เบาหวานหายได้ ? Diabetes Remission Concept 2021

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 13 ต.ค. 2024
  • #เป็นเบาหวานหายได้หายขาดจริงหรือไม่?
    หลายคนคงได้อ่าน ได้ฟัง ได้ชมคลิปจากหลาย ๆ แหล่งมาบ้างแล้ว เกี่ยวกับข้อมูลใหม่ล่าสุดที่เพิ่งออกมาในเรื่องของ #การหายของโรคเบาหวานชนิดที่2 อย่างไรก็ตาม หากอ่านละเอียดในบทความดังกล่าวจะทราบว่า หน่วยงานฯ ต่าง ๆ ที่ออกมาให้ความเห็นนั้น ยังไม่อยากใช้คำว่า #หายขาด (Cure) เพราะ การเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 นั้น มีหลายกลไก การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่ใช้เวลานานหลายปีมาแล้ว การหายขาด เหมาะที่จะใช้กับโรคที่หายแล้ว ไม่หลงเหลือพยาธิสภาพ หรือ ความผิดปกติซ่อนเร้นไว้แม้เพียงเล็กก็ตาม จึงน่าจะเหมาะกว่า ดังนั้น เบาหวานชนิดที่ 2 จึงไม่ใช้คำว่า หายขาดได้ แต่ควรใช้คำว่า "#ควบคุมโรคได้ด้วยการดูแลตัวเอง หรือ #Remission" จึงเหมาะกว่านั่นเอง
    .
    เกณฑ์การวินิจฉัยที่บอกว่าเราคุมอาการและอาการแสดง (Remission) จากการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มาจากหน่วยงานการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาโรคเบาหวาน 4️⃣ แห่งระดับโลก ได้แก่
    1. American Diabetes Association (ADA)
    2. European Association for the Study of Diabetes (EASD)
    3. Diabetes UK
    4. Endocrine Society
    เกณฑ์ดังกล่าวนั้น ประกอบด้วย...
    1️⃣ เกณฑ์การบอกว่า Remission จากโรคเบาหวาน คือ ตรวจพบระดับน้ำตาลสะสม HbA1C below 6.5% ซึ่งเกิดขึ้นเอง หรือ เกิดหลังจากการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ และ ค่าน้ำตาลสะสมนี้ ยังคงอยู่ไม่น้อยกว่าระยะเวลา 3 เดือน ภายหลังจากหยุดใช้ยารักษาเบาหวาน
    .
    2️⃣ ในกรณีที่ไม่สามารถใช้ค่าระดับน้ำตาลสะสม HbA1C เป็นเกณฑ์ได้ เนื่องจากค่าที่ได้นั้นอาจมาจากแลปที่ไม่ได้มาตรฐานตามสากลกำหนด อาจดูจากค่าน้ำตาลในเลือดขณะงดทานอย่างน้อย 8 ชม (FBG) คือ ได้ค่า below126 mg/dL หรือ ดูจากค่าประมาณของระดับน้ำตาลสะสม (eA1C) ที่น้อยกว่า 6.5% ได้ ที่ได้จาก continuous glucose monitoring (CGM) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ติดเข้ามาไว้ในร่างกายเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
    .
    3️⃣ การตรวจระดับน้ำตาลสะสม HbA1c นั้น ควรตรวจก่อนเริ่มรักษาด้วยวิธีการต่าง ๆ และ ไม่ควรตรวจเร็วกว่า 3 เดือน หลังจากเริ่มการรักษา หรือ หลังจากหยุดยาเบาหวานไปแล้ว
    .
    4️⃣ การตรวจเพื่อประเมินอาการต่อเนื่องในระยะยาว ภายหลังจากเข้าเกณฑ์ Remission จากโรคเบาหวาน ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพดังที่กล่าวมาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ร่วมกับการตรวจสุขภาพต่าง ๆ เพื่อประเมินอาการแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน เช่น การตรวจจอประสาทตา ตรวจทางระบบประสาท ตรวจไต ตรวจปัสสาวะหาโปรตีนในปัสสาวะ ตรวจหัวใจ ความดันเลือด อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นต้น
    .
    5️⃣ การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวทางในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ให้หาย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวนั้น ยังเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาวิจัยในประเด็นต่าง ๆ ต่อเนื่องอีกต่อไปในอนาคต
    .
    หมอตั้ม นพ.เสฏฐวุฒิ งามเมธิชัยวงศ์ หมอหล่อคอเล่า
    แพทย์ประจำ Doctor Weight Wellness Clinic
    #Diabetes #T2DM #DiabetesRemission #Obesity
    .
    Reference : ที่มา 📑
    Matthew C Riddle, et al. Consensus Report: Definition and Interpretation of Remission in Type 2 Diabetes, The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, 2021.

ความคิดเห็น •

  • @ok4076
    @ok4076 3 หลายเดือนก่อน +1

    พออายุมาก ลดน้ำหนักยากมากเลยแม้จะออกกำลังกายทุกวันคุมอาหารด้วย แต่กลับกันน้ำหนักจะเพิ่มอย่างง่ายกับคนอายุมาก ถ้าไม่คุมอาหาร

  • @patchanan7868
    @patchanan7868 3 ปีที่แล้ว +1

    ขออนุญาตแชร์ค่ะ

  • @ปัญญาชูนอง-ภ7ฃ
    @ปัญญาชูนอง-ภ7ฃ 9 หลายเดือนก่อน

    Punya