รู้ลึกเรื่องฮอร์โมนไขมัน วิธีพิชิตโรคอ้วน กับหมอแอมป์ | BDMS Wellness Club

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 5 ก.ค. 2020
  • รู้ลึกเรื่องฮอร์โมนไขมัน วิธีพิชิตโรคอ้วน กับหมอแอมป์
    🔹 รู้หรือไม่ว่า...ฮอร์โมนส่งผลต่อน้ำหนักตัวของเราหรือความอ้วนด้วยเช่นกัน เพราะฮอร์โมนหลายชนิดมีส่วนเกี่ยวข้องในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น การเผาผลาญ ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักตัว ซึ่งจะส่งผลตั้งแต่ความรู้สึกหิวจนถึงกระบวนการสะสมไขมัน ดังนั้นหากฮอร์โมนเหล่านี้ไม่สมดุล ก็อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราเข้าสู่ภาวะโรคอ้วนได้
    นายแพทย์ตนุพล วิรุฬหการุญ หรือหมอแอมป์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ และผู้อำนวยการบีดีเอ็มเอส เวลเนส คลินิก ได้ให้คำแนะนำพร้อมยกตัวอย่างฮอร์โมนที่หลั่งจากไขมัน การทำงานของฮอร์โมนแต่ละชนิดจะส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย พร้อมเคล็ดลับเล็ก ๆ ในการลดความอ้วนอย่างมีประสิทธิภาพ
    ฮอร์โมนที่หลั่งจากไขมัน ได้แก่
    🔖 1. Leptin (เลปติน) ฮอร์โมนอิ่ม หรือฮอร์โมนหยุดความหิว
    หากร่างกายมีฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำ จะทำให้รับประทานเยอะ อิ่มยาก แต่หากมีฮอร์โมนชนิดนี้สูงเกินไป จะทำให้เกิดภาวะดื้อต่อเลปติน (Leptin resistance) มีผลทำให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานได้น้อยลง และอาจก่อให้เกิดโรคอ้วนตามมาได้
    🔖 2. Adiponectin (อดิโพเนคทิน)
    หากร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้ต่ำ อาจทำให้มีความเสี่ยงก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาจากภาวะโรคอ้วน เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอักเสบ โรคภูมิต้านทานตก
    🔖 3. Resistin (รีซิสทิน)
    หากร่างกายมีการหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้สูง จะมีผลต่อกระบวนการอักเสบและระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ
    นอกจากนี้ เนื้อเยื่อไขมันในร่างกายยังสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่
    • Brown Fat มีบทบาทในการสลายพลังงาน เป็นไขมันดี (Good fat) หากร่างกายมีปริมาณ Brown Fat สูง จะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้น
    • White Fat มีบทบาทในการกักเก็บพลังงาน หากร่างกายมีปริมาณ White Fat สูง จะทำให้ก่อเกิดโรคอื่น ๆ ได้
    ภาวะโรคอ้วนเปรียบได้ดั่งกับเพชฌฆาตแบบเงียบ (Silent killer) ที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว การลดน้ำหนักที่ถูกวิธี จึงเป็นการลดปริมาณไขมันในร่างกาย ไม่ใช่การลดกล้ามเนื้อ ลดกระดูก หรือลดน้ำหนักบนตาชั่ง หากร่างกายมีโรคแทรกซ้อนหรือโรคประจำตัวอื่น ๆ ร่วมด้วย ควรปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการหรือนักกำหนดอาหาร เพื่อรับคำแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวและรักษา พร้อมกับคำแนะนำด้านโภชนาการที่ถูกต้องและเหมาะสมเฉพาะบุคคล
    ลดอ้วน ลดพุง ลดพฤติกรรมเสี่ยง
    ♥ ด้วยความปรารถนาดีจาก BDMS Wellness Clinic ♥
    Credit: ​ BDMS Wellness Clinic​
    ....................⁣
    ชมคลิปอื่น ๆ ของ BDMS Wellness Clinic ได้ที่ / bdmswellnessclinic​
    .......................⁣
    ⁣LINE: @bdmswellnessclinic

    #สุขภาพที่ดีเริ่มที่การป้องกัน
    #BDMSWellnessClinic #PreventiveMedicine
    #โรคอ้วน #Obesity #NCDs #โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
    #ฮอร์โมน
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น • 26

  • @Gracenaraa
    @Gracenaraa 3 ปีที่แล้ว +3

    อธิบายแบบช้าๆ ง่ายๆ ฟังแล้วเข้าใจง่ายขึ้น ขอบคุณค่ะ

  • @pepsiandcola907
    @pepsiandcola907 3 ปีที่แล้ว +3

    FC คุณหมอ 🥰

  • @venanana348
    @venanana348 3 ปีที่แล้ว +1

    เสียงน่าฟัง เข้าใจง่าย ขอบคุณที่เสียเวลามาให้ความรู้ค่ะ จะติดตามตลอดค่ะ!!

  • @NattaandTommy
    @NattaandTommy 3 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณค่ะ❤

  • @SOPHANNAYUNYIM
    @SOPHANNAYUNYIM 3 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณ คุณหมอแอมมากๆ ครับ

  • @user-lw9rk9zb7n
    @user-lw9rk9zb7n 2 ปีที่แล้ว

    หมออธิบายดีมากครับ เห็นภาพง่ายมาก

  • @user-wd1dz2pu6n
    @user-wd1dz2pu6n 3 ปีที่แล้ว

    คุณหมออธิบายเข้าใจง่ายค่ะ

  • @NuMiLy13
    @NuMiLy13 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะ เข้าใจง่ายขึ้นเลยค่ะ

  • @FahOliverPhanthayak
    @FahOliverPhanthayak 3 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณ คุณหมอแอมมากๆค่ะ ติดตามฟังมาหลายปีแล้ว มีแต่ความรู้ดีๆเพื่อการดูแลรักษาสุขภาพกายและใจ ทำตามที่คุณหมอแนะนำค่ะ เพื่อเป็นคนแก่ที่สุขภาพดีในอนาคต ไม่เป็นภาระให้คนอื่น

  • @atikasanprasit9417
    @atikasanprasit9417 3 ปีที่แล้ว

    FC หมอแอมป์ค่า

  • @user-ri8mx8ih7s
    @user-ri8mx8ih7s 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ คุณหมอ

  • @user-hm5js3cm7s
    @user-hm5js3cm7s 3 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

  • @user-ws3jv4kw4g
    @user-ws3jv4kw4g 3 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ
    จะทำไงดีคะยิ่งตั้งใจลดก็ยิ่งกินค่ะ

  • @sinapornhansen2827
    @sinapornhansen2827 3 ปีที่แล้ว

    FCคุณหมอคะ. Dk

  • @alltime4715
    @alltime4715 3 ปีที่แล้ว

    สวัสดีครับหมอแอมป์

  • @user-vj1te5ef6z
    @user-vj1te5ef6z 3 ปีที่แล้ว

    มาพบคุณหมอตอนนี้ก็ยังไม่สายนะคะ

  • @user-nh9nv3ns2j
    @user-nh9nv3ns2j 3 ปีที่แล้ว

    😍😍😍😍😍😍

  • @PtPak-dy2ic
    @PtPak-dy2ic 3 ปีที่แล้ว

    พี่ใช้วิธี ลดอาหารเมื้อเย็น ทำมาตั้งแต่ ชัตดาวน์โควิด...เดือนแรก เพียงแค่สบายท้อง..แต่เดือนถัดไป..น้ำหนักลดรายวัน..สุขภาพดีขึ้น..คลอเรสเตอรอล ลดลง 158 ค่าปกติ..ไตกลีฯ..ลดลงเหลือ 85 ทุกอย่างดีหมด..(อายุ64)..ไม่เป็นเบาหวาน มวลกระดูกดี ข้อไม่เสื่อม กระดูกยังหนา..ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่เกิดจาก ข้อ เอ็น (ออกกำลังกายผิดวิธี)..เลยทำให้สุขภาพจิตไม่ค่อยดีค่ะ

  • @thatsmyname196
    @thatsmyname196 3 ปีที่แล้ว

    ปรับฮอร์โมนยังไงคะ ตัวช่วยตอนเราลดน้ำหนัก

  • @parinyawongyang6854
    @parinyawongyang6854 3 ปีที่แล้ว

    อยากไห้คุณหมออธิบายเรื่องวิตามินบำรุงผิวหน่อยค๊ะ

  • @user-xk1yb6ss1q
    @user-xk1yb6ss1q 3 ปีที่แล้ว

    อยากได้นําหนักเพิ่มขึ้นอีก8ถึง10โลได้ไหม

  • @tanyalukchaiyapum6823
    @tanyalukchaiyapum6823 3 ปีที่แล้ว +1

    นน 46/153 แต่ โคเลสเตอรอล 300 ทั้งทีคุมอาหารคะ ออกกำลังกาย 3-4 วัน/สัปดาห์ ระบบเผาผลาญต่ำคะ มีวิธีแก้ยังไงบ้างคะหมอ

    • @benbenjawan7165
      @benbenjawan7165 3 ปีที่แล้ว

      ดีขึ้นยังคะ

  • @kolunyacr8704
    @kolunyacr8704 3 ปีที่แล้ว +1

    กินเหมือนเดิมไม่ได้มากกว่าเดิม อาจจะน้อยกว่าเดิมยังอ้วนได้ เพราะอะไรค่ะ

  • @jacintheng4280
    @jacintheng4280 3 ปีที่แล้ว

    🙏🏻🙏🏻🙏🏻🏡🥰😴