ให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและความรู้แล้ว ขอเสริมจากปสกส่วนตัวที่เคยไป Everest Base Camp มานะคะ ตอนไป EBC ความสูงอยู่ที่ 5000 นิดๆ วันที่ไปถึง Base Camp ยังอาการไม่หนักมากเท่าไหร่ แต่วันก่อนหน้านั้นที่ค่อยๆไต่ความสูง ก็มีอาการ ams เป็นระยะ แต่ตามโปรแกรมทางไกด์จะมีวันให้เราปรับตัวอยู่แล้วค่ะ เลยมีอาการไม่มาก แต่ความจริงคือ ต่อให้เคยไปแล้ว ทริปถัดมาคือ ABC ที่ความสูงและเส้นทางดูจะดีกว่า EBC ด้วยซ้ำ แต่เรากลับเป็น ams หนักกว่าตอน EBC ค่ะ เพราะฉนั้น การเตรียมตัวก็อาจจะยังไม่การันตีได้ว่า คุณจะไม่เป็น ams อีก เพราะสภาพร่างกายของคนเราเปลี่ยนไปทุกๆวัน และควรจะประเมินอาการของตัวเองหน้างาน คือสิ่งที่สำคัญ เพราะอาการพวกนี้เปลี่ยนแปลงวันต่อวัน ถ้าไม่ไหวก็อย่าฝืน ดีที่สุดค่ะ
    ถ้าดูจากเส้นทางเดินของทริปที่มีผู้เสียชีวิตนี้ คนที่เดิน Trek จะทราบดีว่า หากเดินตามระยะและเส้นทางปกติอาจจะไม่สูญเสียขนาดนี้ค่ะ แต่ทริปนี้เกิดจากความประมาทเลินเล่อของผู้นำทริป ที่ใช้เส้นทางลัดและพยายามจะทำเวลาให้สั้น ทริปนี้ต้องเดินทั้งหมด 10 วันตามปกติ แต่ผู้นำทริปจัดให้เหลือแค่ 5 วันเดิน ทำให้ลูกทริป ams กันหนักมากค่ะ ปกติแล้วการเดินที่ดีจะต้องมีวันปรับตัวเป็นระยะ ทุกๆ 2 วัน แต่ทริปนี้คือยิงยาวรวดเดียวขึ้นไปเลยค่ะ ร่างกายเลยปรับตัวไม่ทันกับความสูงประกอบกับเส้นทางลัดที่โหดร้าย หิมะที่ตกหนัก อุปกรณ์ที่ไม่พร้อม การจัดการที่ไม่ดีของผู้นำทริป ความสูญเสียจึงเกิด ทั้งที่จริงๆไม่ควรเกิดเลยค่ะ การเสียชีวิตส่วนใหญ่จะเสียชีวิตกับทริปที่เป็นการ summit หรือขึ้นยอดเขามากกว่า ทริป Trek ปกติ ไม่น่าเกิดขึ้นจริงๆ กลุ่มเพื่อนนัก Trek ได้ฟังทีไรก็ปวดหัวใจทุกที ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของเพื่อนๆทั้ง 2 ท่านอีกครั้งค่ะ
    🖤🖤

    • @pauleagle6281
      @pauleagle6281 ปีที่แล้ว

      ผมสงสัยว่าจะย่นเวลาจาก 10 วัน เป็น 5 วัน จริงหรือ (ดูคุณกล่าวหารุนแรง)
      ช่วยบอกได้ใหมครับว่าทริปที่ปกติใช้เวลา 10 วันต้องเดินผ่านอะไรบ้างครับ

    • @mameawma
      @mameawma ปีที่แล้ว +13

      @@pauleagle6281 เราอ้างอิงจากข้อมูลที่มีนักปีนเขาที่ใช้เส้นทางนี้ประจำ วิเคราะห์เส้นทางเดินของกลุ่มนี้ออกมาแล้วค่ะ ว่าหากเดินปกติมีวัน acclimatized ตามสมควร จะใช้เวลาเดินรวมราว 10 วัน แต่กลุ่มนี้ใช้วิธีการนั่งรถขึ้นไปจนถึง Manang (3500m) ซึ่งปกติเขาจะไม่นั่งรถขึ้นไปเกินกว่า 2000m แต่กลุ่มนี้ย่นระยะเวลาและตัดวัน acclimatized ออกในช่วง ascent โดยนับวันเดินจริงจะเหลือแค่ 5 วันเท่านั้นค่ะ รวมวันที่ข้าม pass ไปเส้นทางลัด ข้อมูลทุกอย่างที่เอามาพูดนั้น ไม่ได้พูดกล่าวหาใคร แต่มีข้อเท็จจริงที่ได้มีการวิเคราะห์ในหมู่นักปีนเขามาแล้วค่ะ เราเองไม่อาจจะกล่าวหาใครได้ หากไม่มีข้อมูล เรามีข้อมูลที่เป็น itinerary ของทริปนี้อยู่ เพราะในกลุ่มนักปีนเขาเอง เรื่องนี้เป็นเรื่องรุนแรงและไม่สมควรจะเกิด
      ด้านล่างคือตารางของกลุ่มนี้นะคะ เราพิมพ์ออกมาให้ดู เพราะยืนยันว่ามีข้อมูลยืนยันทุกอย่างไม่ได้กล่าวหาใครค่ะ
      D1 - BKK-KTM
      D2 - KTM-drive to Besishaha (823m)
      D3 - Jeep drive to Manang (3500m)
      D4 - Acclimatized at Manang (3500m)
      ----- เริ่มเดิน ----
      D5 - Hike to Khangsar (3700m)
      D6 - Hike to Tilicho BC (4200m)
      D7 - Hike to Tilicho High Camp (4900m)
      D8 - Hike to Mesokanta Pass (5464m), down to Kaisang Kharka (3600m)
      D9 - Hike down to Jomsom (2700m)
      ---- จะเดินจบที่นี่ ---
      D10 - Fly to Pokhara
      D11 - Fly to KTM
      D12 - KTM-BKK
      ปกติแล้วหากคนที่จะไป นั่งรถไปลง Besishaha D2 แล้วเริ่มเดินตรงนี้ หรือ หากจะนั่งรถอีกหน่อยจะไปถึง Chame เพื่อลงเดิน ทำให้ช่วง D2-D4 จะถูกขยายออกมาอีก 2 วัน และต้องมีวัน acclimatized day อีก 2 ครั้งระหว่างขึ้นค่ะ แต่ทริปนี้กลับตัดวัน acclimatized ออกเกือบทั้งหมดค่ะ เดี๋ยวจะลงเส้นทางที่เหมาะสมในการเดินให้ดูนะคะ ว่ามันควรจะเป็นแบบไหน เดี๋ยวโพสต์นี้จะยาวเกินไป

    • @mameawma
      @mameawma ปีที่แล้ว +11

      @@pauleagle6281 อันนี้คือเส้นทาง Trek ในเส้นทางนี้ ที่ควรจะเป็นค่ะ จะใช้เวลาในการเดิน 10-12 วัน ไม่รวมหัวท้าย (วันที่เป็นขาลง descent อาจจะย่นได้อีกซัก 2 วัน) พอจะนึกภาพออกมั้ยคะ ว่าเราไม่ได้กล่าวหาใคร แต่การ Trek ขึ้นที่สูงนั้น ไม่ควรจะเร่งระยะเวลาไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม ลูกทีมแต่ละคน มี performance และ อาการป่วยไม่เท่ากัน การที่ push ให้ทริปนั้นสั้นจนเกินกว่าจะเป็นไปได้ ในบรรดานักปีนเขา ถือว่าเป็นการประมาทอย่างร้ายแรงนะคะ นำมาสู้ความสูญเสียที่ประเมินไม่ได้
      D0 - KTM
      D1 - KTM-besishahar
      ---- เริ่มเดิน ---
      D2D3 - Chame (1425m) Dharapani (1960m)-Upper Pisang (3230m)
      D3D4 - Upper Pisang-Manang (3450m)
      D4 -Acclimatized day in Manang (3450m)
      D5 - Manang-Khangsar-Shree kharka (4150m)
      D6 - shree kharka-Tilicho BC(4620m)
      D7 -Tilicho BC-Tilicho Lake-Mesokanto Pass (5200m)
      D8 - Nama phu kharka-jomsom (2750m)
      D9 - marpha-tukuche-kalopani (2535m)
      D10 - kalopani-ghasa-tatopani (1170m)
      -- (หากทริปไหนต้องการย่นเวลา จะนั่งรถลงจากจุดนี้) --
      D11- tatopani-shikha-Ghorepani (2870m)
      D12 - Ghorepani -poon hill-dobato (3440m)
      D13- dobato-muldhai viewpoint-kot danda(2340m)
      ---- ตามรูทจะเดินจบตรงนี้ค่ะ ---
      D14- kot danda - Pokhara (850m)
      D15 - Pokhara - KTM
      D16 - KTM-BKK
      *โพสต์อาจจะยาวไปหน่อย ต้องขออนุญาติใช้พื้นที่ของอ.แทนอธิบายให้คนที่อยากทราบข้อมูล ให้ได้ทราบข้อมูลเพิ่มด้วยค่ะ*

    • @pauleagle6281
      @pauleagle6281 ปีที่แล้ว

      @@mameawma
      ข้อมูลการเดินทางของกลุ่มนี้คือ...
      ...ออกจาก Besisahar (สูง 820 เมตร) วันที่ 11 พฤศจิกายน
      ไม่ได้บอกชัดว่าเริ่มเดินเท้าจากที่นี่ น่าจะไปเริ่มเดินเท้าตรงที่สูงขึ้นไป
      ...ถึงทะเลสาป Tilicho (สูง 4,919 เมตร) วันที่ 17 พฤศจิกายน คือใช้เวลา 6 วัน
      ...วันที่ ศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน มีเสียชีวิตตอนเช้าที่ตีนเขา Mesokanto La Pass ตรงระดับความสูง 4,200 เมตร
      หมายเหตุ..จุดสูงสุดของ Mesokanto La Pass อยู่ที่ 5,135 เมตร ไม่มีข้อมูลว่าขณะเสียชีวิตได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วหรือยัง
      ...ระยะเวลาจาก Besisahar ถึงทะเลสาป ใช้เวลา 6 วันเป็นเรื่องปกติ ทัวร์เจ้าใหนก็ประมาณนี้
      เมื่อดูข้อมูลอันแรกที่คุณว่าเป็นการเดินทางของกลุ่มนี้
      ...ออกจาก Besisahar D3 คือวันที่ 11
      ...hike to Mesokanto pass D8 ก็จะตรงกับวันที่ 16
      แต่พวกเขาเดินที่ Mesokanto pass วันที่ 18...
      นั่นหมายถึง...
      ...เขาพักที่ Manang (สูง 3,450 เมตร) ยาวกว่าที่คุณเขียนไว้ไปอีก 2 วัน
      ...หรือเขาเริ่มเดินเท้าก่อน Manang จุดที่นิยมกันคือ Charm (สูง 2,610 เมตร) หรือ Dharapani (สูง 1,900 เมตร)
      ถ้าดูข้อมูลอันที่สองที่คุณว่าเป็นแบบที่ควรจะเป็น
      ...เริ่มเดิน D2 ให้ตรงกับวันที่ 11
      ..Mesokanto pass D7 ก็จะตรงกับวันที่ 16...เหมือนอันแรก
      เมื่อพวกเขาเดินผ่าน Mesokanto pass วันที่ 18 แสดงว่าพวกเขาใช้เวลานานกว่าที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำ..ยิ่งดีไม่ใช่หรือ
      ถ้าดูรายละเอียดเปรียบเทียบอันแรกกับอันที่สอง อันที่สองที่คุณว่าควรจะเป็นใช้เวลานานกว่า (แบบว่าเขาใช้เวลากัน 10 วัน เอามาย่นเหลือ 5 วัน) จะเห็นว่าเวลาในการไต่เขาขึ้นไปเท่ากัน ที่ต่างกันเป็นขาลง...ไม่มีผลต่อสุขภาพผู้เดินทาง
      ...ผมสรุปว่า schedule ปกติ ไม่เร่งรัด...
      เรื่องที่คุณว่าใช้ทางลัด..ผมยังสงสัยว่าคุณหมายถึงอะไร
      แต่ที่พวกเขาพูดว่าทางลัด...ผมจะเขียนในเม้นถัดไป

    • @pauleagle6281
      @pauleagle6281 ปีที่แล้ว +2

      ...Annapurna circuit ออกหมู แต่ไปทะเลสาป trilicho ไม่หมู...
      ผมเขียนถึงเส้นทางแถวภูเขา Annapurna circuit...
      ง่ายๆคือ มีภูเขา Annapurna สามยอดสูงเฉลี่ย 8,000 เมตร
      รอบๆภูเขานี้จะเป็นเส้นทางที่คนนิยมไปเดินกัน
      ถ้าให้เส้นทางนี้เหมือนเส้นรอบวงของวงกลม ยอดเขาจะอยู่ตรงกลางเยื้องมาด้านล่าง
      เส้นรอบวงนี้เรียกว่า Annapurna circuit
      อาจมอง Annapurna circuit นี้ เหมือนมองแป้นนาฬิกา
      ที่นิยมกันจะเริ่มเดินทางใน circuit ที่เมือง Besisahar ตรงจุด 5 น. แล้วเดินทางทวนเข็มนาฬิกา ทางทวนเข็มนาฬิกาจะไม่สูงชัน การไต่ความสูงไม่เพิ่มเร็วมาก จุดสูงสุดของ circuit ที่ Thorong pass สูง 5,416 เมตร คนมักจะไม่เดินทางครบรอบ (เพราะจะใช้เวลานาน) มักจะเดินกันราว สองในสามของเส้นรอบวง
      เนื่องจากมีผู้ไปเที่ยวมากตามแนว Annapurna circuit จึงมีโรงแรม schedule จะเป็นแบบเดินราว 5-7 ชั่วโมง แล้วพักที่โรงแรม เขามักบอกว่าค่อนข้างง่าย
      แต่การไปทะเลสาป Trilicho ซึ่งเป็นทะเลสาปที่อยู่สูงที่สุดในโลก ต้องเดินทางออกนอกแนว Annapurna circuit เข้าหาศูนย์กลาง มีการไต่ความสูงเร็วกว่าตาม circuit จาก Manang ความสูง 3,450 เมตร ไปทะเลสาปที่ความสูง 5,040 เมตรในเวลาสามวัน ซึ่งหมายความว่าไต่ในอัตรามากกว่า 500 เมตรต่อวัน ซึ่งอยู่ในย่านอันตราย
      อีกอย่างในเส้นทางนี้มักไม่ที่พัก ต้องนอนในเต้นท์ ถ้าลมแรงและอากาศหนาวจะลำบาก
      ในวันที่พวกเขาไป อุณหภูมิที่ทะเลสาป -9 องศา และลมแรง จึงมีการเกิด frost bite ไม่รู้ว่านอนเต้นท์กันหรือเปล่า คงลำบากมากถ้าเตรียมตัวและเตรียมอุปกรณ์ไม่พอ
      เส้นทางทะเลสาปนี้ บางทริปจะย้อนกลับทางเดิมมาเข้า circuit แต่บางทริปตัดผ่าไปทะลุอีกด้านของ circuit...บางคนอาจมองว่านี่เป็นทางลัด
      โดยสรุป คนที่จะไปทะเลสาปต้องรู้ว่า สภาพยากกว่าไปตาม Annapurna circuit ทั่วไป ต้องคิดว่าเป็นสภาพก้ำกึ่งระหว่างปีนเขาสูงกับการเดินแบบ trek ใน Annapurna circuit การเตรียมตัวและอุปกรณ์ต้องพร้อมว่าไปเดิน Annapurna circuit

  • @gommgamm
    @gommgamm 4 หลายเดือนก่อน +1

    เพิ่งเป็นมาโหดมาก สำคัญคือต้องมีความรู้ด้านนี้ก่อนขึ้นที่สูง เพราะถ้าไม่มีจะไม่รู้ตัวแล้วคิดว่าเป็นโรคอื่นแล้วไม่ใส่ใจ (ปีนที่ 4600) ตอนอยู่บนเขาปกติแต่พอลงมาหนักมาก ไอจนเจ็บ ขยับเหนื่อย หัวใจเต้นระริก วึบๆ สุดท้ายร่างกายตัดเอง น่ากลัวมาก

  • @jitpakornboonna9565
    @jitpakornboonna9565 ปีที่แล้ว +8

    คุณหมอ
    ใดๆคือเสื้อน่ารักมวกก
    ขอเม้นก่อนฟังนะคะ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +5

    วันนี้ยอดผู้ติดตามช่อง TH-cam ของ Doctor Tany เพิ่มเป็น ✴3.52 แสนคน✴แล้วค่ะ
    เป็นช่องที่นำเสนอความรู้ด้านสุขภาพ เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ติดตามแล้วคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นค่ะ
    💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ💐💐💐💐💐💐💐💐💐💐

  • @ALL86898
    @ALL86898 ปีที่แล้ว +6

    สวัสดีค่ะอาจารย์แพทย์🙏คุณหมอแทน😍วันนี้ดูดี ค่ะ เรื่องที่พูดคือภาคต่อจากเรื่องนักปีนเขาไทยเสียชีวิตที่เนปาล🌹 เพื่อให้การวิเคราะห์ละเอียดมากขึ้น 🌻เมื่อเราอยู่ในที่สูงมากๆในทางสมองปอด จะเกิดอาการผิดปกติเพราะอากาศในที่สูงเช่นภูเขานั้นจะมีออกซิเจนน้อยลงกว่าปกติปกติ คือมี21 % เมื่อเราขาดออกซิเจนมากๆร่างกายพยายามจะหายใจจะเพิ่มออกซิเจนเข้ามาในร่างกายเพราะต้องการเลือดมากขึ้น คือร่างกายต้องขยายหลอดเลือด ในสมองเพราะต้องใช้ออกซิเจนมาเลี้ยงสมองเหมือนเดิม นั่นคือร่างกายเราจะเกิดความดันขึ้นในโพรงกระโหลกสมอง มีน้ำอัดเข้าไป จะมีอาการปวดหัว สมองจะสับสน เพลีย เพ้อ คลื่นไส้อาเจียน หลอน คือเกิดอาการสมองไหล เมื่อสมองเลื่อนกดทับ จะเกิดสมองบวม ทำให้สมองเลื่อนลงมาในช่องที่เป็นศูนย์ควบคุมของร่างกาย จะเกิดอาการน้อยๆก่อน คือ⚘️ปวดหัวก่อน คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารมากขึ้น🦋อาการทางปอดที่ทำให้เสียชีวิตได้ ระบบต่างๆเส้นเลือดในปอดถ้าขาดออกซิเจนจะหดตัว ออกชิเจนต่ำ ปอดจะพยายามให้เลือดที่มีมากไปเลี้ยงที่น้อยๆต่างกับอวัยวะต่างๆตรงกันข้าม ปอดพยายามหดตัวทั้งปอด ตรงที่มีออกชิเจนน้อย พอขึ้นที่สูงปอดจะหด เส้นเลือดหดตัวไปไหนไม่ได้เพราะเส้นเลือดหดตัวเกิดน้ำท่วมปอด ความดันเลือดไม่พออันตรายๆ 🍊สมองบวม ปอดบวมน้ำ อาจเสียชีวิตได้ 💖คนขึ้นที่สูงจะเกิดอาการไอแห้ง ก่อนไม่หยุด เลยอาจมีเลือดออกมาด้วย🍇ป้องกันอย่างไรในเมื่อต้องไปที่สูง 🍊ต้องเคลื่อนที่อย่าเร็ว ในการขึ้นที่สูง และคนที่มีอาการต่างๆเหล่านี้มาก่อน ถึงแม้ร่างกายแข็งแรงก็เป็นได้ เสี่ยงทั้งสิ้นอย่าออกแรงเยอะ เส้นเลือดอาจแตกได้ ที่ตาจอประสาทตาก็แตกได้🍀การตรวจเลือด สามารถบอกได้ว่าร่างกายคนเรานั้นเป็นอะไรได้บ้าง 🎈มีการกลายพันธ์ของยีน ในครอบครัว จะมีความดันในปอดสูงกว่าปกติจะมีการตอบสนองไม่เหมือนคนอื่นของปอดแตกต่างคนทั่วไป 💞การขึ้นเขาโดยตรวจมาแล้วว่าไปได้ต้องปฏิบัติอย่างไร🌴จองทัวร์ที่มีไก้ดเยอะลูกหาบเยอะมีหลายคนจะดีเพราะ สามารถพาคนป่วยลงมาได้ถ้ามีคนป่วยในทีม ดู🌹ประกันเกี่ยวกับการขึ้นที่สูง จะเรียกใช้เฮลิคอบเตอร์มารับถ้าตอนพาตัวลงมาถ้าป่วยแต่แพงมาก ควรทำประกันในเรื่องนี้🌵การปฏิบัติตัวอย่าฝืนอย่าขึ้นที่สูงอย่างรวดเร็ว จะมีอาการเกิดปวดหัวเริ่มช้าอาจ12ช.ม ต้องกินอาหารข้าวเพิ่มมีพลังงานพอ อย่าเดินเร็วต้องมีการพักเป็นระยะ🌾ต้องมีออกซิเจน ติดไปแก้ไขได้จากออกชิเจน🐬ต้องมียาติดไปด้วยเพราะช่วยเราในการปรับตัวออกชิเจนเบาบางจะหายใจเร็วเวลาขึ้นที่สูง ร่างกายจะเป็นด่างเลือดเป็นด่าง ร่างกายจะปรับตัวที่สมองสั่งให้หายใจช้าลง แต่มีผลเสียPHไม่ปกติเพราะ ดังนั้นไตจะต้องช่วยขับด่างออกจากเลือดใช้เวลาไตใช้เวลาทำประมาณ-7วัน💞 แก้ไขอย่างไร ใช้ยาไดอาม๊อก250มิลลิกรัม กินก่อน24ช.มก่อนขึ้นที่สูงกินต่อเนื่อง มีหน้าที่เก็บกรดไว้ในร่างกายข้อเสียการกินยานี้ มีอาการเท้าชา พอกินยาแล้วทานเป๊บซี่จะจืดคนแพ้ซัลฟาต้องทดลองกินก่อน💖มียาอีกตัวคือสเตรียรอย ต้องมีจำนวนเพียงพอ2-4มิลลิกรัม ทุก-6ช.ม4ครั้งต่อวัน ยากดอาการเช่นปวดหัว สับสนกินแล้วช่วยได้🐒กินยาแล้วต้องระวังในการเดินทางไตจะปรับเป็นอาทิตย์💖ยาขยายหลอดเลือดในปอดอาจทำให้ความดันลด 30มิลลิกรัมเช้าเย็น กินแล้วแบบออกฤทธิ์ช้าๆ คนที่กินคือคนที่เคยมีอาการไอ 💖ยาขยายหลอดลมเวนโทลินยาพ่น(โรคหอบ) 4ครั้งต่อวัน พ่นได้ต้องหัดพ่นให้เป็นก่อนใช้ ทำให้น้ำในปอดหายไปเร็วขึ้น🌻ความ สูงจากระดับน้ำทะเลกิโลกว่า-2กิโลถ้ามีอาการให้ยาอย่าขึ้นต่อ ตามยาที่บอก 🦋กินน้ำกินอาหารให้เพียงพอ ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ🙏❤️👍

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    ยอดผู้ติดตามเพิ่มเร็วมากค่ะ
    พรุ่งนี้คง 3.53 แสนซับค่ะ
    รอฉลองโล่ทองนะคะ
    คุณหมอพักผ่อนมากๆนะคะ
    ขยันจังค่ะ ดึกแล้วยังตอบคอมเม้น ใจดีที่สุดค่ะ 🌻🧡🌻

  • @thaipodsmdt2012
    @thaipodsmdt2012 ปีที่แล้ว +9

    เป็นคนหนึ่งที่มีความฝันว่าถ้าเงินพร้อมเวลาพร้อมอยากจะไป trekking แถวเนปาลสักครั้งหนึ่งในชีวิต ดูคลิปใน TH-cam บ่อยมากค่ะเกี่ยวกับการ trekking แนวนี้ แต่ไม่เคยมีใครมาบอกเลยว่าต้องเตรียมตัวเตรียมยาแบบไหน คลิปของคุณหมอมีประโยชน์ที่สุดเลย ขอบคุณมากนะคะ

    • @zizah..
      @zizah.. ปีที่แล้ว +1

      ลองปรึกษา หมอเฉพาะทาง Travel Medicine ดูค่ะ
      เรื่องยาให้หมอจัดให้ เราจะได้ไม่วิตกเวลา ทานยา ค่ะ
      ขอให้ได้ไปเที่ยวตามที่หวังค่ะ

  • @arinzhou
    @arinzhou ปีที่แล้ว +3

    หาคำตอบกับข่าวนี้ แบบอยากรู้สาเหตุมากๆว่าทำไมถึงต้องเป็นคนไทยที่ตาย แล้วทำไมถึงตายทั้งสองคน ดูข่าวช่องอื่นนำเสนอบอกแค่ว่าเสียชีวิต แต่ไม่มีบอกสาเหตุ ขอบคุณคุณหมอที่ให้ความรู้ เป็นประโยชน์ต่อคนไทยมากๆ

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีคะ ขอบคุณมากๆคะคุณหมอวันนี้มาให้ความรู้ที่ดีดีมีประโยชน์มากคะ👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷🌹❤️

  • @amphan17413
    @amphan17413 ปีที่แล้ว +7

    สวัสดีค่ะคุณหมอธานี
    วันนี้ทรงผมเท่จัง
    อันนี้เป็นข้อมูลเก่าของเราการเดินทางไปเนปาลเมื่อ17.4.2000 ตอนนั้นแฟนสุดหล่อกับเพื่อนๆsurprise ครบรอบ30ปีวันเกิด ก็ยังมีข้อมูลอยู่ อาจจะมีประโยชน์สำหรับคนที่สนใจจะไปบ้าง
    เสื้อผ้าตามหลักการของหัวหอม
    ต้องคำนึงถึงความผันผวนของอุณหภูมิรายวันสำหรับการเดินทางแม้ว่าอากาศจะอบอุ่นมากในวันที่มีแดดจัดโดยมีอุณหภูมิประมาณ 25 °C ในระหว่างวันแม้ในระดับความสูงที่สูงขึ้น แต่คุณต้องคาดหวังว่าอุณหภูมิจะต่ำกว่าศูนย์ในตอนกลางคืนและในช่วงเช้าตรู่ (ลดลงถึง -22 °C ที่ระดับความสูงมากกว่า 5,000 ม. ) โดยเฉพาะบนที่สูง.. ดังนั้นการมีอุปกรณ์การเดินทางที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ
    *หลักการของหัวหอม (ผิวหนัง) หมายถึงองค์ประกอบของเสื้อผ้าในลักษณะที่เสื้อผ้าหลายชั้นที่มีความหนาและวัสดุต่างกันมารวมกัน เสื้อผ้าแต่ละชิ้นถูกดึงมาทับกัน คล้ายกับหัวหอมแต่ละชั้น ข้อดีคืออากาศจะถูกเก็บกักไว้ระหว่างชั้นของเสื้อผ้าเพื่อเป็นฉนวนความร้อนมากกว่าการเก็บเสื้อผ้าที่มีความหนาเพียงไม่กี่ชั้น ความยืดหยุ่นยังเป็นข้อได้เปรียบ: การถอดหรือใส่ทีละชั้น เสื้อผ้าสามารถปรับให้เข้ากับอุณหภูมิและสภาพอากาศในปัจจุบันได้อย่างง่ายดาย แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วก็ตาม เสื้อผ้าสามชั้นคือ:
    *ชั้นใน (ชั้นขนส่งเหงื่อ)
    สวมใส่โดยตรงกับผิวหนัง เช่น ชุดชั้นใน มันควรจะขนส่งความชื้น (เหงื่อ) ออกจากผิวหนังเพื่อให้มันแห้ง และยังเป็นฉนวนและให้ความอบอุ่นที่อุณหภูมิต่ำ ความรู้สึกของร่างกายที่สบายเป็นสิ่งสำคัญ ผ้าฝ้ายเปียกโชก แห้งช้า รู้สึกเย็นบนร่างกาย ดังนั้นจึงไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้องทนหนาวท่ามกลางความหนาวเย็น คนปีนเขาหลายคนต่างให้คำมั่นว่า (ใช้วัสดุผสมกับ) เมอริโน - ด้วยข้อดีอย่างยิ่งที่วัสดุนี้แทบไม่มีกลิ่นแม้หลังจากสวมใส่เป็นเวลาหลายวัน

    • @amphan17413
      @amphan17413 ปีที่แล้ว +4

      ชั้นกลาง (ชั้นฉนวน)
      หนึ่งหรือหลายชั้นที่เก็บความร้อนในร่างกาย ซึ่งรวมถึงเสื้อเชิ้ตทำงาน เสื้อเชิ้ต เสื้อเบลาส์ แจ็คเก็ตขนแกะ ซอฟต์เชลล์ พรีมาลาอฟต์ ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะถูกเลือกขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและความพยายาม
      *ชั้นนอก (ป้องกันสภาพอากาศ)
      ผิวหนังชั้นนอกที่กันน้ำและกันลมระบายอากาศได้มากที่สุด เพื่อให้ความชื้นที่ร่างกายขับออกมาสามารถระเหยออกสู่ภายนอกได้ ตัวอย่างคือเปลือกแข็ง (อะโนรักษ์) ที่กั้นลม เสื้อกันฝน ความทนทานของวัสดุเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีกระเป๋าสะพายหลัง
      เสื้อผ้าต้องทำตามภารกิจที่แตกต่างกัน (ขึ้นอยู่กับเลเยอร์) ผู้ผลิตเสื้อผ้ากีฬา/กิจกรรมกลางแจ้งจึงได้พัฒนาสิ่งทอที่ใช้ประโยชน์ได้ซึ่งทำจากผ้าที่มีมูลค่าเพิ่มตามหน้าที่ ความแตกต่างระหว่างสิ่งทอเพื่อการใช้งานได้กลายเป็นวิทยาศาสตร์ในตัวเอง และผู้ผลิตยังตั้งชื่อให้กับสิ่งทอเพื่อการใช้งานของตนเองอีกด้วย ในอดีตมีผิวชั้นนอกที่ระบายอากาศและกันฝนที่เรียกว่า “Goretex” เป็นชั้นนอก แต่ปัจจุบันมีวัสดุอื่นๆ

    • @amphan17413
      @amphan17413 ปีที่แล้ว +4

      ถุงนอนที่เหมาะสม
      ทัวร์หลายรายการของเราจะพาคุณขึ้นไปที่ระดับความสูง 5,000 ม. กลางคืนบนนั้นอากาศหนาวเย็น บางครั้งก็หนาวจัด แม้แต่ในห้อง อุณหภูมิก็อาจลดลงต่ำกว่าจุดเยือกแข็งได้ ถุงนอนของคุณควรอุ่นพอๆ กัน
      *เราแนะนำให้ซื้อถุงนอนโดยพิจารณาจากค่าความสบาย (T comf) และน้อยกว่าเมื่ออุณหภูมิร้อนจัด จากมุมมองของเรา เราแนะนำให้คุณเลือกถุงนอนที่มีช่วงความสบายอยู่ที่ -10°C อย่างไรก็ตาม ความไวต่ออุณหภูมิจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน และยังขึ้นอยู่กับรูปร่างของวันด้วย หากคุณรู้สึกหนาวอย่างรวดเร็ว คุณควรเลือกถุงนอนที่มีอุณหภูมิสบายต่ำกว่าเล็กน้อย (-15° C)
      สุขลักษณะ อาหาร และที่สำคัญที่สุดคือการรักษาพยาบาล
      มัคคุเทศก์ของเรามีร้านขายยาฉุกเฉินติดตัวไปด้วย และได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักอาการเจ็บป่วยจากความสูงที่อาจเกิดขึ้นและตอบสนองได้อย่างเหมาะสม ในกรณีฉุกเฉิน ไกด์จะจัดเตรียมการลงจากเครื่องแต่เนิ่นๆ และหากจำเป็น ให้นำส่งไปยังศูนย์การแพทย์ที่ใกล้ที่สุดหรือขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปยังกาฐมาณฑุ หน่วยงานของเราในกาฐมาณฑุสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันธรรมดา

    • @amphan17413
      @amphan17413 ปีที่แล้ว +4

      กำหนดการเดินทาง
      ดูรายละเอียด1 วัน
      เที่ยวบิน - เนปาล2 วัน
      เดินทางถึงกรุงกาฐมาณฑุวันที่ 3
      เที่ยวบินกาฐมาณฑุ - ลุกลา (2840 ม.) เดินไปยังผักดิง (2650 ม.)
      [ระยะเวลาเดิน: 3 ชั่วโมง 8 กม. ↑250 ม. ↓450]
      วันที่ 4
      จากผักดิง (2650m) ถึง Namche Bazaar (3450m)
      [ระยะเวลาเดิน: 5-6 ชั่วโมง 10 กม. ↑ 1150 ม. ↓350 ม.]
      วันที่ 5
      วันชินกับสภาพ เดินทางไปขุนเต (3840 ม.)
      [ระยะเวลาเดิน: 3-4 ชั่วโมง 7 กม. ↑ 500 ม. ↓500 ม.]
      วันที่ 6
      จาก Namche Bazaar ถึง Khumjung (3800 ม.)
      [ระยะเวลาเดิน: 2 ชั่วโมง 3 กม. ↑400 ม. ↓50 ม.]
      วันที่ 7
      จากคุ้มจองผ่านหม่องลา (3970 ม.) ถึงพอร์เซ (3800 ม.)
      [ระยะเวลาเดิน: 5-6 ชั่วโมง 7 กม. ↑ 600 ม. ↓600 ม.]
      วันที่ 8
      จากพอร์ตเซ่ถึงอารามเถิงโบเช (3860 ม.)
      [ระยะเวลาเดิน: 5-6 ชั่วโมง 3 กม. ↑ 450 ม. ↓300 ม.]
      วันที่ 9
      อาราม Tengboche วันพักผ่อนที่ "สถานที่ที่สวยที่สุดในโลก"
      วันที่ 10
      จากอาราม Tengboche ถึง Monjo (2840 ม.)
      [ระยะเวลาเดิน: 6-7 ชั่วโมง 15 กม. ↑750 ม. ↓1800 ม.]
      วันที่ 11
      จาก Monjo ผ่าน Nurning (2590 ม.) ถึง Lukla (2840 ม.)
      [ระยะเวลาเดิน: 5-6 ชั่วโมง 13 กม. ↑700 ม. ↓700 ม.]
      วันที่ 12
      บินกลับกาฐมาณฑุ
      วันที่ 13
      กาฐมาณฑุ เยือนเมืองปาตันและภักตะปูร์
      วันที่ 14
      เที่ยวชม "ทัวร์วัด" (สวยัมภูนาถ พุทธนาถ และปศุปฏินาถ)
      วันที่ 15 บินกลับ

    • @amphan17413
      @amphan17413 ปีที่แล้ว +4

      บริการ
      การถ่ายโอนทั้งหมดในเนปาลตามที่รวมอยู่ในโปรแกรม
      ที่พักค้างคืนทั้งหมด (โรงแรม บ้านพัก และ/หรือ เต็นท์)
      ในกาฐมาณฑุและ/หรือโปขระ: พักค้างคืนในโรงแรม *** รวมอาหารเช้า
      ค่าขนส่งสัมภาระระหว่างเทรค (14 กก./ท่าน)
      อาหาร 3 มื้อระหว่าเทรค
      คู่มือพูดภาษาอังกฤษ
      ค่าธรรมเนียมอุทยานแห่งชาติ
      ใบอนุญาติปีนเขา
      เที่ยวบินระหว่างประเทศตามคำขอ
      เช่น ไม่รวมอยู่ในราคา
      ประสิทธิภาพเพิ่มเติมสำหรับการเดินทาง
      เต็นท์ (2 คนแชร์เต็นท์ 3 คน)
      ทีมงานพร้อมแม่ครัวบนเต๊นท์ เครื่องดื่ม (น้ำต้ม/น้ำกรอง)

    • @user-gs8rm6nu6v
      @user-gs8rm6nu6v ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณค่ะที่ให้ข้อมูลที่สำคัญ

  • @youtubewatcher2179
    @youtubewatcher2179 ปีที่แล้ว +10

    มิ้นขอขอบคุณหมอมากๆนะคะที่ ทำคลิปนี้ ต่อภาค 2 ขออนุญาตแชร์นะคะให้คนในครอบครัว ทุกคน ฟังนะคะ ในครอบครัวแพ้ยา ซันฟามี น้อง อยู่คนนึงเขาขี้หนาวเขาจะไปเที่ยวญี่ปุ่นคะ😊 ขอบคุณหมอที่ห่วงใยทุกๆคน ทั้งประชาชนและนักศึกษาแพทย์ นะคะ เป็นหมอที่น่ารักมากคะ ของคุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงนะคะ👍

  • @korakothensang297
    @korakothensang297 ปีที่แล้ว +10

    ขอบคุณมาก ได้ความรู้กระจ่างขึ้น
    ขอแชร์ประสบกับตัวเอง อาจเปนประโยชน์กับบางท่าน อายุ 66 ไปทริป ตอนเหนืออินเดีย เมื่อ สค 2022 ครั้งแรกในชีวิตขึ้นที่สูง >5000 ม 3 ครั้ง ทัวร์จัดดีให้พักก่อน และที่สูงเพึยงเปนเส้นทางผ่าน ดูข้อมูลมาเยอะก่อนเดินทาง เย็น 2 วันก่อนขึ้น กินยา Acetazolamide 1 ม วันต่อมา ผื่นขึ้น แบบลมพิษ เพื่อนหมอบอกแพ้ยา พวกซัลฟา ต้องหยุดยา อันตราย ใช้วิธีพัก ปรับตัว ดื่มน้ำบ่อย เยอะกว่าปกติ
    ขึ้นอันแรก แค่ 10 นาที ปวดหัวมาก ค่อยเดินกลับมาพักในรถ ไกด์ให้อยู่กันแค่ถ่ายรูปไม่เกิน 15 นาที ก็ลง วันรุ่งขึ้นตัดสินใจพักอีก 1 วัน ไม่ตามกลุ่มไป เทรค นอนพักในระดับความสูง 2-3000 ม อาการดีขึ้น
    วันต่อมาขึ้นผ่าน สูง >5000 ม อีก 2 ครั้ง ก็ไม่ปวดหัว แค่เหนื่อยปกติเหมือนคนอื่น เดินช้าๆ หายใจลึกๆ เรียนรู้ว่า ร่างกายปรับตัวได้ ต้องไม่ฝืน ถ้าเหนื่อยก็พัก ไม่ต้องดูทุกรายการก็ไม่เป็นไร ขอบคุณไกด์ เพื่อนร่วมทริปคอยห่วงใย และไม่จัดแบบโหด แต่ก็ยังกังวลว่าเราจะขึ้นที่สูงมาก อีกได้ไหม
    ก่อนบินกลับ 2 วัน ตรวจ ATK ขึ้น 2 ขีด ในกลุ่มก็เปนหลายคน กลับมาพักไอ มีเสมหะ เหนื่อยง่าย 1 เดือน ตอนนี้ปกติออกไปเดินวิ่งทุกเย็นได้แล้ว
    ขอพระเจ้าอวยพระพร อาจารย์หมอสุขภาพแข็งแรง เป็นพรกับพวกเรานานๆ ค่ะ อยากเห็น Rosy อีก
    ขออภัยโพสต์ที่ยูทูบครั้งแรก อาจผิดพลาดบ้าง

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว

      Rosy ส่วนมากอยู่ในช่องเมมเบอร์ครับ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 ปีที่แล้ว +2

    คลิปนี้อาจารย์หมอนำความรู้ในการเตรียมตัวขึ้นที่สูง🧗มาอธิบายให้ฟัง ความพร้อมของร่างกายอาการที่จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ที่สูงๆ ยาที่ควรไปพบแพทย์เพื่อเตรียมไปด้วย ความรู้เรื่องไปที่สูงๆแบบนี้เพิ่งเคยได้ฟังขอบคุณอจ.หมอมากค่ะ
    🧗 🧗
    🧗 🧗 🧗 🧗
    🧗 🧗 🧗 🧗
    🧗
    🧗ไหวไหมไม่ไหวจะ
    ไม่ปลอดภัย ลงเถอะ..กลับ
    ไปเตรียมตัวใหม่คราวหน้า
    ค่อยมาใหม่👍👍☺️

  • @chanakwandulyavit3857
    @chanakwandulyavit3857 ปีที่แล้ว +3

    จำได้ว่าตอนไปเลห์ ลาดัก ไกด์ก็บอกว่าให้เตรียมยาตัวนึงไปด้วย จำชื่อยาไม่ได้แต่ก็น่าจะเป็นตัวที่คุณหมอบอกล่ะค่ะ คุ้นๆว่ามันช่วยขับปัสสาวะ นอกเหนือจากนั้นไกด์ก็ให้จิบน้ำบ่อยๆด้วย โชคดีที่ไม่มีอาการป่วยจากการขึ้นที่สูง แต่มันเหนื่อยจริงๆค่ะ แค่เดินไปขึ้นเตียงนอนก็หอบแฮ่กๆ แล้ว

  • @dekdeeish
    @dekdeeish ปีที่แล้ว +5

    ทัวร์ประเทศไทยมักจัดตารางค่อนข้างพักน้อยครับ เนื่องจากมีข้อจำกัดเรื่องวันลา เคยเทียบกับกรุ๊ปต่างชาติ ของไทยใช้เวลนาน้อยกว่าเกือบสอบเท่าครับ ครั้งหนึ่งระหว่างเดินลงจากยอดได้คุยกับชาวบ้านระหว่างทางเค้ายังตกใจเลยครับว่าทำไมคนไทยอึดจัง เดินกันทรหดมาก ^ ^”

  • @tantantan1348
    @tantantan1348 11 หลายเดือนก่อน +1

    ฟังแล้วอันตรายมากค่ะ

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 ปีที่แล้ว +4

    วันนี้อาจารย์หมออธิบายละเอียดเลยค่ะ คนที่จะไปปีนเขาสูงในที่ที่หนาวมาก ๆ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเตรียมตัวในทุกเรื่องอย่างมากเลยนะคะ ฟังแล้วแทบจะไม่เปิดโอกาสให้เกิดความผิดพลาดได้เลย ต้องรู้เท่าทันอาการตัวเอง การตัดสินใจที่ถูกต้อง เพราะถ้าพลาดนั่นหมายถึงชีวิตเลย #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

  • @medici7495
    @medici7495 ปีที่แล้ว +2

    ตามมาจากช่อง อินฟลูเอนเซอร์ท่านนึง 😅😅😅เอาเป็นว่าเห็นด้วยกะคุณหมอค่ะ เพราะอีกช่องหลังๆดูเพี้ยนๆแปลกๆข้อมูลไม่น่าเชื่อถือละ

  • @sopanawongwijarn9079
    @sopanawongwijarn9079 ปีที่แล้ว +1

    เคยไปเนปาล ขึ้นเครื่องบินลำเล็ก16ที่นั่งไปนอนบนเขา ตอนนั้นอายุประมาณ45 ปี ไม่เคยมีความรู้เลยว่าต้องเตรียมยา เตรียมตัวอย่างไร เรารอดมาได้ยังไง ตอนนั้นรู้แต่เพียงว่าเหนื่อยมาก ฟังหมอแล้วมันเสี่ยงจริงๆที่ไปที่สูง

  • @ugridmilintangkul7022
    @ugridmilintangkul7022 ปีที่แล้ว +23

    เคยไป Everest Base Camp, EBC (5,350 m. AMSL) มาแล้ว ได้เตรียมตัว และปฏิบัติตัวระหว่างการเดินทางอย่างที่คุณหมอว่าเลยครับ…โชคดีที่เกิดอาการไม่มาก ทั้งที่ O2 Sat เหลือเพียง 75% ครับ…ที่สำคัญคืออาจารย์ให้ข้อมูลที่ทำให้เราทราบถึงกลไกการเกิดอาการต่างๆด้วยครับ…สำหรับสนามบินที่เราตั้งต้นเดินคือสนามบิน Lukla 2,846 m. AMSL ซึ่งเขาว่าเป็นสนามบินที่อันตรายที่สุดในโลกครับ.

    • @waritsaratosiri2337
      @waritsaratosiri2337 ปีที่แล้ว +1

      เคยไปสูงสุดแค่ 3800-4500 เมตรจากระดับน้ำทะเล

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +6

      สนามบินตรงนั้นมันค่อนข้างอันตรายจริงครับเพราะว่าลมมันแรงแล้วก็มีทิศทางไม่แน่นอนนอกจากนี้พื้นที่ลงจอดมันยังเล็กอีกด้วยครับ ปล ถ้าไปที่นั่นหรือปีนสูงขึ้นไปกว่านั้นเป็นที่รู้กันว่าอย่าใส่รองเท้าบูตสีเขียวผมไม่แน่ใจว่าทุกคนทราบเรื่องนี้หรือเปล่าแต่หวังว่าเขาคงจะทราบกันนะครับ

    • @bungfai2348
      @bungfai2348 ปีที่แล้ว

      ลองGoogle
      Green boots
      เรื่องนี้ น่าสนใจทีเดียว

    • @StartWithHappiness
      @StartWithHappiness ปีที่แล้ว +1

      @@DrTany ทำไมถึงไม่ควรใส่รองเท้าบู๊ทสีเขียวคะ

    • @EedWatcharapornTubrutn
      @EedWatcharapornTubrutn ปีที่แล้ว +1

      @@StartWithHappiness ไม่รู้เหมือนกันค่ะ แต่เดาว่า สีมันจะเหมือน ภูเขา ต้นไม้กลมกลืน เวลา ก็ภัย จะมาค้นหา จะสังเกตเห็นได้ยาก มั้งคะ 😁😁

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +11

    อาการของ High Altitude Sickness
    จริงๆแล้ว High altitude sickness เป็นการกล่าวถึงกลุ่มโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย ซึ่งประกอบด้วย 3 โรคหลักๆ ซึ่งมีความสัมพันธ์และมีความต่อเนื่องกันอยู่ในบางส่วนคือ
    1 Acute Mountain Sickness (AMS) ยังไม่มีชื่อภาษาไทยเป็นโรคที่มีความรุนแรงไม่มาก เกิดเมื่อมีการเดินทางขึ้นไปที่สูง โดยทั่วไปต้องมากกว่า 2500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งจะมีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ ซึ่งเป็นอาการเด่นของภาวะนี้ อาการอื่นๆที่พบได้บ่อยคือ นอนไม่หลับ เหนื่อย หายใจเร็ว โดยอาการต่างๆเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากขึ้นไปที่สูงประมาณ 4-10 ชั่วโมง ที่พบบ่อยคือเกิดขึ้นในคืนแรกที่ขึ้นไปที่สูง โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรงมาก และร่างกายจะค่อยๆปรับตัวได้เองภายใน 1-2 วัน
    2 High Altitude Cerebral Edema (HACE) หรือภาวะสมองบวมจากการอยู่ในพื้นที่สูง เป็นภาวะที่เกิดต่อเนื่องจากภาวะ AMS โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน ถ้ามีอาการรุนแรงมากจะมีชัก หมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้ามีอาการดังกล่าวต้องรีบพบแพทย์ และเดินทางลงสู่ในพื้นที่ต่ำกว่าทันที
    3 High Altitude Pulmonary Edema (HAPE) คือภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในพื้นที่สูง เป็นภาวะที่รุนแรงซึ่งอาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆหรือเกิดขึ้นร่วมกับภาวะ HACE ก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก อยู่เฉยๆก็เหนื่อย ภาวะนี้ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้าเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น ต้องรีบพบแพทย์และเดินทางลงสู่พื้นที่ต่ำกว่าทันที

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +2

      ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ...

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +3

      @@FragranzaTrippa ยินดีค่ะน้องทริป

    • @Lek44888
      @Lek44888 ปีที่แล้ว +2

      ขอบคุณค่ะน้องหมวย

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +2

      @user-jb5ys9dn5n ยินดีค่ะพี่เล็ก🌹🌹🥰

  • @1viboonya137
    @1viboonya137 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากนะ กำลังจะไป สูง 5,000 เมตร ได้ความรู้สำหรับเตรียมตัวคะ

  • @user-np3uz2zb6q
    @user-np3uz2zb6q ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ🙏

  • @user-jo6rd5zg8t
    @user-jo6rd5zg8t ปีที่แล้ว +6

    คุณหมอดูดีขึ้นทุกวันเลยค่ะ

  • @pimpim7601
    @pimpim7601 ปีที่แล้ว +4

    ส่วนตัวตอนไป ABC ทาน diamox ก่อนนอน 1 เม็ดค่ะ บินไปถึง KMD นอน 1 คืน ไปโพคารา 1 คืน ถึงเริ่มปีนเขาค่ะ ในทริปใช้เวลาเดิน 9 วัน ขึ้น 6 วัน ลง 3 วัน ในทุกๆวันจะเดินไต่ระดับขึ้นไปเรื่อยๆตามไกด์แนะนำ เดินด้วยระยะปกติไม่เร่งมาก ก่อนไปไม่ได้ออกกำลังกาย แต่ก็เพราะความสวยงามตามเส้นทางทำให้หายเหนื่อยค่ะ จะเริ่มเดินช่วง 08.00 ถึงประมาณ 17.00 ต่อวัน ช่วง 4,000 เหนือน้ำทะเลจะเป็นช่วงที่ใกล้ถึง ABC แล้ว หายใจค่อนข้างยาก เหนื่อยง่าย เดินไปหยุดไปเป็นพักๆ ถ้าเดินผ่านหิมะต้องใส่แว่นกันแดด เวลาซื้อประกันเดินทางจากไทยอ่านดีๆนะคะ มักจะมีหมายเหตุว่า ไม่รวมการเดินเทรคกิ้งค์ ส่วนเวลาเราซื้อทริปที่เนปาล ให้เช็คว่ามีประกันนำส่งฉุกเฉินด้วยเฮลิคอปเตอร์หรือไม่ และอีกสิ่งหนึ่ง หากไปเส้นทาง Annapurna Bacs Camp เฮลิคอบเตอร์ไม่ได้ลงจอดได้ทุกที่ตามเส้นทางนะคะ ต้องมั่นใจว่าเราแข็งแรงพอ ห้ามฝีนตัวเองเด็ดขาด

    • @Balu3ubu
      @Balu3ubu ปีที่แล้ว

      สวัสดีค่ะมีประกันแนะนำมั้ยคะ จะไปเดือน ธค.นี้ค่ะ

  • @leeplayapisit2636
    @leeplayapisit2636 ปีที่แล้ว

    ศึกษาเรื่อamsมานานมากเพราะจะไป trekking ที่เนปาล จนมาเจอคลิปนี้คือระเอียดยิบเลย แล้วล่าสุดพึ่งกลับจากการไป trek มา ประเมินร่างกายตามพี่หมอบอกเป๊ะๆกลับมาอย่างปลอดภัย ขอบคุณมากๆค้าบบบ

  • @wandee6780
    @wandee6780 ปีที่แล้ว +1

    🙏ขอบคุณค่ะคุณหมอ

  • @user-zq7to3sx6n
    @user-zq7to3sx6n ปีที่แล้ว +3

    🙏😊👨‍⚕️..ว่าแล้วต้องมีภาคต่อ..คริๆๆ รอฟังคุณหมออยู่..ใดๆคือเสื้อน่ารักจุงเบย
    น่ารักกว่าเสื้อก็คนใส่นี้แหละ
    😊😊..ที่คุณหมอกล่าวมาทั้งหมดคือถูกทุกข้อเลย..ได้ประโยชน์ได้ความรู้เพิ่มพูน
    ## 🙏🙏😊👨‍⚕️ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะคะรักษาสุขภาพด้วยค่ะ บุญรักษาเทวดาคุ้มครองจ้า

  • @byeandbye100
    @byeandbye100 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณคุณหมออธิบายได้กระจ่างมาก

  • @avant-garde.adventure
    @avant-garde.adventure ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากครับ ได้ความรู้เยอะมากๆ

  • @mellowsundae5257
    @mellowsundae5257 ปีที่แล้ว

    อธิบายดีมากๆเลยค่ะ ขอบคุณนะคะ🙏🏻

  • @nootsuriyaporn9140
    @nootsuriyaporn9140 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะ ...ข้อมูลละเอียดแน่น มีประโยชน์มากกกค่ะ

  • @gettxss
    @gettxss ปีที่แล้ว +2

    สนุกมากครับ ชอบฟังหมอมากครับ

  • @nattapornpashinsiripong463
    @nattapornpashinsiripong463 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากค่ะ ชัดเจน ครอบคลุม สุดยอดคลิปค่ะคุณหมอ

  • @BuddhaLogos
    @BuddhaLogos ปีที่แล้ว +1

    ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ ตัวเองไม่ใช่สายปีนเขา แต่เชื่อว่าต่อไปต้องมีคนไทยขึ้นที่สูงอีกมากเพราะว่าการติดตามครูบาอาจารย์สายทิเบต ตัวเองก็เป็นหนึ่งในนั้น เคยแอบคิดว่าที่ไปก็ไม่สูงนิ ไม่ใช่ทิเบตสักหน่อย แล้วไม่ได้ปีนเขาไม่ได้เตรียมตัวมาก แต่ว่าพอนึกย้อนไปหลายจุดเราไม่เข้าใจร่างกายแล้วฝืนเกินไปในที่สูงหลายครั้งเลย แบบไม่รู้ตัวเพราะมันไม่ใช่การปีนเขา บางทีด้วยเวลาเร่งๆด้วย พยายามจะไปให้ทัน ยกตัวอย่างวัดอยู่บนเขา ห้องเรียนกับที่พักไม่ไกลแต่มันไกลเพราะมันเหมือนเดินขึ้นลงสันเขา ว่าไปก็ทั้งสูงและหนาว ดีที่รอดกลับมา 😅 เหมือนเป็นเรื่องขำๆแต่ไม่ขำเลย ถ้าไปอีกพอรู้แนวแล้วว่าควรศึกษาให้มากกว่านี้ ที่สำคัญทุกครั้งที่เดินทางคือแบกกระเป๋าขึ้นคนเดียวเสมอค่ะ ยิ่งต้องพร้อม ขอบคุณมากค่ะ

  • @rakssr
    @rakssr ปีที่แล้ว +1

    ฟังหมอมาตั้งแต่สมัยหมอเริ่มทำคลิป ชอบมาก ที่ข้อมูลละเอียด มีที่มา พอดีเพิ่งไป Annapurna Circuit กลับมา 23Nov-15 Dec หลังได้ข่าวนี้พอดี 5 วันแรก ปั่นจักรยานจาก Besisahar +700m to Manang +3500m ใช้เวลา 5 วัน พอๆกับคนเดิน เลยได้เวลาปรับตัวพอสมควร วันที่ 6 เดินปรับตัวใกล้ๆ วันที่ 7 เดินไป Tilicho Basecamp +4100m. เส้นทางเดียวกับที่น้องสองคนนี้ไป วันที่ 8 ตี 5 เดินขึ้น Tilicho Lake +4919 m. ถึง11โมงเดินลงมาถึง Basecamp เดินกลับมาพักกลางทาง วันที่ 9 กลับมา Manang ไม่ได้เดินต่อไปทางที่เขาไปกัน เขาว่าทางมันลำบากสำหรับจักรยาน เราเลือกอีกทางที่น่าจะพอเข็นได้ คือ Thorung Pass +5416 m. วันที่ 10 ปั่นไปเข็นไป Yuk khaka +4000m วันที่ 11 ปั่นๆเข็นๆ ไป Thorung Phedi +4500 วันที่ 11 ทางชันมาก ขอจ้างporter เข็นขึ้น pass +5416 เราเดินแบกเป้ตามไป มีน้องอายุ 40 เข็นด้วยตัวเองขึ้นไป เก่งมากแต่ เราต้องคอยให้กำลังใจทั้งน้องทั้งเรา(เราก็ 61 กว่าแล้ว) ต้องออกตี 4 เพื่อไปทานข้าวเช้าที่ High camp +5000 ต่อไปเป็นตอนโหดสุด เดินได้ทีละ2-3 ก้าว หยุดปั้มอากาศ 5-10 ครั้ง เดินเหมือนซอมบี้เลย ถึงยอด 11 โมงกว่า อยู่ได้ไม่นานก็ลง เพราะลมแรงและหนาว ปลายทาง เดินถึงตอน 20.00 ทางดูจะโหดกว่าตอนขึ้น เป็นน้ำแข็ง ลื่นมาก จักรยานจะไหลลงเหวตลอด ที่เล่าให้ฟังคิอฟังหมอพูดแล้วนึกภาพออกเลย เราไปกัน 3 คน แบบไม่มีไกด์ อายุ 40-50-61 ปี กลับมาได้ก็ยังกลัวไม่หาย แต่ก็วางแผนกันอย่างค่อนข้างดี ไม่คิดว่าจะโหดขนาดนี้ โดยเฉพาะต้องเข็นจักรยานไปด้วย โชคดีที่เรามีเวลาปรับตัวเรื่อยๆ ตามสูตร อาการมีบ้างแต่ไม่รุนแรง ทายาไดอามอกช่วง+3500 ขึ้นไป กลับมาปลายนิ้วยังชาๆอยู่เลย ไม่รู้จะอีกนานแค่ไหนครับ หมอ (ทางแบบนี้น่าจะเหมาะกับหนุ่มๆสาวๆไปลุยกันนะครับ)

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +1

      เก่งมากเลยครับนี่

  • @benjamatkikuchi4667
    @benjamatkikuchi4667 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคุณหมอมากคะที่ให้ความรู้ คะ

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn ปีที่แล้ว +7

    ภาคแรกก็น่าสนใจมากแล้ว มีภาคต่อนี่ดีใจมากที่ทำให้อีกภาค ขอบคุณนะคะหมอ

  • @tanyarattaweesangsuksakul5597
    @tanyarattaweesangsuksakul5597 ปีที่แล้ว +2

    เป็นคลิปที่หาฟังได้ยาก.👍

  • @maneeratpoopat7745
    @maneeratpoopat7745 ปีที่แล้ว

    ชอบอาจารย์มากค่ะ สอนแบบแทรกมุข ยิ้มน่ารักค่ะ❤

  • @TalayMangkr2459
    @TalayMangkr2459 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคุณหมอมากๆนะคะ ที่ให้ความรู้ดีๆ

  • @TeacherMamiaowJollyPhonics
    @TeacherMamiaowJollyPhonics ปีที่แล้ว +3

    คุณหมอแทนมาแล้ววววว ตอนนี้หนูFC คุณหมอหนักมากกกเลยค่ะ🥰🥰

  • @user-nl3do1vr2n
    @user-nl3do1vr2n ปีที่แล้ว +3

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ
    ป้าไม่ได้ดูมาหลายวัน
    ขอบพระคุณข้อมูลดีๆ
    ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงค่ะ💙

  • @bombjinda5470
    @bombjinda5470 ปีที่แล้ว +3

    ฟังแล้วไม่งง ได้ความรู้มากๆๆคะ

  • @hanakomumu3910
    @hanakomumu3910 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคะ​ จะนำไปใช้นะคะ​ สู้ๆๆ​ 🤟⛰️🐇

  • @thunradaphusri8217
    @thunradaphusri8217 ปีที่แล้ว +1

    เก่ง หล่อ ดีมีครบเลยหมอ

  • @annemisskwanrutaimolakawlovemu
    @annemisskwanrutaimolakawlovemu ปีที่แล้ว +1

    วันนี้ คุณหมอแต่งตัวน่ารักค่ะ

  • @fortunefoliage1267
    @fortunefoliage1267 ปีที่แล้ว +2

    เป็นคลิปที่เลอค่ามากๆ ได้ความรู้แน่นๆ ขอบพระคุณอาจารย์หมอค่ะ 🎉

  • @Bhudtarn
    @Bhudtarn 11 หลายเดือนก่อน

    ชอบเสื้อจังค่ะ สนูปี้🐶

  • @leo-jx2mh
    @leo-jx2mh ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณครับพี่หมอ🙏♥️♥️♥️♥️♥️♥️♥️ เสื้อจึ้งมาก😘😘😘

  • @Jew2968
    @Jew2968 3 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากคะ ไม่ไปีที่สุด

  • @ALL86898
    @ALL86898 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอแทน😊ตื่นมาเจอฟุตบอลโลกที่แข่งที่ประเทศการ์ต้า ขณะนี้ช่องTrueที่ไทยกำลังถ่ายทอดสดสหรัฐ แข่งกับอังกฤษ ค่ะครึ่งหลังแล้ว เชียรอเมริกาค่ะ อเมริกาใช้คนหนุ่มๆเล่น แข็งแรง อังกฤษ เก๋าเรื่องฟุตบอล ยัง0*0นอกเรื่องนิดค่ะคนแข็งแรงคนหนุ่มเล่นจะวิ่งสู้จะเก่งกว่าคนอายุเยอะของสหรัฐไหมนะ แต่คนเล่นอังกฤษมีอายุมากด้วยประสบการณ์ ใครจะชนะนะกำลังดูยังไม่จบยังไม่ทราบผลค่ะกินกันไม่ลงเลย ดูเพลินๆไม่เคยพนันนะคะ นอกเรื่อง55555อเมริกาสู้ๆๆๆๆฟุตบอลลูกกลมๆไม่แน่ๆนะคะผลออกมาว่า อเมริกา เสมอกับอังฤกษ 0/0ได้คะแนนเท่ากัน คอยดูอเมริกาแข่งกับอิหร่าน 555สนุกดีเหมือนกัน🤗🤗🤗🤗

  • @sakdasangngen2071
    @sakdasangngen2071 ปีที่แล้ว +2

    พี่หมอสวัสดีครับ
    ขอความกรุณาพี่หมอทำคลิปบรรยาย
    สาเหตุโรคปวดหัว cluster และวิธีรักษา
    ให้ฟังหน่อยได้เปล่าครับ
    ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ🙏

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน
    เป็นภาคต่อที่มีความรู้มากค่ะ
    ขอบคุณค่ะคุณหมอ
    ป.ล.ถนอมสุขภาพด้วยนะค้า คุณหมอ🌞

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat ปีที่แล้ว +5

    ฟังเป็น​ความรู้​ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰

  • @KarnTovara
    @KarnTovara ปีที่แล้ว +4

    𖤣𖤥𖠿𖤣𖤥 ขอบคุณค่ะคุณหมอ..สำหรับ VDO ความรู้การปีนเขาหิมะ (ภาคต่อ) ค่าา 🙇🏻‍♀️
    ꪔ̤̮ ฟังสนุก และได้ความรู้ค่า...ไม่กล้าไปเที่ยวแบบนี้เลยค่ะ คิดว่าร่างกายไม่พร้อมค่ะ การผจญภัยแบบนี้ นอกจากต้องศึกษาข้อมูลจากผู้มีประสบการณ์ และเตรียมความพร้อมของร่างกายแล้ว ยังต้องพกดวงไปด้วยค่ะ 😄 ขึ้นไปวัดกันตรงนั้นเลย...ว่าร่างกายจะทนและปรับตัวได้หรือไม่ค่า 🧗😆 ขอดูการผจญภัยแบบนี้จาก Netflix ไปก่อนค่าา 🤣
    ꪔ̤̮ สมัยเรียน...ขณะอ่านหนังสือ ต้องดู TV ช่องผจญภัยแบบนี้ด้วยค่ะ...ทำให้มีสมาธิอ่านหนังสือดีมากค่า เพราะจะรู้สึกว่า...
    _"ขณะที่เราใช้ความพยายาม...ในการอ่านหนังสือกองโตให้จำได้นั้น...ยังมีกลุ่มคนที่กำลังใช้ความพยามยาม มุ่งมั่น ทำกิจกรรมที่ท้าทายอยู่เช่นกัน"_ 💪🥷🥷👍
    ฮึกเหิมค่า...55 🤣🤣🤣 คุณหมอพักทานน้ำค่าา 🥝🫐🍵🙇🏻‍♀️

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @srisudad7207
    @srisudad7207 ปีที่แล้ว +3

    ขอบพระคุณคุณหมอแทนที่ทันเหตุการณ์และห่วงใยคนไทยเสมอ คลิ้บนี้มีประโยชน์ อย่างมากต่อผู้ที่อยากไปในทีสูงๆ อันตรายมีรอบด้าน แต่ ไม่มีความพร้อม จนอาจจะมีอันตรายร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ง่ายๆได้ระวังตัว
    สองวันก่อน ช่อง One พูดถึงอาจารย์หมอแทน และinfluencer อีกท่านนึงด้วยค่ะ คุณหมอได้ดู
    แล้วยังคะ ❤❤❤

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +5

      แม่ผมส่งมาให้ดูตั้งแต่แรกเลยครับ

  • @deckardlawbreaker7675
    @deckardlawbreaker7675 ปีที่แล้ว +2

    ได้ความรู้มากๆ ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ เปิดโลกมาก เรื่องbeta agonist กับ nifedipine CR รู้สึกพร้อมขึ้น10%ก่อนไป ❤❤

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 ปีที่แล้ว +5

    ภาคต่อ วิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล #altitudesickness #AMS#HAPE#HACE📙📗📘📕📓
    📙โรคจากขึ้นที่สูง (Altitude sickness หรือ Altitude illness หรือ Mountain sickness) คือ กลุ่มอาการที่เกิดเนื่องจากการขึ้นไปอยู่ในพื้นที่ที่สูงมากกว่าพื้นที่ทั่วไปมาก เช่น การขึ้นภูเขาสูง หรือไปอยู่ในประเทศที่อยู่ในแถบพื้นที่สูงๆของโลก เช่น ทิเบต เป็นต้น อาการ คือ ปวดศีรษะ วิงเวียน เหนื่อยมาก หายใจลำบาก เบื่ออาหาร อาจ คลื่นไส้ อาเจียน โดยมักเกิดอาการได้ตั้งแต่สถานที่นั้นๆมีความสูงตั้งแต่ประมาณ 2,100-2,500เมตร (7,000 -8,000 ฟุต) จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป
    ทั้งนี้ ระดับพื้นที่ที่จัดว่าสูงที่จะก่อให้เกิดอาการของโรคจากขึ้นที่สูง โดยแบ่งตามความสูง (ซึ่งอาการที่เกิดจะรุนแรงขึ้นตามความสูงที่เพิ่มขึ้น) เป็น 3 ระดับ คือ
    🧊พื้นที่สูง (High altitude) คือความสูง 1,500-3,500 เมตร (5,000-11,500 ฟุต) จากระดับ น้ำทะเลปานกลาง
    🧊พื้นที่สูงมาก (Very high altitude) คือความสูง 3,500-5,500 เมตร (11,500-18,000ฟุต)
    🧊และพื้นที่สูงสุดขีด (Extreme altitude) คือสูงเหนือ 5,500 เมตร (18,000 ฟุต) ขึ้นไป
    ในการท่องเที่ยวทั่วไป มักจะท่องเที่ยวอยู่ในระดับความสูงประมาณไม่เกิน 5,000 เมตร ซึ่งเมื่อเกิดโรคจากขึ้นที่สูง อาการมักอยู่ในระดับไม่รุนแรง เรียกว่า ‘Acute mountain sickness เรียกย่อว่า เอเอมเอส (AMS)’ ซึ่งพบเกิดอาการ AMS ได้ประมาณ 9-40% เมื่ออยู่ในที่สูงระดับไม่เกิน 3,500 เมตร และประมาณ 15-58% เมื่อความสูงอยู่ในช่วง 3,500-5,000 เมตร
    โรคจากขึ้นที่สูง พบเกิดได้กับทุกเพศและทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ ทั้งนี้รวมถึงผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงด้วย โดยอัตราเกิดในผู้หญิงและในผู้ชายใกล้เคียงกัน
    📕อะไรคือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากขึ้นที่สูง?
    ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคจากขึ้นที่สูง คือ
    🧊การขึ้นที่สูงอย่างรวดเร็ว เพราะร่างกายจะปรับตัวไม่ทัน
    🧊การออกแรงมากในที่สูง เช่น เดินเร็ว วิ่ง เพราะจะเพิ่มความต้องการการใช้ออกซิ เจนของร่างกาย
    🧊ภาวะขาดน้ำ
    🧊คนที่มีถิ่นพักอาศัยบนพื้นที่ใกล้ระดับน้ำทะเล เพราะร่างกายไม่เคยปรับตัว
    🧊คนที่เคยมีอาการ AMS มาก่อน
    🧊คนที่เพิ่งเคยอยู่ในที่สูง หรือท่องเทียวในที่สูง จะลดโอกาสเกิด AMS
    🧊คนที่มีเม็ดเลือดแดงต่ำ (ภาวะซีด) เพราะจะขาดออกซิเจนได้ง่ายกว่า
    🧊เป็นโรคหัวใจ หรือเป็นโรคปอด ซึ่งถือเป็นข้อห้ามในการขึ้น/ท่องเที่ยวในสถานที่สูง
    🧊ความสูงของสถานที่ ยิ่งสถานที่สูง โอกาสเกิดอาการจะสูงขึ้น
    🧊ตำแหน่งที่ตั้งหรือภูมิศาสตร์ของพื้นที่สูงแต่ละแห่ง เพราะมีความดันอากาศแตกต่างกัน จึงส่งผลต่อโอกาสเกิดภาวะขาดออกซิเจนแตกต่างกัน
    🧊อาจเกี่ยวข้องกับ เชื้อชาติ และพันธุกรรม
    ขอบคุณมากค่ะ🙇🏻‍♀️

  • @sasikan9388
    @sasikan9388 ปีที่แล้ว +3

    สวัสดีค่ะ วันนี้ก็ได้ความรู้เพิ่มอีกแล้ว เผื่อว่าเจอเหตุการณ์ใกล้เคียงแบบนี้จะได้ช่วยเหลือตัวเองและผู้อื่นได้ค่ะ เหมือนคลิปที่คุณหมอสอนการช่วยปั๊มหัวใจ คือดีมากค่ะ แต่จริงๆแล้วไม่ชอบที่สูงๆ ในถ่ำที่อากาศน้อยก็ไม่ชอบเลยค่ะ

  • @thanawanrajavanith4603
    @thanawanrajavanith4603 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบพระคุณ คุณหมอมากค่ะ ที่มาให้ความรู้เพิ่มเติมการเสียชีวิตของนักปีนเขาสูงชาวไทยค่ะ

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @neozuzaax
    @neozuzaax ปีที่แล้ว +4

    หมอนี่ถ้าไม่บอกว่าเป็นคนไทยหรือพูดไทยได้ เห็นแว๊ปแรกนึกว่าโอปป้าเกาหลีชัดๆ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +14

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ...
    วันนี้เป็นภาคต่อ... เรื่อง ภาคต่อ วิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล
    🔵คำจำกัดความของ Altitude Sickness // AMS // HAPE // HACE
    ◼Altitude Sickness
    ภาวะ altitude sickness มักจะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่มีความสูงมากกว่า 2,000-2,500 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางเป็นต้นไป ซึ่งยิ่งขึ้นไปที่สูงมากจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะดังกล่าวมากขึ้น เช่น ถ้าสถานที่นั้นสูงกว่า 3,000 เมตร จะมีความดันออกซิเจนเพียงประมาณ 70 % เมื่อเทียบกับในระดับน้ำทะเล
    ในภูมิประเทศที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลมากๆจะมีความกดอากาศและมีออกซิเจนเบาบาง เมื่อเทียบกับระดับน้ำทะเล ทำให้เมื่อเราไปอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว ร่างกายจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมให้ได้ ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายเรามีความสามารถในการปรับตัวให้ทนต่อภาวะออกซิเจนน้อยได้ดีระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ถ้าไปในที่สูงมากๆหรือออกซิเจนน้อยมากๆอาจจะเกิดปัญหาได้
    ◼AMS หรือ Acute Mountain Sickness
    เป็นโรคที่มีความรุนแรงไม่มาก เกิดเมื่อมีการเดินทางขึ้นไปที่สูง โดยทั่วไปต้องมากกว่า 2500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยนักท่องเที่ยวส่วนหนึ่งจะมีอาการปวดศีรษะ มึนศีรษะ ซึ่งเป็นอาการเด่นของภาวะนี้ อาการอื่นๆที่พบได้บ่อยคือ นอนไม่หลับ เหนื่อย หายใจเร็ว โดยอาการต่างๆเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นหลังจากขึ้นไปที่สูงประมาณ 4-10 ชั่วโมง ที่พบบ่อยคือเกิดขึ้นในคืนแรกที่ขึ้นไปที่สูง โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรงมาก และร่างกายจะค่อยๆปรับตัวได้เองภายใน 1-2 วัน
    ◼HAPE หรือ High Altitude Pulmonary Edema คือ ภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในพื้นที่สูง เป็นภาวะที่รุนแรงซึ่งอาจเกิดขึ้นเดี่ยวๆหรือเกิดขึ้นร่วมกับภาวะ HACE ก็ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก อยู่เฉยๆก็เหนื่อย ภาวะนี้ทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้าเกิดภาวะดังกล่าวขึ้น ต้องรีบพบแพทย์และเดินทางลงสู่พื้นที่ต่ำกว่าทันที ยาที่ใช้บรรเทาอาการ คือ Nifedipine (ไนเฟดิปีน) ใช้แบบ slow release หรือ ยา ventolin แต่จะให้ดีควรเป็นยา Salmeterol หรือ ยา Formoterol
    ◼HACE หรือ High Altitude Cerebral Edema คือ ภาวะสมองบวมจากการอยู่ในพื้นที่สูง เป็นภาวะที่เกิดต่อเนื่องจากภาวะ AMS โดยผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน เดินเซ เห็นภาพซ้อน ถ้ามีอาการรุนแรงมากจะมีชัก หมดสติ จนถึงเสียชีวิตได้ ดังนั้นถ้ามีอาการดังกล่าวต้องรีบพบแพทย์ และเดินทางลงสู่ในพื้นที่ต่ำกว่าทันที
    🔵จะป้องกันภาวะ Altitude Sickness อย่างไร
    1. ต้องศึกษาข้อมูลถึงสถานที่ที่จะไปก่อนการเดินทางว่า สถานที่ที่จะไปอยู่ในพื้นที่สูงมากหรือไม่ ควรหาข้อมูลถึงระดับความสูง และดูแผนการเดินทางของเราเสมอ ว่าจะต้องผ่านในพื้นที่สูงมากหรือไม่
    2. ร่างกายต้องการเวลาปรับตัว ดังนั้น ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกแผนการเดินทางที่ไม่ขึ้นสู่ที่สูงเร็วเกินไป ควรพักที่เมืองที่อยู่ต่ำกว่า 1-2 วันเพื่อปรับตัว
    3. ถ้าจำเป็นต้องเดินทางขึ้นสู่ที่สูงอย่างรวดเร็ว ควรงดการออกกำลัง เดิน หรือวิ่ง ควรพักผ่อนมากๆ ดื่มน้ำบ่อยๆ และสังเกตอาการของตัวเองว่ามีความผิดปกติใดๆหรือไม่ ถ้ามีอาการของ AMS เพียงเล็กน้อย เช่นปวดศีรษะ คลื่นไส้ นอนไม่หลับ ร่างกายค่อยๆ ปรับตัวได้ และอาการจะหายไปเองใน 1-2 วันแต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากขึ้น ควรพบแพทย์ และเดินทางสู่ที่ต่ำกว่าทันที
    4. การใช้ยาเพื่อป้องกัน altitude sickness เช่น Acetazolamide (diamox) ในนักท่องเที่ยวบางรายมีความจำเป็น เพราะยาจะช่วยป้องกันและลดบรรเทาอาการได้ หรือทานยา เดกซาเมทาโซน (Dexamethasone) ต้องเตรียมยาให้เพียงพอ และการใช้ยาควรจะปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ เพราะแพทย์ต้องพิจารณาแผนการเดินทาง
    5. ในนักท่องเที่ยวที่ปีนเขา หรือ Trekking ในที่สูง ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียดเสมอ และปฏิบัติตามคำแนะนำในพื้นที่อย่างเคร่งครัด ไม่ควรรีบเดินหรือทำเวลาก่อนเวลาที่แนะนำไว้โดยทั่วไป ไม่ควรจะรีบปีนโดยใช้เวลาน้อยกว่า 5 วัน เพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะปีนไปไม่ถึง และเกิดการไม่สบายกลางทาง
    6. ถ้ามีอาการแพ้ความสูงเกิดขึ้น ควรระมัดระวัง และสังเกตอาการตนเองและเพื่อนร่วมทางเสมอ ถ้ามีอาการไม่มาก เช่น ปวดศีรษะ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย ควรพัก ถ้าเป็นแค่ Acute mountain sickness ร่างกายจะค่อยๆปรับตัวได้เอง แต่ถ้ามีอาการรุนแรง เช่น เหนื่อยมาก ไอ สับสน ปวดศีรษะ มึนงงมาก ต้องรีบลงสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่า และหาสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุดทันที

    • @Lek44888
      @Lek44888 ปีที่แล้ว +2

      ขอบคุณค่ะน้องทริป

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +2

      @@Lek44888 เช่นกันค่ะพี่เล็ก...

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณค่ะน้องทริป❤️💜💚

  • @user-vi3lv5qk9t
    @user-vi3lv5qk9t ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน วันนี้25/11/65 หัวข้อภาคต่อ วิเคราะห์กรณี นักปีนเขาไทยเสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล
    ป้ามารับชมรับฟังเพื่อเป็นความรู้ ฟังแล้วน่ากลัวมากเลยน่ะค่ะ(ป้ากลัวความสูงค่ะคุณหมอ)บอกคุณหมออย่างไม่อายเลยค่ะ ขอบคุณข้อมูลที่ดีๆๆน่ะค่ะคุณหมอสุขภาพดีมีสุขน่ะค่ะและน้องโรชี่ด้วยค่ะ🙏🏼❤️❤️❤️🥰ค่ะ

  • @youtubewatcher2179
    @youtubewatcher2179 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าไปเที่ยวญี่ปุ่นจะไม่ปีนเขาหรอกค่ะ แล้ว ที่ น้อง เขานอนดึกเขาอาบน้ำสระผมเขาเล่นเกมรอให้ผมแห้งค่ะ ส่วนเราก็หลับแล้วก็เลยรู้สึกตัว ก็เลยบอกให้น้องเขานอนได้แล้วพอเราตื่น ก็นอนไม่หลับก็เลยสวดมนต์พักนึงก็เลยหลับก่อนค่ะตรงนี้ไม่ได้เกี่ยวกับโรคนะคะ😊

  • @DT-eb6wq
    @DT-eb6wq ปีที่แล้ว

    ฟังจบ2คลิป น่ากลัวมากเลยค่ะ

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ and thanksgiving day คะ

    • @raksaswallow2563
      @raksaswallow2563 ปีที่แล้ว +2

      คุณหมอ เสียงเหมือนเป็นหวัด เลยคะ

  • @Lek44888
    @Lek44888 ปีที่แล้ว +5

    สวัสดีค่ะอาจารย์
    ภาคต่อ วิเคราะห์กรณีนักปีนเขาไทย เสียชีวิตขณะปีนเขาที่เนปาล #altitudesickness #AMS #HAPE
    🍀ถ้าเราขึ้นที่สูงมากๆ เราจะมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายหลากหลายอย่าง แต่หลักๆที่จะมีผลต่อการเสียชีวิตของคนไข้ได้คือ "ระบบทางสมอง"กับ"ระบบทางปอด"
    🍀ทางสมอง คือ เวลาเราขึ้นที่สูง ออกซิเจนในที่สูงจะมีน้อย ความดันของออกซิเจนในอากาศจะน้อย เราก็จะเหนื่อย อวัยวะต่างๆที่จำเป็น จะต้องใช้ออกซิเจน ก็ต้องการเลือดเพิ่มขึ้น เพราะออกซิเจนอยู่ในน้ำเลือด ถ้าน้ำเลือดไม่ค่อยมีออกซิเจน หลอดเลือดก็จะขยายทุกๆที่ พอขยายที่สมองเพื่อให้น้ำเลือดมาเลี้ยงที่สมองเพิ่มขึ้น เพราะต้องการออกซิเจน สมองมีปริมาตรจำกัด อยู่ในโพรงกระโหลกซึ่งขยายไม่ได้ ความดันในกระโหลกจะสูงขึ้น ถ้าเป็นมากๆความดันสูงขึ้นเรื่อยๆสมองจะไหลแล้วเลื่อนมาทับก้านสมอง ก็จะเกิดสมองบวมได้
    🍀ทางปอด เส้นเลือดในปอดเป็นเส้นเลือดชนิดเดียวที่ทำงานแตกต่างจากระบบอื่นๆ ถ้าเป็นที่ปอดเส้นเลือดจะหดตัว ถ้ามีออกซิเจนต่ำเส้นเลือดก็จะหดตัวทั้งปอด เลือดจะรั่วออกไปนอก เส้นเลือด จะเกิดภาวะน้ำท่วมปอด
    🍀คนที่ขึ้นไปที่สูงๆปัจจัยเสี่ยงคือ การขึ้นที่สูงด้วยความเร็วที่มากเกินไป ร่างกายยังไม่ทันปรับตัว โดยเฉพาะคนที่เคยเป็นแบบนี้มาก่อน จะเป็นได้ง่ายกว่าคนทั่วไป ต้องระวัง ยิ่งออกแรงเยอะยิ่งเป็นมาก เพราะเส้นเลือดขยายได้ทุกที่
    🍀การป้องกัน
    1) เวลาจองทัวร์ ต้องดูว่าในกรุ๊ปของเรามีใครบ้าง ถ้ามีไกด์หลายคนก็จะดี
    2) ดูเรื่องประกันการขึ้นที่สูง
    3) ทานอาหารให้พอเพียง อย่าขึ้นเร็ว ต้องเตรียมออกซิเจนเสมอ
    4) มียาที่ปรับตัวกับความสูง
    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ 🙏🏻

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +2

      ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ...

    • @Lek44888
      @Lek44888 ปีที่แล้ว +2

      @@FragranzaTrippa
      ยินดีค่ะน้องทริป

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณมากค่ะพี่เล็ก🌹🌹🥰

    • @miniscootie
      @miniscootie ปีที่แล้ว

      ไม่ทราบว่าเตรียมออกซิเจนหมายถึงยังไงคะ

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณนะคะ เป็นประโยชน์มากๆในการเตรียมความพร้อมของร่างกายสำหรับผู้ที่ต้องการจะไปเอเวอร์เรสเลย การที่ร่างกายเก็บCO2 ไว้แต่O2น้อยนั้น ถ้าหากเราหยุดพักจะเป็นการเพิ่มO2 ให้กับร่างกายได้รึไม่คะ ส่วนตัวเคยเดินขึ้นที่สูงที่สุดก้แค่ภูกระดึงสถานที่ยอดฮิตของไทยนี่ละคะ 🙏

  • @pauleagle6281
    @pauleagle6281 ปีที่แล้ว +3

    เล่าเหตุการณ์คนล้มตายต่อหน้าที่ระดับความสูง 2,484 เมตร
    นานมาแล้ว ผมนั่งรถ Greyhound (เป็นรถประจำทาง) จากฝั่งตะวันออกของอเมริกา ข้ามเทือกเขาร็อกกี้ เริ่มจาก ฟิลาเดลเฟีย ผ่าน โคลัมบัสรัฐโอไฮโอ เซนหลุยส์ แคนซัสซิตี้ เดนเวอร์
    ตามข้อมูล เมืองเดนเวอร์อยู่ที่ระดับความสูง 1,564-1,734 เมตร (ขณะที่เมืองกาตมานดุ เมืองหลวงของเนปาล อยู่ที่ระดับความสูง 1,400 เมตร)
    แต่ผมรู้สึกสบายดี ชอบด้วย...หลังจากผ่านเส้นทางมาเป็นภูมิแพ้อากาศมาก แต่ที่เดนเวอร์หายใจโล่งจมูก
    ที่เดนเวอร์มีผู้โดยสารขึ้นเพิ่ม มีชายคนหนึ่งลากถังออกซิเจนมานั่งตรงข้างหน้าผม คาดอายุยาก ผิวหน้าไม่เหี่ยว คงราว 60-70 ปี
    เมื่อมาถึงเมือง Vail ที่ระดับความสูง 2,484 เมตร รถพัก คนลงไปยืดเส้นยืดสาย เข้าห้องน้ำ ตอนกลับมาที่นั่งเดิม เห็นชายลากถังออกซิเจนเดินมาจากหลังรถ คงไปเข้าห้องน้ำในรถแทนที่จะลงรถไปเข้าห้องน้ำที่ท่ารถ
    ผมเข้าที่นั่งก่อน แกเดินผ่านไปจะนั่งข้างหน้าถัดไปจากผม เพื่อนที่เดินทางมาด้วยชาวฟิลิปปินส์อุทานว่า He has purple lips! (เขามีริมฝีปากสีม่วง)
    ชายคนนั้นหยุดที่ทางเดินเตรียมจะขยับเข้าไปนั่ง ดูแกลำบากในการขยับตัวไปด้านข้างเพื่อเข้าที่นั่ง
    สุดท้ายแกล้มลงนอนหงาย หน้าแกห่างจากผมราวสองฟุต ชายคนหนึ่งที่นั่งอีกด้านของทางเดินกระโดดเข้าไปปั้มหัวใจ (รู้ทีหลังว่าเขาเป็นพนักงานดับเพลิง) ปั้มไปสักพักผมคิดว่าแกไม่ฟื้นโดยดูจากสีหน้าคนที่ช่วย พอเจ้าหน้าที่รถพยาบาลมาเขาช่วยสักพักแล้วประกาศว่าแกเสียชีวิตแล้ว จากนั้นตำรวจก็มา คนที่อยู่ด้านหลังรถจากศพต้องปีนประตูฉุกเฉินออกไป ตำรวจสัมภาษณ์ทุกคน หลังจากนั้นตำรวจให้ผม เพื่อน และคนที่ปั้มหัวใจ เขียนรายงานเหตุการณ์ ทั้งหมดใช้เวลาราวสองชั่วโมง
    ผมไม่รู้ว่าเกิดอะไรกับแก ออกซิเจนหมดถัง? ระดับความสูงมาเกี่ยว? หรือไม่มีปัจจัยภายนอก

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +1

      น่าจะทั้งหมดที่เล่ามาเกี่ยวหมดครับ

  • @ALL86898
    @ALL86898 ปีที่แล้ว +3

    สวัสดีค่ะNow3.52แสนFC(🍇🍇🍇.🍊🍊🍊🍊🍊.
    🍓🍓)เย้ๆๆๆๆ👍👍👍👍👍❤️❤️❤️❤️❤️🚀🚀🚀🚀🚀

  • @user-dc1iv5gd2p
    @user-dc1iv5gd2p ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะ

  • @pannko8888
    @pannko8888 ปีที่แล้ว +3

    คุณหมอก็คิดถึงมากค่ะวันนี้ที่ช่อง new oneเขาเสนอข่าวอาจารย์หมอกับอาจารย์ลอยเป็นภาพคู่กันเข้าไปดูเองแล้วกันนะคะคุณหมอสนูปปี้💏💏💏

  • @user-ww9jf9ec6c
    @user-ww9jf9ec6c ปีที่แล้ว +4

    รักคุณหมอแทนนี่ รักออเรนจิ

  • @anineathreewae6129
    @anineathreewae6129 ปีที่แล้ว +2

    น่าจะเหมือนนักดำน้ำ ที่ หากดำน้ำลึกๆ ก่อนขึ้น ต้องรอให้ระดับแรงดันในเลือด ค่อยๆปรับก่อน

  • @Aeyjan-ce5tv
    @Aeyjan-ce5tv ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ ได้ความรู้มากๆ ต่อไปถ้าจะไปเดินเขาต้องเตรียมอะไรไปมั่ง ดิฉันขอแค่ความสูง 1000 เมตรก็พอค่ะ ช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา ได้ไป Trekking ที่ Preikestolen, Stavager, Norway ความสูงแค่ 604 meter ก็หอบแล้วค่ะ
    เรื่องปีนเขาที่เทือกเขา Everest และได้ดูสารคดี Discovery เป็นเรื่องราว ที่นักปีนเขาที่มีชื่อเสียง หลายคนต้องมาพบจุดจบ ในความสูง 8.848 เมตรจากน้ำทะเล พอได้ฟังคุณหมอบอกสาเหตุการเสียชีวิตแล้ว ไม่แปลกใจที่นักปีนเขาเหล่านี้เสียชีวิตทันที เลย เนื่องด้วยสภาพอากาศโลกร้อน ทำให้หิมะบนเทือกเขา Everest ละลายเป็นน้ำจำนวนมาก ทำให้เห็นศพนักปีนเขาที่ถูกฝังมานานปรากฏขึ้นมา ประมาณคร่าวๆ 300 กว่าชีวิต เมื่อปี 2562 ข่าวนักปีนเขายืนรอจับเชือกราวไว้เพื่อแถวเพื่อจะถ่ายรูปจุดสูงสุดของเทือกเขาเอเวอร์เรสต์ มีนักปีนเขา 396 คนไปกระจุกตัวกันตรงทางเดินแคบๆ ที่อยู่ใกล้ยอดเขาซึ่งเรียกกันว่า “death zone” หรือเขตมรณะ เพราะเป็นทางแคบๆ ที่นักปีนเขาต้องเดินตามหลังกันและผ่านไปได้ทีละคนเท่านั้น เสียชีวิต 9 ราย
    ภาพของนักปีนเขาที่ต่อคิวรอขึ้นและลงผ่านเขตมรณะนี้กลายเป็นภาพที่โด่งดังไปทั่วโลกออนไลน์
    อ่านแล้วก็ได้แต่ท่อง ยุบหนอ พองหนอ เลยค่ะ

    • @patteeranee3321
      @patteeranee3321 ปีที่แล้ว

      อยากดูสารคดีเลยค่ะ ดูจากไหนคะ

  • @littlemisssunshine1325
    @littlemisssunshine1325 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าคุณหมอพอจะมีเวลาอยากให้คุณหมอเล่าเรื่องเกี่ยวกับโรคไข้กาฬหลังแอ่นค่ะ ขอบคุณมากๆเลยนะคะ

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +1

      เบื้องต้นขอเรียนว่า... ในประเทศไทย ไม่มีโรคไข้กาฬหลังแอ่นแพร่ระบาดแล้วค่ะ พบผู้ป่วยประปราย น้อยมากปีละ 20-30 ราย แนวโน้มลดลงเรื่อยๆ โรคนี้ติดต่อกันได้ยากและมียารักษาให้หายขาด แนะนำวิธีให้ป้องกันโรค คือ พักผ่อน ออกกำลังกาย หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่บ่อยๆ หากสงสัยว่าป่วย เช่น มีไข้สูง ปวดศีรษะ อาเจียน มีรอยผื่นเลือดออกใต้ผิวหนัง หรือสงสัยว่าสัมผัสกับผู้ป่วย ควรรีบไปพบแพทย์ค่ะ

  • @vorapunsuchiva3013
    @vorapunsuchiva3013 ปีที่แล้ว +2

    อยากไป Nepal แต่ถ้าอันตรายต่อร่างกาย ไม่ไปแล้วค่ะคุณหมอ

  • @chatrarat1765
    @chatrarat1765 ปีที่แล้ว +1

    ดีใจหลังจากที่ฟังคลิปนี้ เพราะจะไม่หาทำ เที่ยวที่ต่ำดีกว่า

  • @khaesk4234
    @khaesk4234 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณคุณหมอสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ จากคนที่แพ้ซัลฟา ที่ยังหาวิธีแก้ปวดหัวตอนขึ้นเกิน 4500 ม. ไม่ได้เลยค่ะ ได้แต่ดื่มน้ำอุ่น

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +1

      Dexamethasone เลยครับ

  • @spra88
    @spra88 ปีที่แล้ว

    อยากฟังเรื่อง hyperbaric O2 ที่กำลังโฆษณา ว่ามีผลต่อสุขภาพและสมองอย่างไร

  • @Pa_Nu
    @Pa_Nu ปีที่แล้ว +1

    🙏🙏🙏

  • @rtffft8430
    @rtffft8430 ปีที่แล้ว

    fcคนอู่ไท

  • @kedasittisongkram1161
    @kedasittisongkram1161 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณความรุ้และสาระดีๆป้าสัมผัสด้วยเองค่ะเพราะไม่ว่าร้อนรึหนาวจัด
    มันไม่เหมาะเลยจริงๆหน้าหนาวก็ไม่อยากออกนอกบ้านพอหน้าร้อนมีคนสุงวัย
    เสียชีวิตทุกปีในเขตอบอุ่นเพราะมันรุ้สึกอึดอัดเหมือนอ้อกซิเยนไม่พอและสังเกต
    วันที่ร้อนจัดคนจะไม่ค่อยสัญจรเลยค่ะ

  • @AvecBella
    @AvecBella ปีที่แล้ว +1

    Good day cheers ka Doctor Tany. Wishing you an Easy Peasy Lemon Squeezy Friday! 🍋🌤️🌈
    Full house madness over here. Two kids, one dog, one cat 👦🏻👦🏻🐾🐾
    Altitude sickness. Physical distress from difficulty adjusting to lower oxygen pressure at high altitude. Main cause of altitude sickness is going too high too quickly. Usually self-diagnosable - headache, nausea, shortness of breath, and inability to exercise. Mild cases may resolve in a few days. Severe cases may require oxygen, medications, and moving to a lower altitude.
    Happy FriYayyy! Be back…🤞🏼🙃
    🍂🌼🌾

  • @Nirandor
    @Nirandor ปีที่แล้ว +2

    ยากให้อาจารย์เล่าเรื่องมณีแดง Red gems
    Rejuvenile DND by Genomic stability Molecule
    ให้ฟังด้วยค่ะ กำลังอยู่ในกระแสต้านความแก่
    ขอบคุณมากค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว

      อย่างน้อยๆอีก 10 ปีถึงจะอาจมีโอกาสได้เห็นมัน แต่ไม่น่าจะมีออกมาง่ายๆครับ

  • @ployployprapai3809
    @ployployprapai3809 ปีที่แล้ว +1

    ❤❤❤🙏

  • @supaneechotthavornrat7468
    @supaneechotthavornrat7468 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณคุณหมอที่ให้ความรู้อย่างละเอียดค่ะ🙏🙇‍♀️

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn ปีที่แล้ว +2

    ชอบฟังช่องนี้ก็เพราะหมอเขาอธิบายดี หมอไม่ปล่อยให้ใครเชื่อแบบงมงาย แต่อธิบายที่ละปมทีละปม เดี๋ยวเราก็จะ อ๋ออออ เอออออ อ๋อออ เข้าใจแระ เขาดีอ้ะ

  • @ployyy.2107
    @ployyy.2107 ปีที่แล้ว +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอขอบคุณข้อมูลความรู้อะไรที่ไม่รู้ก็ได้รู้ได้รับความรู้ทุกวันขอบคุณมากๆค่ะขอให้คุณหมอสุขภาพแข็งแรงค่ะ🥰🥰🥰

  • @apollogize7
    @apollogize7 ปีที่แล้ว +2

    เมษา 2566 หรือ เมษาปีหน้านี้กำลังจะไป ABC เลยค่ะ ขอบคุณพี่หมอนะคะ ติดตามเสมอค่ะ ชอบมากๆ ฟังง่าย ทำให้เข้าใจตัวเองด้วย ไม่งมงายด้วย ❤❤❤

    • @pimpim7601
      @pimpim7601 ปีที่แล้ว +1

      ABC ช่วงเมษาไม่หนาวมากค่ะ หิมะจะเริ่มปกคลุมช่วงเมืองที่สูงๆขึ้นไปและใกล้ๆจะถึง ABC แล้วค่ะ เส้นทางเดินแรก ๆจะ ร้อนสลับเย็นไปเรื่อยๆ ค่ะ เตรียมเสื้อผ้าให้ยืดหยุ่นและใส่แบบเป็นเลเยอร์คือถอดเข้าออกได้ดีที่สุดค่ะ

    • @apollogize7
      @apollogize7 ปีที่แล้ว

      @@pimpim7601 งื้อออ 🥹🥹 ขอบคุณมากๆ นะคะ ของคุณจริงๆ ค่ะ น่ารักมาก

    • @miniscootie
      @miniscootie ปีที่แล้ว

      จะไปปลายเมษาเหมือนกันค่ะ เข้ามาเก็บข้อมูล ฟังข่าวแล้วแอบกลัวเล็กน้อย

  • @sanpdinocat
    @sanpdinocat ปีที่แล้ว +1

  • @kanokpornmartinez9609
    @kanokpornmartinez9609 ปีที่แล้ว +1

    ติดตามข่าวจร้าาา ท้าทาย เดินบนหิมะ22วัน ยาวววนานระยะทางร่างกายต้านทาน ไม่ไหวจ้าา

  • @tassaneesajjawong9524
    @tassaneesajjawong9524 ปีที่แล้ว +1

    #หมอ❤️❤️❤️❤️

  • @user-um5ni3bk3c
    @user-um5ni3bk3c ปีที่แล้ว +1

    เป็นไมเกรนประจำ คุณหมอพูดมาเข้าใจเลยว่าระบบควบคุมร่างกายจะรวนไปหมดค่ะ

  • @banphe3476
    @banphe3476 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณอจหมอมากมากฟังแล้วอย่าคิดไปถ้าเป็นคนไทย

  • @user-fo7dp8lu2k
    @user-fo7dp8lu2k ปีที่แล้ว +2

    เคยเล่นรถไฟเหาะ ที่วิ่งเร็วๆ ตีลังกา ครั้งแรกและครั้งเดียวในชีวิต พอลงมา ล้มนอนพื้นเลย เหมือนหัวใจรีเซ็ต ถูกเหวี่ยงจนขาดสติขาดการควบคุม เหมือนเครื่องดับ เห็นคนที่สูงวัยกว่า เค้ากรี๊ดสนุก ตื่นเต้น แต่เราหัวใจจะหยุดเต้น ใจแทบขาด😔🤮