ความรู้สึกตัว ตอนที่ 1/4 | รายการ พื้นที่ชีวิต (เม.ย. 2557)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 ส.ค. 2021
  • ***เนื่องจากคลิปนี้มีการเกี่ยวข้องกับเรื่องลิขสิทธิ์ ทำให้อาจจะมีโฆษณาขึ้นมาบนคลิป
    รายการ "พื้นที่ชีวิต" ทางช่อง Thai Pbs เป็นรายการเกี่ยวกับชีวิต ศาสนา ปรัชญา ในมุมมองของคนรุ่นใหม่
    ติดตามข่าวสารของรายการพื้นที่ชีวิต และเข้าไปให้กำลังใจทีมงานผู้ผลิตรายการนี้ได้ที่
    pg/LifeExplo...
    ขอขอบคุณ Thai PBS / ผู้ผลิตรายการ และผู้ upload
    ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำและเผยแผ่ ภาพ/เสียง/วีดีโอ ฯลฯ เหล่านี้ไว้ในวาระต่างๆ
    และขออนุญาตนำมาสืบทอดเผยแผ่เพื่อเป็นธรรมทานสืบต่อกันไป
    กราบระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์ พระธรรม และพระสงฆ์
    กราบขอบคุณครูอาจารย์ทุกท่านที่มอบความรู้เพื่อการนำมาเผยแผ่
    ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำและเผยแผ่ ภาพ/เสียง/วีดีโอ ฯลฯ เหล่านี้ไว้ในวาระต่างๆ
    และขออนุญาตนำมาสืบทอดเผยแผ่เพื่อเป็นธรรมทานสืบต่อกันไป
    ดูคลิปอื่นๆ ใน Channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน" ที่ / @satipunya
    ผู้ที่ไม่เคยฝึกกรรมฐาน หรือสนใจเรียนรู้เรื่องกรรมฐานและการเจริญสติแบบเข้าใจง่าย!! ดูที่ • [คลิกตรงนี้] ส่วนที่ 2...
    -----------------------------------------------
    ***Channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน" ไม่มีการรับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น
    และไม่มีการรับรายได้ใดๆ ทั้งสิ้น จาก TH-cam
    โฆษณาต่างๆ ที่มาปรากฏในคลิปของช่องนี้ เป็นการจัดการของ TH-cam เอง
    ไม่ใช่การจัดการของผู้จัดทำช่องนี้ และไม่มีการนำรายได้จากโฆษณาเข้าสู่ช่องนี้***

ความคิดเห็น • 18

  • @satipunya
    @satipunya  2 ปีที่แล้ว +4

    สำหรับมือใหม่ที่ฟังแล้วยังสงสัย หรือไม่เข้าใจวิธีการและหลักการในการฝึกฝนเจริญสติ ขอแนะนำให้ดูคลิปใน [ส่วนที่ 1]
    th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f.html
    จะรวบรวมประเด็นที่ผู้ฝึกฝนควรรู้ โดยไล่ดูตามลำดับที่จัดเรียงไว้ ก็น่าจะช่วยลำดับความเข้าใจให้ได้มากขึ้น
    หลวงพ่อเทียนใช้คำว่า "เห็นความคิด หรือ ดูความคิด"
    ไม่ได้หมายถึง ให้เราเอาจิตใจไปเฝ้าจ้องว่า เมื่อไหร่จะเกิดความคิด
    เมื่อไหร่ใจจะเผลอคิด-เผลอไปในอารมณ์ต่างๆ
    หรือ เมื่อเผลอคิดไปแล้ว ก็ไปตามดูความคิด ว่ามันคิดอะไร ไปหาสาเหตุ
    ไปหานิยาม ไปหาทางแก้ หรือเผลอใจไปปรุงแต่งเป็นความรู้สึก-อารมณ์ต่างๆ เช่น ไปหงุดหงิด ไปยินดี-ยินร้ายกับมันฯลฯ
    ...ไม่ใช่แบบนั้น!!!
    แต่หลวงพ่อเทียนต้องการสื่อความหมายถึง "การเห็นความคิด หรือดูความคิด"
    โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด ไม่หลงไปตามความคิดหรืออารมณ์ ไม่ไปปรุงแต่งต่อเติม ฯลฯ
    เปรียบเหมือนเราเป็นคนดูมัน-เห็นมันห่างๆ จากข้างนอก
    โดยเราไม่ได้เข้าไปคลุกวงในกับมัน ไม่เข้าไปพัวพันกับมัน
    วิธีฝึกฝน ก็เป็นวิธีฝึกเจริญสติ หรือฝึก "ความรู้สึกตัว" เดิมๆ ที่ "มือใหม่" ได้ถูกย้ำเตือนบ่อยๆ
    คือ ฝึกให้มีความรู้สึกตัวกับการเคลื่อนไหวร่างกายในทุกอิริยาบถ
    และ/หรือ ให้เจตนาสร้างการเคลื่อนไหวร่างกาย (สร้างจังหวะ) แล้วรู้สึกเบาๆ สบายๆ กับกายที่เคลื่อนไหว
    ให้จิตใจตั้งอยู่กับ "ความรู้สึกตัว" หรือการระลึกรู้ในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
    (ไม่ใช่เอาจิตใจไปเฝ้าจ้องเพื่อจะเห็นหรือตามดูความคิด-อารมณ์ต่างๆ)
    เมื่อ "รู้สึกตัว" ไปสักพัก จิตใจมันจะเผลอคิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติของมัน
    สำหรับผู้ฝึกใหม่ ... กว่าจะรู้ตัว รู้ทัน หรือระลึกได้ว่า ตัวเองกำลังเผลอคิดอยู่
    ก็อาจจะเผลอคิดไปแล้วนานหลายนาที
    แต่เมื่อฝึกฝนมากๆ เข้า สติแข็งแรงขึ้น เราจะรู้ทัน "การเผลอคิด" ได้ไวขึ้น และบ่อยขึ้นเอง
    เมื่อฝึกจนชำนาญมากๆ อีกหน่อยพอเผลอคิดปุ๊บ..เราก็รู้ทันปั๊บ!!!!
    เมื่อ "รู้ทัน-รู้ตัว-ระลึกขึ้นมาได้ว่าตัวเองกำลังเผลอคิด กำลังเผลอไปกับอารมณ์ต่างๆ" แล้วควรทำอย่างไรต่อไป??
    ก็ให้ทิ้งความคิด-อารมณ์ต่างๆ ทันที!!
    .. เมื่อใดที่รู้ตัวว่าเผลอคิดปุ๊บ ก็ให้ทิ้งความคิดไปทันที
    ไม่ไปคิดต่อ ไม่ปรุงแต่งต่อเติม ไม่ไหลไปตามความคิด-อารมณ์ต่างๆ
    ไม่ต้องไปหาความหมาย ไม่ต้องไปหาสาเหตุใดๆ ทั้งสิ้น
    ....ให้ทิ้งความคิด-อารมณ์ต่างๆ ทันที!!! ...แล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    ...คือการพาใจกลับมาตั้งไว้กับความรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายเช่นเดิม!!
    เดี๋ยวสักพัก ใจก็อาจจะเผลอคิดไปอีก พอเรารู้ทันว่าใจมันเผลอไปอีก ก็ทิ้งความคิดทันทีแล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    ทำแบบนี้วนๆ ไปเช่นเดิม
    ฝีกแบบนี้ซ้ำๆ บ่อยๆ ไปเรื่อยๆ จนเมื่อสติตั้งมั่น แข็งแรง ว่องไวมากขึ้น ก็จะพัฒนาไปสู่ "การเห็นความคิด โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด"
    และจะพาไปสู่การปล่อยวางความคิด/อารมณ์ ได้มากขึ้น
    หรือเมื่อมีอะไรมากระทบกายและใจ ไม่ว่าจะ "เรื่องทุกข์หรือสุข"
    เราก็จะรับรู้สิ่งเหล่านั้นด้วยจิตใจที่เป็นปกติ เป็นกลางๆ
    ใจไม่ไหลจมดิ่งไปกับความทุกข์ และไม่หลงลอยไปกับความสุข
    คลายความยึดมั่นถือมั่นในเรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น
    การปรุงแต่งฟุ้งซ่านจะน้อยลงเรื่อยๆ และทำให้ใจยอมรับในสัจธรรมของชีวิตได้มากขึ้น
    มีสติปัญญารับมือกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้ดีขึ้น
    ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันจะเป็นไปเองตามกลไกธรรมชาติ
    ขอเพียงแค่เพียรฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่องมากพอ
    เราสามารถหาโอกาสฝึกการเจริญสติ หรือ ฝึก "ความรู้สึกตัว" ให้ผสมผสานกับชีวิตประจำวัน ได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา
    คำแนะนำเพิ่มเติม
    - แนะนำการเจริญสติ ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล th-cam.com/video/GWwIGxicOMA/w-d-xo.html
    - หลวงพ่อเทียนสอบอารมณ์ th-cam.com/video/477997jEPdg/w-d-xo.html
    - วิธีเจริญสติง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน th-cam.com/video/qoK88FDoO_E/w-d-xo.html
    - หลักการง่ายๆ ภายใน 1 นาที.."กลับมารู้สึกตัว" th-cam.com/video/df0Nls10qX0/w-d-xo.html
    - ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม th-cam.com/video/0F9Uc8gt1gU/w-d-xo.html
    - เห็นความคิด-อารมณ์ โดยไม่หลงเข้าไป "อิน" จะทำได้อย่างไร? th-cam.com/video/NwSKqJFaE6U/w-d-xo.html
    - ไฮไลท์ คือ เมื่อหลงไป แล้วกลับมาได้ th-cam.com/video/oGLkbmKypBg/w-d-xo.html
    - เจริญสติไม่ยาก แต่ที่ว่ายาก เพราะอยากได้ดั่งใจ th-cam.com/video/ocG1E6O-zGo/w-d-xo.html
    - สภาพเดิมของจิต คือ รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ th-cam.com/video/tfsJI9_KeUw/w-d-xo.html
    - วิธีง่ายๆ เพื่อดับทุกข์ใจ th-cam.com/video/yUyob1-DKlk/w-d-xo.html

    • @satipunya
      @satipunya  2 ปีที่แล้ว

      สำหรับผู้ที่สนใจฝึกฝนเจริญสติ (สติปัฏฐาน) ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      1. การเริ่มต้นฝึกฝนในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      หากสะดวกหรือสนใจที่จะได้เรียนรู้โดยตรงกับครูอาจารย์ต่างๆ
      ก็ลอง search หาใน google ว่าสะดวกจะไปที่ไหน หรือลองดูจาก link นี้
      facebook.com/Sanamnai/photos/a.365802240102946.108142.361998700483300/1319466311403196/?type=3
      เป็นสถานที่ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      2. หรือหากจะเริ่มต้นฝึกฝนโดยดูคลิปต่างๆ จาก channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน"
      ก็ให้เข้าไปที่ [ส่วนที่ 1] th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f.html
      ซึ่งจะรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่มือใหม่ควรจะรู้
      เราพยายามจัดเรียงลำดับของคลิปไว้ตามหมายเลข
      เพื่อลำดับความเข้าใจให้มือใหม่ไม่สับสน ไล่ดูไปเรื่อยๆ ตามลำดับที่เรียงไว้
      ไม่เกินคลิปหมายเลข 7.8 หรือใกล้เคียงกันนั้น
      ก็จะเป็นการปูพื้นฐานจนเกือบครบถ้วนแล้ว
      ส่วนคลิปหลังจากนั้น ก็เป็นการขยายความบ้าง
      เป็นส่วนเสริมบ้าง หรือเป็นการตอกย้ำบ้าง
      เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า "มือใหม่"
      จะต้องดูคลิปใน [ส่วนที่ 1] จนหมดให้ครบถึงคลิปสุดท้าย
      แล้วจึงค่อยลงมือเริ่มฝึกฝน ไม่ใช่แบบนั้น!!
      คือ ดูไปเรื่อยๆ สัก 2-3 คลิป จนเริ่มรู้หลักการคร่าวๆ
      รู้วิธีฝึกคร่าวๆ แล้วก็เริ่มเอาวิธีการไปลงมือฝึกได้เลย
      แล้วพอว่างๆ ก็ค่อยๆ มาดูคลิปเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ
      เมื่อพอจะเริ่มเข้าใจวิธีฝึก ก็ให้ลงมือฝึกฝนบ่อยๆ
      หากมีข้อสงสัยอะไร ก็ทิ้งคำถามไว้ที่ใต้คลิปนั้น
      เราก็จะพยายามหาคำแนะนำของครูอาจารย์มาช่วยคลี่คลายให้
      3. หรือหากมีเวลาพอสมควร พอที่จะดูคอร์สการบรรยายที่ยาวหน่อยได้
      ก็อยากให้ดูการสอนกรรมฐานแบบเข้าใจง่ายใน [ส่วนที่ 2]
      th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosrqwu1E23iCftSJobZU6sK8.html
      จะช่วยปูพื้นฐานอย่างละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

    • @user-ws4hy6uz5y
      @user-ws4hy6uz5y 2 ปีที่แล้ว +1

      ขอบพระคุณ(สาธุ,สาธุ,สาธุ)ยอดเยี่ยม

  • @inpenpakpak95
    @inpenpakpak95 4 หลายเดือนก่อน

    สิง ตั้งคำถามย้อนกลับนิ้วกลม ขำๆ

  • @user-mn4nl6bh9g
    @user-mn4nl6bh9g 2 ปีที่แล้ว +6

    หลักธรรมที่เป็นสากลดีกว่า คาถาอาคมและเดรัจฉานวิชาครับ ก็เลยหันมาทางนี้ไม่มีพิษมีภัย
    ตอนแรกก็ท่านพุทธทาส หลวงพ่อไพศาล หลวงพ่อปราโมทย์ ก็รู้สึกดีขึ้นเรื่อยๆครับ
    คุณพศิน อินทรวงค์ ก็ดีครับ ถนัดฆราวาสครับไม่ถึงกับเป็นอุบาสกครับ เพราะรับแค่ศีล 5 ครับ
    กราบน้อมอนุโมทนา สาธุด้วยครับ

  • @user-fq9no8mg1z
    @user-fq9no8mg1z ปีที่แล้ว +1

    สาธุ กับน้อง จันทร์จ๋า ครับ มาถูกทางแล้วครับ...

  • @frrfttt7715
    @frrfttt7715 2 ปีที่แล้ว +1

    เพราะหลง...แล้วรู้...สาธุ

  • @user-ld4fv2qe2z
    @user-ld4fv2qe2z ปีที่แล้ว

    ชอบแนวธรรมะ

  • @user-zm6gz2rn5n
    @user-zm6gz2rn5n ปีที่แล้ว

    เป็นอีกลีลาหนึ่งของการดึงดูดผู้ที่กำลังแสวงหาแก่นพุทธได้ดีทีเดียวครับ

  • @warisadendaung1031
    @warisadendaung1031 2 ปีที่แล้ว +1

    สาธุขออยุโมทนาสาธุกับผู้ปฎิบัตธรนม
    ทุกๆๆท่านด้วยค่ะ สาธุ สาธุค่ะ

  • @thaninwattanathamrong8747
    @thaninwattanathamrong8747 2 ปีที่แล้ว

    เนื้อหา ดีมากครับ อนุโมทนาสาธุครับ

  • @user-nq4xc8ml3p
    @user-nq4xc8ml3p 2 ปีที่แล้ว

    สาธุๆๆ

  • @thidadharmasakti4066
    @thidadharmasakti4066 2 ปีที่แล้ว

    สาธุทุกท่านค่ะ 🙏🙏🙏

  • @blurboy14
    @blurboy14 2 ปีที่แล้ว

    😊🙏♥️

  • @user-fq9no8mg1z
    @user-fq9no8mg1z ปีที่แล้ว

    แต่เรื่องของความคิด เป็นการทำงานของจิตครับ ทั้งตั้งใจคิด และการเผลอคิดครับ...สมองคือกาย อันหนึ่ง ครับ...ไม่ใช่สมองคิด หรือ สมองรู้สึกตัว ครับ ...

  • @nuija2598
    @nuija2598 2 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับคลิปดีๆ🙏🏻🙏🏻🙏🏻😊

  • @hexasignservice4804
    @hexasignservice4804 2 ปีที่แล้ว

    ต้องละบางเรื่อง วางมือถือละบ้าง กำหนดเวลาประจำวันก็สามารถปฎิบัติได้ครับ

  • @user-ez7xe2rv7u
    @user-ez7xe2rv7u 2 ปีที่แล้ว

    ผมถนัดใช้แบบสมาธินำหน้าครับ แต่แนวใหนก็ดีเหมือนกันครับ ไม่ว่ากัน ถนัดใครถนัดมันครับ..อย่างเช่น เรามีแค่ นี้ เราจะวิ่งไปเอาสิ่งที่เราไม่มีมาภาวนา มันจะยิ่งเพิ่มความยุ่งยากเข้าไปอีก บางคนไม่เคยฝึกฌาน ก็ใช้สติ บางคนอาจทำฌานมา มากเขาก็ใช้สติ ควบคู่กับฌาน สรุป สติคือตัว ละอวิชชา ฌานแค่มีไว้ทำใจสงบเล่นๆเท่านั้นเอง..