เราไม่ได้เป็นของกันและกัน ‘เป็นเจ้าของ’ ไม่ใช่ ‘ทำอะไรก็ได้’ (Part 2/2) | Shortcut ปรัชญา EP.9

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 15 มิ.ย. 2024
  • รถมอเตอร์ไซค์แต่งท่อดังสนั่นขับซิ่งบนถนนตอนกลางดึก
    โรงงานอุตสาหกรรมปล่อยสารพิษลงน้ำจนผู้คนที่อาศัยอยู่แถวนั้นป่วยเป็นโรคประหลาด
    บุคคลที่โดนทำร้ายร่างกายจากคนรัก
    ลูกที่ถูกควบคุมบังคับจากพ่อแม่
    ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสิ่งที่เราอาจเคยประสบหรือเห็นตามข่าว และถ้าบอกว่าเรื่องเหล่านี้ตั้งต้นมาจากหลักเดียวกัน คือเรื่อง ‘ความเป็นเจ้าของ’
    สงสัยไหมว่ามันเกี่ยวกันอย่างไร และเราจะถกเถียงกันอย่างไรในเรื่องนี้?
    Shortcut ปรัชญา เอพิโสดนี้ ต่อเนื่องจากเอพิโสดก่อนหน้า ชวนสำรวจความเป็นเจ้าของใน 2 มุมคือ การเป็นเจ้าของที่อาจกระทบต่อสาธารณะ และการเป็นเจ้าของในความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น
    ทำไมเราอาจไม่ควรเป็นเจ้าของมนุษย์คนไหน และไม่ควรใช้ประโยชน์จากบางสิ่งที่เราเป็นเจ้าของอย่างเต็มที่โดยไม่สนใจสิ่งอื่น?
    ชวนคิดชวนถามกับ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ และ ฟาง-รัฐโรจน์ จิตรพนา
    Time Index:
    00:00 Sneak Peek
    00:32 เกริ่นนำ
    01:06 เป็นเจ้าของแต่ไม่ควรใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
    02:16 โรงงานอุตสาหกรรม
    04:31 รถแต่งเครื่อง
    06:26 ป้ายโฆษณา
    09:16 ลูก
    16:15 ไม่ได้เป็นเจ้าของแต่อยากมีสิทธิ์
    17:10 สัตว์ป่าหายาก
    20:43 คนรัก
    26:54 มุมมองแบบ Relational Being
    34:19 คำถามทิ้งท้าย
    อ้างอิง: 1. ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง Minamata (2021) MINAMATA Official Trailer (2021) Johnny Depp, Bill Nighy, Drama Movie HD
    2. ดูเรื่องผลกระทบของ “มลภาวะทางแสง” เพิ่มเติมได้ที่
    “มลภาวะทางแสง: ด้านมืดของค่ำคืนที่สว่างไสว”
    waymagazine.org/light-pollution/
    Light Pollution ทำไมท้องฟ้าถึงไม่มีดาว? l HEAT UP
    3. ข้อมูลสถิติเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ดู “เจาะปัญหาการศึกษาไทย กับชีวิตเด็กไทยที่หลุดออกนอกระบบ” (thevisual.thaipbs.or.th/drop-...)
    4. การลงหลักปักฐานของมนุษย์ในสังคมเกษตรกรรมไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายตัวประชากร โรคระบาด การเกิดขึ้นของเมือง ระบบราชการ การแบ่งงานกันทำ และชนชั้น การเป็นเจ้าของอะไรบางอย่าง โดยเฉพาะปัจจัยการผลิต จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในสังคมลักษณะนี้
    ดูประเด็นเรื่องผลกระทบของการปฏิวัติเกษตรกรรมและการลงหลักปักฐานของมนุษย์ได้ที่ Was this humanity's biggest mistake? - BBC REEL
    5. อ่านแนวคิดของขงจื่อเรื่อง ‘relational being’ ใน “สุวรรณา สถาอานันท์: การเรียนรู้ของ ‘ขงจื่อ’ ชายผู้เรียกร้อง ‘ความรัก’” (www.thekommon.co/suwanna-sath...)
    6. ข้อความของคาลิล ยิบราน มาจากหนังสือ “ปรัชญาชีวิต” แปลโดย ระวี ภาวิไล สำนักพิมพ์ผีเสื้อ (bflybook.com/product/จอง-ปรัช...)
    กดติดตาม และ กดกระดิ่ง: bit.ly/45KZn3w
    ติดตาม THE STANDARD PODCAST ในช่องทางอื่นๆ
    Website: www.thestandard.co/podcast
    Twitter: / thestandardpod
    Facebook: / thestandardth
    TikTok: / thestandard.podcast
    Spotify: bit.ly/3NhRWZg
    Apple Podcasts: bit.ly/42OGIkI
    SoundCloud: / thestandardpodcast
    #Shortcutปรัชญา #ปรัชญา #TheStandardPodcast #TheStandardTh #TheStandardCo #podcast

ความคิดเห็น • 46

  • @TheStandardPodcast
    @TheStandardPodcast  23 วันที่ผ่านมา +4

    อ้างอิง: 1. ตัวอย่างภาพยนตร์เรื่อง Minamata (2021) MINAMATA Official Trailer (2021) Johnny Depp, Bill Nighy, Drama Movie HD
    2. ดูเรื่องผลกระทบของ “มลภาวะทางแสง” เพิ่มเติมได้ที่
    “มลภาวะทางแสง: ด้านมืดของค่ำคืนที่สว่างไสว”
    waymagazine.org/light-pollution/
    Light Pollution ทำไมท้องฟ้าถึงไม่มีดาว? l HEAT UP
    3. ข้อมูลสถิติเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ดู “เจาะปัญหาการศึกษาไทย กับชีวิตเด็กไทยที่หลุดออกนอกระบบ” (thevisual.thaipbs.or.th/drop-out-students/main/)
    4. การลงหลักปักฐานของมนุษย์ในสังคมเกษตรกรรมไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็นเจ้าของอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายตัวประชากร โรคระบาด การเกิดขึ้นของเมือง ระบบราชการ การแบ่งงานกันทำ และชนชั้น การเป็นเจ้าของอะไรบางอย่าง โดยเฉพาะปัจจัยการผลิต จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในสังคมลักษณะนี้
    ดูประเด็นเรื่องผลกระทบของการปฏิวัติเกษตรกรรมและการลงหลักปักฐานของมนุษย์ได้ที่ Was this humanity's biggest mistake? - BBC REEL
    5. อ่านแนวคิดของขงจื่อเรื่อง ‘relational being’ ใน “สุวรรณา สถาอานันท์: การเรียนรู้ของ ‘ขงจื่อ’ ชายผู้เรียกร้อง ‘ความรัก’” (www.thekommon.co/suwanna-satha-anand/)
    6. ข้อความของคาลิล ยิบราน มาจากหนังสือ “ปรัชญาชีวิต” แปลโดย ระวี ภาวิไล สำนักพิมพ์ผีเสื้อ (bflybook.com/product/จอง-ปรัชญาชีวิต/)
    00:00 Sneak Peek
    00:32 เกริ่นนำ
    01:06 เป็นเจ้าของแต่ไม่ควรใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่
    02:16 โรงงานอุตสาหกรรม
    04:31 รถแต่งเครื่อง
    06:26 ป้ายโฆษณา
    09:16 ลูก
    16:15 ไม่ได้เป็นเจ้าของแต่อยากมีสิทธิ์
    17:10 สัตว์ป่าหายาก
    20:43 คนรัก
    26:54 มุมมองแบบ Relational Being
    34:19 คำถามทิ้งท้าย

  • @thunchakornsuwanjiaramanee8221
    @thunchakornsuwanjiaramanee8221 21 วันที่ผ่านมา +14

    ผมชอบอีพีนี้ครับโดยเฉพาะประเด็นเรื่องความเป็นเจ้าของลูกของเรา ฟังแล้วอยากฟังประเด็นนี้ต่อ อยากให้ขยายไปถึงว่าถ้าเราไม่มีเงินที่จะส่งเสริมให้ลูกมีชีวิตที่ดีเราควรมีลูกไหม และผมคิดว่ารายการนี้เป็นรายการที่ส่งต่อความคิดแบบคนเท่ากันคนเสมอกันได้ดีมาก ในสังคมที่ยังมีคนที่มีความคิดว่ามีคนบางคนเกิดมาอยู่สูงกว่าเรา

  • @lady_malee9129
    @lady_malee9129 20 วันที่ผ่านมา +10

    เสน่ห์ของปรัชญา ดูเหมือนเป็นเรื่องชีวิตทั่วไป แต่มันอยู่ในทุกแง่มุมของชีวิต

  • @sunnyarunwong4353
    @sunnyarunwong4353 23 วันที่ผ่านมา +12

    โห่ย ฟังจบแล้วครับ ตอนนี้ดีงามมากครับ โดยเฉพาะช่วงหลังที่คุยเกี่ยวกับลูกเกี่ยวกับการแต่งงาน พูดได้เห็นภาพและคิดตามได้ชัดเจนเลยจริงๆ

  • @maxing5445
    @maxing5445 18 วันที่ผ่านมา +4

    ชอบตอนเน้นคำว่า "ไม่" เป็นเหมือนการพิสูจน์ให้เห็นว่าเรามีชีวิตมากครับ เราปฏิเสธเพราะเรามีชีวิต และเขาเองก็มีชีวิต ถ้าเป็นฉากในหนังอันนี้คือตอนซีซาร์พูดครั้งแรกเลย

  • @ThittayaChan
    @ThittayaChan 23 วันที่ผ่านมา +17

    ฉันเป็นของของเธอ ถูกสร้างเอาไว้เพื่อเธอ ❎
    ฉันกับเธอมีความสัมพันธ์กันในรูปแบบหนึ่ง เราต่างเป็นมนุษย์คนหนึ่งเหมือนกัน ✅

  • @papawarinung6119
    @papawarinung6119 22 วันที่ผ่านมา +7

    ชอบบบ หาฟังได้ยาก เเละหาคนที่คุยเเบบนี้ได้ยากในชีวิต

  • @phanuwatsukit1791
    @phanuwatsukit1791 22 วันที่ผ่านมา +12

    จริง ๆ ในสายของกฎหมายไม่ถือว่า "ลูก" เป็นของ "พ่อและแม่" เนื่องจากว่า กฎหมายแพ่งสมัยใหม่จัดประเภท "ลูก" ให้เป็น "บุคคล" และเฉพาะแต่บุคคลเท่านั้นที่มีความสามารถในการเป็นองค์ประธานแห่งสิทธิ สิ่งอื่นที่ไม่ใช่องค์ประธานแห่งสิทธิ (Subject of The right) ล้วนเป็นวัตถุแห่งสิทธิ (Object of the right) ทั้งสิ้น เช่น ทรัพย์สินที่นำมาสู่สิทธิในความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของในรูปแบบต่าง ๆ สิทธิเรียกร้องทางหนี้ สิทธิในการรับสิทธิในทางมหาชนจากรัฐ องค์ประธานแห่งสิทธิเท่านั้นที่จะกระทำการใด ๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพของวัตถุแห่งสิทธิทั้งปวง แต่การใช้สิทธิต้องอาศัยการแสดงเจตนาให้มีผลให้ทางกฎหมาย ซึ่งลูกโดยสภาพทางกายภาพและวุฒิภาวะทางปัญญาไม่สามารถแสดงเจตนาดังกล่าวได้เองอย่างมีประสิทธิภาพจนถึงเวลาที่เด็กดังกล่าวจะมีความพร้อมซึ่งเรียกว่า การบรรลุนิติภาวะ (Sui Generis) กฎหมายจึงยอมให้พ่อและแม่มีอำนาจในการปกครองบุตร 'Potestas' (แต่พูดโดยที่สุดแล้ว อำนาจนี้ของพ่อและแม่ก็มีสถานะไม่นอน สามารถถูกเพิกถอนให้บุคคลอื่นได้หากมีการพิสูจน์ว่าไม่เหมาะสม) ซึ่งหมายความเพียงการอบรมสั่งสอน หน้าที่เลี้ยงดูอุปการะ จัดทำรายการบัญชีทรัพย์สิน รับรองการแสดงเจตนาของลูก (ซึ่งลูกเองก็สามารถทำนิติกรรมเองได้บางเภทและพ่อแม่เองก็ไม่สามารถทำนิติกรรมที่สำคัญแทนลูกได้ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากศาลก่อน) ฯลฯ ดังนั้น ลำพังการมีอำนาจปกครองในทางกฎหมายเองจึงไม่ใช่การแสดงให้เห็นว่าพ่อและแม่จะมีสิทธิกระทำการต่อลูกเสมือนว่าเป็น "เจ้าของ" เพราะฉะนั้น คำว่า "เจ้าของ" (ซึ่งมีหลายประเภทได้แก่ กรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง สิทธิอาศัย ฯลฯ) ถ้าพูดในทางกฎหมายหรือเกมภาษาในทางกฎหมายแล้ว หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ประธานแห่งสิทธิกับวัตถุแห่งสิทธิ หรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล-ทรัพย์สิน ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล-บุคคล อันมีสถาบันทางกฎหมายกำหนดความสัมพันธ์ไว้ต่อกัน เช่น ความสัมพันธ์ทางสัญญา ความสัมพันธ์ทางการแต่งงาน ความสัมพันธ์ทางครอบครัว ฉะนั้น เมื่อ A ทำสัญญาจ้าง B เพื่อทำงานให้ A จึงไม่ถือว่า A เป็นเจ้าของ B หรือแรงงานของ B เป็นแต่วา A มีเพียงสิทธิเรียกร้องให้ B ทำงานให้ หาก B ไม่ทำงานให้ A ไม่มีอำนาจบังคับให้ B ทำงานให้ A ด้วยตัวเอง (ในทำนองที่เจ้าของม้าเฆี่ยนตีม้าของตัวให้วิ่งไปข้างหน้า) A จึงได้แต่ฟ้องศาลบังคับให้ B หรือให้คนอื่นกระทำงานดังกล่าวแทน B หากการทำงานยังเป็นวิสัยหรือเรียกค่าเสียหายจาก B เท่านั้น

    • @pknnn
      @pknnn 22 วันที่ผ่านมา +4

      ขอบคุณมากเลยครับ ผมพูดประเด็นนี้รวบรัดเกินไปหน่อย ขอบคุณที่ช่วยขยายความอย่างละเอียดเลยครับ :)

    • @godking93
      @godking93 21 วันที่ผ่านมา

      ในทางกฎหมายมนุษย์ไม่ใช่สิ่งของครับครอบครองไม่ได้

  • @SS-ed4bt
    @SS-ed4bt 23 วันที่ผ่านมา +7

    ตั้งหน้าตั้งตารอมากๆๆ ดูepเก่าวนได้ร้อยรอบบ

  • @rutierutie
    @rutierutie 21 วันที่ผ่านมา +6

    ดูแล้ว ปิ๊งมาก
    ยิ่งลูกเข้าสู่วัยรุ่น ต้องปล่อยวาง ความเป็นเจ้าของ พ่อแม่ ให้น้อยลง

  • @pairatbuachan559
    @pairatbuachan559 23 วันที่ผ่านมา +5

    เพลง หยั่งฟ้าถามทะเล ของพี่บอย ก็เหมาะกับ ep นี้อยู่ครับ 😊

  • @dyrroththa9098
    @dyrroththa9098 20 วันที่ผ่านมา +1

    พอได้ยินชื่อพี่บอย อิมเมจิ้น ทุกเพลงของพี่แกคุณภาพมาก

  • @oatoan
    @oatoan 22 วันที่ผ่านมา +2

    นอกจากความรู้สึกว่าลูกเป็นของเรา หลายครั้งเราก็เผลอคิดว่าพ่อแม่เป็นของเราด้วย
    เราเพิ่งรู้ตัวไม่นานมานี้เองว่าเราเผลอคาดหวังในตัวพ่อแม่ว่าท่านจะต้องอยู่บ้าน ต้องไม่ออกไปเที่ยวต่าวจังหวัดกับเพื่อนๆ ทำไมต้องไปรวมรุ่นบ่อยๆ ทั้งที่สุดท้ายแล้วทุกคนควรเป็นเจ้าของชีวิตของตัวเองและในวันที่ลูกดูแลตัวเองได้แล้วพ่อแม่ก็ควรได้ใช้ชีวิตในแบบที่ตังเองต้องการไม่ต้องผูกติดกับการคอยดูแลลูกเหมือนกัน

  • @roypimsuwannawong3654
    @roypimsuwannawong3654 22 วันที่ผ่านมา +2

    ฟังแล้วน่าตกใจ กับ ความรู้สึกเห็นแก่ตัวของมนุษย์ ไม่สนใจกับความต้องการความรู้สึกคนข้างๆ❤❤

  • @jirathakaratananitichai2550
    @jirathakaratananitichai2550 22 วันที่ผ่านมา +3

    เข้มข้นดีจังเลยครับ

  • @dreamingacacia
    @dreamingacacia 23 วันที่ผ่านมา +4

    ก็ไม่คิดมากครับ อะไรที่เราสามารถใช้เป็นการส่วนตัวได้มันก็ของเรา อะไรที่เราแบ่งปันได้ก็แบ่งไป ถ้ามีคนมาขีดเส้นว่านั่นคือของเขา เราก็มองว่าสิ่งนั้นเขาแย่งไปจากเรารึเปล่า ถ้าเขาแย่งมันก็ผิดกฎหมาย ถ้าเขาไม่ได้แย่งเราก็ไม่ยุ่งกับมัน บางคนเลือกที่จะแสดงความเป็นเจ้าของและปกป้องบางสิ่งบางอย่างจนสุดชีวิต และบางคนก็ยินดีจะแบ่งปันบางสิ่งบางอย่างแก่ผู้อื่น มันก็อยู่ที่เราจะเลือกว่าอยากจะเป็นคนแบบไหน ส่วนตัวผมมองว่าถ้าเราเน้นย้ำมากว่าเราเป็นเจ้าของอะไรบางอย่าง เวลาเกิดอะไรขึ้นเราก็จะรู้สึกว่าเราสูญเสียมันไป ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเรามาก คนเราเกิดมาก็ไม่ได้มีอะไร จากไปก็ไม่ได้เอาอะไรไปด้วย สุดท้ายเราก็แค่ยืมของมาใช้ชั่วคราวเท่านั้นเอง อะไรยอมได้ก็ยอมไป อะไรแบ่งปันได้ก็แบ่งไป ส่วนอะไรที่สมควรจะเก็บไว้ใช้ส่วนตัวก็ควรจะปกป้องเอาไว้เพื่อไม่ให้คนที่มีความละโมภเอาเปรียบได้ ปล่อยวางดั่งนักบวชได้ครับ แต่ก็ต้องปกป้องดั่งนักรบด้วย พวกเลวที่ชอบเอาเปรียบคนอื่นมันเยอะ อย่าไปยอมมัน

    • @tedtx1602
      @tedtx1602 23 วันที่ผ่านมา

      ชอบประโยคจบมากครับ:)

  • @user-kb9jo6eg4h
    @user-kb9jo6eg4h 16 วันที่ผ่านมา

    ทุกข์เป็นของจริง การเป็นเจ้าของย่อมได้ทุกข์ติดไปด้วย การมีตัวตนก็คือทุกข์ จะอิสระจากทุกข์ได้อย่างไร ยอมรับกฏธรรมชาติแล้วไม่ยึดติดได้มั๊ย เมื่อนั้นกรอบต่างๆก็หมดไป❤

  • @manu47193
    @manu47193 21 วันที่ผ่านมา +2

    ทบทวนชีวิตคนรอบตัวครับ
    ปล.สรุปถ้าตามหลักพระพุทธศาสนา❤ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (ไม่มีใครเอาสิ่งใดไปด้วยได้ แต่ทิ้งสิ่งที่ดีงามไว้บนโลกนี้ได้)

  • @gengphai6060
    @gengphai6060 23 วันที่ผ่านมา +1

    เป็นกำลังใจให้ทีมงานครับ

  • @Jr.crocodile
    @Jr.crocodile 9 วันที่ผ่านมา +1

    แกต้องแบบนั้น แกต้องแบบนี้
    แกต้องรักฉันอย่างเดียวเท่านั้น
    ไม่งั้นแกจะติดคุกติดตาราง!!!!!

  • @LearningMan-qj7jj
    @LearningMan-qj7jj 21 วันที่ผ่านมา +2

    มีอะไรบ้างที่คุณอยากกลับมาทบทวนว่า เราเป็นเจ้าของจริงหรือเปล่า
    แมว มั้งครับ เราบอกว่าเราเป็นเจ้าของแมว แต่สุดท้าย แมวก็น่าจะตายไปก่อนเรา และ เราก็จะตายตามแมวไป สรุปแล้วเราไม่ได้เป็นเจ้าของอะไรเลย ทั้งแมว และ ชีวิตของเรา

  • @edventuretech
    @edventuretech 17 วันที่ผ่านมา +1

    ขอให้เล่าเรื่อง วัตถุนิยม vs จิตนิยม และ เรื่อง ศาสนา vs ปรัชญา

  • @dacryoid
    @dacryoid 23 วันที่ผ่านมา +1

    สุดท้ายตัวเรา(ร่างกาย)เองก็อาจจะไม่ใช่ของของเรา ทางพุทธเองก็อธิบายถึงการเสื่อมสภาพที่คุมไม่ได้ไว้ในรูปความไม่เที่ยง ขณะที่วิทยาศาสตร์เองก็ฉายภาพของการที่ร่างกายนี้ไม่ได้ประกอบด้วยเซลล์เราเพียงอย่างเดียวแต่ยังมีเหล่าสิ่งมีชีวิตอื่นที่ทั้งไม่ก่อโรคและฉวยโอกาสก่อโรคบ้างอาศัยอยู่ร่วมกับเราด้วย(บางที่ถึงกับพูดว่าเป็นเราที่อาศัยอยู่ในพวกเขาเพราะพวกเขามีมากกว่า)
    หรือจริงๆเป็นเราที่สำคัญไปเอง หรือแม้แต่สิ่งภายในที่เราเรียกว่าเป็นเราเองก็ไม่มีด้วย เป็นเพียงกลไกเอาตัวรอดเท่านั้น

    • @jofanatorar5834
      @jofanatorar5834 19 วันที่ผ่านมา

      ความจริงนั้นอยุไม่นานเเต่ของปลอมใกล้สูญพัน

  • @SBA252
    @SBA252 20 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณนะคะ❤

    • @SBA252
      @SBA252 20 วันที่ผ่านมา

      ส่วนตัวคิดว่า การกระทำเป็นของของเราค่ะ เพราะเป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้

  • @tixjubzcullen9332
    @tixjubzcullen9332 23 วันที่ผ่านมา

    Part2 มาแล้ว😭😭😭

  • @sunnyarunwong4353
    @sunnyarunwong4353 23 วันที่ผ่านมา

    มาแล้วววว ฟังๆ

  • @fahfeiforenoon1643
    @fahfeiforenoon1643 21 วันที่ผ่านมา +4

    ขอบคุณทึ่ทำให้เราได้คิดในมุมที่ลึกซึ้งขึ้นนะคะ

  • @1ouis_2711
    @1ouis_2711 23 วันที่ผ่านมา

    33:03 พึ่งจะรู้ว่าคุณฟางชอบฟังเพลงของพี่บอยอิมฯ ด้วย🥰

  • @chanunvichhutabaedya2450
    @chanunvichhutabaedya2450 23 วันที่ผ่านมา +1

    บ้านนอกไม่เป็นนะ...
    เพราะบ้านเขาห่างกัน...
    ไม่แออัด...

  • @legorare5103
    @legorare5103 9 วันที่ผ่านมา +1

    ความคิด ผู้มาก่อนกาล

  • @Witthawatz
    @Witthawatz 23 วันที่ผ่านมา

    มนุษย์ยังคงเชื่อในเวียนว่ายตายเกิด ไม่ว่าจะอยู่ศาสนาไหน หรือไม่มีศาสนาก็ตาม โลกใบนี้คือวัตถุนิยม แข่งขันกันทางเทคโนโลยี และวัตถุนิยม ถึงแม้จะเป็นเจ้าของ หรือมีสิทธิ์ครอบครอง ก็ทำได้แค่อายุขัยตัวเอง ก็เลยเชื่อว่าจะมาเกิดใหม่ได้เรื่อยๆ ดังนั้นเราจึงพัฒนาประเทศแข่งกันเพราะคิดว่าตัวเองจะได้เกิดมาในประเทศเดิม อ่าวเกิดใหม่อยู่เขมร พูดไทยไม่ได้อีก นอกจากเลือกเกิดเป็นลูกคนรวยไม่ได้แล้ว ยังเลือกประเทศไม่ได้อีก นี่แหละเหตุผลที่ประเทศไทยกลัวประเทศตัวเองพัฒนา เพราะกลัวเกิดใหม่แล้วไม่ได้อยู่ประเทศตัวเอง😂😂😂

  • @user-vb3ht4so5r
    @user-vb3ht4so5r 10 วันที่ผ่านมา

    กำลังจะเชื่อมโยงแบบไม่รู้ฐานราก

  • @TakaU.-kx8vl
    @TakaU.-kx8vl 23 วันที่ผ่านมา

    😮

  • @verawatt8385
    @verawatt8385 23 วันที่ผ่านมา +1

    ไม่ผิดเลยคำพูดที่พระพุทธเจ้าตั้งไว้เป็น "ธัมมนิยาม" ว่า
    "สัพเพสังขารา อนิจจา
    สัพเพสังขารา ทุกขา
    สัพเพธัมมา อนัตตาติ"
    พระพุทธเจ้าพูดมา 2,600 กว่าปีแล้ว แต่ผู้ที่ทำความเข้าใจเรื่องอนัตตลักขณะจริงๆ ได้ย่อมเห็นว่ามันไม่ง่ายที่จะอธิบายผู้ที่เป็น "อตักกาวจโร" (ไม่หยั่งลงสู่การตรึก คือ ผู้ที่ไม่เคยคิดถึงเรื่องพวกนี้เลย) เพราะอธิบายไป เขาก็ไม่ใส่ใจฟังด้วยดีเพราะคิดว่ารู้แล้ว อ่านมาแล้ว หรือเป็นชาวพุทธที่รู้ว่าพระพุทธเจ้าสอนเรื่องนี้ดังนั้นไม่มีอะไรต้องเรียนรู้อีก หรือกลัวจะพ้นทุกข์ได้จริงเลยไม่สนใจ หรือเราอยากเป็นพุทธด้วยตัวเอง (ถ้าเป็นในสมัยนี้เรียกว่า "อนุพุทธ" เท่านั้น) คำสอนนี้เหมือนของที่ไม่มีค่า คนที่ไม่รู้ไม่เข้าใจก็เลยจมทะเลทุกข์ไป แต่บทสนทนาในคลิบนี้ละเป็นสิ่งที่พุทธสาวกที่ต้องการละสักกายทิฏฐิให้ได้ตามความเป็นจริง ควรสนทนา

    • @famobile889
      @famobile889 23 วันที่ผ่านมา

      ศาสนาพุทธคือศาสนาที่เข้าใจยากที่สุด ไม่ฉลาเข้าใจไม่ได้เลยทีเดียว.

    • @verawatt8385
      @verawatt8385 22 วันที่ผ่านมา

      @@famobile889 พุทธปรัชญาเป็นปรัชญาที่พระพุทธเจ้าทรงตอบให้หมดในทุกแขนงวิชาปรัชญา ไม่ว่าจะ Metaphysics อะไรคือสัจจะ (อริยสัจจ์ ๔) Ontology (ปฏิจจสมุปบาท) Espistemology เรารู้ความจริงได้อย่างไร (โพธิปักขิยธรรม ๓๗) Axiology เรื่องเกี่ยวกับคุณค่า ๒ ด้าน ได้แก่ จริยศาสตร์ (กุศลธรรม อกุศลธรรม ฯลฯ) และสุนทรียศาสตร์ (นิรุกติศาสตร์) และอื่นๆ

    • @user-nh1yz3sb4l
      @user-nh1yz3sb4l 15 วันที่ผ่านมา

      พุทธศาสนาไม่ยากครับ
      ถ้าได้ศึกษาคําสอนที่แท้จริงคือพุทธวจน
      เราถูกยิดเบือนคําสอน
      ที่แต่งกันขึ้นมาใหม่ครับ

  • @codice_pin
    @codice_pin 22 วันที่ผ่านมา +2

    รู้สึกเข้าถึงง่ายและน่าสนใจกว่าฟังพระเทศน์อีก 😅

  • @roongthamcharerntantanakul1793
    @roongthamcharerntantanakul1793 23 วันที่ผ่านมา +2

    ความเป็นเจ้าของ เป็นจินตนาการพิเศษของลิงสายพันธ์หนึ่ง