คำถามทางบ้าน เรื่องกระดูกพรุน ตอนที่ 1? กระดูกพรุนเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 มี.ค. 2022
  • คำถามทางบ้าน ? กระดูกพรุนเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมผู้หญิงเป็นมากกว่าผู้ชาย
    กระดูกพรุนเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
    โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ โรคที่ความหนาแน่นและมวลของกระดูกลดน้อยลงจนทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง ผิดรูป และมีโอกาสแตกหักได้ง่าย ในผู้ป่วยบางรายกระดูกพรุนมีผลให้ส่วนสูงลดลง เนื่องจากมวลกระดูกผุกร่อน ผลจากโรคกระดูกพรุนคือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก เนื่องจากกระดูกสามารถรับน้ำหนัก แรงกระแทก หรือแรงกดได้ลดลง
    จุดเสี่ยงกระดูกหักจากกระดูกพรุน
    บริเวณที่มักเกิดกระดูกหักจากกระดูกพรุน ได้แก่
    กระดูกสันหลัง
    สะโพก
    ข้อมือ
    อาการกระดูกพรุน
    เนื่องจากโรคกระดูกพรุนมักไม่มีอาการเตือนใด ๆ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุนจนเกิดอุบัติเหตุและนำไปสู่ภาวะกระดูกหัก อาการบ่งชี้อื่น ๆ ที่ควรใส่ใจและหมั่นสังเกต เพื่อให้สามารถรักษาและป้องกันโรคกระดูกพรุน ได้แก่
    ปวดหลังเรื้อรัง
    หลังค่อมหรือกระดูกสันหลังส่วนบนโค้งลง
    ความสูงลดลง
    สาเหตุกระดูกพรุน
    กระดูกประกอบด้วยเซลล์สร้างกระดูก (Osteoblast) ทำหน้าที่สร้างกระดูกขึ้นมาใหม่จากแคลเซียมและโปรตีนตามกระบวนการการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยทดแทนกระดูกส่วนที่สึกหรอ และภายในกระดูกยังมีเซลล์สลายกระดูก (Osteoclast) ทำหน้าที่สลายเนื้อกระดูกเก่า
    โรคกระดูกพรุนเกิดจากการทำงานที่ไม่สมดุลกันของเซลล์กระดูกทั้ง 2 ชนิดจึงทำให้มีการสลายกระดูกมากกว่าการสร้างกระดูกเกิดขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการที่ปริมาณแคลเซียมในร่างกายไม่เพียงพอต่อกระบวนการสร้างกระดูก หรืออาจมีความผิดปกติของเซลล์กระดูก
    ปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุน
    ปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มโอกาสการเกิดโรคกระดูกพรุน ได้แก่
    อายุที่เพิ่มมากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้น มวลกระดูกจะเปราะบางและแตกหักง่ายหากถูกกระทบกระเทือนแม้ไม่รุนแรงก็ตาม
    การลดระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ในเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ส่วนในเพศชายจะมีความเสี่ยงเกิดโรคกระดูกพรุนเมื่อมีการผลิตฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) น้อยลง
    กรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
    ความผิดปกติในการทำงานของต่อมและอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ ต่อมพาราไทรอยด์ ต่อมหมวกไต ไตและตับ
    โรคและการเจ็บป่วย เช่น โรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคมะเร็งกระดูก
    การบริโภคอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในการสร้างกระดูกและการเจริญเติบโต หรือกินอาหารที่ทำให้แคลเซียมเสียสมดุล
    การใช้ยาบางชนิดที่ออกฤทธิ์รบกวนกระบวนการสร้างกระดูก เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์
    ภาวะแทรกซ้อนโรคกระดูกพรุน
    เมื่อเกิดโรคกระดูกพรุน ปัญหาหลักที่มักตามมา คือ ความเจ็บปวดจากภาวะกระดูกทรุดตัวและอาการปวดหลัง ทำให้เคลื่อนไหวได้จำกัดและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลดลง อาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้หากเกิดการกระแทก มีโอกาสกระดูกหักสูง โดยเฉพาะการแตกหักบริเวณกระดูกสะโพกจะทำให้ผู้ป่วยเดินไม่ได้ ขยับตัวลำบาก เพราะความเจ็บปวด ต้องนั่งหรือนอนอยู่กับที่ตลอดเวลา ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง อาจเป็นเหตุให้เสียชีวิต เช่น เกิดแผลกดทับหรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
    กระดูกพรุน รู้ให้ไวป้องกันกระดูกหัก
    วินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
    การวินิจฉัยโรคกระดูกพรุนทำได้โดยการตรวจทางรังสี เพื่อตรวจหาความหนาแน่นของกระดูก ใช้เวลาไม่นาน ปริมาณรังสีที่เข้าสู่ร่างกายในขณะสแกนต่ำ ไม่ทำให้เจ็บหรือปวด เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการประเมินความหนาแน่นของมวลกระดูก ทำให้แพทย์วางแผนการรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของโรค ทั้งนี้ค่าความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density หรือ BMD) ของคนปกติจะอยู่ที่มากกว่า -1.0 ส่วนคนที่มีภาวะกระดูกบาง (Osteopenia) จะมีค่า BMD อยู่ระหว่าง -1.0 ถึง -2.5 และผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจะมีค่า BMD น้อยกว่า -2.5
    รักษาโรคกระดูกพรุน
    เนื่องจากโรคกระดูกพรุนเกิดจากภาวะกระดูกเสื่อมที่มาจากหลายสาเหตุ หลักการรักษาจะกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก มีทั้งการรับประทานยา การฉีดยา และการเพิ่มฮอร์โมน ได้แก่
    ● การรักษาด้วยยา มีทั้งการรับประทานยาและการฉีดยา ตัวอย่างยาที่ใช้รักษา เช่น
    ยาอะเลนโดรเนท มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเซลล์สลายกระดูก ทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมไปใช้ในกระบวนการสร้างกระดูกเพิ่มขึ้น
    ยาไรซีโดรเนท ออกฤทธิ์ต่อเนื้อเยื่อกระดูก ลดอัตราการสลายตัวของกระดูกและเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก
    ยาไอแบนโดรเนท ออกฤทธิ์ยับยั้งการสลายกระดูก โดยมีทั้งแบบยาเม็ดรับประทานและยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
    ยาโซลิโดรนิก แอซิด ยาฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ช่วยลดการทำงานของเซลล์สลายกระดูก ออกฤทธิ์ยับยั้งการปล่อยแคลเซียมสู่กระแสเลือด ป้องกันภาวะแคลเซียมในเลือดสูง
    ● การรักษาโดยการเพิ่มฮอร์โมนบางชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างกระดูก เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนในวัยหมดประจำเดือน หรือผ่าตัดมดลูกและรังไข่ออกไป ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้ในระดับปกติ
    ป้องกันโรคกระดูกพรุน
    โรคกระดูกพรุนสามารถลดความเสี่ยงได้โดยการดูแลสุขภาพและบำรุงกระดูก ได้แก่
    รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดีสูง
    หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
    หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีสารคาเฟอีน และมีค่าความเป็นกรดสูง
    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
    ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    ระมัดระวังการใช้ยา โดยเฉพาะยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ต้องใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน
    นอกจากนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับโปรตีนถั่วเหลือง ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) พบว่ามีคุณสมบัติใกล้เคียงกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในเนื้อเยื่อกระดูก เมื่อทำงานร่วมกับแคลเซียม อาจจะช่วยป้องกันภาวะกระดูกเสื่อมและลดอัตราการแตกหักของกระดูกได้

ความคิดเห็น • 46

  • @user-rr6if2oe6u
    @user-rr6if2oe6u 2 หลายเดือนก่อน +2

    กราบขอบพระคุณคุณหมอมากๆค่ะ🎉🎉🎉

  • @papairinw8713
    @papairinw8713 2 ปีที่แล้ว +4

    อายุ 50 ปี เป็นมะร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ระยะ 1a คุณหมอผ่าตัดมดลูกทิ้งทั้งหมดแล้ว ตอนนี้ทานยา carbocal วันละ 1 เม็ด สัปดาห์หน้ามีนัดตรวจแมมโมแกรม และมวลกระดูกค่ะ รอฟังคลิปต่อไปของคุณหมอนะคะ

  • @user-im9sb4iy4s
    @user-im9sb4iy4s 2 ปีที่แล้ว +4

    ชอบวิธีการอธิบายของคุณหมอที่ชัดเจน ตรงประเด็น และเข้าใจง่ายค่ะ

  • @suchadablaser1994
    @suchadablaser1994 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ

  • @user-tn7vo1cl4x
    @user-tn7vo1cl4x 2 ปีที่แล้ว +3

    กดติดตามครับ ขอบคุณๆหมอครับ ที่ให้ความรู้ครับ

  • @WLee-rx9cl
    @WLee-rx9cl 2 ปีที่แล้ว +1

    หมอให้ความรู้มีประโยชน์มาก

  • @pattrapornpiti5822
    @pattrapornpiti5822 7 หลายเดือนก่อน +1

    ❤❤❤🙏

  • @raksaswallow2563
    @raksaswallow2563 ปีที่แล้ว

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @phetphet6833
    @phetphet6833 2 ปีที่แล้ว +1

    มีประโยชน์มากคะ พึ่งเจอในกดดูหลายรอบ

  • @paveenk.45
    @paveenk.45 ปีที่แล้ว +2

    ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ

  • @luckyeuro2222
    @luckyeuro2222 2 ปีที่แล้ว +3

    ว้าว👍ขอบคุณค่ะ🙏🤟มาแล้วที่รอคอย...กระดูกปัญหาวัยทอง😭

  • @naradragsnes6049
    @naradragsnes6049 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณคุณหมอ สำหรับความรู้ที่ประโยชน์ ติดตามตลอดเลยคะ

  • @WLee-rx9cl
    @WLee-rx9cl 2 ปีที่แล้ว +4

    หมอให้ความรู้มีประโยชน์มากค่ะ เสียงนุ่มน่าฟังและดูสุภาพค่ะ

    • @user-zc2je6eq6l
      @user-zc2je6eq6l ปีที่แล้ว

      ขอบคุณๆหมอมากๆค่ะ พี่ก็มีปัญหาเกี่ยวกับกระดุก เคยหกล้มบ่อยมากค่ะ

  • @user-en6gy1ke4k
    @user-en6gy1ke4k 5 หลายเดือนก่อน +2

    สุดยอดมากเลยค่ะ❤

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  5 หลายเดือนก่อน

      ❤️❤️❤️❤️😊😊😊

  • @greatindeed5689
    @greatindeed5689 2 ปีที่แล้ว

    คุณหมอช่วยพูด ผลเสียจากการพร่องฮอร์โมนเพศชายหน่อยคนับ ขอบคุณมากครับ

  • @pikulchongsuksantikul2253
    @pikulchongsuksantikul2253 2 ปีที่แล้ว

    🙏

  • @user-md1ln2rm7h
    @user-md1ln2rm7h ปีที่แล้ว

    เปิดมาคุนหมอนั่งเท่เลย😊ชอบหังเสียงคุณหมอ ฟังาบายๆ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ❤️❤️❤️

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 2 หลายเดือนก่อน +1

    รอติดตาม เรื่องการกินแคลเซียมต่อไปค่ะ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  2 หลายเดือนก่อน

      หมอ ทำเรื่อง calcium ไว้ 4 ตอนจนจบ series calciumเลยครับ หาจาก playlist

    • @penpugsuwan7447
      @penpugsuwan7447 2 หลายเดือนก่อน

      ขอบพระคุณค่ะ

  • @patpatchannel4019
    @patpatchannel4019 5 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ...หมดประจำเดือนแล้ว...ออกกำลังกายปั่นจักรยาน อยู่กับที่ แกว่งขา แขน ประมาณ 45 นาที ..มากไปไหมคะ?
    กระดูกจะรับไหวไหมคะ?

  • @wiphaphatflinton1780
    @wiphaphatflinton1780 2 ปีที่แล้ว

    สวัสดี​ค่ะ​ คุณหมอ​
    เรา​ สามารถ​ ตรวจสอบ​ ว่า​ กระดูก​ ของ​เรา​ ยังแข็งแรง​ ดี​มั้ย.. ได้​ อย่างไร​ ค่ะ.. ดิฉัน​อาศัย​ อยู่​ใน​อังกฤษ​ ค่ะ.. การ​พบแพทย์​ นั้น​ค่อนข้าง​ยากมาก.. ขอบคุณ​สำหรับ​สาระ​ดีดี​ ค่ะ

  • @konthongvaiyasunee673
    @konthongvaiyasunee673 9 หลายเดือนก่อน +1

    คุณหมอจ๋า คุณยายเคยอยู่อยุธยาและรักษาที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธกับคุณหมอชาญณรงค์ย้ายไปอยู่โคราช 5 ปีรักษากับหมอเจษฎาหมอโรคหัวใจจ้ะ มีบุญได้พบคุณหมออธิบายเรื่องเกี่ยวกับโรคต่างๆและโรงพยาบาลค่ายสุรนารี

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  9 หลายเดือนก่อน

      โห...อุตส่าห์จำผมได้ด้วย ...ที่กล่าวมาถูกต้องทุกทีเลยครับ❤️🙏😊

  • @EnjoyEatingTH
    @EnjoyEatingTH 6 หลายเดือนก่อน

    ฉีดกระดูกพรุนทุก6เดือน
    ถ้าเกินเวลานัดฉีดไปอีก3เดือน จะเป็นผลเสียมั้ยคะคุณหมอ (เข็มที่2 พลาดนัดค่ะ..กว่าจะได้คิวฉีดต้องรออีก3เดือนเลยค่ะ😢)...ขอบคุณค่ะ

  • @user-il2eu2hk4m
    @user-il2eu2hk4m ปีที่แล้ว +1

    กำลังอยู่ภาวะวัยทองค่ะ กินนำ้เต้าหู้ กินพริมโรสไม่กินทุกวัน แคลเซียมของเมก้าดีมั้ยค่ะ

  • @patchareekalayanamit1127
    @patchareekalayanamit1127 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณคุณหมอที่นำความรู้และสาระดีมาบรรยายให้ฟังค่ะ

  • @user-gb8tv7qo8x
    @user-gb8tv7qo8x 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคุณหมอที่ให้ข้อมูลเป็นประโยชน์นะคะ👍👍👍

  • @jitraadirek7537
    @jitraadirek7537 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ ได้ความรู้มากมายค่ะ

  • @luckyeuro2222
    @luckyeuro2222 2 ปีที่แล้ว +2

    ปวดสะโพก กะส้นเท้า เอวขัดค่ะ น่องตึงมากไม่อยากทานยา วันไหนนอนไม่หลับยิ่งอาการเป็นมาก วัยทองปจด.หมด...มา4_5ปีค่ะ😭🙏ไม่ดื่มไม่สูบมาตลอดชีวิตค่ะ

  • @user-dp7zw2gp3z
    @user-dp7zw2gp3z 2 ปีที่แล้ว

    ตัดมดลูกรังไข่และเคยป็นไทรอยด์เป็นพิษค่ะ

  • @shine_moonlight6451
    @shine_moonlight6451 2 ปีที่แล้ว +2

    ปวดสะโพกซ้ายปวดตามตัวตามข้อต่อ😓😓ทรมาณมากๆค่ะหมดประจำเดือนมา3ปี😭😭แล้ว

    • @kanwidasanrioun7450
      @kanwidasanrioun7450 2 ปีที่แล้ว

      จากประสบการณ์ค้ายกันบังเอิญอาบแดดกินวิตามินดีสามรู้สึกค่อยดีขึ้นเป็นลําดับ

  • @user-np3wz7nx7r
    @user-np3wz7nx7r 2 ปีที่แล้ว +1

    อยากให้คุณหมอให้ความรู้เรื่องการทานยารักษากระดูกพรุนกลุ่ม Alendronate เป็นกระดูกพรุนเนื่องจากถูกตัดมดลูกกับรังไข่เพราะเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกค่ะ และถูกวินิจฉัยว่าเป็นกระดูกพรุ่น ตอนนี้ทาน alendronic acid tablets 70 mg สัปดาห์ละเม็ดควบคู่ไปกับวิตามินดีสัปดาห์ละเม็ดกับเเคลเซี่ยมวันละ 1 เม็ดค่ะ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  2 ปีที่แล้ว

      ได้ครับ..ยาที่ทานคือยาหยุดยั้งการทำงานของ osteoclast ( เซลล์สลายกระดูก )

    • @user-nl5pd4bd3s
      @user-nl5pd4bd3s 2 ปีที่แล้ว

      คุณหมอตัดมดลูกรังไข่มีวิธีป้องกันไม่ให้กระดูกพรุนได้ไหมคะ

  • @phetphet6833
    @phetphet6833 2 ปีที่แล้ว +2

    หมอให้แคลเซียมมาทานแต่ทานแล้วยิ่งปวดกระดูกและกล้ามเนื้อมาก แท้แคลเซียมใช่ไหมคะ ลองหยุดกินก็ไม่ปวด แต่หมอบอก กระดูกพรุนมากนะ

    • @nataphisaraandersen5025
      @nataphisaraandersen5025 ปีที่แล้ว

      calบางตัวไม่ประกอบด้วยv.dกินแล่วร่างกายดุดซึมได้ไม่เต็มที่ค่ะ ต้องเลือกcalแบบnatural

  • @hxjhvxjv7144
    @hxjhvxjv7144 ปีที่แล้ว

    หลงรักคุณหมอแล้วหละค่ะดูทุกคลิปขอบคุณมากๆนะค่ะที่ให้ความรู้😇😊

  • @henir9150
    @henir9150 ปีที่แล้ว

    รบกวนสอบถามหน่อยค่ะ อายุ 47 ปี ตัดมดลูกออกไปแล้ว หลังจากนั้นเสียงก๊อบแก๊บข้อเข่า ข้อเท้า ข้อมือ เสียงดังขี้นเรื่อยๆ และถี่มากขี้นค่ะ แต่ยังไม่ปวด ต้องกินยาหรือรักษายังไงดีคะ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  ปีที่แล้ว

      แบบนี้ เป็นอาการเริ่มแรกขอ ข้อเสื่อมครับ...ทานcalciiun และ อาหารบำรุงข้อ

  • @user-fx6jt8gm6b
    @user-fx6jt8gm6b 2 ปีที่แล้ว

    กรรมพันธุ์ก็น่าจะมีส่วนไหมครับ ผมคงเป็นหนึ่งในผู้โชคไม่ดี แม่เป็นกระดูกพรุน ตัวเองมารู้เมื่ออายุใกล้ 40 ทั้งที่จริงคงพรุนมานานแล้ว เริ่มตั้งแต่สัญญาณไม่ดี คือจัดฟัน ตอนอายุ 29 หมอฟันบอกกระดูกกรามบางมาก หมอสั่งถอนฟันคุด ปรากฎว่า หมอถอนฟันทำแสนรู้นอกจากเอาฟันคุดออก ดันมาถอนฟันผมไปด้วย 2 ซี่ เนื้อกระดูกตรงนั้นสลายจนดึงฟันไม่ได้ นั่นยังไม่เอะใจพอ มารู้ตอน เอกซเรย์เมื่อตรวจสุขภาพตอนอายุ 41ปี(ปี 53 ) ตอนนั้นเริ่มเรียนว่ายน้ำ(ต้นปี52) เจ็บซี่โครงจนต้องหยุดไปเป็นเดือนคิดว่ากล้ามเนื้ออักเสบธรรมดา หมอบอกคุณมีร่องรอยซี่โครงหัก 5 ซี่ !!!!จาก ฟิล์ม เอกซ์เรย์ ตรงสะโพก ค่า T ตรง neck -2.6 เลย ward area -3.2 ตอนไป ศิริราช หาอมกระดูก หมอยังไม่เห็นผลยังถามคุณมาทำไม เขายังไม่เชื่อว่าพรุน จนอ่านผลของ รพ อีกที่ เพื่อความแน่ใจทำอีกทีที่ศิริราช พรุนจริง
    กินแคลเซี่ยม นม ออกกำลังก็ขึ้นไม่ดีช่วงนั้นยาฉีดยังไม่ออก หลังจากยาฉีด Prolia ออกมา ก็ดี ขึ้น ยิ่งตอนนนี้ พอรู้วิธีการออกกำลังกายแบบ strenghtening มันดีขึ้นกว่าเดิมมาก ที่ neck เหลือ -2.1 ward area -0.4
    ตรงสันหลัง L4 -1.8 ไม่กระเตื้องขึ้นเลยแต่ก็ไม่แย่ลง