อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงเป็นไข้

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 1 ก.ย. 2022
  • สามารถเข้าร่วม Membership ได้ตามลิงค์นี้ครับ / @drtany
    ถ้าสมัครทางมือถือ ต้องทำผ่าน Browser ครับ ทำทาง App มันจะไม่ได้ ถ้าทำในคอมทำได้ปกติครับ

ความคิดเห็น • 414

  • @pattarapornsovarattanaphon8892
    @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +44

    อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงเป็นไข้ #ทำไมเป็นนไข้ #ตัวร้อน แต่มือเท้าเย็น #ยาลดไข้ทำงานอย่างไร
    ร่างกายคนเราในแต่ละวันจะมีอุณหภูมิไม่คงที่ จะมีช่วงเวลาที่อุณหภูมิร่างกายต่ำและสูง เรียกว่าเป็นวัฎจักรอย่างหนึ่งของร่างกาย
    ตอนที่1

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +20

      อุณหภูมิของร่างกายจะถูกควบคุมด้วยศูนย์อุณหภูมิ อยู่ในสมองส่วนที่เรียกว่า Anterior Hypothalamus ซึ่งเป็นสมองส่วนที่อยู่ตรงกลางๆ และส่วนนี้จะเซ็ทว่าอุณหภูมิร่างกายควรจะเป็นเท่าไหร่
      - ปกติในเวลา 6 โมงเช้าอุณหภูมิร่างกายเราจะต่ำที่สุด และในช่วง 16.00-18.00 น. จะเป็นเวลาที่อุณหภูมิคนเราสูงที่สุด
      - ถ้าเราทำการวัดปรอทใต้ลิ้น ในตอนเช้าอุณหภูมิไม่ควรเกิน 37.2 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิสูงเกิน 37.4 องศาเซลเซียสเมื่อไหร่อาจถือว่าเป็นไข้ได้ และในช่วงบ่าย 16.00-18.00 น. อุณหภูมิร่างกายก็ไม่ควรสูงเกิน 37.7 องศาเซลเซียส หากสูงกว่านี้อาจถือว่าเป็นไข้ได้
      - ในทางปฏิบัติทางการแพทย์จะถือว่า 38 องศาเซลเซียสขึ้นไปจึงจะถือว่ามีไข้ แต่ในตอนเช้าหากเกิน 37.4 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือตอนบ่ายเกิน 37.7 องศาเซลเซียสขึ้นไปก็ถือว่าเป็นไข้
      ตอนที่2

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +11

      - ในบางกรณี คนบางคนโอกาสเกิดไข้จะยากกว่า เพราะการควบคุมอุณหภูมิของเขาจะไม่เหมือนคนทั่วไป ได้แก่
      1. ผู้สูงอายุโอกาสจะเกิดไข้ได้ยากกว่า โดยปกติผู้สูงอายุอุณหภูมิในร่างกายจะต่ำกว่าคนหนุ่มสาว
      2. ในเด็กเล็กแรกเกิดการควบคุมอุณหภูมิจะไม่ค่อยดี โอกาสจะตัวเย็นมากกว่าตัวร้อน
      3. ผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ก็จะมีปัญหาการควบคุมอุณหภูมิ จะเกิดไข้ได้ยากกว่า
      4. คนที่รับประทานยาสเตียรอยด์เป็นเวลานานๆ (แบบชนิดกิน เช่น Prednisolone, Dexamethasone, Betamethasone หรือ ฉีดแบบต่อเนื่อง) โอกาสเกิดไข้จะยากขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าจะดี แต่อาจมีความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เกิดไข้ แต่ท่านไม่สามารถสร้างอุณหภูมิให้สูงขึ้นได้
      ไม่นับคนที่ใช้สเตียรอยด์แบบพ่นเข้าปาก จมูก ที่ใช้แก้ไขในเรื่องโรคภูมิแพ้และโรคหอบหืด
      5. สำหรับผู้หญิงวัยเจริญพันธู์เมื่อไข่ตก อุณหภูมิร่างกายจะสูงขึ้น ดังนั้นทางแพทย์ด้านเจริญพันธุ์จึงให้ผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์วัดอุณหภูมิทุกวัน หากวันไหนอุณหภูมิสูงขึ้นกว่าปกติแสดงว่าวันนั้นเป็นวันที่ไข่ตก ดังนั้นโอกาสที่จะตั้งครรภ์ก็จะสูงขึ้น
      ตอนที่3

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +11

      ทำไมจึงเกิดไข้ขึ้นได้
      1. สมองส่วน Anterior Hypothalamus เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายเมื่อมีอะไรมากระตุ้นมัน จะทำให้เปลี่ยนศูนย์การควบคุมได้ คล้าย เราตั้งแอร์ไว้ 25 องศา วันดีคืนดีเรารู้สึกหนาวเราจึงตั้งไว้ 27 องศา อุณหภูมิในห้องก็ค่อยๆอุ่นขึ้นเป็น 27 องศา ร่างกายเรา เหมือนกับศูนย์ Anterior Hypothalamus ก็เช่นกัน จะตั้งไว้ที่ประมาณ 37 องศา ถ้าเรามีไข้ อาจจะตั้งไว้ที่ 38 หรือ สูงกว่านั้น
      2. ร่างกายเราจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายให้ไปถึงที่เราตั้งไว้ให้ได้ โดยจะมีการหดตัวของเส้นเลือดส่วนปลายบริเวณผิวหนังและปลายมือปลายเท้า พอเส้นเลือดหดเลือดก็จะเดินทางไปสู่แกนกลางส่วนกลาง จะทำให้ร้อนมากขึ้น เมื่อเลือดไปเลี้ยงบริเวณส่วนปลายน้อย จะทำให้บริเวณนั้นเย็น หากเราไปจับตัวคนเป็นไข้บริเวณปลายมือปลายเท้าเขาจะเย็น เป็นเพราะเลือดหดตัวนั่นเอง
      ประโยชน์ของเส้นเลือดหดตัว จะป้องกันการสูญเสียความร้อนของเส้นเลือดที่ผิวหนัง ความร้อนจะไม่ระเหยออก มันจะกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุณหภูมิร่างกายเราสูงขึ้น
      ตอนที่4

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +12

      3. จะมีการยับยั้งต่อมเหงื่อ เพราะ ถ้าเหงื่อออก ร่างกายก็ต้องระเหยเอาความร้อนออกไป
      หากทำแบบนี้แล้วร่างกายยังไม่สามารถทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้จนถึงที่เราตั้งไว้ ก็จะมีอาการหนาวสั่นตามมา หรือหลายๆคนมีไข้หนาวสั่น กลไกร่างกายถ้ามีการสั่นจะเป็นการใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย เมื่อสั่นแล้วจะสร้างความร้อนออกมาด้วย เป็นการเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย
      ข่วงแรกจะเป็นการหดตัวของเส้นเลือดก่อน จะไม่สั่น เส้นประสาทกลุ่มที่ทำหน้าที่บอกร่างกายว่าร้อนเกินไปแล้วนะ จะไม่ค่อยทำงาน เพราะร่างกายต้องการความร้อนเพิ่มขึ้น ถ้าไม่พอจะมีการสั่นร่วมด้วย จะมีการสร้างเมตาบอลิซึมต่างๆของร่างกายเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความร้อนเพิ่มขึ้น
      ที่ Anterior Hypothalamus จะมีสาร Prostaglandin E2 หรือ PGE อาจจะ 2 หรือไม่ 2 ก็ได้ เป็นตัวที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการ set อุณหภูมิที่ Anterior Hypothalamus ทำให้เรามีไข้
      ตอนที่5

    • @pattarapornsovarattanaphon8892
      @pattarapornsovarattanaphon8892 ปีที่แล้ว +2

      Prostaglandin ถูกกระตุ้น จากร่างกายที่มีการอักเสบชนิดต่างๆ เช่น ติดเชื้อไวรัสโควิดเข้ามา ติดเชื้อแบคทีเรีย ก็จะมีการทำให้ร่างกายตอบสนอง ร่างกายจะสร้างสาร Cytokine storm ซึ่งสาร Cytokine มีมากกว่า 70-80 ชนิด แต่ตัวที่เกี่ยวข้องกับไข้ มี 4 ตัว คือ Interleukin-1, Interleukin-6, Tumor necrosis factor alfa, Ciliary neurotrophic factor ร่างกายจะสร้างขึ้นเพื่อไปกระตุ้นสมองส่วน Anterior Hypothalamus สร้าง Prostaglandin E2 ขึ้นมามากขึ้น แล้วไปเปลี่ยนอุณหภูมิที่ร่างกายเรา set ไว้แล้วก่อให้เกิดไข้ตามมา
      ยาที่สามารถไปยับยั้ง Prostaglandin E2 คือ
      1. ยา ไทลีนอล พาราเซตตามอล Acetaminophen ทั้งหมดนี้เป็นยาตัวเดียวกัน ปกติแล้วจะผ่านเข้าสู่สมอง แล้วจะมี เอนไซม์ตัวหนึ่ง ชื่อ Cytochrome P450 มาเปลี่ยนแปลงมันให้เป็นตัวที่สามารถยับยั้งเอนไซม์ Cyclooxygenase ได้ ทำให้เกิดการยับยั้งการสร้าง Prostaglandin E2 เพราะ Cyclooxygenase มีความสำคัญในการสร้าง Prostaglandin
      ตอนที่6

  • @GuGu2213
    @GuGu2213 ปีที่แล้ว +27

    ลองฟังแล้วมาสรุปตามความเข้าใจ Episode I
    👉ภาวะไข้ 🤒
    - ระดับอุณหภูมิของร่างกาย ( Temperature ขอย่อว่า Temp.)ในหนึ่งวันนั้นไม่เท่ากันมีทั้งช่วงที่สูงเเละต่ำ โดยปกติ
    ต่ำสุดตอนเช้า > ~ 6 น. ไม่ควรเกิน 37.2°C
    สูงสุด ตอนเย็น~16 น.ไม่ควรเกิน 37.7°C
    * นิยามไข้ ทางการแพทย์ จะถือว่ามีไข้ คือ ถ้าวัดโดยปรอท ทางปากแล้ว Temp.>38°C
    ( แต่ในบางคนเวลามีไข้ temp.อาจสูงหรือต่ำกว่านี้ได้ ต้องดูด้วยว่าเป็นในเวลาไหนของวัน)
    -คนบางกลุ่มอาจเกิดภาวะไข้ได้ยากกว่ากลุ่มคนทั่วไป เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ, เด็กแรกเกิดหรือเด็กเล็ก, กลุ่มคนไข้โรคไตเรื้อรัง, คนที่ทานยา steroid ต่อเนื่อเป็นเวลานานๆ
    - ผู้หญิงในช่วงร่างกายมีไข่ตก จะพบว่าร่างกายมี temp ที่สูงขึ้นกว่าปกติ ( อาจใช้การวัด temp มา predict ช่วงที่ไข่ตกได้ )
    * Temp ของร่างกายมีศูนย์ควบคุมอยู่ที่สมองส่วน Anterior Hypothalamus โดยจะมีการตั้ง หรือ set ระดับ temp. ที่ร่างกายต้องการไว้ ซึ่งปกติจะ~37°C
    - ในขณะที่มีไข้ ศูนย์ควบคุม จะมีการตั้งระดับ temp.ที่ร่างกายต้องการ สูงกว่าปกติ และร่างกายจะพยายามเพิ่มความร้อนของร่างกายให้ได้ถึงตามระดับที่ศูนย์ควบคุมตั้งไว้ โดยวิธีต่างๆ เช่น
    1.มีการหดตัวชองเส้นเลือดส่วนปลาย,ผิวหนัง ปลายมือปลายเท้าเพิ่ม > จึงอาจพบอาการปลายมือปลายเท้าเย็นได้
    2.ยับยั้งต่อมเหงื่อ ( ทำให้ลดการระบายความร้อนออกจากร่างกาย)
    3.มีอาการสั่น ( หนาวสั่น )
    4.เพิ่ม metabolism ต่างๆ ของร่างกาย
    👉สารที่ทำให้เกิดไข้ > Prostaglandin ( PGE) โดยเฉพาะ PG E2 เป็นสารที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการ set ของระดับ temp. ที่ร่างกายตั้งไว้ที่ anterior hypothalamus
    **PGE เกิดมาจากการที่ร่างกายถูกกระตุ้นด้วยสิ่งที่ทำให้ร่างกายเรามีการตอบสนองด้วยภาวะอักเสบต่างๆ เช่น การติดเชื้อ, ภาวะที่มีภูมิต่อต้านตัวเอง เป็นต้น
    *ในภาวะที่ร่างกายมีการติดเชื้อ > ร่างกายจะมีการตอบสนองด้วยการสร้าง Cytokine ( Cytokine คือ สารกลุ่มโปรตีนที่ cell สร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ส่สัญญาณต่อไปให้ cell อื่นๆ การสื่อสารระหว่าง cell นี้มักถูกใช้ในกระบวนการภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น เมื่อมีการบาดเจ็บหรือติดเชื้อ ) ..ข้อมูลนี้เเถมให้😊)
    ปกติ Cytokine มี ~80+ ชนิด แต่ที่เกี่ยวข้องกับภาวะไข้มีอยู่ 4 ตัว คือ
    1.Interleukin 1 ( IL-1)
    ( ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้ง IL-1 เช่น Anakinra เป็น IL-1 Receptor Antogonist)
    2.Interleukin 6(IL-6)
    ( ยาที่ออกฤทธิ์ลด IL-6 เช่น Tocilizzumab ยานี้ใช้ใน Pt.Covid 19 ที่มี IL-6 สูง )
    3.Tumer necrosis factor ( TNF)
    ( ยาที่ออกฤทธิ์ตรง targer นี้ เช่น Infiximab, Adalimumab > เป็น chimeric monoclonal antibody )
    4.Ciliary neurotrophic factor ( CNTF)
    Cytokine 4 ตัวนี้จะเกี่ยวข้องกับภาวะไข้ เพราะจะไปกระตุ้นให้มีการสร้าง PGE ตรง Anterior Hypothalamus มากขึ้น > ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิที่ร่างกายตั้งไว้

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 ปีที่แล้ว +19

    ช่องอาจารย์หมอมีสาระความรู้เป็นประโยชน์ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไปมากเลยค่ะ #สิ่งที่ต้องทำเป็นประจำทุกวันคือ การเข้ามาฟังอาจารย์หมอ😊 #ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥀🥰
    ปล. เป็นกลุ่มประชาชนทั่วไป ที่ปกติจะมีวันเข้าไปฟังทบทวนเนื้อหาเป็นประจำค่ะ โดยเฉพาะถ้าได้ยินใครสงสัยเรื่องที่อาจารย์หมอเคยพูดไว้ ก็จะแชร์คลิปให้ฟัง ล่าสุดก็แชร์ให้น้องที่มีปัญหาความดันต่ำค่ะ😊

  • @user-ww9jf9ec6c
    @user-ww9jf9ec6c ปีที่แล้ว +7

    รักน้อนสฺปฺทฺ์โรซี่จนเป็นไข้กายแต่รักอาจารย์​แทนจนเป็นไข้ใจ

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +6

    คลิป อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงเป็นไข้ #ทำไมเป็นไข้ #ตัวร้อน แต่มือเท้าเย็น #ยาลดไข้ ทำงานอย่างไร
    เพียงชั่วข้ามคืนยอดวิวเช้าวันนี้เกิน💥12,000 ครั้ง💥แล้วค่ะ
    💐💐💐💐💐ขอแสดงความยินดีด้วยนะคะ💐💐💐💐💐
    เนื้อหาไม่ธรรมดาเลย ลงลึกในรายละเอียด และอาจารย์ตั้งใจอธิบายมากๆ สีหน้าท่าทางบอกชัดเจนมากค่ะ

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 ปีที่แล้ว +4

    🧊🧊🧊ยินดีด้วยค่ะ ยอดติดตาม314🧊🧊315แสนค่ะ🧊🧊🧊🧊🧊
    🧊ช่วยกดติดตามกันด้วยค่ะ🧊🧊ขอบคุณมากค่ะ🧊🧊

  • @user-il5sy4ol3r
    @user-il5sy4ol3r ปีที่แล้ว +6

    ขอขอบพระคุณคุณหมอมากนะครับ
    ถึงแม้ในด้านภาษาอังกฤษหรือภาษาทางการแพทย์ผมอาจไม่เข้าใจแต่คำอธิบายของคุณหมอผมพอจะประมวลได้เบื้องต้นเพราะผมมีภาวะโรคหัวใจ
    เส้นเลือดอุดตันใส่ขดลวดอยู่หนึ่งเส้น
    ความรู้เบื้องต้นพวกนี้เป็นประโยชน์สำหรับผมมากเลยครับ
    แล้วผมจะติดตามดูคลิปของคุณหมออยู่เสมอนะครับ
    ขออวยพรให้คุณหมอมีความสุขมากๆครับ ขอบพระคุณมากครับ

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +7

    ศูนย์ควบคุมความร้อนในร่างกาย
    จากการศึกษาค้นคว้าในปัจจุบัน ทราบว่า สิ่งที่อยู่เบื้องหลังการควบคุมความร้อนหรือกลไกต่างๆ อยู่ที่สมองส่วนที่เรียกว่า ฮัยโปธาลามัส (Hypothalamus)
    สมองส่วนฮัยโปธาลามัสนี้อยู่ตอนล่างของสมองส่วนควบคุมอุณหภูมิของร่างกายของฮัยโปธาลามัสนี้อยู่ส่วนหน้าและส่วนหลัง ส่วนหน้าควบคุมไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป ส่วนหลังจะควบคุมไม่ให้อุณหภูมิต่ำเกินไป

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 ปีที่แล้ว +5

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    เป็นไข้ เหมือนจะเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ฟังหลายรอบยังจำได้ไม่หมดเลยค่ะ เริ่มเป็นไข้ตอนฟังจบนี่แหละค่า ชื่อยาจำยากค่ะ
    เป็นข้อมูลที่ดีมากๆค่ะ เป็นประโยชน์กับทุกคน ให้ทราบวิธีรักษาอาการไข้เบื้องต้น และเมื่อไรควรไปพบแพทย์
    ขอบคุณมากค่ะ ขอให้คุณหมอและครอบครัว มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขนะคะ

  • @maneeann
    @maneeann ปีที่แล้ว +8

    Neuroleptic malignant syndrome (NMS) เป็นหนึ่งในภาวะฉุกเฉินทางระบบประสาทที่อันตรายถึงชีวิต เกิดเนื่องจากการใช้ยาต้านโรคจิต และการใช้ยาอื่นๆ ที่ออกฤทธิ์เป็น dopamine antagonist หรือการหยุดยา dopamine agonist อย่างฉับพลัน

  • @maneeann
    @maneeann ปีที่แล้ว +9

    Hyperthermia และอาการไข้ Fever มีความคล้ายกัน แต่ไม่ใช่อย่างเดียวกัน
    🥶 Fever อาการไข้เกิดจากกลไกของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิร่างกายเพื่อกำจัดเชื้อโรค
    🥵 Hyperthermia เกิดจากการสะสมความร้อนจากสภาพแวดล้อมภายนอกและปัจจัยภายในร่างกาย โดยที่ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ทัน หรือกลไกในการระบายความร้อนทำงานได้น้อยลง อย่างการขับเหงื่อ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความผิดปกติทั้งสองอย่างมีสาเหตุที่แตกต่างกัน ทำให้การรักษาแตกต่างกันไปด้วย

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +3

      ขอบคุณค่ะน้องแอน

    • @maneeann
      @maneeann ปีที่แล้ว +1

      @@kanyamuay3748 😘😘

  • @user-tg1hi4dv9y
    @user-tg1hi4dv9y ปีที่แล้ว +5

    สงสัยมานานแล้ว เวลาป่วยทำไมไข้มักจะขึ้นตัวร้อน(แต่หนาวสั่น) หลายครั้งจะมีอาการปวดหัวอาเจียนร่วมด้วย มาเป็นเวลาทุกสี่ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงเวลาตอนเย็น ขอบคุณคุณหมอนะครับ

  • @user-qt7ym1nj5r
    @user-qt7ym1nj5r ปีที่แล้ว +1

    ดูคุณหมอมีความสุขในการถ่ายทอดมากเลยค่ะ ขอบพระคุณสำหรับความรู้และความสุขใจที่สัมผัสได้ ส่งให้คนไทย ค่ะ 👍👍👍

  • @user-gg3ip9ly6u
    @user-gg3ip9ly6u ปีที่แล้ว +5

    เกือบไม่ได้ฟังคลิปดีๆแล้วติตธุระค่ะ ขอบคุณคุณหมอมากๆเลยคะ🙏🏻ไม่เคยได้ฟัง
    ข้อมูลแบบนี้จากที่ไหนเลยเนื้อหาสำคัญและมีประโยชน์เลย ขอบคุณนะคะคุณหมอแทน🥰

  • @maneeann
    @maneeann ปีที่แล้ว +15

    ปกติแล้ว คนเรามีอุณหภูมิร่างกายเฉลี่ยอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งร่างกายจะมีกลไกในการรักษาระดับของอุณหภูมิเพื่อให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้เป็นปกติ
    🥶 หากสภาพแวดล้อมหนาวเย็น ร่างกายก็จะสั่งให้ร่างกายสั่นเพื่อเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกาย
    🥵 หากสภาพแวดล้อมร้อนกว่าอุณหภูมิร่างกาย ร่างกายก็จะเริ่มขับเหงื่อเพื่อทำให้ร่างกายเย็นลง ซึ่งภาวะ Hyperthermia นั้นเกิดจากการที่ร่างกายสัมผัสกับความร้อนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดความร้อนสะสม และไม่สามารถระบายออกได้ทัน จนทำให้เกิดความผิดปกติขึ้น
    🏜 หนึ่งในภาวะ Hyperthermia คือโรคลมแดดหรือฮีทสโตรก(Heatstroke) นั่นเอง ภาวะตัวร้อนเกินมีด้วยกันหลายระยะ แต่ละระยะจะมีอาการและความรุนแรงที่แตกต่างกัน หากเริ่มเห็นสัญญาณของ Hyperthermia ก็ควรหาวิธีเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +3

      ขอบคุณค่ะ

  • @Channel-xv2oo
    @Channel-xv2oo ปีที่แล้ว +6

    ขอบคุณคุณหมอแทนอย่างสูง ได้ยินได้ฟังคุณหมอพูดบ่อยๆทำควาเข้าใจกับตัวเอง ตกตะกอนในใจว่า ถ้ามีไข้แปลว่ามีความผิดปกติขึ้นในตัวของเรา คือมีการอักเสบมีได้ทั้งนอกร่างกายช่นผิวหนัง ภายในเรามองไม่เห็น

  • @maneeann
    @maneeann ปีที่แล้ว +8

    hyperpyrexia หมายถึง ไข้สูงเกิน ซึ่งคือภาวะที่อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่า 41.5 องศาเซลเซียส อันเนื่องมาจากการเป็นไข้ที่ทำให้มีอุณหภูมิของร่างกายสูงมาก hyperpyrexia จะพบมากในเด็ก ในการทางแพทย์ภาวะนี้ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ และต้องได้รับการรักษาพยาบาลทันที
    *hyperpyrexia มาจากคำว่า Hyper ที่หมายถึง สูงผิดปกติ และ pyrexia ที่หมายถึง ไข้

  • @kanyamuay3748
    @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +5

    เอ็นเสด มีประโยชน์ทางการแพทย์มาก นอกเหนือจากการใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดอาการอักเสบในโรคข้ออักเสบต่าง ๆ เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ข้อกระดูกเสื่อม ข้อกระดูกสันหลังอักเสบ ข้ออักเสบในโรคเกาต์ แล้วยังใช้กับการอักเสบกรณีอื่น เช่น เอ็นอักเสบ การอักเสบของเยื่อหุ้มปอดและเยื่อหุ้มหัวใจ ยาบางชนิดนำมาใช้บรรเทาอาการปวดเฉียบพลันในกรณี ปวดประจำเดือน ปวดภายหลังการถอนฟัน ปวดบาดแผลผ่าตัด นอกจากนี้ยาในกลุ่มนี้หลายชนิดมีฤทธิ์ลดไข้ด้วย ยาที่นำมาใช้ลดไข้ เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน อย่างไรก็ตาม NSAIDs (เอ็นเสด) มีผลไม่พึงประสงค์มากตลอดจนมียาอื่นที่ให้ผลดีในการลดไข้ จึงไม่ใช้ยาในกลุ่มนี้เพื่อการลดไข้ทั่วไป
    ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้ NSAIDs (เอ็นเสด)
    ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้ยา ผู้ที่มีแผลในทางเดินอาหารระยะเฉียบพลัน หรือผู้ที่จับหืด
    ระวังการเกิดแผลและเกิดภาวะเลือดออกในทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะใช้ NSAIDs (เอ็นเสด) ชนิดใด
    ระวังการใช้ในผู้ที่มีภาวะการแข็งตัวของเลือดบกพร่อง ผู้ที่อยู่ระหว่างการใช้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หญิงมีครรภ์และหญิงที่ให้นมบุตร (เนื่องจากยาบางตัวผ่านรกและถูกขับออกทางน้ำนมได้)
    หลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยโรคตับและโรคไต
    ระวังการใช้ยาร่วมกับยาอื่น เพราะยาในกลุ่มนี้เกิดปฏิกิริยาระหว่างยาได้มาก
    ยาใดบ้างที่จัดเป็น NSAIDs (เอ็นเสด)?
    ยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs หรือเอ็นเสด) มีมากมาย เช่น แอสไพริน (aspirin หรือ acetyl salicylic acid), ไอบูโพรเฟน (ibuprofen), ไดโคลฟีแน็ก (diclofenac), นาพร็อกเซน (naproxen), ไพร็อกซิแคม (piroxicam), เมล็อกซิแคม (meloxicam), เซเลค็อกสิบ (celecoxib), เอทอริค็อกสิบ (etoricoxib)
    2ก.ย.2565

    • @user-ml5zl3bx7j
      @user-ml5zl3bx7j ปีที่แล้ว +2

      😊📖ขอบคุณมากค่ะ😊

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +3

      @@user-ml5zl3bx7j ยืนดีค่ะ

    • @maneeann
      @maneeann ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณค่าพี่หมวย เดี๋ยวนี้หลับเร็ว เพิ่งตื่นมาอ่านค่ะ Happy Saturday 😍🌹

    • @kanyamuay3748
      @kanyamuay3748 ปีที่แล้ว +3

      @@maneeann happy saturday เช่นเดียวกันค่ะ น้องแอน พี่กว่าจะได้อ่านคอมเม้นท์ก็ดึก ฟังความรู้จากคุณหมอและที่เพื่อนๆนำมาลงไว้ ได้ประโยชน์มากเลยค่ะ ช่อง อาจารย์หมอแทนเยี่ยมมาก👍👍🌹🌹😍🥰 อ้อ อ่านที่คุณหมอตอบคำถาม และที่น้องแอน และท่านอื่นๆช่วยกันตอบ ต้องขอชื่นชม เสียสละ มีน้ำใจ น่ายกย่อง 💐💐😍🥰

    • @maneeann
      @maneeann ปีที่แล้ว +2

      @@kanyamuay3748 ใช่ค่ะพี่หมวย คุณหมอมาตอบ เยี่ยมที่สุดเลยค่ะ 👍 ตอนแรกๆ ยังไม่รู้จักคุณหมอ แอนเคยถาม ไม่คิดว่าคุณหมอจะมาตอบ มาตอบค่ะ ประทับใจมาก เลยได้ติดตามมาถึงทุกวันนี้ค่ะ 😁 หลังๆ มา เพื่อนๆ ก็มาช่วยตอบด้วย สุดยอดค่ะช่องนี้

  • @paraneeplanantakuntorn
    @paraneeplanantakuntorn 11 หลายเดือนก่อน +3

    ตามมาทบทวนเรื่องเป็นไข้ค่ะ คลิปนี้เนื้อหาดีเยี่ยมเลย กราบขอบพระคุณอย่างสูง อาจารย์หมอสอนดีมาก ชัดเจนแม้คนที่ฟังไม่ใช่แพทย์ก็สามารถตามรู้ไปกับอาจารย์ได้

  • @user-pw2tk1hi1k
    @user-pw2tk1hi1k ปีที่แล้ว +8

    เป็นข้อมูลที่มีความรู้มากๆคุณหมอ
    จำเก่งมากๆๆอัจฉริยะมากๆยา
    แต่ละยาเรียกก็ยากคนทั่วไปฟัง
    ก็สนุกดีนะค่ะเหมือนอยู่ในห้องเรียน😁😁 เคยรู้สึกเหมือน
    ตัวเราร้อนมีไข้อ่อนๆแต่วัดอุณหภูมิร่างกายปกติ เป็น
    อยู่บ่อยช่วงนึงจะเป็นช่วงเช้า
    คงจะเป็นจากอาการวัยทอง
    ใช่มั๊ยคะคุณหมอลงคลิป
    วัยทองก็น่าจะมีประโยชน์
    ดีนะค่ะเหมาะกับผู้สูงวัย
    อย่างคนไข้😁😁
    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ
    ฟังเพลินเลยถึงจะได้เป็นคลิป
    ที่เหมาะกับนักศึกษาแพทย์
    มาฟังคนบ้านๆก็ได้ความรู้ดี
    มากๆๆค่ะ👍👍👍🙏🙏🙏

  • @user-vi3lv5qk9t
    @user-vi3lv5qk9t ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน วันนี้ป้ามารับชมรับฟังไม่ดึกค่ะวันนี้ทุกวันเลิกงานดึก ป้าเกรงใจคุณหมอค่ะ แต่ก็ย้อนหลังชมตลอดๆๆเลยขอบพระคุณน่ะค่ะที่มีคริปความรู้ที่มีประโยชน์ในทุกๆๆวันขอบคุณค่ะ สุขภาพดีมีสุขน่ะค่ะคุณหมอและน้องโรชี่ด้วยค่ะ บุญรักษาค่ะ🙏🏼♥️♥️♥️🥰

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +5

    ค่าอุณหภูมิที่ถือว่า _มีไข้_ นั้น มีความแตกต่างกันในแต่ละการศึกษา
    🔹ในปี ค.ศ. 1868 แพทย์ชาวเยอรมันชื่อ Carl Reinhold August Wunderlich ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับอุณหภูมิร่างกาย โดยกำหนดให้ 37 องศาเซลเซียส (98.6 องศาฟาเรนไฮท์) เป็นอุณหภูมิร่างกายปกติ และ 38 องศาเซลเซียส (100.4 องศาฟาเรนไฮท์) เป็นค่าสูงสุดที่เป็นปกติซึ่ง Wunderlich ได้ใช้การวัดอุณหภูมิร่างกายทางรักแร้เป็นหลัก
    🔹ในปี ค.ศ. 1992 Mackowiak และคณะ ทำการศึกษาอุณหภูมิร่างกายโดยการวัดทางปาก พบว่าค่าอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงตามเวลาที่วัด โดยต่ำสุดที่เวลา 6.00 น. และสูงสุดที่เวลา 16.00 - 18.00 น. ซึ่งค่าสูงสุดที่วัดได้ที่เวลา 6.00 น. คือ 37.2 องศาเซลเซียส และ ค่าสูงสุดที่วัดได้เวลา 16.00 น. คือ 37.7 องศาเซลเซียส จึงอาจกล่าวได้ว่า การวัดอุณหภูมิร่างกายทางปาก ได้ค่าสูงกว่าตัวเลขดังกล่าวในช่วงเช้าหรือบ่ายตามลำดับ ถือได้ว่ามีไข้
    ข้อมูล เอกสารประกอบการสอน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

  • @peatforspeed2044
    @peatforspeed2044 ปีที่แล้ว +1

    ฟังเพลิน ได้ความรู้ เรื่องใกล้ตัว ปวดหัวตัวร้อน กินยาพารา แล้วก็หาย แต่พอหมอมาลงรายละเอียดแล้วนึกภาพตามที่หมอพูด เทียบกับสิ่งที่เคยเห็น หรอเคยเป็นเอง รู้เพิ่มอีกเยอะ ขอบคุณหมอที่นำมาบอกเล่า

  • @wonsilapattawee8134
    @wonsilapattawee8134 ปีที่แล้ว +3

    โอ้โหหมอ ได้ความรู้มากๆเกี่ยวกับความร้อนในร่างกาย ขอบคุณจริงๆค่ะ

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 ปีที่แล้ว +4

    สวัสดีคะ=ประเทศไทย ขอบคุณมากๆคะคุณหมอ วันนี้มาให้ความรู้เกี่ยวกับการเป็นไข้มีประโยชน์มากคะได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นคะ.👍 ตาขอให้คุณหมอมีความสุข สุขภาพแข็งแรงและปลอดภัยนะคะ.🙏🇹🇭😷🌹💕

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณ​ค่ะ​อาจารย์​🙏🥰
    คลิปลงลึกเรื่องไข้ละเอียดมากค่ะ​ เด็กเล็ก​ช่วงนี้ไข้สูงจากFlu​ ​A, โรคมือเท้า​ปาก, ​herpangina, เสี่ยงไข้สูงแล้วชักได้​ควรให้ยาลดไข้ก่อนมารพ.​ มีบางครอบครัวมีความเชื่อว่าถ้าให้ยาลดไข้มาก่อนหมอเด็กจะไม่เชื่อว่าเป็น​ไข้จริง😱😅

  • @witphron3585
    @witphron3585 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับ

  • @user-xd4yy8qv3x
    @user-xd4yy8qv3x ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ

  • @kimsniper1899
    @kimsniper1899 ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณสำหรับความรู้ครับ...ฟังมาหลายคลิปแล้วติดตามตลอด ถึงผมไม่ใช่หมอแค่ระดับผู้ช่วย...ก็ได้ความรู้เยอะเลยครับ

  • @user-gs3gf2ph7p
    @user-gs3gf2ph7p ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ

  • @kanikawalangitan659
    @kanikawalangitan659 ปีที่แล้ว +3

    สวัสดีค่ะ ป้ากรรณิกาขอบคุณมากค่ะที่นำเรื่องสำคัญมาให้ความรู้เรื่องนี้ ป้าก็ติดตามมาทุกวันค่ะ คุณหมอรักษาตัวดีๆนะคะ รักหมอธานีย์ค่ะ

  • @supaveethana4984
    @supaveethana4984 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณครับคุณหมอ 👍

  • @iakiak8720
    @iakiak8720 ปีที่แล้ว +1

    ขอบค่ะคุณหมอ🙏

  • @Moto_lism
    @Moto_lism ปีที่แล้ว +1

    คุณหมอ ขอบคุณมากครับ

  • @zizah..
    @zizah.. ปีที่แล้ว +6

    สวัสดีค่ะอาจารย์
    สงสัยมานานทำไมต้องตัวร้อนไม่ชอบเลย วันนี้ได้คำตอบค่ะ ไม่ใช่คำตอบพื้นๆนะคะ แต่เป็นคำตอบขั้นสูงสำหรับฉันเลยทีเดียว
    ... แล้วเวลา ตัวร้อน มักจะเอาหลังมือแตะหน้าผาก เป็นเพราะมันใกล้ "ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย" หรือเปล่า เกี่ยวกันไหมคะอาจารย์
    .. ตอนจบวันนี้ อาจารย์ แถมท้าย ปราม เรื่อง NSAID เกือบไปแล้ว เกือบจะใช้ กินแทนพารา ซะแล้ว ... ดีว่าฟังจนจบ ..
    ขอขอบพระคุณอย่างสูง
    ขอให้ เป็นสุขสดชื่นแจ่มใส ทุกๆวันนะคะ
    🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻

  • @Longfuglea
    @Longfuglea 11 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณมากครับ

  • @kwantaboonian9065
    @kwantaboonian9065 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะหมอแทน

  • @WichaiPhutyaem
    @WichaiPhutyaem ปีที่แล้ว +3

    กราบขอบพระคุณคุณหมอสำหรับความรู้ที่มอบให้ครับ

  • @thanatchayaanekrattanaphar6324
    @thanatchayaanekrattanaphar6324 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณมากๆคะคุณหมอ

  • @chantanaolsson6833
    @chantanaolsson6833 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณคุณหมอมากคะ

  • @AvecBella
    @AvecBella ปีที่แล้ว +13

    This clip is jam packed with information, Doctor Tany. And I can truly see how much you enjoy teaching. It’s in your face, your eyes, your gestures. That’s simply so refreshing to see…❤️
    Getting to the root cause of fever is more complex than one might think. Elevated body temperature might be caused by viral/bacterial infection, heat exhaustion, certain inflammatory conditions, medications, and some immunizations. This clip feels like a chapter off from Harrison’s on FEVER. Except the very Chapter is talking to Me! 😁
    The note I took on your clips are in English. Forwarded this Fever Lecture to my best bud from college. Her response this AM was: “You took NOTE. Omg. It does remind me of college times!”
    (LOL)
    This clip made me look up and revisit the Arachidonic Acid Pathway.
    Thanks ka Doctor Tany!
    ♥️❤️♥️

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +6

      Yay!!

  • @chruang9498
    @chruang9498 ปีที่แล้ว +1

    คุณหมอคลิปนี้ภาพปก หน้าสดใสปิ๊งมากค่ะ

  • @yupinintaya3081
    @yupinintaya3081 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณค่ะคุณหมอที่แบ่งปันความรู้

  • @comserveitserve7165
    @comserveitserve7165 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ คุณหมอฮีโร่

  • @thunyamy24
    @thunyamy24 ปีที่แล้ว +2

    ขอบพระคุณมากๆค่ะ

  • @user-vr8cy1zc3x
    @user-vr8cy1zc3x 11 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณคะ อาจารย์หมอ.❤️🙏

  • @user-yw7gq2ku9u
    @user-yw7gq2ku9u ปีที่แล้ว +2

    ชอบฟังค่ะ🙏

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +13

    คลิปใหม่มาแล้วค่ะ วันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ อุณหภูมิร่างกาย
    🔹อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงเป็นไข้ ท่านเคยสงสัยใช่ไหมคะ
    🔹ทำไมเป็นไข้ตัวร้อน แต่มือเท้าเย็น ท่านเคยเป็นแบบนี้ไหมคะ
    🔹ยาลดไข้ ทำงานอย่างไร ท่านเคยสงสัยเช่นกัน
    วันนี้คลิปของอาจารย์มาตอบทุกข้อสงสัยค่ะ เชิญเข้ามาฟังกันเลยค่ะ

  • @suttipatboonsaun4617
    @suttipatboonsaun4617 ปีที่แล้ว

    อาจารย์หมอน่ารักค่ะ

  • @wanpensenapitak1360
    @wanpensenapitak1360 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆนะคะ

  • @phatnareepungluangchiroj8178
    @phatnareepungluangchiroj8178 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @montripongkumpai1930
    @montripongkumpai1930 ปีที่แล้ว +1

    สุดยอดอีกแล้วครับ

  • @user-cu9vt9ds4m
    @user-cu9vt9ds4m ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณสำหรับความรู้ค่ะ

  • @jittima5894
    @jittima5894 ปีที่แล้ว +3

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ
    คลิปนี้ถูกใจมากๆเลยค่ะ คุณหมอ … ให้ความกระจ่างในเรื่องที่สงสัย แต่ไม่รู้จะถามใครอ่ะค่ะ… ขอบพระคุณคุณหมอมากเลยค่ะ ที่ทำคลิปให้ความรู้มาโดยตลอด
    มีเรื่องขอเรียนถามค่ะว่า ในเด็กเล็ก การวัดปรอทแบบยิงที่หน้าผาก กะเสียบซอกรักแร้ แบบไหนให้ค่าอุณหภูมิร่างกายถูกต้องกว่ากันคะ
    ขอบพระคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +3

      ได้ทั้งคู่ครับ ปรอทรุ่นใหม่ๆมีการปรับให่อ่านค่าได้ถูกต้องมากขึ้นแม้จะไม่ได้วัดที่ปากหรือก้นครับ

    • @jittima5894
      @jittima5894 ปีที่แล้ว

      @@DrTany ขอบพระคุณค่ะ

  • @Chaweewan8769
    @Chaweewan8769 10 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบพระคุณมากค่ะอาจารย์🙏

  • @Jum.A1
    @Jum.A1 ปีที่แล้ว +16

    🤩วันนี้ได้รับความรู้จุใจเลยค่ะคุณหมอ🤩
    “เป็นไข้” เป็นเรื่องที่น่าจะเคยมีประสบการณ์กันทุกคน ดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาแต่มีความสำคัญมาก ทุกคนควรฟังคลิปนี้ไว้เป็นความรู้จะได้มีความเข้าใจเรื่องการเป็นไข้และการจำแนกอาการไข้เพื่อไว้ดูแลตัวเองและครอบครัวได้ค่ะ
    ดูคลิปคุณหมอทุกวัน ได้รับความรู้ทุกวัน ขอบคุณคลิปดี ๆ ที่คุณหมอตั้งใจทำและเผยแพร่ทุกวัน ติดตามและเป็นกำลังใจให้คุณหมอทุกวันค่ะ 😊

    • @user-cc9gf6oe5b
      @user-cc9gf6oe5b ปีที่แล้ว +1

      มาสอบถามนะวัดตอนเย๊น ได้ 100 องศา ควรไปพบแพทย์ไหม

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 ปีที่แล้ว +1

      @@user-cc9gf6oe5b หน่วยคือฟาเรนไฮต์ใช่ไหมคะ

    • @user-cc9gf6oe5b
      @user-cc9gf6oe5b ปีที่แล้ว +1

      @@Jum.A1 เอาโทรสับวัด ตอนนี้หนาว ยุบ้านคนเดว แม่กะไปวัดกันหมด

    • @user-cc9gf6oe5b
      @user-cc9gf6oe5b ปีที่แล้ว +1

      ตอนนี้ตัวร้อน1ชั่วโมงแล้ว หนาวจังแต่จะร้อน ไอด้วย

    • @Jum.A1
      @Jum.A1 ปีที่แล้ว

      @@user-cc9gf6oe5b เดานะคะว่าหน่วยที่วัดได้คือฟาเรนไฮต์
      100 องศาฟาเรนไฮต์ = 37.7778 องศาเซลเซียส ถือว่ามีไข้ต่ำ ๆ ค่ะ ทานยาลดไข้ (พาราเซตามอล) ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องสัก 2 แก้วแล้วนอนพัก หากอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ค่ะ

  • @rinkorinrinrin
    @rinkorinrinrin ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ

  • @YouYou-jd3el
    @YouYou-jd3el ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณความรู้ดีๆค่ะอาจารย์แพทย์.

  • @user-ur7pw9gz8n
    @user-ur7pw9gz8n ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีคะคุณหมอ

  • @user-mr8fp6lo6g
    @user-mr8fp6lo6g ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีเจ้าคุณหมอขอบคุณเจ้า🙏🙏🙏🙏

  • @jaocia2966
    @jaocia2966 ปีที่แล้ว +1

    ขอเคยประทับใจอีกครับ ชอบฟัง

  • @ruj1818
    @ruj1818 ปีที่แล้ว +4

    อาจารย์สอนละเอียดจัดเลยครับ นศพ ฟังได้ int ฟังดีครับ

  • @user-kx9hv6cw8y
    @user-kx9hv6cw8y 6 หลายเดือนก่อน +1

    มีสาระมากๆๆค่ะคุนหมอ

  • @pulsirinijsriwong8082
    @pulsirinijsriwong8082 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ชอบคำแนะนำค่ะชัดเจนดีค่ะ

  • @dusitapamornsoot7045
    @dusitapamornsoot7045 ปีที่แล้ว +2

    ขอบพระคุณ ค่ะ คุณ หมอ 🙏🧚‍♂️🧚‍♀️

  • @user-em7ys1ir4o
    @user-em7ys1ir4o ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ🙏🙏🙏🙏

  • @mosheaminewsoji814
    @mosheaminewsoji814 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดี​ครับ
    ให้​กําลัง​ใจ​หมอด้วย
    ขอบคุณ​ครับ​

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +4

    Serotonin Syndrome เกิดจากการมีสารเซโรโทนินสะสมในร่างกายมากกว่าปกติ เนื่องจากการใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีฤทธิ์เพิ่มระดับสารเซโรโทนินในร่างกายร่วมกัน 2 ชนิดขึ้นไป เช่น การใช้ยารักษาไมเกรนหลังจากใช้ยารักษาโรคซึมเศร้า เป็นต้น
    ตัวอย่างยาที่มีฤทธิ์เพิ่มสารเซโรโทนินในร่างกาย ได้แก่
    🔹ยารักษาโรคซึมเศร้า เช่น ยากลุ่มเอสเอสอาร์ไอ ยากลุ่มเอสเอ็นอาร์ไอ ยากลุ่มไตรไซคลิก
    🔹ยาแก้หวัดและยาแก้ไอ เช่น ยาที่มีส่วนประกอบของยาเดกซ์โทรเมทอร์แฟน เป็นต้น
    🔹ยารักษาไมเกรน เช่น ยาอัลมอทริปแทน ยาซูมาทริปแทน และยานาราทริปแทน เป็นต้น
    🔹ยาเสพติด เช่น โคเคน ยาบ้า ยาอี และแอลเอสดี เป็นต้น
    🔹ผลิตภัณฑ์สมุนไพร เช่น เซนต์จอห์นเวิร์ต (St. John's Wort) และโสม เป็นต้น)
    (ข้อมูล เว็บพบแพทย์)

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 ปีที่แล้ว +2

      @ FragranzaTrippa
      ขอบคุณมากนะคะ ⚘💙⚘

    • @FragranzaTrippa
      @FragranzaTrippa ปีที่แล้ว +1

      @@boomsong5729 ยินดีค่ะ...

  • @user-nl3do1vr2n
    @user-nl3do1vr2n ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะอาจายร์หมอ
    ขอบพระคุณด้วยค่ะ
    ได้ความรู้อีกแล้ว👍

  • @user-gx6zt8pi6k
    @user-gx6zt8pi6k ปีที่แล้ว +1

    ขอขอบพระคุณคุณหมอแม้จะอยู่ไกลแสนไกลจังให้ความรู้เป็นวิทยาทานแก่ผู้ตกทุกข์ได้ยากได้ความรู้ ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

  • @Spt_N_25
    @Spt_N_25 ปีที่แล้ว +4

    อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงเป็นไข้#ทำไมเป็นไข้#ตัวร้อน แต่มือเท้าเย็น#ยาลดไข้ ทำงานอย่างไร
    ร่างกายของเรามีอุณหภูมิที่ไม่คงที่อยู่ตลอดเวลาในแต่ละวันจะมีช่วงเวลาที่ร่างกายของเรามีอุณหภูมิต่ำและช่วงเวลาที่อุณหภูมิของร่างกายสูง
    เวลา 6 โมงเช้าอุณหภูมิร่างกายของเราปกติช่วงเช้าอุณหภูมิของเราจะต่ำสุด
    เวลา 4- 6โมงเย็นจะเป็นช่วงที่อุณหภูมิร่างกายเราสูงที่สุดถ้าวัดปรอทใต้ลิ้นอุณหภูมิไม่เกิน 37.2 องศาเซลเซียสถ้าเกิน 37.4 องศาอาจจะมีไข้
    เวลา ช่วงบ่ายอุณหภูมิของเราไม่ควรเกิน 37.7 องศาถ้า 37.9 องศาอาจมีไข้
    ในทางการแพทย์ถ้าวัดปรอททางปาก แล้วอุณหภูมิได้ 37.7 หรือ 38 องศาขึ้นไปมีไข้
    ผู้สูงอายุ คนที่เป็นโรคไต คนที่กินยาสเตียรอยด์โอกาสมีไข้ยากกว่าเด็กแรกเกิดจะมีโอกาสตัวเย็นมากกว่าตัวร้อน
    ขอบคุณมากค่ะ🙏🏻

  • @SFung-hv2ov
    @SFung-hv2ov ปีที่แล้ว +5

    สวัสดีค่ะ คุณหมอแทน
    วันนี้คุณหมอดูอารมณ์ดีและสนุกในการอธิบายนะคะ😃
    ขอบคุณสำหรับความรู้ในวีดีโอนี้ เป็นประโยชน์มากค่ะคุณหมอ

  • @jaguzzichannels
    @jaguzzichannels ปีที่แล้ว +1

    สนุกมากเลยคับ ได้ความรู้เยอะแยะมากมายหลายอย่าง

  • @AnaAna-tu6kn
    @AnaAna-tu6kn ปีที่แล้ว +6

    มีประโยชน์มากเลยค่ะอาจารย์หมอ ขอบพระคุณมากค่ะ🙏

  • @user-tl3xv4vy9w
    @user-tl3xv4vy9w ปีที่แล้ว +1

    อาการแบบนี้เลย

  • @nalinc3304
    @nalinc3304 ปีที่แล้ว +2

    Your palpable interest in educating others and engaging narrative make these difficult bio lessons more palatable. Appreciate it!

  • @user-em7ys1ir4o
    @user-em7ys1ir4o ปีที่แล้ว +1

    วันนี้คุณหมอหล่อมากค่ะ👍👍👍👍👍👍

  • @thanatornkeereerak18
    @thanatornkeereerak18 ปีที่แล้ว +3

    อยากให้หมอแชร์มุมมองนี้ครับ
    “ทำไมหมอเก่งไม่เท่ากัน”
    10 คน วินิจฉัยโรคไม่เหมือนกัน
    -แม้จะเรียนจบหลักสูตรที่เดียวกัน
    -แม้กระทั่งมีแบ่งว่า หมอจบมหาลัยดังต้องเก่งกว่าแน่ๆ ไปหาคนนี้ดีกว่า
    -ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น
    -บางคนมีเงินมาก มีสิทธิ์เข้าถึงหมอเก่ง เช่น อาจารย์หมอ
    -บางคนเจอหมอไม่เก่ง ก็เสี่ยงหรือเสียชีวิตเลยทีเดียว
    -บางคนไปหาหมอคนนี้ แปปเดียวหาย
    และบางคนเลี้ยงไข้จริงไหม
    -และหมอแทนมีไอดอลเป็นหมอบ้างไหมคับ แบบยอมรับคนนี้จริงๆ

    • @DrTany
      @DrTany  ปีที่แล้ว +8

      เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากๆ พูดแล้วกระทบคนได้เยอะครับ เรื่องพวกนี้ผมก็ไม่ค่อยชอบพูดเท่าไหร่ เพราะพอพูดก็กระทบคนได้ ถ้าพูดกลางๆก็จะมีบางคนมาหาเรื่อง ว่าช่วยพวกเดียวกัน หรือพูดทำนองว่าผมไม่พูดความจริง ฯลฯ เหมือนเป็นกระทู้ล่อเป้าให้คนมาด่ากันนั่นแหละครับ และพอมีปัญหาพวกนี้ก็ไม่มีใครมาคอยแก้ไขให้ผม ทำให้ต้องตอบอยู่คนเดียว คนอื่นๆเข้ามาอ่านเฉยๆ ทำให้ในที่สุดใครที่เห็นต่างและออกตัวแรงมากๆผมก็ต้องบล๊อกทิ้งหมด ยกเว้นว่าคุณจะตั้งทีมมาเพื่อตอบและแก้ไขเรื่องพวกนี้ให้ผมเวลาพูดไปแล้วนั่นแหละครับ 555

    • @thanatornkeereerak18
      @thanatornkeereerak18 ปีที่แล้ว +1

      @@DrTany ก็จริงครับ 55

  • @aakiattiphong3354
    @aakiattiphong3354 ปีที่แล้ว +2

    ชัดเจนแล้วกระจ่างมากครับ ทำให้รู้จักร่างกาย เราเองมากขึ้น

  • @duangkamolsakulkitjaroen4680
    @duangkamolsakulkitjaroen4680 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณคุณหมอมากๆค่ะ ทุกๆเคสเป็นความรู้ที่ดีมากจริงๆค่ะ

  • @appge7876
    @appge7876 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดี​ค่ะ​คุณ​หมอ​แทน​ป้า​ชอบคุณ​หมอ​มาบอกอาการของคนไข้ทุกโรคชอบค่ะ

  • @tippayaponanukul6958
    @tippayaponanukul6958 ปีที่แล้ว +5

    ❤️🙏🏼🙏🏼ขอบคุณความรู้ ทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ🙏🏼🙏🏼❤️

  • @anzahomalee8284
    @anzahomalee8284 ปีที่แล้ว

    ติดตามคุณหมอมาตลอด ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้ ค่ะ🙏

  • @nittayakaewploy8687
    @nittayakaewploy8687 ปีที่แล้ว +2

    ชอบค่ะ..เลิกงานกลับถึงบ้านแล้วจะเปิดฟังอีกครั้งค่ะ🙏💗💖🥰🤩😍

  • @nuy7477
    @nuy7477 ปีที่แล้ว +1

    1กย.มีไข้ หนาวสั่นปวดตามตัว ปวดหัวมากๆ ทานพาราทุก4 ชม. วันนี้3 กย. หายแล้ว แต่คืนแรกปวดหัวมากๆเลยค่ะ

  • @kgumpcm
    @kgumpcm 3 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากครับ พอรู้สาเหตุที่แท้จริงแบบนี้ แล้ว การดูแลสุขภาพด้วยตัวเองก็ง่ายขึ้น แม่นยำกว่าการคาดเดาเอาเอง บางทีก็ไม่ต้องลำบากไปโรงพยาบาลครับ

  • @armnakornthab6867
    @armnakornthab6867 ปีที่แล้ว +3

    Hyperpyrexia น่าจะมาจาก ตัวร้อนเหมือนไฟ เพราะ pyro แปลว่าไฟ ครับ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ขอให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงตลอดไปคร๊😊😍😍

  • @wonsilapattawee8134
    @wonsilapattawee8134 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะหมอ เป็นคนที่เวลามีไข้จะหนาวสั่นมากๆค่ะ

  • @pussadeek.695
    @pussadeek.695 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณมากค่ะ ได้ความรู้เรื่องแบบที่ไม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อนค่ะ เข้าใจชัดเจนก็วันนี้เลยค่ะ

  • @user-em7ys1ir4o
    @user-em7ys1ir4o ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณมากค่ะ คุณหมอ🙏🙏🙏🙏🙏🙏👍👍👍👍👍♥️♥️♥️♥️♥️🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭🇹🇭

  • @KOLET199
    @KOLET199 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    (พุธ12/10/2565).

  • @preechapiangtoen7881
    @preechapiangtoen7881 ปีที่แล้ว +2

    เปิดฟังทุกวันเลยครับความรู้ดีๆจากอาจารย์
    ขอบคุณมากๆครับ🙏🏻

  • @joongkisung7906
    @joongkisung7906 ปีที่แล้ว +2

    เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อยากรู้มาตลอดว่าทำไมถึงปวดหัวหรือเป็นไข้ ชอบมากๆๆๆๆๆขอบคุณมากคะ่

  • @thanshin6898
    @thanshin6898 ปีที่แล้ว

    ยาลดไข้บาคามอลดีนะ เราชอบใช้

  • @leo-jx2mh
    @leo-jx2mh ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณครับพี่หมอ🙏 ฟังหลายครั้งทุกคลิปมองหน้าพี่หมอฟังไม่รู้เรื่องเลย♥️♥️♥️😊😊😊😁😁😁😘😘😘

  • @chittipornchuatram5703
    @chittipornchuatram5703 ปีที่แล้ว +4

    สวัสดีค่ะหมอ เคยเป็นครั้งหนึ่งหนาวสั่นมากๆเลยค่ะแล้วตัวก็ร้อนมาก ตอนที่เป็นตอนนั้นรู้กลัวมากเลยค่ะกลัวว่าตัวเองจะตายหรือเปล่าทำไมมันถึงได้หนาวสั่นน่ากลัวแบบนี้ ก็เลยลองทานแก้ปวดไปสองเม็ดพอทานไปสักพักใหญ่ๆอาการหนาวสั่นก็เริ่มค่อยๆดีขึ้น ขอบคุณสำหรับคลิปนี้มีประโยนช์มากๆ หมออธิบายได้ระเอียดและเข้าใจง่าย
    Take care naka
    🤗😘❤

  • @somsukinabnitruenpraphat1606
    @somsukinabnitruenpraphat1606 ปีที่แล้ว +1

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ ขอบคุณที่มาให้ความรู้และการดูแลสุขภาพค่ะ

  • @user-ss3mx8cn5g
    @user-ss3mx8cn5g ปีที่แล้ว +1

    40 'cแค่ กกขาถึงหัวแต่มือแขนขาถึงเท้าเย็นเฉียบแล่้ว หัวใจหยุดเต้น

  • @pookpuir.9653
    @pookpuir.9653 ปีที่แล้ว +1

    พอดีเลยค่ะคุณหมอ ค่ำวานนี้ลูกหนาวสั่น มือเย็น แต่น้ำตาก็ไหลแบบจู่ๆก็ร้องไห้ค่ะ กินยาพาราสักพักดีขึ้น ไม่มีอาการอีกค่ะ สงสัยทำไมร้องไห้คะ ถามเค้าก็บอกไม่รู้มันไหลเอง ขอบคุณนะคะ🙏🏻🙏🏻🙏🏻