ฎีกา InTrend EP.59 ขอให้ชดใช้ตาม ม.44/1 จะเรียกค่าเสียหายจากการกระทำความผิดอื่น....ได้หรือไม่

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 2 มี.ค. 2022
  • The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : อัครพันธ์ สัปปพันธ์, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล
    การเรียกร้องค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้ผู้เสียหายได้รับการชดใช้เยียวยาด้วยความรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยสามารถดำเนินการไปในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องได้ทันที แต่ค่าเสียหายที่เรียกร้องนั้นจะเรียกร้องได้เพียงใดเป็นข้อที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน สำหรับกรณีที่นำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นปัญหาที่ว่ากรณีที่พนักงานอัยการฟ้องข้อพยายามฆ่า ผู้เสียหายจะเรียกร้องค่าเสียหายจากการทำให้เสียทรัพย์ได้หรือไม่
    ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในกรณีนี้เกิดขึ้นระหว่างนายเสือและนายไก่ซึ่งมีเรื่องราวระหองระแหงกัน วันหนึ่งขณะที่นายเสือขับรถยนต์ของตนเองไปในอำเภอก็เห็นนายไก่กำลังขับรถจักรยานยนต์พ่วงข้างอยู่ข้างหน้าตน ด้วยความโกรธจากเรื่องระหองระแหงที่มีต่อกัน นายเสือจึงได้แกล้งขับรถไปเฉี่ยวชนรถจักรยานยนต์ของนายไก่โดยตั้งใจที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่นายไก่
    ต่อมานายไก่ได้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการได้ฟ้องนายเสือเป็นจำเลยในข้อหาพยายามฆ่านายไก่
    ระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณา นายไก่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมในคดีด้วย และยื่นคำร้องขอให้นายเสือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 โดยค่าสินไหมทดแทนที่นายไก่เรียกร้อง ประกอบด้วยค่าเสียหายต่อร่างกาย ค่าเสียหายจากการได้รับความกระทบกระเทือนต่อจิตใจ และค่าเสียหายต่อรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง
    เรื่องราวในกรณีนี้แม้คดีจะเริ่มจากข้อหาพยายามฆ่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 แต่ปรากฏว่าข้อเท็จจริงที่ได้ความในคดีการกระทำของนายเสือเป็นเพียงการพยายามทำร้ายร่างกายนายไก่เท่านั้น ย่อมพอสันนิษฐานได้ว่าแม้เกิดเหตุเฉี่ยวชนจนรถจักรยานยนต์พ่วงข้างของนายไก่ไถลออกนอกทางแต่คงไม่ทำให้นายไก่ได้รับบาดเจ็บจึงทำให้เป็นความผิดเพียงฐานพยายามทำร้ายร่างกายเท่านั้น
    สำหรับในส่วนของค่าสินไหมทดแทนที่นายไก่ยื่นคำร้องขอให้ชดใช้นั้น เมื่อปรากฏว่านายไก่ไม่ได้รับบาดเจ็บเพราะเป็นเพียงการพยายามทำร้ายร่างกาย นายไก่จึงไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายต่อร่างกาย แต่อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมส่งผลต่อจิตใจของนายไก่ให้เกิดความหวาดกลัวกระทบกระเทือนจิตใจได้จากการเจตนาขับรถมาเฉี่ยวชนของนายเสือ นายไก่จึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมดแทนเพื่อชดเชยการกระทบกระเทือนต่อจิตใจเป็นเงิน 10,000 บาท
    ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายดังกล่าวนี้คงเป็นเรื่องปกติที่จะเรียกร้องและกำหนดให้ได้เพราะแม้การกระทำของนายเสือจะไม่ส่งผลร้ายแรงต่อนายไก่แต่ถือเป็นการกระทำละเมิดด้วยลักษณะหนึ่ง นายเสือจึงควรจะต้องชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่นายไก่ด้วย
    ปัญหาที่น่าสนใจในกรณีนี้คงเป็นในส่วนค่าเสียหายที่เกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์พ่วงข้างที่เรียกร้องมาอีก 20,000 บาท ข้อเท็จจริงเท่าที่ปรากฏไม่ทราบได้ว่าความเสียหายที่ว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่หากพิจารณาประกอบกับการที่นายไก่ไม่ได้รับบาดเจ็บและการกระทำของนายเสือเป็นความผิดเพียงฐาน “พยายามทำร้ายร่างกาย” เท่านั้น อาจจะพอสื่อได้ว่าความเสียหายแก่ตัวรถก็อาจจะไม่มากเช่นกัน เพราะไม่เช่นนั้นน่าจะเกิดอันตรายแก่ตัวนายไก่จนเป็นการทำร้ายร่างกายแล้ว
    ข้อสำคัญที่เกิดจากกรณีนี้คือ การที่รถเสียหายซึ่งหากเกิดจากการกระทำโดยเจตนาของนายเสือแล้ว การกระทำนั้นจะเป็นความผิดอาญาอีกฐานหนึ่งคือ “ทำให้เสียทรัพย์” แต่คดีนี้พนักงานอัยการฟ้องมาเฉพาะในข้อหาพยายามฆ่าเท่านั้น
    การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 นี้เป็นการเรียกร้องมาในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้อง การดำเนินคดีจึงต้องมีความเชื่อมโยงสัมพันธ์เกิดจากการกระทำที่เป็นข้อหาหรือฐานความผิดที่พนักงานอัยการฟ้องเข้ามาด้วย ดังนั้น เมื่อค่าเสียหายที่เกี่ยวกับการซ่อมรถนี้เกี่ยวโยงกับความผิดอีกฐานหนึ่งคือ “ทำให้เสียทรัพย์” ที่พนักงานอัยการไม่ได้ฟ้องจึงเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ไม่อาจเรียกร้องรวมกันมาในคดีอาญาเรื่องนี้ได้
    การที่ไม่อาจเรียกร้องรวมกันมาได้นี้คงไม่ได้หมายความว่าผู้เสียหายจะไม่มีสิทธิเรียกร้อง เพียงแต่การดำเนินการอาจจะต้องทำแยกต่างหากจากคดีที่พนักงานอัยการฟ้องเท่านั้น ซึ่งก็น่าจะมีความเหมาะสม เพราะหากเป็นเรื่องใดที่พนักงานอัยการไม่ได้ฟ้องแล้วโดยสภาพข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องส่วนนั้นก็อาจจะมีไม่มากเพียงพอที่จะพิจารณาได้
    ข้อสังเกตประการหนึ่งคือการที่พนักงานอัยการไม่ได้ฟ้องในฐานความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์อาจจะเกิดจากข้อเท็จจริงที่สอบสวนได้ความมาแต่ต้นไม่เพียงพอที่จะดำเนินคดีในข้อหาดังกล่าวได้ก็เป็นไปได้ ดังนั้น การจะดำเนินการเรียกร้องค่าเสียหายจึงควรต้องไปพิสูจน์กันต่างหากที่อาจจะมีข้อเท็จจริงอย่างอื่นนอกเหนือจากที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวนก็ได้
    ข้อสังเกตอีกประการคงมีได้ว่าการที่จะถือว่าเป็นค่าสินไหมทดแทนที่เกี่ยวข้องหรือเกิดจากความผิดที่พนักงานอัยการฟ้องหรือไม่นั้นเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงที่ต้องดูเป็นรายกรณีด้วยว่าจะถือได้หรือไม่ว่าเกิดจากการกระทำความผิดฐานนั้นแล้ว
    ดังนั้น การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 44/1 ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องจึงต้องเป็นค่าเสียหายส่วนที่เกี่ยวพันกับกับข้อหาหรือฐานความผิดที่พนักงานอัยการฟ้องด้วย หากเป็นค่าเสียหายเกี่ยวกับข้อหาหรือฐานความผิดอื่นที่ไม่ได้มีการฟ้องร้องก็จะเรียกร้องรวมกันไปในคดีนั้นไม่ได้
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2564)

ความคิดเห็น • 23

  • @kanjanachaiyana9129
    @kanjanachaiyana9129 3 หลายเดือนก่อน +2

    ด้วยความเคารพ ฎีกานี้ น่าจะใช้ไม่ได้แล้วหรือเปล่า เพราะโดนกลับหลักโดย ฎีกาที่ 1943/2566(ปชญ)

  • @attorneytee115
    @attorneytee115 2 ปีที่แล้ว +2

    อธิบายได้ชัดเจนดี สั้น กระชับ เข้าใจง่าย ขอบคุณมากครับที่ทำรายการดีๆ แบบนี้ให้ประชาชนได้รับความรู้ทางกฎหมาย

  • @ruok9680
    @ruok9680 6 หลายเดือนก่อน +1

    เราสามารถเขียนคำร้องได้ตอนไหนครับ เขียนตอนพนักงานสอบสวนหรือต้องรออัยการส่งฟ้องครับ

  • @peeraphondaungmanee2013
    @peeraphondaungmanee2013 2 ปีที่แล้ว +1

    ดีมากเลยครับ

  • @roongratnemtsev2841
    @roongratnemtsev2841 หลายเดือนก่อน

    🙏🙏🙏🙏🙏🙏🙏❤❤❤❤❤🙏🙏🙏🙏🙏🙏

  • @roongratnemtsev2841
    @roongratnemtsev2841 ปีที่แล้ว +1

    🙏🙏🙏🙏🙏

  • @user-ow3jt8dk1e
    @user-ow3jt8dk1e 2 ปีที่แล้ว +1

    อยากทราบว่าใช้เวลานานไหมถ้าเราฟ้องม.44/1ถึงจะได้รับค่าสินไหมทดแทน..

  • @user-np6zm3sr1p
    @user-np6zm3sr1p ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีครับ ขอขอบคุณการเผยแพร่ความรู้กฏหมายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งครับ.

  • @user-pw7hk3br8c
    @user-pw7hk3br8c ปีที่แล้ว +1

    จำเลยบอกไม่มีตังแล้วโจทจะเอากะใคร

  • @user-xw2px9ms6z
    @user-xw2px9ms6z หลายเดือนก่อน

    บ้างคนหัวหมอเรียกชะเกินความเป็นจริง

  • @user-hf7wg5sj2j
    @user-hf7wg5sj2j ปีที่แล้ว +1

    ท่านค่ะถ้าคดีเจตนาฆ่านี่อยู่ในมาตราที่44คืออะไรค่ะเเล้วทางครอบครัวสามารถเรียกสิรไหมทดแทนได้มากน้อยเเค่ไหนขอความชัดเจนหน่อยค่ะ

  • @surasakda5407
    @surasakda5407 ปีที่แล้ว +1

    ผู้เสียหายไม่ต้องเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพ อัยการ ก็เรียกค่าสินไหมฯตามมาตรา 44/1 ได้ใช่มั้ยครับ?

    • @natiphan
      @natiphan ปีที่แล้ว +3

      ได้ครับ ยื่นคำร้องต่อศาล หรือให้เจ้าหน้าที่เขียนให้ก็ได้ครับ

  • @kanchbhamoncharoenwijitkul8727
    @kanchbhamoncharoenwijitkul8727 ปีที่แล้ว +1

    กรณีถูกรถชนแล้วเป็นฝ่ายถูกเนื่องจากคู่กรณี ประมาท จะฟ้องอย่างไร หากไม่ได้ค่าสินไหมทดแทน ฟ้องอาญา หรือฟ้องแพ่ง หรือสามารถฟ้องแยกได้ คะ

    • @user-th1rz2nl2v
      @user-th1rz2nl2v ปีที่แล้ว +1

      ฟ้องอาญาได้ กรณีเป็นฝ่ายถูก พ่วงแพร่ง ม.44/1 ไปได้ด้วย ครับ หากฟ้องแยกจะต้องเสียค่าทนายและค่าธรรมเนียมศาล

    • @user-pe9kq8rd3u
      @user-pe9kq8rd3u 3 หลายเดือนก่อน

      คดีรถชน ร้อง มาตรา 44/1 กับจำเลย แล้วมาฟ้องจำเลยกับบริษัทประกันรถ (พรบ) ได้อีกไหมครับ

    • @user-pe9kq8rd3u
      @user-pe9kq8rd3u 3 หลายเดือนก่อน

      ​@@user-th1rz2nl2vคดีรถชน ร้อง ม.44/1 กับจำเลย แล้วมาฟ้องแพ่งกับจำเลยและบริษัทประกันรถจำเลย เป็นคดีแพ่งอีกต่างหากได้ไหมครับ

  • @user-xl9rs8wx6w
    @user-xl9rs8wx6w 7 หลายเดือนก่อน

    คดีรถชนกระทำการโดยประมาท จำเลยเป็นลุกจ้างถ้าจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากนายจ้างมาร่วมรับผิดชอบได้ไหมตาม ม44/1และอายุความกี่ปีเริ่มนับจากไหนครับ

  • @rknshop1324
    @rknshop1324 11 หลายเดือนก่อน

    ครับเป็นการให้ ความรู้ทางกฎหมาย ที่กระชับ และเข้าใจ ไม่ยากครับ / ทีอยากถาม ต่อคือตามข้อเท็จจริงข้างต้น หากข้เท็จจริง เป็น กระทำความตาม พรบ. ทางบก โดย พนักงานอัยการ ฟ้องข้อหา ขับรถโดยประมาท เป็นทำให้ไดรับบาดเจ็บสาหัส ทรัพย์สินเสียหาย ปัญหาคือ ผู้เสียหายสามารถเขียนคำร้อง ตาม ป.วิอาญา มาตรา 44/1ได้ ...แต่ความเสียของรถพ่วงเรียกพ่วงมาได้ หรือ เปล่าครับ เพราะข้อหาประมาททำให้ ทรัพย์สิน เสียหาย ไม่มีบัญญัติ ไว้ใน ป.อาญา / โดย ส่วนตัว ผมคิดว่า ไม่น่าจะเรียกร้อง พ่วงความเสีย ของสามล้อพ่วงข้างได้ น่าจะไปฟัองแพ่งเรียค่าเสียหาย ต่างหาก / จึงเรียนอาจารย์ เพื่อความแน่ใจว่า ความเสียหายของสามล้อพ่วงข้าง สามารถเรียกร้อง พ่วงมา ตาม มาตรา 45/1 ได้ไหม ครับผม / อาจารย์ว่างช่วงไหน ค่อยตอบมา ก็ได้ ครับผม

  • @user-pz7lv5qw7y
    @user-pz7lv5qw7y ปีที่แล้ว +1

    ผ่านมา20ก่าวปีแล้วค่ะหูนจะเอาคืนไหมค่ะหูนเอาที่ดินแม่จํานองชาวบ้าน1ใบของหูน1ใบด้วยค่ะเอามาทํางานพศไห้แม่หูนไม่ส่งดอกไหัเขาพักหนึ่งค่ะเขาเลยยึดโอนเอาไปเลยค่ะไดยที่หูนไม่รู้เรืองเลยค่ะขอบพระคูณมากเลยค่ะหูนเสียใจมากๆๆเลยค่ะ

    • @openheart2991
      @openheart2991 ปีที่แล้ว

      ผู้เสียหายไม่ได้แจ้งความข้อหาทำให้เสียทรัพย์ด้วยมั่งค่ะซึ่งเป็นความผิดอันยอมความ ต้องมีคำร้องทุกข์ พนักงานสอบจึงจะสอบสวนข้อหานี้ได้

    • @pairojsebu4527
      @pairojsebu4527 ปีที่แล้ว

      ขายฝาก กรรมสิทธิ์โอนทันที ลูกหนี้ไถ่คืนได้ก่อนครบกำหนด ส่วน จำนองเจ้าหนี้ต้องฟ้องยึดขายทอดตลาด โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี แล้วรับชำระเงินที่ได้จากเจ้าหน้าที่ ทั้งสองกรณี ไม่ว่าจดทะเบียนขายฝาก จดทะเบียนจำนอง ต้องไปทำที่สำนักงานที่ดิน ถ้าเจ้าหนี้จะบังคับจำนอง ต้องบอกกล่าวลูกหนี้ เข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดได้ จำนองไม่มีอายุความ