ใครยัง "รู้สึกตัว" ไม่เป็นบ้าง?" อ.กำพล พาปฏิบัติ โดย อ.กำพล ทองบุญนุ่ม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 5 ต.ค. 2022
  • ตัดทอนมาจาก • มือใหม่ต้องเริ่มที่ "ด... ขอขอบคุณคลิปต้นฉบับ
    ขอขอบคุณชมรมเพื่อนคุณธรรม
    กราบระลึกถึงพระคุณของพระพุทธองค์ พระธรรม และพระสงฆ์
    กราบขอบคุณครูอาจารย์ทุกท่านที่มอบความรู้เพื่อการนำมาเผยแผ่
    ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนร่วมในการจัดทำและเผยแผ่ ภาพ/เสียง/วีดีโอ ฯลฯ เหล่านี้ไว้ในวาระต่างๆ
    และขออนุญาตนำมาสืบทอดเผยแผ่เพื่อเป็นธรรมทานสืบต่อกันไป
    ดูคลิปอื่นๆ ใน Channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน" ที่ / @satipunya
    ผู้ที่ไม่เคยฝึกกรรมฐาน หรือสนใจเรียนรู้เรื่องกรรมฐานและการเจริญสติแบบเข้าใจง่าย!! ดูที่ • [คลิกตรงนี้] ส่วนที่ 2...
    -----------------------------------------------
    ***TH-cam Channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน" ไม่มีการรับบริจาคใดๆ ทั้งสิ้น
    และไม่มีการรับรายได้ใดๆ ทั้งสิ้น จาก TH-cam
    โฆษณาต่างๆ ที่มาปรากฏในคลิปของช่องนี้ เป็นการจัดการของ TH-cam
    ไม่ใช่การจัดการของผู้จัดทำช่องนี้ และไม่มีการนำรายได้จากโฆษณาเข้าสู่ช่องนี้***

ความคิดเห็น • 26

  • @satipunya
    @satipunya  ปีที่แล้ว +11

    ... "ความรู้สึกตัว" คือ อะไร?
    ยัง.."รู้สึกตัว"..ไม่เป็นซะที!!
    หลายคนยังจับจุดไม่ถูกว่า
    ...ที่บอกให้ "รู้" เนี่ย
    มันต้อง "รู้แบบไหน ... รู้อะไร..??"
    หลายท่านที่ไม่แน่ใจในเรื่องนี้
    ก็มักจะมาพร้อมกับปัญหาเรื่องการติดเพ่งจ้อง
    จดจ่อมากไป จนเกร็ง จนเครียด
    เพราะ ไม่เข้าใจว่าต้อง "รู้แบบไหน? รู้อะไร?"
    จึงพยายามจะจดจ่อ จะเพ่งจ้องให้ "รู้" ชัดๆ
    หรือพยายามจะ "รู้" ให้ได้เยอะๆ บ่อยๆ"
    พยายามจะไม่หลงเลย....ฯลฯ
    ------------------------
    ก่อนอื่น ก็ขอส่งกำลังใจให้ว่า
    นี่เป็นปัญหายอดนิยมที่หลายคนได้เจอ
    อย่าเพิ่งท้อใจไปครับ
    เพราะหลายคนก็เคยผ่านเรื่องพวกนี้มาก่อน
    คำอธิบายบางอย่าง บางคนรับรู้..แล้วก็เข้าใจ
    แต่บางคนรับรู้..แล้วก็ยังไม่เข้าใจ
    เพราะแต่ละคนก็มีวิธีคิด มีปัญหาในรายละเอียดที่ต่างกันไป
    เอาเป็นว่า เท่าที่พอจะช่วยได้ ก็ขอแบ่งปันประสบการณ์
    ตอนที่ผู้จัดทำฯ เจอปัญหานี้เมื่อเริ่มฝึกใหม่ๆ
    ซึ่งเป็นปัญหาเฉพาะตัว
    หลายท่านอาจจะไม่ได้เจอปัญหาแบบเดียวกันนี้นะครับ
    ...ตอนแรกๆ ที่เริ่มฝึกหัดใหม่ๆ
    คำว่า "รู้" นั้น
    บางทีเราก็คิดว่าตัวเองเข้าใจ
    แต่บางทีก็สับสน??
    ที่สับสน เพราะ คำว่า "รู้" นั้น
    เราไม่แน่ใจว่า...หมายถึง "จะให้เรารู้อะไร?"
    ภายหลัง เพิ่งเข้าใจว่า
    ตัวเองสับสนกับความหมายของคำ 2 คำ
    คือ คำว่า "รู้" กับ คำว่า "รู้สึก"
    ....แค่สองคำนี้ ก็ทำให้ "มือใหม่" สับสนได้!!
    ถ้าถามว่า "เมื่อยกมือ..แล้วรู้มั้ย??"
    เราก็จะงงๆ ไม่แน่ใจว่า "จะให้...รู้...อะไร?"
    แต่ถ้าถามว่า
    "เมื่อยกมือ...แล้วรู้สึกมั้ยว่า มือมันเคลื่อน มันไหว?"
    ...เราก็จะอ๋อทันที!!... รู้สึกสิครับ!!
    เมื่อยกมือ ...ก็"รู้สึก" ได้ว่า มันมีการเคลื่อนไหว
    ..นี่แหละ "ความรู้สึกตัว" ก็แค่นี้เอง!!
    เมื่อร่างกายเคลื่อนไหว
    แล้วเรา "รู้สึก" ว่า มันมีการเคลื่อนๆ ไหวๆ หยุดๆ ตึงๆ หย่อนๆ
    มีการกระทบสัมผัสต่างๆ... อะไรประมาณนี้
    แค่นี้แหละ คือ "ความรู้สึกตัว"
    เราแค่ไม่เข้าใจคำว่า "รู้"
    เพราะความหมายมันกว้างมากไปสำหรับตัวเราเอง
    "จะให้รู้อะไรกันแน่??"
    คำว่า "รู้" จึงเป็นคำที่ตัวเองสับสน
    บางทีการใช้คำสั้นๆ ก็ทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนได้
    เช่น คำว่า "รู้" นี้ บางทีก็ย่อมาจาก "รู้สึก" (เช่น รู้สึกถึงกายที่เคลื่อนไหว)
    บางทีก็ย่อมาจาก "รู้ทัน" (เช่น รู้ทันใจที่กำลังเผลอคิด)
    บางทีก็ย่อมาจาก "ความรู้" (ข้อมูลต่างๆ ที่รับรู้ เรียนรู้มา จำมาจากแหล่งต่างๆ
    ...เป็น "สัญญา" ความจำได้หมายรู้)
    มันมีหลายความหมาย ทำให้เข้าใจสับสนไปได้หลายทาง
    ...แต่ถ้าใช้คำว่า "รู้สึก" เราก็เข้าใจได้ง่ายขึ้น!!
    เช่น "รู้สึก" ถึงกายที่เคลื่อนไหว ..."รู้ทัน" ใจที่กำลังเผลอคิด
    แต่ถ้าบอกสั้นๆ ว่า "รู้กาย รู้ใจ" บางทีฟังแล้วเหมือนจะเข้าใจ
    แต่จริงๆ แล้ว สับสน ไม่แน่ใจ ว่า "รู้" หมายถึงอะไร ในความหมายไหนกันแน่?
    นี่แหละเป็นปัญหาเรื่องการใช้ภาษา
    ซึ่งแต่ละคน มีความเข้าใจในภาษาที่ต่างกันไป
    "ความรู้สึกตัว" จึงไม่ใช่คำศัพท์เทคนิคชั้นสูง
    หรือคำศัพท์พิเศษในทางธรรมอะไร
    มันก็คือ คำศัพท์ที่ชาวบ้านทั่วไปก็ใช้กัน
    --------------------------
    สรุปแบบภาษาชาวบ้าน คือ "ความรู้สึกตัว"
    หรือบางทีเรียกสั้นๆ ว่า "รู้" หรือ "รู้สึก"
    ก็คือ เราระลึกรู้ หรือรับรู้ หรือรู้สึก
    ว่า ณ ขณะนี้ กำลังมีอาการอะไรเกิดขึ้นกับกายของเรา
    เช่น ขณะนี้ กำลังกินอาหารอยู่
    ก็ระลึกรู้ได้ว่า มีอวัยวะส่วนหนึ่งกำลังเคลื่อนไหวเพื่อตักอาหาร
    รู้สึกได้ว่า มีอวัยวะอีกส่วนหนึ่งก็กำลังขยับเพื่อเคี้ยวอาหาร
    หรือขณะนี้ กำลังเดินอยู่ หรือกำลังยกมือสร้างจังหวะ
    เราก็ "รู้สึก" ได้ว่า มีอาการอะไรกำลังเกิดขึ้นกับร่างกาย
    เช่น อวัยวะบางส่วนมีการเคลื่อนไหว มีการหยุด มีการกระทบสัมผัสต่างๆ เป็นต้น
    ...(มีต่อด้านล่าง)

    • @satipunya
      @satipunya  ปีที่แล้ว +3

      จะเห็นได้ว่า แค่คำว่า "รู้" กับ "รู้สึก"
      ก็ทำให้ "มือใหม่" อย่างเราสับสนได้
      ซึ่งเป็นเรื่องไม่แปลก ถ้า "มือใหม่" จะสับสนง่าย
      อย่าตำหนิตัวเองว่า เรื่องง่ายๆ แค่นี้ ทำไมไม่เข้าใจ!!
      อะไรง่ายๆ เราก็สับสนได้
      ก็เพราะเราเป็น "มือใหม่" ไงครับ
      เรายังไม่มีประสบการณ์มากพอ
      จึงไม่อยากให้ "มือใหม่" ท้อใจไปซะก่อน
      เพราะปัญหาเหล่านี้ หลายคนก็ต้องได้เจอ และก็ผ่านมันไปได้
      มีประโยคที่เคยได้รับรู้มา แล้วมันสะกิดใจให้ฉุกคิด
      ประมาณว่า "รู้สึกแบบซื่อๆ ...แบบที่เด็กอนุบาลก็ยังรู้สึกได้"
      ...ลองให้เด็กๆ ยกมือ ชูแขน กำมือ ... ฯลฯ
      เด็กๆ ก็ "รู้สึก" ได้ว่า ร่างกายมันมีการเคลื่อนไหว มีการกระทบ ฯลฯ
      เด็กๆ ก็แค่ "รู้สึก" ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
      ...เด็กๆ ไม่คิดวิเคราะห์ ไม่คิดอะไรซับซ้อนไปกว่านั้น!!
      มันเกิดอะไรขึ้นกับกาย ก็แค่รับรู้
      ก็แค่รู้สึก..ว่าร่างกายมีการเคลื่อนๆ ไหวๆ หยุดๆ กระทบสัมผัสต่างๆ
      หรือที่ครูอาจารย์เรียกว่า "รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ"
      คือ แค่ "รู้สึก" แล้วไม่ต้องไปคิดวิเคราะห์ ไม่ต้องไปปรุงแต่ง
      ไม่ต้องไปทำอะไรทั้งสิ้น แค่ "รู้สึก" แบบเบาๆ สบายๆ
      ------------------------
      เราไม่สามารถบังคับให้ "รู้สึก" ได้ตลอดเวลา
      ไม่สามารถบังคับให้ "รู้สึกชัดๆ" ทุกครั้ง
      มันก็จะ "รู้สึก" บ้าง..ไม่รู้สึกบ้าง
      หลงไปคิดเรื่องอื่นๆ หรือเผลอไปสนใจเรื่องอื่นๆ บ้าง
      เรียกได้ว่า มันจะรู้บ้าง หลงบ้าง เป็นเรื่องปกติ
      ไม่ต้องไปพยายามบังคับให้ "รู้สึกชัดๆ"
      หรือไม่ต้องไปบังคับให้ "รู้สึกตลอดเวลา"
      ไม่ต้องไปจดจ่อมากไป ไม่ต้องเพ่งจ้อง
      เราจะ "รู้สึก" ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง
      หรือ "รู้สึก"บ้าง หลงไปบ้าง
      ....ก็ช่างมัน!!
      หรือเมื่อ "รู้สึก" ถึงอาการของกายแล้ว
      แต่ใจมันไม่ "รู้สึกแบบซื่อๆ หรือรู้สึกแบบเฉยๆ"
      เพราะใจมันเผลอไปคิดปรุงแต่ง ไปคิดวิเคราะห์
      ...ก็ไม่เป็นไรครับ ไม่แปลกอะไร เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ครับ
      การที่จะ "รู้สึกแบบซื่อๆ หรือรู้สึกแบบเฉยๆ" ได้แบบ 100% นั้น
      ก็ต้องผ่านการฝึกฝนสติจนพัฒนามากพอสมควรถึงจะทำแบบนั้นได้
      ถ้าฝึกฝนแล้ว แต่ยังไม่ได้พัฒนามากพอ
      ผู้ฝึกฝนก็ยังไม่สามารถ "รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ" ได้ทุกครั้ง ได้ 100% หรอกครับ
      มันก็จะมีการ "รู้สึกแบบซื่อๆ" บ้างบางครั้ง
      ปะปนกับการ "รู้สึก" แล้วก็เผลอไปคิดปรุงแต่งบ้าง
      ...ก็ไม่เป็นไรครับ!!
      ก็ให้ผู้ฝึกฝน "รู้ทัน" ว่า ขณะนี้ ตัวเองกำลังเผลอไปคิดปรุงแต่งแล้ว
      แล้วก็ให้ทิ้งความคิดปรุงแต่งทันที!!
      แล้วพาใจกลับมา "รู้สึก" ที่อาการของกาย..แบบซื่อๆ เท่าที่จะทำได้
      นี่คือ "ความรู้สึกตัว" แบบคร่าวๆ แบบพื้นฐาน
      -------------------------
      ส่วน "ความรู้สึกตัว" แบบ "รู้ตัวทั่วพร้อม" นั้น
      มันเป็นขั้นที่ต้องฝึกฝนให้พัฒนามากพอสมควร
      ...ถึงจะ "รู้ตัวทั่วพร้อม" ได้
      แต่ถ้าเป็นผู้ฝึกใหม่
      ก็จะ "รู้สึก" แค่ส่วนที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหวหรือกระทบสัมผัสต่างๆ
      ...ซึ่งเป็นเรื่องไม่แปลก
      แค่อย่าไปจดจ่อเกินไป อย่าไปเพ่งจ้องส่วนใดของกายมากไป
      จะ "รู้สึก" ได้แค่ไหน ก็รับรู้ไปเท่าที่จะ "รู้สึก" ได้
      ....นี่เป็นขั้นเริ่มต้น
      เมื่อฝึกฝนจนพัฒนาไปเรื่อยๆ
      "ความรู้สึก" ก็จะแผ่ขยายกว้างขึ้น
      จนไปถึงขั้น "รู้ตัวทั่วพร้อม"
      --------------------------
      เรื่องเหล่านี้ ครูอาจารย์มีแนะนำไว้ในหลายคลิปครับ
      แต่ขอยกมา 2 คลิป ที่แนะนำเรื่องเหล่านี้ครับ
      ใครยังสงสัยเรื่องเหล่านี้อยู่ ลองค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ปฏิบัติตามดูนะครับ
      อ.กำพล ท่านพาปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน
      ขอส่งกำลังใจให้ผู้ฝึกฝนทุกท่านครับ
      [ดูคลิป]
      ใครยัง "รู้สึกตัว" ไม่เป็นบ้าง?" อ.กำพล พาปฏิบัติ
      th-cam.com/video/DTG2o3Xlw_o/w-d-xo.html
      ประยุกต์วิธีเจริญสติกับอิริยาบถอื่นๆ โดย อ.กำพล ทองบุญนุ่ม
      th-cam.com/video/DgpZCRSja1M/w-d-xo.html

    • @AnntyAnnty-nk9mo
      @AnntyAnnty-nk9mo 11 หลายเดือนก่อน

      อ.กำพลปฏิบัติกี่ปีจนถึงความว่าง อยากทราบเพื่อเป็นกำลังใจคะ

    • @satipunya
      @satipunya  11 หลายเดือนก่อน

      @@AnntyAnnty-nk9mo คำว่า "ความว่าง" นั้น เป็นคำที่ตีความหมายได้กว้างค่ะ
      แต่ถ้าอยากทราบเพื่อเป็นกำลังใจ เอาเป็นว่า ขอสรุปคร่าวๆ ว่า ...
      ผู้ฝึกฝนสติปัฏฐาน หากฝึกอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
      จะส่งผลให้เห็นได้ภายในไม่กี่วัน ไม่กี่สัปดาห์ หรือไม่กี่เดือน ฯลฯ
      ผู้ฝึกฝนก็จะเริ่มละวางความทุกข์ใจได้มากขึ้นตามลำดับ
      แต่จะช้าหรือเร็ว หรือจะละวางความทุกข์ใจได้มากในระดับไหน
      เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต่างๆ กันไปของแต่ละคนค่ะ
      สำหรับ อ.กำพล ท่านมีพูดถึงประสบการณ์ของท่านไว้ในหลายวาระ มีอยู่ในหลายแหล่งข้อมูลค่ะ
      ถ้าเป็นคลิป ก็มีอยู่หลายคลิปที่ท่านพูดถึงอยู่ค่ะ เช่น th-cam.com/video/0F9Uc8gt1gU/w-d-xo.html
      หรือ th-cam.com/video/vuOz-8bs3nY/w-d-xo.html เป็นต้น

    • @savitreeuparakul7888
      @savitreeuparakul7888 9 หลายเดือนก่อน +1

      ขอบคุณมากๆค่ะ

  • @user-vv6vx4ri8x
    @user-vv6vx4ri8x 2 หลายเดือนก่อน

    สาธุค่ะ

  • @czymember3749
    @czymember3749 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณคณะผู้จัดทํา มือใหม่หลวงพ่อเทียนครับ อนุโมทนา สาธุครับ

  • @Pae42419
    @Pae42419 11 หลายเดือนก่อน +1

    ผมขออนุญาตดาวน์โหลดไฟล์เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการฝึกปฏิบัตินะครับ ขออนุโมทนาบุญครับ

    • @satipunya
      @satipunya  11 หลายเดือนก่อน

      ด้วยความยินดีค่ะ ขอส่งกำลังใจให้ผู้ฝึกฝนทุกท่านค่ะ

  • @user-zs6ej2lx6u
    @user-zs6ej2lx6u 2 หลายเดือนก่อน

  • @rapheepan2646
    @rapheepan2646 ปีที่แล้ว +1

    น้อมกราบระลึกในเมตตาคำสอนเจ้าค่ะ 🙏🏻

  • @ammo142
    @ammo142 ปีที่แล้ว

    12 ม.ค. 66
    ฟังโดยความรู้สึกตัว สาธุ สาธุ สาธุ ครับ

  • @user-gp7wy3rl5s
    @user-gp7wy3rl5s ปีที่แล้ว +1

    สาธุครับ ขอบคุณมากๆครับ

  • @user-in1bb8wq6r
    @user-in1bb8wq6r ปีที่แล้ว

    ด้วยความเคารพทุกกระทู้_ขอแทรกคำว่า_รู้_นี่คือรู้ดุลพินิจ(แยกแยะเอาทางเลือก)_ทางรู้แห่งธรรมะนี้หนอ_จิตปัจจุบัน_เข้ามาพบใจกำลังนึกคิดอะไรหนอ_บวกหรือลบ_แม้บวกต้องบวกสายกลาง(ไม่กระทบใคร๑_ไม่เพิ่มความอยาก๑_หรืออวดๆอ้างๆไม่ทีในตน๑)_จึ่งเลือกตัดสินใจนึกคิดนั้นชะ(อิสานว่าคึดคักๆ)_แลการสำแดงการมีการเปนเช่นนี้_จักเปนไปด้วยสะทะถะ(วางคุดนอก)_พอจักเอาคึดมาตัดสินคือวิปัสนาดอก_ดังนี่_สะทะถะกะวิปัสนาต้องเจือสมไปด้วยกัน_จึงกำกับสติได้_น่านๆๆๆแลปัญหา_ตนจักทรงจริตเช่นนี้ทั้งวันดอก_เวันหลับจิตอัตโนมัติจะทำงานตามจิตคราวกลางวันระลึกๆๆบ่อยๆ_นี่แลหลับแล้วฝันด้วย(อิน)เกตุกลางวันมาต่อยอดด้วยจิตอัตโนมัตินั้นเอง_ที่กล่าวไม่อยากให้สรรพสิ่งเชื่อ_แต่ต้องฝึกจิตหยุด_นิ่งก่อนนึกคิด_น่าเปนเช่นนั้นหนอ_แลกระทู้ธรรม_ที่ว่า_รู้_คือรูนึกคิดตนในขณะๆนั้นเอง_สุดคูบา_ว่า_เห็นเฉยๆชะ_อย่านึกคิดต่อนะ_ดังนี้ระหว่างคำอ่านเห็นด้วย_ก็สู่วาง_สะทะถะ_เอาสติกำกับจึงงบวกวิปัสนา_อันปัญญาดุลพินิจนี้แลทางลือกที่เหมาะสม_ดอก_สาธุๆ_ท่านอาจารย์ที่ชี้แนะถํกต้องด้วยจริตคนรับฟังไม่เท่ากันนั่นเอง

  • @weerawat46014192
    @weerawat46014192 ปีที่แล้ว +1

    กราบสาธุ อาจารย์🙏🙏🙏

  • @user-cv5rb4ll1t
    @user-cv5rb4ll1t 4 หลายเดือนก่อน

    กราบสาธุค่ะ

  • @user-yp4pu8of8d
    @user-yp4pu8of8d 8 หลายเดือนก่อน

    กราบสาธุๆๆครับ

  • @toontoon764
    @toontoon764 3 หลายเดือนก่อน

    สาธุ…ครับ

  • @naiyanapantana9405
    @naiyanapantana9405 ปีที่แล้ว

    🙏กราบสาธุเจ้าค่ะ😇🌷🌷🌷

  • @pensrivo
    @pensrivo ปีที่แล้ว

    สาธุอนุโมทนาสาธุ

  • @nattakanpupobbun8840
    @nattakanpupobbun8840 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากค่ะ🙏

  • @user-hd9cz2bo4c
    @user-hd9cz2bo4c ปีที่แล้ว

    กราบสาธุๆๆค่ะ

  • @nawints7687
    @nawints7687 ปีที่แล้ว

    สาธุคับ

  • @satipunya
    @satipunya  ปีที่แล้ว +4

    สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจวิธีในการฝึกฝนเจริญสติ ขอแนะนำให้ดูคลิปใน [ส่วนที่ 1]
    th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f.html
    จะรวบรวมประเด็นที่ผู้ฝึกฝนควรรู้ โดยไล่ดูตามลำดับที่จัดเรียงไว้ ก็จะช่วยลำดับความเข้าใจให้ได้มากขึ้น
    หลวงพ่อเทียนใช้คำว่า "เห็นความคิด ดูความคิด หรือ เห็นจิต ดูจิต"
    ไม่ได้หมายถึง ให้เราเอาจิตใจไปเฝ้าจ้องว่า เมื่อไหร่จะเกิดความคิด
    เมื่อไหร่ใจจะเผลอคิด เผลอไปในอารมณ์ต่างๆ
    หรือ เมื่อเผลอคิดไปแล้ว ก็ไปตามดูความคิด ว่ามันคิดอะไร ไปหาสาเหตุ
    ไปหานิยาม ไปหาทางแก้ หรือหลงไปปรุงแต่งเป็นความรู้สึก/อารมณ์ต่างๆ
    เช่น ไปหงุดหงิด ไปยินดียินร้ายกับมัน ฯลฯ
    ..ไม่ใช่แบบนั้น!!
    แต่หลวงพ่อเทียนต้องการสื่อถึง "การเห็นความคิด หรือดูความคิด"
    โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด ไม่หลงไปตามความคิดหรืออารมณ์ ไม่ไปปรุงแต่งต่อเติม ฯลฯ
    เปรียบเหมือนเราเป็นคนดูมัน เห็นมันห่างๆ จากข้างนอก
    โดยเราไม่ได้เข้าไปคลุกวงในกับมัน ไม่เข้าไปพัวพันกับมัน
    วิธีฝึกฝน ก็เป็นวิธีฝึกเจริญสติ หรือฝึก "ความรู้สึกตัว" ที่ "มือใหม่" ได้ถูกย้ำเตือนบ่อยๆ
    คือ ฝึกให้มี "ความรู้สึกตัว" กับการเคลื่อนไหวร่างกายในทุกอิริยาบถ
    และ/หรือ ให้เจตนาสร้างการเคลื่อนไหวร่างกาย (สร้างจังหวะ)
    แล้วรู้สึกเบาๆ สบายๆ กับกายที่เคลื่อนไหว
    หรือจะเรียกว่า ให้จิตใจตั้งอยู่กับ "ความรู้สึกตัว" หรือการระลึกรู้ในอาการต่างๆ ของร่างกาย
    (เช่น กายมีการเคลื่อนไหว มีการหยุดนิ่ง มีการตึง/หย่อน มีการกระทบสัมผัสต่างๆ เป็นต้น)
    ...ไม่ใช่เอาจิตใจไปเฝ้าจ้องเพื่อจะเห็นหรือตามดูความคิด/อารมณ์ต่างๆ
    เมื่อ "รู้สึกตัว" ไปสักพัก จิตใจมันจะเผลอคิดขึ้นมาเองตามธรรมชาติของมัน
    สำหรับผู้ฝึกใหม่ กว่าจะรู้ตัว รู้ทัน หรือระลึกได้ว่า ตัวเองกำลังเผลอคิดอยู่
    ก็อาจจะเผลอคิดไปแล้วนานหลายนาที
    แต่เมื่อฝึกฝนมากๆ เข้า สติแข็งแรงขึ้น
    เราจะรู้ทัน "การเผลอคิด" ได้ไวขึ้น และบ่อยขึ้นเอง
    เมื่อฝึกจนชำนาญมากๆ อีกหน่อยพอเผลอคิดปุ๊บ เราก็รู้ทันปั๊บ!!
    เมื่อ "รู้ทัน-รู้ตัว-ระลึกขึ้นมาได้ว่าตัวเองกำลังเผลอคิด กำลังเผลอไปกับอารมณ์ต่างๆ"
    แล้วควรทำอย่างไรต่อไป?
    ก็ให้ทิ้งความคิด/อารมณ์ต่างๆ ทันที!!
    .. เมื่อใดที่รู้ตัวว่าเผลอคิดปุ๊บ ก็ให้ทิ้งความคิดไปทันที
    ไม่คิดต่อ ไม่ปรุงแต่งต่อเติม ไม่ไหลไปตามความคิด/อารมณ์ต่างๆ
    ไม่ต้องไปหาความหมาย ไม่ต้องไปหาสาเหตุใดๆ ทั้งสิ้น
    ..ให้ทิ้งความคิด/อารมณ์ต่างๆ ทันที!! ..แล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    คือการพาใจกลับมาตั้งไว้กับความรู้สึกตัวในการเคลื่อนไหวร่างกายเช่นเดิม!!
    เดี๋ยวสักพัก ใจก็อาจจะเผลอคิดไปอีก
    พอเรารู้ทันว่าใจมันเผลอไปอีก ก็ทิ้งความคิดทันทีแล้ว "กลับมารู้สึกตัว"
    ทำแบบนี้วนๆ ไปเช่นเดิม
    ฝีกแบบนี้ซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ จนเมื่อสติตั้งมั่น แข็งแรง ว่องไวมากขึ้น
    ก็จะพัฒนาไปสู่ "การเห็นความคิด โดยไม่หลงเข้าไปในความคิด"
    และจะพาไปสู่การปล่อยวางความคิด/อารมณ์ ได้มากขึ้น
    หรือเมื่อมีอะไรมากระทบกายและใจ ไม่ว่าจะ "เรื่องทุกข์หรือสุข"
    เราก็จะรับรู้สิ่งเหล่านั้นด้วยจิตใจที่เป็นปกติ เป็นกลางๆ
    ใจไม่ไหลจมดิ่งไปกับความทุกข์ และไม่หลงลอยไปกับความสุข
    คลายความยึดมั่นในเรื่องต่างๆ ได้มากขึ้น
    การปรุงแต่งฟุ้งซ่านจะน้อยลงเรื่อยๆ
    และทำให้ใจยอมรับในสัจธรรมของชีวิตได้มากขึ้น
    มีสติปัญญารับมือกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้ดีขึ้น
    ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันจะเป็นไปเองตามกลไกธรรมชาติ
    ขอเพียงแค่เพียรฝึกฝนอย่างถูกต้องและต่อเนื่องมากพอ
    เราสามารถหาโอกาสฝึกการเจริญสติ หรือ ฝึก "ความรู้สึกตัว"
    ให้ผสมผสานกับชีวิตประจำวัน ได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา
    คำแนะนำเพิ่มเติม
    - แนะนำการเจริญสติตามแนวทางหลวงพ่อเทียน โดย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล th-cam.com/video/GWwIGxicOMA/w-d-xo.html
    - หลวงพ่อเทียนสอบอารมณ์ th-cam.com/video/477997jEPdg/w-d-xo.html
    - วิธีเจริญสติง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน th-cam.com/video/qoK88FDoO_E/w-d-xo.html
    - หลักการง่ายๆ ภายใน 1 นาที.."กลับมารู้สึกตัว" th-cam.com/video/df0Nls10qX0/w-d-xo.html
    - ดูกายเห็นจิต ดูคิดเห็นธรรม th-cam.com/video/0F9Uc8gt1gU/w-d-xo.html
    - เห็นความคิด-อารมณ์ โดยไม่หลงเข้าไป "อิน" จะทำได้อย่างไร? th-cam.com/video/NwSKqJFaE6U/w-d-xo.html
    - ไฮไลท์ คือ เมื่อหลงไป แล้วกลับมาได้ th-cam.com/video/oGLkbmKypBg/w-d-xo.html
    - เจริญสติไม่ยาก แต่ที่ว่ายาก เพราะอยากได้ดั่งใจ th-cam.com/video/ocG1E6O-zGo/w-d-xo.html
    - สภาพเดิมของจิต คือ รู้ซื่อๆ รู้เฉยๆ th-cam.com/video/lVAhyfIoeGg/w-d-xo.html
    - วิธีง่ายๆ เพื่อดับทุกข์ใจ th-cam.com/video/yUyob1-DKlk/w-d-xo.html

    • @satipunya
      @satipunya  ปีที่แล้ว +3

      สำหรับผู้ที่สนใจฝึกฝนเจริญสติ (สติปัฏฐาน) ตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      1. การเริ่มต้นฝึกฝนในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      หากสะดวกหรือสนใจที่จะได้เรียนรู้โดยตรงกับครูอาจารย์ต่างๆ
      ก็ลอง search หาใน google ว่าสะดวกจะไปที่ไหน หรือลองดูจาก link นี้
      facebook.com/Sanamnai/photos/a.365802240102946.108142.361998700483300/1319466311403196/?type=3
      เป็นสถานที่ต่างๆ เพื่อการเรียนรู้ในแนวทางของหลวงพ่อเทียน
      2. หรือหากจะเริ่มต้นฝึกฝนโดยดูคลิปต่างๆ จาก channel "มือใหม่หลวงพ่อเทียน"
      ก็ให้เข้าไปที่ [ส่วนที่ 1] th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosp_X82mqKLaEx2g-cIyvh5f.html
      ซึ่งจะรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่มือใหม่ควรจะรู้
      เราพยายามจัดเรียงลำดับของคลิปไว้ตามหมายเลข
      เพื่อลำดับความเข้าใจให้มือใหม่ไม่สับสน ไล่ดูไปเรื่อยๆ ตามลำดับที่เรียงไว้
      ไม่เกินคลิปหมายเลข 7.8 หรือใกล้เคียงกันนั้น
      ก็จะเป็นการปูพื้นฐานจนเกือบครบถ้วนแล้ว
      ส่วนคลิปหลังจากนั้น ก็เป็นการขยายความบ้าง
      เป็นส่วนเสริมบ้าง หรือเป็นการตอกย้ำบ้าง
      เพราะฉะนั้น ไม่ได้หมายความว่า "มือใหม่"
      จะต้องดูคลิปใน [ส่วนที่ 1] จนหมดให้ครบถึงคลิปสุดท้าย
      แล้วจึงค่อยลงมือเริ่มฝึกฝน ไม่ใช่แบบนั้น!!
      คือ ดูไปเรื่อยๆ สัก 2-3 คลิป จนเริ่มรู้หลักการคร่าวๆ
      รู้วิธีฝึกคร่าวๆ แล้วก็เริ่มเอาวิธีการไปลงมือฝึกได้เลย
      แล้วพอว่างๆ ก็ค่อยๆ มาดูคลิปเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ
      เมื่อพอจะเริ่มเข้าใจวิธีฝึก ก็ให้ลงมือฝึกฝนบ่อยๆ
      หากมีข้อสงสัยอะไร ก็ทิ้งคำถามไว้ที่ใต้คลิปนั้น
      เราก็จะพยายามหาคำแนะนำของครูอาจารย์มาช่วยคลี่คลายให้
      3. หรือหากมีเวลาพอสมควร พอที่จะดูคอร์สการบรรยายที่ยาวหน่อยได้
      ก็อยากให้ดูการสอนกรรมฐานแบบเข้าใจง่ายใน [ส่วนที่ 2]
      th-cam.com/play/PL85WQjF_Yosrqwu1E23iCftSJobZU6sK8.html
      จะช่วยปูพื้นฐานอย่างละเอียด ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

  • @user-xq7ge9ix6z
    @user-xq7ge9ix6z 2 หลายเดือนก่อน

    สาธุค่ะ