วิเคราะห์เคส คุณไผ่ พงศธร ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด ลง ICU เป็นได้อย่างไร

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 เม.ย. 2024
  • สามารถไปอ่านงานเขียนเกี่ยวกับ Hypercoagulable state ได้ที่นี่ครับ
    www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/arti...
    สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

ความคิดเห็น • 386

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai 14 วันที่ผ่านมา +30

    วิเคราะห์เคส คุณไผ่ พงศธร ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด ลง ICU เป็นได้อย่างไร #pulmonaryembolism
    สวัสดีครับ
    ผมก็ได้เห็นข่าวของคุณไผ่ พงศธร นะครับ ที่มีอาการเหนื่อยหอบแล้วก็ไปตรวจพบว่ามีลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด วันนี้ผมก็เลยอยากจะเอาเรื่องนี้มาเล่าให้เราฟังนะครับว่ามันเป็นโรคอะไรกันแน่ เป็นได้ยังไง ใครที่มีความเสี่ยงบ้าง รักษาแบบไหนและวิธีในการป้องกันไม่ให้มันเป็นอีกทำยังไงบ้าง รวมทั้งโอกาสที่จะมาเป็นซ้ำหรือมีภาวะแทรกซ้อนมันมีอะไรได้บ้างนะครับ
    พบกับผมนะครับ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤตบำบัดนะครับ
    โรคนี้เราจะเรียกภาษาทางการแพทย์ว่า Pulmonary Embolism: PE นะครับ สาเหตุเกิดจากการที่มีลิ่มเลือดในระบบหลอดเลือดดำแล้วมันวิ่งเข้าไปที่หัวใจจากนั้นก็ถูกบีบจากหัวใจออกไปอุดตันที่เส้นเลือดที่ไปที่ปอดนะครับ
    ขออธิบายนิดนึงว่าหัวใจของเรามันมีด้านซ้ายแล้วก็ด้านขวานะครับด้านซ้ายมันจะบีบเลือดแดงที่มีออกซิเจนไปเลี้ยงตามร่างกาย ด้านขวามันจะมีหน้าที่รับเลือดจากอวัยวะต่างๆของร่างกายซึ่งถูกใช้ออกซิเจนไปแล้วหรือเลือดดำนะครับกลับเข้ามาที่ตัวเองแล้วก็บีบไปที่ปอดเพื่อที่จะเอาออกซิเจนจากปอดไปเติมมัน ทีนี้ถ้ามีลิ่มเลือดวิ่งมาจากเส้นเลือดดำในร่างกายเข้าไปที่หัวใจแล้วมันก็โดนบีบออกไปตรงเส้นเลือดที่ปอดมันก็เกิดการอุดตันได้ เส้นเลือดเส้นนี้เราจะเรียกว่า Pulmonary Artery ซึ่งเป็นเส้นเลือดที่เป็น Artery อันเดียวในร่างกายเลยที่มันมีเลือดดำอยู่นะครับอันนี้เป็นเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆนะครับ คือ Artery ส่วนใหญ่จะเป็นเลือดแดงยกเว้นเส้นเลือด Pulmonary Artery ที่มันเป็นเลือดดำนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 14 วันที่ผ่านมา +2

      1️⃣
      และถ้าลิ่มเลือดอุดตันจะเกิดอะไรขึ้น?
      ➡️ถ้ามันอุดตันไม่มากคนไข้ก็จะมีอาการเหนื่อยเฉยๆนะครับ เหนื่อยอาจจะไม่มากก็ได้บางทีอาจจะใช้เวลาเป็นวันหรือบางคนเป็นอาทิตย์กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นนะครับ แต่ถ้าก้อนเลือดมันใหญ่มากๆมันอุดสนิทเลยหัวใจห้องข้างขวามันจะวายไปเลยนะครับ คนไข้ก็อาจจะหมดสติเดี๋ยวนั้นเลยก็ได้ ส่วนบางคนก็อาจจะมีอาการกลางๆก็คือหายใจแล้วมันเจ็บ ไอแล้วมันมีเลือดปน และมันเหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆนะครับ ดังนั้นคนไหนก็แล้วแต่ที่มีอาการเหนื่อยที่หาสาเหตุไม่ได้เหนื่อยกว่าปกติรีบไปตรวจเลยดีกว่าครับจะได้รักษาได้ทันท่วงทีเพราะถ้ามันอันตรายแบบเป็นเยอะๆแล้วบางทีถึงแก่ชีวิตได้เลยนะครับ อัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณสัก 30% ถ้าเกิดคุณไม่รักษามันนะครับ แล้วไม่ใช่แค่เสียชีวิตอย่างเดียวนะครับถ้าเราไม่รักษาในอนาคตก็มีโอกาสที่จะเกิดปัญหาต่างๆตามมาได้เยอะแยะไปหมดนะครับ
      เวลาไปหาหมอเขาจะดูอะไรบ้างว่าเราเป็นหรือไม่เป็นนะครับ?
      ➡️ก่อนอื่นต้องตรวจประวัติดูร่างกายก่อนว่าออกซิเจนมันตกไหม หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติหรือเปล่า ความดันเราดีไหมนะครับ พวกนี้ก็จะเป็นส่วนที่หมอเขาจะดูนะครับ แล้วจะตรวจยืนยันก็คือจะต้องทำการตรวจหลักๆคือการทำ CT Scan โดยการฉีดสีเข้าไปที่เส้นเลือดนะครับเพราะว่าสีพวกนี้จะวิ่งไปตรงเส้นเลือดที่ปอดแล้วก็ทำให้เราเห็นได้ว่ามีลิ่มเลือดอุดตันหรือเปล่านะครับ ถ้าไม่ทำวิธีนี้ก็มีวิธีอื่นเช่นกันการทำ Ventilation Perfusion Scan ซึ่งก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราใช้ตรวจได้ในคนที่ไม่สามารถให้สารทึบรังสีได้นะครับ แต่ถ้าเราใช้วิธีนี้ไม่ได้มันเร่งด่วนมากเราอาจจะทำการตรวจอัลตร้าซาวด์หรือที่เราเรียกว่า Echo หัวใจนะครับมันก็จะสามารถบอกได้ว่าเรามีลิ่มเลือดที่ขนาดใหญ่ๆอุดตันอยู่ตรงไหนหรือเปล่านะครับ แต่ถ้าเป็นลิ่มเลือดเล็กๆการทำ Echo หัวใจอาจจะบอกไม่ได้นะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 14 วันที่ผ่านมา +3

      2️⃣
      สมมุติว่าถ้าเราเป็นแล้วเรายังไงต่อ?
      ➡️หมอเขาจะเจาะเลือดประเมินความเสี่ยงต่างๆ เช่น เขาอาจจะเจาะดูค่า BNP NT-proBNP หรือ Troponin อะไรพวกนี้นะครับ พวกนั้นถ้ามันสูงมากๆก็แปลว่าเราเป็นคนที่มีความเสี่ยงสูงนะครับ แต่ถ้ามันต่ำก็ไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่หมอเขาจะตรวจเองนะครับเอาไว้ประเมิน แล้วก็มีการตรวจเลือดทั่วไปดูซิว่ามันมีอะไรที่เราจำเป็นจะต้องรักษาร่วมไปด้วยโดยเฉพาะการที่เราขาดน้ำหรือเปล่าเพราะว่าถ้าเราขาดน้ำโรคมันจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นนะครับ ที่เหลือคือหมอหลายคนมักจะลืมตรงนี้แต่ผมเจอมาหลายครั้งแล้วผมก็จำได้จนปัจจุบันนี้ว่าตอนนั้นก่อนคุณจะเริ่มการรักษาให้เจาะเลือดเก็บไว้นิดนึง เจาะเลือดไว้นิดนึงเพราะมันจะมีประโยชน์ในการหาสาเหตุในภายหลังครับ ถ้าเราไม่เจาะเก็บไว้บางทีเราไม่ทราบสาเหตุครับกว่าจะรู้ต้องรอจนคุณรักษาไปแล้ว และก็ต้องไปหยุดยาและก็ไปเจาะเลือดตอนนั้นซึ่งช้าเกินไป ถ้าให้ดีเจาะเลือดเผื่อไว้เพราะว่าเอาไว้ใช้หาสาเหตุ แล้วเดี๋ยวผมจะบอกว่ามันมีสาเหตุอะไรอย่างอื่นที่คุณจำเป็นจะต้องตรวจนะครับ
      วินิจฉัยแล้วอย่างไรต่อ เราจะรักษายังไงนะครับ?
      ➡️การรักษาแบ่งเป็น 2 แบบ
      🌀แบบแรกก็คือถ้าเกิดคุณมีอาการหนักมากเช่นความดันตกหรือเรามาด้วยอาการหน้ามืดไม่รู้ตัวอยู่ๆก็วูบไป พวกนี้ถือว่าอาการรุนแรงหรือถ้าเกิดคนที่มีหัวใจห้องข้างขวามันวายไปเลยอันนี้ถือว่ารุนแรงนะครับ ถ้าพวกรุนแรงเราต้องพิจารณาดูซิว่าเราสามารถให้ยาเข้าไปสลายลิ่มเลือดได้หรือเปล่านะครับ ถ้าให้ได้เราให้ แต่ก็จะมีบางคนที่ให้ไม่ได้ เช่น เราเพิ่งผ่าตัดมา เรามีภาวะเลือดออกง่าย เราเกล็ดเลือดต่ำเพราะว่าพวกนี้ถ้าให้ไปมันสลายลิ่มเลือดมันก็ทำให้เลือดออกได้มากขึ้นด้วยเหมือนกันในกรณีพวกนั้นเราจะให้ยาสลายลิ่มเลือดไม่ได้ ซึ่งถ้าแบบนั้นเราก็ต้องไปเลือกวิธีที่ 2 หรือที่ 3 ซึ่งก็คือการผ่าตัดไปเอาลิ่มเลือดออกหรือการใส่สายสวนเข้าเส้นเลือดแล้วก็ไปทำลายพวกลิ่มเลือดที่อุดตันตามที่ต่างๆแล้วดูดออกไปทิ้งนะครับ อันนี้ก็แล้วแต่คุณหมอเขาประเมินว่าของเราเหมาะกับวิธีไหนมากที่สุด

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 14 วันที่ผ่านมา +3

      3️⃣
      🌀แต่ถ้าเกิดว่าอาการไม่รุนแรงเหมือนกรณีของคุณไผ่ พงศธร ที่ผมเห็นว่าแกโพสต์รูปดูไม่ได้อาการหนักมากนะครับ อาจจะเป็นคนที่ความดันก็ปกติดีนะครับ ออกซิเจนระดับดับปกตินะครับก็สามารถที่จะเลือกให้ยากลุ่มที่เราเรียกว่า Heparin (เฮพาริน) หรืออีกกลุ่มนึงก็คือ Low-molecular-weight heparinได้นะครับ 2 ตัวนี้มีความแตกต่างกันก็คือ Heparin มันต้องให้ทางเส้นเลือดดำแล้วก็ให้แบบ Drip คือให้ตลอดเวลานะครับแต่ถ้าเกิดเป็น Low-molecular-weight heparin นะครับหรือยกตัวอย่างเช่นใช้พวก Enoxaparin หรือตัวอื่นเช่น Fondaparinux พวกนี้มันฉีดเข้าตรงบริเวณที่มีไขมันที่หน้าท้องหรือว่าตรงขาก็ได้นะครับ อันนี้ฉีดวันละครั้งสองครั้งแล้วแต่น้ำหนักตัวนะครับเราไม่จำเป็นต้องใช้แบบเข้าเส้นเลือดตลอดเวลาก็ได้มีวิธีเลือก 2 แบบนะครับ ส่วนใหญ่ถ้าเกิดคนไหนที่มีโรคไตเราก็จะให้แบบ Heparin เข้าเส้นเลือด แต่ถ้าเกิดคนไหนที่ไม่มีเราก็จะใช้การฉีดเข้าใต้ผิวหนังซึ่งกรณีของคุณไผ่อาจจะเป็นกรณีที่ 2 ก็ได้ที่เขาฉีดเข้าไปนะครับอันนี้เป็นวิธีเลือก กลุ่มยากลุ่มนี้ Heparin หรือ Low-molecular-weight heparin มันไม่ได้สลายลิ่มเลือดแต่มันจะทำให้ลิ่มเลือดของเราไม่โตขึ้นนะครับแล้วร่างกายของเราจะทำการสลายมันไปได้ด้วยตัวเองนะครับโดยอาการของเรามักจะดีขึ้นใช้เวลาประมาณ 7 วันจะเริ่มดีขึ้นแต่ยังไม่ปกตินะครับกว่าจะปกติบางทีใช้เวลาหลายอาทิตย์หรือหลายเดือนเลยด้วยซ้ำไป แต่มันจะค่อยๆดีขึ้นใน 7 วันนี้จะเป็นช่วงที่เราเริ่มดีขึ้นอย่างชัดเจนนะครับ ถ้ามันไม่ดีขึ้นอันนี้ต้องไปตรวจเพิ่มเติมแล้วว่าลิ่มเลือดมันเยอะขึ้นหรืออะไรขึ้นหรือเปล่านะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 14 วันที่ผ่านมา +3

      4️⃣
      และไม่ใช่ว่าเราให้ยาไปแล้วเราต้องให้ไปตลอดนะครับเพราะว่าเราจะเอายาฉีดกลับบ้านไม่ได้ แล้วมันไม่ใช่แค่รักษาในโรงพยาบาลจบแล้วจบเลยนะครับมันต้องรักษาต่อเนื่องเพราะว่าพวกนี้อย่างน้อยๆก็ต้องกินยาจะต้องใช้การรักษาทั้งหมด 3 เดือนเป็นอย่างน้อย แต่ก็มีคนที่ต้องใช้ยานานก่อนนั้นนะครับ ทีนี้ถ้าเราบอกว่าเอายาฉีดกลับบ้านไม่ได้เราก็ต้องใช้ยากินนะครับ ยากินนี้บางตัวต้องเริ่มให้ไปพร้อมกับยาที่ให้ทางการฉีดนะครับ บางตัวเราให้ทีหลังก็ได้นะครับ เราแบ่งยาเป็น 2 กลุ่ม
      🔘กลุ่มแรกคือกลุ่มที่เรียกว่าวาร์ฟาริน (Warfarin)
      🔘กลุ่มที่ 2 คือกลุ่มตัวอื่นที่เราเรียกว่า Novel oral anticoagulants หรือ NOACs หรือจะเรียกอะไรก็ได้แล้วแต่นะครับ
      ผมจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม Warfarin มันเป็นยาที่มีมานานมากแล้ว ราคาถูกมีทุกโรงพยาบาลนะครับ แต่ข้อเสียของมันก็คือมันจำเป็นจะต้องเจาะเลือดอยู่เรื่อยๆนะครับ หมอเขานัดมาเจาะเลือดมาปรับยาให้ค่าการแข็งตัวของเลือดมันอยู่ตามที่หมอต้องการก็คือเราตรวจค่า INR หรือ International Normalized Ratio ซึ่งอยากจะให้มันอยู่ที่ 2-3 นะครับมันมีปฏิกิริยากับยาหลายๆตัวมากมายเลย ดังนั้นถ้าคนที่กิน Warfain จะกินยาตัวใหม่ต้องบอกหมอเสมอเพราะว่ามิฉะนั้นอาจจะมีปัญหากับยาที่กินอยู่ก็ได้นะครับ แล้วมันทำงานโดยการยับยั้งวิตามินเคดังนั้นถ้าเกิดคุณได้วิตามินเคเข้ามาก็อาจจะทำให้ยามันไม่ได้ผลนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai 14 วันที่ผ่านมา +4

      6️⃣
      ทีนี้พอเรารักษาแล้วเมื่อไหร่จะออกจากโรงพยาบาลได้?
      ➡️ก็เมื่อเราไม่ต้องใช้ออกซิเจนแล้ว เราเดินเหินได้ เราไม่เหนื่อย เรารู้สึกพอทนได้แล้ว และหมอเขาประเมินทุกอย่างปกติเขาก็จะให้เรากลับบ้าน แต่ยังไม่จบครับ เราต้องรู้ก่อนว่าเราเป็นภาวะนี้ได้ยังไง
      ดังนั้นเราต้องมาว่ากันถึงเรื่องของความเสี่ยงก่อนว่าใครที่เสี่ยง เพราะว่าถ้าคุณไม่แก้ไขแล้วเดี๋ยวมันก็เป็นอีกครับ
      🔹ข้อแรกถ้าคุณอายุเยอะเกิน 60 ปี คุณเสี่ยง
      🔹ถ้าคุณตั้งครรภ์ คุณเสี่ยง
      🔹คุณกินยาที่มีเอสโตรเจน เช่น ยาคุมหรือคนที่ทำ Hormone Replacement Therapy ในคนที่ Menopause แล้วกิน คุณเสี่ยง
      🔹คุณสูบบุหรี่ คุณเสี่ยง
      🔹คนอ้วน คุณเสี่ยง
      🔹คุณเพิ่งผ่าตัดมาใหม่ๆ เสี่ยง
      🔹คนที่นอนติดเตียง เสี่ยง
      🔹คนที่วันๆขี้เกียจมากไม่ได้ออกกำลังกายเลย นั่งๆอยู่ในห้องอย่างนี้เสี่ยงนะครับ
      🔹หรือคนที่มีมะเร็งซ่อนอยู่ในร่างกายก็มีปัญหานะครับ
      🔹โรคอื่นที่อาจจะเป็นไปได้คืออาจจะมีโรคไตกลุ่มที่เรามีโปรตีนรั่วเยอะๆเช่นกลุ่มที่เรียกว่าโรค Nephrotic Syndrome พวกนี้ก็จะมีความเสี่ยงได้นะครับ
      ดังนั้นจะมีความเสี่ยงหลายๆโรคที่เราจำเป็นจะต้องซักประวัติแล้วก็หา ซึ่งของคุณไผ่ พงศธร ในข่าวผมไม่เห็นบอกว่าเป็นโรคอะไร ก็อาจจะต้องไปหานิดนึงว่ามีโรคพวกนี้หรือเปล่า และอาจจะต้องซักประวัติครอบครัวว่ามีลิ่มเลือดอุดตันในคนอื่นๆไหมนะครับ ถ้ามีอาจจะต้องหาโรคบางโรคเป็นต้นนะครับ

  • @phakdichantarakoon
    @phakdichantarakoon 14 วันที่ผ่านมา +20

    ผมนี่วันๆไม่รู้เรื่องไม่รู้ราวทางด้านของสุขภาพใกล้ตัวที่น่าสนใจเลยครับ กรณีคุณไผ่ก็น่าสนใจมาก ขอให้หายวันหายคืนไวๆครับ นี่ถ้าไม่ได้ความรู้จากหมอแทน คงจะแย่เลย ขอบพระคุณความรู้ทางการแพทย์ที่อธิบายให้เข้าใจง่ายๆและนำไปปฏิบัติได้ครับ😊

  • @wicharthitiprasert7822
    @wicharthitiprasert7822 14 วันที่ผ่านมา +9

    นับถือจิตใจที่มั่นคงของคุณหมอ.นำความจริง ที่พิสูจน์ทางวิทยาศาตร์จริงๆ.มาให้ประชาชนรับทราบ.และฝึกให้ฟังอย่างมีสติ..

  • @RISA_1234.
    @RISA_1234. 14 วันที่ผ่านมา +22

    คุณหมออธิบายเข้าใจง่ายค่ะ 😊 เป็นกำลังใจให้คุณหมอทำคลิปดีๆ เป็นประโยชน์กับประชาชนต่อไปน่ะค่ะ

  • @armnakornthab6867
    @armnakornthab6867 14 วันที่ผ่านมา +23

    ถ้าผมสามารถได้ปรึกษาคุณหมอเรื่องนี้ตอนปี 2013 คงไม่เป็น chronic venous insufficiency ไปตลอดชีพครับ อย่างเซ็ง ตอนป่วยเป็นลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด รักษาอย่างนานกลับมาบ้านยังต้องมีพยาบาลตามมาฉีดยาให้ถึงบ้านอีก 2 สัปดาห์ (เฮพาริน ฉีดแล้วอย่างเจ็บ ลุกไม่ขึ้นไป 5 นาทีครับ)

    • @DrTany
      @DrTany  14 วันที่ผ่านมา +11

      เป็นกำลังใจให้นะครับ

  • @morpimphanthai
    @morpimphanthai 13 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ

  • @plengmobile9872
    @plengmobile9872 14 วันที่ผ่านมา +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ,,,ขอให้ท่านสุขภาพเข็งแรงนะคะ

  • @ratanakarnjanapun3437
    @ratanakarnjanapun3437 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ ข้อมูลที่มีประโยชน์มากค่ะ

  • @nookawnoopunmylove1854
    @nookawnoopunmylove1854 14 วันที่ผ่านมา +2

    ฟังความรู้จากคุณหมอแล้ว..มันส์มาก😊👍🙏

  • @anuchita6979
    @anuchita6979 14 วันที่ผ่านมา +1

    ข้อมูลเยี่ยมๆ..ขอบคุณคร้าบ

  • @user-br8yc5kj4r
    @user-br8yc5kj4r 14 วันที่ผ่านมา +2

    ได้ความรู้ดีมาก ขอบพระคุณค่ะ

  • @wiphadawijakkanalan2405
    @wiphadawijakkanalan2405 14 วันที่ผ่านมา +2

    ตั้งใจฟังรับความรู้เลยค่ะ ขอบคุณคุณหมอมาก ๆค่ะ

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอแทน
    สำหรับความรู้ในคลิปนี้

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 14 วันที่ผ่านมา +1

    ออกกำลังกายเป็นยาวิเศษเลยนะคะ#ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

  • @rossakorntuk9282
    @rossakorntuk9282 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบพระคุณ อาจารย์หมอมากค่ะ❤

  • @user-oz3yp5xt3v
    @user-oz3yp5xt3v 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับคุณหมอ

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 14 วันที่ผ่านมา +3

    😊ขอบพระคุณอจ.หมอมากนะคะ🙏🐰🌸

  • @gaewaleegaewalee7941
    @gaewaleegaewalee7941 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบคุณมากๆค่ะคุณหมอ🙏

  • @user-fi1qo5uy1x
    @user-fi1qo5uy1x 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบพระคุณมากค่ะ
    ที่ให้วิทยาทานโดย
    ท่านผู้เชี่ยวชาญค่ะ

  • @kesineesumalee47
    @kesineesumalee47 13 วันที่ผ่านมา

    🙏🙏🙏ขอบคุณ คุณหมอ สำหรับความรู้ ดี ๆค่ะ❤❤❤❤

  • @kanokpornmartinez6155
    @kanokpornmartinez6155 14 วันที่ผ่านมา +3

    ❤❤ขอให้คุณไผ่ หายปกตินะคะ ขอบคุณที่มาเล่าให้ฟัง ค้่่า

  • @Happy-yh9lz
    @Happy-yh9lz 14 วันที่ผ่านมา +6

    ขอบคุณความรู้ดีๆจากคุณหมอค่ะ ทำให้ชาวบ้านอย่างเราๆได้เข้าใจค่ะ

  • @usakoonanunt1358
    @usakoonanunt1358 14 วันที่ผ่านมา +3

    ขอบคุณอาจารย์มากค่ะ ทันเหตุการณ์และมีความรู้มากๆ 😊

  • @soontareesoontaree6725
    @soontareesoontaree6725 14 วันที่ผ่านมา +11

    สวัสดีค่ะ เปิดมาพอดี หลังผ่านเวลาเพียง 15 นาที ขอบคุณทุกเรื่องราว ที่คุณหมอ "นำเกร็ดความรู้" ต่างๆมาเล่าให้ฟัง เพื่อเพิ่มความรู้ 🦚🦚🦚🦜🦜🦜

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 14 วันที่ผ่านมา +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณข้อมูลนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ😊😍😍

  • @user-ow9yl4kw1q
    @user-ow9yl4kw1q 13 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณมากๆๆ สำหรับ ข้อมูล ที่ถูกต้อง ค่ะ

  • @wattanakongvaree2676
    @wattanakongvaree2676 14 วันที่ผ่านมา +3

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ
    ได้ความรู้และมีประโยชน์มากค่ะ

  • @prapatsornradomsukIOK
    @prapatsornradomsukIOK 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบคุณมานะคะคุณหมอ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa 14 วันที่ผ่านมา +4

    ขอบคุณมากค่ะอาจารย์สำหรับคลิป
    วิเคราะห์เคส คุณไผ่ พงศธรค่ะ

  • @rungnapakaewmaliwong9114
    @rungnapakaewmaliwong9114 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณค่ะอาจารย์ติดตามจากรพช.ลี้จ.ลำพูนค่ะ

  • @user-mj3cr9nn5t
    @user-mj3cr9nn5t 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบคุณคุณหมอมากนะคะ

  • @chaloeypornchansin9892
    @chaloeypornchansin9892 14 วันที่ผ่านมา +1

    สวัสดี​ค่ะ​อาจารย์​หมอ​ ขอบคุณ​สำหรับ​ข้อมูล​ดี​ๆ​มา​พูด​ให้​ฟัง​ค่ะ​ ถึงจะนานแต่ก็มีประโยชน์​มาก​ๆ​ค่ะ​ ขอให้อาจารย์​หมอ​มี​สุขภาพ​แข็งแรง​ๆ​ตลอดไป​นะคะ​

  • @kanoky7076
    @kanoky7076 10 วันที่ผ่านมา +1

    กราบขอบพระคุณค่ะ สำหรับความรุ้และวิธีป้องกัน🙏

  • @user-hv9dj5bv8z
    @user-hv9dj5bv8z 14 วันที่ผ่านมา +2

    คุณหมอเสียสละเวลาพักผ่อนมาอธิบายให้ความรู้กับคนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจบ้าง ละเอียดดี ขอบคุณคุณหมอคะรับ

  • @user-yw2js3ux3p
    @user-yw2js3ux3p 9 วันที่ผ่านมา +1

    คุณหมออธิบายได้ดีมากครับ

  • @NaiTong-tl7iw
    @NaiTong-tl7iw 12 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณ​คุณ​หมอมากๆครับ​

  • @helenvlog9913
    @helenvlog9913 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบพระคุณสำหรับความรู้ค่ะ คลิปอจ.ทุกคลิปเป็นประโยชน์มากๆค่ะ แต่คลิปนี้อจ.ค่อนข้างพูดเร็วค่ะ ต้องฟังให้ทัน

  • @amornphanburnard7244
    @amornphanburnard7244 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ❤

  • @babyG-ti4rw
    @babyG-ti4rw 12 วันที่ผ่านมา +1

    ความรู้คุณหมอดีมากๆค่ะ

  • @sararawisara1105
    @sararawisara1105 13 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณๆหมอ ทีทำคลิปความรู้ เพื่อคนไทยค่ะ

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin 14 วันที่ผ่านมา +1

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ❤

  • @somjitlue-aroon7875
    @somjitlue-aroon7875 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

  • @mmlove1548
    @mmlove1548 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบพระคุณสำหรับข้อมูลค่ะ

  • @dondajoeZ
    @dondajoeZ 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบคุณมากครับอาจารย์ เคยออกข้อสอบอยู่บ่อยๆ สมัยเรียนปี 6ครับ

  • @gaewaleegaewalee7941
    @gaewaleegaewalee7941 14 วันที่ผ่านมา +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ🙏

  • @bananabubblebee5786
    @bananabubblebee5786 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณคุณหมอครับ แอสต้า senega 2 เข็ม ฟังคุณหมอแล้วสบายใจขึ้นครับ ตอนนี้ร่างกายปกติอยู่ เล่นบาสทุกวันครับ อายุ 55 แล้วครับ

  • @tharadonnilsirisuk7978
    @tharadonnilsirisuk7978 14 วันที่ผ่านมา +3

    ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ ใช้สอนนักศึกษาแพทย์ให้เข้าใจคร่าวๆก่อนไปอ่านGuideline ลงรายละเอียดได้เลยครับ

  • @pagathipnon7962
    @pagathipnon7962 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขอขอบคุณหมอที่มอบความรู้การรักษาดูแล และเหตุที่เกิด แคสตัวอย่างจากผู้ป่วย ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และนักศึกษาแพทย์ ได้ความรู้มากๆ และได้กำลังใจควบคู่ไปกับการรักษาการต่อลมหายใจที่มีค่าของชีวิต สังคมที่เกื้อกูลกัน สุขสงบ มีกำลังใจดี

  • @superluckpitchayawekin5634
    @superluckpitchayawekin5634 12 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบพระคุณอาจารย์หมอมากค่ะ

  • @pratyaneehorn-oq6qb
    @pratyaneehorn-oq6qb 13 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณคุณหมอสำหรับความรู้ดีๆมีประโยชน์ ขอเป็นกำลังใจให้คุณหมอนะคะ

  • @Pakstawon
    @Pakstawon 13 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบคุณที่อธิบาย หมอในเมืองไทยเลี่ยงจะพูดถึง โดยอ้างว่าไม่รู้ข้อมูลครบ ไม่รู้ครบก็พูดได้ เพราะพูดในแง่วิชาการ ไม่ไช่การายงานเคส

  • @Fong14
    @Fong14 13 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณคุณหมอมากค่ะ ให้ความรู้ที่มีคุณค่าดีๆตลอดเลย เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ 🙏🙏😊😊

  • @user-vf4by2yw8k
    @user-vf4by2yw8k 13 วันที่ผ่านมา +1

    สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวอย่างเรา หัวเต้นผิดจังหวะ ไทรอยด์ ส่วนตัวได้ความรู้จากคุณหมอมากๆ ขอบคุณ คุณหมอเป็นพิเศษค่ะ

  • @user-qr1oy4tp9r
    @user-qr1oy4tp9r 14 วันที่ผ่านมา +1

    Best moree ขอบคุณมากคเ😊❤

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali 14 วันที่ผ่านมา +3

    😊🌸🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏

  • @user-sn4tq5nv5h
    @user-sn4tq5nv5h 14 วันที่ผ่านมา +4

    ฟังย้อนหลังจากปักใต้

  • @user-ej7jo8vs3m
    @user-ej7jo8vs3m 13 วันที่ผ่านมา +2

    กราบขอบพระคุณ คุณหมอมากๆ คะ ทีให้ความรู้ในเรื่องนี้ เพราะกินยาวาฟาริน อยู่ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากๆค่ะ

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🥰

  • @user-fj9zv7fw1r
    @user-fj9zv7fw1r 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบคุณครับคุณหมอ

  • @itsariya.s3145
    @itsariya.s3145 14 วันที่ผ่านมา +1

    คิดไว้แล้วค่ะ คุณหมอต้องพูดเคสนี้แน่ๆ เรื่องปอดเป็นสิ่งที่คุณหมอเชี่ยวชาญ ขอบคุณสำหรับการแชร์ความรู้และข้อมูลที่ถูกต้องค่ะ 🙏🤗

  • @rewwsd9668
    @rewwsd9668 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบพระคุณคะคุณหมอที่ให้ความรู้ดิฉ้นมีเนื้ององในสมองต้องกินยากันชักคุณหมอเคยเมตตาตอบคำถามมาครั้งแล้วดิฉันมีทางป้องกันโรคนี้มั้ยค่ะ ขอบพระคุณมากคะ

  • @Chaweewan8769
    @Chaweewan8769 13 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์ที่กรุณามาให้ความรู้เกี่ยวกับลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดตลอดจนการป้องกัน ดูแล รักษา มีประโยชน์มากค่ะ🙏

  • @user-ft2ck3ml9c
    @user-ft2ck3ml9c 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขอบคุณคะ

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn 14 วันที่ผ่านมา +4

    กราบขอบพระคุณอาจารย์หมอแทนอย่างสูง อาจารย์ให้ข้อมูลและแบ่งปันประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์อย่างสุดยอดจะละเอียด จนจำเป็นต้องฟังอีกครั้ง สองครั้ง อุบัติการณ์เกิดลิ่มเลือดอุดตันนี่คาดเดาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเราอายุมากขึ้นและ/หรือเป็นคนที่มีภาวะเสี่ยง เมื่อทำนายการเกิดล่วงหน้าได้ยากยิ่งเช่นนี้ การดูแลสุขภาพองค์รวมเช่นออกกำลังกาย ทานอาหารมีประโยชน์สมดุล นอนหลับพักผ่อนอย่างมีคุณภาพ ตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ จึงยังคงเป็นปราการสำคัญที่ควรปฏิบัติให้เป็นนิสัย เพื่อช่วยป้องกันหลายโรคได้โดยพื้นฐาน อย่างน้อยก็ไม่มีโรคที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตมากนัก

  • @user-wj5dx1iz6n
    @user-wj5dx1iz6n 14 วันที่ผ่านมา +2

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ

  • @Yongyutsang
    @Yongyutsang 13 วันที่ผ่านมา +1

    สวัสดีอาจารย์ค่ะ > ละเอียด ชัดเจน มากๆ เป็นประโยชน์ มหาศาลแก่เพื่อน มนุษย์ ค่ะ , ไปอ่าน คอมเม้น ต่างๆ แล้ว > ทำให้ แต่ละคน มีความรู้ระดับนึง +ตรรกะส่วนตัว > แสดงความคิดเห็น ออกมา

  • @pongsathon555
    @pongsathon555 13 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณครับ

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 14 วันที่ผ่านมา +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากคะวันนี้มาให้ความรู้เรื่อง วิเครสะห์เคส คุณไผ่ พงศธร ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด ลง ICU เป็นได้อย่างไร ได้ความรู้ดีดี มีประโยขชน์มากๆคะ 👍 ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ🙏🌹🌹

  • @user-bm2lq9ht9v
    @user-bm2lq9ht9v 14 วันที่ผ่านมา +2

    สวัสดีครับคุณหมอ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 14 วันที่ผ่านมา +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    Pulmonary Embolism
    สาเหตุเกิดจากลิ่มเลือดในระบบหลอดเลือดดำ วิ่งเข้าไปที่หัวใจ แล้วถูกบีบจากหัวใจออกไปอุดตันเส้นเลือดที่ไปที่ปอด
    หัวใจด้านซ้าย จะบีบเลือดแดงที่มีออกซิเจน ไปเลี้ยงตามร่างกาย
    หัวใจด้านขวา มีหน้าที่รับเลือดจากอวัยวะต่างๆของร่างกาย ซึ่งถูกใช้ออกซิเจนไปแล้ว บีบไปที่ปอดเพื่อเติมออกซิเจนใหม่
    ถ้ามีลิ่มเลือดวิ่งมาจากเส้นเลือดดำ เข้าไปที่หัวใจ โดนบีบออกไปเส้นเลือดที่ปอด จะเกิดการอุดตันได้ เส้นเลือดนี้เรียกว่า Pulmonary artery เป็นเส้นเลือด artery อันเดียวในร่างกายที่เป็นเลือดดำ
    หากเกิดอาการผิดปกติ และอยู่ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรรีบพบแพทย์
    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน
    ขอให้คุณหมอและครอบครัว
    มีสุขภาพแข็งแรงและมีความสุขมากๆนะคะ
    ขอเป็นหนี่งกำลังใจให้คุณไผ่หายไวๆ มีสุขภาพแข็งแรงค่ะ
    🏡🍎🍇🍈🧡🍍🍊🍏🏕

  • @xxsuperuserxx
    @xxsuperuserxx 14 วันที่ผ่านมา +1

    PE น่ากลัวมาก เคสนี้โชคดี หาหมอทัน

  • @peterposidon8103
    @peterposidon8103 14 วันที่ผ่านมา +2

    เป็นประโยชน์มากครับขอบคุณครับ

  • @user-yw2js3ux3p
    @user-yw2js3ux3p 9 วันที่ผ่านมา +1

    ได้ความรู้ดีครับ

  • @user-lo1cv1fu3h
    @user-lo1cv1fu3h 14 วันที่ผ่านมา +7

    บางทีการที่คนเราต้องมาอธิบายเรื่องเดิมๆ เรื่องซ้ำๆ มันก็น่ารำคาญ ยกเว้นแต่เราจะเป็นคนใจเย็นและหวังดีกับเขาจริงๆ ถึงจะอดทนทำแบบนั้นได้ นับถือน้ำใจคุณหมอค่ะ เพราะถ้าเป็นเรา คือ"ช่างแม่งมัน"ไปเลย
    อยากจะบอกคนที่เข้ามาถามเรื่องวัคซีนทั้งหลาย ขอให้นึกถึงวันที่โรคนี้แพร่ระบาดใหม่ๆ เมืองอู่ฮั่นถึงขั้นต้องปิดเมืองไปเลยทีเดียว และต้องรีบผลิตวัคซีนเชื้อตายมาใช้ฉีดรักษา ช่วงแรกต้องใช้พลาสมาของคนที่เคยป่วยมาทำวัคซีน ต่อมาเชื้อมันกลาย มีความรุนแรงมากขึ้น ผู้สูงอายุ คนร่างกายอ่อนแอ ถึงขั้นตายคาบ้านเพราะเตียงเต็ม ไม่มีรถรับส่งผู้ป่วยโควิต ปอดติดเชื้อฉับพลัน แต่ต้องรักษาตามอาการเพราะยังไม่มีวัคซีนที่ได้ผล ตอนนั้นทุกคนโหยหาวัคซีนดีๆ เรียกได้ว่าคนพากันแย่งกันฉีดจะเป็นจะตายทั้งประเทศ
    ลองคิดดูซิว่า ถ้าเราไม่มีวัคซีนมาฉีด เราจะเป็นอย่างไร?
    คนเราขาดน้ำ อยู่ได้วันสองวัน แต่ถ้าขาดอากาศ ขาดลมหายใจ แค่ 5 นาทีก็ตายแล้วนะ แล้วโควิต คือโรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจโดยตรง คุณหายใจไม่ได้ก็คือตายมั้ยคะ?
    ถ้าไม่มีวัคซีน ซึ่งเหมือนเบาะคอยรองรับอีกชั้น คุณอาจจะเป็นหนัก ถึงขั้นปอดพัง หรือตายไปแล้วก็ได้ เพราะขนาดฉีดๆกันก็มีคนเป็นลองโควิตอยู่
    ลองนึกถึงความวุ่นวายของอินเดีย ตอนแย่งถังออกซิเจนกัน มีคนตายมากมายจนเผาไม่ทัน ลูกคนนึงต้องไหว้ขอร้องเจ้าหน้าที่ๆถือปืนขู่ เพื่อจะเอาออกซิเจนไปต่อชีวิตแม่ตัวเอง
    ถ้าตอนนั้นเราปฏิเสธที่จะไม่ฉีด เราอาจจะเห็นภาพที่เหมือนกับอินเดียในตอนนั้นก็ได้ ใครจะไปรู้ โรคโควิตคือปัญหาเฉพาะหน้าที่เราต้องแก้ไขหรือฝ่าฟันให้พ้นไปก่อน ส่วนเรื่องอื่นเราค่อยคิดทีหลัง จริงไหมคะ ถ้าเรามานั่งรอวัคซีนที่ดีเลิศประเสริฐศรีไม่มีผลข้างเคียงอะไรเลย เราว่าป่านนี้คนคงตายกันไปเยอะแล้ว เผลอๆรวมถึงไอ้คนที่ถามเองด้วย
    สงสารคุณหมอค่ะที่ต้องมานั่งตอบ เอาเป็นว่า ใครใคร่จะฉีดก็ไปฉีด ส่วนใครไม่อยากฉีด ตั้งป้อมไม่ยอมฉีดก็ช่างหัวเขา ชีวิตคุณ คุณต้องไปรักษาเอาเอง กำหนดเอง
    ส่วนเรายังไงก็ต้องฉีด เพราะตอนนั้นเรามีแม่ที่ป่วยติดเตียงต้องดูแลอยู่ค่ะ เต็มใจฉีดทุกเข็ม จะมากลัวอะไรกับมะเร็งลิ่มเลือด ไม่ตายวันนี้ก็ต้องตายวันอื่นอยู่ดีอ่ะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 14 วันที่ผ่านมา +1

      สำหรับคนพวกนั้น ข้อความของคุณ “ยาวไปไม่อ่าน” ครับ แต่ผมเห็นด้วยครับ หมอที่ต่อต้านก็มีแต่หมอคุวายๆที่ไม่เคยออกหน้างาน ไม่เคยเห็นว่าหลังมีวัคซีนคนตายน้อยลงขนาดไหน ดีแต่หางานวิจัยมั่วๆกากๆมาพูดซี้ซั้วสร้างความแตกแยกแก่สังคมไปวันๆ

    • @DrTany
      @DrTany  14 วันที่ผ่านมา +6

      อันนี้ตอบได้ตรงใจผมมากๆครับ และนี่ก็มีหมอบางคนที่ออกมาคอยต่อต้านวัคซีน พูดให้กลัว หลักฐานก็ไม่แน่น อ่านวิจัยยังพลาดอีก ผมก็รู้สึกแย่มากครับ คนระดับหมอใหญ่ควรจะอ่านวิจัยเก่งกว่านี้มาก ไม่ควรพูดอะไรไร้สาระแบบนั้น แต่ยังออกมาสร้างปัญหาให้ประเทศเรา และให้เพื่อนร่วมวิชาชีพอีกครับ

    • @user-lo1cv1fu3h
      @user-lo1cv1fu3h 14 วันที่ผ่านมา +2

      ​@@DrTanyคาดว่าหมอท่านนั้นคงห่างเหินจากการลงวอร์ด หรือรับเคสมาหลายปี ได้แต่นั่งโต๊ะหรือกลายร่างเป็นหมอการเมืองหรือหมอมีผลประโยชน์ไปแล้วค่ะ

    • @user-lo1cv1fu3h
      @user-lo1cv1fu3h 14 วันที่ผ่านมา +1

      ​@@armnakornthab6867ยาทุกอย่างทุกชนิดมีผลข้างเคียงหมดค่ะ แม้กระทั่งยาพื้นๆอย่างยาพารา ก็มีผลข้างเคียง เออ แล้วมากลัวอะไรกับแค่วัคซีนก็ไม่รู้ คีโมที่รักษาโรคมะเร็งยังน่ากลัวกว่าเยอะเลย

    • @DrTany
      @DrTany  14 วันที่ผ่านมา +5

      คนต่อต้านวัคซีน ไม่มีใครเป็นคนดูแลคนไข้โควิดสักคนครับ

  • @supaveethana4984
    @supaveethana4984 14 วันที่ผ่านมา +3

    ขอบคุณครับคุณหมอฯ โรคภัยใกล้ตัวเยอะมากเลยครับ ทั้งที่เกิดจากเชื้อโรค ทั้งที่ไม่มีเชื้อโรค 😢

  • @ammarapornphadungchep5767
    @ammarapornphadungchep5767 14 วันที่ผ่านมา +2

    สวัสดีค่ะ

  • @pattra_yam
    @pattra_yam 14 วันที่ผ่านมา +2

    มาทันค่าา

  • @doctorstrange3709
    @doctorstrange3709 14 วันที่ผ่านมา +1

    ผมรู้ข่าวเพราะอาจารย์เลยคับ
    เรื่อง Blood sampling ที่ให้เก็บก่อนเริ่ม treatment ลืมบ่อยจริงครับ เพราะรีบรักษาก่อน😅

  • @user-ow9yh6ji5b
    @user-ow9yh6ji5b 14 วันที่ผ่านมา +1

    จริงคะคุณหมอ ทุกวันนี้จบคอร๋สรักษาแล้วก็ต้องรอฤทธิ์ยาหมดถึงจะเจาะเลือดหาสาเหตุการเกิดโรคได้

  • @user-vi3lv5qk9t
    @user-vi3lv5qk9t 14 วันที่ผ่านมา +3

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทนพอดีป้าพักทานข้าวเลยได้รับชม ขอบคุณข้อมูลดีๆๆและได้รับความรู้เพิ่มๆๆอีกขอบพระคุณอย่างสูงน่ะค่ะ วันนี้ดูหน้าคุณหมอแจ่มใสหล่อๆๆเชียวค่ะขอชมๆๆจากใจเลยนะค่ะ สุขภาพดีมีสุขนะค่ะคุณหมอแทนและน้องโรชี่ด้วยนะค่ะ❤️❤️❤️🥰ค่ะ

  • @user-hk9hs2zq3o
    @user-hk9hs2zq3o 14 วันที่ผ่านมา +2

    Dic อุดตันเหมือนกัน กับแม่ตั้งครรภ์ตายระหว่างคลอดไม่ครับอจ. ป้องกันอยาก ช่วยไม่ทันใช้ไม่ครับอจ.

  • @sasacute2197
    @sasacute2197 14 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณคุณหมอที่กรุณาทำคลิปแบ่งปันความรู้ดีๆ ค่ะ

  • @KammuanThailand308
    @KammuanThailand308 13 วันที่ผ่านมา +2

    เป็นโรคนี้อยู่ค่ะ รักษาที่ รพ.10วัน ร่างกายเริ่มปกติที่3ด.และรักษาต่อเนื่องมาได้เกิน1ปีแล้ว ทานยาทุกวัน ใช้ชีวิตโดยควบคุมอาหารที่มีผลกับ วาฟารีน

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 12 วันที่ผ่านมา

      ถ้ามีโอกาสหยุดยาได้เปลี่ยนเป็นรุ่นใหม่ก็ทำนะครับหากว่าต้องใช้ในระยะยาวแต่ถ้าเดี๋ยวก็จะหยุดยาแล้วก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนยาครับ

  • @kungnagase3594
    @kungnagase3594 13 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณคุณหมอสำหรับเคสคุณไผ่ ได้ความรู้ทุกครั้งที่รับฟัง .. อยากให้คุณหมอพูดคุยเรื่องโรคหูดับเพิ่มเติม ถึงการรักษา/สาเหตุเพื่อเป็นวิทยาทานถึงคนที่ชอบทานเนื้อดิบค่ะ เพราะล่าสุดมีผู้ป่วยกว่่า 230 คน และเสียชีวิตหลักสิบ เท่าที่ฟังสื่อรายงาน อาการน่ากลัวและรุนแรงค่ะ ขอบพระคุณค่ะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 13 วันที่ผ่านมา +2

      พูดไปนานแล้วครับ th-cam.com/video/WEaKZq-VNdI/w-d-xo.html มีอะไรค้นชื่อคุณหมอตามด้วยเรื่องที่อยากทราบก็เจอแล้วครับ

    • @kungnagase3594
      @kungnagase3594 13 วันที่ผ่านมา +1

      @@armnakornthab6867 ขอบคุณค่ะ เดี๋ยวค้นหาดูค่ะ

  • @watthanachaiwatthanasonthi7756
    @watthanachaiwatthanasonthi7756 วันที่ผ่านมา +1

    เป็นคำอธิบายที่คนทั่วไปแม้จะไม่ใช่หมอก็เช้าใจได้อย่างมากและช้ดเจนในทุกประเด็นเลยครับ ขอขอบคุณที่คุณหมอเสียสละเวลาให้ความรู้คลิปนี้รวมทั้งคลิปอื่นๆที่ผ่านมาอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ประชาชนและประเทศไทยครับ
    ป.ล.ผมก็เป็นผู้หนึ่งที่อายุ74ปีเป็นเบาหวานและความดันสูงในกลุ่มเสี่ยงเส้นเลือดอุดตันด้วยครับ

  • @daruwanrojjanasupot5478
    @daruwanrojjanasupot5478 14 วันที่ผ่านมา +1

    คุณหมอคะ..ด้วยความเคารพนะคะ..ตอนต้นคลิปคุณหมอพูดเร็วไปนิดนึง ป้าฟังแล้วคิดตามไม่ค่อยทันเลยค่ะ ปอดคุณหมอแข็งแรงมากเลย พูดเร็วติดกันไม่เหนื่อยเลยอีกต่างหาก ส่วนข้อมูลความรู้ที่พรั่งพรูออกมา แสดงให้เห็นว่า ยอดเยี่ยมจริงๆ ..คนเก่งคนเท่ห์ค่ะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 14 วันที่ผ่านมา

      ปรับลดความเร็วคลิปได้นะครับ

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan 14 วันที่ผ่านมา

      กดที่รูปฟันเฟืองที่มุมบนขวา เลือกความเร็วในการเล่น เลือก 0.75 หรือ 0.5 หรือ 0.25 ตัวเลขยิ่งน้อย วีดีโอจะยิ่งช้าลงครับ.

    • @daruwanrojjanasupot5478
      @daruwanrojjanasupot5478 14 วันที่ผ่านมา

      ขอบคุณค่ะ

  • @suksmile7118
    @suksmile7118 14 วันที่ผ่านมา +1

    เป็นเหมือนกันเลย ผมเป็นที่ขา และปอด

  • @krongkaewarunsiri8866
    @krongkaewarunsiri8866 14 วันที่ผ่านมา +5

    สวัสดีค่ะคุณหมออธิบายได้เร็วมากหายสงสัยค่ะขอบพระคุณค่ะอนุโมทนาสาธุค่ะ🙏🙏🙏❤️😍

  • @timthong-om9263
    @timthong-om9263 14 วันที่ผ่านมา +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอแทน❤❤❤❤❤

  • @user-ys3el2fu8u
    @user-ys3el2fu8u 14 วันที่ผ่านมา +6

    ขออนุญาตเล่าประสบการณ์จากที่ตัวเองเป็นมา ซึ่งตอนนี้ก็ยังรักษาตัวอยู่ ตัวเองอายุ 35 ปี ไม่สูบบุหรี่ ไม่กินเหล้า แต่น้ำหนักตัวประมาณ 100 กิโล สูง 180 cm. สุขภาพปกติ ความดันปกติ ไม่เป็นเบาหวาน แต่มีไขมันสูงนิดหน่อย(สูงกว่าเกรณ์ 10) เดิมเป็นคนที่ค่อนข้างแข็งแรง ถ้าเดินความเร็วปกติ ระยะ 5-10 km จะเริ่มรู้สึกเหนื่อย แต่ตอนเริ่มเป็นมีอาการเหนื่อยง่ายขึ้นมากๆ จากที่ค่อยเดินออกกำลังกายได้ 7-10 km. ต่อครั้ง กลายเป็นว่าเดินออกกำลังกายครั้งนึงได้ไม่เกิน 2-3 km. แต่พอผ่านไปประมาณ 2-3 เดือน กลายเป็นว่าเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตเหนื่อยง่ายมากขึ้น ถึงกับขั้นบันไดชั้น 2 ไปทำงาน ต้องพักหยุดระหว่างชั้น พออาการเริ่มหนักขึ้นคิดว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจเลยไปตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่คลินิก แต่ผลตรวจปกติ แล้วพอไปตรวจเลือดแบบละเอียด(ตอนนั้นคิดว่าเป็นไทรอยด์) ปรากฏว่าปกติทุกอย่าง จนสุดท้ายเป็นลมในที่ทำงาน จนต้องส่งตัวเข้าห้องฉุกเฉิน แล้วทำ CT Scan จนรู้ว่าเป็น PE (จำได้ว่าหมอในห้อง ICUบอก) หมอให้เจาะเลือดส่งแล็ป ต้องรักษาตัวในห้อง ICU ประมาณ 5 วัน ตอนนั้นต้องให้ยาละลายลิ้มเลือดผ่านทางน้ำเกลือแล้วต้องตรวจเลือดทุก 6 ชั่วโมง (วันนึงเจาะเลือด 4 ครั้ง) พอออกจาก ICU พอที่โรงพยาบาลต่อประมาณ 2-3 วัน จากนั้นก็กินวาฟารินกับต้องฉีดยาที่หน้าท้อง เช้า - เย็น ไปหาหมอตามนัดเพื่อตรวจเลือด พอผ่านไประมาณ 1 เดือน ผลเลือดไม่ดี หมอเลยให้เปลี่ยนยาจากวาฟารินเป็น Pradaxa แล้วหาสาเหตุไม่พบ ตอนนี้หมอบอกว่าต้องค่อยดูอาการไปอีก 1 ปี แล้วหาหมอตามนัด แต่สุขภาพตอนนี้รู้สึกว่ายังไม่ 100% แล้วแรงยังตกลงมากกว่าเมื่อก่อนนิดหน่อยออกแรงมากไม่ค่อยได้ ไม่แน่ใจว่าจะแข็งแรงได้เหมือนเดิมไหม?😢😢😢

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 14 วันที่ผ่านมา +1

      - ฉีดยาที่ท้องโคตรเจ็บบบบ
      - น้ำหนักขนาดนี้เสี่ยงล่ะครับ ยิ่งถ้าเคยป่วยโควิดมาก่อนยิ่งใช่
      - เหนื่อยบ่อยๆ ต้องตรวจออกซิเจนปลายนิ้วแล้วครับ

    • @user-ys3el2fu8u
      @user-ys3el2fu8u 14 วันที่ผ่านมา

      @@armnakornthab6867 ตรวจออกซิเจนกับนาฬิกาแล้วนะครับ อยู่ที่ 95 ไม่ทราบว่าปกติไหมนะครับ?

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 14 วันที่ผ่านมา

      @@user-ys3el2fu8u นาฬิกาไม่แม่นเท่าเครื่องวัดปลายนิ้ว แนะนำให้ซื้อสองอันเพื่อตรวจสอบครับ 95 นี้ยังปกติแต่ค่อนข้างมาทางต่ำ ถ้า 95 ไปตลอด มันมีอะไร แปลกๆแล้วครับสำหรับอายุขนาดนี้ คนปกติที่ไม่มีอะไร จะอยู่ที่ 97 ขึ้นไปครับ

    • @DrTany
      @DrTany  14 วันที่ผ่านมา +3

      อันนี้มันก็ต้องค่อยๆฟื้นฟูร่างกายไปครับ แล้วทางที่ดีลดน้ำหนักลงมาจะดีกว่าครับ

    • @user-ys3el2fu8u
      @user-ys3el2fu8u 14 วันที่ผ่านมา +2

      @@DrTany ขอบคุณครับหมอ ตอนนี้ผมค่อยๆเดินออกกำลังกายครั้งละ 5 km. สัปดาห์ละ 4 วัน ไม่กล้าเล่นเวทหรือบริหารกล้ามเนื้อ เพราะเคยลองวิดพื้นแล้ว ทำได้ประมาณ 30 ครั้ง รู้สึกว่าปวดกล้ามเนื้อมาก ต้องพักประมาณ 3-4 วัน จากเหมือนก่อนจะบริหารกล้ามเนื้อวันเว้นวัน ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับยาที่กินไหมครับคุณหมอ? (ผมกิน Pradaxa Dabigatran Etexilate 110 mg. หลังอาหารเช้า-เย็น)

  • @user-yw2js3ux3p
    @user-yw2js3ux3p 9 วันที่ผ่านมา +1

    ปอดกับหัวใจมีความสัมพันธ์กันอย่างไร อยากฟังเรื่องนี้มากครับ

  • @user-ch7dt9fv1o
    @user-ch7dt9fv1o 12 วันที่ผ่านมา +1

    คุณหมอพูดถูกค่ะ

  • @ALL86898
    @ALL86898 14 วันที่ผ่านมา +3

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอแทน🙏😍 วันนี้มาวิเคราะห์ในกรณีที่คุณไผ่ พงศธร นักร้อง มีอาการเหนื่อยหอบ ไปตรวจ พบว่ามีการอุดตันของลิ่มเลือด ในปอด คุณหมอมาบอกวิธี รักษา แบบไหน ป้องกัน และบอกว่าใครบ้างที่เสี่ยง คุณหมอ พูดนานค่อนข้างครบถ้วน
    🌺ลิ่มเลือดอุดตันที่ปอด ภาษาอังกฤษ เรียกPulmonary Embolism สาเหตุ เกิดจากระบบหลอดเลือดดำ เส้นเลือดดำคือPulmonary Artery ลิ่มเลือดอุดตัน ต้องรักษามีอัตราการตาย30%
    คุณหมอ มาบอกการรักษา มาฟังกันค่ะ คุณหมอชักประวัติ ทำct scan ฉีดสี ทำ เอ็กโค่ หัวใจ
    เจาะเลือด ตรวจ
    ก่อนรักษาให้เจาะเก็บเลือดไว้นิดหนึ่ง เผื่อไว้ เพื่อหาสาเหตุ
    การรักษา สองแบบ 1ความดันตก หน้ามืด หัวใจวายไปเรียกว่ารุนแรง ให้ยาสลายลิ่มเลือด ต้องดูว่า เป็นคนที่มีการผ่าตัดก็ให้ไม่ได้
    2อาการไม่รุนแรง ก็ให้ยา แฮบพาริน ทางเส้นเลือดดำ ตลอดเวลา อีกตัวฉีดเข้าที่หน้าท้อง ใต้ผิวหนัง
    แฮบพารินวันละครั้ง สองครั้ง แอบพารินทำให้ลิ่มเลือด ไม่โตขึ้น จะต้องใช้เวลา เป็น7วันร่างกายจะสลาย ไปเอง อาการจะดีขึ้น 7วัน และต้องรักษากินยาต่อเนื่อง3-6เดือน
    กลุ่ม1ยาวาฟาริน มีทุกร.พ แต่ต้องเจาะเลือดดูตลอดเวลา กิน ยานี้จะยับยั้งวิตามินkต้องกินก่อนนอน และต้องกินผักใบเขียว สม่ำเสมอ
    อีกกลุ่ม2 ไม่ต้องเจาะเลือด ไม่มีปัญหากับยาอื่นๆ แต่ยากลุ่มนี้แพง หายาก
    ส่วนดีวาฟาริน มียาต้านฤทธิ์ถ้ามีปัญหา
    🌺ส่วนการให้การรักษา เมื่อไม่เหนื่อยไม่ต้องใช้ออกซิเจน แล้ว กลับได้ แต่ต้องดูต่อใครเสี่ยงบ้าง ตอนต่อค่ะ ถึงตอนนี้ขอบคุณค่ะ❤️🙏

  • @wanneesangkrajang9520
    @wanneesangkrajang9520 14 วันที่ผ่านมา +4

    ปีที่แล้ว สามีเสียชีวิต ด้วยภาวะ หัวใจวาย คุณหมอแจ้งว่า มีลิ่มเลือดอุดตันที่ปอดด้วย

    • @DrTany
      @DrTany  14 วันที่ผ่านมา +5

      เป็นกำลังใจให้นะครับ

    • @wanneesangkrajang9520
      @wanneesangkrajang9520 14 วันที่ผ่านมา +4

      @@DrTany ขอบคุณมากค่ะ

  • @jirawat_ch
    @jirawat_ch 14 วันที่ผ่านมา +2

    ครับหมอ จริงแล้วก็อยากบอกหมอ
    เวลาอธิบายเนื้อหาผมชื่นชอบอยู่แล้วครับ
    แต่หมอทราบดีว่าการอธิบายหมอเหมือน ตื่นเต้น(เกร็ง การกลืนน้ำลาย)
    ดูขาดความต่อเนื่อง ธรรมชาติ ตื่นเต้น(Panic)
    ทำให้ต้องลุ้นไปกับหมอด้วย เพื่อการบรรยายลื่นไหล ที่ดูไม่ตึงเครียด หรือดูเร่งรีบ
    ก่อนหน้านี้นานเป็นปีแล้ว ดู ฟังสบายครับ
    รักหมอเสมอครับ

    • @CherryChonny
      @CherryChonny 14 วันที่ผ่านมา +3

      คุณหมอไม่ได้ตื่นเต้นหรอกค่ะ ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องตื่นเต้น สำหรับคนที่ทำยูทูปมานาน แต่คุณหมออาจจะหิวน้ำและเรื่องนี้มันต้องอธิบายเยอะด้วยค่ะ 😊 ขอบคุณที่ห่วงใยคุณหมอค่ะ

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 14 วันที่ผ่านมา +5

      เท่าที่ติดตามอาจารย์มานาน อาจารย์พูดจาคล่องแคล่ว ลื่นไหลโดยธรรมชาติ มาให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ถ้าบอกว่าตื่นเต้น เกร็ง ระดับอาจารย์แพทย์ฮาร์เวิร์ด นี่ไม่ใช่แล้วล่ะคุณ

    • @kongkt5212
      @kongkt5212 14 วันที่ผ่านมา +2

      ทุกคนน่าจะหวังดีกับคุณหมอนะครับ​😂❤❤ยิ้มให้ใจสบายครับ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 13 วันที่ผ่านมา +4

      ไปดูคลิปหมอแรกๆครับ แล้วจะรู้ว่า เกร็ง เป็นไง แต่ไม่ใช่ตอนนี้

  • @LakkanaKaeomanee
    @LakkanaKaeomanee 14 วันที่ผ่านมา +2

    ขออนุญาตถามอาจาร์หมอคืออาการของยายเป็นคือตัวลอยเหมือนจะล้มก็ไม่ล้มหัวใจเต้นเร็วมากเหมือนจะตายก็ไม่ใช่ดีที่ทำงานเป็นแม่บ้านของ Indiana University Health หมอเขาเอ็กซเรปอดตับ หัวใจ ไม่มีอะไรผิดปกติก็รู้สึกดีนะแต่บางวันจะเหนื่อยมากๆอาการเหนื่อยเกิดขึ้นไม่นานเท่าไรประมาณ 15 นีที ก็หายวันหนึ่งเป็นสักสองครั่งไม่เกินนี้แต่มาติดใจคำถามหมอที่ถามว่าเวลาฉี่แล้วแสบใหมวันที่หมอถามคือไม่แสบตอบหมอไปหมอบอกโอเคพอมาคิดถึงคำถามหมอเรื่องฉี่แล้วแสบใหมเลยอยากขอความกรุณาจากอาจารณ์ว่ามันคืออาการของโรคอะไร ขอบพระคุณคุณหมอนะค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  14 วันที่ผ่านมา +2

      ฉี่แสบ จะสงสัยการติดเชื้อกระเพาะปัสสาวะครับ แต่อาการที่เป็นน่าจะมีหัวใจเต้นผิดปกติ น่าจะต้องทำ Holter monitoring หรือ loop recorder ติดตัวกลับบ้านไปเพื่อบันทึกการเต้นของหัวใจตอนที่มีอาการ มันจะได้บอกได้ว่าเป็นอะไรครับ

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 14 วันที่ผ่านมา +1

    หลอดเลือดแดง หรือดำ อุดตัน ส่วนใดมีสัญญาณอันตรายถึงชีวิตแล้ว รีบตรวจร่างกาย รักษาด่วน ค่ะ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 14 วันที่ผ่านมา +5

    ขออนุญาตเรียนถามค่ะ
    คุณไผ่เป็นทั้งนักร้องและนักแสดง
    เดินทางบ่อย ต้องนั่งรถนานๆ จะเป็นสาเหตุหลอดเลือดดำที่ขาอุดตัน แล้วหลุดไปอุดที่ปอดได้มั้ยคะ
    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน 🌻🧡🌻

    • @DrTany
      @DrTany  14 วันที่ผ่านมา +3

      ก็อาจจะครับถ้านั่งนานๆครับ

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 14 วันที่ผ่านมา +2

      ขอบคุณมากนะคะคุณหมอแทน
      ทานมื้อเที่ยงให้อร่อยค่า 🌻🧡🌻

  • @pennymchan1826
    @pennymchan1826 13 วันที่ผ่านมา +1

    ขออนุญาตสอบถามค่ะ คุณหมอรับ new patients ไหมคะ as a primary care physician ค่ะ// ขอบคุณค่ะ

    • @armnakornthab6867
      @armnakornthab6867 13 วันที่ผ่านมา +1

      ถ้าคุณจะปลูกถ่ายปอดคงได้ครับ แต่ถ้าเจ็บป่วยทั่วไปไม่ได้ครับ

    • @pennymchan1826
      @pennymchan1826 13 วันที่ผ่านมา +1

      ขอบคุณค่ะ

  • @kongkt5212
    @kongkt5212 14 วันที่ผ่านมา +1

    คุณ​หมอครับที่เขาค้นพบรักษามะเร็ง​ด้วยเซซามิน​ ที่เชียงใหม่จริงไหมครับ❤❤❤

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa 13 วันที่ผ่านมา +1

      เรื่องนี้ก็จริงค่ะ แต่เป็นการศึกษาในระดับเซลล์และสัตว์ทดลองเท่านั้นนะคะ แต่ปัจจุบันนี้ยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยทางคลินิกที่ยืนยันแน่ชัดว่า สารดังกล่าวส่งผลในการทำลายเซลล์มะเร็งในมนุษย์ค่ะ