ฎีกา InTrend Ep.168 ภรรยาลงชื่อในหนังสือยินยอมร่วมรับผิดในสัญญาเช่าซื้อจะถือเป็นข้อตกลง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 เม.ย. 2024
  • ฎีกา InTrend Ep.168 ภรรยาลงชื่อในหนังสือยินยอมร่วมรับผิดในสัญญาเช่าซื้อจะถือเป็นข้อตกลงที่เลี่ยงการทำสัญญาค้ำประกันที่จะเป็นโมฆะไปหรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, ทัสสญุชุ์ กุลสิทธิ์ชัยญา, ณัฐสิมา อนันทนุพงศ์
    Show Creator : ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, รวิภา กิ่งจักร์
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : โสรัตน์ ไวศยดำรง, สุพัตรา ขำมีศักดิ์, สุภาวัชร์ ดลมินทร์
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์, กนกกูล วสยางกูร
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    การที่ทำสัญญาค้ำประกันนั้นมีข้อห้ามที่สำคัญประการหนึ่งคือ การห้ามมิให้ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้น ซึ่งข้อตกลงที่ขัดต่อข้อกำหนดดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะ แต่ในการทำสัญญาต่าง ๆ มีการทำหลายรูปแบบที่อาจจะมีผลต่อความรับผิดของบุคคลที่ไม่ใช่คู่สัญญาโดยตรงให้มารับผิดด้วย ทำให้เกิดปัญหาได้ว่า ข้อตกลงทำนองนั้นจะเข้าข่ายตามที่กฎหมายห้ามไว้เกี่ยวกับผู้ค้ำประกันหรือไม่ ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ภรรยาลงชื่อในหนังสือยินยอมร่วมรับผิดในสัญญาเช่าซื้อจะถือเป็นข้อตกลงที่เลี่ยงการทำสัญญาค้ำประกันที่จะเป็นโมฆะไปหรือไม่
    นายไก่ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันหนึ่งในราคา 900,000 บาท ตกลงผ่อนชำระ 60 งวด โดยในการทำสัญญานางนกซึ่งเป็นภรรยาของนายไก่ได้ทำหนังสือยินยอมรับผิดร่วมกับนายไก่อย่างลูกหนี้ร่วมด้วย ต่อมานายไก่ผิดนัดชำระหนี้ บริษัทผู้ให้เช่าซื้อจึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังนายไก่ และได้ฟ้องนายไก่และนางนกให้ร่วมกันส่งมอบรถที่เช่าซื้อคืน และเรียกค่าขาดประโยชน์ด้วย
    นางนกต่อสู้ว่าข้อตกลงดังกล่าวไม่มีผลใช้บังคับได้ เพราะเป็นข้อตกลงที่เลี่ยงกฎหมายที่ห้ามมิให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม
    ในกรณีของนางนกนี้ ข้อที่นางนกยกขึ้นต่อสู้เป็นไปตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686/1 กำหนดให้ข้อตกลงใดที่กำหนดให้ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างเดียวกับลูกหนี้ร่วมหรือในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ จึงเป็นที่มาของการต่อสู้ว่านางนกไม่ใช่ผู้เช่าซื้อ แต่การที่กำหนดให้ต้องลงชื่อในหนังสือยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมเป็นเหมือนการค้ำประกันที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
    ในกรณีของนางนกกับนายไก่นี้ ทั้งสองคนเป็นสามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่นายไก่ไปทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์คันดังกล่าวไม่ได้มีข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่าเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อรถมาเพื่อประโยชน์ของนายไก่ฝ่ายเดียว หรือใช้เพื่อประโยชน์ในครอบครัวด้วย หากเป็นการทำสัญญาเช่าซื้อเพื่อประโยชน์ของนายไก่ฝ่ายเดียวแล้วจะไม่มีผลผูกพันคู่สมรสอีกฝ่าย
    แต่การที่นางนกไปลงชื่อในหนังสือยินยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมนั้นปรากฏว่ามีข้อความที่แสดงออกในทำนองว่ารับรู้ว่านายไก่ทำสัญญาเช่าซื้อ และยินยอมให้ทำสัญญาดังกล่าว และหากนายไก่ผิดสัญญาเช่าซื้อ นางนกตกลงยอมรับผิดร่วมกับนายไก่อย่างลูกหนี้ร่วมด้วย การลงชื่อของนางนกจึงมีลักษณะของการให้สัตยาบันแก่คู่สมรสอีกฝ่ายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) ซึ่งจะมีผลให้คู่สมรสฝ่ายหนึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ที่อีกฝ่ายก่อขึ้นระหว่างสมรส ไม่ใช่การที่จะให้นางนกมาเป็นผู้ค้ำประกันแล้วให้รับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมที่จะทำให้ข้อตกลงดังกล่าวเป็นโมฆะ
    ดังนั้น การที่ภรรยาลงชื่อในหนังสือยินยอมร่วมรับผิดในสัญญาเช่าซื้อที่สามีทำขึ้น ไม่ถือเป็นข้อตกลงที่เลี่ยงการทำสัญญาค้ำประกันที่จะเป็นโมฆะ แต่เป็นเพียงการให้สัตยบันต่อหนี้ที่สามีก่อขึ้นอันจะมีผลให้หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาที่มีผลใช้บังคับได้
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3803/2565)
    _____________________________

ความคิดเห็น • 1

  • @apicxd741
    @apicxd741 21 วันที่ผ่านมา

    ไม่ใช่มาตรา 681/1 วรรคแรก หรือครับ? 3:10