อยากเป็นคนที่สมบูรณ์แบบมั้ย ? ถ้าใช่ ลองมาดูคลิปนี้ก่อน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 24 ม.ค. 2022
  • คุณอาจจะพยายามทำให้งานสักงานหนึ่งหรือผลิตภัณฑ์ที่คุณผลิตออกมาสมบูรณ์แบบได้ แต่สำหรับตัวคุณเอง แม้ว่าคุณจะพยายามอย่างหนักตลอดชั่วชีวิตของคุณ ก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้คุณกลายเป็นคนดีพร้อมสมบูรณ์แบบได้ เหตุผลง่ายๆ ก็เพราะ มนุษย์เราไม่ได้ถูกออกแบบมาให้อยู่ตัวคนเดียว เราถูกออกแบบมาให้อยู่ร่วมกันเป็นสังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งถ้าเราสมบูรณ์แบบแล้ว เราจะต้องการคนอื่นไปเพื่ออะไร
    ดูเหมือนนี่จะเป็นข่าวร้ายสำหรับบางคนที่ได้รู้ว่า ตัวเขาเองจะไม่มีวันกลายเป็นคนสมบูรณ์แบบอย่างที่เขาอยากเป็น แต่จริงๆ แล้ว มันก็ยังมีข่าวดีอยู่ด้วยนะ
    ข่าวดีก็คือ ไม่มีความจำเป็นใดๆ เลยที่คุณจะต้องเป็นคนสมบูรณ์แบบ คุณสามารถที่จะยังมีจุดอ่อนอยู่ แล้วก็ยังสามารถประสบความสำเร็จในชีวิตทั้งที่ยังมีจุดอ่อนนั้นอยู่ได้ ถ้าไม่เชื่อก็ลองไปอ่านประวัติชีวิตคนที่ประสบความสำเร็จในโลกนี้ดูสิ คุณจะได้พบว่าพวกเขาเหล่านั้นก็ไม่ได้ใกล้เคียงกับคำว่าสมบูรณ์แบบเลยด้วยซ้ำ
    บางคนอาจสงสัยว่า “องค์กรต่างๆ ก็น่าจะอยากได้พนักงานที่สมบูรณ์แบบสิ” นั่นเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปพอสมควรเลยทีเดียว ถ้าหากเราลองคิดดูดีๆ แล้ว องค์กรต้องการอะไรกันแน่ ระหว่างพนักงานคนหนึ่งที่สมบูรณ์แบบ หรือผลงานรวมขององค์กรที่บรรลุตามเป้าหมายอย่างสมบูรณ์แบบ แน่นอนว่าต้องเป็นผลงานที่สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว แล้วผลงานที่สมบูรณ์แบบนั้นจำเป็นต้องออกมาจากพนักงานคนหนึ่งที่สมบูรณ์แบบหรือไม่ คำตอบคือ ไม่จำเป็น แต่ผลงานที่สมบูรณ์แบบนั้นจะออกมาจาก “ทีมที่สมบูรณ์แบบ” ต่างหาก
    ทีมที่สมบูรณ์แบบที่เรากำลังพูดถึงก็คือ ทีมที่ทุกคนในทีมต่างก็ตระหนักดีว่า ตัวเองมีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อน และเพื่อนๆ ในทีมต่างก็มีทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนด้วยเช่นเดียวกัน ทีมที่ทุกคนรู้ดีว่า ถ้าต้องการทำงานใดสักงานหนึ่งให้ออกมาสำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบ ตัวเราเองจะต้องดึงจุดแข็งด้านใดออกมาใช้ และเราจะต้องทำงานร่วมกับใครที่เขามีจุดแข็งในด้านที่สามารถมาเติมเต็มจุดอ่อนของเราได้พอดี เมื่อต่างคนต่างพยายามดึงเอาจุดแข็งของตัวเองออกมาเพื่อเติมเต็มจุดอ่อนของคนอื่น เมื่อนั้นแหละที่ทีมจะกลายเป็นทีมที่ไม่มีจุดอ่อนอีกต่อไป แถมยังมีจุดแข็งอยู่เต็มไปหมด หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทีมนั้นกลายเป็นทีมที่สมบูรณ์แบบที่พร้อมจะสร้างสรรค์ผลงานที่สมบูรณ์แบบออกมาให้กับองค์กรได้ในที่สุด
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 1

  • @user-zt5ud5yc7s
    @user-zt5ud5yc7s 2 ปีที่แล้ว

    ใช่ครับไม่สมบูรณ์นี้บรรทัดฐานอะไรครับ