ฎีกา InTrend EP.37 ผู้ค้ำประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไป เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 ก.ย. 2021
  • ฎีกา InTrend ep.37 ผู้ค้ำประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไป เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    การเป็นหนี้เป็นภาระของผู้ที่เป็นลูกหนี้อย่างแน่นอนที่จะต้องหาเงินหาทองไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ ถ้าไม่มีการชำระหนี้สิ่งที่เจ้าหนี้ต้องทำคือการฟ้องร้องเพื่อบังคับชำระหนี้เอากับทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ในบางกรณีลูกหนี้อาจจะทำการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนไปให้คนอื่นเพื่อจะทำให้ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้จะไปบังคับชำระหนี้เหลือน้อยลง รวมถึงผู้ค้ำประกันซึ่งถือเป็นลูกหนี้ประเภทหนึ่งด้วย ปัญหาในตอนนี้จะเป็นเรื่องที่ว่าหากผู้ค้ำประกันโอนยกทรัพย์สินให้คนอื่นไป เจ้าหนี้จะขอเพิกถอนการโอนนั้นได้หรือไม่
    เมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 นางกิ่งได้กู้ยืมเงินมาจากนายก้าน 800,000 บาท โดยมีนายใบ ซึ่งเป็นญาติของนางกิ่งตกลงเป็นผู้ค้ำประกันให้ ตกลงกำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในสองเดือน เมื่อครบกำหนดดังกล่าวนางกิ่งผิดนัดไม่ชำระหนี้ให้แก่นายก้านตามที่ตกลงไว้
    หลังจากนั้นอีกประมาณสี่เดือน นายใบได้จดทะเบียนยกที่ดินแปลงหนึ่งของตนให้แก่นายผลซึ่งเป็นบุตรชายของตนโดยไม่ได้คิดค่าตอบแทนใด ๆ จากนายผล
    ในเดือนตุลาคม 2558 นายก้านจึงได้มีหนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังนางกิ่งและนายใบให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ที่ค้างอยู่ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย แต่ทั้งสองคนไม่ชำระหนี้ให้จนนายก้านฟ้องทั้งนางกิ่งและนายใบเป็นจำเลย ศาลในคดีดังกล่าวพิพากษาให้นางกิ่งและนายใบชำระหนี้ให้แก่นายก้าน
    นายก้านสืบหาทรัพย์สินของนางกิ่งและนายใบแล้วไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์เพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ได้ แต่พบว่าได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวระหว่างนายใบและนายผล นายก้านจึงได้มาฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนดังกล่าว และให้โอนที่ดินแปลงดังกล่าวกลับมาเป็นของนายใบ หากไม่ดำเนินการก็ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
    ปัญหาเรื่องนี้เป็นเรื่องของการเพิกถอนการฉ้อฉล ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้เป็นเครื่องมือประการหนึ่งของเจ้าหนี้ที่ขอเพิกถอนนิติกรรมได้หากปรากฏว่าลูกหนี้ไปกระทำการบางอย่างที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้อาจไม่ได้รับชำระหนี้ที่ลูกหนี้ค้างชำระอยู่นั้นได้
    แต่การที่จะขอเพิกถอนนิติกรรมที่เป็นการฉ้อฉลนี้ปกติแล้ว บุคคลภายนอกที่เข้าไปทำนิติกรรมที่ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบนั้นจะต้องรู้ถึงลักษณะดังกล่าวด้วยว่าการที่ตนไปทำนิติกรรมนั้นกับลูกหนี้แล้วจะทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบไม่ได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้
    อย่างไรก็ตาม หากนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำกับบุคคลภายนอกนั้นเป็นนิติกรรมที่ลูกหนี้ทำให้โดยเสน่หาซึ่งลูกหนี้ไม่ได้ค่าตอบแทนใด ๆ จากบุคคลภายนอกนั้น บุคคลภายนอกนั้นไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ว่าการทำนิติกรรมนั้นจะทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ ขอเพียงลูกหนี้รู้ก็พอแล้ว
    สำหรับในกรณีนี้ นายใบเพียงแต่ยกที่ดินแปลงที่มีปัญหาให้แก่นายผล บุตรชายตนเอง ไม่ได้เป็นการซื้อขาย นิติกรรมระหว่างนายใบกับนายผลจึงเป็นนิติกรรมที่ทำให้โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทนอะไร การที่จะเพิกถอนนิติกรรมรายนี้จึงไม่จำเป็นต้องพิจารณาว่านายผลรู้หรือไม่ว่าการที่ตนได้รับโอนที่ดินแปลงนี้มาจะมีผลทำให้ทรัพย์สินของนายใบเหลือไม่พอชำระหนี้ ขอเพียงแต่ตัวนายใบที่เป็นลูกหนี้และเป็นคนยกที่ดินให้รู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เพียงพอแล้ว
    ข้อต่อสู้ประการหนึ่งของนายใบคือในขณะที่ตนจดทะเบียนยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่นายผล ตนยังไม่รู้ว่านางกิ่งผิดนัดชำระหนี้แล้ว เพราะกว่าที่นายก้านจะส่งหนังสือบอกกล่าวให้นางกิ่งและตนชำระหนี้ก็เป็นเวลาปีกว่านับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้เงินกู้ที่ทำให้นางกิ่งผิดนัดชำระหนี้ จึงย่อมถือไม่ได้ว่าตัวนายใบเองรู้ว่าการโอนที่ดินนี้จะทำให้นายก้านซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ
    หากนายก้านส่งหนังสือบอกกล่าวไปก่อนที่นายใบจะจดทะเบียนโอนที่ดินก็คงจะชัดเจนว่านายใบรู้แน่ว่าเจ้าหนี้ของตนกำลังจะทวงถามให้ชำระหนี้แล้ว การที่นายใบโอนที่ดินไปย่อมส่อแสดงให้เห็นว่าทำไปเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระหนี้
    แต่แม้จะไม่มีการส่งหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ดังกล่าว แต่กรณีนี้หนี้ที่มีอยู่เป็นหนี้ค้ำประกันเงินกู้ยืมที่นายใบซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมรู้อยู่แล้วว่าตนมีความผูกพันต้องชำระหนี้อยู่หากนางกิ่งไม่ชำระ และตามสัญญากู้ก็กำหนดวันครบกำหนดชำระหนี้ไว้แน่นอนชัดเจนอยู่แล้ว นางกิ่งย่อมผิดนัดชำระหนี้ทันทีที่ครบกำหนดชำระดังกล่าวโดยไม่จำเป็นต้องให้นายก้านบอกกล่าวทวงถามก่อน
    ดังนั้น เมื่อนายใบยกที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่บุตรชายตนเองไป โดยรู้อยู่แล้วว่าตนไม่มีทรัพย์สินอื่นเพียงพอที่จะชำระหนี้ให้แก่นายก้านได้ จึงต้องถือว่านายใบได้ทำนิติกรรมการโอนดังกล่าวไปโดยรู้ทำไปแล้วจะทำให้เจ้าหนี้ของตนเสียเปรียบ จึงเป็นนิติกรรมที่สามารถเพิกถอนในฐานะที่เป็นการฉ้อฉลได้
    ข้อสังเกตประการหนึ่งคือนายก้านขอให้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้กลับไปเป็นชื่อนายใบ หากไม่ไปจดทะเบียนให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา แต่เมื่อมีการเพิกถอนการโอนระหว่างนายใบกับนายผลไปเสียแล้วย่อมถือว่านิติกรรมการโอนนั้นสิ้นผลทางกฎหมายไปโดยสภาพ ไม่จำเป็นต้องมีการพิพากษาให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาไปจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเจ้าของอีก
    กรณีเช่นนี้เมื่อเพิกถอนการโอนแล้ว ที่ดินแปลงดังกล่าวย่อมยังเป็นกรรมสิทธิ์ของนายใบอยู่ นายก้านในฐานะเจ้าหนี้ของนายใบย่อมสามารถขอให้บังคับคดียึดที่ดินแปลงนั้นไปขายทอดตลาดนำเงินไปชำระหนี้ให้แก่ตนได้ต่อไป แต่ต้องไปดำเนินการเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง
    บทเรียนจากเรื่องนี้คงบอกได้ว่าเมื่อเป็นหนี้แล้ว การไปกระทำการใด ๆ ที่เป็นนิติกรรมที่ส่งผลให้เจ้าหนี้เสียเปรียบไม่ได้รับชำระหนี้ที่ค้างอยู่อาจถูกเพิกถอนในฐานะเป็นการฉ้อฉลได้ โดยหากเป็นการให้โดยเสน่าหาแล้ว แม้ผู้รับโอนจะไม่รู้ข้อเท็จจริงนี้แต่ตัวลูกหนี้รู้อยู่ก็อาจเพิกถอนได้
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5497/2562)

ความคิดเห็น • 37

  • @user-lf9zf4qc9c
    @user-lf9zf4qc9c 4 วันที่ผ่านมา

    ฟังแล้วได้ความรู้ครับ

  • @MairuujafuuArai
    @MairuujafuuArai 2 ปีที่แล้ว +5

    ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้ความกระจ่างดีมากๆเลยค่ะ

  • @ictforallth
    @ictforallth 2 หลายเดือนก่อน

    ได้ความรู้มากเลยครับ

  • @selfmelodiiz7192
    @selfmelodiiz7192 2 ปีที่แล้ว

    ขอบพระคุณครับ

  • @boriboonkhamduang6048
    @boriboonkhamduang6048 2 ปีที่แล้ว +3

    🙇‍♀️ขอบคุณค่ะ เป็นความรู้ทางกฎหมายท่ีเกี่ยวพันธ์กับผู้ค้ำประกันมากค่ะ

  • @2023RPG
    @2023RPG ปีที่แล้ว +4

    ในกรณี ลูกหนี้ ผ่อนชำระ ธนาคารเป็นงวดรายเดือน
    ผู้ค้ำโอนหรือขายทรัพย์สิน ออกไปช่วงไหน เจ้าหนี้ถึงจะตามฟ้องเพิกถอนนิติกรรมได้ครับ
    จุดตัดคือเวลาไหน นับจาก ธนาคารฟ้องลูกหนี้ หรือผู้ค้ำ หรือนับจาก ธนาคาร ส่ง notice ทวงถามครับ

  • @herethoon8737
    @herethoon8737 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ ท่านยกตัวอย่างชื่อคนจนเกิดความสับสน นะครับ

  • @prapaipakthankeaw9367
    @prapaipakthankeaw9367 10 หลายเดือนก่อน +1

    ถ้าผู้ค้ำประนีประนอมและศาลสั่งแล้ว ดำเนินการจ่ายหนี้ตามปกติไม่มีผิดนัด สามารถโอนที่ให้ลูกได้ไหม หรือว่าต้องรอจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้นเลย ขอบคุณค่ะ

  • @user-pk3bc5qn4s
    @user-pk3bc5qn4s 2 หลายเดือนก่อน

    กรณีลักษณะนี้ เคยฟ้องผู้ค้ำประกันว่าโกงเจ้าหนี้ ไต่สวนมูลฟ้องมีมูล สุดท้ายยอมจ่ายเท่าราคาประเมินที่ดิน ถอนฟ้อง จบกันไป

  • @thitikanwongsricha4076
    @thitikanwongsricha4076 ปีที่แล้ว

    ได้ทำไปแล้วค่ะ. ได้โอนให้หลาน
    จะต้องทำไงค่ะ ช่วยให้คำแนะนำหน่อยค่ะ

  • @thitivutphobai2132
    @thitivutphobai2132 ปีที่แล้ว

    ขอสอบถามครับรถยนต์ที่ขาดการต่อทะเบียนมา 5 ปีแล้วผมได้ขายให้คนอื่นไปแล้วแต่เขายังไม่ได้ไปทำการโอน ศาลจะยึดได้ไหมครับ

  • @somsrisriwichian3172
    @somsrisriwichian3172 ปีที่แล้ว +1

    เป็นผู้ค้ำประกัน พ่อพึ่งโอนที่ดินให้ ผู้กู้ไม่ใช้หนี้ ผู้ค้ำจะูถูกยึดที่ดิรพ่อโอนให้ไหมคะ

  • @soysudsoi
    @soysudsoi 5 หลายเดือนก่อน +1

    ไหนบอกไม่มีโนติสไม่โดนสรุปทนายไหนบอกถูกบอกผิดกันแน่หว่า

  • @user-bm8ye3sz6k
    @user-bm8ye3sz6k 2 ปีที่แล้ว

    ยอด ๆ

    • @chanas5145
      @chanas5145 ปีที่แล้ว

      ได้ความรู้มากเลยครับแต่อยากให้อธิบายแบบกระชับกว่านี้หน่อยไม่ต้องลงรายละเอียดมาก

  • @user-sk8ev8de4l
    @user-sk8ev8de4l ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีครับ

  • @peerapongsongtham3290
    @peerapongsongtham3290 2 ปีที่แล้ว +3

    พึ่งเรียนไปเลยครับวิชาหนี้ เพิกถอนการฉ้อฉล

  • @srunkornchantana3617
    @srunkornchantana3617 ปีที่แล้ว +1

    แล้วในกรณี บิดาต้องการโอนที่ดินให้แก่ลูกชาย
    แต่ลูกชายติดบังคับคดีอยู่จึงไม่สามารถรับโอนที่ดินได้ จึงบอกกับบิดาตัวเองว่า ขอให้โอนฝากไว้กับน้องชายก่อน จนกว่าจะบังคับคดีจะสิ้นสุดลง แบบนี้ถือเป็นการไม่ชำระหนี้รึเปล่าคับ. เนื่องจากไม่เคยมีชื่อในที่ดินมาก่อน

    • @sbpvcc
      @sbpvcc ปีที่แล้ว +1

      ไม่เป็นเพราะไม่เกี่ยวข้องอะไรกัน ยังไม่ได้เป็นเจ้าของทรัพย์

  • @nongnong6161
    @nongnong6161 8 หลายเดือนก่อน

    ยิ่งฟังยิ่งเคลียด

  • @user-vc3gs8bs7x
    @user-vc3gs8bs7x ปีที่แล้ว

    ถ้าผู้ค้ำ(สามี)ไม่ได้มีชื่อเป็นเจ้าของทรัพย์(เป็นชื่อของภรรยา ที่จดทะเบียนสมรสกัน /ไม่ได้มีการโอนให้ภรรยา /เป็นชื่อภรรยาตั้งแต่ซื้อ) หากสามีถูกฟ้องให้ใช้หนี้แทนคนกู้ จะมายึดทรัพย์ชื่อภรรยาได้หรือไม่คะ

  • @user-pv2ku7if7t
    @user-pv2ku7if7t 8 หลายเดือนก่อน

    0:53 0:56

  • @user-es1kw8pq7v
    @user-es1kw8pq7v ปีที่แล้ว

    ผู้ค้ำขายที่ดินไปแล้ว

  • @hjhj4008
    @hjhj4008 2 ปีที่แล้ว +5

    เมื่อลูกหนี้ถูกฟ้องยึดที่ดินขายทอดตลาดแต่ที่ดินแปลงนั่นเขาขายโดยเราเป็น
    คนชื้อแต่ไม่ได้โอนเราจะทำอย่างไรค่ะ

  • @jumbohftfhkmb5249
    @jumbohftfhkmb5249 ปีที่แล้ว

    มรดกโอนกลับคืนสามารถเพิกถอนได้ไหม

  • @teenot2406
    @teenot2406 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนมาก

  • @user-kh3zx9gz4v
    @user-kh3zx9gz4v 3 หลายเดือนก่อน

    ทรัพย้สินมีก้อต้องโอนใหัแก่บุตรละตามสิทธิ้เนาะ

  • @theevarith8811
    @theevarith8811 ปีที่แล้ว

    กรณีคนกู้ไม่ยอมจ่ายจริงๆคนค้ำประกันต้องรับผิดขอบเต็มวงเงินมั้ยครับถ้าคิดจะจ่ายแทนเพราะเป็นปัญหาของผู้ค้ำประกันไปแล้ว

  • @user-es1kw8pq7v
    @user-es1kw8pq7v ปีที่แล้ว

    ผู้ค้ำขายไปแล้วเพิกถอนได้มั้ยค่ะ

  • @selectc6425
    @selectc6425 2 ปีที่แล้ว +1

    มีรถยนต์อยู่คันหนึ่งแต่เอาไปเข้าเงินติดล้อเขาจะยืดได้ไหมคับ

    • @sbpvcc
      @sbpvcc ปีที่แล้ว

      ได้ครับ แต่ยึดขายทอดตลาดแล้วต้องนำเงินที่ขายได้ไปชำระให้เงินติดล้อก่อน ที่เหลือคนฟ้องถึงจะได้ไป ส่วนมากเจ้าหนี้ไม่แตะต้องเรื่องรถครับ เพราะไม่มีที่เก็บรักษา

    • @selectc6425
      @selectc6425 ปีที่แล้ว

      @@sbpvcc ขอบคุณครับ

  • @user-ed8mm5xs1v
    @user-ed8mm5xs1v 2 ปีที่แล้ว

    ถูกฟ้องสี่แสนมีแค่มอไชเขาจะยึดไหมค่ะ

    • @ple8924
      @ple8924 2 ปีที่แล้ว

      สอบถามค่ะตอนนี้เค้ามายึดไหมค่ะมอไซ

    • @sbpvcc
      @sbpvcc ปีที่แล้ว

      ส่วนมากไม่ยุ่งกับรถถ้าไม่ใช่เจ้าหนี้จำนองรถโดยตรง พวกเจ้าหนี้บัตรมายึดไปก็ต้องหาที่เก็บรักษา ขายได้ก็ต้องจ่ายเจ้าหนี้ที่รับจำนองรถก่อน ที่เหลือถึงจะได้

    • @chadaporn9830
      @chadaporn9830 ปีที่แล้ว +1

      สรุป ผู้ค้ำประกัน รอวันฉิบหายแทนอย่างเดียว ฟังแล้วเครียด ผลของการอยากได้ดอกเบี้ยของเจ้าหนี้อย่างเดียว 😢

  • @user-wp9xg4gr4r
    @user-wp9xg4gr4r ปีที่แล้ว

    ทนายค่ะถ้าพ่อเป็นคนค้ำให้ลูกสาวคนเล็กหลังจากโอนที่ดินให้พี่สาวมีผลมั้ยค่ะ