ฎีกา InTrend EP.38 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ยให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้าง.....

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ก.ย. 2021
  • ฎีกา InTrend ep.38 หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดจะถูกไล่เบี้ยให้รับผิดหนี้ที่เกิดก่อนออกจากห้างได้หรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, จีรวรรณ เจริญยศ
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    ห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่นำมาใช้เป็นจำนวนมาก แต่ในการทำงานและการทำธุรกรรมกับบุคคลภายนอกก็ทำให้เกิดปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์ สิทธิหน้าที่ต่างๆ อยู่ไม่น้อย ในตอนนี้ประเด็นที่จะนำมากล่าวถึงจะเป็นปัญหาที่ว่าหากหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดถอนหุ้นออกจากห้างแล้วจะต้องรับผิดในหนี้ของห้างที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกไปหรือไม่
    นายจันทร์กับนายอังคารเป็นเพื่อนร่วมมหาวิทยาลัยเดียวกัน หลังจากสำเร็จการศึกษาและหาประสบการณ์พอสมควรทั้งคู่ก็ตกลงทำธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์การดูแลสุขภาพทางออนไลน์โดยตั้งเป็น “ห้างหุ้นส่วนจำกัด” ขึ้นมา นายจันทร์เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด และนายอังคารเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด โดยนายอังคารได้ลงหุ้นไปเป็นเงิน 2 ล้านบาท
    ต่อมาทั้งคู่มีความเห็นไม่ลงรอยกันในเรื่องการดำเนินธุรกิจ นายอังคารจึงขอถอนหุ้นไป มีการเจรจากันเรื่องการคืนเงิน สุดท้ายนายจันทร์ตกลงคืนเงินให้นายอังคารไปสองล้านบาท โดยในส่วนหุ้นของนายอังคารจะมีบริษัทหนึ่งเข้ามาเป็นหุ้นส่วนแทน
    หลังจากนั้นปรากฏว่ากรมสรรพากรได้ประเมินภาษีของห้างหุ้นส่วนจำกัดนี้เกี่ยวกับธุรกรรมและรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงที่นายอังคารยังเป็นหุ้นส่วนอยู่ กรมสรรพรกรประเมินแล้วให้ชำระภาษีพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่มจำนวน 5 แสนบาท ห้างฯ ได้ชำระเงินให้กรมสรรพากรไปครบถ้วนแล้ว
    ห้างฯ เห็นว่าเป็นหนี้ที่นายอังคารต้องร่วมรับผิดชอบด้วย เพียงแต่มาทราบภายหลังจึงทำให้ตอนที่นายอังคารถอนหุ้นไปจึงได้จ่ายเงินให้นายอังคารมากไปกว่าที่ควรต้องจ่ายจึงได้มาฟ้องนายอังคารให้รับผิด
    กรณีนี้จะเห็นได้ว่านายอังคารเป็น “หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด” ที่ปกติแล้วต้องรับผิดไม่เกินจำนวนหุ้นที่ตนได้ลงในห้าง เช่นกรณีนี้นายอังคารลงหุ้นเป็นเงิน 2 ล้านบาท หากห้างฯ ทำกิจการแล้วเกิดความเสียหายอย่างใดนายอังคารก็ไม่ต้องรับผิดอะไรเกินไปจากค่าหุ้นที่ตกลงรับว่าจะลง
    สิ่งที่ทำให้เกิดเป็นปัญหาในกรณีนี้มาจากการที่นายอังคารได้ถอนหุ้นไปก่อนที่ห้างฯ ชำระค่าภาษีให้กรมสรรพากร จึงทำให้เกิดปัญหาว่าถ้าเช่นนั้นนายอังคารยังจะต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวด้วยหรือไม่
    หากเป็น “ห้างหุ้นส่วนสามัญ” ที่ไม่มีการแยกประเภทหุ้นส่วนให้มีหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด หุ้นส่วนที่ออกจากห้างไปต้องรับผิดในหนี้ของห้างที่เกิดขึ้นก่อนที่ตนจะออกไปจากห้างด้วย เพราะถือว่าเป็นหนี้ที่หุ้นส่วนคนนั้นจะต้องรับผิดตามกฎหมายอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม หลักเกณฑ์นี้ย่อมไม่สามารถนำมาใช้กับ “ห้างหุ้นสวนจำกัด” เช่นกรณีนี้ได้ เพราะความรับผิดของหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดนั้นได้มีการกำหนดไว้โดยเฉพาะแล้วว่าจะฟ้องร้องได้เมื่อใด และต้องรับผิดในเงินจำนวนใดบ้าง ซึ่งกฎหมายกำหนดให้หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดต้องรับผิดเพียงเฉพาะบางกรณี เช่น เงินลงหุ้นที่ถอนไปหากมีการเลิกห้างเท่านั้น ไม่ได้กำหนดให้รับผิดในหนี้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นระหว่างที่ตนเป็นหุ้นส่วนอยู่ จึงจะนำหลักการดังกล่าวมาฟ้องร้องหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดไม่ได้
    นอกจากนั้นกรณีที่เจ้าหนี้ของห้างอาจฟ้องให้หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้จะต้องเป็นกรณีที่ห้างเลิกกันแล้วและมีสิทธิฟ้องให้ต้องชำระเงินไม่เกินจำนวนเงินลงหุ้นที่ถอนไปจากห้างเท่านั้น แต่กรณีดังกล่าวจะทำได้ต่อเมื่อห้างเลิกกันแล้วเท่านั้น และเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ของห้างที่จะใช้สิทธิฟ้องร้อง ซึ่งหากเทียบกับกรณีนี้ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ของห้างฯคือกรมสรรพากร ไม่ใช่สิทธิของห้างที่จะฟ้องร้อง และกรณีนี้ห้างก็ยังไม่ได้เลิกกันด้วย สิทธิฟ้องร้องดังกล่าวจึงยังไม่เกิด
    กรณีนี้เมื่อหนี้ค่าภาษีอากรนั้นเป็นหนี้ที่กรมสรรพากรเรียกเก็บจากห้างฯ การที่ห้างฯ ชำระเงินไปจึงเป็นการชำระหนี้ของตนเองที่ถือว่าตัวห้างเป็นนิติบุคคลที่แยกออกต่างหากจากบรรดาผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างนั้น ห้างฯ จึงจะไปไล่เบี้ยเอาจากหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดที่ออกจากห้างไปแล้วไม่ได้
    ส่วนเงินที่นายอังคารได้รับไปจากการถอนหุ้นออกจากห้างก็เป็นเรื่องของการเจรจากันระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการถอนหุ้นเท่านั้น ไม่ได้ทำให้ห้างฯ มีสิทธิไล่เบี้ยค่าภาษีที่เสียไปจากนายอังคารได้
    กรณีลักษณะนี้คงเป็นข้อคิดที่บอกได้ว่าการเข้าเป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดนั้นความรับผิดของหุ้นส่วนย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของหุ้นส่วนแต่ละคนด้วย หากเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดแล้วก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้ของห้างเกินไปกว่าเงินลงหุ้นที่ตกลงจะลงหุ้นด้วย แต่หากถอนหุ้นไปแล้ว จะรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างเฉพาะกรณีที่ห้างเลิกกันแล้วและรับผิดเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำหนดเช่นจำนวนเงินที่ถอนไปเท่านั้น
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 251/2562)

ความคิดเห็น • 7

  • @user-rv7fw2fn3u
    @user-rv7fw2fn3u 11 หลายเดือนก่อน

    ❤❤❤

  • @marorpeehawae3761
    @marorpeehawae3761 2 ปีที่แล้ว

    เก็บไว้ศึกษาดูได้คิดครับ

  • @penninja3401
    @penninja3401 2 ปีที่แล้ว

    ภาษาราชการเข้าใจยากอ่านจนหั
    ปวดหัวก็ตีความหมายลำบากเหลือเกิน

  • @marorpeehawae3761
    @marorpeehawae3761 2 ปีที่แล้ว

    ผมว่าน่าจะได้ครับ

  • @marorpeehawae3761
    @marorpeehawae3761 2 ปีที่แล้ว

    ผมไม่เปิดเผยเก็บศึกษาดูได้ความรู้

  • @marorpeehawae3761
    @marorpeehawae3761 2 ปีที่แล้ว

    ถ้าหุ่นสวยก็ดี

  • @user-vy3rt8nl5b
    @user-vy3rt8nl5b 2 ปีที่แล้ว

    ขออภัยครับ ผมสมพล ผมอยากรู้ว่าบริษัทฯประกันภัย หลังถูกเพิกถอนใบอนุณาติ
    ประธาน กรรมการหรือผู้ถือหุ้น
    จะต้องถูกยึดทรัพย์ใหม่ครับ
    จากเด็กป4ครับ