3 รูปแบบการทำสมาธิทั่วโลก ที่พาสมองเข้าสู่ความสุขสงบ | Cognitive Science of Meditation

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 มิ.ย. 2024
  • การทำสมาธิจากทั่วโลกแตกต่างกันยังไง 🧘🏻‍♂️ ? แต่ละชนิดเปลี่ยนแปลงการทำงานของสมองยังไงบ้าง 🧠 ? พบกับคำตอบจากนักจิตวิทยาสมองกันได้ในคลิปนี้เลยครับ 😀
    📸 Videos
    ทำสมาธิได้ แม้ไม่มีเวลาหรือชอบคิดมาก ด้วยวิธีจากงานวิจัยสมอง • ทำสมาธิได้ แม้ไม่มีเวล...
    🕰️ Timestamps
    00:00 Intro
    00:32 การทำสมาธิประเภทที่ 1
    02:40 การทำสมาธิประเภทที่ 2
    04:41 การทำสมาธิประเภทที่ 3
    🔖 References & Resources
    Reconstructing and deconstructing the self: Cognitive mechanisms in meditation practice www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
    Decentering mediates the effect of ruminative and experiential self-focus on negative thinking in depression psycnet.apa.org/record/2014-0...
    Mindfulness training for smoking cessation: moderation of the relationship between craving and cigarette use pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23265...
    Self-schema dictionary.apa.org/self-schema
    Neural Mechanisms of Cognitive Reappraisal of Negative Self-Beliefs in Social Anxiety Disorder www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
    🥺 สนับสนุนและกำลังใจ - Like // Share // Comment // Subscribe
    ผม กิม (นพ. ทรงธรรม งดงามทวีสุข) แพทย์ทางด้านระบบประสาทและสมอง ผมต้องการจะแบ่งปันความรู้ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่น่าสนใจ เพื่อที่ทุกคนจะสามารถดูแลสุขภาพร่างกาย สมอง และจิตใจได้ดีขึ้นครับ 😊
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 13

  • @cocooblue3612
    @cocooblue3612 2 หลายเดือนก่อน

    เนื้อหาดีมากค่ะ

  • @user-ut2op3tx7g
    @user-ut2op3tx7g ปีที่แล้ว

    ขอบคุณคับ

  • @tenten5523
    @tenten5523 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณอาจารย์ที่เป็น spotlight ในการทำสมาธิครับ

    • @GimSongtam
      @GimSongtam  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ คุณ TenTen 😊

  • @lekmariaariyak2277
    @lekmariaariyak2277 8 หลายเดือนก่อน

    โฆษณาชวนมาดูคุณหมอไปหน้าเฟสบุคของแม่เล็กแล้วคะ

  • @jaroenpornchokboribal6712
    @jaroenpornchokboribal6712 ปีที่แล้ว

    เป็นเนื้อหาที่สนุก ฟังเพลินมากครับ คิดว่าคุณหมอน่าจะหารายละเอียดค่อนข้างหนักครับ เป็นกำลังใจในการทำคลิปดีๆครับ

    • @GimSongtam
      @GimSongtam  ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณมากๆครับ ครูหน่อง 🥹

  • @maccongky6240
    @maccongky6240 ปีที่แล้ว +1

    อยากให้พี่หมอทำคลิปอ่าน หนังสือ ยังไง ไม่ให้ง่วงนอนน่ะค่ะ ต้องทำงานขึ้นเวร ช บ ด ด้วย อ่าน นส สอบด้วย 🤣🤣

    • @GimSongtam
      @GimSongtam  ปีที่แล้ว +2

      เป็นคำถามที่น่าสนใจครับ คุณ MacCongKy ผมตอบไว้ก่อนแล้วกันครับ เพราะช่วงนี้ผมอาจจะทำคลิปช้าลงไปเยอะครับ 😅
      จริงๆแล้วมีหลายเทคนิคในการไม่ให้ง่วงนอนครับ ผมแบ่งเป็น ช่วงก่อน ช่วงอ่าน และช่วงหลังแล้วกันครับ
      ช่วงก่อน
      - หลักๆแล้วสามารถดูคคลิปนี้ได้ครับ th-cam.com/video/I2dCdybHkNA/w-d-xo.html ผมเล่าวิธีเอาไว้เยอะพอสมควร
      - แต่ที่ผมใช้ส่วนตัวคือ จัดเวลาที่สมองพร้อมที่สุด (ถ้าทำได้) ก่อนอ่านถ้าเหนื่อยไปจะทำ NSDR หรือนอนงีบสั้นๆ ถ้าตื่นเต้นมากไปจะนั่งสมาธิสั้นๆ 5-10 นาทีครับ
      ช่วงอ่าน ถ้ารู้สึกง่วง
      - ส่วนตัวผมใช้: การกำหนดเวลาอ่าน Pomodoro technique, การจดระหว่างอ่านไปด้วย, ยืนหรือเดินระหว่างอ่าน, ออกกำลังกายสั้นๆ 5-10 นาทีแล้วกลับมาอ่าน, ดื่มน้ำเยอะๆ
      - และถ้าทำข้างต้นแล้วยังง่วงเยอะ ผมก็จะไปนอนครับ 5555
      - ส่วนกาแฟ ผมดื่มบ้างในกรณีที่สถานการณ์ขับคันจริงๆครับ 😅
      ช่วงหลัง
      - หลักๆคือ เพื่อรักษาพลังงานสมองและโฟกัสให้มากที่สุด จะได้อ่านได้หลายรอบครับ
      - สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากๆ คือการเล่นมือถือ social media ครับ เพราะจะใช้พลังงานและโฟกัสเยอะเพิ่มขึ้น แทนที่จะกลายเป็นการพักสมอง
      - ส่วนตัวผมใช้ เวลา 5-10 นาทีในการเดินเล่นสบายๆ, ออกกำลังกายเบาๆ หรือนั่งสมาธิ(อันนี้แล้วแต่อารมณ์ครับ) แล้วจึงค่อยกลับมาอ่านอีกรอบ

    • @maccongky6240
      @maccongky6240 ปีที่แล้ว

      @@GimSongtamขอบคุณมากๆเลยค่า >o

  • @user-zd2yl2xe1k
    @user-zd2yl2xe1k ปีที่แล้ว

    อยากรู้วิธีการทำสมาธิแบบไม่แบ่แยกคะ

    • @user-zd2yl2xe1k
      @user-zd2yl2xe1k ปีที่แล้ว

      ตอนนี้กำลัึกสมาธิที่พี่เคยลอกคือใจลอยข้างในและใจลอยข้างนอกอยู่คะ

    • @GimSongtam
      @GimSongtam  ปีที่แล้ว +3

      ได้เลยครับ คุณขนิษฐา ผมขอสรุปใจความหลักๆไว้ประมาณนี้นะครับ
      การทำสมาธิแบบไม่แบ่งแยก (Non-dualistic meditation) จะเป็นการทำสมาธิเพื่อเข้าถึงใจความสำคัญ 2 ข้อครับ คือ
      1. การยอมรับทุกสิ่งอย่างที่มันเป็นในทุกขณะ (Accept anything that arises in the moment-to-moment)
      2. ภาพมายาของความคิดและตัวตน (Illusory of thought)
      โดยมีรายละเอียดดังนี้
      1. การฝึกเพื่อเข้าถึง "การยอมรับอย่างที่เป็นในทุกขณะ" จะเป็นการฝึกจดจ่อแบบที่รู้จักกันทั่วไปครับ เช่น จดจ่อที่ลมหายใจ เสียง การสัมผัส อารมณ์ อาจจะเริ่มจดจ่อทีละอย่างก่อน เฝ้ามองการมา-การไปของมันในทุกๆขณะอย่างผ่อนคลาย ยอมรับประสบการณ์ที่ได้รับมาอย่างที่มันเป็น
      ต่อมาจึงค่อยๆขยายการรับรู้ของเราให้กว้างมากขึ้นเรื่อยๆ ให้สามารถรับรู้ทั้ง ลมหายใจ เสียง การสัมผัส อารมณ์ ความคิดได้ทั้งหมดในทุกขณะปัจจุบัน เมื่อมีสิ่งไหนมาแวะเวียนเราก็รู้ตัวและเปิดยอมรับมันเข้ามา อย่างไม่ต่อต้านครับ (เหล่านี้ถือเป็นการฝึกจดจ่อภายใน-ภายนอกในคลิปก่อนหน้าของผมครับ)​
      2. การฝึกเพื่อเข้าถึง "ภาพมายาแห่งความคิด"​ จะเป็นการฝึกให้เราลองมองไปที่ตัวตนให้มากที่สุดครับ เมื่อเรามองเห็นอะไรก็ให้เรามองไปที่ตัวมองที่อยู่ข้างใน เมื่อเราคิดอะไรก็ให้เรามองตัวคิดที่อยู่ข้างในตัวเรา อย่างนี้เป็นต้นครับ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว หากเรามองลงไปลึกๆ ก็จะพบว่าไม่มีอะไรที่เป็นตัวตนอย่างแท้จริง เป็นเพียงช่องว่าง (space) ที่จะเชื่อมต่อกับทุกสิ่งทุกอย่างเป็นหนึ่งเดียวกันครับ
      บางอย่างผมอาจไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูดจริงๆ ต้องเป็นประสบการณ์ที่สัมผัสได้ด้วยตนเองครับ ถ้าคุณ​ขนิษฐาสนใจ สามารถเข้าใช้งานใน application นีไ้ด้ dynamic.wakingup.com/shareOpenAccess/SCBCE4999 (ใช้งานได้ฟรี ผมไม่ได้ค่า sponsor อะไรครับ 😅) เป็นการทำสมาธิแบบมีเสียงนำ ทำ 30 วันใน Introductory course ครับ ถ้าทำครบได้ ผมเชื่อว่าจะทำให้เข้าใจแก่นการทำสมาธิอย่างจริงจัง โดยไม่ต้องใช้เวลาหลายๆปีในการศึกษาเลยครับ 👍