SpinLaunch เครื่องขว้างดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 พ.ค. 2024
  • สนับสนุนเด็ดต้องโดนง่ายๆ
    - Subscribe: th-cam.com/users/DedTongDon?...
    - Like/ Comment
    - สมาชิกเด็ดต้องโดน: / dedtongdon
    เทคโนโลยีอวกาศมีความก้าวหน้าและแข่งขันกันสูงมาก เพื่อช่วยให้คุณสะดวกสบายเพิ่มขึ้นทุกวัน แล้ว SpinLaunch กำลังจะพลิกวงการจรวดขนส่ง ด้วยการขว้างดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศซึ่งถูกกว่าแทนได้ยังไง
    0:00 SpinLaunch เครื่องขว้างดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ
    0:13 ดาวเทียมสำคัญกับคุณแค่ไหน?
    0:48 การส่งดาวเทียมในปัจจุบัน
    1:41 ธุรกิจส่งดาวเทียม
    3:14 การส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ SpinLaunch
    5:58 ความก้าวหน้าและความท้าทาย SpinLaunch
    สรุป
    ดาวเทียมสำคัญกับคุณแค่ไหน?
    ดาวเทียมเป็นเรื่องใกล้ตัวมากกว่าที่คิด ชนิดที่คุณแทบขาดไม่ได้ เช่น
    ใช้นำทาง ด้วยระบบ GPS ดูหนัง ฟังเพลง รวมถึงมือและอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม ที่กำลังมาแรง เหมือนคลิปที่ผมเล่าให้ฟังด้านบน
    ซึ่งดาวเทียมในปัจจุบันล้ำหน้าขนาดที่ช่วยให้คุณมองเห็นพื้นโลกจากระยะไกลได้ด้วยความละเอียดถึง 20 ซม. ซึ่งชัดเวอร์ และมีความแม่นยำสูง แบบคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 ซม. คือเรียกได้ว่า ใครที่ควบคุมดาวเทียมได้ ก็สามารถควบคุมโลกได้เลย
    การส่งดาวเทียมในปัจจุบัน
    ปรกติแล้วการส่งดาวเทียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศวงโคจรต่ำ หรือ Low Earth Orbit (LEO) ซึ่งอยู่สูงเหนือพื้นดิน 200 -2,000 กม. นั้นจะใช้จรวดขนส่งซึ่งแบ่งออกเป็นหลายท่อน แล้วค่อยๆ แยกส่วนที่ใช้เชื้อเพลงจนหมดออกทีละส่วน เพื่อลดน้ำหนัก ในการไปต่อ เพราะการเดินทางแต่ละเที่ยวต้องใช้เชื้อเพลิงมหาศาล ทำให้ต้องบรรทุกเชื้อเพลิงซึ่งหนักมากกว่า 90% ของน้ำหนักจรวดทั้งหมด
    ธุรกิจส่งดาวเทียม
    เดิมการส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศใช้งบประมาณสูงมาก ทำให้มีเฉพาะรัฐบาลของชาติมหาอำนาจที่ทำได้ เช่น
    กระสวยอวกาศ Space Shuttle ของ NASA ซึ่งมีน้ำหนักรวม 2,030,000 kg สามารถบรรทุกได้ 27,500 kg มีค่าใช้จ่ายในการส่งดาวเทียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ LEO เที่ยวละ 45,000,000,000 บาท เฉลี่ยะสูงถึงกิโลกรัมละ 1,635,000 บาท
    แต่หลังจาก SpaceX บริษัทเอกชนของ Elon Musk ประสบความสำเร็จในการพัฒนาจรวดขนส่งที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ ทำให้ราคาส่งดาวเทียมลดลงอย่างมาก เช่น
    จรวด Falcon 9 ของ SpaceX ที่มีน้ำหนักรวม 549,000 กก. สามารถบรรทุกได้ 16,700 กก. มีราคาส่งดาวเทียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ LEO ครั้งละ 1,800,000,000 บาท ตกเฉลี่ยะกิโลกรัมละ 108,000 บาท ถูกกว่ากระสวยอวกาศของ NASA 15 เท่า
    ส่วนจรวดขนส่งของ SpinLaunch จะมีขนาดเล็กลงมาก ด้วยหนักเพียง 10,000 กก. บรรทุกได้ 200 กก. มีเป้าหมายที่จะเริ่มให้บริการส่งดาวเทียมขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ LEO ในปี 2025 เที่ยวละ 15,000,000 บาท ตกเฉลี่ยะกิโลกรัมละ 75,000 บาท ซึ่งทำให้ราคาเริ่มต้นขนส่งต่อเที่ยวถูกกว่า SpaceX ถึง 120 เท่า โดยมีราคาต่อกิโลกรัมถูกกว่า 30%
    การขว้างดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ SpinLaunch
    SpinLaunch เป็นบริษัท Startup ของ America ซึ่งก่อตั้งโดย Jonathan Yaney ตั้งแต่ปี 2014 เพื่อให้บริการขนส่งดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นสู่อวกาศแบบต้นทุนต่ำ
    ซึ่งสามารถระดมทุนไปแล้วมากกว่า 4,580,000,000 บาท จากบริษัทชื่อดังมากมาย เช่น Airbus Venture และ Google Venture
    SpinLaunch วางแผนที่จะขว้างดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศ โดยการพัฒนาเครื่องปล่อยดาวเทียมด้วยแรงเหวี่ยง ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนดังนี้
    1 ติดตั้งจรวด
    2 สร้างแรงจลน์มหาศาล
    3 จุดเชื้อเพลิงเพื่อบินต่อ
    ความก้าวหน้าและความท้าทาย SpinLaunch
    เดือน กันยาน ที่ผ่านมา 2022 SpinLaunch ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาเครื่องขว้างดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศระบบสูญญกาศ ซึ่งเป็นต้นแบบ ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 33 เมตร มีขนาดย่อส่วน 1 ใน 3 ของจริง โดยใช้จรวดยาว 3 เมตร ในการทดสอบส่งอุปกรณ์สำรวดขึ้นไปในระยะสูงแบบ Sub-orbital ให้กับ NASA และ บริษัท ต่างๆ ครั้งที่ 10
    ด้วยความเร็ว 1,600 กม./ชม. ได้ระดับความสูง 9.1 กิโลเมตร
    เพื่อพิสูจน์ความก้าวหน้าและความเป็นไปได้ของโครงการได้อย่างงดงาม
    แต่ SpinLaunch ยังต้องเผชิญกับข้อสงสัย และความท้าทายในการพัฒนาเครื่องข้างดาวเทียมของจริงอีกมาก เพราะเครื่องจริงจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ถึง 100 เมตร ซึ่งสูงพอๆ กับเทพีเสรีภาพ เช่น
    1 ความแข็งแรงของแขนกล
    2 ระบบสุญญกาศ
    ซึ่งยังมีความท้าทายอีกหลายเรื่องที่ SpinLaunch ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนนิตยสารชื่อดังอย่าง Time ได้จัดอันดับให้ SpinLaunch เป็น 1 ใน 100 Most Influential Companies ปี 2022 หรือบริษัทที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลก
    สรุปแล้ว
    แม้หลายคนจะไม่เชื่อว่า โครงการ SpinLaunch จะเป็นไปได้ แต่ผมก็ขอชื่นชมในความกล้าคิดต่าง กล้าทำของทีม SpinLaunch ที่เอาชนะคำดูถูก และฝ่าฟันปัญหาต่างๆ มาได้ไกลถึงทุกวันนี้ ผมไม่รู้หรอกว่ามันจะเป็นไปได้แค่ไหน แต่ผมก็เอาใจช่วยคนที่มุ่งมั่นลงมือทำและพัฒนาให้ตัวเองดีขึ้นทุกวันอย่างแท้จริง เพราะถ้าขนส่งถูกลงแล้ว ระบบดาวเทียมต้องพัฒนาไปได้อีกไกลและรวดเร็วแน่นอน
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น • 300

  • @JoHo2047
    @JoHo2047 ปีที่แล้ว +13

    ความรู้พื้นฐานฟิสิกส์ เอามาคิดทำในแบบที่นอกกรอบเดิม ๆ สุดยอดมากเลย

  • @BIRDoBIRB
    @BIRDoBIRB ปีที่แล้ว +3

    ขอให้ประสบความสำเร็จนะคับ เพราะถ้าไม่มันจะกลายเป็นอาวุธยิงจรวดข้ามทวีปแทนทันที นึกภาพถ้ามันไม่ประสบความสำเร็จ โดนตัดทุนทำต่อไม่ได้ มีมือมืดมองเห็นโอกาสอยากให้ทุนทำต่อ แต่ต้องทำเป็นอาวุธ ถึงประธานบริษัทจะไม่เห็นด้วยแต่ก็จะมีบางกลุ่มที่อยากทำตามฝันให้ได้ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆก็ตามอยู่เสมอ ก็เหมือนวิธีสร้างอาวุธนิวเคลีย ที่ทุกวันนี้มันกระจายไปทั่วโลกนั่นแหละ เงินมันซื้อได้ทุกอย่างอยู่แล้ว

  • @egch1yearago21
    @egch1yearago21 ปีที่แล้ว +32

    สนุกกันใหญ่เลยนะ สำหรับประเทศที่มีฐานะ ประชากรที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มี know how ด้านวิทยาศาสตร์วิศวกรรม เทคโนโลยีฯลฯ เห็นเค้าคิดโน่นนั่นนี่ออกมา หรือเครื่องไม้เครื่องมือที่เค้าใช้แล้วโคตรอิจฉาเลยครับ เมื่อไหร่น้อ ประเทศเราจะมีต้นแบบเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆออกมาให้โลกอิจฉากันบ้าง😂😂😂

    • @greenlight3735
      @greenlight3735 ปีที่แล้ว

      ยังพายเรืออยู่ในอ่าง ทะเลาะกันเรื่อง ม.112อยู่เลยคับ ต้องรอให้พวกนี้แก่ตายไปอีกสัก2-3รุ่นรวมถึงตัวเราเองด้วยประเทศอาจจะเปลี่ยนไป แต่ประเทศอื่นคงย้ายอนานิคมไปดวงจันทร์ละ555

    • @GorillazPiMp04
      @GorillazPiMp04 ปีที่แล้ว +8

      เมื่อเห็นเทคโนโลยีของต่างชาติ Oh my god !!! 😱😱😱
      เมื่อเห็นเทคโนโลยีของบ้านเรา WTF !!! 🥴🥴🥴

    • @egch1yearago21
      @egch1yearago21 ปีที่แล้ว +3

      @@greenlight3735 จริงครับ รัฐบาล รัฐมนตรี คนที่มีอำนาจมีแต่รุ่นเก่าๆ รุ่นที่หมดพลังไม่มีประสิทธิภาพอะไรแล้ว ส่วนผู้ที่มีความรู้ มีพลัง ต้องเก่งจริงต้องทำมันด้วยตัวเองจริงๆ😂😂

    • @egch1yearago21
      @egch1yearago21 ปีที่แล้ว +2

      @@GorillazPiMp04 5555 ครับ ในความคิดผมสิ่งที่เราเห็นเป็นแค่บางส่วน ส่วนที่ประสบความสำเร็จ หรือส่วนที่เค้าเปิดเผยให้เราได้รับรู้ ได้ครับ ส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคงยังมีอีกเยอะเลยครับ😊

    • @uptrend4160
      @uptrend4160 ปีที่แล้ว +6

      ผมเคยดูรายการมาครับ คนเก่งอยู่ถูกที่จะสามารถแสดงฝีมือได้ แต่ถ้าอยู่ผิดที่พูดให้ตายทำแค่ไหนก็ไม่มีใครสนใจ แถมว่าเราด้วยว่าเพ้อเจ้อ

  • @yokitojapaneseth691
    @yokitojapaneseth691 ปีที่แล้ว +7

    ฟังแล้วรู้สึกดีมาก ในความคิดต่าง คิดนอกกรอบ เพราะเราตอนกำลังมีงานที่จะส่งอาจารย์เป็น project ใหม่ในการส่งในวันจบการศึกษา แต่มันปัญหาอยู่ว่า คนอื่นเค้ามองเราในเรื่องการคิดนอกกรอบ แบบว่าจะคิดนอกกรอบทำไมเดี๋ยวจะไม่จบ ไม่มีงานส่งในวันจบการศึกษา
    จึงเราก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ถ้าไม่คิดนอกกรอบจะมีอะไรพัฒนา มันก็จะมีแต่อะไรเดิมๆ ไม่ได้พัฒนาขึ้น ทั้งคำดูถูก คำด่าจากคนรอบข้าง มันให้เรารู้สึกแย่ หมดความมั่นใจมาก
    แต่พอได้ดูคลิปนี้แล้ว มีกำลังใจมาก ขอบคุณนะ

  • @user-hp6pr6cf4h
    @user-hp6pr6cf4h ปีที่แล้ว +5

    ต่อไปอาจกลายเป็นฐานปล่อยขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก เพราะตรวจจับด้วยความร้อนไม่ได้ จนขึ้นวงโคจรที่เครื่องยนต์ขีปนาวุธจะติด

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      👍😁😁

    • @user-wm7he4iy3s
      @user-wm7he4iy3s ปีที่แล้ว +3

      เอิ่ม...แรงเสียดทานของวัตถุกับอากาศด้วยความเร็วเหนือเสียงทำให้เกิดความร้อนสูงครับ😒

    • @winchesternoah
      @winchesternoah ปีที่แล้ว

      พวกไฮเปอร์โซนิก ถึงตรวจเจอก็สกัดแถบไม่ได้อยู่แล้วครับ ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องนี้เลย

  • @lukine23
    @lukine23 ปีที่แล้ว +1

    เยี่ยมเลยต้นทุนต่ำลง ต่อไปไม่ต้องห่วงเรื่องควบรวมเครือข่ายแล้ว ถ้าผูกขาดกันแพงไป จะมีค่ายใหม่มาขอแบ่งเคกเอง

  • @SS11111
    @SS11111 ปีที่แล้ว +2

    ตลก หมุนๆๆๆติ๊วๆแบบนั้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออุปกรณ์ดาวเทียมพังก่อนพอดี เอาจริงๆทำไม่ได้จริง

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ภ้าทำไม่ได้ เค้าไม่ได้ทุนมาห้าพันล้านแล้วครับ 😁

  • @bankvisutkan
    @bankvisutkan ปีที่แล้ว +1

    ดีมาก ล้ำมาก และเป็นประโยชน์มากครับ
    ตัดภาพกลับมาที่ไทย....เยาวชนของชาติ อนาคตของชาติผู้นำปืนไทยประดิษฐ์ยังวิ่งไล่ตีกันวุ่นวาย

  • @vinaichin3379
    @vinaichin3379 ปีที่แล้ว +2

    โหดจัด ความคิดนี้ ขว้างดาวเทียม

  • @yankypion
    @yankypion ปีที่แล้ว +1

    เก่งมากครับใช้แรงเหวี่ยงในการปล่อยจรวด ลดต้นทุนมหาศาล ลดช่องว่างทางเทคโนโลยีได้ดีเลย

  • @ntpkmn445
    @ntpkmn445 4 หลายเดือนก่อน

    สูงจากพื้นโลกที่ดาวเทียบโคจรรอบโลกนี้ไม่เกิน500กิโลเมตรไม่ใช่หรอครับ ถ้าผิดพลาดขออภัยครับ

  • @Dark_Pencil
    @Dark_Pencil ปีที่แล้ว

    ชอบเสียงของพี่มากเลยครับ ฟังเพลินมากเลยครับ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณที่ชอบ และติดตามเป็นเพื่อนกันครับ 👍😁

  • @user-le3tis8si9f
    @user-le3tis8si9f ปีที่แล้ว +1

    เดี๋บวสุดท้ายก็เหมือนกระสวยอวกาศ ต้องเลิกแล้วกลับมาใช้จรวดแทนเพราะค่าซ่อมบำรุงแพงกว่า

  • @spacestory7196
    @spacestory7196 ปีที่แล้ว +34

    บริษัทนี้รอวันเจ๊งอย่างเดียวครับ เพราะอะไร? มาดูกัน
    .
    1. ต่อให้ทำสำเร็จ แต่มันก็ไม่มีประโยชน์ด้านขนส่งอวกาศเลยแม้แต่น้อย เพราะจรวดมีขนาดเล็กมาก จากคลิป 6:18 จรวดมีขนาดประมาณ 2 เมตร สำหรับเครื่องต้นแบบที่มีขนาด 1 ใน 3 ของตัวจริง คำนวณคร่าวๆ จรวดจริงก็น่าจะมีความยาวประมาณ 6 เมตรเท่านั้น แล้วภายในจรวดยังต้องมีเครื่องยนต์กับเชื้อเพลิงอีก แล้วจะเหลือพื้นที่ว่างให้ใส่ดาวเทียมได้อีกเท่าไรกันเชียว แล้วใครจะมาใช้บริการล่ะ?
    .
    2. ผมแอบสงสัยนะว่า เจ้าของช่องเอาไปเปรียบเทียบกับจรวด Falcon9 ของ SpaceX แต่ทำไมไม่เปรียบเทียบกับยาน Starship บ้างละ? ทั้งคู่อยู่ในช่วงพัฒนาด้วยกัน และยาน Starship น่าจะพัฒนาเสร็จก่อนด้วยซ้ำ
    ถ้าคุณเอาข้อมูลนั้นมาโชว์นะ รับรองทุกคนเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่าบริษัทนี้รอวันเจ๊งแน่นอน เพราะอะไรนะเหรอ...
    SpinLaunch ค่าส่งประมาณ 75,000 บาท/กก.
    Spacex StarShip ค่าส่งประมาณ... 350 บาท/กก. (หรือ 10USD/Kg) ถูกกว่า Spin Launch 214 เท่า แถมขนาดของดาวเทียมก็ไม่ได้ถูกจำกัดเอาไว้เหมือนของ Spin Launch ด้วย
    คุณก็ลองถามตัวเองดูว่า ถ้าเป็นคุณคุณจะเลือกใช้บริการของใคร?
    .
    3. จะมีบริษัทดาวเทียมบริษัทไหนบ้าง ที่จะยอมเสียเงินออกแบบดาวเทียมตัวเองให้รับแรงด้านข้างได้ถึง 10,000G จากสายไฟเส้นเล็กๆ เส้นเดียวที่หนัก 1 กรัม มันจะกลายเป็น 10 กิโลกรัมเลยนะ
    ยังไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องความคุ้มค่าหรอก ถามก่อนว่าจะมีใครทำได้ไหม?
    .
    4. เทคโนโลยีของ Spin Launch มันสวนทางกลับความต้องการของตลาด คือ เทคโนโลยีนี้มันขยายขนาดให้มากกว่านี้ไม่ได้อีกแล้ว เพราะถ้าจะทำให้เครื่องใหญ่กว่านี้ หมุนได้เร็วกว่านี้ ก็ต้องใช้วัสดุที่แข็งแรงกว่านี้ ซึ่งมันไม่มีวัสดุแบบนั้นอยู่อีกแล้ว ดังนั้นมันจึงตันอยู่แค่นี้ และทำให้แค่ลดขนาดลงเท่านั้น แต่ความต้องการของตลาดคือ ต้องการส่งสิ่งของได้ใหญ่ขึ้น หนักขึ้น มากขึ้น เพราะใครๆ ก็อยากออกไป Deep Space มากขึ้น
    .
    ดังนั้นมันไม่เกี่ยวกับว่าเทคโนโลยีนี้จะทำได้จริงหรือไม่ เพราะต่อให้มันทำได้จริง ผมก็มองไม่เห็นช่องทางที่มันจะเติบโตได้เลย

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +2

      ความสนุกของเทคโนโลยีคือ ต้องติดตามกันต่อ ครับ 👍😁

    • @user-by7uv8ed4p
      @user-by7uv8ed4p ปีที่แล้ว +1

      อันนี้จริงครับ ขนาดของมันเล็กเกินไป ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่านี้อีกมาก เเต่ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทางเลือกที่จะขนส่งสิ่งของขนาดเล็กครับ อย่างมันคือสิ่งใหม่ๆ เเต่มันมองไม่ออกจริงๆครับว่ามันจะเพิ่มน่ำหนักขนาด หลาย10ตันได้ยังไง

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      @@user-by7uv8ed4p เราต้องรอติดตามชม การพัฒนาของเค้ากันต่อครับ 👍😁

    • @tejumroen1
      @tejumroen1 ปีที่แล้ว +14

      100ปีก่อน ถ้าเราไปพูดให้ผู้คนฟังว่าสามารถพูดคุยกันได้แม้จะอยู่ห่างกันคนละที่ ไม่มีใครที่จะบอกว่าเป็นไปได้ เคสนี้ก็ประมาณนั้น บางอย่างที่ฝรั่งเขาทำมันเกินจินตนาการของเราแต่ก็เป็นไปได้มาเท่าไหร่แล้ว

    • @vincentvalentine2198
      @vincentvalentine2198 ปีที่แล้ว +2

      ลองดูไม่เสียหาย การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการลงมือทำ

  • @kawin9
    @kawin9 10 หลายเดือนก่อน

    มันสุดยอดมากก

  • @mahiyoga4871
    @mahiyoga4871 ปีที่แล้ว

    ข้างดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้ก็สามารถขว้างขีปนาวุธขึ้นสู่อวกาศได้เช่นกัน สามารถพัฒนาใช้เป็นยุทโธปกรณ์อาวุธทางทหารได้ นี่เป็นจุดที่คนส่วนใหญ่นึกไม่ถึง

  • @shortcut289
    @shortcut289 ปีที่แล้ว +2

    ดัดแปลงแรงเหวี่ยง เพื่อกะระยะขว้าง กับ มุมก้มเงย หาวิถีตก อีกหน่อย ใช้ขว้างมิสซายใส่กันแทนได้ ระบบตรวจจับความร้อน หาไม่เจอด้วย ไม่รู้ตัวอะไรบินมา เห็นอีกที ตูม 😅

    • @ntpkmn445
      @ntpkmn445 4 หลายเดือนก่อน

      เพื่อ?

    • @ntpkmn445
      @ntpkmn445 4 หลายเดือนก่อน

      ไม่มีชาติที่หัวสมองล้ำแบบนี้ เขามาตายน้ำตื้นเพราะอะไรลอยอยู่หรอกครับ เลอะเทอะ เราเห็นแต่การนำเสนอบางส่วนของโครงการแค่นั่นเอง บุคคลระดับนี้ เขาคำนวณมาหมดครบจบแล้วจึงจัดตั้งโครงการขึ้นมา

  • @user-br8kg9rp9m
    @user-br8kg9rp9m ปีที่แล้ว

    แล้วระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็เป็นชิปไมโครชิพทำให้น้ำหนักเบา ไม่เหมือนสมัยก่อนชิ้นส่วนอยู่สนิทมีน้ำหนักมากต้องใช้พลังงานเชื้อเพลิงผลักดันถึงจะขึ้นสู่วงโคจรได้

  • @utaga318
    @utaga318 ปีที่แล้ว

    ดาวเทียมที่ออกแบบเพื่อใช้ยิงแบบนี้ต้องวิเคราะห์การออกแบบที่ทนต่อการเหวี่ยงที่รอบสูงมากๆขนาดนี้ด้วยไม่งั้นอุปกรณ์ภายในหรือแบตเตอรี่จะเกิดแรงหนีศูนย์ทำอุปกรณ์หลายตัวเสียหาย หรืออาจจะเหมาะกับการขนส่งอื่นๆที่ไม่ใช่ดาวเทียม

  • @user-cl6nv7eq2n
    @user-cl6nv7eq2n ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากครับ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ด้วยความยินดีครับ 👍😁

  • @tjbmlon6414
    @tjbmlon6414 ปีที่แล้ว

    ผมแต่ต้นทุน โค็ก15บา กับยา 20บาท ส่วนใบ เอาที่สวน ใข่ทุนแค่ 35บาท บวกค่าน้ำเเข็ง 5บาท

  • @user-pw1uo6xg4z
    @user-pw1uo6xg4z ปีที่แล้ว

    แจ่มๆ

  • @multi-spaceitube
    @multi-spaceitube ปีที่แล้ว +1

    อีกไม่นานคงสำเร็จ ปัญหาต่างๆคงได้รับการแก้ไข ส่วนจะส่งอะไรนอกจากดาวเทียมก็น่าจะเป็นวัสดุ หรืออะไรที่แข็งแรงเพื่อใช้ในสถานีอวกาศก็เป็นได้ พัฒนาต่อไป

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ความสนุกของเรื่องเทคโนโลยี คือการได้ติดตามการพัฒนาของพวกเค้านี่แหล่ะครับ 👍😁

    • @user-ys9kp1xx6t
      @user-ys9kp1xx6t ปีที่แล้ว

      สำเร็จนานแล้ว แต่กำลังพัฒนาอันใหญ่ๆอยู่ ยังส่งได้แค่ obj ขนาดไม่ใหญ่มาก

  • @user-jr1cb7po6e
    @user-jr1cb7po6e ปีที่แล้ว

    อยากเห็นใช้พลังแม่เหล็กขั้ว+และขั้ว-เป็นเเรงผลักจรวดบ้างจังครับอาจจะใช้แม่เหล็กที่มีเเรงดูดสูงๆและต้องใช้ขนาดใหญ่มากๆหรือmagnetเพื่อให่เกิดเเรงพลักมาหาสารเกิดขึ้นนะครับหน้าจะเป็นแนวคิดที่ดีนะครับประหยัดพลังงานได้อีกครับเพราะมอเตอร์ที่มีรอบสูงๆก็อาศัยแม่เหล็กช่วยในการพลักทุ่นนะครับ

  • @admin_XD
    @admin_XD ปีที่แล้ว

    ว้าวสุดยอด😮

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      ผมก็ว่าเจ๋งดีครับ 👍😁😁

  • @kokito939
    @kokito939 ปีที่แล้ว +1

    ยอดเยี่ยม

  • @user-xv3yy2jf5l
    @user-xv3yy2jf5l ปีที่แล้ว

    ฝันต่อไป...ทุกวันนี้ยิงจรวจครั้งเดียววางดาวเทียมขนาดเล็กได้เกือบร้อยแล้วท่าน..ถ้าเขาอ่อนขนาดนั้นจรวจคงไม่มีประโยชณ์แล้ว.ขนาดอินเดียส่งที30+ดวงลองคูณดีคุมไหมกับมือขว้าง

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ตลาดมีความต้องการต่างกันครับ ไม่งั้น บ. ใหญ่อย่าง Boing และ Google เค้าคงไม่กล้ามาร่วมทุนด้วยหลายพันล้านครับ 👍😁😁

  • @appleja8697
    @appleja8697 ปีที่แล้ว

    ความเป็นจริงคงใช้งานไม่ได้ดี เพราะแรงเหวี่ยงยังไงก็ไม่พอจะทำให้วัตถุลอยขึ้นสูงได้เกิน10Km สู้คิดทำลิฟปลายด้วนดีกว่า

  • @teegeefone7654
    @teegeefone7654 ปีที่แล้ว +3

    ไม่มีอะไรเป็นไปไม่ได้ ภายใต้จักรวาลนี้ครับ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      👍😁

    • @user-dw7lo7ns6w
      @user-dw7lo7ns6w ปีที่แล้ว

      อยากรู้จริงคนคิดสัญญาณโทรศัพท์พูดคุยระยะไกลได้เขาเป็นคนยังไง โลกนี้ปืดความรับหลายๆอย่าง

  • @Luangphol
    @Luangphol ปีที่แล้ว +1

    เคยเห็นไอเดียนี้ตั้งแต่เด็กๆ อีกแบบคือการใช้ยิงด้วยรางแม่เหล็กไฟฟ้า คล้ายๆ rail gun ก็เคยคิดว่าทำไมไม่มีใครลองดูจริงๆ ซะที

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ใช่เลยครับ ผมเห็นในสารคดีหลายสิบปีก่อนเค้าเคยพัฒนายิงด้วยปืนมาก่อน 👍😁😁

    • @poow6283
      @poow6283 ปีที่แล้ว

      ผมว่าคล้ายกับอันนี้ล่ะนะ ใช้พลังงานจลเหมือนกัน แต่ขนาดหมุนเอา ยังต้องหมุนเป็นชั่วโมงเลย ถ้าเป็น rail gun อุโมงค์น่าจะต้องยาวแบบสุดๆๆ เลยล่ะ

  • @tanakronplatinums
    @tanakronplatinums ปีที่แล้ว

    เห็นในคลิปตกใจ จรวดนาซ่าน้ำหนัก 2 พันล้านกิโล 555+ โอเคร อ่านจริงแค่ 2 ล้านกิโลครับ
    / อยากทราบลิ้งที่มาข้อมูลด้วยได้ไหมครับ ถ้ามี อยากรุ้ว่าอ้างอิงต้นทุนงบประมาณจากแหล่งไหนบ้างครับ

  • @kayduy6512
    @kayduy6512 ปีที่แล้ว +1

    สุดยอด เคยคิดเเบบนี้เหมือนกันว่าทำไมเขาไม่ใช้เเรงเหวี่ยง

  • @InThailand-ne5sl
    @InThailand-ne5sl ปีที่แล้ว

    ทำดีกว่า ไม่ทำอะไรเลย ..พัฒนาต่อไปครับ มนุษย์โลก..

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      จริงครับ 555👍😁

  • @user-ty6xj9tx8o
    @user-ty6xj9tx8o ปีที่แล้ว +2

    ใช้ได้สำหรับ ดาวเทียม ไร้คนนั่งเท่านั้น แต่ไม่สามารถใช้กับ ที่มีคนนั่งอยู่ในยาน ไม่ได้ แต่ก็ดีเป็นการปฎิวัติครั้งใหญ่ เลยแหละ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      ใช่เลยครับ คุณเทียนวรรณ 👍😁

    • @user-tp2gm3qy9l
      @user-tp2gm3qy9l ปีที่แล้ว +1

      ถ้าจะนั่งได้ หมุนซ่ะขนาดนั้น อื้อ...ไม่ยากจะคิด

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      @@user-tp2gm3qy9l มีแรงดึงดูดถึง 10,000 G คนรับไม่ไหวครับ 👍😁

    • @spacestory7196
      @spacestory7196 ปีที่แล้ว +1

      เอ่อ....
      1. ไม่มีใครนั่งบนดาวเทียม
      2. เส้นผ่านศูนย์กลางของจรวดน่าจะกว้างประมาณ 30-50 ซม. เท่านั้น แม้แต่เด็กยังเข้าไปไม่ได้เลยครับ
      3. ต่อให้เป็นดาวเทียมก็พังครับ น้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 หมื่นเท่า ต่อให้เป็นเหล็กยังงอเลย ดาวเทียมคงไม่เหลือ

    • @user-ty6xj9tx8o
      @user-ty6xj9tx8o ปีที่แล้ว +2

      @@spacestory7196 ผมไม่ได้หมายถึง ดาวเทียม นั่งได้ แต่ผมหมายถึง ยาน สำหรับคนนั่ง ครับ อ่านยังไง งง???

  • @HARDCORE2029
    @HARDCORE2029 ปีที่แล้ว

    ค่าไฟไทยหน่วยละ 4.5บาท
    ค่าไฟที่อเมริกา 3.3บาท
    แต่ค่าเงิน1ดอลล่า=35บาท
    หากค่าไฟไทยเรามีราคาถูกเท่าอเมริกา เราจะได้จ่ายค่าไฟในราคาไม่เกินหน่วยละ 11สตางค์เท่านั้น

  • @user-ij5rq6tt4v
    @user-ij5rq6tt4v ปีที่แล้ว

    ต่อไปการขนส่ง
    แบบขว้างใส่กัน
    จะเกิดขึ้นแน่

  • @aswinmods
    @aswinmods ปีที่แล้ว +1

    เดี๋ยวผมจะใช้บริการด้วย อีกไม่นาน จะทำตามสัญญา

  • @ptai7808
    @ptai7808 ปีที่แล้ว +1

    ใช้ปืนแม่เหล็กไฟฟ้าส่งดีกว่าไหม

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ผมก็ไม่รู้ว่าแบบไหนจะส่งได้ไกลกว่า และส่งได้น้ำหนักมากกว่ากันครับ 👍😁

  • @kittikajorns1811
    @kittikajorns1811 ปีที่แล้ว +2

    10,000 G แปลว่า ของที่จะส่งก็ต้องรับแรง 10,000 G ถ้าของ 1 kg จะ กลาย เป็น 10 ตัน จรวด หรือ ดาวเทียมที่จะส่งวงจรภายในไม่แตกสลายกลายเป็นผุยผงไปก่อนหรือ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ลองเค้าไปดูในเว็บของเค้ามีการทดสอบแล้วครับ 👍😁

  • @nitiphonkhamenkid6435
    @nitiphonkhamenkid6435 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าเป็นศูนย์ญากาศ ข้างในจะไม่มีน้ำหนักเหมือนนอกอวกาศใช่ไหมในขณะที่เหวี่ยง แรงgข้างในจะมีไหม

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      แม้อยู่ในห้องที่เกือบจะเป็นสูญกาศ แต่ด้วยความเร็วที่เค้าต้องใช้ ทำให้มีแรง G มากถึง 10,000 G เลยครับ 👍😁

  • @oot007ful
    @oot007ful ปีที่แล้ว +1

    ช่วยขว้างผมไปทีครับ ผมไม่อยากอยู่โลกใบนี้ มันวุ่นวายเหลือเกิน

  • @pbigp6250
    @pbigp6250 ปีที่แล้ว

    ใช้แบบการยิงธนูได้ไหมครับ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      แบบธนูน่าจะได้แรงน้อยกว่าแบบนี้ครับ 👍😁

  • @namentorn
    @namentorn ปีที่แล้ว +1

    ถ้าเพิ่มปีกเข้าไปช่วยพยุงแล้วให้เป็นแนว45องศา จะช่วยมั้ย

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      ไม่ลอง ไม่รู้ครับ 👍😁

  • @koksang5258
    @koksang5258 ปีที่แล้ว

    หมวกกดีนน้อคขายดีแน่

  • @piyapongchaikam540
    @piyapongchaikam540 ปีที่แล้ว +1

    ดีตรงที่คิดเป็น บาท กิโล ดีกว่าหลายช่องชอบทำหัวสูง คิดเป็น เหรียญ ปอน ไมล์ ต้องมานั่งคำนวณอีกที

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณที่ชอบครับ 👍😁

  • @user-ct5dq2uc3k
    @user-ct5dq2uc3k ปีที่แล้ว +1

    ต้องสร้างเเรงเหวี่ยงให้ได้เร็วกว่ากระสุนปืน

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ตอนนี้ต้นแบบที่เค้าสร้างก็เร็วกว่าแล้วครับ 👍😁😁

  • @ittiyodninninnin8916
    @ittiyodninninnin8916 ปีที่แล้ว

    นาทีที่ 1.56 จรวด Space Shuttle มีน้ำหนัก สองพันสามสิบล้านกิโลกรัม ไม่ใช่ สองล้านสามหมื่่น นั้นมันคือตันไม่ใช่กิโลกรัม

  • @user-kd1fr1bw5g
    @user-kd1fr1bw5g ปีที่แล้ว +1

    maglev catapult ดีดส่งแล้วค่อยเปิด boost กลางอากาศ

  • @towtirasak5032
    @towtirasak5032 ปีที่แล้ว

    ใช่ครับคิดหาเหตุผลถึงความเป็นไปได้อย่างเดียวไม่ได้ทำให้อะไรดีๆและเทคโนโลยี่ใหม่ๆเกิดขึ้นได้ คิดแล้วลงมือทำแล้วค่อยๆเปลี่ยนเแปลงปรับปรุงไปเรื่อยๆทุกอย่างมีผลสำเร็จทั้งนั้นมันจะมากหรือน้อยเท่านั้นเอง

    • @spacestory7196
      @spacestory7196 ปีที่แล้ว

      นักวิทยาศาสตร์กับนักธุรกิจมันต่างกันนะ

  • @TerSuttipong
    @TerSuttipong ปีที่แล้ว

    อยากเป็นซุปเปอร์แมน จะรับจ้างส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร

  • @kkkthailinnd1750
    @kkkthailinnd1750 ปีที่แล้ว

    สร้างท่อสูนยากาศความสูง3กิโลเมตร พลักวัตถุด้วยพลังแม่เหล็ก จะได้ความเร็วสูงมากพุงออกไปนอกโลก

  • @polychromasia8355
    @polychromasia8355 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าจะขนดาวเทียมที่มีน้ำหนัก 14000 ก็ต้องขนแยกส่วนส่งไป 70 รอบสินะ ถ้าจะไปประกอบก็ต้องพึ่งนักบินอวกาศที่ทางนี้ก็ส่งไปไม่ได้ ถึงจะถูกกว่า 750 ล้านบาทก็เถอะ
    ไหนจะแรงG ที่เกิดจากแรงเหวี่ยงที่จะส่งผลต่ออุปกรณ์ภายในกระสวยอีก

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ของเค้าเป็นดาวเทียมขนาดเล็ก ที่น้ำหนักน้อยกกว่า 200 กก. ซึ่งตลาดมีความต้องการเยอะอยู่แล้วครับ 👍😁

    • @the-river-
      @the-river- ปีที่แล้ว

      พังให้200กก.ก็พัง ทำยังกะเคาะขี้หมูกแล้วเอานิ้วดีดทิ้ง...

  • @user-ss6vv2eo2o
    @user-ss6vv2eo2o ปีที่แล้ว

    คมชัดมากกกจับ ufoไม่ชัดสักที

  • @user-lo7eb4je8b
    @user-lo7eb4je8b ปีที่แล้ว

    แล้วดาวเทียมอะไรละหนักสองร้อยกิโล
    แบบเก่าถ้าไม่หนักมากก็จ่ายน้อยลงสิ
    เอามาเทียบกันไม่ได้ เอาน้ำหนักสูงสุดมาเทียบกับน้ำหนักสองร้อยได้ไง

  • @centerXDg
    @centerXDg ปีที่แล้ว

    สัญญาณจากโทรศัพท์เราใช้เสาสัญญาณดาวเทียมหรือสายไฟ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ตอนนี้ยังจากเสาสัญญาณไปที่ต่างๆ เค้าใช้สาย Fiber optic เป็นหลักครับ 👍😁

  • @puylogin6100
    @puylogin6100 ปีที่แล้ว

    การจะทำดาวเทียมให้ทนขนาดนั้นยากมาก
    จริงๆเขาจะทำโยนกระสุนปืนใหญ่นี่แหละ แต่อ้างโยนดาวเทียม ผมเดาเอา

  • @user-uc2cr3ji4m
    @user-uc2cr3ji4m ปีที่แล้ว +1

    พัฒนาเฟสถัดไปต้องกว้าง200เมตรบรรทุกมวลจรวด20ขึ้นไปหรือเปลี่ยนเป็นแบบรางแม่เหล็กไฟฟ้าเหวี่ยงแทน

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      แค่ที่เค้ากำลังทำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 100 เมตร นี่ก็ไม่หมูแล้วนะครับ 👍😁😁

    • @spacestory7196
      @spacestory7196 ปีที่แล้ว +1

      เทคโนโยลีด้านวัสดุยังไปไม่ถึงครับ พูดง่ายๆ ก็คือ ไม่สามารถสร้างแขนที่ทนทานขนาดนั้นได้ แค่ 100 เมตรก็เต็มกลืนแล้ว
      ส่วนเรื่องรางแม่เหล็ก ไม่ใช่ว่าไม่มีคนคิดนะ มีคนคำนวณดูแล้วครับ ถ้าหากจะใช้เป็นรางส่งแบบในการ์ตูน GUNDAM จะต้องใช้รางยาวประมาณ 500 กิโลเมตร แค่เห็นตัวเลขนี้ทุกคนก็เลิกคิดจะสร้างต่อละ

    • @user-uc2cr3ji4m
      @user-uc2cr3ji4m ปีที่แล้ว

      @@spacestory7196 ใช้ลิฟท์อวกาศขนส่งได้มากกว่าลวดโพลีร์เอทิลีนคาร์บอนกราฟีนใช้ได้เฟสแรก6,000กม.ขนาด0.2พอเฟสสอง36,000กม.ขยายขนาด1.00

  • @user-gc6zp5sh8t
    @user-gc6zp5sh8t ปีที่แล้ว

    มันจะเกิดปัญหาขยะอวกาศมั้ยครับ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      แน่นอนครับ แต่ก็มีวิธีกำจัดครับ 👍😁

  • @variantz4871
    @variantz4871 ปีที่แล้ว

    ที่อยากเห็นสุดคือลิฟท์วงโคจรแอดว่าอีกร้อยปีจะทำได้ไหมครับ?

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      น่าจะยากเหมือนกันครับ 👍😁

  • @content593
    @content593 ปีที่แล้ว +1

    ยังเป็นเรื่องยากอยู่ สู้กันไป

  • @Analogue70
    @Analogue70 ปีที่แล้ว

    ด้วยความแม่ย ขว้างไปสอยเครื่องบินพอดิบพอดี

  • @vincentvalentine2198
    @vincentvalentine2198 ปีที่แล้ว

    ถ้าเกิดผิดพลาดเหวี่ยงผิดองศาไม่อยากจะคิดภาพเลย

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ใช่เลยครับ 👍😁

    • @johnekk1560
      @johnekk1560 ปีที่แล้ว

      ไม่กล้าคิด เราถึงต้องตามเทคฯเค้าตลอด

  • @chumpornphimmatephimmate7300
    @chumpornphimmatephimmate7300 ปีที่แล้ว

    แขนมันจะทนแรงดึงอันมหาสาร อันเกิดจากการหมุนด้วยความเร็วได้รึ ขณะที่หมุนด้วยความเร็วจะเกิดแรงเหวี่ยงหนีศูญกลางอย่างมหาสารแขนอาจจะขาดกระเด็นออกมาก็ได้

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      เค้าให้ข้อมูลว่าได้ แต่เราต้องรอติดตามดูต่อครับ 👍😁😁

    • @user-tp2gm3qy9l
      @user-tp2gm3qy9l ปีที่แล้ว

      ไม่ได้เขาจะทำรึ

    • @user-tp2gm3qy9l
      @user-tp2gm3qy9l ปีที่แล้ว

      @@DedTongDon แล้วคลิปที่เขาปล่อยมา ใช่คลิปที่เขาทดลองจริงหรือเปล่า ผมเคยดูต้นฉบับ หรือแค่ พรีเซ็น

    • @johnekk1560
      @johnekk1560 ปีที่แล้ว

      ตามจริงตัดเรื่องแขนออกไป...สร้างหลอดสูญกาศ45องศาแบบรถไฟฟ้าแม่เหล็กหมุนให้ได้รอบแล้วเปิดช่องนำส่ง...อีกแบบก็ใช้แบบรางแม่เหล็กขนาดยักษนำส่งกระส่วย.

  • @4.094
    @4.094 ปีที่แล้ว +1

    ทำลิฟต์อวกาศแบบกันดัม 00 ที่ญี่ปุ่นคิดสร้างครับ วัสดุต้องยืดหยุ่น เวลาขนส่ง 7 วัน ขึ้นไปตามรถไฟแนวตั้ง ขนส่งได้ประหยัดกว่าไหมนะแฮ่ๆ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      👍😁

    • @bunruang03
      @bunruang03 ปีที่แล้ว +1

      โดยจินตนาการผมชอบไอเดียนี้ ในตูนน์มังงะ มักจะมีสิ่งปลูกสร้างที่เชื่อมต่อพื้นโลก กับ นอกโลก(สะพาน หรือลิฟต์ แนวนี้) แต่ตอนหมุนไปเจอพายุ คงดูไม่จืด แต่ถ้าตั้งที่ขั้วโลก น่าคิดนะ ผมแอบสงสัยมหาอำนาจไปตั้งศูนย์วิจัยอะไรกันบ้างนะที่ขั้วโลก

    • @kuuhaku3503
      @kuuhaku3503 ปีที่แล้ว

      แต่มันต้องสร้างตามแนวเส้นศูนย์สูตร

    • @kaokai9904
      @kaokai9904 ปีที่แล้ว

      คิดได้ไง มันเปนไปไม่ได้ยุแล้ว

    • @4.094
      @4.094 ปีที่แล้ว

      @@kaokai9904 เมื่อก่อนก็มีคนบอกว่าทำชิป 3nm เป็นไปไม่ได้เหมือนกันครับ ถ้ามีความเป็นไปได้ก็ย่อมเป็นไปได้เช่นกัน

  • @nonstop8E8
    @nonstop8E8 ปีที่แล้ว

    ส่งนาย ก. ไปได้ไกลไหมครับ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      😁😁

    • @natchan1150
      @natchan1150 ปีที่แล้ว +1

      ส่งไปได้ถึงดาวอังคารเลย 🤣

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      @@natchan1150 555 👍😁

    • @ccmobile116
      @ccmobile116 ปีที่แล้ว

      อีปูโง่กะไอ่โทนี่นะรึ

  • @chansaktods5562
    @chansaktods5562 ปีที่แล้ว +1

    สุดยอดความคิด!
    แต่ ทำไมค้องมีแต่อเมริกา?

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ประเทศอื่นก็มีครับ😁😁

    • @johnekk1560
      @johnekk1560 ปีที่แล้ว

      ดีมานซ ซัปพาย.

  • @Nu_lalali
    @Nu_lalali ปีที่แล้ว

    โทรศัพท์​ที่ไม่มีสาย เป็นไปไม่ได้ตอนนี้🤣

  • @ericlucas5536
    @ericlucas5536 ปีที่แล้ว

    เหวี่ยงซะขนาดนั้น ดาวเทียมคงเละก่อนขึ้นอวกาศ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      เค้าทดสอบไปแล้วครับว่าน่าจะได้ 👍😁

    • @AmNatsu
      @AmNatsu ปีที่แล้ว

      รู้ดีกว่านักวิจัย RND อีกครับเก่งๆ

  • @user-xg8ke9se8t
    @user-xg8ke9se8t ปีที่แล้ว +1

    เอามาทำอาวุธยิงโพรเจกไทล์แน่นวล

  • @user-ki5ws1ql1j
    @user-ki5ws1ql1j ปีที่แล้ว +4

    ทำไหมเขาไม่สร้างตึกสูงๆแทนอะ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      เค้าคงคำนวนมาแล้วครับว่าแบบไหนน่าจะมีความเสี่ยงน้อยสุด และต้นทุนต่ำสุดครับ 👍😁😁

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +2

      ตัวเครื่องยิงต้นแบบอันนี้ สูง 33 เมตร ก็ใช้แรงเหวี่ยงขว้างได้สูง 9.1 กม. แล้วครับ 👍😁

    • @ratatouille9932
      @ratatouille9932 ปีที่แล้ว +2

      เป็นไปไม่ได้ครับสร้างตึกเป็นหลายสิบกิโล ถ้าทำฐานลองยึดก็ต้องกว้าง แค่ไหนเชียว

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      @@ratatouille9932 ต้องติดตามต่อครับ 👍😁

    • @spacestory7196
      @spacestory7196 ปีที่แล้ว

      สร้างไม่ได้ครับ เนื่องจากไม่มีวัสดุที่แข็งแรงขนาดนั้น

  • @bee6144
    @bee6144 ปีที่แล้ว

    พลังงานจนประเทศเราก็มีเยอะครับ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      คนละจนครับ ตึ่งโป๊ะ 555 👍😁😁

  • @dramaaddict869
    @dramaaddict869 ปีที่แล้ว +1

    ยังต้องพัฒนาอีกนานครับ ตอนนี้ตัวต้นแบบยังพัฒนาได้ไม่ถึงครึ่งของเป้าหมายที่วางไว้

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ต้องคอยติดตามช่วยลุ้นกันต่อครับ 👍😁😁

  • @NongMoo
    @NongMoo ปีที่แล้ว

    มีระบบ เหวี่ยง ต้องมีคนคิดระบบสปริง แน่ๆ

  • @huaweihuawei7659
    @huaweihuawei7659 ปีที่แล้ว +1

    ดาวเทียม​ผมเคยใช้สมัยก่อนไม่รู้ทุกวันนี้ยังมีขายอยู่หรือเปล่า​ อยากหาไว้ใช้สักคู่555

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ตึ่งโป๊ะ 555👍😁

  • @user-ft2to4kh7s
    @user-ft2to4kh7s ปีที่แล้ว +1

    เอามาโยนกระสุนปืนใหญ่

  • @user-gy6ji9ku8n
    @user-gy6ji9ku8n ปีที่แล้ว

    อีลอนมัสเก่งกว่านาซ่าหรอคิดดุ

  • @user-nd6xw2gu1q
    @user-nd6xw2gu1q ปีที่แล้ว +1

    ผมเชื่อว่าใด้

  • @user-op4ls7yi3p
    @user-op4ls7yi3p ปีที่แล้ว

    น้ำหนักของ Space shuttle 2.03ล้านตัน ใช่หรอครับ?
    หน่วยผิดไปเยอะเลยนะ โหลๆ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      ผมดูมาจาก Wikipedia ครับ 👍😁

  • @garnetbluemuchmore3532
    @garnetbluemuchmore3532 ปีที่แล้ว

    เราจะมีขยะอวกาศเพิ่มอีกเยอะเลย

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ใช่ครับ 😁

  • @booms.4812
    @booms.4812 ปีที่แล้ว

    คิดว่าถึงต้นทุนจะถูกลงแต่ราคาค่าให้บริการโทรคมนาคมของไทยไม่ลดลงตามอย่างแน่นอน เพราะผูกขาด
    ส่วนเรื่องทางเทคนิคผมยังสงสัยว่าอุปกรณ์ดาวเทียวจะไม่เสียหายเหรอ หมุนเร็วขนาดนั้น

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      ดาวเทียมต้องเพิ่มความแข็งแรงด้วยครับ 👍😁

  • @lelouchvbritannia9485
    @lelouchvbritannia9485 ปีที่แล้ว

    ถ้าในจรวจมีคนอยู่ด้วย คงอ้วกพุ่งทั้งลำ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      คนรับแรงเหวี่ยงขนาดนี้ไม่ไหวครับ 👍😁

    • @spacestory7196
      @spacestory7196 ปีที่แล้ว

      ไม่ใช่แค่อ๊วกพุ่งหรอก แต่เล๊ะยังกับโยนเต้าหู้ลงในเครื่องปั่นเลยแหละ

    • @rfhrgh
      @rfhrgh ปีที่แล้ว

      ไม่ต้องถ้าหรอก เขาไม่ทำอยู่แล้ว คุณก็รู้นิว่าจรวดเล็กนิดเดียวเอง

  • @thanaphonnxb8570
    @thanaphonnxb8570 ปีที่แล้ว

    ทำได้ แบบ ออกตัวด้วยความเร็วแล้วค่อยบูต ประหยัดไปแย่

  • @veerasakphusrithong1148
    @veerasakphusrithong1148 ปีที่แล้ว

    น่าจะมีปัญหาตอนแรงเหวี่ยงนี่แหล่ะ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      ตอนเหวี่ยง แล้วเกิดแรง 10,000 G นี่ผมก็ยังจินตนาการไม่ออกเลยจริงๆ ครับ 👍😁

    • @veerasakphusrithong1148
      @veerasakphusrithong1148 ปีที่แล้ว

      @@DedTongDon ใช่ครับ ยิ่งน้ำหนักมากแรงเหวี่ยงก็ยิ่งมาก ยิ่งแขนยาวขึ้นแรงเหวี่ยงก็เพิ่มมาอีก ยิ่งต้องใช้กำลังไฟฟ้ามากขึ้นตามน้ำหนัก เป็นไปตามกฎฟิสิกส์ สรุปแล้วก็ใช้จรวดส่งน่าจะดีกว่าแล้วไปพัฒนาการใช้เชื้อเพลิง เหมือน space X

    • @user-qq3wu2bm9u
      @user-qq3wu2bm9u ปีที่แล้ว +1

      @@DedTongDon 10,000g จริงดิ ถ้าเอามนุษย์ขึ้นเครื่องนี้ร่างแหลกแน่นอน

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      @@user-qq3wu2bm9u ส่งได้แต่ของ คนขึ้นไม่ได้ครับ 👍😁

    • @johnekk1560
      @johnekk1560 ปีที่แล้ว

      ใช้รางแม่เหล็กในโดมสูญกาศแบบรถไต่ถัง45องศานำส่ง อิ...ส่วนเฟสต่อไปนำส่งได้หลายพันเที่ยวบินขึ้นไปประกอบสถานีนำส่งนอกโลกขนาดยักษน่าจะดี

  • @infinityshirt9986
    @infinityshirt9986 ปีที่แล้ว

    ไม่ทันจีนหรอก กว่าจะพัฒนาใช้ได้จริง จีนไปใช้พลังงานแม่เหล็กละ แปปเดียวดาวเทียมคงล้นท้องฟ้า

  • @LUCKY-dd2zl
    @LUCKY-dd2zl ปีที่แล้ว +1

    เสียงอจ นี่เกินหน้าตามาก

  • @user-sc2qf7od3l
    @user-sc2qf7od3l ปีที่แล้ว +2

    ต้นแบบมาแล้วใช้งานได้อีกหน่อยต้องทำขนาดใหญ่ เพื่อส่งวัตถุชิ้นที่ใหญ่ขึ้นในการขึ้นสู่อวกาศ เทคโนโลยีไม่มีคำว่าหยุด เพราะมนุษย์เราไม่ได้หยิบคิดพี่จะพัฒนา ประเทศที่ประชาธิปไตยย่อมได้เปรียบในความคิด โดยมีองค์กรต่างๆหนุนและภาครัฐ ในการพัฒนาไร้ขีดจำกัด ส่วนไทยเราพัฒนาได้ช้าเพราะสั่งแต่สินค้าจากต่างชาติ ไม่ได้คิดที่จะสร้าง ประดิษฐ์ คนไทยเราใช่ว่าจะไม่เก่งแต่ถูกปิดกั้น ห้ามต่างๆ และทุนที่จะหนุนน้อยหรืออาจจะไม่มีเลย ต้องสร้างเอง อย่างว่ามีกู้ ล้นประเทศอย่าได้หวังกับภาครัฐ งบประมาณกองทัพมีมากมายแต่เหมือนไม่มี ซื้อนู่นนี่นั่นหน่อยก็หมดแล้ว😄😄😆

  • @user-ph8zc9rg4y
    @user-ph8zc9rg4y ปีที่แล้ว

    ยืมมาเหวี่ยงลุงตู่ดิ

  • @user-tp2gm3qy9l
    @user-tp2gm3qy9l ปีที่แล้ว +22

    สู้คนไทยอย่างผมไม่ได้หรอก ใช้ทุนต่ำมาก กาวแค่กระป๋อง เดียว ทัวร์ได้ทั่วกาแลคซี่

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      😁😁😅

    • @pirawitchatuprayura238
      @pirawitchatuprayura238 ปีที่แล้ว +1

      อันนี้ก็จริงนะ 😂😂😂😂😂

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      @@pirawitchatuprayura238 👍😁😅

    • @korokoro9996
      @korokoro9996 ปีที่แล้ว

      แต่ฝรั่งดมมาก่อนไทยอีกนะ

    • @user-tp2gm3qy9l
      @user-tp2gm3qy9l ปีที่แล้ว +1

      @@korokoro9996 แต่ฝรั่งไม่เคยทัวร์กาแลคซี่ไง
      ไทยสามารถ เอาดวงจันทร์กลับบ้านได้🤣

  • @user-cq3lj4qb6w
    @user-cq3lj4qb6w ปีที่แล้ว

    ตอ่ไปจะใด้มีขยะอวกาศมากขึ้น

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      น่าจะเยอะเลยครับ 👍😁😁

  • @janjouyousok1596
    @janjouyousok1596 ปีที่แล้ว +1

    ดาวเทียม..ต้องแข็งแรง..มาก..ไม่งั้นพังตั้งแต่.พันจี..

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      หมื่นจี เลยครับ 👍😁

  • @user-vy1ly7ul2q
    @user-vy1ly7ul2q ปีที่แล้ว

    ทำตัวหนังสือสีขาวให้อ่าน?

  • @user-yf4um6bw6i
    @user-yf4um6bw6i ปีที่แล้ว

    ในอนาคตน่าจะพัฒนาแบบเครื่องยิงหนังสติ๊กได้น่ะครับ

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      น่าจะลำบากเหมือนกันครับ 👍😁

  • @user-qc8bw8js3s
    @user-qc8bw8js3s ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลที่ให้ความรู้ใหม่มากมาย

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว +1

      ด้วยความยินดีครับ 👍😁

  • @kaittisakjarudsri1956
    @kaittisakjarudsri1956 ปีที่แล้ว +2

    ต่อไป น่าจะใช้ ระบบ แม่เหล็ก ดึ๋งเดียว ออกนอก โลก ไปเลย

  • @user-gj5fi1sf7j
    @user-gj5fi1sf7j ปีที่แล้ว

    ใช้การยิงจากแรงดันจากลมก็น่าจะได้​

    • @DedTongDon
      @DedTongDon  ปีที่แล้ว

      👍😁

    • @johnekk1560
      @johnekk1560 ปีที่แล้ว

      พลังงานแม่เหล็กก็ตามตูดเมกา งัย

  • @korokoro9996
    @korokoro9996 ปีที่แล้ว

    ที่อเมริกาค่าไฟ3บาท ที่ไทย5บาท

  • @swaiys3202
    @swaiys3202 ปีที่แล้ว +1

    เทคโนโลยีก้าวหน้านั้นดี​ เพียงแต่อย่านำไปใช้ในเชิงเพื่อการทำลายล้าง​ เถิด

  • @user-tf8dd9ie6d
    @user-tf8dd9ie6d ปีที่แล้ว

    สักพักก็จะโดนจีน copy 🤣🤣🤣

  • @tommypaget2294
    @tommypaget2294 ปีที่แล้ว

    คงด้องหมุนเร็วๆๆๆแรงๆๆๆๆกว่าจะขึ้นไปนอกโลกได้???……ดาวเทียมคงต้องเจอกี่ จี (G-FORCE)…..เครื่องภายในดาวเทียมคงพังหมดซะก่อนละมั่ง???!!….แบบนี้เหวี่ยงแค่ก้อนหินขึ้นไปในอวกาศได้อะ!!!…..5555

  • @dogodheaven985
    @dogodheaven985 ปีที่แล้ว

    อ่านเม้นมีแต่พวกนักวิชาการ 555 น่าตลกชิบหาย