ฎีกา InTrend Ep.117 การคิดค่าทนายความเป็นร้อยละของยอดหนี้โดยตกลงจ่ายเมื่อได้รับชำระเป็นข้อตกลง....

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 เม.ย. 2023
  • ฎีกา InTrend Ep.117 การคิดค่าทนายความเป็นร้อยละของยอดหนี้โดยตกลงจ่ายเมื่อได้รับชำระเป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : วิญญู พิชัย, สรวิศ ลิมปรังษี, ณัฐสิมา อนันทนุพงศ์
    Show Creator : ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, รวิภา กิ่งจักร์
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : โสรัตน์ ไวศยดำรง, สุพัตรา ขำมีศักดิ์, สุภาวัชร์ ดลมินทร์
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์, กนกกูล วสยางกูร
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    การค้าความซึ่งตามปกติหมายถึงการส่งเสริมให้คนมีคดีความกันมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากการเป็นคดีความกันนั้นเป็นเรื่องที่กฎหมายไม่ต้องการให้เกิดขึ้นเพราะจะทำให้คดีรกโรงรกศาลและทำให้เกิดความขัดแย้งกันโดยไม่จำเป็น ประเด็นหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นและส่งผลต่อเรื่องดังกล่าวคือการคิดค่าตอบแทนของทนายความในบางลักษณะที่อาจทำให้เกิดข้อสงสัยว่าจะมีส่วนของการค้าความหรือไม่ ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้จะเป็นกรณีที่ตกลงคิดค่าทนายความเป็นอัตราร้อยละของยอดหนี้โดยตกลงจ่ายเมื่อได้รับชำระหนี้จะถือเป็นข้อตกลงที่ฝ่าฝืนกฎหมายหรือไม่
    นาง ก. ชักชวนนาง ข. และเพื่อนให้ร่วมลงทุนในกิจการสหกรณ์การเกษตรแห่งหนึ่ง โดยบอกกับนาง ข. ว่าหากลงทุนจะได้ผลประโยชน์ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน นาง ข. และเพื่อนจึงได้ลงทุนไปเป็นเงินรวม 20 ล้านบาท ช่วงแรกนาง ก. จ่ายเงินผลประโยชน์ตามที่ตกลงไว้ แต่ได้หยุดจ่ายในเวลาต่อมาโดยอ้างว่ากระแสเงินสดขาดช่วง
    นาง ข. และเพื่อนจึงเห็นว่านาง ก. น่าจะหลอกลวงเพื่อเอาเงินไปมากกว่าที่จะมีการลงทุนจริง ๆ แต่เมื่อทวงถามนาง ก. ก็บ่ายเบี่ยงโดยตลอด นาง ข. และเพื่อนจึงได้ไปติดต่อนาย ค. ให้เป็นทนายความให้ โดยตกลงจ่ายค่าใช้จ่ายเบื้องต้นคนละ 30,000 บาท และคิดค่าวิชาชีพอีกในอัตราร้อยละ 10 ของจำนวนยอดหนี้ที่เป็นทุนทรัพย์ของแต่ละคน แต่ตกลงให้ชำระเงินดังกล่าวเมื่อนาง ข. กับเพื่อนได้รับชำระเงินจากนาง ก. เสียก่อน
    นาย ค. ได้รวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐานต่าง ๆ และนำนาง ข. กับเพื่อนไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจจนมีการสอบสวน และพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาล
    ต่อมานาง ก. ได้เจรจากับนาง ข. กับเพื่อน และตกลงจ่ายเงินคืนให้จำนวน 10 ล้านบาท โดยผ่อนจ่าย 3 งวด ซึ่งนาง ก. ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวครบถ้วนแล้ว แต่เมื่อนาย ค. ทวงถามนาง ข. กับเพื่อนก็ไม่ยอมจ่าย นาย ค. จึงได้ฟ้องนาง ข. กับเพื่อนเป็นคดีเพื่อเรียกเงินค่าวิชาชีพที่ค้างอยู่จำนวน 1 ล้านบาท
    นาง ข. กับเพื่อนซึ่งเป็นจำเลยจึงต่อสู้ว่าข้อตกลงดังกล่าวที่ให้คิดค่าวิชาชีพทนายความเป็นอัตราส่วนของยอดหนี้ที่เรียกร้องโดยตกลงให้ชำระเมื่อได้รับเงินจากนาง ก. เป็นข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายและใช้บังคับไม่ได้ เนื่องจากมีลักษณะที่ทำให้ทนายความเข้าไปมีส่วนได้เสียในทางทรัพย์สินกับผลของคดี ซึ่งเป็นสัญญาที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150
    ในกรณีนี้แม้จะมีการคิดค่าทนายความเป็นอัตราส่วน แต่การคิดไม่ได้คิดจากผลของคดีที่จะเกิดขึ้นภายหลังเข้าไปทำหน้าที่ทนายความ และจะมีผลทำให้ทนายความได้รับค่าตอบแทนเมื่อผลของคดีเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตกลงกัน เพราะเป็นการคิดจากยอดหนี้หรือทุนทรัพย์ที่เรียกร้องแต่ต้น ซึ่งยอดหนี้และทุนทรัพย์ดังกล่าวไม่ได้ผันแปรไปตามผลของคดีที่จะเกิดขึ้น
    ปัญหาคงเป็นในส่วนของข้อตกลงที่ให้จ่ายเมื่อได้รับชำระจากฝ่ายของนาง ก. แต่ในกรณีนี้ปรากฏจากข้อเท็จจริงว่าการตกลงกันของนาย ค. กับฝ่ายนาง ข. และเพื่อนนั้นต้องการให้นาย ค. ไม่เพียงแต่ว่าความให้ แต่ต้องการให้ช่วยติดตามให้ได้เงินกลับคืนมาให้มากที่สุดด้วย จึงได้ตกลงกันให้ชำระค่าทนายความเมื่อได้รับชำระจากนาง ก. ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงเงื่อนไขของการชำระเงินเท่านั้น ไม่ได้ทำให้ข้อตกลงดังกล่าวกลายเป็นการค้าความไป เพราะจำนวนเงินที่จะได้รับยังเป็นจำนวนเท่าอัตราเดิมไม่ได้ผันแปรไปตามจำนวนเงินที่เรียกเก็บได้โดยตรง
    กรณีนี้คงสรุปได้ว่ากรณีที่มีการตกลงกำหนดค่าทนายความเป็นอัตราร้อยละของยอดหนี้ที่เรียกร้อง ไม่ถือเป็นการกำหนดค่าทนายความที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้จะมีข้อกำหนดให้ชำระเงินเมื่อได้รับชำระหนี้จากฝ่ายที่ถูกเรียกร้องเสียก่อนก็ตาม
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2406/2564)

ความคิดเห็น • 7

  • @guytiips3906
    @guytiips3906 ปีที่แล้ว

    ขอบพระคุณครับ​ ท่านช่วยชาวบ้านได้เยอะ

  • @blackbird4005
    @blackbird4005 ปีที่แล้ว

    ขอบพระคุณครับ

  • @Bsmithz
    @Bsmithz ปีที่แล้ว

    แล้วถ้าศาลตัดสินว่าให้ชำระหนี้คืน 10 ล้านแล้ว ทางทนายไม่ได้เป็นคนทำหน้าที่ประสานงานติดตามหนี้ ทางจำเลยชำระหนี้ให้เราเองเลย ที่ตกลงไว้จะถือว่าเป็นโมฆะไหมครับ

  • @mongchonchisaetaiw6758
    @mongchonchisaetaiw6758 ปีที่แล้ว

    😊

  • @surachai355
    @surachai355 ปีที่แล้ว

    • @surachai355
      @surachai355 ปีที่แล้ว

      เป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากครับ

  • @komnatpakorn2571
    @komnatpakorn2571 ปีที่แล้ว

    ฎีกาที่2406/2564 ขอบคุณครับ