ฎีกา InTrend Ep.169 ค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจะนำไปหักจากค่าขาดไร้...

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 7 พ.ค. 2024
  • ฎีกา InTrend Ep.169 ค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจะนำไปหักจากค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, สุริยัณห์ หงษ์วิไล, ทัสสญุชุ์ กุลสิทธิ์ชัยญา, ณัฐสิมา อนันทนุพงศ์
    Show Creator : ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, รวิภา กิ่งจักร์
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : โสรัตน์ ไวศยดำรง, สุพัตรา ขำมีศักดิ์, สุภาวัชร์ ดลมินทร์
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์, กนกกูล วสยางกูร
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    การทำประกันภัยตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถกำหนดไว้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่กฎหมายต้องการให้มีการเยียวยาบรรเทาความเสียหายเบื้องต้นที่ทันท่วงทีแก่ผู้ประสบอุบัติเหตุที่ลำพังเพียงการประสบอุบัติเหตุก็ทำให้เกิดความยากลำบากมากอยู่แล้ว หากต้องประสบปัญหาในการหาเงินมาบรรเทาเยียวยาความเสียหายอีกก็อาจจะทำให้ปัญหาพอกพูนขึ้นอีกมหาศาล แต่การชดใช้ดังกล่าวก็จะมีผลต่อค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดจะต้องชดใช้ในที่สุดด้วย เพียงแต่อาจมีปัญหาว่าจะนำส่วนที่ได้ชดใช้ไปก่อนตามที่กฎหมายกำหนดมาคำนวณกันอย่างไร ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่บริษัทประกันภัยได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นตาม พรบ. คุ้มครองผู้สบภัยจากรถไปแล้วจะไปหักลบจากค่าขาดไร้อุปการะได้หรือไม่
    นายแดงขับรถจักรยานยนต์ไปตามท้องถนน ปรากฏว่ารถยนต์ที่นายดำขับมาชนเข้ากับรถจักรยานยนต์ของนายแดง เป็นเหตุให้นายแดงถึงแก่ความตาย โดยหลังเกิดเหตุบริษัทประกันภัยได้ชำระค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่นายเขียวซึ่งเป็นบิดาของนายดำไป 300,000 บาท
    ต่อมาพนักงานอัยการได้ฟ้องนายดำเป็นคดีอาญาต่อศาลในข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
    นายเขียว บิดาของนายแดงได้ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม และขอให้นายดำชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะจำนวน 1 ล้านบาท
    ในส่วนคดีอาญา ศาลพิพากษาจำคุกนายดำ 2 ปี และปรับ 30,000 บาท และให้รอการลงโทษจำคุกไว้ ปัญหาในคดีนี้คงอยู่ที่เรื่องของการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่นายเขียวไปแล้ว 300,000 บาท นั้นจะนำมาหักลดออกจากค่าสินไหมทดแทนที่นายเขียวจะมีสิทธิเรียกร้องจากนายดำได้หรือไม่ เพียงใด
    เงินค่าเสียหายเบื้องต้นที่บริษัทประกันภัยชำระไปนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 4 ว่า “ค่าเสียหายเบื้องต้น” หมายถึง ค่ารักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจัดการศพ รวมทั้งค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น ซึ่งในกรณีนี้นายแดงเสียชีวิต ค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าวจึงเป็นค่าเสียหายสำหรับเป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัย โดยผู้ประสบภัยในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงผู้ประสบอุบัติเหตุเท่านั้น แต่รวมถึงทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยด้วย
    ในกรณีที่บริษัทประกันภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นไปแล้ว มาตรา 25 วรรคสอง ได้กำหนดผลไว้ว่าให้ถือว่าค่าเสียหายเบื้องต้นที่จ่ายไปนั้นเป็นส่วนหนึ่งของค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย ดังนั้นหากเป็นค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ประสบภัยหรือทายาทโดยธรรมได้รับไปแล้วเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งที่รวมอยู่ในค่าเสียหายเบื้องต้นดังกล่าว จำนวนค่าสินไหมทดแทนที่จะได้รับจากผู้ทำละเมิดก็จะต้องหักเงินจำนวนนั้นออกด้วย เพราะมิฉะนั้นย่อมจะเป็นการชดใช้ความเสียหายอย่างเดียวกันซ้ำซ้อน แต่ในขณะเดียวกัน หากเป็นค่าสินไหมทดแทนอย่างอื่นที่มิได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายเบื้องต้นด้วยก็ย่อมจะนำค่าเสียหายเบื้องต้นที่บริษัทประกันภัยจ่ายไปหักออกจากเงินที่จะเรียกร้องให้ผู้ทำละเมิดรับผิดก็ไม่ได้ด้วย เพราะในส่วนของความเสียหายนั้นผู้สบภัยหรือทายาทโดยธรรมยังไม่ได้รับการชดใช้
    ในกรณีของนายแดงนี้ เมื่อนายแดงประสบอุบัติเหตุเสียชีวิต ค่าเสียหายเบื้องต้นที่บริษัทประกันภัยชำระไปจึงถือว่าเป็นค่าปลงศพและและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน หากจะมีการหักทอนจากค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดก็ได้เฉพาะในส่วนนี้เท่านั้น แต่ค่าสินไหมทดแทนที่นายเขียวเรียกมาเป็นค่าขาดไร้อุปการะซึ่งเป็นค่าสินไหมทดแทนความเสียหายคนละส่วนกับที่ได้รับการชดใช้ในฐานะส่วนหนึ่งของค่าเสียหายเบื้องต้น จึงจะนำค่าเสียหายเบื้องต้นนั้นไปหักออกจากค่าเสียหายที่นายเขียวเรียกร้องมาไม่ได้
    ดังนั้น ในกรณีผู้ประสบภัยจากรถเสียชีวิต ค่าเสียหายเบื้องต้นที่บริษัทประกันภัยจ่ายไปถือเป็นการชดเชยค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายที่จำเป็นอย่างอื่นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจึงไม่อาจนำไปหักออกจากค่าสินไหมทดแทนสำหรับค่าขาดไร้อุปการะได้
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2566)

ความคิดเห็น • 4

  • @user-tb1be4mu6k
    @user-tb1be4mu6k หลายเดือนก่อน

    ลูกชายขับรถจักยานต์ถูกรถยนต์ขาหักตอนนี้ยอมความแล้วเขาเป็นฝ่ยผิดชดเชยเงิน15000บาทและให้ใช้พ.ร.บรถยนต์เป็นค่ารักษาพยาบาลแต่ตอนนี้ร.พยังเบิกค่ารักษาไม่ได้เพราะว่าเจ้ารถยนต์ยังไม่แจ้งไปยังบริษัทที่ทำพ.ร.บเหตุณ์เมื่อวันที่14เมษายนค่ะ

    • @mastermcdown9686
      @mastermcdown9686 หลายเดือนก่อน

      ตามหลักแล้วผู้เสียหาย สามารถเรียกร้องตามสิทธิที่ควรได้รับจากเหตุมูลเมิดได้ เช่น ค่าใช้จ่ายรักษาต่อเนื่องและค่าอื่นๆครับ
      ในส่วน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยฯ เราสามารถใช้ของฝ่ายคู่กรณีได้ หากอีกฝ่ายไม่ยอมให้ใช้สิทธิ(ไม่ให้ตัวพ.ร.บ. รถฯ ให้ไปเบิกจากกองทุนผู้ประสบภัยจากรถฯ โดยนำหลักฐานที่ได้จากพนักงานสอบสวน ใบรับรองแพทย์ ไปยืนครับ

  • @buncheejumlong7175
    @buncheejumlong7175 18 วันที่ผ่านมา

    อย่าเพิ่งดูดคลิปไปนะครับ ขอมูลมันเพี้ยนๆ แปร่งๆ

  • @buncheejumlong7175
    @buncheejumlong7175 18 วันที่ผ่านมา

    ค่าเสียหายเบื้องต้นสามแสนบาทเลยเหรอครับ ค่าเสียหายเบื้องต้น นะ เสียชีวิต มีจ่ายเบื้องต้น สามแสนบาท เหรอครับ....ผมงงมาก ข้อมูลเอามาจากไหนครับ ค่าเสียหายเบื้องต้นจ่ายสามแสนบาท