ฎีกา InTrend EP.65 ทายาทของผู้ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ที่ดิน ส.ป.ก. ที่ไม่ได้ไปใช้ที่ดินนั้นจะมี...

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 13 เม.ย. 2022
  • ฎีกา InTrend EP.65 ทายาทของผู้ได้รับอนุญาตให้ทำประโยชน์ที่ดิน ส.ป.ก. ที่ไม่ได้ไปใช้ที่ดินนั้นจะมีอำนาจฟ้องผู้ที่บุกรุกเข้าไปทำสวนได้หรือไม่
    The Host : กองสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานศาลยุติธรรม
    Guest Host : สรวิศ ลิมปรังษี
    ที่ปรึกษา : สรวิศ ลิมปรังษี, อรวรานันท์ ธนาพันธ์วรากุล
    Show Creator : นันทวัลย์ นุชนนทรี, ศณิฏา จารุภุมมิก
    Episode Producer & Editor : ศณิฏา จารุภุมมิก, ปนัสยา ชื่นอุระ
    Sound Designer & Engineer : กฤตภาส ทองแจ้ง, กิติชัย โล่สุวรรณ
    Coordinator & Admin : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, โสรัตน์ ไวศยดำรง
    Art Director : สุภาวัชร์ ดลมินทร์, ปันจารีณ์ สุวรรณโภชน์ ทศพร ศิลาบำเพ็ญ
    Webmaster : ผุสชา เรืองกูล, วชิระ โรจน์สุธีวัฒน์
    ที่ดิน ส.ป.ก. เป็นที่ดินที่มีอยู่ในทั่วทุกภาคส่วนของประเทศ โดยกฎหมายต้องการจัดสรรที่ดินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่มักมีฐานะยากไร้ให้ได้มีโอกาสมีที่ทำกิน แต่การให้ใช้ที่ดินประเภทนี้ก็มีข้อจำกัดที่ไม่สามารถโอนกันได้เว้นแต่จะเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท ในบางครั้งก็มีปัญหาการใช้ที่ดินในระหว่างผู้ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. นี้ด้วยเช่นกัน ปัญหาที่จะนำมากล่าวถึงในตอนนี้เป็นกรณีที่มีผู้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินที่อีกคนหนึ่งได้รับอนุญาตจาก ส.ป.ก. ทายาทของผู้ได้รับอนุญาตนั้นจะมีอำนาจฟ้องผู้ที่บุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ดังกล่าวได้หรือไม่
    นายมีนาได้รับอนุญาตจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งมีเนื้อที่ดินประมาณ 26 ไร่ แต่ช่วงหลัง ๆ มา นายมีนาไม่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวแล้วเนื่องจากมีสุขภาพไม่ดี ต่อมานายมีนาได้ถึงแก่ความตาย นายมีนามีบุตรหนึ่งคนคือนายเมษา
    ภายหลังจากนายมีนาเสียชีวิต นายเมษาได้เข้าไปตรวจดูและขอรังวัดที่ดิน ส.ป.ก. ที่นายมีนาได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์จึงพบว่ามีที่ดินส่วนหนึ่งประมาณ 4 ไร่ที่นายพฤษภาได้เข้าไปปลูกต้นยางพาราไว้
    นายเมษาจึงได้มาฟ้องขับไล่นายพฤษภาให้ออกจากที่ดินที่พิพาทจำนวน 4 ไร่นั้น
    นายพฤษภาต่อสู้อ้างว่านายเมษาไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ เพราะนายมีนาไม่ได้ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นเวลานานแล้วจนตนเองไปปลูกต้นยางพาราไว้และนายมีนาไม่ได้ฟ้องเอาคืนการครอบครองจนเกิน 1 ปี นายพฤษภาจึงมีสิทธิครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าว
    ในกรณีที่ปกติของที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง หากมีผู้เข้าไปรบกวนการครอบครองของอีกบุคคลหนึ่ง ผู้ที่มีสิทธิครอบครองจะต้องฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาที่ถูกรบกวนการครอบครอง
    แต่ในกรณีนี้ที่ดินแปลงดังกล่าวที่พิพาทกันเป็นที่ดินที่ไม่ได้มีแต่สิทธิครอบครอง ตรงกันข้ามเป็นที่ดินที่มีกฎหมายคือพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ได้กำหนดไว้ในมาตรา 36 ทวิ ให้ ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินที่ได้มาตามกฎหมายดังกล่าว แต่ ส.ป.ก. อาจอนุญาตให้สิทธิแก่เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินได้ เมื่อ ส.ป.ก. ได้อนุญาตให้นายมีนา นายมีนาจึงเป็นผู้มีสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว
    สิทธิในการทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. นี้กฎหมายกำหนดไว้ด้วยว่าอาจตกทอดทางมรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมได้ ดังนั้น เมื่อนายเมษาเป็นทายาทของนายมีนา นายเมษาย่อมมีสิทธิได้รับมรดกสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวด้วย
    แม้ก่อนที่นายมีนาจะถึงแก่ความตาย นายมีนาจะไม่ได้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าวก็ไม่ได้ทำให้นายมีนาเสียสิทธิเข้าทำประโยชน์ของตน การที่นายมีนาจะมีสิทธิอยู่หรือเสียสิทธิไปเป็นเรื่องระหว่าง ส.ป.ก. ผู้อนุญาตให้เข้าทำประโยชน์กับนายมีนาหรือทายาท ผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์
    การที่นายพฤษภาเข้าไปปลูกสวนยางพาราในเขตที่ดินที่นายมีนาได้รับอนุญาตจาก ส.ป.ก. จึงเป็นการรบกวนและโต้แย้งสิทธิของนายเมษาที่เป็นทายาทของนายมีนา นายเมษาจึงมีอำนาจฟ้องนายพฤษภาได้
    ในส่วนที่นายพฤษภาอ้างว่าตนเองครอบครองที่ดินดังกล่าวมานานและนายมีนาไม่ได้ฟ้องเอาคืนการครอบครองภายใน 1 ปี นายมีนาจึงเสียสิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวไปแล้ว เมื่อที่ดินที่พิพาทในเรื่องนี้เป็นที่ดินของ ส.ป.ก. ซึ่ง ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิ์ จึงไม่อาจนำเรื่องสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ได้ เพราะกรณีดังกล่าวต้องเป็นกรณีของที่ดินที่ไม่มีกรรมสิทธิ์
    การที่สมาชิกที่ได้รับอนุญาตจาก ส.ป.ก. จะมีสิทธิเพียงใดย่อมต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้รับอนุญาตจาก ส.ป.ก. เท่านั้น สมาชิกแต่ละคนไม่สามารถเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินที่คนอื่นได้รับอนุญาตจาก ส.ป.ก. แล้วอ้างเป็นสิทธิของตนได้เอง เพราะหากทำแบบนั้นได้ย่อมจะทำให้เกิดข้อพิพาทและความวุ่นวายระหว่างสมาชิกทั้งหลายที่อาจเข้าไปแย่งสิทธิซึ่งกันและกันได้ ดังนั้น แม้นายพฤษภาจะได้เข้าไปปลูกสวนยางพาราในที่ดินพิพาทก็ไม่ทำให้นายพฤษภาได้สิทธิครอบครองมา
    สิทธิในการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. อาจตกทอดแก่ทายาทได้ ทายาทจึงมีอำนาจฟ้องผู้ที่บุกรุกเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินได้แม้ก่อนหน้านั้นตนจะไม่ได้เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเองก็ตาม ผู้ที่เข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินที่อีกคนได้รับอนุญาตก็ไม่ได้ไปซึ่งสิทธิครอบครองใด ๆ เพราะการจะมีสิทธิได้จะต้องเป็นผู้ได้รับอนุญาตจาก ส.ป.ก. ที่มีกรรมสิทธิ์เหนือที่ดินนั้นเสียก่อน
    (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2563)

ความคิดเห็น • 26

  • @artitsuneepat4989
    @artitsuneepat4989 ปีที่แล้ว +7

    เพิ่มเติม ส่วนที่ดินตามมาตรา 36 ทวิ เป็นที่ดินที่ ส.ป.ก. ได้มาแล้ว ที่ดินที่อยู่ในพื้นที่ที่การประกาศเขตปฏิรูปที่ดินถือไม่ได้ว่าเป็นกรรมสิทธิของ ส.ป.ก. ทุกแปลง ทุกพื้นที่ครับ ส.ป.ก. จะได้ที่ดินมาโดยการจัดซื้อที่ดินเอกชน ก็เฉพาะแปลงที่ได้จัดซื้อแล้วเท่านั้น ส่วนที่ดินรัฐก็เฉพาะส่วนที่มีมติ ครม. มอบให้ และ ส.ป.ก. มีแผนงานงบประมาณเข้าดำเนินการแล้วเท่านั้น การเข้าใจว่าที่ดินนในเขตปฏิรูปที่ดินเป็นที่ดินที่ ส.ป.ก. มีกรรมสิทธิแล้วทั้งหมด จึงไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง

  • @pingot1186
    @pingot1186 ปีที่แล้ว +4

    ถ้าผู้ครอบครองเสียชีวิต ไปแล้ว และ ลูก ที่เป็นทายาทโดยชอบธรรม เป็นข้าราชการ อยู่ มีสิทธิ์ได้ครอบครองต่อไปไหมคะอาจารย์หรือ ต้องมอมสิทธิให้คนดูแลถือครองก่อนคะ ขอบพระคุณท่านนะคะ

    • @mouisukanya6082
      @mouisukanya6082 ปีที่แล้ว

      ใช่อยากรู้เหมือนกันบอกหน่อยสิค่ะ

  • @tomobileservice2032
    @tomobileservice2032 ปีที่แล้ว +1

    เปิดโลก ชัดเจน ตรงประเด็น ปัญหานี้เกิดขึ้นมากมาย ขอบคุณมากครับ

  • @user-fb4yf4pz9y
    @user-fb4yf4pz9y 8 หลายเดือนก่อน

    ขอสอบถาม ช่องทางการขอรับสิทธิ จาก ส.ป.ก. ครับ

  • @user-yk2mp2wz4g
    @user-yk2mp2wz4g ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากที่ทำสาระนี้ออกมา❤️❤️

  • @jakapankongton4012
    @jakapankongton4012 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับ

  • @JoyJoy-hg2bo
    @JoyJoy-hg2bo ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะ

  • @JoyJoy-hg2bo
    @JoyJoy-hg2bo ปีที่แล้ว

    เข้าใจง่ายค่ะ

  • @tomobileservice2032
    @tomobileservice2032 ปีที่แล้ว

    เยี่ยม

  • @Suphawadi-te7mv
    @Suphawadi-te7mv 2 ปีที่แล้ว +3

    มีเยอะคะ คน ที่มี สิทธิ์ แล้ว เอา ที่มา ขายให้กับคนอื่น ตอนนี้ยังเป็นปัญหากันอยู่ ไม่ รู้ว่าจะ ทำยังไง เป็น ที่ สปก. 4-01คะ แต่คนที่มา ทำกินก็ทำอยู่ ประมาณ20ปี แต่ลูกหลานของ เจ้าของ ก็ยังอยากจะมา เอา คืน

    • @user-gz1wn5ip6d
      @user-gz1wn5ip6d 2 ปีที่แล้ว +4

      สิทธิ์อนุญาตให้เข้าทำประโยนช์ในเขตปฏิรูปที่ดินแก่ผู้ได้รับสิทธิ์หมดไปนับตั่งแต่นำไปขายให้ผู้อื่นแล้ว

    • @weerapoyan3044
      @weerapoyan3044 4 หลายเดือนก่อน

      ยากให้คนซื้อต่อเจ้าของเดิมมากกว่าทายาติเพราะบางคนไม่ให้นายทุนแต่เป็นชาวบา้นที่ต้องการที่อยู่อาศัยและที่ทำกินสว่นทายาติไม่ค่อยสนใจที่ดินดว้ยซ้ำครับ

  • @user-xb1to3fu8v
    @user-xb1to3fu8v 2 ปีที่แล้ว

    ฎ.808/63
    04:48
    06:28
    08:05

  • @user-up8bt9rf2y
    @user-up8bt9rf2y ปีที่แล้ว

    มีสาระมากๆโอกาศน่าจะมาชมใหม่นะจ้ะ❤❤❤

  • @PhonePhone-fk4jg
    @PhonePhone-fk4jg ปีที่แล้ว

    ขอสอบถามคะเรื่องมันยาวคะมีเบอร์โทรติดต่อมัยคะเรื่องที่ดินคะขอบคุณคะ

  • @user-su5gc6yi2j
    @user-su5gc6yi2j ปีที่แล้ว

    ที่ดินนิคมสร้างตนเองเหมือนกับ สปก.หรือเปล่าครับ

    • @user-lu1bg2fx1v
      @user-lu1bg2fx1v ปีที่แล้ว

      ไม่เหมือนกันครับ

    • @user-su5gc6yi2j
      @user-su5gc6yi2j ปีที่แล้ว

      @@user-lu1bg2fx1v มีใบ นค.1แล้วมีคนเข้ามาแย่งได้ใหมครับ

    • @user-su5gc6yi2j
      @user-su5gc6yi2j ปีที่แล้ว

      @@user-lu1bg2fx1v เพราะเป็นที่ดินรัฐ จัดสรรให้เหมืแนกันครับ

    • @user-jm8zy1tf3x
      @user-jm8zy1tf3x ปีที่แล้ว

      ส.ป.ก.ก็ไม่เป็นทำเลย

    • @user-lu1bg2fx1v
      @user-lu1bg2fx1v ปีที่แล้ว

      ใบนค.1 จะทำประโยชน์ดูแลหากผู้อื่นเขามาทำประโยชน์เกิน1 ปีเขาก็มีสิทธิ์ได้เหมือนกัน