ความหมายของคำว่า "เจ็ดชั่วโคตร"

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 25 เม.ย. 2024
  • คำ “เจ็ดชั่วโคตร” มีปรากฏใน “พระไอยการกระบดศึก” กฎหมายตราสามดวง ซึ่งกล่าวถึง โทษของผู้เป็นกบฏต่อแผ่นดิน หรือปลงพระชนม์พระมหากษัตริย์ หรือเอาใจออกหากเข้ากับฝ่ายศัตรู หรือกระทำการเป็นไส้ศึก ต้องมีโทษ ๓ สถาน คือ (๑) ริบราชบาตรแล้วให้ประหารให้สิ้นทั้งโคตร (๒) ริบราชบาตรแล้วให้ประหารเจ็ดชั่วโคตร (๓) ริบราชบาตรแล้วให้ประหารผู้กระทำผิด ส่วนโคตรที่เหลือนั้นอย่าให้เลี้ยงไว้ ในพระไอยการกระบดศึก คำนี้เขียนว่า “๗ ชั่วโคต” ในโทษสถานแรกนั้นที่ให้ประหารให้สิ้นทั้งโคตร คือ ต้องประหารหมดทั้งสกุล ไม่ว่าจะมีกี่ชั่วโคตรหรือมีกี่ชั้นก็ตาม ส่วนโทษสถานที่ ๒ นั้นเป็นการประหารเจ็ดชั่วโคตร ถ้าตามความหมายในพจนานุกรมคือ นับจากตัวผู้กระทำผิดขึ้นไปหรือลงมาให้ครบ ๗ ชั่วโคตร คือ ครบ ๗ ชั้น เช่น พ่อ ปู่ ทวด ๓ ชั้น กับลูก หลาน เหลน ๓ ชั้น รวมกับตัวผู้กระทำผิดเป็น ๗ ชั้น แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่า ถ้านับลงมาจากตัวมีแค่ ๒ ชั้น คือ ลูก และหลาน ยังไม่มีเหลน ก็อาจจะต้องนับขึ้นไปจากตัวอีก ๔ ชั้น เมื่อรวมกับตัวผู้กระทำผิดแล้วก็จะครบ ๗ ชั้น คือ เจ็ดชั่วโคตร ส่วนที่ไม่นับผู้หญิงรวมด้วยนั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากการที่ผู้หญิงจะถูกริบเป็นราชบาตรพร้อมกับทรัพย์สินของผู้กระทำผิดก็เป็นได้.
  • บันเทิง

ความคิดเห็น •