"ปิงปิงไม่ยอม" กับ 9 เทคนิค “สอนลูกให้รอด” จากการถูก “ล่วงละเมิดทางเพศ”

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 16 พ.ย. 2024
  • ทุกวันนี้ภัยจากการ “ล่วงละเมิดทางเพศ” มีอยู่รอบตัวเด็ก จากข่าวความรุนแรงทางเพศในเด็กที่มีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง และที่น่าเป็นห่วง คือ ไม่ใช่แค่คนแปลกหน้าที่ต้องระวัง แต่คนใกล้ตัวก็อันตรายไม่แพ้กัน พ่อแม่จะช่วยปกป้องลูกน้อยให้ปลอดภัยจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศได้อย่างไร?
    ---
    เทคนิคป้องกันลูก “ถูกล่วงละเมิดทางเพศ”
    คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้ลูกน้อยเรียนรู้และมีทักษะในการป้องกันตัวเอง เพื่อให้ลูกสามารถรับมือกับอันตรายทางเพศ และไม่ตกเป็นเหยื่อ ล่วงละเมิดทางเพศ
    ---
    1.สอนลูกให้เรียก “อวัยวะ” ต่างๆ ในร่างกายด้วยคำที่ถูกต้อง
    คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มสอนให้ลูกรู้จักชื่อเรียกของอวัยวะที่เกี่ยวกับเรื่องเพศ เช่น จู๋ จิ๋ม ก้น หน้าอก หัวนม นม ได้ตั้งแต่วัย 2-3 ขวบ ที่ลูกเริ่มเรียกชื่อได้ และรู้จักสังเกตความแตกต่างระหว่างชาย-หญิง โดยสามารถใช้ช่วงเวลาอาบน้ำ สอนให้ลูกรู้จักว่าอวัยวะเพศ ของผู้ชายเรียก จู๋หรือเจี๊ยว ของผู้หญิงเรียก จิ๋มหรือปิ๊ การสอนควรใช้คำง่ายๆ เพื่อให้ลูกสื่อสารกับพ่อแม่ได้ เมื่อเกิดอะไรไม่ปกติกับร่างกายของลูก และไม่ควรใช้คำแปลกพิสดาร ไม่เหมือนชาวบ้าน เมื่อเกิดเหตุการณ์ ล่วงละเมิดทางเพศ ที่ต้องสื่อสารขอความช่วยเหลือจากคนอื่น จะไม่มีใครเข้าใจ
    ---
    2.สอนลูกให้รู้ว่า ”ร่างกายของเรา” คือ “พื้นที่ส่วนตัว”
    ลูกต้องไม่ปล่อยให้ใครมาสัมผัสร่างกายของเรา ขอจับแก้ม หอมแก้ม จุ๊บปาก รวมถึงอวัยวะในร่มผ้า ห้ามแตะต้อง จ้องมอง หรือถ่ายรูป คุณพ่อคุณแม่สามารถสอนโดยให้ลูกใส่ชุดว่ายน้ำแบบ One Piece และสอนว่า อวัยวะที่อยู่ภายใต้ชุดนี้ คือ ของส่วนตัว ไม่อนุญาตให้ใครมาแตะต้องทั้งสิ้น ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นคนใกล้ชิดหรือไม่ก็ตาม มีเพียงพ่อแม่ และตัวลูกเองเท่านั้น ที่สามารถสัมผัสได้
    ---
    3.สอนลูกให้ “รู้จักปฏิเสธ” เมื่อมีคนอื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่มาขอจับ จ้องมอง หรือถ่ายรูป
    เมื่อลูกรู้แล้วว่าอวัยวะไหนบ้างคือพื้นที่ส่วนตัว และลูกไม่อนุญาตให้ใครมาสัมผัส คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกรู้จักกล้าปฏิเสธด้วย จากสถิติพบว่าคนที่มักทำร้าย ล่วงละเมิดทางเพศ มักจะเป็นคนใกล้ชิด หรือคนที่เด็กเคารพ เช่น เพื่อน พี่เลี้ยง ญาติ เพื่อนบ้าน ครู เป็นต้น ถ้ามีใครทำแบบนั้นให้สอนลูกปฏิเสธด้วยน้ำเสียงจริงจังว่า "ไม่ได้" แล้ววิ่งหนีออกมาโดยเร็ว ไม่ต้องเกรงใจ แม้ว่าเขาจะเป็นคนที่ลูกเคารพก็ตาม
    ---
    4.สอนลูกให้ “บอกพ่อแม่” ทันที ถ้ามีคนมาขอจับ ดู หรือโชว์ของส่วนตัว กับลูก
    เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น เด็กมักจะถูกขู่ หรือขอร้องว่าไม่ให้ไปบอกใคร คุณแม่อาจใช้วิธีสอนลูกว่า ถ้ามีใครทำแบบนั้นให้มากระซิบบอกแม่เบาๆ เขาไม่รู้หรอก ยังไงพ่อแม่ก็จะช่วยปกป้องไม่ให้ใครมาทำอะไรลูกได้
    ---
    5.สอนลูกให้ “แยกแยะ” สัมผัสแบบไหนคือ “สัมผัสที่ปลอดภัย”
    ลูกมีสิทธิ์เต็มที่ในร่างกายตัวเอง ที่จะปกป้องพื้นที่ส่วนตัวไม่ให้ใครจับ สัมผัส แม้แต่พ่อแม่เองอยู่ๆ จะไปจับ ก็ต้องมีเหตุผลเสมอ เช่น จำเป็นต้องช่วยลูกในการทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ ล้างก้นให้ลูก เป็นต้น หากไปหาหมอ จำเป็นต้องตรวจบริเวณเหล่านี้ พ่อแม่จะอยู่กับลูกทุกครั้ง หรือในวิชาเรียนบางวิชาอาจต้องมีสัมผัสของครูในบางครั้งอาจต้องมีการสัมผัสกันเล็กน้อย
    ---
    6.สอนให้ลูก “เคารพ” สิทธิ์ในร่างกายของคนอื่นด้วย
    เราอยากให้คนอื่นเคารพสิทธิ์ในร่างกายของเรา เราก็ต้องเคารพสิทธิ์ในร่างกายคนอื่นด้วย ถ้าลูกจะไปถูกเนื้อถูกตัวใครให้ขอก่อน ถ้าใครบอกให้ “หยุด” ลูกต้องหยุด เวลาเล่นกับพี่กับน้องก็เหมือนกัน ถ้ามีใครขอให้หยุดโดนตัวกัน ต้องหยุดเสมอ เราจะไม่ฝืนใจคนอื่น
    ---
    7.พ่อแม่ต้อง “ไม่บังคับ” ให้ลูกกอดใคร หอมใคร ถึงแม้เขาจะเป็นญาติแท้ๆ
    เวลาที่เราพาลูกไปหาญาติ แล้วเขาขอกอด ขอหอมด้วยความเอ็นดู เรามักจะบอกลูกให้ยอมทำตาม ทั้งๆ ที่ลูกอาจจะไม่เต็มใจ การทำเช่นนี้จะทำให้ลูกสับสนว่า ตกลงแล้ว ลูกมีสิทธิ์ในร่างกายตัวเองจริงหรือเปล่า ดังนั้น พ่อแม่เองต้องทำให้ลูกมั่นใจด้วยว่า เขามีสิทธิ์เต็มที่ในร่างกายของเขา และเขาต้องสามารถควบคุมมันได้ ไม่ใช่ใครจะมาบังคับแล้วลูกต้องทำตาม
    ---
    8.สอนลูกให้ “เชื่อในความรู้สึกของตัวเอง”
    สอนลูกว่า ในบางสถานการณ์ หรือบรรยากาศที่ลูกรู้สึกว่า การสัมผัสนั้นทำให้ลูกไม่สบายใจ อึดอัด กลัว หรือรู้สึกแปลกๆ เช่น การสัมผัสของครูที่โรงเรียนในบางวิชา ถ้าลูกรู้สึกมากๆ ลูกต้องปฏิเสธ ตะโกนขอความช่วยเหลือ หรือวิ่งออกมาให้พ้นจากสถานการณ์ที่ลูกไม่ชอบ ไม่ต้องกลัวว่าจะเสียมารยาท และกลับมาเล่าให้แม่ฟังทุกครั้ง แม่จะปกป้องลูกเอง
    ---
    9.คุยกับลูกในบรรยากาศผ่อนคลาย
    การจะสอนลูกให้เข้าใจเรื่องการป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากการ “ล่วงละเมิดทางเพศ” เป็นเรื่องที่ต้องค่อยๆ สอน หาเวลาพูดคุยแบบสบายๆ โดยคุณพ่อคุณแม่อาจใช้หนังสือนิทานเป็นตัวช่วยในการยกตัวอย่าง สื่อสารให้ลูกเห็นภาพและทำความเข้าใจตามได้ง่าย ซึ่งเรื่องราวในหนังสือ จะเป็นตัวแทนของเด็กๆ เมื่อเจอเหตุการณ์ ล่วงละเมิดทางเพศ และวิธีการง่ายๆ ที่เด็กสามารถดูแลตัวเองได้อย่างปลอดภัยตามวัยของเขา
    ---
    หนังสือนิทาน “ปิงปิงไม่ยอม” ตัวช่วยคุณแม่ สอนลูกปลอดจากภัย ล่วงละเมิดทางเพศ
    นิทานปิงปิง เรื่อง ปิงปิงไม่ยอม 1 ใน 4 เรื่องจากชุด ปิงปิงระวังภัย หนังสือที่คุณแม่ยุคใหม่ควรมีติดบ้านไว้ เป็นตัวช่วยในการสอนลูกน้อยให้รู้เท่าทันอันตรายรอบตัว โดยเฉพาะภัยจากคนใกล้ตัวที่เด็กๆ อาจคาดไม่ถึง เมื่อคุณครูผู้ชายเข้ามาหลอกล่อเด็กๆ ด้วยขนมลูกอม แลกกับการขอหอม ขอจับจิ๋ม ปิงปิงจะทำอย่างไร?
    ---
    #ชุดนิทานปิงปิงระวังภัย #นิทานเด็กเล็ก #หนังสือเด็ก
    ซื้อเลยตอนนี้ คลิก bit.ly/4volsYou...
    สอบถามแอดมิน คลิก m.me/pingpingo...

ความคิดเห็น •