ฎีกา InTrend ep.80 การผิดสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอาญาจะเป็นเหตุให้เปลี่ยนโทษจำคุกที่รอไว้.....

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 26 ก.ค. 2022
  • ฎีกา InTrend ep.80 การผิดสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอาญาจะเป็นเหตุให้เปลี่ยนโทษจำคุกที่รอไว้ได้หรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    การทำสัญญาประนีประนอมยอมความปกติแล้วเป็นการตกลงการชำระหนี้กันในทางแพ่ง หากไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงย่อมจะถูกบังคับคดีตามกฎหมายได้ แต่บางครั้งการทำสัญญาประนีประนอมยอมความอาจเกิดขึ้นในคดีอาญาที่มีการเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ กรณีที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นปัญหาที่ว่าการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอาญาจะเป็นเหตุให้ศาลนำโทษที่รอไว้มาลงได้หรือไม่ และการฎีกาคำสั่งศาลกรณีนี้จะทำได้หรือไม่
    นายจันทร์ได้ถูกพนักงานอัยการฟ้องเป็นคดีข้อหาฉ้อโกงประชาชนต่อศาล นายอังคารซึ่งเป็นผู้เสียหายคนหนึ่งได้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม นายจันทร์ได้ให้การรับสารภาพตามฟ้อง และได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายอังคารด้วย
    ศาลจึงมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกนายจันทร์กระทงละ 2 ปี และปรับอีกกระทงละ 10,000 บาท นายจันทร์กระทำผิดทั้งหมด 10 กระทง รวมจำคุก 20 ปี และปรับ 100,000 บาท นายจันทร์รับสารภาพจึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง แต่ให้รอการลงโทษไว้ 2 ปี โดย “ให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติรวม 10 ครั้งตามระยะเวลาที่ต้องปฏิบัติการชดใช้เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความ และให้พนักงานคุมประพฤติแนะนำจำเลยเกี่ยวกับการชดใช้เงินบรรเทาผลร้าย หากเห็นว่าจำเลยไม่มารายงานตัวตามกำหนดและไม่ใส่ใจในการบรรเทาผลร้าย ให้ถือว่าผิดเงื่อนไข ให้รายงานศาลเพื่อลงโทษซึ่งรอไว้”
    ในส่วนที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ศาลได้พิพากษาตามยอมให้นายจันทร์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ตกลงไว้
    ต่อมานายจันทร์ไม่ได้ไปรายงานตัวและไม่ชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประนีประนอมยอมความ พนักงานคุมประพฤติจึงได้รายงานให้ศาลทราบ ศาลจึงมีคำสั่งให้นำโทษที่รอไว้มาลง นายจันทร์จึงได้อุทธรณ์คำสั่งศาลดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น นายจันทร์จึงได้ฎีกาต่อศาลฎีกา
    ในคดีนี้ความจริงมีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้มีคำพิพากษาตามยอมสำหรับคดีส่วนแพ่งไป คำพิพากษาดังกล่าวความจริงแล้วสามารถนำไปบังคับคดียึดทรัพย์จำเลยเพื่อขายทอดตลาดได้ตามปกติเช่นเดียวกับคำพิพากษาในคดีแพ่งทั่วๆไป แต่คดีนี้มีความพิเศษอยู่ตรงที่มีส่วนของคดีอาญาเข้ามาเกี่ยวพันด้วย
    ในคดีส่วนอาญา กรณีลักษณะนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 กำหนดให้ศาลอาจกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยได้ เงื่อนไขประการหนึ่งที่ศาลอาจกำหนดได้คือการให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือเยียวยาความเสียหายโดยวิธีอื่นให้แก่ผู้เสียหายตามที่ผู้กระทำความผิดและผู้เสียหายตกลงกัน
    ในคดีนี้ข้อสังเกตที่น่าสนใจประการหนึ่งคือในการพิพากษา ศาลได้กำหนดไว้ในคำพิพากษาถึงการให้พนักงานคุมประพฤติดูแลแนะนำจำเลยเกี่ยวกับการบรรเทาผลร้ายให้แก่ผู้เสียหายด้วย และกำหนดไว้ด้วยว่าหากจำเลยไม่บรรเทาผลร้ายก็ให้รายงานให้ทราบและถือเป็นการผิดเงื่อนไขการคุมประพฤติด้วย ทำให้การชำระค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประนีประนอมยอมความกลายเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการคุมประพฤติซึ่งเมื่อจำเลยไม่ใส่ใจที่จะชำระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหายจึงเป็นการผิดเงื่อนไขที่เป็นเหตุให้ศาลมีคำสั่งให้นำโทษที่รอไว้มาลงได้
    ประเด็นอีกประการหนึ่งคือเมื่อศาลมีคำสั่งดังกล่าวแล้วมีการอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ก็พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้น จำเลยจึงได้ฎีกาต่อศาลฎีกา แต่กรณีลักษณะนี้ตามพระราชบัญญัติคุมประพฤติ พ.ศ. 2559 มาตรา 34 ได้กำหนดไว้โดยเฉพาะให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ทำให้จำเลยไม่อาจฎีกาต่อไปได้ และกรณีลักษณะนี้จะให้ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีในชั้นต้นรับรองให้ฎีกาก็ไม่ได้ด้วยเพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดให้ทำแบบนั้นได้เหมือนกรณีคดีอาญาทั่ว ๆ ไป
    กรณีนี้คงกล่าวได้ว่าหากศาลกำหนดให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขการคุมประพฤติ หากจำเลยไม่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอาจเป็นเหตุให้ศาลนำโทษที่รอไว้มาลงแก่จำเลยได้ และกรณีดังกล่าวจะฎีกาไปยังศาลฎีกาก็ไม่ได้แม้จะมีการรับรองให้ฎีกาเพราะกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ให้ทำเช่นนั้นได้
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3624/2564)

ความคิดเห็น • 15

  • @user-vh3kn6dn1d
    @user-vh3kn6dn1d ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากค่ะ ที่ไห้ความรู้

  • @user-ch1wg9eo9d
    @user-ch1wg9eo9d 3 หลายเดือนก่อน +2

    ศาลอุทรธ์มองไหมค่ะว่าจำเลยผิดคำสัญญาประนีประนอมยอมความเพราะอะไรค่ะว่าจำเลยมีเหตุแห่งทุกข์หรือเปล่าว่าจำเลยผิดสัญญาไม่นำเงินมาบรรทุกข์ให้กับผู้เสียหายทำให้ต้องเสียสิทธิ์ต้องติดคุกขาดการดูแลครอบครัว😢😢😢😢มันน่าเศร้าคำพิจารณาของศาลดูแต่ข้อกฎหมายไม่ดูข้อเท็จจริง

  • @loveyoumihiro
    @loveyoumihiro ปีที่แล้ว +1

    เป็นประโยชน์มากๆครับท่านอาจารย์

  • @binnsinnrungrueng6850
    @binnsinnrungrueng6850 ปีที่แล้ว

    ขอบพระคุณมากครับ
    ให้ความรู้ดีมากๆครับ

  • @Kanjana64
    @Kanjana64 2 หลายเดือนก่อน

    สวัสดีคะขอปรึกษาเบื้องต้นคะ เรื่องมีอยู่ว่าคนข้างบ้านหลอกเอาเงินหลานชายไป4เเสน3เพื่อที่จะเอาไปวิ่งเต้นเรื่องการเข้าสอบการเป็นครูบรรจุคนที่หลอกไปไม่ได้เป็นข้าราชการเป็นชาวสวนเเต่เขาได้เอ่ยอ้างว่าเขาสามารถฝากวิ่งเรื่องให้ได้ฝากมาสองสามคนเเล้วหลานชายได้เชื่อผ่านไป1ปีเรื่องก็ยังไม่คืบหน้าหลานชายได้ทวงเงินคืนเขาสารภาพว่าเขาได้เอาเงินไปใช้อย่างอื่นหมดเเล้วไม่ได้เอาไปดำเนินเรื่องให้หลานชายหลานชายทวงตอนนี้เข้าปีที่3เเล้วเขายังลอยหน้าลอยตานัดวันนั้นวันนี้ไม่มีไม่จ่ายหลบหน้าหลบตาโทรหาไม่รับถ้ารับก็พยายามยั่วยุให้ไปหาบ้านยั่วยุให้ไปมีเรื่อง เเบบนี้เราจะทำยังไงได้บ้างคะ เเบบนี้เป็นคดีฉ้อโกงคดีอาญาใช่ไหมคะถ้าไปแจ้งความ จะเป็นคดีอาญาหรือคดีเเพ่ง ช่วยเเนะนำด้วยคะ สุดท้ายนี้ขอขอบคุณทนายมากนะคะที่เเวะมาตอบมาให้คำเเนะนำขอบคุณคะ

  • @chaufahkerdsiri8287
    @chaufahkerdsiri8287 ปีที่แล้ว

    ดีมากค่ะ ท่านสรวิศ

  • @roongratnemtsev2841
    @roongratnemtsev2841 ปีที่แล้ว +1

    ❤❤❤

  • @bldghugh9076
    @bldghugh9076 ปีที่แล้ว

    อยากปรึกษาจะติดต่อได้อย่างไรค่ะ

  • @starburststrem3819
    @starburststrem3819 ปีที่แล้ว +1

    ดีครับ รูปแบบรายการเเบบนี้ผมเป็นคน 20 ต้นๆ ยังชอบดูอะไรเเบบนี้เลย เปลี่ยนความคิดผมเลยว่ากฎหมายต้องเป็นอะไรโบราณๆ

  • @user-np6zm3sr1p
    @user-np6zm3sr1p ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีครับ ขอขอบคุณคุณการเผยแพร่ความรู้กฏหมายที่มีประโยชน์อย่างยิ่งครับ.

  • @prasitduangtawong8984
    @prasitduangtawong8984 ปีที่แล้ว +1

    เป็นคำพิพากษาฎีกาที่สร้างความยุติธรรมให้แก่คู่ความทั้งทางแพ่งและทางอาญาไปพร้อมๆกัน เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ในทางปฎิบัติก็ยึดแนวนี้มาโดยตลอด ขอบคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงที่นำมาเผยแพร่ครับ

  • @roongratnemtsev2841
    @roongratnemtsev2841 ปีที่แล้ว

    ขอบพระคุณท่านที่กรุณาให้ความรู้ประชาชน ค่ะ

  • @thitiporn_tuk_5030
    @thitiporn_tuk_5030 7 หลายเดือนก่อน

    เสียงเปิดรายการดังมากแต่เสียงอาจารย์เบา

  • @user-zl6hd8os8e
    @user-zl6hd8os8e 11 หลายเดือนก่อน

    ขย

  • @user-vq3fw5xp1m
    @user-vq3fw5xp1m 27 วันที่ผ่านมา

    ให้เงินเพื่อนบ้านยืมแต่ไม่ได้ทำสัญญากู้ยืมเพื่อนบ้านพื้นบ้านผัดชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้มีวิธีแก้ไขยังไงครับ