ฎีกา InTrend EP.1 สิทธิและความรับผิดของผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 13 ม.ค. 2021
  • ฎีกา InTrend ep.1 สิทธิและความรับผิดของผู้ค้ำประกันการเช่าซื้อรถ
    นายสรวิศ ลิมปรังษี
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, จีรวรรณ เจริญยศ
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    คนค้ำประกันถือว่าเป็นผู้ที่แบกภาระของหนี้ของคนอื่นจนหลายครั้งจะเป็นคนที่เราเรียกได้ว่า “เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง” แท้ๆ เพราะเมื่อเกิดปัญหาลูกหนี้คนที่ไปก่อหนี้มาเกิดเบี้ยวหนี้ คนค้ำประกันก็ต้องมารับผิดชอบหนี้เหล่านั้นด้วย ทั้ง ๆ ที่หลายครั้งคนค้ำประกันก็ไม่ได้มีฐานะที่ดีไปกว่าลูกหนี้สักเท่าใด แต่กฎหมายก็ยังพอมีอะไรมาคุ้มครอง “ผู้ค้ำประกัน” อยู่บ้างเหมือนกัน
    ในเรื่องสมมตินี้ นายไก่ไปเช่าซื้อรถยนต์จากบริษัทเป็นหนึ่ง จำกัดมาในราคา 8,000,000 บาท โดยขอให้นายกุ้ง บิดาตัวเองมาค้ำประกันการเช่าซื้อให้ นายไก่จ่ายค่าเช่าซื้อไป 27 งวด แล้วเบี้ยวไม่จ่ายอีกเลยเกินสามงวด บริษัทเป็นหนึ่งฯ จึงได้บอกเลิกสัญญาและมาฟ้องให้ทั้งนายไก่และนายกุ้งรับผิดชอบส่งมอบรถคืน และจ่ายค่าขาดประโยชน์ที่บริษัทไม่ได้ใช้ประโยชน์จากรถช่วงที่มีการผิดนัดเรื่อยมา
    ปัญหาสำคัญในเรื่องนี้คือ บริษัทเป็นหนึ่งฯ ส่งหนังสือบอกกล่าวให้นายกุ้ง ผู้ค้ำประกัน รู้ว่านายไก่ผิดนัดช้าเกินกว่า 60 วันนับแต่วันที่นายไก่ผิดนัดซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 บังคับให้ต้องบอกให้ผู้ค้ำประกันรู้ภายใน 60 วัน เพื่อให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัว และอาจหาเงินไปจ่าย ดอกเบี้ยและภาระต่าง ๆ จะได้ไม่เดินไปมากจนหนี้ท่วมหัว
    ผลของการที่ไม่บอกให้ผู้ค้ำประกันรู้ตัวภายในกำหนดเวลาดังกล่าว กฎหมายจึงกำหนดบทเหมือนทำโทษเจ้าหนี้ไว้ว่าจะทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากหนี้บางส่วน เฉพาะส่วนที่เป็น “ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน และค่าภาระติดพันที่เป็นอุปกรณ์แห่งหนี้” ที่เกิดหลังพ้นเวลาที่ให้บอกกล่าวข้างต้น แต่ในส่วนหนี้ประธานที่เป็นหนี้หลักหรือหนี้ที่เกิดก่อนพ้นเวลาที่ว่าผู้ค้ำประกันยังต้องรับผิดอยู่ตามเดิม
    ในกรณีของนายกุ้ง ผู้ค้ำประกัน ผู้โชคร้ายของเรา เมื่อบริษัทเป็นหนึ่งฯ บอกกล่าวให้นายกุ้งรู้ว่านายไก่ผิดนิด ช้ากว่า 60 วันนับแต่วันที่นายไก่ผิดนัด นายกุ้งก็จะไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้ที่เป็นอุปกรณ์ ที่สำคัญคือ หนี้ค่าขาดประโยชน์ ที่ทำให้บริษัทเป็นหนึ่งฯ ไม่สามารถใช้รถได้จากการที่นายไก่เอารถไปแล้วไม่คืน แต่ในส่วนหนี้ที่ต้องส่งมอบรถยนต์คืน นายกุ้งยังต้องรับผิดอยู่เหมือนเดิม เพราะเมื่อเช่าซื้อรถ รถยังเป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัทอยู่ถึงอย่างไรก็คงต้องคืน และถือเป็นหนี้ประธานที่เป็นหลักด้วย ไม่ใช่หนี้อุปกรณ์เหมือนค่าขาดประโยชน์ที่ว่า
    สำหรับผู้ค้ำประกันทั้งหลาย คงต้องรู้ไว้ประดับตนว่า ถ้าลูกหนี้ผิดนัด เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องบอกกล่าวภายใน 60 วัน มิเช่นนั้นผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากหนี้อุปกรณ์เช่น ดอกเบี้ย ค่าขาดประโยชน์ต่าง ๆ แต่อย่างที่บอกคือหนี้ประธานก็ต้องจ่ายต้องชำระให้เขาเหมือนเดิม
    (เทียบคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2562)

ความคิดเห็น •