ขนาดวิดีโอ: 1280 X 720853 X 480640 X 360
แสดงแผงควบคุมโปรแกรมเล่น
เล่นอัตโนมัติ
เล่นใหม่
สวัสดีครับคุณหอย ผมมีความเห็นดังนี้1. จิตร ภูมิศักดิ์ สงสัยว่าเซียน คือ กลุ่มโบราณสถาน อ.เมืองสุพรรณ ผมสนใจประเด็นนี้จึงตรวจสอบ และพบว่า อายุของกลุ่มโบราณสถาน อ.เมืองสุพรรณ อยู่ประมาณ พ.ศ.1830+ เป็นต้นไป ถือว่าอายุอ่อน ถ้าเซียนหมายถึงที่ อ.เมืองสุพรรณ ก็ควรมีอายุเก่าใกล้ๆ กลุ่มโบราณสถานในสุโขทัย ทั้งนี้ กลุ่มโบราณสถานสุโขทัยมีค่าผงถ่านก้นหลุมประมาณ พ.ศ.1650+ และมีกลุ่มโบราณสถาน 2-3 แห่งที่สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ.1700-1800 ฯลฯ ในคลิปนี้ เล่าว่า เซียนติดต่อกับหยวน ประมาณปี พ.ศ.1830+ หากมองตามหลักฐานข้างต้น สุโขทัยมีโอกาสเป็นเซียน มากกว่ากลุ่มโบราณสถานใน อ.เมืองสุพรรณ 2. ปี พ.ศ.1832 หริภุญชัย มีกษัตริย์หรือผู้ปกครองรัฐ คือ พญาญีบา จากราชวงศ์ไทยเทศ ท่านเป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย ก่อนถูกพญามังรายเข้าโจมตี และปรากฏความว่า หนีไปทางทิศใต้ (ตาก กำแพงเชร สุพรรณ?)3. พญามังราย ขัดแย้งกับจีนจากกรณีเกิดรัฐย่อยๆ หลังพุกามแตก อีกทั้งพระองค์เข้าโจมตีรัฐหริภุญชัย ซึ่งส่งบรรณาการให้จีน จากนั้น พ่อขุนรามฯ ทรงตัดสินพระทับเข้ากับพญามังราย และพญางำเมือง เพื่อรวมเป็นกลุ่มรัฐ ด้วยเหตุผลประการหนึ่งคือ พยายามต้านทานอำนาจกองทัพหยวนที่รุกลงใต้ การที่พ่อขุนรามฯ เข้าร่วมกับพญามังรายอาจสร้างไม่พอใจ และสร้างผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในช่วงสั้นๆ4. "ขอม้าได้ผ้า" เกิดขึ้นหลังรัชกาลพ่อขุนราม (พญาเลอไท?) เข้าใจว่าเมืองสุพรรณ-สรรค์บุรีได้แยกตัวจากรัฐสุโขทัย เพราะต่อมาได้ปรากฏรูปแบบเจดีย์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งผมมองดูว่าเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากรัฐหริภุญชัยด้วยซ้ำ เช่น วัดพระรูปสุพรรณ วัดพระอินทร์สุพรรณ วัดพระแก้วสรรค์บุรี วัดพระยาแพรกสรรค์บุรี ฯลฯ การแยกตัวออกมาทำให้เซียนมีขอบเขตอำนาจเล็กลง "เซียนเป็นประเทศเล็กๆ เท่านั้น" 5. การปรากฏ 2 คำ คือ เซียน และสุโขทัยนั้น ผมยังไม่แน่ใจว่าจะอธิบายอย่างไรครับ
ขอบพระคุณมากครับอาจารย์ขออนุญาตปักหมุดเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ชมนะครับ 🙏🏽😊ป.ล.หยวนสื่อ ให้คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบ้านเมืองที่ชื่อ “เซียน” และ “หลัวหู” ไว้ดังนี้ครับเชียน แล หลัวหู เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฝูหนาน บริเวณตอนเหนือของสยาม ติดต่อกับปาไปสีฟู ที่อยู่ติดกับมณฑลหยุนหนาน ทางตะวันออก ติดต่อกับอันหนาน แลทางตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับอาณาจักรเหมี่ยน หลัวหู ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของของเซียน ติดกับทะเล ดินแดนเซียนแห้งแล้ง ไม่เหมาะแก่เกษตรกรรมหลัวหูมีที่ราบกว้างใหญ่ ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ชาวเซียนต้องพึ่งพาอาศัยจากหลัวหูมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเซียน ผ่านหลัวหู ลงสู่ทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลัวหู ทุกฤดูร้อน น้ำทะเลไหลเขาสู่แม่น้ำตอนใน ชาวนาจะอาศัยเวลาคังกล่าวหว่านเมล็ดพันธุ์ต้นกล้าค่อยๆ เติบโตตามระดับน้ำน้ำสูงหนึ่งฉื่อ ต้นกล้าสูงหนึ่งฉื่อ เมื่อน้ำลด ต้นกล้าจะสุกพร้อมเก็บเกี่ยวมีการหว่านเมล็ดพันธุ์ แต่ไม่มีการไถหว่านด้วยเหตุนี้พืชพรรณธัญญาหารจึงอุดมมบูรณ์ แลราคาถูก--หยวนสื่อ จากหนังสือ “สุโขทัยคดี ประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ ฉบับเชลยศักดิ์” เล่ม ๑ หน้า ๒๐๕
@@ยุทธพงษ์เมฆพัฒน์ ผมเอาหลักฐาน (เฉพาะในเอกสาร) มาให้ดูก่อนนะครับ ถ้าเราอ้างอิงจากข้อความในจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ ดังนี้ …“เบื้อ(อ)งหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว”จะเห็นว่า เพชรบุรี กับ ศรีธรรมราช ในตอนนั้นเป็นเมืองที่อยู่ในเขตอำนาจของพ่อขุนรามคำแหงครับ
@@ยุทธพงษ์เมฆพัฒน์ น่าจะเป็นโบราณปราสาทกำแพงแลง และคูเมืองโดยรอบครับ
สุโขทัย ออกเสียงว่า โสกขะทัย ครับ ส่วนเสียนคือ สุพรรณแน่นอนครับ (พอดีมันต้องอธิบายยาว เอาเป็นว่าเรื่องนี้เรารู้กันครับ)
ชช
พระนางเจ้าจามเทวีเป็นกษัตริย์ หญิงพระองค์แรกแห่งนครหริญภูชัยในปี พ.ศ.1206 ถ้าตรงกับประเทศจีนจะเป็นสมัยราชวังค์ถังตอนกลางน่าจะถังเกาจงถ้าไม่ผิดนะ แล้วมีการปกครองมาหลายราชกาลจนกระทั่งในปี 1818-1836 พญาญี่ปา เป็นเจ้าผู้ครองนครหริญภูชัยองค์สุดท้ายก่อนพญามังรายมหาราชเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ยกกองทัพมายึดครอง หริญภูชัยสำเร็จในปี พ.ศ.1824 ดังนั้นทางจีนจึงมองภาพว่าเมืองหริญภูชัยมีกษัตรย์หญิงพระองค์แรกว่า ประเทศหญิง ชอบช่องนี้ ให้ความรู้ดีมาก
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ
ยุคของพระนางจามเทวีฯ และอายุของนครหริภุญชัยที่ยึดถือตามความเชื่อตาม จามเทวีวงค์ ที่ระบุว่า ปี 1206 จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ รวมไปถึงการขุดค้นทางโบราณคดี ยอมรับกันในวงวิชาการว่า ไม่ถึงยุคนั้นครับ คลาดเคลื่อนประมาณ 300 ปี คืออยู่ในช่วงประมาณปี 1500-1600 ครับ แต่เป็นเรื่องลำบากใจของ นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ ในการจะออกมาพูด เพราะจะไปขัดกับความเชื่อความศรัทธา ของคนในพื้นที่ รวมไปถึงวงการพระเครื่องด้วย จึงเลือกที่จะพูดแค่ในวงวิชาการ และการสอนนักศึกษาเท่านั้นครับ
นี่ล่ะครับความจริง...บันทึก..จากจีนแผ่นใหญ่....อาจารย์ต้องศึกษาเอกสารจีนโบราณ..ได้รู้ความจริงมากมายครับ
ผมขอชื่นชมช่องนี้นะครับว่าทุกคลิปต้องมีการศึกษาข้อมูลทำการบ้านมาอย่างดี คุณได้ความรู้ผู้ชมก็ได้ความรู้ไปด้วย บรรยายได้สนุกไม่น่าเบื่อด้วยครับ
ผมลูกหลานคนสุโขทัยครับ จากที่ผมศึกษามา “เซียน” น่าจะหมายถึง “สุพรรรณภูมิ” ครับ ส่วน “สุโขทัย” เอกสารจีนเรียก ”ปอเล่อ” (波勒) มาจาก “ปกเลือง” คำว่า “เลือง, ไทเลือง, ไทเลิง” คือชื่อบรรพชนของคนไทสุโขทัยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำปิง-ยม-น่านตอนล่างและลุ่มน้ำป่าสักตอนบน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวกาวใน “ปกกาว” คือนครรัฐแพล่ (แพร่) และนครรัฐน่านในลุ่มน้ำยม-น่านตอนบน และชาวกาวเมืองชวา (หลวงพระบาง) ในลุ่มน้ำโขง-ขาน-อู.หลังจากสุโขทัยถูกผนวกรวมกับอยุธยา (สยาม-ละโว้) สุโขทัยเลยถูกจีนเรียกเซียนหลัว (เสียมล้อ) ไปด้วย คำว่า “เลือง” หายไปจากประวัติศาสตร์ ที่เดินทางไปจีนน่าจะเป็นคนจากสุพรรณภูมิไม่ใช่สุโขทัยเพราะยุคนั้นบ้านเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนเริ่มเข้มแข็งและมีบทบาทสำคัญแทนที่หัวเมืองเหนือ ในขณะเดียวกันเมืองแพร่และน่านก็ถูกชาวยวนผนวกเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา คำว่า “กาว” ก็หายไปเช่นกัน มาปรากฎในยุคหลังเมื่อชาวลาวล้านช้างอพยพข้ามโขงมาตั้งรกรากในที่ราบสูงโคราชแถบทุ่งกุลาร้องไห้ เมืองทางภาคอีสานหลายเมืองจึงถูกเรียกว่า “หัวเมืองลาวกาว” เพราะพื้นเพมาจากลาวเหนือนั่นเอง
เเสดงว่า คำว่า เซียน ใช้เรียก รวมหัวเมืองจากทางเหนือไร่ลงมาทั้งหมดเลยสิคับ (แม่ผมก็คนสุโขทัยคับ)
ปัวเล่อหมาน(波勒蛮)หมายถึงชาวหมานแห่งปัวเล่อ นักวิชาการให้ความเห็นต่างๆ กันว่าปัวเล่อหมายถึงแพร่บ้าง สุโขทัยบ้าง "ปกเลือง อาจไม่ได้มีที่เดียว" ข้อความจาก พงศาวดารราชวงศ์หยวนฉบับใหม่ (หยวนสือ) ระบุว่า"...พื้นที่ของอาณาจักรนี้ [หมายถึง ปาไป่ต้าเตี้ยนจวินหมินเซวียนเว่ยซือ(八百大甸军民宣慰司) ซึ่งจีนใช้เรียก ล้านนา ] ทางตะวันออกไปถึงเหล่าวัว (ลาว) ทางใต้ไปถึงปัวเล่อหมาน ทางตะวันตกถึงต้าจี๋ล่า ทางเหนือถึงเมิ่งเกิ้นฝู่ ..."คำว่า ปัวเล่อ หมายถึง สุโขทัย จริงหรือ?จาก พงศาวดารราชวงศ์หมิง (หมิงสือลู่) ระบุว่า "...ปีที่ 7 แห่งรัชศกเซวียนเต๋อ (ค.ศ.1432 / พ.ศ.1975) ส่งคนมาถวายบรรณาการและทูลว่าประมุขของ " ปัวเล่อ " มักรวมกำลังกับทัพ "ถูหย่า" มารุกรานดินแดนปล้นฆ่า ขอให้ส่งทหารไปปราบปราม ฮ่องเต้ทรงเห็นว่าปาไป่ต้าเตี้ยนห่างจากยูนนานห้าพันกว่าลี้ " ปัวเล่อ" กับ " ถูหย่า " ต่างไม่เคยมาสวามิภักดิ์ หากให้จีนไปรบเพื่อชาวหมานที่อยู่ห่างไกล หาใช่กุศโลบายอันควร จึงมีเพียงพระราชโองการไปแจ้งเตือนเท่านั้น... "ในที่นี้ถ้า ปัวเล่อ หมายถึง สุโขทัย ถูหย่า หมายถึง อยุธยา จะกลายเป็นว่า ทั้งสองรัฐไม่เคยแต่งพระสุพรรณบัฎไปยังพระเจ้ากรุงจีนราชวงศ์หมิงทันที ซึ่งจะขัดกับ หยวนสือก่อนหน้าที่ว่า " ...วันปิ่งเซิน เดือนห้า ปีที่ 3 รัชศกต้าเต๋อ ( 15 มิถุนายน พ.ศ.1852 / ค.ศ.1299 ) บรรดาฟานจากทะเลใต้ได้แก่ " ซู่กู่ไถ " ซู่หลงทัน และเปินซีหลี่ นำเสือ ช้าง และเรือไม้ซัวหลัว มาถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการ..."ปัวเล่อ กับ ถูหย่า ไม่เคยติดต่อกับจีนราชวงศ์หมิงแต่ ซูกู่ไถ และ/หรือ เสียน เคยติดต่อกับจีนตั้งแต่ราชวงศ์หยวนแล้วดังนั้น ปัวเล่อ อาจจะหมายถึง นครรัฐแพร่ มากกว่า สุโขทัย
ถูกครับแต่ทั้งหมดเรียกว่าเสียมก็กแปลว่าประเทศเสียมเมืองทั้งหมดไม่ได้เรียกว่าก็กเพราะตอนนั้นเราเป็นประเทศแล้วครัวเรียกรวมว่าเสียมก็กเเล้วครับ
มองประวัติศาสตร์ในหลายๆมุมมอง ยอดเยื่ยมมากคับ นี่แหละการเรียนประวัติศาสตร์ที่แท้จริง
เริ่มแรก ท่านนักประวัติศาสตร์ไทย เคยสงสัยหรือไม่ว่า บรรดาชื่อทั้งหลายที่เรียกขานกันนั้น ทั้งชื่อ"หัวเมือง" และชื่อ"บุคคลสำคัญ" ในประวัติศาสตร์โบราณ ที่เพียรพยายามค้นคว้ากันอยู่นั้น ใครเป็นผู้บัญญัติคำศัพท์เหล่านั้นขึ้น ถ้าเป็นตัวอักษรจีน ก็ควรจะเป็นชาวจีน ที่เคยมาเยือนทำการค้าขาย เคยรับราชการ หรือมีถิ่นฐานเคยมาพำนักอาศัยในช่วงขณะนั้น เท่าที่ศึกษากันโดยได้อ้างอิงเอกสารบันทึกจีนโบราณ และยังทำการ"อ่านออกเสียงภาษาจีนแมนดาริน"ด้วย ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะตั้งแต่ใหนแต่ไรมา ชาวจีนที่เข้ามาในดินแดนแถบนี้ ล้วนมาจากมณฑลทางภาคใต้ คือ กวางตุ้ง และ ฮกเกี้ยน เป็นหลัก ซึ่งชาวจีนแถบหัวเมืองท่าบริเวณนี้ มีทั้งจีน"แต้จิ๊ว" และ"ฮกเกี้ยน"เป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นก็มี "ไหหลำ" "แคะ" "กวางตุ้ง"ที่มีจำนวนน้อยกว่ามาก บนแผนที่โบราณของดินแดนแถบนี้ ชื่อหัวเมืองสำคัญๆ จะถูกบัญญัติขึ้นตามการออกเสียงของ ภาษาถิ่น (dialect) ของชาวจีนแต๊จิ๋วเป็นหลักซึ่งมีกระจายไปทั่ว เช่น บางกอก "มังก๊ก" ธนบุรี "ทงฮู่" เชียงใหม่ "เช่งไม" โคราช "คอรัค" พิษณุโลก "แผ่ซิโลค" สุรินทร์ "ซู่ลิ่ง" ขอนแก่น "คุงเก่ง" นครปฐม "ฮกท่ง" อุบล "โอวบุง" สุราษฎ "ซุ่ลัก" และเมืองอื่นๆเต็มไปหมด และเมือมีแผนที่นำทางมาใช้กัน จึงได้ทำการบันทึกโดยบัญญัติคำศัพท์เฉพาะตามการออกเสียงเป็นตัวอักษรจีนที่ใกล้เคียงที่สุด รวมทั้งชื่อบุคคลสำคัญทั้งหมด และต้องเข้าใจว่า ยังไม่เคยมีชาวจีนทางภูมิภาคตอนเหนือเคยเดินทางเข้ามาในดินแดนแถบนี้ และภาษาที่ใช้ก็แตกต่างกันมาก กับภูมิภาคทางตอนใต้ ดังนั้น บันทึกจีนโบราณทั้งหมดที่เกี่ยวกับภูมิภาคแถบนี้ ควรอ่านออกเสียงภาษาจีน ทั้ง 5 กลุ่มชนชาวจีนข้างต้น ก็จะจับต้นชนปลายได้ง่ายขึ้นว่าหมายถึงเมืองใหน และเป็นใคร ...... อีกเรื่องที่ควรเข้าใจ "เซี้ยม" หรือ "เซี่ยม กก" เป็นคำภาษาจีนแต้จิ๋ว ที่ใช้เรียก ดินแดน "สยาม" ซึ่งคำว่า สยามนี้ก็แปลงมาจาก คำว่า"Siam" ทีชาวฝรั่งชาติตะวันตกทั้งหลายใช้เรียก แต่เข้ามาทีหลังชาวจีน และเรียกตามชาวจีนโดยทับศัพท์คำว่า "เซี้ยม" เขียนเป็น "Siam" และทำการบันทึกบนแผนที่เดินทางอย่างแพร่หลาย แต่การออกเสียงภายหลังเพี้ยนไปเป็น"ไซแอม" ซึ่งออกเสียงได้ง่ายและชัดเจนกว่ามาก สุดท้ายก็ได้กลายมาเป็นชื่อ "สยาม"ของไทยเรา คำว่า "เซี้ยม" ในภาษาจีนแต๊จิ๋ว แปลว่า "อรุณทอแสง" และในภาษาจีนแมนดาริน อ่านว่า "เซี๊ยน" คำว่า"แมนดาริน" มาจาก "หม่านด้าเหยิน" แปลว่า "แมนจูผู้ยิ่งใหญ่" แต่ชาวตะวันตกออกเสียงยากมาก จึงเพี้ยนมาเป็น "แมนดาริน" อนึ่งภาษาในทางตอนเหนือของชาวจีน ก็มีอีกมากมายหลายร้อยภาษา จะมาบัญญัติชื่อ ทั้งหัวเมือง และบุคคลคนสำคัญๆ มากมายในพื้นที่อาณาบริเวณแถบนี้ จึงเป็นไปไม่ได้แน่นอน ดังนั้น บันทึกจีนโบราณทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์แถบนี้ จะต้องอ่านออกเสียงของชาวจีนแต๊จิ๋ว และกลุ่มข้างต้นเท่านั้น ครับ
เห็นด้วยครับ เพราะชื่อสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยที่คนจีนในไทยเรียกขานกัน ส่วนใหญ่เพี้ยนมาจากการเรียกของชาวจีนแต้จิ๋ว จึงถือได้ว่าคนจีนแต้จิ๋วมีอิทธิพลสูงต่อประเทศไทยมากกว่าจีนเผ่าอื่น จึงไม่แปลกที่ประเทศไทยจะมีชาวจีนแต้จิ๋วโพ้นทะเลมากที่สุด
แมนดาริน (Mandarin) เพี้ยนมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า “มนตรี” (Manteri) ที่ชาวมาเลย์เรียกคนจีนที่เป็นพวกข้าราชการ (มนตรี) พูดภาษาทางการจากตอนเหนือ เป็นการเรียกโดยแปลมาจากภาษาจีนคำว่า 官话 (guān huà) แปลว่า “ภาษาราชการ”
@@samomanawat Mandarin เป็นการเรียกของชาวอังกฤษ ต่อราชสำนัก"แมนจูเลีย" ที่ปกครองจีน โดยที่เป็นทางการ ก็คือ ราชวงศ์ชิง ซึ่งมีผู้ปกครองชาวแมนจู มักจะเรียกตัวเองว่า "หม่าน ด้า เหยิน (แมนจูผู้ยิ่งใหญ่)" และภาษาในราชสำนักจีนที่ใช้ในราชวงศ์ชิง ก็เป็นภาษาของชนชาติ "แมนจูเลีย"ครับ ซึ่งปกครองประเทศจีน ยาวนาน 300 กว่าปี ฝังรากลึกลงในระบบราชการของจีน ตลอดจน เหรียญเงินตรา ก็จะเขียนระบุไว้ อักษรจีน 3 คำ หม่าน ด้า เหยิน ที่ด้านหลังของเหรียญ ดังนั้น ชาวอังกฤษ จึงใช้คำทั้งสาม ทับศัพท์เดิม แต่ออกเสียงเพี้ยนมาเป็น แมน ดา ริน เมื่อต้องสื่อความหมายมายังราชสำนัก และภาษา
@@rungsrithienwongpetch6476 ไม่ใช่นะครับ Mandarin เป็นการเรียกของชาวอังกฤษ ผ่านชาวโปรตุเกสว่า Mandarim ผ่านชาวมาเลย์ว่า Menteri ที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า “มนตรี” อีกที เป็นการเรียกคำแปลโดยตรงของคำว่า 官话 (guān huà) แปลว่า “ภาษาราชการ” หรือ “ภาษาทางการ” (ภาษาของเหล่ามนตรี)ซึ่งภาษา 官话 หรือ Mandarin นั้นมีความเป็นมาตั้งแต่ต้นราชวงศ์หยวน ไม่ได้พึ่งมีมาในช่วงราชวงศ์ชิงอย่างที่คุณกล่าว แม้ว่าทั้งผู้ปกครองของราชวงศ์หยวนและชิง จะเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวจีนฮั่นก็จริง แต่ภาษาราชการใช้ภาษา 官话 หรือ Mandarin ของชาวจีนฮั่นทางตอนเหนือทั้งหมด และภาษา 官话 หรือ Mandarin ก็เป็นภาษาตระกูล Sinitic ไม่ได้เป็นภาษาตระกูล Tungusic อย่างภาษาแมนจูเลยนะครับ ภาษาแมนจูต่างจากภาษา Sinitic มากๆ นะครับ
ภาษาเพี้ยนได้, อย่างเช่นคนไหหนำ(คนทะเลใต้)ยังเพี้ยนเป็นไหหลำ... ใช่มั้ยพี่
ขอบคุณพี่ ที่ทุ่มทั้งเเรงกาย เเละ เเรงใจ เผยเเพร่ประวัติศาสตร์ไทย ให้คนทั่วไปเเละคนที่สนใจได้ติดตามกัน
ชื่นชมชาวจีน เป็นนักบันทึก สมเป็นเมืองนักปราชน์แดนกวี
ขอบคุณอย่างสูง สําหรับ เเรง กาย แรงใจ ของคุณ หอย ที่นําความรู้มาเผยแพร่แก่ทุกๆคน..ครับ
🙏🏽😁
ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่ให้ความรู้มาโดยตลอด.ติดตามตลอด.ขอให้อาจารย์ สุขภาพแข็งแรง. ร่ำรวยๆครับผม
จากคอมเมนต์ก่อนนี้ผมว่าเราโง่ผมขยายความให้นะครับอ.หอย เป็นเหตุให้เราอ้างอิงโบราณสถานที่เรามีอยู่ว่าเป็นสมัยสุโขทัยเท่านั้น แต่ท่านเอย ท่านคงไม่รู้ว่าร่องรอยโบราณที่เก่าขึ้นไปจากศักราช๗๑๒ ไปถึง๒๑๘ ยุคแพร่พระศาสนาของพระเจ้าอโศกฯ นั้นมีอยู่ทั่วไปที่นักประวัติศาสตร์เอามาเรียกว่าสมัยอยุธยา-สูโขทัยนั่นเอง ท่านไม่รู้ว่าท่านได้ด้อยค่าบรรพชนของเราไปทั้งแผ่นดิน ลบหลู่บรรพชนของเรา อย่างนี้นี่เองที่เขาเรียกสมรู้ร่วมคิดกันลบล้างทำลายแผ่นดินของไทยให้ตำต้อยผมท้าพิสูจน์ครับ
บันทึกความจริงในประวัติศาสตร์จีน!
ผมคนเรียนประวัติศาสตร์เหมือนกัน สรุปเราไม่ได้เกิดในสมัยนั้นสิ่งที่พูดกันก็แค่อ้างอิงสิ่งที่พบเจอในภายหลังแล้วมาวิเคราะห์กันเอาเองตามแต่ความน่าเชื่อถือของคนที่เอามาสื่อ จริงเท็จไม่มีใครรู้ครับ เอาเป็นว่าปัจจุบันเหตุการณ์ต่างๆคนที่บันทึกต้องเป็นกลางและบันทึกแต่ความจริงอย่าเอียงไปทางใดทางหนึ่งครับชนรุ่นหลังจะได้ไม่ต้องปวดหัวหาความจริงครับ คุณกล้าพอใหม
ไหม ไม่ใช่ ใหม
?ไทยทึ่บรรทึกไว้จะเชื่อคนอื่นได้ไงนี่ประเทศไทย คนเขียนบรรทึกไว้ ไทยไม่เกงคงเป็นแบบไต้หวันแล้วมั้ง นี่สมัยก่อนกษัตริย์ไทยเก่ง จีนถึงครอบครองไทยไม่ได้
@@moo.3805 บันทึก ไม่ใช่ บรรทึก
มีช่องประวัติศาสตร์ ช่องหนึ่ง เขียนเยาวราช เป็นเยาวราษฎร์ผมเข้าไปบอกว่าไม่ควรทำเลย โดนเหตุผล บลาๆๆๆ มาเยอะเลยล่ะครับ
ขออนุญาตแย้งใน 2 ประเด็นครับ1. อาณาเขตของแคว้นสุโขทัย ในรัชสมัยของพญารามราช(พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) ไม่ได้ขยายพระราชอาณาเขตทางทิศใต้ลงไปไกลถึงมลายูครับ แค่นครศรีธรรมราช เท่านั้น2. เซียน หมายถึง แคว้นสุพรรณภูมิ ซึ่งมีการติดต่อความสัมพันธ์สานพระราชไมตรีกับจีนมานานแล้วจี้หลัน หมายถึง เจนละ แม้ในยุคนั้น จะเป็นยุคเมืองพระนคร แล้วก็ตาม แต่จีนก็ยังคงเรียกขอมว่า จี้หลัน (เจนละ) ซูกู่ไท้ หมายถึง สุโขทัย หม่าปาเอ่อร์ = มอญสุธรรมวดี
แค่นครศรีธรรมราชก็ถือว่าไกลมากละนะครับ
@@jaitipnirvana7753 ใช่ครับ! ไกลมากสำหรับสมัยนั้น
สมัยพญารามราช ประเทศรอบข้างไม่ค่อยมีการรบ ซึ่งพระองค์ก็ดำเนินการค้าเต็มที่ มีความแข็งแกร่งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และ ความมั่นคง ที่ขยายมาถึงเมืองนคร น่าจะเป็นสัมพันธ์การค้ามากกว่า แต่เป็นช่วงเวงาสั้นๆเท่านั้น เพราะพอหมดสมัยพญารามราช สุโขทัย ก็อ่อนแอลง
นครศรีธรรมราชก็ต้องดูอีกว่านครปกครองเมืองไปถึงเมืองไหน บางช่วงอาจจะถึงปัตตานีกลันตัน ไทรบุรี ก็กว้างไปอีก
เซียน คือคำที่ใช้เรียกอาณาจักรสยามของชาวจีน สำหรับบางคนอาจจะเคยได้ยิน ชาวจีน ยุคก่อนๆเรียกประเทศไทยว่าเสียมล้อ( เสียมในที่นี้หมายถึงสยาม ล้อคำนี้คือละโว้ สรุปแล้วคือชาวจีนจะเรียกอาณาจักรสยามว่าสยามและละโว้) และคำว่าไท่กั๋วเพิ่งมีมาไม่นานนี้
ขอขอบคุณ
ขอบคุณครับ 🙏🏽
เคยดูภาพยนต์ เกี่ยวกับที่เจิ้งเหอ เดินทางมาทางเรือ แถบนี้เคยสั่งห้าม สยามรังแก มะละกา ก็คือมาเลย์หรือมลายู ในปัจุบัน มีอยู่ในภาพยนต์จีน เรื่อง ซำปอกง ที่ส่งเรือสำเภาสำรวจทะเล ไปประเทศต่างๆ
อธิบายได้ดี ชัดเจนที่มา ทำต่อไปครับ ใครมีอะไรใหม่มีเหตุผลอ้างอิงก็นำเสนอมาเล่าสู่กันฟังตามการจดบันทึกในยุคนั้นๆ มีเหตุมีผลอย่างสร้างสรรค
👍 ยอดเยี่ยมครับ ได้รู้ถึงการจดบันทึกที่มีแบบแผนของจีนตั้งแต่โบราณครับ
ฟังทุกช่วงครับ ไม่สามารถข้ามช่วงใดช่วงหนึ่งได้เลย เพราะมีประโยชน์ทุกเรื่องครับ
เสียน คือ สยามกุ๊ก ครับ คือนครวัดปัจจุบันเป็นเมืองหลวงเก่า ของชนชั้นปกครอง สูงสุดสมัยนั้น ล่ะโว้ พิมาย สุโขทัย เป็นเเค่เมือง เพราะประวัติศาสตร์ ยุคนั้นยังไม่มีประเทศดู กำเเพงวัดได้ เจ้าของที่เเท้จริงของเมืองยุคนั้น ที่ใกล้เมืองท่าน้ำที่สุด (เพราะเหตุผลทางการเมืองที่ จะไม่ยอมเเล้วพื้นที่ให้ กัมพูชาฝรั่งเศส) อันที่จริงเป็นเมืองหลวงเก่า ของประเทศเราคือส่วนที่บิ่นไป😂
คำถามในคลิป จ้านเฉิงคืออาณาจักรจามปา ครับจิงหูจั้นเฉิงสิงเสิ่ง(荆湖占城行省)แปลว่ามณฑลจิงหูจั้นเฉิง แยกเป็น จิงหู จั้นเฉิง(荆湖、占城)เดิมเป็นมณฑลจิงหู และมณฑลจั้นเฉิง แต่ในสมัยจักรพรรดิหยวนซื่อจู่ หรือกุบไลข่านได้รวมเป็นมณฑลเดียว ใช้ชื่อว่าจิงหูจั้นเฉิงสิงเส่ิงหรือจั้นเฉิงสิงเสิ่ง หมายถึงอาณาจักรจามปา
อาณาจักรจัมปา ปัจจุบันคือภาคกลางของเวียดนาม
ช่องนี้ดีมากๆ ดูมาหลายตอนแล้วครับ แต่ดูได้ทีละตอน ดูมากๆ มึนครับ
เชียนคือ สุพรรณภูมิ เพราะมีระบุว่าเซียนมีการติดต่อค้าขายทางเรือกับจีน ซึ่งสุโขทัยอยู่ในลุ่มน้ำยมห่างไกลทะเลมาก และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถล่องเรือออกไปผ่านรัฐคู่แข่งในลุ่มน้ำตอนล่างรวมถึงบันทึกที่ว่าเชียนเคยรุกรานมลายู ซึ่งตรงนี้เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกันที่จะไปไกลขนาดนั้นในหมิงสือลู่ยังมีบันทึกว่าเชียนรวมตัวกับหลัวหูเป็นเชียนหลัว หมายถึงอยุธยา ซึ่งสุโขทัยกว่าจะรวมกับอยุธยาคืออีกร้อยปีถัดมาในบันทึกจีนไม่เคยเปลี่ยนคำเรียกอาณาจักรใดๆ เลย ขนาดเชียนหลัวยังใช้มาถึงทุกวันนี้ (เรียกย่านสยาม) เซียนกับซผุ่กู่ไถ จึงเป็นคนละอาณาจักรแน่นอน
หมิงสือลู่ ก็เรียก เมืองสุพรรณว่า ซูเหมิงปัง เหมือนกันในขณะที่ระบุว่า เสียน+หลอหู=เสียนหลอ (มี2คำเหมือนกัน) ซึ่งขณะนั้นสุโขทัยเป็นเมืองประเทศราชของอยุทธยาแล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่เหมือน2ราชวงศ์คือ อู่ทองvsสุพรรณภูมิ ราชวงศ์พระร่วง(สุโขทัย)พึ่งกลับมามีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่๑)
เซียน = สยาม /ศรีรามเทพนคร/เซียนหลอ = รวมกันแล้ว สยามละโว้ /ไทใหญ่ยังเรียก ฉาน เลยที่แปลว่าสยามตระกูล สุพรรณบุรี นี้แหละพูดไทยกะได พูดไทยลาว มาจากเมือง เชียงแสน หลุมน้ำโขง เคลื่อนลงมา พอได้มีอำนาจ จากการแต่งตั้ง ของผู้นำพม่า(บุเรงนอง) ให้ย้ายมาครองอยุธยา /ยุค พระนเรศวร ซึ่ง มาจากพิษณุโลก/(เปินซีหลี่ )สองแคว ที่ใกล้สุโขทัย/ชู่กูไท, สวรรคโลก/ชุ่หลงทั่น คือ ตระกูลไทลาวพอพระนเรศวร เข้ามา ทำให้ในบันทึกจะพบภาษาไทย คำไทยมาแทนที่คำสันษกฤ/เขมร/หรือผสมกันพอปกครองยาวนาน 400กว่าปี ทำให้คำไทย มีความสำคัญ ตามแบบชนชั้นปกครอง ทำให้เผ่าอื่นต้องหันมาพูดไทยแบบเดียว กับ สเปน อาณานิคม600ปี ก็ทำให้คนในลาตินอเมริกา พูดสเปน ลาติน นั้นเอง วิจัย 3 ช่วงอายุคน จึงทำให้คนต่างเผ่า ต่างชาติ เปลี่ยนมาเป็นชนชาติที่ต่างจสกถิ่นเดิม แบบคนจีนมาในไทย รุ่นหลานก็พูดจีนไม่ได้แล้ว หรือคนไทยไปแต่งงานกับฝรั่งต่างชาติ ก็ลูกพูดไทยเริ่มไม่ได้แล้ว
ตระกูลสุพรรณภูมิปกครองอยุธยามาตั้งเเต่ขุนหลวงพะงั่ว ยึดอำนาจมาจากพระราเมศวรซึ่งเป็นลูกพระรามาธิบดีที่1 ราชวงศ์อู่ทอง เเละเป็นหลานตัวเองนั้นเเหละ พอขุนหลวงพระงั่วตาย พระราเมศวรก็กลับมายึดคืน พอพระราเมศวรตาย เจ้านครอิน(ไม่เเน่ใจว่าเป็นลูกหรือน้องขุนหลวงพะงั่ว)เเต่เป็นพ่อเจ้าสามพระยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ กลับมายึดอำนาจจากพระรามราชา(ลูกพระราเมศวร)ครองยาวๆจนถึงพระมหินลูกพระมหาจักรพรรดิ ถึงได้เปลี่ยนเป็นพระมหาธรรมราชา ราชวงศ์สุโขทัย พ่อพระนเรศวร ปล. เจ้านครอินทร์คนนี้เเหละที่ไปอยู่เมืองจีน เเละมีเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยกับสุพรรณภูมิ
เห็นด้วย100%ครับ
คนอยุธยาก็คนไทยไม่ใช่คนเขมร คุณพูดเหมือนคนกัมพูชาเลยชอบเครมทุกอย่างของไทยมันขอบเครมว่าอยุธยากับสุโขทัยเป็นเขมร
สุพรรณบุรีหรือสุพรรณภูมิน่าจะมีมาก่อนการตั้งอาณาจักรอยุธยา เพราะ อยุธยา เกิดจากสุพรรณภูมิ+ละโว้ ร่วมกัน สาเหตุที่สุพรรณภูมิพูดเสียงเหน่อคงสืบเนื่องมาจากสืบเชื้อสายทางลาวหลวงพระบาง+ทางเชียงแสน เพราะมีความใกล้ชิดกันมาก แล้วแผ่อาณาจักรลงมาครับ ส่วนลาวอีสานหรืออาณาจักรศรีโคตรบูรก็เป็นอีกสายหนึ่งทั้ง+กับชาวข่า ขมุ จ้วง กุย เข้าไปอีกในระยะหลัง สำเนียงพูดเลยต่างกันไป
มีประโยชน์มากครับคุณหอยเก่งมากครับ
ผมเคยอ่านพงศาวดารเมืองเชียงรายนิดหน่อย พญามังรายเป็นลูกของเจ้าหญิงจากเมืองเชียงรุ่งสิบสองปันนา แสดงว่ามีเชื้อสายไตลื้อ แล้วมาอยู่ที่เมืองเชียงแสน ยุค 1,000 ปีก่อนเชียงแสนคือเมืองหลวงของอาณาจักรแถบลุ่มน้ำโขง ก่อนที่พญามังรายจะยกทัพลงมาสร้างเมืองที่เชียงราย - เชียงใหม่ เมื่อ 700 กว่าปีก่อน ซึ่งตรงกับยุคราชวงค์หยวนของจีนพอดี และหยวนยกทัพมาตีพุกามแตก และจะมาตีล้านนาด้วย แต่มาถึงแค่ชายแดนก็ยกทัพกลับ พญามังรายก็ส่งกองทัพล้านนา + ไทใหญ่ เตรียมพร้อมรับศึกนอกชายแดนเชียงตุง สมัยนั้นอาณาเขตล้านนายาวไปถึงเชียงตุงในพม่าปัจจุบัน อาจจะไปถึงสิบสองปันนาของจีนด้วยก็ได้ครับเพราะมีสัมพันธ์อันดี เพราะแม่เป็นเจ้าหญิงมาจากสิบสองปันนา อีกทั้งยังไปยึดหิริภุญชัยจนล่มสลาย เรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง ราชวงค์ของพญามังรายปกครองสืบกันมากว่า 400 ปี ตั้งแต่ 700 กว่าปีก่อนถึง 300 กว่าปีก่อน ก็ถูกบุเรงนองบุกมาตี ล้านนาเป็นประเทศราชของพม่าอยู่ 100 ปี ก็ถูกพระนเรศวรของสยามมาตีจากนั้นล้านนาก็มีราชวงค์ใหม่ราชวงค์ของพญามังรายถูกล้มไปในยุคของบุเรงนอง พอพม่ายกทัพมาอีกในศึกที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 คราวนั้นเชียงใหม่ก็แตกเช่นกันและเชียงใหม่เป็นเมืองร้างไปกว่า 15 ปี พึ่งฟื้นฟูและให้คนเข้ามาอยู่ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ของสยาม โดยเจ้าเมืองเชียงใหม่สมัยนั้นกวาดต้อนคนจากหลายหัวเมืองเข้าไป
ราชวงค์ หยวน อย่าลืม เป็น ชาว มองโกล ถนัดขี่ม้า ในทุ่งกว้าง มาเจอ ป่า ทึบ แบบ ภาคเหนือ หรือ ลาว ขี่ม้าก็ลำบากเหมือนกัน แล้ว ที่มาตี อยุธยา จริงๆ มี ลานนา มาช่วยพม่าด้วย ( แต่ เราไม่พูดถึงกัน ) กรมพระราชวังบวร ก็ไป เอาคืน ไง สมัยก่อน เป็น อาณาจักร ใครเข้มแข็ง ล้านนา ก็เอนไปทางนั้น ทางนี้
ส่วนตัวผมแต่ก่อนชอบ ยุโรป แต่พอศึกษาดูแล้ว ยุโรปไม่ได้ทำให้มีผลประโยชน์กับไทย มากเท่าจีน จีนดูเหมือนเค้าจะไม่ได้คิดหวังอย่างเดียวต่างจากยุโรป ที่หวังแต่ผลประโยชน์ ส่วนตัวสมัยนี้ผมชอบจีนในส่วนเรื่องใจแลกใจ
ขอบคุณมากนะคะที่นำมาเล่าให้ฟังค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ เป็นประโยชน์กับเยาวชนและคนที่สนใจประวัติศาสตร์อย่างยิ่งเลยค่ะ
เซียนจะหมายถึงสุโขทัยก็ต่อเมื่อสมัยนั้นเรียกสุโขทัยว่าเซียนหรือเสียมเท่านั้นเพราะจีนบันทึกคำพ้องเสียง หรือทับศัพท์ได้ดีมาก
ขอมล่มสลายไปแล้วหลายร้อยปีทิ้งแต่โบราณสถานต่างๆไว้ ส่วนเขมรมาอยู่ในสถานะคนงาน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆทั้งในด้านเผ่าพันธุ์และสายเลือด แต่ดูเหมือนเขมรจะถือว่าโบราณสถานต่างๆนั้นเป็นของเขมร โดยเขมรเป็นคนสร้าง จึงมีฐานะเป็นเจ้าของ น่าอนาถใจจริงๆ
@@lynthongsirima103กษัตริย์เขมรชื่ออะไร
เสียนอาจจะหมายถึงแคว้นสุพรรณภูมิก็ได้นะครับ ซุกู่ไท้คือสุโขทัย
แล้วแต่จะอ้างอิงจากแหล่งไหนครับ ซึ่งผมก็บอกไปหมดแล้ว
ฟังเรื่องเล่าตอนนี้ทำให้คิดถึงซีรี่ส์เกาหลีทึ่ีมีนายอาลักษณ์จดบันทึกราชกิจของฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์....เลยค่ะคุณพูดคุยฟังสบายๆเหมือนเรานั่งล้อมวงฟังคุณเล่าเรื่องต่างๆให้ฟังได้ประดับสติปัญญาดีมากๆเลยค่ะ...ขอบคุณมากนะคะ🙏👍👍👍👍👍
สุดยอด...ได้ความรุ้ดีมาก ไม่เคยรุ้เลย ขอบคุณคับ
ฝากเรื่องชนชาติไทยที่มีมายาวนานกว่าสองพันปี (ตามที่บันทึกสเปนบอก) ส่วนตัวแกะรอยแล้วพบว่าคนไท มีอยูู่หลายกลุ่มและเกี่ยวพันกับชาวจ้วง ในจีนตอนใต้ (ใช้ภาษาตระกูลไท) และต้นราชวงศ์สุโขทัยนั้นมาจากกลุ่ม ไทเลือง (เรือง หรือเหลือง จีนออกเสียง โลอาง) พบว่าปรากฎในตำนานเชียงแสนเป็นคนใต้ปกครองของไทยวน และละว้าหรือลัวะ มาก่อนที่จะมาตั้งกรุงสุโขทัย....คร่าวๆ แค่นี้ ขอบคุณครับ
ฝรั่งสเปนบอก มันมาถึงเอเชียแค่สามร้อยกว่สปี จะรู้เรื่องพันกว่าปีของไทยได้ไง ฝรั่งอะไรเชื่อไปหมด บอกมาจากเทือกเขาอัลไตก็เชื่อ
60% ของเอกสารในแต่ละตอน ที่คุณหอยนำมาประกอบ ยังไม่เคยได้อ่านที่ไหนเลยครับ พอมาอ่านก็เลย "อ๋ออย่างนี้เอง" ผมเลยเล่าให้ลูกชายฟังชอบมากเลยครับ แต่มีคำถามจากลูกว่า เวลาเขาส่งสารข้อความกันอย่างไร ไปถูกได้ยังไงในแต่ละเมือง มีวิธียังไง ในเมื่อมันไม่มี อินเทอร์เน็ต ผมนี้อธิบายไม่ถูกเลยทีเดียว 555 ขอคุณหอยไขข้อข้องใจหน่อยครับผม(ลูกผมชอบเรียกคุณหอยว่าลุงแว่น ครับ) ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับเขามีคนชำนาญพื้นที่และเส้นทางครับเช่น เมื่อครั้งเขียงใหม่ขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระนารายณ์ให้ขึ้นไปข่วย เชียงใหม่ก็ส่งแสนสุรินทรไมตรีมาเป็นคนทำทาง แล้วพอคนนำทางหนีไปกลางคัน ทีพเยุธยาก็ต้องตั้งค่ายรอสืบข่าวอยู่อย่างนั้นครับ
มีพลนำสาร ครับ เป็นทหารสื่อสาร ระหว่างเมืองต่างๆ บนบก ในน้ำก็ทหารเรือ มีกัปตันนำเรือที่มี พลนำสารไปส่งเอกสารด้วย
ผมสงสัยการสื่อภาษากับจีน จะรู้เรื่อง/เข้าใจกันอย่างไร ซึ่งต่างไกลจากเราสุพรรณ สุโขทัย ลำพูน ล้านนา ล้านช้าง ยังมีภาษาที่คล้ายและใกล้เคียงกัน แต่กับจีนผมให้สงสัยนัก
@@ดินสถานะ เขามีล่ามครับ เรียกว่า ท่องสื่อ
ใช้ล่ามและภาษาสำหรับคนต่างถิ่นจะเพี้ยนดั่งที่เห็นฉนั้นชื่อเมืองชื่อคนมันเลยไม่ตรงไง ..เช่นไหหนาน ยังกลายเป็นไหหลำได้เลย!!
เสียน ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมทะเล ในยุคนั้นใช้เดินเรือติดต่อค้าขาย ไม่ทราบว่าเรือเดินทะเลจะขึ้นไปถึงสุโขทัยได้อย่างไร ผมคิดว่าชื่อเมืองต่าง ๆ ในบันทึกน่าจะอยู่ริมทะเลทั้งสิ้นครับ
การนำเสนอน่าฟังและน่าติดตามมาก ขอชมเชยนะ
ตามที่พูดว่า เพชรบุรี ละโว้ สุโขทัย สำพูน ต่างแยกส่งบรรณาการไปที่จีน เท่ากับสมัยนั้นต่างปกครองตนเอง เท่ากับไม่ได้เป็นส่วนหน็่งในอาณาจักรเขมรโบราณ เพียงแต่รับเอาวัฒนธรรมเข้ามาเท่านั้น. สร้างปราสาทหินเลียนแบบเท่านั้นชอบก็ทำตาม.
เป็นเครื่อญาติครับ ต้องไปดูพังคูเมือง สุโขทัย สุพรรณบุรี ละโว้ นครวัด จะมีลักษณะคล้ายกัน
@@ToFFTalks เครือญาติยังไง ใช้ภาษาต่างกันขนาดนั้น นครวัดน่าจะเป็นเมืองใต้อำนาจมากกว่า
เห็นด้วยครับว่ามีแต่สิ่งก่อสร้างเท่านั้นที่ดูคล้ายกัน แต่ประเพณี วัฒนธรรม ภาษาพูด อาหารการกิน ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่เลย
@@leeassadawut7858 แต่ละบ้านเมืองสมัยนั้นน่าจะมีผู้คนหลายชาติพันธุ์ปะปนกัน หลักๆคือ ลาวและเขมร คำไทย ถึงมีร่องรอยเป็นคำใหม่ ที่มีความหมายซ้ำจากต่างภาษาเช่น คำว่า ทองคำ ฟ้อนรำ ดั้งจมูก ที่เป็นคำซ้ำความหมายจาก คำลาวและเขมร
👍 ดีจ้า ,ที่ญี่ปุ่นดูประนอม บ้านตรงข้าม
น่าเสียดายจริงครับที่ไม่มีข้อมูลช่วง 40 ปี สุดท้ายของราชวงศ์หยวน เพราะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอยุธยา สุพรรณภูมิ และ ละโว้ น่าจะต้องถึงหูฮ่องเต้บ้างแหละครับ🥲❤️
กำลังโดนหมิงยำเละ ไม่มีเวลาจด
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณครับ
จบไปแล้วค่ะ ตอนนี้ประเทศต่างๆคือต่างคนต่างอยู่ค่ะ
แต่บางประเทศไม่ยอมนี่นะ เรียกร้องจะเอาอารยะธรรมโน่นนี่นั่นไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกชาติตัวเองยันเลยจ้า
ติดตามแล้วครับ ความรู้ทั้งนั้น
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลย
ในบันทึกการสร้างอยุธยาของจีน ว่าเป็นการรวมตัวของเสียนกับละโว้ ถ้าประวัติศาสตร์การสร้างอยุธยาที่เราเรียนมาถูกต้อง เสียนคือสุพรรณแน่นอน
จีนไม่ได้สร้าง
@@moo.3805 เขาไม่ได้หมายความว่าจีนสร้างเขาหมายถึง.. ในบันทึกของจีนที่บันทึกเรื่องราวการก่อร่างสร้างเมืองขึ้นของอยุธยา จีนเขาได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ว่าอย่างไรบ้างประมาทนั้น
ขอบคุณน้ามากเลยนะครับ ที่มานำเสนอหัวข้อนี้ อยากรู้มานานมากเลยครับ เจอเอกสารของตะวันตกกันเยอะ อยากเห็นของตะวันออกบ้าง❤️❤️❤️
อึม ตรงชื่อเฉพาะอาจต้องใช้ภาษาจีนท้องถิ่น เช่นฮกเกี้ยนกะแต้จิ๋ว ตรวจสอบว่าจะใกล้เคียงกะชื่อไหนมั่งก็ท่าจะดี หนี่หยวนกั๋ว ก็นึกถึงนางจามเทวี ผู้สถาปนาหริภุญไชยครับ ส่วนปี พ.ศ. 1832 นั้นน่าจะเป็นสมัยพระยาญีบา ผู้ครองหริภุญไชยคนสุดท้าย ก่อนที่พระยามังรายจะพิชิตหริภุญไชย เมื่อปี พ.ศ. 1839
หนี่วเหยินกั๋ว (女人國) ถ้าเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว ก็คงประมาณ เนี้ยนั้งก๊ก (เดาๆ) แต่ผมว่า คำนี้ สำเนียงไม่มีผล เพราะมันไม่ใช่คำทับศัพท์ แต่เป็นชื่อที่เอาความหมายในภาษาจีน แปลว่า ประเทศคนผู้หญิง
ส่วนชื่ออื่นๆ ที่เป็นคำทัพศัพท์ ผมว่า ที่เขาเลือกตัวหนังสือมาบันทึกในสมัยหมิงนั้น ก็น่าจะใช้การอ่านแบบทางการสมัยนั้น เช่น สำเนียงจีนกลางสมัยหมิง นักวิชาการมีความเห็นว่าน่าจะใกล้เคียงสำเนียงนานกิงในปัจจุบัน เช่น คำว่า 昭祿群膺 เป็นทับศัพท์ชื่อ "เจ้านครอินทร์" ในภาษาจีนกลางปัจจุบันอ่านว่า "เจ๊าลู่ฉุนอิ๊ง" ซึ่งถ้าเป็นภาษาจีนกลางสมัยราชวงศ์หมิง น่าจะอ่านประมาณว่า "เจ๊า นก คุน อิง"สังเกตว่า คำว่า ลู่ อาจจะเคยอ่านว่า นก (ตัวนี้ ในภาษาเกาหลียังอ่านว่า นก อยู่ ที่อ้างอิงเกาหลี เพราะเกาหลีได้รับอิทธิพลสมัยหมิงมามาก ภาษาที่ยืมมาหลายคำก็น่าจะเอาการออกเสียงสมัยหมิงมาด้วย; ในทางสัทศาสตร์ ตัว ล กับ น อยู่ในฐานเสียงเดียวกัน มันเพี้ยนกันไปมาได้) คำว่า ฉุน อาจจะเคยอ่านว่า คุน (ตัว ฉ ช ในจีนกลางปัจจุบัน มักจะเคยออกเสียงเป็น ข ค มาก่อน และในจีนสำเนียงอื่นในปัจจุบัน ก็ยังเป็น ข ค เช่น ฮกเกี้ยนปัจจุบัน คำนี้อ่านว่า ขุน ส่วนแต้จิ๋วปัจจุบัน อ่านว่า คุง)
ขออนุญาตครับอาจารย์ ผมได้ดูซีรีย์ประวัติศาสตร์จีน ประวัติการเดินทางของจิ้งเหอ เจ้ามลายูฟ้องว่า เซียม Siam รังแก ชาวมลายู ยกทัพไปรุกราน มะละกา พระเจ้ากรุงจีน ได้ขอร้องไม่ให้ชาว เซียม ไปรังแก ชาวมลายู ดังนั้น เซียนที่อาจารย์กล่าวมาน่าจะเป็นชาวสยาม ครับจาก สุพรรณ ละโว้ นครศรีธรรมราช หรือไชยา
เอกสารจีน (หยวนสื่อ) เอ่ยถึงบ้านเมืองสำคัญในแถบภาคกลางของบ้านเราในปัจจุบันไว้ 2 แห่งคือ เซียน (เสียน) - หลัวหูหลัวหู นั้นไม่น่าจะมีปัญหา เพราะคงจะหมายถึง ละโว้แต่บ้านเมืองที่ชื่อ เซียน (เสียน)นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์มีการสันนิษฐานกันไว้ในเบื้องต้นเป็น 2 ฝ่ายฝ่ายแรกเชื่อว่า เซียน = สุโขทัยอีกฝ่ายเชื่อว่า เซียน = สุพรรณภูมิถ้างั้นเราลองมาดูสิ่งที่เอกสารจีนอธิบายไว้เพิ่มเติม …หยวนสื่อ ให้คำอธิบายเกี่ยวกับบ้านเมืองที่ชื่อ “เซียน” และ “หลัวหู” ไว้ดังนี้“ …เซียน แลหลัวหู เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฝูหนาน บริเวณตอนเหนือของสยาม ติดต่อกับปาไปสีฟู ที่อยู่ติดกับมณฑลหยุนหนาน ทางตะวันออก ติดต่อกับอันหนาน แลทางตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับอาณาจักรเหมี่ยน หลัวหู ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของของเซียน ติดกับทะเล ดินแดนเซียนแห้งแล้ง ไม่เหมาะแก่เกษตรกรรมหลัวหูมีที่ราบกว้างใหญ่ ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ชาวเซียนต้องพึ่งพาอาศัยจากหลัวหูมีแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเซียน ผ่านหลัวหู ลงสู่ทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลัวหู ทุกฤดูร้อน น้ำทะเลไหลเขาสู่แม่น้ำตอนใน ชาวนาจะอาศัยเวลาดังกล่าวหว่านเมล็ดพันธุ์ต้นกล้าค่อยๆ เติบโตตามระดับน้ำน้ำสูงหนึ่งฉื่อ ต้นกล้าสูงหนึ่งฉื่อ เมื่อน้ำลด ต้นกล้าจะสุกพร้อมเก็บเกี่ยวมีการหว่านเมล็ดพันธุ์ แต่ไม่มีการไถหว่านด้วยเหตุนี้พืชพรรณธัญญาหารจึงอุดมมบูรณ์ แลราคาถูก …”นี่คือสิ่งที่ หยวนสื่อ อธิบายไว้อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านคิดว่า “เซียน” คือที่ไหนครับ ?--หยวนสื่อ จากหนังสือ “สุโขทัยคดี ประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ ฉบับเชลยศักดิ์” เล่ม ๑ หน้า ๒๐๕
@@hoyapisak ขอบคุณครับอาจารย์ ตามบทความนี้ มี เมืองอยู่ 3 เมือง- สยาม- เซียน- หลอหู“ …เซียน แลหลัวหู เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฝูหนาน บริเวณตอนเหนือของสยาม" จากบทความนี้ มีความสำคัญสำหรับคนสยามมากที่เดียว เพราะใช้อ้างอิงในประวัติศาสตรชาติไทยเราได้มากที่เดียว เข้าเรื่อง เซียนอ่านตามบทความนี้ น่าจะเป็นเมืองศรีเทพ แม่น้ำที่กล่าวถึงคือแม่น้ำป่าสัก ซึ่งไหลผ่านลพบุรี มีการทำนา อาณาเขต ไปไกลถึงยูนนาน สยามน่าจะหมายถึงอาณาจักรฟูนัน และหรือทวาราวดี ครับผมกำลังศึกษา ความเป็นมาของชนชาติสยาม -ขอม
เซียน,เสียม,สยาม มันคือกลุ่มเดียวกันไหมครับ นครศรีธรรมราชหรือภาคใต้เรียกตัวเองว่าสยามหรือเปล่าครับ ถ้าเรียกตัวเองว่าสยามมันก็ไม่แปลกอะไรที่มันมีปัญหากับพวกมลายู
ช่องนี้ดีมากครับติดตาม
อจ.หอยเล่าสนุก
ผมเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างมันจะเขียนตกแต่งยังไงก็ได้ พวกหนังสือบันทึก พงศวดาร เอาจริงๆปัจจุบันจีนยังรายงานคนติดเชื้อโควิด คนเสียชีวิตเป็นศูนย์ทุกวัน แต่ฌาปนกิจสถานเผากันทุกวัน หลายอย่างไม่ตรงกับที่พูด เอามุมมองตัวเองเป็นหลัก
อยากให้พี่หอย นำเนื้อหาในตำราพิชัยสงครามของไทยสมัยอยุธยาแต่ละบท มาย่อยให้เข้าใจง่ายลง Ep เพื่อศึกษาบ้างครับ
ลองติดตามช่อง อ.ตุ๊ก บางปะอิน นะครับท่านมีความรู้ทางด้านนั้นเยอะเลย
ในยุคปฏิวัติทางวัฒนธรรมน่าจะมีโบราณสถาน-วัตถุและเอกสารโบราณที่ถูกทำลายไปจำนวนมาก
...เห็นในติ๊กต้อก เม้นสั้นๆ ว่ามีรูปปั้นสิงโตโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่ แต่ ผญ.บ้านสั่งให้ทุบทิ้ง แล้วสร้างวัดขึ้นมาในที่นั้น...โบราณวัตถุ สามารถวิเคราะห์การเดินของชนเผ่าต่างๆได้เป็นอย่างดี...โบราณวัตถุ เกี่ยวขอม ที่อีสาน จนถึงลาวมีอีกเยอะมาก
โอ้ช่องนี้ความรู้เป๊ะมาก สุดๆ
อจ.หอย.. ทำอาณาจักรล้านนากับความสัมพันธ์จีนด้วยครับ... จะได้ลิ้งกับสุโขทัยอโยธยา.. น่าสนใจไม่น้อย.. รอติดตามเสมอ.. ❤️❤️❤️
เอกสารขอต่างชาตินี่น่าสนุกมากครับ
เสียน น่าจะสุพรรณภูมิ ที่มีอำนาจในเขตแม่น้ำท่าจีน ปากน้ําโพและยาวขึ้นไปจนถึงเขตแดนของสุโขทัย ยังมีอาณาจักรเล็กๆน้อยๆอยู่เต็มไปหมดแถวนี้เช่น ศรีเทพ ซึ่งตอนนั้นไม่รู้ชื่ออะไร เพชรบุรีนครศรีธรรมราช โคราช และเราก็ไม่รู้ว่าสุโขทัยชื่อตามจีนเรียกว่าอะไรทำไมถึงคิดว่าเป็นสุพรรณภูมิ ก็เพราะเมื่อละโว้รวมกับสุพรรณภูมิกลายเป็นอยุธยา จีนถึงเรียกว่า เสียนหลอหู่
ขอบคุณความรู้จิ้มก้อง ที่ทำให้เราไขว้เขวได้
สุดยอดความรู้เลยครับ
ชอบมาก
ขอความรู้หน่อยครับ สุโขทัยมีเรื่องกับมาลายูใด้ยังไงครับแผ่นดินไม่ติดต่อกันมีอยุธยาอยู่ตรงกลาง
ตอนนี้ทำยากมากๆ ขอบคุณอาจารย์ที่อุตส่าห์ทำมาให้ศึกษาเรียนรู้ ค่ะ
ดูเหมือนอาจารย์จะผอมลงนะคะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ อย่าให้ป่วย เพราะ fc.รอดูคลิปอยู่ค่า
ยากตรงที่อยากจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ๆ นี่แหละครับ 😊
@@hoyapisak ฟังแล้วเข้าใจในคำอธิบายค่ะ เจ๋ง !
@@nichnana4907 🙏🏽
เพราะเต็มไปด้วยภูเขาป่าไม้ใหญ่หนา การคมนาคมไม่อำนวยชนเผ่าไทหรือไตจึงแยกกันอยู่เป็นหย่อมๆ ไม่เป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ได้ แต่ก็ดีที่ไม่ได้รบกันเละเหมือนในจีนและทุ่งราบตอนเหนือของเอเชีย.
ขอบคุณครับติดตามทุกตอนครับ
ขอบคุณมากครับ น่าสนใจมากๆๆ
สุข+อุทัย = สุโขทัยลว÷อุทัยปุระ = ลโวทยปุระ (เขียนแบบภาษาบาลี)ชื่อสองเมืองนี้ใกล้เคียงกันมากคำว่า อุทัยะ และ สุริยะ ล้วนแต่หมายถึง ดวงอาทิตย์ ตำนานพื้นบ้านมุขปาฐะแถบนี้ ส่วนใหญ่ อ้างว่าตัวเองสืบเชื้อสาย จากสุริยะวงศ์ บางคนตีความไปถึงดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนหน้ากลองมโหรทึก และเมื่อรับอิทธิพลจากอินเดีย จึงใช้คำว่า สุริยะกับ อุทัย กล่าวรวมกันเพื่อให้ผู้คนรับรู้ ความสูงส่งของตัวเอง คตินี้ก็มีความน่าเป็นไปได้เพราะมโหรทึกเป็นสัญลักษณ์แทนการถือผีซึ่งเป็นความเชื่อเก่าแก่ของคนแถบนี้มาก่อน
Arunodaya แปลว่าแสงอทิตย์ยามเช้าหรือดวงอาทิตย์ยามเช้าดีครับ (Arun + Udaya)
รายการสนุกมากเลย มันดีมากๆ เนื้อหาเลิศ บรรยายแจ๋ว
ขอบคุณและติดตามครับ
ตอนนี้น่าสนใจมาก เพราะมันเกี่ยวกับเรื่องการส่งเครื่องราชบรรณาการไปจีนหรือจิ้มก้องในช่วงแรก ๆ
ขออนุญาตแย้งเพิ่มเติมอีกประเด็นนะครับคือ ประเด็นคำว่า "กมรเตง" หรือ "กมรเตงอัญ" นั้นเป็นคำในภาษาขอม ไม่ใช่ ภาษาของเขมร ครับ เนื่องจากขอมเป็นคนละชนชาติ ซึ่งเป็นชนชั้นผู้ปกครอง ส่วนเขมร เป็นชนชั้นทาสที่ถูกกวาดต้อนมาจากจามปาหลังการพ่ายแพ้สงครามในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครับ
@@lynthongsirima103 มีเยอะค่ะ ในประเทศไทย สยาม
ในพงศาวดารอยุธยา คนอยุธยาเรียกชาวกัมพูชาว่าขอมนะครับ
@@Syamnothai เขมรไม่ใช่ขอม เขมรเป็นทาสขอม
@@lynthongsirima103เป็นภาษาขอม แบะภาษาขอมในไทยมีเยอะมาก ตาเรายังรู้จักเลย
@@Syamnothaiใช่ครับสมัยนั้นคนอยุธยาเรียกกัมพูชาว่าขอม แต่ขอมที่คนอยุธยาในสมัยนั้นได้กล่าวถึง ไม่ได้หมายถึงเขมร เขมรเป็นแค่ทาส แต่เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาทุกอย่างเลยเปลี่ยน เขียนประวัติศาสตร์ใหม่ให้เขมรมีตัวตนขึ้นมา ขอมนั้นคือเขมร ฝรั่งเศสพยายามจะให้คนสยามกลายเป็นพวกไม่มีอารยธรรม คนป่าเถื่อน เป็นพวกอพยพ เพื่อเอามาเป็นเหตุผลที่จะมายึดประเทศไทย แต่โชคดีที่ไทยมีศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่ง ที่บ่งบอกว่าเราอยู่ในดินแดนนี้มานาน มีอารยธรรม มีการปกครองด้วยกษัตริย์อย่างยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เลยทำประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เขียนโดยนักล่าอนานิคมเริ่มต้นที่ อนาจักรสุโขทัย ปี พ.ศ.1800 ตามตำราเรียน ทั้งๆที่มีมายาวนานกว่านั้น แถมนวก.ไทยดันมายกขอมให้เป็นเขมร แล้วอวยเขมรด้วยคำว่า เขมรโบราณ
สามอานาจักรที่ว่าน่าจะอยู่ที่เวียดนาม..เพราะเคยดูแผนที่ยุคนั้นเวียดนามมีสามอาณาจักรเหนือ.กลาง..ใต้ส่วนเซียนน่าเป็นสุโขทัย.เพราะกษัตริย์สุโขทัยไปอยู่เป็นประกันอยู่จีนนานเกินสิบปีก่อนกลับมาครองเมืองสุโขทัย..โดนทางสุโขทัยมีบุตรที่เกิดจากพระสนมชาวนครศรีธรรมราชปกครองแทนอยู่พักใหญ่..
เสียนคือรัฐฉานขึ้นไปถึงจีนตอนใต้ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนไปเรียกว่าล้านนา หลอหูคือละโว้หรือก็คือภาคอิสานกับสปปลาว สุมาตราในความหมายของจีนน่าจะเป็นศรีวิชัย
ฟังแล้วสนุกมากครับ
ขอบคุณครับ จารย์หอย ที่นำมาเล่า...ชอบครับ ระวัง จะโดนธาตุไฟเข้าแทรก 555...
อยากให้นำบันทึกของยุโรป และอินเดีย มาลองเปรียบเทียบด้วยครับเท่าที่สังเกต เพราะแบบเรียนของเรามักเริ่มที่สุโขทัย และเราไม่ค่อยค้นเรื่องก่อนหน้าเพราะมักจะโดนจับรวมเป็นเขมรไปหมด ทั้งที่ไม่ใช่ เราจึงมักฝังหัวว่าไม่มี ทั้งที่มีศรีเทพ และ สยำกุก ก็มีอยู่ แปลว่าคนไท-มอญมีมานานแล้ว และเราควรศึกษาครับปล. เสียน โดยทั่วไปแปลว่าสุพรรณภูมิ บางคนว่าคือสุโขทัย หล่อหู่คือลวปุระ เสียนหลอหู่คืออยุธยา ปาไป่คือล้านนา เซ่อหลีคือสิบสองปันนา แนะนำดูเพจจีนโบราณในเฟซครับ
เซียนน่าจะเป็นคำทับศัพท์มากกว่ามีคำแปลนะครับ มีบันทึกภาษาอื่นประกอบไหมครับ
ความรู้ที่คุณมีนั้น ผมว่าทำเป็นคลิป เขียนเป็นบทความ หรืออัด Podcast ออกมาเลยครับ จะได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย
หนูเห็นด้วยหมดเลยค่ะ แต่หนูว่าหล่อหู่คือละโว้มากกว่าลวะปุระ อาจจะเป็นที่เดียวกันจริง แต่ชื่อที่แตกต่างกันสะท้อนถึงช่วงเวลา ลวะปุระนั้นจริงแท้แน่นอนว่าเป็นมอญทวารวดีและรุ่งเรืองตั้งแต่ พ.11-16 แต่หลังจากนั้น ยุคชัยวรมัน 7 ลวะปุระได้เปลี่ยนเป็นละโว้ที่รับอิทธิพลขอมมาไว้มาก และเซียนหล่อหู่ที่ควบรวมกิจการกันเป็นกรุงศรีอยุธยา ก็เป็นยุคละโว้เพราะสถาปัตยกรรมหรือจารีตหลายๆอย่าง กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยาฯถือว่าเป็นจุดปะทะสังสรรค์กันระหว่างความเชื่อแบบพุทธเถรวาท แต่ก็ยังถือคติจากฮินดูบางอย่างด้วย ความเข้มข้นของฮินดูยังไม่จางหายไปในละโว้ที่เปลี่ยนเป็นพุทธ มหายานในช่วงก่อนที่รวมกับเสียน ทั้งนี้แทบไม่เกี่ยวกับอะไรกับเขมรยุคนครวัด เพราะศิลปะละโว้ก็ทิ้งช่วงห่างจากยุคนครวัดและบายนเป็นตั้งร้อยๆปี
ขอบคุณมากครับ คิดว่าในส่วนของคำว่า "เซียน" เดาว่าน่าจะเรียกชนชาติ เพราะมันใกล้เคียงกับคำว่า "เสียม" หรือพวก สยาม ส่วนคำว่า "ซู่กู่ไถ"เป็นการเรียกเมืองหรืออาณาจักร อันนี้เดาเอาครับ ไม่ได้มีความรู้ใดๆในด้นประวัติศาสตร์ครับ กรุณาอย่าตำหนิขอบคุณครับ
ซู่กู่ไถ=ซูขูไท=สุโขทัย
ปัญหาคือคนไทยไม่ได้เรียกตัวเองว่าสยามสิครับ แค่เคยใช้เป็นชื่อประเทศ
@@jaitipnirvana7753 สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา[2] ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ชื่อ "สยาม" ในการทำสนธิสัญญากับต่างชาติเป็นเวลาหลายศตวรรษ เนื่องจากราชอาณาจักรประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์ อาทิ ไท ลาว มอญ ญวน เขมร แขก จีน ฝรั่ง และมลายู พระมหากษัตริย์ไทยจึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ประเทศสยาม เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน[3] อีกทั้ง ชื่อ สยาม นั้น ก็ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงการวิชาการของต่างประเทศอีกด้วย
กดไลท์แล้วนะครับ.พี่หอย..
6:57 สะดุดหูคำว่า/จิ้มก้อง/ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่นำคำนี้มาแผลงใช้เป็น/เส้นกุ้งของคัล/หมายถึงบรรณาการที่ราชสำนักเชียงใหม่ราชวงศ์มังรายส่งไปให้ราชสำนักจีนแบบรายปี
進貢 ถ้าอ่านในภาษาจีนสมัยกลาง จะออกเสียงประมาณว่า สิ้นกุ้ง
@@hilatchikkakul8980 ขอบคุณมากครับ เริ่มเข้าใจรากศัพท์มาทีละนิดละสิ้นกุ้ง-เส้นกุ้งของคัล
การส่ง บรรณาการ คงเพียงเพื่อ ผูกสัมพันธไมตรี เรื่องการค้าขาย เท่านั้นมั้งครับ ไม่น่าหมายถึง การอยู่ใต้อำนาจ จีน แน่ๆ คงไม่ต้องห่วงการจะสู้รบหรือมีสงครามกัน เนื่องจากอยู่ห่างไกลกันมาก...อย่างที่ข้อมูล อ.หอย เล่านั่นแระ
ในสมัยราชวงศ์หยวนแผ่นดินอาณาจักรเสียนนั้นคือเมืองนครศรีธรรมราช พื้นที่ภาคใต้ทั้งแหลมทองเป็นพื้นที่ของแคว้นเสียนไปถึงเกาะสิงคโปร์รวมทั้งเกาะสุมาตรตราด้วย แคว้นเสียนหรือสยามในสมัยราชวงศ์หยวนของจีนอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย พระเจ้าสุริยวรมันที่1มีบรรพบุรุษอยู่ที่นครศรีธรรมราช เมื่อพระเจ้าสุริยวรมันที่1รวบรวมแคว้นสัมภูปุระ(สยาม,เสียน)กับแคว้นละโว้(ลาว,หลอหู)เป็นประเทศเดียวกันจึงเรียกแผ่นดินว่าอาณาจักรสยามลาว,เสียนหลอ แคว้นสัมภูปุระ(สยาม,เสียน)เจนละมี2ส่วนคือ 1.แคว้นสัมภูปุระโคก(เสียนก๊ก,สยามบก)เจนละโคกมีพื้นที่อยู่ในภาคอีสานของไทย 2แคว้นสัมภูปุระราช(เสียมราฐ,สยามราช)เจนละน้ำมีพื้นที่อยู่ใต้เทือกเขาพนมดงรักลงไปถึงทะเล มีเมืองหลวงคือกรุงกัมพูชา ในสมัยรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่2สามารถรวมแคว้นสัมภูปุระโคก(สยามโคก,)เจนละบกรวมประเทศกับแคว้นสัมภูปุระราช(เจนละน้ำ)แห่งกัมพูชา ในสมัยรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่๑มีบรรพบุรุษฝ่ายพ่ออยู่นครศรีธรรมราชมีบรรพบุรุษฝ่ายแม่อยู่ในภาคอีสานของไทยทำให้พระองค์รวมแคว้นสัมภูปุระ(สยาม)เจนละเข้ากับแคว้นละโว้(หลอหู,ลาว)เรียกอาณาจักรสยามลาว(เสียนหลอ) เมื่อมองโกลราชวงศ์หยวนโจมตีอาณาจักรสยามลาว(เสียนหลอ)ในสมัยรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่8"ขอมเจ้าบาทโขน(โขน=ขุน)รามพงศ์"ทำให้บ้านเมืองแตกเป็นหลายส่วน แคว้นละโว้(หลอหู)เป็นอิสระ แคว้นสยาม(เสียน)ในภาคใต้เป็นอิสระ แคว้นสุโขทัยที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นละโว้(หลอหู)ก็ขอแยกเป็นอิสระจากแคว้นละโว้(หลอหู,ลาว)แคว้นหงสาวดี ล้านช้าง ล้านนาก็แยกเป็นอิสระ แม้แต่แคว้นจามปาที่พระเจ้าชัยวรมันที่7ยึดเป็นเมืองประเทศราชและแบ่งจามปาออกเป็น2ส่วนคือจามเหนือที่เมืองวิชัยกับจามใต้ที่เมืองพนมเปญของเขมรจามก็เป็นอิสระ ดินแดนสยามหรือเสียนรวมกับหลอหู(ลาว)ละโว้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่1จึงกว้างใหญ่เมื่อไปติดต่อกับแผ่นดินจีนทำให้พระเจ้ากรุงจีนพระราชทานม้าพันธุ์ดีให้ เมื่อมองโกลราชวงศ์หยวนโจมตีอาณาจักรสยามลาวแผ่นดินแตกแยกแคว้นสยาม(เสียน)จึงเหลืออยู่แค่ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยทำให้พระเจ้ากรุงจีนไม่พระราชทานม้าพันธุ์ดีให้กษัตริย์แคว้นสยาม(เสียน)ที่มีพื้นที่เหลือเพียงภาคใต้ของประเทศไทย และแคว้นสยาม(เสียน)ก็รวมกับละโว้(หลอหู)ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่1(ท้าวอู่ทอง)จึงกลับมาเรียกชื่ออาณาจักรสยามลาว(เสียนหลอ)อีกครั้ง เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่1(ท้าวอู่ทอง)ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสยามลาว(เสียนหลอ)พระองค์จึงทรงส่งกองทัพแคว้นละโว้(หลอหู)ที่มีเมืองหลวงชื่ออโยธยาออกไปขับไล่นายแตงหวานเชลยชาวจามปาต้นตระกูลของชาวเขมรที่เป็นขบถฆ่าพระเจ้าชัยวรมันที่9กษัตริย์เมืองกัมพูชาแห่งแคว้นสัมภูปุระ(สยามราช,เสียมเรียบ)เจนละน้ำให้ออกไปจากเมืองกัมพูชา นายแตงหวานเป็นเชลยชาวจามปาผู้เป็นต้นตระกูลชาวเขมรผู้นี้ถูกกวาดต้อนมาจากแคว้นจามปาในสมัยรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่7ทรงยกกองทัพของพระองค์จากแคว้นละโว้(หลอหู,ลาว)ไปขับไล่กองทัพแคว้นจามปาที่โจมตีเมืองกัมพูชาแห่งแคว้นสัมภูปุระ(สยาม)เจนละจนทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่7ได้แคว้นจามปาเป็นเมืองประเทศราช ชาวเขมรมีเผ่าพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งของชนเผ่าจาม บรรพบุรุษของชาวเขมรคือนายแตงหวานเชลยชาวจาเป็นขบถฆ่ากษัตริย์แคว้นสัมภูปุระ(สยาม,เสียน)เจนละแห่งเมืองกัมพูชาคือพระเจ้าชัยวรมันที่9พร้อมปราบปรามฆ่าฟันชาวขอมสยามในเมืองกัมพูชาตายจาทำให้ชาวขอมสยามอพยพหนีไปอยู่ที่ภาคใต้ของประเทศไทยบ้าง อพยพขึ้นไปอยู่ที่ภาคอีสานของไทยก็มี แต่ชาวขอมสยามส่วนใหญ่อพยพไปอยู่ที่แคว้นละโว้(หลอหู)ในภาคกลางของประเทศไทยเพราะเป็นประเทศเดียวกัน
ถึงขนาด ทะเลาะกับ มาลายู กับ สินธุได้ จะต้องมีแผ่นดิน หรือดินแดน ทั้งบก และทะเล ที่ซ้อนทับ ผลประโยชน์กัน ถ้าเป็นสุโขทัย ก็จะขัดกับสิ่งที่เป็นในบันทึกมากๆ งั้นก้ควรจะเป็น สุพรรณ หรือ นครศรีธรรมราช นี่ล่ะ
นครศรีธรรมราชมีความเป็นไปได้เพราะแถบทางใต้แทบจะปกครองด้วยเมืองเดียวและอยู่ติดกับมาลายูด้วย การที่เมืองอื่นจะเดินทางมารบคงยากที่ผ่านเมืองแทบการยกทัพมาอีกคงยากกว่าเดิม
เสียม-ล่อ..ก๊ก คือแผ่นดินตั้งแต่คาบสมุทรมลายู นครศรีธรรมราช. ศรีวิชัย ที่ราบภาคกลาง ถึงละโว้
เห็นด้วยครับ เท่่าที่เคยฟังมา หลังจาก เสียน (สยาม) รังแก มลายู จีนก็ได้ส่งเจิ้งเหอมาปราบ มีบันทึกในสมัยนั้นกล่าวถึงที่ตั้งเสียน และเมืองหลวงไว้ชัดเจน ว่าตั้งอยู่บนคาบสมุทร ต้องเข้าไปในอ่าวมีโซ่เหล็กกั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นสุโขไท (ในศิลาจารึก พ่อขุนราม สะกดแบบนี้ ไม่ใช่ สุโขทัย) โดยดินแดนแถบนี้ น่าจะปกครองกันแบบสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นเครือญาติกัน ตั้งแต่ เมืองไชยา นครศรีธรรมราช เพชรบุรี สุพรรณบุรี และในบางช่วงเวลาอาจลามไปขึ้นเหนือถึง สุโขไท (เนื่องจากความเป็น ไท เหมือนกัน) หรือลามลงใต้ ไปมลายู (เกาะสุมาตรา ) ด้วยการรุกราน ตามที่จีนบันทึกว่า มีการรังแก กัน ส่วนศูนย์กลางอำนาจ อาจจะอยู่ที่ว่าในสมัยนั้น มีใครเป็นใหญ่ ในสมัยรามคำแหง อาจเป็นใหญ่ ก็ได้ จึงมีการอ้างว่า อาณาเขตถึงนครศรีฯ ภายหลังเมื่อเจิ้งเหอปราบเมืองไชยาซึ่งเป็นศูนย์อำนาจขณะนั้นได้ ทำให้เมืองสุพรรณบุรี เป็นใหญ่ขึ้นมา ในสมัยเจ้านครอินทร์ (ซึ่งมีข้อสงสัยว่า ได้อำนาจทหารจากจีนเข้าช่วย ดังนั้น อำนาจจากจีน อาจไม่ได้ช่วยกดดันแค่ หลอหู หรือละโว้ แต่ยังเป็นการชิงอำนาจในหมู่ เสียน ด้วยกัน อีกด้วย เพราะเสียนทางใต้ถือว่าตัวเป็นเจ้าสมุทรไม่เป็นมิตรกับจีน ) ดังนั้น ในประวัติศาสตร์อยุธยาจึงปรากฏว่า เมืองในคาบสมุทรทางใต้ถึง เมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองขึ้นมาแต่ตั้น โดยไม่ปรากฏที่มาที่ไป นี่จึงอาจเป็นประวัติศาสตร์ที่ขาดหายไป
ขอสนับสนุนความคิดเห็นนี้
น่าสังเกตสมัยพ่อขุนราม จีนหยวนถึงยอมส่งอานม้าทองคำให้ก็เเสดงว่าสุโขทัยมีอำนาจมากเเละให้ความสำคัญเพราะทรงขยายอำนาจไปถึงสุมาตรา กองเรือรบสุโขทัยต้องมีมากจึงถึงลงมากันเลย เพราะอะไรเดิมศรีวิชัยอาณาจักรเก่ามีเขตอำนาจสุมาตราขึ้นมาถึงไชยา แดนประเทศไทยตอนนี้หลังจากล่มสลายสาเหตุอะไร แต่ข้อมูลว่าเกิดโรคระบาดขึ้น หลังล่ม สุโขทัยต้องการฟื้นฟู แต่มีการที่มีอำนาจใหม่จะมาปกครองทั้งสุมาตราลามขึ้นมาแพร่ขยายอาจเข้ามาถึงนครศรีซึ่งเป็นมิตรสุโขทัย จึงส่งเรือมาปะทะกัน กองเรือสุโขทัยน่าจะเหนือกว่า ซึ่งหยวนทราบจึงไม่อยากให้สุโขทัยไปรังเกรงเพราะ หยวนจะเอาสะเอง จะได้ปกครองเองน่าคิด อาณาจักรนั้นนะจะคือ ผู้สถาปนาอาณาจักรมัชปาหิต ก็คือ การ์ตะราชะสา (Kertarajasa) หรือ ระเด่นวิชัย ลูกเขยของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสิงหะส่าหรี ซึ่งอยู่บนเกาะชวาเช่นกัน หลังจากสิงหสารีแผ่อำนาจกว้างไกลจนกลุ่มศรีวิชัยต้องถอยออกไปจากเกาะชวา ใน ค.ศ. 1290 อำนาจอันยิ่งใหญ่ของสิงหสารีก็เป็นที่สนใจแก่กุบไลข่านในจีน ซึ่งได้ส่งทูตมาขอเครื่องราชบรรณาการ ในเวลานั้นการ์ตะนคร ผู้ปกครองอาณาจักรสิงหสารีทรงปฏิเสธที่จะส่งมอบเครื่องราชบรรณาการ กุบไลข่านจึงส่งกองเรือถึง 1,000 ลำมาประชิดชายฝั่งชวา ในปี ค.ศ. 1293. ช่วงเวลาพ่อขุนรามมีอำนาจ สรุป ห้ามสุโขทัยแต่จะชงเอง และตบเอง
น่าคิดครับ
อยากทราบว่าไทยเราปัจจุบันนี้ยังจดประวัติศาสตร์อยู่มั้ยค๊ะ (ข้อมูลทุกวันนี้ก็จะเป็นประวัติศาสตร์ของยุคลูกหลานเหลนโหลนต่อไปเหมือนกัน)
18:10 หม่าป้าเอ๋อร์ = มัชปาหิต(ศรีวิชัยโบราณ)
เสียนคือเมืองสุพรรณบุรี (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ)บรรทึกบอกว่าอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระนครซึ่งชี้ไปทางสุพรรณบุรี ส่วนล้อหู่คือละโว้(ราชวงศ์อู่ทอง)เดิมเป็นคนล่ะอาณาจักร ต่อมาทั้ง2เมืองรวมศูนย์กลางมาที่อยุธยาจีนเลยเรียกอยุธยาว่าเสียนล้อ หรือเสียนล้อหู่
มีข้อสังเกตุเพิ่มเติมครับหมิงสือลู่ เรียก สุพรรณภูมิ ว่า “ซูเหมินปัง”ส่วนคำว่า “เซียน-หลัวหู” ก็ยังอยู่ (แต่บรรณาธิการใช้คำแปลว่า สยาม-ละโว้)
@@hoyapisak จากหนังสือ "สมเด็จพระนครินทราธิราชข ในหมิงสือลู่ โดย รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล" มีอ้างอิงข้อความในหมิงสือลู่ว่า "暹羅斛國王世子蘇門邦王昭祿群膺"暹羅斛國王世子 (เซี้ยนหลัวหู กั๋ว หวาง ซื่อจื๋อ) แปลว่า รัชทายาท(世子)ของกษัตริย์(王)ประเทศ(國)เซียนหลัวหู(暹羅斛)蘇門邦王 (ซู้เหมินปั๊ง หวาง) แปลว่า กษัตริย์(王)แคว้น(邦)ซูเหมิน(蘇門) (ทับศัพท์คำว่า สุพรรณ) 昭祿群膺 (เจ๊าลู่ฉุนอิ๊ง) เป็นทับศัพท์คำว่า เจ้านครอินทร์ (คำว่า ฉุน เป็นการอ่านแบบจีนกลางปัจจุบัน แต่ถ้าเป็นจีนกลางสมัยหมิงต้นๆ อาจจะอ่านว่า คุน ก็ได้ เพราะมีสำเนียงอื่น เช่น ฮกเกี้ยน อ่านว่า ขุน แต้จิ๋ว อ่านว่า คุง กวางตุ้งอ่านว่า ขวั่น )แปลข้อความนี้โดยรวมทั้งหมด เป็นวลีอธิบายว่า "เจ้านครอินทร์ ผู้เป็นรัชทายาทประเทศเซียนหลัวหู และเป็นกษัตริย์/เจ้าครอง แคว้นสุพรรณ"สังเกตว่า 暹羅斛 (เซียนหลัวหู หรือน่าจะเป็น อยุธยา) ในบันทึกใช้คำว่า 國 ส่วน 蘇門 (สุพรรณ) ใช้คำว่า 邦ทั้งสองคำ (國 และ 邦) แปลว่าประเทศได้เหมือนกัน แต่บางที จะใช้คำว่า 邦 ในความหมายนัยว่าเป็นเมืองขึ้น ซึ่งในที่นี้ น่าจะแสดงให้เห็นว่า เมืองสุพรรณ (ตอนนั้น) คงมีสถานะด้อยกว่าอยุธยา
@@hilatchikkakul8980 ขอบคุณครับจริง ๆ ข้อความนี้ในหมิงสือลู่ (ฉบับแปลไทย เล่มสีม่วง) ก็มีเช่นกัน (ดังที่ผมยกมาตอบใน comment แรกของผม)มันทำให้เรารู้ว่า หมิงเรียกสุพรรณภูมิว่า ซูเหมินปัง ในขณะเดียวกัน หมิงเรียกอยุธยาว่า เซียน-หลัวหู )สยาม-ละโว้ในเล่มสีม่วงนี้ หน้า 50-51 บรรณาธิการอธิบายว่า จีนใช้คำว่า เซียน ในการหมายถึง สุโขทัย-พิษณุโลก โดยในช่วงดังกล่าว จีนมีปัญหาภายใน กำลังผลัดเปลี่ยนจากหยวน ไปสู่หมิง อาจทำให้จีนตกข่าวความเป็นไปในช่วงสำคัญของเรา คือ สุพรรณภูมิได้ผนวก สุโขทัย-พิษณุโลก ไว้ได้ แต่จีนน่าจะเข้าใจว่าคนผนวกคือ หลัวหู และภายหลัง เมื่อถึงสมัยเจ้านครอินทร์ครองอยุธยา จีนก็เรียกอยุธยาย่อ ๆ ว่า เซียน (สยาม)ดังนั้น คำว่า เซียน ที่จีนเรียกในแต่ละห้วงเวลา จึงมีความหมายต่างกันถ้าคุณมีเล่มสีม่วงในมือ ลองพลิกอ่านดูอีกทีนะครับ
@@hoyapisak ขอบคุณมากครับ กระจ่างขึ้นอีกมากเลยว่าแต่ละชื่อใช้ต่างกันในต่างช่วงเวลาเพราะอะไรบ้าง ผมยังไม่มีเล่มสีม่วงครับ พอดีเล่มของคุณรุ่งโรจน์ มาหาได้ออนไลน์ เพราะสงสัยว่า ซูเหมินปัง เขียนภาษาจีนยังไง พอเจอข้อความนี้ ก็ทำให้แน่ใจว่า เขาแยกกันจริงๆ เลยเอามาเขียนอธิบายแบ่งปันด้วย
นาทีที่ 8:24 ที่คุณหอยแจ้งว่า "จิ้มก้อง หรือจีนกลางออกเสียงว่า จิ้นกัง" ไม่ถูกต้องครับ ที่ถูกต้องคือ 進貢 (ตัวเต็ม) หรือ 进贡 (ตัวย่อ) ถ่ายเสียงในระบบพินอินว่า jìngòng เทียบเสียงภาษาไทยได้ว่า จิ้น ก้ง (อาจดูผิด เห็น "ไม้โท" เป็น "ไม้หันอากาศ")
ขอบพระคุณมากครับ เป็นที่ผมพิมพ์สคริปต์มาผิด จากไม้โท เป็นไม้หันอากาศครับ
ผู้ครองนคร อาณาจักร หริภุญไชยองค์ สุดท้าย คือ องค์ ที่ 47ชื่อ "พญาญี่บา" ซึ่งครองราชย์ ระหว่าง ปี พ.ศ.1814 - 1836 ( 22 ปี ) คับ อาจารย์ หลังจากนั้น ก็เสีย นคร อาณาจักรหริภุุญไชย ให้แก่ พญาเม็งราย แห่งอาณาจักร ล้านนา คับ อาจารย์ เป็นอัน อวสาร แห่งอาณาจักรหริภุญไชย ที่ ปกครอง นครแห่งนี้ มานาน ถึง 630 ปี และมีเจ้าปกครองนคร ถึง 47 พระองค์ ตั้งแต่ ปี 1206 -1836 คับ อาจารย์
Well, I like the information that makes me going back to the past like adventure ❤❤😮
Thanks 😀
เค้าว่า สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มากๆ เป็นมหาอำนาจในแถบเอเชียตะวันออกครับ ค้าขายกันมากที่สุด เจริญที่สุด ไม่แปลกที่พม่าอยากจะท้าบุกไปตีกรุงศรีให้ได้ เพราะ ความยิ่งใหญ่และอาณาจักรที่กว้างใหญ่มากๆ พอๆกับอินเดียเลยครับ เสียดายไทยเราเสียดินแดนให้ฝรั่ง
น้าหอยครับช่วยทํา ช่วยทําความรู้เกี่ยวกับ กรุ่งรัตนโกสินทร์ หน่อยครับ
สุดยอดครับ
จิ๋มก้อง ในความหมายมันอาจ งง...แต่ให้เข้าใจง่ายๆก็คือ การเครรพผู้ใหญ่เวลาเราไปบ้านเขาเพื่อทำมาหากินหรือค้าขาย คือไปสวัสดีเจ้าของบ้านเอาของฝากไปให้
ถูกต้อง
進 จิ้น แปลว่า ให้貢 ก้ง แปลว่า ของขวัญ ของบรรณาการก็แปลตรงๆจริงๆ
ขอบคุณที่นำมาลงให้ฟังแต่พวกเราคนอีสานไม่มีเขื้อสายสุโขทัย ลพบุรี อยุทธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์เหมือนในประวัติศาสตร์พวกเราคือลาวล้านช้างเข่นเดียวกันกับคนลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มาสสามิภักดิ์รัตนโกสินทร์ภายหลัง
เขาเอาแค่ไทยภาคกลางไม่เกี่ยวกับภูมิถาคอื่นของไทย
ติดตามนะครับ
เสียดายสยามไม่มีแบบนี้ ไม่เช่นนั้นประวัติศาสตร์คงน่าเชื่อถือกว่านี้
หมายถึง การบันทึกประวัติศาสตร์
ด้วยความเคารพ จำปา (จามเป๋นนครเมือง แถวปากแม่น้ำโขง เขมรรบ กับจาม มากสุด น่าจะเป็นชน ชาติฟิลิพปินส์ มาก่อตัวเวียตนานมายุ่งด้วยจีนมารบยุ่งด้วย ) อีก ชามสังคโลกนี่ จีนช่วยสร้างเตาเผาด้วย ติดต่อกันดีมาก เราส่งออกไป อาหรับ แล้วเลยไป ยุโรป ขายต่อ ๆ กันไปน่าจะมี ช่วงหลังพ่อขุุนราม ส่งขายของ ส่งจีนมีหรือจีนขายต่อ กันไปปรากฏที่ยุโรป ครับ ด้วยความเคารพ
สวัสดีครับคุณหอย ผมมีความเห็นดังนี้
1. จิตร ภูมิศักดิ์ สงสัยว่าเซียน คือ กลุ่มโบราณสถาน อ.เมืองสุพรรณ ผมสนใจประเด็นนี้จึงตรวจสอบ และพบว่า อายุของกลุ่มโบราณสถาน อ.เมืองสุพรรณ อยู่ประมาณ พ.ศ.1830+ เป็นต้นไป ถือว่าอายุอ่อน ถ้าเซียนหมายถึงที่ อ.เมืองสุพรรณ ก็ควรมีอายุเก่าใกล้ๆ กลุ่มโบราณสถานในสุโขทัย ทั้งนี้ กลุ่มโบราณสถานสุโขทัยมีค่าผงถ่านก้นหลุมประมาณ พ.ศ.1650+ และมีกลุ่มโบราณสถาน 2-3 แห่งที่สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ.1700-1800 ฯลฯ ในคลิปนี้ เล่าว่า เซียนติดต่อกับหยวน ประมาณปี พ.ศ.1830+ หากมองตามหลักฐานข้างต้น สุโขทัยมีโอกาสเป็นเซียน มากกว่ากลุ่มโบราณสถานใน อ.เมืองสุพรรณ
2. ปี พ.ศ.1832 หริภุญชัย มีกษัตริย์หรือผู้ปกครองรัฐ คือ พญาญีบา จากราชวงศ์ไทยเทศ ท่านเป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย ก่อนถูกพญามังรายเข้าโจมตี และปรากฏความว่า หนีไปทางทิศใต้ (ตาก กำแพงเชร สุพรรณ?)
3. พญามังราย ขัดแย้งกับจีนจากกรณีเกิดรัฐย่อยๆ หลังพุกามแตก อีกทั้งพระองค์เข้าโจมตีรัฐหริภุญชัย ซึ่งส่งบรรณาการให้จีน จากนั้น พ่อขุนรามฯ ทรงตัดสินพระทับเข้ากับพญามังราย และพญางำเมือง เพื่อรวมเป็นกลุ่มรัฐ ด้วยเหตุผลประการหนึ่งคือ พยายามต้านทานอำนาจกองทัพหยวนที่รุกลงใต้ การที่พ่อขุนรามฯ เข้าร่วมกับพญามังรายอาจสร้างไม่พอใจ และสร้างผลกระทบต่อความสัมพันธ์ในช่วงสั้นๆ
4. "ขอม้าได้ผ้า" เกิดขึ้นหลังรัชกาลพ่อขุนราม (พญาเลอไท?) เข้าใจว่าเมืองสุพรรณ-สรรค์บุรีได้แยกตัวจากรัฐสุโขทัย เพราะต่อมาได้ปรากฏรูปแบบเจดีย์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งผมมองดูว่าเป็นเจดีย์ที่ได้รับอิทธิพลจากรัฐหริภุญชัยด้วยซ้ำ เช่น วัดพระรูปสุพรรณ วัดพระอินทร์สุพรรณ วัดพระแก้วสรรค์บุรี วัดพระยาแพรกสรรค์บุรี ฯลฯ การแยกตัวออกมาทำให้เซียนมีขอบเขตอำนาจเล็กลง "เซียนเป็นประเทศเล็กๆ เท่านั้น"
5. การปรากฏ 2 คำ คือ เซียน และสุโขทัยนั้น ผมยังไม่แน่ใจว่าจะอธิบายอย่างไรครับ
ขอบพระคุณมากครับอาจารย์
ขออนุญาตปักหมุดเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ชมนะครับ 🙏🏽😊
ป.ล.
หยวนสื่อ ให้คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับบ้านเมืองที่ชื่อ “เซียน” และ “หลัวหู” ไว้ดังนี้ครับ
เชียน แล หลัวหู เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฝูหนาน บริเวณตอนเหนือของสยาม
ติดต่อกับปาไปสีฟู ที่อยู่ติดกับมณฑลหยุนหนาน
ทางตะวันออก ติดต่อกับอันหนาน
แลทางตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับอาณาจักรเหมี่ยน
หลัวหู ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของของเซียน ติดกับทะเล
ดินแดนเซียนแห้งแล้ง ไม่เหมาะแก่เกษตรกรรม
หลัวหูมีที่ราบกว้างใหญ่ ผลผลิตอุดมสมบูรณ์
ชาวเซียนต้องพึ่งพาอาศัยจากหลัวหู
มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเซียน ผ่านหลัวหู ลงสู่ทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลัวหู
ทุกฤดูร้อน น้ำทะเลไหลเขาสู่แม่น้ำตอนใน ชาวนาจะอาศัยเวลาคังกล่าวหว่านเมล็ดพันธุ์
ต้นกล้าค่อยๆ เติบโตตามระดับน้ำ
น้ำสูงหนึ่งฉื่อ ต้นกล้าสูงหนึ่งฉื่อ
เมื่อน้ำลด ต้นกล้าจะสุกพร้อมเก็บเกี่ยว
มีการหว่านเมล็ดพันธุ์ แต่ไม่มีการไถหว่าน
ด้วยเหตุนี้พืชพรรณธัญญาหารจึงอุดมมบูรณ์ แลราคาถูก
--
หยวนสื่อ จากหนังสือ “สุโขทัยคดี ประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ ฉบับเชลยศักดิ์” เล่ม ๑ หน้า ๒๐๕
@@ยุทธพงษ์เมฆพัฒน์ ผมเอาหลักฐาน (เฉพาะในเอกสาร) มาให้ดูก่อนนะครับ
ถ้าเราอ้างอิงจากข้อความในจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๔ ดังนี้ …
“เบื้อ(อ)งหัวนอนรอดคนที พระบาง แพรก สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช ฝั่งทะเลสมุทรเป็นที่แล้ว”
จะเห็นว่า เพชรบุรี กับ ศรีธรรมราช ในตอนนั้นเป็นเมืองที่อยู่ในเขตอำนาจของพ่อขุนรามคำแหงครับ
@@ยุทธพงษ์เมฆพัฒน์ น่าจะเป็นโบราณปราสาทกำแพงแลง และคูเมืองโดยรอบครับ
สุโขทัย ออกเสียงว่า โสกขะทัย ครับ
ส่วนเสียนคือ สุพรรณแน่นอนครับ
(พอดีมันต้องอธิบายยาว เอาเป็นว่าเรื่องนี้เรารู้กันครับ)
ชช
พระนางเจ้าจามเทวีเป็นกษัตริย์ หญิงพระองค์แรกแห่งนครหริญภูชัยในปี พ.ศ.1206 ถ้าตรงกับประเทศจีนจะเป็นสมัยราชวังค์ถังตอนกลางน่าจะถังเกาจงถ้าไม่ผิดนะ แล้วมีการปกครองมาหลายราชกาลจนกระทั่งในปี 1818-1836 พญาญี่ปา เป็นเจ้าผู้ครองนครหริญภูชัยองค์สุดท้ายก่อนพญามังรายมหาราชเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ยกกองทัพมายึดครอง หริญภูชัยสำเร็จในปี พ.ศ.1824 ดังนั้นทางจีนจึงมองภาพว่าเมืองหริญภูชัยมีกษัตรย์หญิงพระองค์แรกว่า ประเทศหญิง
ชอบช่องนี้ ให้ความรู้ดีมาก
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ
ยุคของพระนางจามเทวีฯ และอายุของนครหริภุญชัยที่ยึดถือตามความเชื่อตาม จามเทวีวงค์ ที่ระบุว่า ปี 1206 จากการศึกษาของนักประวัติศาสตร์ รวมไปถึงการขุดค้นทางโบราณคดี ยอมรับกันในวงวิชาการว่า ไม่ถึงยุคนั้นครับ คลาดเคลื่อนประมาณ 300 ปี คืออยู่ในช่วงประมาณปี 1500-1600 ครับ แต่เป็นเรื่องลำบากใจของ นักประวัติศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้ ในการจะออกมาพูด เพราะจะไปขัดกับความเชื่อความศรัทธา ของคนในพื้นที่ รวมไปถึงวงการพระเครื่องด้วย จึงเลือกที่จะพูดแค่ในวงวิชาการ และการสอนนักศึกษาเท่านั้นครับ
นี่ล่ะครับความจริง...บันทึก..จากจีนแผ่นใหญ่....อาจารย์ต้องศึกษาเอกสารจีนโบราณ..ได้รู้ความจริงมากมายครับ
ผมขอชื่นชมช่องนี้นะครับว่าทุกคลิปต้องมีการศึกษาข้อมูลทำการบ้านมาอย่างดี คุณได้ความรู้ผู้ชมก็ได้ความรู้ไปด้วย บรรยายได้สนุกไม่น่าเบื่อด้วยครับ
ผมลูกหลานคนสุโขทัยครับ จากที่ผมศึกษามา “เซียน” น่าจะหมายถึง “สุพรรรณภูมิ” ครับ ส่วน “สุโขทัย” เอกสารจีนเรียก ”ปอเล่อ” (波勒) มาจาก “ปกเลือง” คำว่า “เลือง, ไทเลือง, ไทเลิง” คือชื่อบรรพชนของคนไทสุโขทัยที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในลุ่มน้ำปิง-ยม-น่านตอนล่างและลุ่มน้ำป่าสักตอนบน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวกาวใน “ปกกาว” คือนครรัฐแพล่ (แพร่) และนครรัฐน่านในลุ่มน้ำยม-น่านตอนบน และชาวกาวเมืองชวา (หลวงพระบาง) ในลุ่มน้ำโขง-ขาน-อู
.
หลังจากสุโขทัยถูกผนวกรวมกับอยุธยา (สยาม-ละโว้) สุโขทัยเลยถูกจีนเรียกเซียนหลัว (เสียมล้อ) ไปด้วย คำว่า “เลือง” หายไปจากประวัติศาสตร์ ที่เดินทางไปจีนน่าจะเป็นคนจากสุพรรณภูมิไม่ใช่สุโขทัยเพราะยุคนั้นบ้านเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีนเริ่มเข้มแข็งและมีบทบาทสำคัญแทนที่หัวเมืองเหนือ ในขณะเดียวกันเมืองแพร่และน่านก็ถูกชาวยวนผนวกเป็นส่วนหนึ่งของล้านนา คำว่า “กาว” ก็หายไปเช่นกัน มาปรากฎในยุคหลังเมื่อชาวลาวล้านช้างอพยพข้ามโขงมาตั้งรกรากในที่ราบสูงโคราชแถบทุ่งกุลาร้องไห้ เมืองทางภาคอีสานหลายเมืองจึงถูกเรียกว่า “หัวเมืองลาวกาว” เพราะพื้นเพมาจากลาวเหนือนั่นเอง
เเสดงว่า คำว่า เซียน ใช้เรียก รวมหัวเมืองจากทางเหนือไร่ลงมาทั้งหมดเลยสิคับ (แม่ผมก็คนสุโขทัยคับ)
ปัวเล่อหมาน(波勒蛮)หมายถึงชาวหมานแห่งปัวเล่อ นักวิชาการให้ความเห็นต่างๆ กันว่าปัวเล่อหมายถึงแพร่บ้าง สุโขทัยบ้าง
"ปกเลือง อาจไม่ได้มีที่เดียว"
ข้อความจาก พงศาวดารราชวงศ์หยวนฉบับใหม่ (หยวนสือ) ระบุว่า
"...พื้นที่ของอาณาจักรนี้ [หมายถึง ปาไป่ต้าเตี้ยนจวินหมินเซวียนเว่ยซือ(八百大甸军民宣慰司) ซึ่งจีนใช้เรียก ล้านนา ] ทางตะวันออกไปถึงเหล่าวัว (ลาว) ทางใต้ไปถึงปัวเล่อหมาน ทางตะวันตกถึงต้าจี๋ล่า ทางเหนือถึงเมิ่งเกิ้นฝู่ ..."
คำว่า ปัวเล่อ หมายถึง สุโขทัย จริงหรือ?
จาก พงศาวดารราชวงศ์หมิง (หมิงสือลู่) ระบุว่า "...ปีที่ 7 แห่งรัชศกเซวียนเต๋อ (ค.ศ.1432 / พ.ศ.1975) ส่งคนมาถวาย
บรรณาการและทูลว่าประมุขของ " ปัวเล่อ " มักรวมกำลังกับทัพ "ถูหย่า" มารุกรานดินแดนปล้นฆ่า
ขอให้ส่งทหารไปปราบปราม ฮ่องเต้ทรงเห็นว่าปาไป่ต้าเตี้ยนห่างจากยูนนานห้าพันกว่าลี้
" ปัวเล่อ" กับ " ถูหย่า " ต่างไม่เคยมาสวามิภักดิ์ หากให้จีนไปรบเพื่อชาวหมานที่อยู่ห่างไกล หาใช่
กุศโลบายอันควร จึงมีเพียงพระราชโองการไปแจ้งเตือนเท่านั้น... "
ในที่นี้ถ้า ปัวเล่อ หมายถึง สุโขทัย ถูหย่า หมายถึง อยุธยา จะกลายเป็นว่า ทั้งสองรัฐไม่เคยแต่งพระสุพรรณบัฎไปยังพระเจ้ากรุงจีนราชวงศ์หมิงทันที
ซึ่งจะขัดกับ หยวนสือก่อนหน้าที่ว่า
" ...วันปิ่งเซิน เดือนห้า ปีที่ 3 รัชศกต้าเต๋อ ( 15 มิถุนายน พ.ศ.1852 / ค.ศ.1299 ) บรรดาฟานจากทะเลใต้ได้แก่ " ซู่กู่ไถ " ซู่หลงทัน และเปินซีหลี่ นำเสือ ช้าง และเรือไม้ซัวหลัว มาถวายเป็นเครื่องราชบรรณาการ..."
ปัวเล่อ กับ ถูหย่า ไม่เคยติดต่อกับจีนราชวงศ์หมิง
แต่ ซูกู่ไถ และ/หรือ เสียน เคยติดต่อกับจีนตั้งแต่ราชวงศ์หยวนแล้ว
ดังนั้น ปัวเล่อ อาจจะหมายถึง นครรัฐแพร่ มากกว่า สุโขทัย
ถูกครับแต่ทั้งหมดเรียกว่าเสียมก็กแปลว่าประเทศเสียมเมืองทั้งหมดไม่ได้เรียกว่าก็กเพราะตอนนั้นเราเป็นประเทศแล้วครัวเรียกรวมว่าเสียมก็กเเล้วครับ
มองประวัติศาสตร์ในหลายๆมุมมอง ยอดเยื่ยมมากคับ นี่แหละการเรียนประวัติศาสตร์ที่แท้จริง
เริ่มแรก ท่านนักประวัติศาสตร์ไทย เคยสงสัยหรือไม่ว่า บรรดาชื่อทั้งหลายที่เรียกขานกันนั้น ทั้งชื่อ"หัวเมือง" และชื่อ"บุคคลสำคัญ" ในประวัติศาสตร์โบราณ ที่เพียรพยายามค้นคว้ากันอยู่นั้น ใครเป็นผู้บัญญัติคำศัพท์เหล่านั้นขึ้น ถ้าเป็นตัวอักษรจีน ก็ควรจะเป็นชาวจีน ที่เคยมาเยือนทำการค้าขาย เคยรับราชการ หรือมีถิ่นฐานเคยมาพำนักอาศัยในช่วงขณะนั้น เท่าที่ศึกษากันโดยได้อ้างอิงเอกสารบันทึกจีนโบราณ และยังทำการ"อ่านออกเสียงภาษาจีนแมนดาริน"ด้วย ไม่น่าจะถูกต้อง เพราะตั้งแต่ใหนแต่ไรมา ชาวจีนที่เข้ามาในดินแดนแถบนี้ ล้วนมาจากมณฑลทางภาคใต้ คือ กวางตุ้ง และ ฮกเกี้ยน เป็นหลัก ซึ่งชาวจีนแถบหัวเมืองท่าบริเวณนี้ มีทั้งจีน"แต้จิ๊ว" และ"ฮกเกี้ยน"เป็นส่วนใหญ่ นอกนั้นก็มี "ไหหลำ" "แคะ" "กวางตุ้ง"ที่มีจำนวนน้อยกว่ามาก บนแผนที่โบราณของดินแดนแถบนี้ ชื่อหัวเมืองสำคัญๆ จะถูกบัญญัติขึ้นตามการออกเสียงของ ภาษาถิ่น (dialect) ของชาวจีนแต๊จิ๋วเป็นหลักซึ่งมีกระจายไปทั่ว เช่น บางกอก "มังก๊ก" ธนบุรี "ทงฮู่" เชียงใหม่ "เช่งไม" โคราช "คอรัค" พิษณุโลก "แผ่ซิโลค" สุรินทร์ "ซู่ลิ่ง" ขอนแก่น "คุงเก่ง" นครปฐม "ฮกท่ง" อุบล "โอวบุง" สุราษฎ "ซุ่ลัก" และเมืองอื่นๆเต็มไปหมด และเมือมีแผนที่นำทางมาใช้กัน จึงได้ทำการบันทึกโดยบัญญัติคำศัพท์เฉพาะตามการออกเสียงเป็นตัวอักษรจีนที่ใกล้เคียงที่สุด รวมทั้งชื่อบุคคลสำคัญทั้งหมด และต้องเข้าใจว่า ยังไม่เคยมีชาวจีนทางภูมิภาคตอนเหนือเคยเดินทางเข้ามาในดินแดนแถบนี้ และภาษาที่ใช้ก็แตกต่างกันมาก กับภูมิภาคทางตอนใต้ ดังนั้น บันทึกจีนโบราณทั้งหมดที่เกี่ยวกับภูมิภาคแถบนี้ ควรอ่านออกเสียงภาษาจีน ทั้ง 5 กลุ่มชนชาวจีนข้างต้น ก็จะจับต้นชนปลายได้ง่ายขึ้นว่าหมายถึงเมืองใหน และเป็นใคร ...... อีกเรื่องที่ควรเข้าใจ "เซี้ยม" หรือ "เซี่ยม กก" เป็นคำภาษาจีนแต้จิ๋ว ที่ใช้เรียก ดินแดน "สยาม" ซึ่งคำว่า สยามนี้ก็แปลงมาจาก คำว่า"Siam" ทีชาวฝรั่งชาติตะวันตกทั้งหลายใช้เรียก แต่เข้ามาทีหลังชาวจีน และเรียกตามชาวจีนโดยทับศัพท์คำว่า "เซี้ยม" เขียนเป็น "Siam" และทำการบันทึกบนแผนที่เดินทางอย่างแพร่หลาย แต่การออกเสียงภายหลังเพี้ยนไปเป็น"ไซแอม" ซึ่งออกเสียงได้ง่ายและชัดเจนกว่ามาก สุดท้ายก็ได้กลายมาเป็นชื่อ "สยาม"ของไทยเรา คำว่า "เซี้ยม" ในภาษาจีนแต๊จิ๋ว แปลว่า "อรุณทอแสง" และในภาษาจีนแมนดาริน อ่านว่า "เซี๊ยน" คำว่า"แมนดาริน" มาจาก "หม่านด้าเหยิน" แปลว่า "แมนจูผู้ยิ่งใหญ่" แต่ชาวตะวันตกออกเสียงยากมาก จึงเพี้ยนมาเป็น "แมนดาริน" อนึ่งภาษาในทางตอนเหนือของชาวจีน ก็มีอีกมากมายหลายร้อยภาษา จะมาบัญญัติชื่อ ทั้งหัวเมือง และบุคคลคนสำคัญๆ มากมายในพื้นที่อาณาบริเวณแถบนี้ จึงเป็นไปไม่ได้แน่นอน ดังนั้น บันทึกจีนโบราณทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์แถบนี้ จะต้องอ่านออกเสียงของชาวจีนแต๊จิ๋ว และกลุ่มข้างต้นเท่านั้น ครับ
เห็นด้วยครับ เพราะชื่อสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทยที่คนจีนในไทยเรียกขานกัน ส่วนใหญ่เพี้ยนมาจากการเรียกของชาวจีนแต้จิ๋ว จึงถือได้ว่าคนจีนแต้จิ๋วมีอิทธิพลสูงต่อประเทศไทยมากกว่าจีนเผ่าอื่น จึงไม่แปลกที่ประเทศไทยจะมีชาวจีนแต้จิ๋วโพ้นทะเลมากที่สุด
แมนดาริน (Mandarin) เพี้ยนมาจากคำภาษาสันสกฤตว่า “มนตรี” (Manteri) ที่ชาวมาเลย์เรียกคนจีนที่เป็นพวกข้าราชการ (มนตรี) พูดภาษาทางการจากตอนเหนือ
เป็นการเรียกโดยแปลมาจากภาษาจีนคำว่า 官话 (guān huà) แปลว่า “ภาษาราชการ”
@@samomanawat Mandarin เป็นการเรียกของชาวอังกฤษ ต่อราชสำนัก"แมนจูเลีย" ที่ปกครองจีน โดยที่เป็นทางการ ก็คือ ราชวงศ์ชิง ซึ่งมีผู้ปกครองชาวแมนจู มักจะเรียกตัวเองว่า "หม่าน ด้า เหยิน (แมนจูผู้ยิ่งใหญ่)" และภาษาในราชสำนักจีนที่ใช้ในราชวงศ์ชิง ก็เป็นภาษาของชนชาติ "แมนจูเลีย"ครับ ซึ่งปกครองประเทศจีน ยาวนาน 300 กว่าปี ฝังรากลึกลงในระบบราชการของจีน ตลอดจน เหรียญเงินตรา ก็จะเขียนระบุไว้ อักษรจีน 3 คำ หม่าน ด้า เหยิน ที่ด้านหลังของเหรียญ ดังนั้น ชาวอังกฤษ จึงใช้คำทั้งสาม ทับศัพท์เดิม แต่ออกเสียงเพี้ยนมาเป็น แมน ดา ริน เมื่อต้องสื่อความหมายมายังราชสำนัก และภาษา
@@rungsrithienwongpetch6476 ไม่ใช่นะครับ Mandarin เป็นการเรียกของชาวอังกฤษ ผ่านชาวโปรตุเกสว่า Mandarim ผ่านชาวมาเลย์ว่า Menteri ที่มาจากภาษาสันสกฤตว่า “มนตรี” อีกที เป็นการเรียกคำแปลโดยตรงของคำว่า 官话 (guān huà) แปลว่า “ภาษาราชการ” หรือ “ภาษาทางการ” (ภาษาของเหล่ามนตรี)
ซึ่งภาษา 官话 หรือ Mandarin นั้นมีความเป็นมาตั้งแต่ต้นราชวงศ์หยวน ไม่ได้พึ่งมีมาในช่วงราชวงศ์ชิงอย่างที่คุณกล่าว แม้ว่าทั้งผู้ปกครองของราชวงศ์หยวนและชิง จะเป็นชนกลุ่มน้อยที่ไม่ใช่ชาวจีนฮั่นก็จริง แต่ภาษาราชการใช้ภาษา 官话 หรือ Mandarin ของชาวจีนฮั่นทางตอนเหนือทั้งหมด
และภาษา 官话 หรือ Mandarin ก็เป็นภาษาตระกูล Sinitic ไม่ได้เป็นภาษาตระกูล Tungusic อย่างภาษาแมนจูเลยนะครับ ภาษาแมนจูต่างจากภาษา Sinitic มากๆ นะครับ
ภาษาเพี้ยนได้, อย่างเช่นคนไหหนำ(คนทะเลใต้)ยังเพี้ยนเป็นไหหลำ... ใช่มั้ยพี่
ขอบคุณพี่ ที่ทุ่มทั้งเเรงกาย เเละ เเรงใจ เผยเเพร่ประวัติศาสตร์ไทย ให้คนทั่วไปเเละคนที่สนใจได้ติดตามกัน
ชื่นชมชาวจีน เป็นนักบันทึก สมเป็นเมืองนักปราชน์แดนกวี
ขอบคุณอย่างสูง สําหรับ เเรง กาย แรงใจ ของคุณ หอย ที่นําความรู้มาเผยแพร่แก่ทุกๆคน..ครับ
🙏🏽😁
ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่ให้ความรู้มาโดยตลอด.ติดตามตลอด.ขอให้อาจารย์ สุขภาพแข็งแรง. ร่ำรวยๆครับผม
จากคอมเมนต์ก่อนนี้ผมว่าเราโง่ผมขยายความให้นะครับอ.หอย เป็นเหตุให้เราอ้างอิงโบราณสถานที่เรามีอยู่ว่าเป็นสมัยสุโขทัยเท่านั้น แต่ท่านเอย ท่านคงไม่รู้ว่าร่องรอยโบราณที่เก่าขึ้นไปจากศักราช๗๑๒ ไปถึง๒๑๘ ยุคแพร่พระศาสนาของพระเจ้าอโศกฯ นั้นมีอยู่ทั่วไปที่นักประวัติศาสตร์เอามาเรียกว่าสมัยอยุธยา-สูโขทัยนั่นเอง ท่านไม่รู้ว่าท่านได้ด้อยค่าบรรพชนของเราไปทั้งแผ่นดิน ลบหลู่บรรพชนของเรา อย่างนี้นี่เองที่เขาเรียกสมรู้ร่วมคิดกันลบล้างทำลายแผ่นดินของไทยให้ตำต้อยผมท้าพิสูจน์ครับ
บันทึกความจริง
ในประวัติศาสตร์จีน!
ผมคนเรียนประวัติศาสตร์เหมือนกัน สรุปเราไม่ได้เกิดในสมัยนั้นสิ่งที่พูดกันก็แค่อ้างอิงสิ่งที่พบเจอในภายหลังแล้วมาวิเคราะห์กันเอาเองตามแต่ความน่าเชื่อถือของคนที่เอามาสื่อ จริงเท็จไม่มีใครรู้ครับ เอาเป็นว่าปัจจุบันเหตุการณ์ต่างๆคนที่บันทึกต้องเป็นกลางและบันทึกแต่ความจริงอย่าเอียงไปทางใดทางหนึ่งครับชนรุ่นหลังจะได้ไม่ต้องปวดหัวหาความจริงครับ คุณกล้าพอใหม
ไหม ไม่ใช่ ใหม
?ไทยทึ่บรรทึกไว้จะเชื่อคนอื่นได้ไงนี่ประเทศไทย คนเขียนบรรทึกไว้ ไทยไม่เกงคงเป็นแบบไต้หวันแล้วมั้ง นี่สมัยก่อนกษัตริย์ไทยเก่ง จีนถึงครอบครองไทยไม่ได้
@@moo.3805 บันทึก ไม่ใช่ บรรทึก
มีช่องประวัติศาสตร์ ช่องหนึ่ง เขียนเยาวราช เป็นเยาวราษฎร์
ผมเข้าไปบอกว่าไม่ควรทำเลย โดนเหตุผล บลาๆๆๆ มาเยอะเลยล่ะครับ
ขออนุญาตแย้งใน 2 ประเด็นครับ
1. อาณาเขตของแคว้นสุโขทัย ในรัชสมัยของพญารามราช(พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) ไม่ได้ขยายพระราชอาณาเขตทางทิศใต้ลงไปไกลถึงมลายูครับ แค่นครศรีธรรมราช เท่านั้น
2. เซียน หมายถึง แคว้นสุพรรณภูมิ ซึ่งมีการติดต่อความสัมพันธ์สานพระราชไมตรีกับจีนมานานแล้ว
จี้หลัน หมายถึง เจนละ แม้ในยุคนั้น จะเป็นยุคเมืองพระนคร แล้วก็ตาม แต่จีนก็ยังคงเรียกขอมว่า จี้หลัน (เจนละ)
ซูกู่ไท้ หมายถึง สุโขทัย
หม่าปาเอ่อร์ = มอญสุธรรมวดี
แค่นครศรีธรรมราชก็ถือว่าไกลมากละนะครับ
@@jaitipnirvana7753 ใช่ครับ! ไกลมากสำหรับสมัยนั้น
สมัยพญารามราช ประเทศรอบข้างไม่ค่อยมีการรบ ซึ่งพระองค์ก็ดำเนินการค้าเต็มที่ มีความแข็งแกร่งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และ ความมั่นคง ที่ขยายมาถึงเมืองนคร น่าจะเป็นสัมพันธ์การค้ามากกว่า แต่เป็นช่วงเวงาสั้นๆเท่านั้น เพราะพอหมดสมัยพญารามราช สุโขทัย ก็อ่อนแอลง
นครศรีธรรมราชก็ต้องดูอีกว่านครปกครองเมืองไปถึงเมืองไหน บางช่วงอาจจะถึงปัตตานีกลันตัน ไทรบุรี ก็กว้างไปอีก
เซียน คือคำที่ใช้เรียกอาณาจักรสยามของชาวจีน สำหรับบางคนอาจจะเคยได้ยิน ชาวจีน ยุคก่อนๆเรียกประเทศไทยว่าเสียมล้อ( เสียมในที่นี้หมายถึงสยาม ล้อคำนี้คือละโว้ สรุปแล้วคือชาวจีนจะเรียกอาณาจักรสยามว่าสยามและละโว้) และคำว่าไท่กั๋วเพิ่งมีมาไม่นานนี้
ขอขอบคุณ
ขอบคุณครับ 🙏🏽
เคยดูภาพยนต์ เกี่ยวกับที่เจิ้งเหอ เดินทางมาทางเรือ แถบนี้เคยสั่งห้าม สยามรังแก มะละกา ก็คือมาเลย์หรือมลายู ในปัจุบัน มีอยู่ในภาพยนต์จีน เรื่อง ซำปอกง ที่ส่งเรือสำเภาสำรวจทะเล ไปประเทศต่างๆ
อธิบายได้ดี ชัดเจนที่มา ทำต่อไปครับ ใครมีอะไรใหม่มีเหตุผลอ้างอิง
ก็นำเสนอมาเล่าสู่กันฟังตามการจดบันทึกในยุคนั้นๆ มีเหตุมีผลอย่างสร้างสรรค
👍 ยอดเยี่ยมครับ ได้รู้ถึงการจดบันทึกที่มีแบบแผนของจีนตั้งแต่โบราณครับ
ฟังทุกช่วงครับ ไม่สามารถข้ามช่วงใดช่วงหนึ่งได้เลย เพราะมีประโยชน์ทุกเรื่องครับ
เสียน คือ สยามกุ๊ก ครับ คือนครวัดปัจจุบันเป็นเมืองหลวงเก่า ของชนชั้นปกครอง สูงสุดสมัยนั้น ล่ะโว้ พิมาย สุโขทัย เป็นเเค่เมือง เพราะประวัติศาสตร์ ยุคนั้นยังไม่มีประเทศดู กำเเพงวัดได้ เจ้าของที่เเท้จริงของเมืองยุคนั้น ที่ใกล้เมืองท่าน้ำที่สุด (เพราะเหตุผลทางการเมืองที่ จะไม่ยอมเเล้วพื้นที่ให้ กัมพูชาฝรั่งเศส) อันที่จริงเป็นเมืองหลวงเก่า ของประเทศเราคือส่วนที่บิ่นไป😂
คำถามในคลิป จ้านเฉิงคืออาณาจักรจามปา ครับ
จิงหูจั้นเฉิงสิงเสิ่ง(荆湖占城行省)
แปลว่ามณฑลจิงหูจั้นเฉิง
แยกเป็น จิงหู จั้นเฉิง(荆湖、占城)เดิมเป็นมณฑลจิงหู และมณฑล
จั้นเฉิง
แต่ในสมัยจักรพรรดิหยวนซื่อจู่ หรือกุบไลข่านได้รวมเป็นมณฑลเดียว
ใช้ชื่อว่าจิงหูจั้นเฉิงสิงเส่ิงหรือจั้นเฉิงสิงเสิ่ง หมายถึงอาณาจักรจามปา
อาณาจักรจัมปา ปัจจุบันคือภาคกลางของเวียดนาม
ช่องนี้ดีมากๆ ดูมาหลายตอนแล้วครับ แต่ดูได้ทีละตอน ดูมากๆ มึนครับ
เชียนคือ สุพรรณภูมิ เพราะมีระบุว่าเซียนมีการติดต่อค้าขายทางเรือกับจีน
ซึ่งสุโขทัยอยู่ในลุ่มน้ำยมห่างไกลทะเลมาก และเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถล่องเรือออกไปผ่านรัฐคู่แข่งในลุ่มน้ำตอนล่าง
รวมถึงบันทึกที่ว่าเชียนเคยรุกรานมลายู ซึ่งตรงนี้เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกันที่จะไปไกลขนาดนั้น
ในหมิงสือลู่ยังมีบันทึกว่าเชียนรวมตัวกับหลัวหูเป็นเชียนหลัว หมายถึงอยุธยา ซึ่งสุโขทัยกว่าจะรวมกับอยุธยาคืออีกร้อยปีถัดมา
ในบันทึกจีนไม่เคยเปลี่ยนคำเรียกอาณาจักรใดๆ เลย ขนาดเชียนหลัวยังใช้มาถึงทุกวันนี้ (เรียกย่านสยาม) เซียนกับซผุ่กู่ไถ จึงเป็นคนละอาณาจักรแน่นอน
หมิงสือลู่ ก็เรียก เมืองสุพรรณว่า ซูเหมิงปัง เหมือนกันในขณะที่ระบุว่า เสียน+หลอหู=เสียนหลอ (มี2คำเหมือนกัน) ซึ่งขณะนั้นสุโขทัยเป็นเมืองประเทศราชของอยุทธยาแล้ว เพียงแต่ไม่ได้มีขั้วอำนาจที่ยิ่งใหญ่เหมือน2ราชวงศ์คือ อู่ทองvsสุพรรณภูมิ ราชวงศ์พระร่วง(สุโขทัย)พึ่งกลับมามีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช(สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่๑)
เซียน = สยาม /ศรีรามเทพนคร/
เซียนหลอ = รวมกันแล้ว สยามละโว้ /ไทใหญ่ยังเรียก ฉาน เลยที่แปลว่าสยาม
ตระกูล สุพรรณบุรี นี้แหละพูดไทยกะได พูดไทยลาว มาจากเมือง เชียงแสน หลุมน้ำโขง เคลื่อนลงมา พอได้มีอำนาจ จากการแต่งตั้ง ของผู้นำพม่า(บุเรงนอง) ให้ย้ายมาครองอยุธยา /ยุค พระนเรศวร ซึ่ง มาจากพิษณุโลก/(เปินซีหลี่ )สองแคว ที่ใกล้สุโขทัย/ชู่กูไท, สวรรคโลก/ชุ่หลงทั่น คือ ตระกูลไทลาว
พอพระนเรศวร เข้ามา ทำให้ในบันทึกจะพบภาษาไทย คำไทยมาแทนที่คำสันษกฤ/เขมร/หรือผสมกัน
พอปกครองยาวนาน 400กว่าปี ทำให้คำไทย มีความสำคัญ ตามแบบชนชั้นปกครอง ทำให้เผ่าอื่นต้องหันมาพูดไทย
แบบเดียว กับ สเปน อาณานิคม600ปี ก็ทำให้คนในลาตินอเมริกา พูดสเปน ลาติน นั้นเอง
วิจัย 3 ช่วงอายุคน จึงทำให้คนต่างเผ่า ต่างชาติ เปลี่ยนมาเป็นชนชาติที่ต่างจสกถิ่นเดิม แบบคนจีนมาในไทย รุ่นหลานก็พูดจีนไม่ได้แล้ว หรือคนไทยไปแต่งงานกับฝรั่งต่างชาติ ก็ลูกพูดไทยเริ่มไม่ได้แล้ว
ตระกูลสุพรรณภูมิปกครองอยุธยามาตั้งเเต่ขุนหลวงพะงั่ว ยึดอำนาจมาจากพระราเมศวรซึ่งเป็นลูกพระรามาธิบดีที่1 ราชวงศ์อู่ทอง เเละเป็นหลานตัวเองนั้นเเหละ พอขุนหลวงพระงั่วตาย พระราเมศวรก็กลับมายึดคืน พอพระราเมศวรตาย เจ้านครอิน(ไม่เเน่ใจว่าเป็นลูกหรือน้องขุนหลวงพะงั่ว)เเต่เป็นพ่อเจ้าสามพระยา ราชวงศ์สุพรรณภูมิ กลับมายึดอำนาจจากพระรามราชา(ลูกพระราเมศวร)ครองยาวๆจนถึงพระมหินลูกพระมหาจักรพรรดิ ถึงได้เปลี่ยนเป็นพระมหาธรรมราชา ราชวงศ์สุโขทัย พ่อพระนเรศวร ปล. เจ้านครอินทร์คนนี้เเหละที่ไปอยู่เมืองจีน เเละมีเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยกับสุพรรณภูมิ
เห็นด้วย100%ครับ
คนอยุธยาก็คนไทยไม่ใช่คนเขมร คุณพูดเหมือนคนกัมพูชาเลยชอบเครมทุกอย่างของไทยมันขอบเครมว่าอยุธยากับสุโขทัยเป็นเขมร
สุพรรณบุรีหรือสุพรรณภูมิน่าจะมีมาก่อนการตั้งอาณาจักรอยุธยา เพราะ อยุธยา เกิดจากสุพรรณภูมิ+ละโว้ ร่วมกัน สาเหตุที่สุพรรณภูมิพูดเสียงเหน่อคงสืบเนื่องมาจากสืบเชื้อสายทางลาวหลวงพระบาง+ทางเชียงแสน เพราะมีความใกล้ชิดกันมาก แล้วแผ่อาณาจักรลงมาครับ ส่วนลาวอีสานหรืออาณาจักรศรีโคตรบูรก็เป็นอีกสายหนึ่งทั้ง+กับชาวข่า ขมุ จ้วง กุย เข้าไปอีกในระยะหลัง สำเนียงพูดเลยต่างกันไป
มีประโยชน์มากครับ
คุณหอยเก่งมากครับ
ผมเคยอ่านพงศาวดารเมืองเชียงรายนิดหน่อย พญามังรายเป็นลูกของเจ้าหญิงจากเมืองเชียงรุ่งสิบสองปันนา แสดงว่ามีเชื้อสายไตลื้อ แล้วมาอยู่ที่เมืองเชียงแสน ยุค 1,000 ปีก่อนเชียงแสนคือเมืองหลวงของอาณาจักรแถบลุ่มน้ำโขง ก่อนที่พญามังรายจะยกทัพลงมาสร้างเมืองที่เชียงราย - เชียงใหม่ เมื่อ 700 กว่าปีก่อน ซึ่งตรงกับยุคราชวงค์หยวนของจีนพอดี และหยวนยกทัพมาตีพุกามแตก และจะมาตีล้านนาด้วย แต่มาถึงแค่ชายแดนก็ยกทัพกลับ พญามังรายก็ส่งกองทัพล้านนา + ไทใหญ่ เตรียมพร้อมรับศึกนอกชายแดนเชียงตุง สมัยนั้นอาณาเขตล้านนายาวไปถึงเชียงตุงในพม่าปัจจุบัน อาจจะไปถึงสิบสองปันนาของจีนด้วยก็ได้ครับเพราะมีสัมพันธ์อันดี เพราะแม่เป็นเจ้าหญิงมาจากสิบสองปันนา อีกทั้งยังไปยึดหิริภุญชัยจนล่มสลาย เรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่ง ราชวงค์ของพญามังรายปกครองสืบกันมากว่า 400 ปี ตั้งแต่ 700 กว่าปีก่อนถึง 300 กว่าปีก่อน ก็ถูกบุเรงนองบุกมาตี ล้านนาเป็นประเทศราชของพม่าอยู่ 100 ปี ก็ถูกพระนเรศวรของสยามมาตีจากนั้นล้านนาก็มีราชวงค์ใหม่ราชวงค์ของพญามังรายถูกล้มไปในยุคของบุเรงนอง พอพม่ายกทัพมาอีกในศึกที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 คราวนั้นเชียงใหม่ก็แตกเช่นกันและเชียงใหม่เป็นเมืองร้างไปกว่า 15 ปี พึ่งฟื้นฟูและให้คนเข้ามาอยู่ใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1 ของสยาม โดยเจ้าเมืองเชียงใหม่สมัยนั้นกวาดต้อนคนจากหลายหัวเมืองเข้าไป
ราชวงค์ หยวน อย่าลืม เป็น ชาว มองโกล ถนัดขี่ม้า ในทุ่งกว้าง มาเจอ ป่า ทึบ แบบ ภาคเหนือ หรือ ลาว ขี่ม้าก็ลำบากเหมือนกัน แล้ว ที่มาตี อยุธยา จริงๆ มี ลานนา มาช่วยพม่าด้วย ( แต่ เราไม่พูดถึงกัน ) กรมพระราชวังบวร ก็ไป เอาคืน ไง สมัยก่อน เป็น อาณาจักร ใครเข้มแข็ง ล้านนา ก็เอนไปทางนั้น ทางนี้
ส่วนตัวผมแต่ก่อนชอบ ยุโรป แต่พอศึกษาดูแล้ว ยุโรปไม่ได้ทำให้มีผลประโยชน์กับไทย มากเท่าจีน จีนดูเหมือนเค้าจะไม่ได้คิดหวังอย่างเดียวต่างจากยุโรป ที่หวังแต่ผลประโยชน์ ส่วนตัวสมัยนี้ผมชอบจีนในส่วนเรื่องใจแลกใจ
ขอบคุณมากนะคะที่นำมาเล่าให้ฟังค่ะ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ เป็นประโยชน์กับเยาวชนและคนที่สนใจประวัติศาสตร์อย่างยิ่งเลยค่ะ
เซียนจะหมายถึงสุโขทัยก็ต่อเมื่อสมัยนั้นเรียกสุโขทัยว่าเซียนหรือเสียมเท่านั้นเพราะจีนบันทึกคำพ้องเสียง หรือทับศัพท์ได้ดีมาก
ขอมล่มสลายไปแล้วหลายร้อยปีทิ้งแต่โบราณสถานต่างๆไว้ ส่วนเขมรมาอยู่ในสถานะคนงาน ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆทั้งในด้านเผ่าพันธุ์และสายเลือด แต่ดูเหมือนเขมรจะถือว่าโบราณสถานต่างๆนั้นเป็นของเขมร โดยเขมรเป็นคนสร้าง จึงมีฐานะเป็นเจ้าของ น่าอนาถใจจริงๆ
@@lynthongsirima103กษัตริย์เขมรชื่ออะไร
เสียนอาจจะหมายถึงแคว้นสุพรรณภูมิก็ได้นะครับ ซุกู่ไท้คือสุโขทัย
แล้วแต่จะอ้างอิงจากแหล่งไหนครับ ซึ่งผมก็บอกไปหมดแล้ว
ฟังเรื่องเล่าตอนนี้ทำให้คิดถึงซีรี่ส์เกาหลีทึ่ีมีนายอาลักษณ์จดบันทึกราชกิจของฮ่องเต้และพระบรมวงศานุวงศ์....เลยค่ะ
คุณพูดคุยฟังสบายๆเหมือนเรานั่งล้อมวงฟังคุณเล่าเรื่องต่างๆให้ฟังได้ประดับสติปัญญาดีมากๆเลยค่ะ...ขอบคุณมากนะคะ🙏👍👍👍👍👍
สุดยอด...ได้ความรุ้ดีมาก ไม่เคยรุ้เลย ขอบคุณคับ
ฝากเรื่องชนชาติไทยที่มีมายาวนานกว่าสองพันปี (ตามที่บันทึกสเปนบอก) ส่วนตัวแกะรอยแล้วพบว่าคนไท มีอยูู่หลายกลุ่มและเกี่ยวพันกับชาวจ้วง ในจีนตอนใต้ (ใช้ภาษาตระกูลไท) และต้นราชวงศ์สุโขทัยนั้นมาจากกลุ่ม ไทเลือง (เรือง หรือเหลือง จีนออกเสียง โลอาง) พบว่าปรากฎในตำนานเชียงแสนเป็นคนใต้ปกครองของไทยวน และละว้าหรือลัวะ มาก่อนที่จะมาตั้งกรุงสุโขทัย....คร่าวๆ แค่นี้ ขอบคุณครับ
ฝรั่งสเปนบอก มันมาถึงเอเชียแค่สามร้อยกว่สปี จะรู้เรื่องพันกว่าปีของไทยได้ไง ฝรั่งอะไรเชื่อไปหมด บอกมาจากเทือกเขาอัลไตก็เชื่อ
60% ของเอกสารในแต่ละตอน ที่คุณหอยนำมาประกอบ ยังไม่เคยได้อ่านที่ไหนเลยครับ พอมาอ่านก็เลย "อ๋ออย่างนี้เอง" ผมเลยเล่าให้ลูกชายฟังชอบมากเลยครับ
แต่มีคำถามจากลูกว่า เวลาเขาส่งสารข้อความกันอย่างไร ไปถูกได้ยังไงในแต่ละเมือง มีวิธียังไง ในเมื่อมันไม่มี อินเทอร์เน็ต ผมนี้อธิบายไม่ถูกเลยทีเดียว 555
ขอคุณหอยไขข้อข้องใจหน่อยครับผม
(ลูกผมชอบเรียกคุณหอยว่าลุงแว่น ครับ) ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
เขามีคนชำนาญพื้นที่และเส้นทางครับ
เช่น เมื่อครั้งเขียงใหม่ขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระนารายณ์ให้ขึ้นไปข่วย เชียงใหม่ก็ส่งแสนสุรินทรไมตรีมาเป็นคนทำทาง แล้วพอคนนำทางหนีไปกลางคัน ทีพเยุธยาก็ต้องตั้งค่ายรอสืบข่าวอยู่อย่างนั้นครับ
มีพลนำสาร ครับ เป็นทหารสื่อสาร ระหว่างเมืองต่างๆ บนบก ในน้ำก็ทหารเรือ มีกัปตันนำเรือที่มี พลนำสารไปส่งเอกสารด้วย
ผมสงสัยการสื่อภาษากับจีน จะรู้เรื่อง/เข้าใจกันอย่างไร ซึ่งต่างไกลจากเราสุพรรณ สุโขทัย ลำพูน ล้านนา ล้านช้าง ยังมีภาษาที่คล้ายและใกล้เคียงกัน แต่กับจีนผมให้สงสัยนัก
@@ดินสถานะ เขามีล่ามครับ เรียกว่า ท่องสื่อ
ใช้ล่ามและภาษาสำหรับคนต่างถิ่นจะเพี้ยนดั่งที่เห็นฉนั้นชื่อเมืองชื่อคนมันเลยไม่ตรงไง ..เช่นไหหนาน ยังกลายเป็นไหหลำได้เลย!!
เสียน ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมทะเล ในยุคนั้นใช้เดินเรือติดต่อค้าขาย ไม่ทราบว่าเรือเดินทะเลจะขึ้นไปถึงสุโขทัยได้อย่างไร ผมคิดว่าชื่อเมืองต่าง ๆ ในบันทึกน่าจะอยู่ริมทะเลทั้งสิ้นครับ
การนำเสนอน่าฟังและน่าติดตามมาก ขอชมเชยนะ
ตามที่พูดว่า เพชรบุรี ละโว้ สุโขทัย สำพูน ต่างแยกส่งบรรณาการไปที่จีน เท่ากับสมัยนั้นต่างปกครองตนเอง เท่ากับไม่ได้เป็นส่วนหน็่งในอาณาจักรเขมรโบราณ เพียงแต่รับเอาวัฒนธรรมเข้ามาเท่านั้น. สร้างปราสาทหินเลียนแบบเท่านั้นชอบก็ทำตาม.
เป็นเครื่อญาติครับ ต้องไปดูพังคูเมือง สุโขทัย สุพรรณบุรี ละโว้ นครวัด จะมีลักษณะคล้ายกัน
@@ToFFTalks เครือญาติยังไง ใช้ภาษาต่างกันขนาดนั้น นครวัดน่าจะเป็นเมืองใต้อำนาจมากกว่า
เห็นด้วยครับว่ามีแต่สิ่งก่อสร้างเท่านั้นที่ดูคล้ายกัน แต่ประเพณี วัฒนธรรม ภาษาพูด อาหารการกิน ไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่เลย
@@leeassadawut7858 แต่ละบ้านเมืองสมัยนั้นน่าจะมีผู้คนหลายชาติพันธุ์ปะปนกัน หลักๆคือ ลาวและเขมร คำไทย ถึงมีร่องรอยเป็นคำใหม่ ที่มีความหมายซ้ำจากต่างภาษาเช่น คำว่า ทองคำ ฟ้อนรำ ดั้งจมูก ที่เป็นคำซ้ำความหมายจาก คำลาวและเขมร
👍 ดีจ้า ,ที่ญี่ปุ่นดูประนอม บ้านตรงข้าม
น่าเสียดายจริงครับที่ไม่มีข้อมูลช่วง 40 ปี สุดท้ายของราชวงศ์หยวน เพราะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของอยุธยา สุพรรณภูมิ และ ละโว้ น่าจะต้องถึงหูฮ่องเต้บ้างแหละครับ🥲❤️
กำลังโดนหมิงยำเละ ไม่มีเวลาจด
ขอบคุณมากครับ
ขอบคุณครับ
จบไปแล้วค่ะ ตอนนี้ประเทศต่างๆคือต่างคนต่างอยู่ค่ะ
แต่บางประเทศไม่ยอมนี่นะ เรียกร้องจะเอาอารยะธรรมโน่นนี่นั่นไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกชาติตัวเองยันเลยจ้า
ติดตามแล้วครับ ความรู้ทั้งนั้น
ขอบคุณครับ ได้ความรู้มากเลย
ในบันทึกการสร้างอยุธยาของจีน ว่าเป็นการรวมตัวของเสียนกับละโว้ ถ้าประวัติศาสตร์การสร้างอยุธยาที่เราเรียนมาถูกต้อง เสียนคือสุพรรณแน่นอน
จีนไม่ได้สร้าง
@@moo.3805 เขาไม่ได้หมายความว่าจีนสร้าง
เขาหมายถึง.. ในบันทึกของจีนที่บันทึกเรื่องราวการก่อร่างสร้างเมืองขึ้นของอยุธยา จีนเขาได้บันทึกเหตุการณ์ไว้ว่าอย่างไรบ้าง
ประมาทนั้น
ขอบคุณน้ามากเลยนะครับ ที่มานำเสนอหัวข้อนี้ อยากรู้มานานมากเลยครับ เจอเอกสารของตะวันตกกันเยอะ อยากเห็นของตะวันออกบ้าง❤️❤️❤️
อึม ตรงชื่อเฉพาะอาจต้องใช้ภาษาจีนท้องถิ่น เช่นฮกเกี้ยนกะแต้จิ๋ว ตรวจสอบว่าจะใกล้เคียงกะชื่อไหนมั่งก็ท่าจะดี หนี่หยวนกั๋ว ก็นึกถึงนางจามเทวี
ผู้สถาปนาหริภุญไชยครับ ส่วนปี พ.ศ. 1832 นั้นน่าจะเป็นสมัยพระยาญีบา ผู้ครองหริภุญไชยคนสุดท้าย ก่อนที่พระยามังรายจะพิชิตหริภุญไชย เมื่อปี พ.ศ. 1839
หนี่วเหยินกั๋ว (女人國) ถ้าเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว ก็คงประมาณ เนี้ยนั้งก๊ก (เดาๆ) แต่ผมว่า คำนี้ สำเนียงไม่มีผล เพราะมันไม่ใช่คำทับศัพท์ แต่เป็นชื่อที่เอาความหมายในภาษาจีน แปลว่า ประเทศคนผู้หญิง
ส่วนชื่ออื่นๆ ที่เป็นคำทัพศัพท์ ผมว่า ที่เขาเลือกตัวหนังสือมาบันทึกในสมัยหมิงนั้น ก็น่าจะใช้การอ่านแบบทางการสมัยนั้น เช่น สำเนียงจีนกลางสมัยหมิง นักวิชาการมีความเห็นว่าน่าจะใกล้เคียงสำเนียงนานกิงในปัจจุบัน เช่น คำว่า 昭祿群膺 เป็นทับศัพท์ชื่อ "เจ้านครอินทร์" ในภาษาจีนกลางปัจจุบันอ่านว่า "เจ๊าลู่ฉุนอิ๊ง" ซึ่งถ้าเป็นภาษาจีนกลางสมัยราชวงศ์หมิง น่าจะอ่านประมาณว่า "เจ๊า นก คุน อิง"
สังเกตว่า คำว่า ลู่ อาจจะเคยอ่านว่า นก (ตัวนี้ ในภาษาเกาหลียังอ่านว่า นก อยู่ ที่อ้างอิงเกาหลี เพราะเกาหลีได้รับอิทธิพลสมัยหมิงมามาก ภาษาที่ยืมมาหลายคำก็น่าจะเอาการออกเสียงสมัยหมิงมาด้วย; ในทางสัทศาสตร์ ตัว ล กับ น อยู่ในฐานเสียงเดียวกัน มันเพี้ยนกันไปมาได้)
คำว่า ฉุน อาจจะเคยอ่านว่า คุน (ตัว ฉ ช ในจีนกลางปัจจุบัน มักจะเคยออกเสียงเป็น ข ค มาก่อน และในจีนสำเนียงอื่นในปัจจุบัน ก็ยังเป็น ข ค เช่น ฮกเกี้ยนปัจจุบัน คำนี้อ่านว่า ขุน ส่วนแต้จิ๋วปัจจุบัน อ่านว่า คุง)
ขออนุญาตครับอาจารย์ ผมได้ดูซีรีย์ประวัติศาสตร์จีน ประวัติการเดินทางของจิ้งเหอ เจ้ามลายูฟ้องว่า เซียม Siam รังแก ชาวมลายู ยกทัพไปรุกราน มะละกา พระเจ้ากรุงจีน ได้ขอร้องไม่ให้ชาว เซียม ไปรังแก ชาวมลายู ดังนั้น เซียนที่อาจารย์กล่าวมาน่าจะเป็นชาวสยาม ครับจาก สุพรรณ ละโว้ นครศรีธรรมราช หรือไชยา
เอกสารจีน (หยวนสื่อ) เอ่ยถึงบ้านเมืองสำคัญในแถบภาคกลางของบ้านเราในปัจจุบันไว้ 2 แห่ง
คือ เซียน (เสียน) - หลัวหู
หลัวหู นั้นไม่น่าจะมีปัญหา เพราะคงจะหมายถึง ละโว้
แต่บ้านเมืองที่ชื่อ เซียน (เสียน)
นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์มีการสันนิษฐานกันไว้ในเบื้องต้นเป็น 2 ฝ่าย
ฝ่ายแรกเชื่อว่า เซียน = สุโขทัย
อีกฝ่ายเชื่อว่า เซียน = สุพรรณภูมิ
ถ้างั้นเราลองมาดูสิ่งที่เอกสารจีนอธิบายไว้เพิ่มเติม …
หยวนสื่อ ให้คำอธิบายเกี่ยวกับบ้านเมืองที่ชื่อ “เซียน” และ “หลัวหู” ไว้ดังนี้
“ …เซียน แลหลัวหู เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฝูหนาน บริเวณตอนเหนือของสยาม
ติดต่อกับปาไปสีฟู ที่อยู่ติดกับมณฑลหยุนหนาน
ทางตะวันออก ติดต่อกับอันหนาน
แลทางตะวันตกเฉียงเหนือ ติดต่อกับอาณาจักรเหมี่ยน
หลัวหู ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของของเซียน ติดกับทะเล
ดินแดนเซียนแห้งแล้ง ไม่เหมาะแก่เกษตรกรรม
หลัวหูมีที่ราบกว้างใหญ่ ผลผลิตอุดมสมบูรณ์
ชาวเซียนต้องพึ่งพาอาศัยจากหลัวหู
มีแม่น้ำสายใหญ่ไหลจากเซียน ผ่านหลัวหู ลงสู่ทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหลัวหู
ทุกฤดูร้อน น้ำทะเลไหลเขาสู่แม่น้ำตอนใน ชาวนาจะอาศัยเวลาดังกล่าวหว่านเมล็ดพันธุ์
ต้นกล้าค่อยๆ เติบโตตามระดับน้ำ
น้ำสูงหนึ่งฉื่อ ต้นกล้าสูงหนึ่งฉื่อ
เมื่อน้ำลด ต้นกล้าจะสุกพร้อมเก็บเกี่ยว
มีการหว่านเมล็ดพันธุ์ แต่ไม่มีการไถหว่าน
ด้วยเหตุนี้พืชพรรณธัญญาหารจึงอุดมมบูรณ์ แลราคาถูก …”
นี่คือสิ่งที่ หยวนสื่อ อธิบายไว้
อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านคิดว่า “เซียน” คือที่ไหนครับ ?
--
หยวนสื่อ จากหนังสือ “สุโขทัยคดี ประวัติศาสตร์ จารึกศึกษา และนิรุกติประวัติ ฉบับเชลยศักดิ์” เล่ม ๑ หน้า ๒๐๕
@@hoyapisak ขอบคุณครับอาจารย์ ตามบทความนี้ มี เมืองอยู่ 3 เมือง
- สยาม
- เซียน
- หลอหู
“ …เซียน แลหลัวหู เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฝูหนาน บริเวณตอนเหนือของสยาม"
จากบทความนี้ มีความสำคัญสำหรับคนสยามมากที่เดียว
เพราะใช้อ้างอิงในประวัติศาสตรชาติไทยเราได้มากที่เดียว
เข้าเรื่อง เซียนอ่านตามบทความนี้ น่าจะเป็นเมืองศรีเทพ แม่น้ำที่กล่าวถึงคือแม่น้ำป่าสัก
ซึ่งไหลผ่านลพบุรี มีการทำนา อาณาเขต ไปไกลถึงยูนนาน
สยามน่าจะหมายถึงอาณาจักรฟูนัน และหรือทวาราวดี
ครับผมกำลังศึกษา ความเป็นมาของชนชาติสยาม -ขอม
เซียน,เสียม,สยาม มันคือกลุ่มเดียวกันไหมครับ นครศรีธรรมราชหรือภาคใต้เรียกตัวเองว่าสยามหรือเปล่าครับ ถ้าเรียกตัวเองว่าสยามมันก็ไม่แปลกอะไรที่มันมีปัญหากับพวกมลายู
ช่องนี้ดีมากครับติดตาม
อจ.หอยเล่าสนุก
ขอบคุณครับ
ผมเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้างมันจะเขียนตกแต่งยังไงก็ได้ พวกหนังสือบันทึก พงศวดาร เอาจริงๆปัจจุบันจีนยังรายงานคนติดเชื้อโควิด คนเสียชีวิตเป็นศูนย์ทุกวัน แต่ฌาปนกิจสถานเผากันทุกวัน หลายอย่างไม่ตรงกับที่พูด เอามุมมองตัวเองเป็นหลัก
อยากให้พี่หอย นำเนื้อหาในตำราพิชัยสงครามของไทยสมัยอยุธยาแต่ละบท มาย่อยให้เข้าใจง่ายลง Ep เพื่อศึกษาบ้างครับ
ลองติดตามช่อง อ.ตุ๊ก บางปะอิน นะครับ
ท่านมีความรู้ทางด้านนั้นเยอะเลย
ขอบคุณครับ
ในยุคปฏิวัติทางวัฒนธรรม
น่าจะมีโบราณสถาน-วัตถุและเอกสารโบราณที่ถูกทำลายไปจำนวนมาก
...เห็นในติ๊กต้อก เม้นสั้นๆ ว่ามีรูปปั้นสิงโตโบราณตั้งอยู่ในพื้นที่ แต่ ผญ.บ้านสั่งให้ทุบทิ้ง แล้วสร้างวัดขึ้นมาในที่นั้น
...โบราณวัตถุ สามารถวิเคราะห์การเดินของชนเผ่าต่างๆได้เป็นอย่างดี
...โบราณวัตถุ เกี่ยวขอม ที่อีสาน จนถึงลาวมีอีกเยอะมาก
โอ้ช่องนี้ความรู้เป๊ะมาก สุดๆ
อจ.หอย.. ทำอาณาจักรล้านนากับความสัมพันธ์จีนด้วยครับ... จะได้ลิ้งกับสุโขทัยอโยธยา.. น่าสนใจไม่น้อย.. รอติดตามเสมอ.. ❤️❤️❤️
ขอบคุณครับ
เอกสารขอต่างชาตินี่น่าสนุกมากครับ
เสียน น่าจะสุพรรณภูมิ ที่มีอำนาจในเขตแม่น้ำท่าจีน ปากน้ําโพและยาวขึ้นไปจนถึงเขตแดนของสุโขทัย
ยังมีอาณาจักรเล็กๆน้อยๆอยู่เต็มไปหมดแถวนี้เช่น ศรีเทพ ซึ่งตอนนั้นไม่รู้ชื่ออะไร เพชรบุรีนครศรีธรรมราช โคราช และเราก็ไม่รู้ว่าสุโขทัยชื่อตามจีนเรียกว่าอะไร
ทำไมถึงคิดว่าเป็นสุพรรณภูมิ ก็เพราะเมื่อละโว้รวมกับสุพรรณภูมิกลายเป็นอยุธยา จีนถึงเรียกว่า เสียนหลอหู่
ขอบคุณความรู้จิ้มก้อง ที่ทำให้เราไขว้เขวได้
สุดยอดความรู้เลยครับ
ชอบมาก
ขอความรู้หน่อยครับ สุโขทัยมีเรื่องกับมาลายูใด้ยังไงครับแผ่นดินไม่ติดต่อกันมีอยุธยาอยู่ตรงกลาง
ตอนนี้ทำยากมากๆ ขอบคุณอาจารย์ที่อุตส่าห์ทำมาให้ศึกษาเรียนรู้ ค่ะ
ดูเหมือนอาจารย์จะผอมลงนะคะ ดูแลสุขภาพด้วยค่ะ อย่าให้ป่วย เพราะ fc.รอดูคลิปอยู่ค่า
ยากตรงที่อยากจะทำให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย ๆ นี่แหละครับ 😊
@@hoyapisak ฟังแล้วเข้าใจในคำอธิบายค่ะ เจ๋ง !
@@nichnana4907 🙏🏽
เพราะเต็มไปด้วยภูเขาป่าไม้ใหญ่หนา การคมนาคมไม่อำนวยชนเผ่าไทหรือไตจึงแยกกันอยู่เป็นหย่อมๆ ไม่เป็นอาณาจักรยิ่งใหญ่ได้ แต่ก็ดีที่ไม่ได้รบกันเละเหมือนในจีนและทุ่งราบตอนเหนือของเอเชีย.
ขอบคุณครับติดตามทุกตอนครับ
ขอบคุณมากครับ น่าสนใจมากๆๆ
สุข+อุทัย = สุโขทัย
ลว÷อุทัยปุระ = ลโวทยปุระ (เขียนแบบภาษาบาลี)
ชื่อสองเมืองนี้ใกล้เคียงกันมาก
คำว่า อุทัยะ และ สุริยะ ล้วนแต่หมายถึง ดวงอาทิตย์ ตำนานพื้นบ้านมุขปาฐะแถบนี้ ส่วนใหญ่ อ้างว่าตัวเองสืบเชื้อสาย จากสุริยะวงศ์ บางคนตีความไปถึงดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนหน้ากลองมโหรทึก และเมื่อรับอิทธิพลจากอินเดีย จึงใช้คำว่า สุริยะกับ อุทัย กล่าวรวมกันเพื่อให้ผู้คนรับรู้ ความสูงส่งของตัวเอง คตินี้ก็มีความน่าเป็นไปได้เพราะมโหรทึกเป็นสัญลักษณ์แทนการถือผีซึ่งเป็นความเชื่อเก่าแก่ของคนแถบนี้มาก่อน
Arunodaya แปลว่าแสงอทิตย์ยามเช้าหรือดวงอาทิตย์ยามเช้าดีครับ (Arun + Udaya)
รายการสนุกมากเลย มันดีมากๆ เนื้อหาเลิศ บรรยายแจ๋ว
ขอบคุณและติดตามครับ
ตอนนี้น่าสนใจมาก เพราะมันเกี่ยวกับเรื่องการส่งเครื่องราชบรรณาการไปจีนหรือจิ้มก้องในช่วงแรก ๆ
ขออนุญาตแย้งเพิ่มเติมอีกประเด็นนะครับคือ ประเด็นคำว่า "กมรเตง" หรือ "กมรเตงอัญ" นั้นเป็นคำในภาษาขอม ไม่ใช่ ภาษาของเขมร ครับ เนื่องจากขอมเป็นคนละชนชาติ ซึ่งเป็นชนชั้นผู้ปกครอง ส่วนเขมร เป็นชนชั้นทาสที่ถูกกวาดต้อนมาจากจามปาหลังการพ่ายแพ้สงครามในรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครับ
@@lynthongsirima103 มีเยอะค่ะ ในประเทศไทย สยาม
ในพงศาวดารอยุธยา คนอยุธยาเรียกชาวกัมพูชาว่าขอมนะครับ
@@Syamnothai เขมรไม่ใช่ขอม เขมรเป็นทาสขอม
@@lynthongsirima103เป็นภาษาขอม แบะภาษาขอมในไทยมีเยอะมาก ตาเรายังรู้จักเลย
@@Syamnothaiใช่ครับสมัยนั้นคนอยุธยาเรียกกัมพูชาว่าขอม แต่ขอมที่คนอยุธยาในสมัยนั้นได้กล่าวถึง ไม่ได้หมายถึงเขมร เขมรเป็นแค่ทาส
แต่เมื่อฝรั่งเศสเข้ามาทุกอย่างเลยเปลี่ยน เขียนประวัติศาสตร์ใหม่ให้เขมรมีตัวตนขึ้นมา ขอมนั้นคือเขมร ฝรั่งเศสพยายามจะให้คนสยามกลายเป็นพวกไม่มีอารยธรรม คนป่าเถื่อน เป็นพวกอพยพ เพื่อเอามาเป็นเหตุผลที่จะมายึดประเทศไทย แต่โชคดีที่ไทยมีศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่ง ที่บ่งบอกว่าเราอยู่ในดินแดนนี้มานาน มีอารยธรรม มีการปกครองด้วยกษัตริย์อย่างยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เลยทำประวัติศาสตร์ชาติไทยที่เขียนโดยนักล่าอนานิคมเริ่มต้นที่ อนาจักรสุโขทัย ปี พ.ศ.1800 ตามตำราเรียน ทั้งๆที่มีมายาวนานกว่านั้น แถมนวก.ไทยดันมายกขอมให้เป็นเขมร แล้วอวยเขมรด้วยคำว่า เขมรโบราณ
สามอานาจักรที่ว่าน่าจะอยู่ที่เวียดนาม..เพราะเคยดูแผนที่ยุคนั้นเวียดนามมีสามอาณาจักรเหนือ.กลาง..ใต้
ส่วนเซียนน่าเป็นสุโขทัย.เพราะกษัตริย์สุโขทัยไปอยู่เป็นประกันอยู่จีนนานเกินสิบปีก่อนกลับมาครองเมืองสุโขทัย..โดนทางสุโขทัยมีบุตรที่เกิดจากพระสนมชาวนครศรีธรรมราชปกครองแทนอยู่พักใหญ่..
เสียนคือรัฐฉานขึ้นไปถึงจีนตอนใต้ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนไปเรียกว่าล้านนา หลอหูคือละโว้หรือก็คือภาคอิสานกับสปปลาว สุมาตราในความหมายของจีนน่าจะเป็นศรีวิชัย
ฟังแล้วสนุกมากครับ
ขอบคุณครับ จารย์หอย ที่นำมาเล่า...ชอบครับ ระวัง จะโดนธาตุไฟเข้าแทรก 555...
อยากให้นำบันทึกของยุโรป และอินเดีย มาลองเปรียบเทียบด้วยครับ
เท่าที่สังเกต เพราะแบบเรียนของเรามักเริ่มที่สุโขทัย และเราไม่ค่อยค้นเรื่องก่อนหน้าเพราะมักจะโดนจับรวมเป็นเขมรไปหมด ทั้งที่ไม่ใช่ เราจึงมักฝังหัวว่าไม่มี ทั้งที่มีศรีเทพ และ สยำกุก ก็มีอยู่ แปลว่าคนไท-มอญมีมานานแล้ว และเราควรศึกษาครับ
ปล. เสียน โดยทั่วไปแปลว่าสุพรรณภูมิ บางคนว่าคือสุโขทัย หล่อหู่คือลวปุระ เสียนหลอหู่คืออยุธยา ปาไป่คือล้านนา เซ่อหลีคือสิบสองปันนา แนะนำดูเพจจีนโบราณในเฟซครับ
เซียนน่าจะเป็นคำทับศัพท์มากกว่ามีคำแปลนะครับ มีบันทึกภาษาอื่นประกอบไหมครับ
ความรู้ที่คุณมีนั้น ผมว่าทำเป็นคลิป เขียนเป็นบทความ หรืออัด Podcast ออกมาเลยครับ จะได้เป็นประโยชน์กับคนอื่นด้วย
หนูเห็นด้วยหมดเลยค่ะ แต่หนูว่าหล่อหู่คือละโว้มากกว่าลวะปุระ อาจจะเป็นที่เดียวกันจริง แต่ชื่อที่แตกต่างกันสะท้อนถึงช่วงเวลา ลวะปุระนั้นจริงแท้แน่นอนว่าเป็นมอญทวารวดีและรุ่งเรืองตั้งแต่ พ.11-16 แต่หลังจากนั้น ยุคชัยวรมัน 7 ลวะปุระได้เปลี่ยนเป็นละโว้ที่รับอิทธิพลขอมมาไว้มาก และเซียนหล่อหู่ที่ควบรวมกิจการกันเป็นกรุงศรีอยุธยา ก็เป็นยุคละโว้เพราะสถาปัตยกรรมหรือจารีตหลายๆอย่าง กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยาฯถือว่าเป็นจุดปะทะสังสรรค์กันระหว่างความเชื่อแบบพุทธเถรวาท แต่ก็ยังถือคติจากฮินดูบางอย่างด้วย ความเข้มข้นของฮินดูยังไม่จางหายไปในละโว้ที่เปลี่ยนเป็นพุทธ มหายานในช่วงก่อนที่รวมกับเสียน ทั้งนี้แทบไม่เกี่ยวกับอะไรกับเขมรยุคนครวัด เพราะศิลปะละโว้ก็ทิ้งช่วงห่างจากยุคนครวัดและบายนเป็นตั้งร้อยๆปี
ขอบคุณมากครับ คิดว่าในส่วนของคำว่า "เซียน" เดาว่าน่าจะเรียกชนชาติ เพราะมันใกล้เคียงกับคำว่า "เสียม" หรือพวก สยาม ส่วนคำว่า "ซู่กู่ไถ"เป็นการเรียกเมืองหรืออาณาจักร อันนี้เดาเอาครับ ไม่ได้มีความรู้ใดๆในด้นประวัติศาสตร์ครับ กรุณาอย่าตำหนิขอบคุณครับ
ซู่กู่ไถ=ซูขูไท=สุโขทัย
ปัญหาคือคนไทยไม่ได้เรียกตัวเองว่าสยามสิครับ แค่เคยใช้เป็นชื่อประเทศ
@@jaitipnirvana7753 สยามเป็นชื่ออย่างเป็นทางการของไทยตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา[2] ก่อนเปลี่ยนเป็น "ไทย" เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 พระมหากษัตริย์ไทยทรงใช้ชื่อ "สยาม" ในการทำสนธิสัญญากับต่างชาติเป็นเวลาหลายศตวรรษ เนื่องจากราชอาณาจักรประกอบด้วยคนหลายชาติพันธุ์ อาทิ ไท ลาว มอญ ญวน เขมร แขก จีน ฝรั่ง และมลายู พระมหากษัตริย์ไทยจึงเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ประเทศสยาม เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาชน[3] อีกทั้ง ชื่อ สยาม นั้น ก็ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในวงการวิชาการของต่างประเทศอีกด้วย
กดไลท์แล้วนะครับ.พี่หอย..
6:57 สะดุดหูคำว่า/จิ้มก้อง/ ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่นำคำนี้มาแผลงใช้เป็น/เส้นกุ้งของคัล/หมายถึงบรรณาการที่ราชสำนักเชียงใหม่ราชวงศ์มังรายส่งไปให้ราชสำนักจีนแบบรายปี
ขอบคุณครับ
進貢 ถ้าอ่านในภาษาจีนสมัยกลาง จะออกเสียงประมาณว่า สิ้นกุ้ง
@@hilatchikkakul8980 ขอบคุณมากครับ เริ่มเข้าใจรากศัพท์มาทีละนิดละสิ้นกุ้ง-เส้นกุ้งของคัล
การส่ง บรรณาการ คงเพียงเพื่อ ผูกสัมพันธไมตรี เรื่องการค้าขาย เท่านั้นมั้งครับ ไม่น่าหมายถึง การอยู่ใต้อำนาจ จีน แน่ๆ คงไม่ต้องห่วงการจะสู้รบหรือมีสงครามกัน เนื่องจากอยู่ห่างไกลกันมาก...อย่างที่ข้อมูล อ.หอย เล่านั่นแระ
ในสมัยราชวงศ์หยวนแผ่นดินอาณาจักรเสียนนั้นคือเมืองนครศรีธรรมราช พื้นที่ภาคใต้ทั้งแหลมทองเป็นพื้นที่ของแคว้นเสียนไปถึงเกาะสิงคโปร์รวมทั้งเกาะสุมาตรตราด้วย
แคว้นเสียนหรือสยามในสมัยราชวงศ์หยวนของจีนอยู่ในพื้นที่ภาคใต้ของไทย
พระเจ้าสุริยวรมันที่1มีบรรพบุรุษอยู่ที่นครศรีธรรมราช เมื่อพระเจ้าสุริยวรมันที่1รวบรวมแคว้นสัมภูปุระ(สยาม,เสียน)กับแคว้นละโว้(ลาว,หลอหู)เป็นประเทศเดียวกันจึงเรียกแผ่นดินว่าอาณาจักรสยามลาว,เสียนหลอ
แคว้นสัมภูปุระ(สยาม,เสียน)เจนละมี2ส่วนคือ 1.แคว้นสัมภูปุระโคก(เสียนก๊ก,สยามบก)เจนละโคกมีพื้นที่อยู่ในภาคอีสานของไทย
2แคว้นสัมภูปุระราช(เสียมราฐ,สยามราช)เจนละน้ำมีพื้นที่อยู่ใต้เทือกเขาพนมดงรักลงไปถึงทะเล มีเมืองหลวงคือกรุงกัมพูชา
ในสมัยรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่2สามารถรวมแคว้นสัมภูปุระโคก(สยามโคก,)เจนละบกรวมประเทศกับแคว้นสัมภูปุระราช(เจนละน้ำ)แห่งกัมพูชา
ในสมัยรัชกาลพระเจ้าสุริยวรมันที่๑มีบรรพบุรุษฝ่ายพ่ออยู่นครศรีธรรมราชมีบรรพบุรุษฝ่ายแม่อยู่ในภาคอีสานของไทยทำให้พระองค์รวมแคว้นสัมภูปุระ(สยาม)เจนละเข้ากับแคว้นละโว้(หลอหู,ลาว)เรียกอาณาจักรสยามลาว(เสียนหลอ)
เมื่อมองโกลราชวงศ์หยวนโจมตีอาณาจักรสยามลาว(เสียนหลอ)ในสมัยรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่8"ขอมเจ้าบาทโขน(โขน=ขุน)รามพงศ์"ทำให้บ้านเมืองแตกเป็นหลายส่วน แคว้นละโว้(หลอหู)เป็นอิสระ แคว้นสยาม(เสียน)ในภาคใต้เป็นอิสระ แคว้นสุโขทัยที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นละโว้(หลอหู)ก็ขอแยกเป็นอิสระจากแคว้นละโว้(หลอหู,ลาว)แคว้นหงสาวดี ล้านช้าง ล้านนาก็แยกเป็นอิสระ แม้แต่แคว้นจามปาที่พระเจ้าชัยวรมันที่7ยึดเป็นเมืองประเทศราชและแบ่งจามปาออกเป็น2ส่วนคือจามเหนือที่เมืองวิชัยกับจามใต้ที่เมืองพนมเปญของเขมรจามก็เป็นอิสระ
ดินแดนสยามหรือเสียนรวมกับหลอหู(ลาว)ละโว้ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่1จึงกว้างใหญ่เมื่อไปติดต่อกับแผ่นดินจีนทำให้พระเจ้ากรุงจีนพระราชทานม้าพันธุ์ดีให้ เมื่อมองโกลราชวงศ์หยวนโจมตีอาณาจักรสยามลาวแผ่นดินแตกแยกแคว้นสยาม(เสียน)จึงเหลืออยู่แค่ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยทำให้พระเจ้ากรุงจีนไม่พระราชทานม้าพันธุ์ดีให้กษัตริย์แคว้นสยาม(เสียน)ที่มีพื้นที่เหลือเพียงภาคใต้ของประเทศไทย
และแคว้นสยาม(เสียน)ก็รวมกับละโว้(หลอหู)ในสมัยรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่1(ท้าวอู่ทอง)จึงกลับมาเรียกชื่ออาณาจักรสยามลาว(เสียนหลอ)อีกครั้ง
เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่1(ท้าวอู่ทอง)ขึ้นมาเป็นกษัตริย์ปกครองอาณาจักรสยามลาว(เสียนหลอ)พระองค์จึงทรงส่งกองทัพแคว้นละโว้(หลอหู)ที่มีเมืองหลวงชื่ออโยธยาออกไปขับไล่นายแตงหวานเชลยชาวจามปาต้นตระกูลของชาวเขมรที่เป็นขบถฆ่าพระเจ้าชัยวรมันที่9กษัตริย์เมืองกัมพูชาแห่งแคว้นสัมภูปุระ(สยามราช,เสียมเรียบ)เจนละน้ำให้ออกไปจากเมืองกัมพูชา
นายแตงหวานเป็นเชลยชาวจามปาผู้เป็นต้นตระกูลชาวเขมรผู้นี้ถูกกวาดต้อนมาจากแคว้นจามปาในสมัยรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่7ทรงยกกองทัพของพระองค์จากแคว้นละโว้(หลอหู,ลาว)ไปขับไล่กองทัพแคว้นจามปาที่โจมตีเมืองกัมพูชาแห่งแคว้นสัมภูปุระ(สยาม)เจนละจนทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่7ได้แคว้นจามปาเป็นเมืองประเทศราช
ชาวเขมรมีเผ่าพันธุ์เป็นส่วนหนึ่งของชนเผ่าจาม บรรพบุรุษของชาวเขมรคือนายแตงหวานเชลยชาวจาเป็นขบถฆ่ากษัตริย์แคว้นสัมภูปุระ(สยาม,เสียน)เจนละแห่งเมืองกัมพูชาคือพระเจ้าชัยวรมันที่9พร้อมปราบปรามฆ่าฟันชาวขอมสยามในเมืองกัมพูชาตายจาทำให้ชาวขอมสยามอพยพหนีไปอยู่ที่ภาคใต้ของประเทศไทยบ้าง อพยพขึ้นไปอยู่ที่ภาคอีสานของไทยก็มี แต่ชาวขอมสยามส่วนใหญ่อพยพไปอยู่ที่แคว้นละโว้(หลอหู)ในภาคกลางของประเทศไทยเพราะเป็นประเทศเดียวกัน
ถึงขนาด ทะเลาะกับ มาลายู กับ สินธุได้ จะต้องมีแผ่นดิน หรือดินแดน ทั้งบก และทะเล ที่ซ้อนทับ ผลประโยชน์กัน ถ้าเป็นสุโขทัย ก็จะขัดกับสิ่งที่เป็นในบันทึกมากๆ งั้นก้ควรจะเป็น สุพรรณ หรือ นครศรีธรรมราช นี่ล่ะ
นครศรีธรรมราชมีความเป็นไปได้เพราะแถบทางใต้แทบจะปกครองด้วยเมืองเดียวและอยู่ติดกับมาลายูด้วย การที่เมืองอื่นจะเดินทางมารบคงยากที่ผ่านเมืองแทบการยกทัพมาอีกคงยากกว่าเดิม
เสียม-ล่อ..ก๊ก คือแผ่นดินตั้งแต่คาบสมุทรมลายู นครศรีธรรมราช. ศรีวิชัย ที่ราบภาคกลาง ถึงละโว้
เห็นด้วยครับ เท่่าที่เคยฟังมา หลังจาก เสียน (สยาม) รังแก มลายู จีนก็ได้ส่งเจิ้งเหอมาปราบ มีบันทึกในสมัยนั้นกล่าวถึงที่ตั้งเสียน และเมืองหลวงไว้ชัดเจน ว่าตั้งอยู่บนคาบสมุทร ต้องเข้าไปในอ่าวมีโซ่เหล็กกั้น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะเป็นสุโขไท (ในศิลาจารึก พ่อขุนราม สะกดแบบนี้ ไม่ใช่ สุโขทัย) โดยดินแดนแถบนี้ น่าจะปกครองกันแบบสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นเครือญาติกัน ตั้งแต่ เมืองไชยา นครศรีธรรมราช เพชรบุรี สุพรรณบุรี และในบางช่วงเวลาอาจลามไปขึ้นเหนือถึง สุโขไท (เนื่องจากความเป็น ไท เหมือนกัน) หรือลามลงใต้ ไปมลายู (เกาะสุมาตรา ) ด้วยการรุกราน ตามที่จีนบันทึกว่า มีการรังแก กัน ส่วนศูนย์กลางอำนาจ อาจจะอยู่ที่ว่าในสมัยนั้น มีใครเป็นใหญ่ ในสมัยรามคำแหง อาจเป็นใหญ่ ก็ได้ จึงมีการอ้างว่า อาณาเขตถึงนครศรีฯ ภายหลังเมื่อเจิ้งเหอปราบเมืองไชยาซึ่งเป็นศูนย์อำนาจขณะนั้นได้ ทำให้เมืองสุพรรณบุรี เป็นใหญ่ขึ้นมา ในสมัยเจ้านครอินทร์ (ซึ่งมีข้อสงสัยว่า ได้อำนาจทหารจากจีนเข้าช่วย ดังนั้น อำนาจจากจีน อาจไม่ได้ช่วยกดดันแค่ หลอหู หรือละโว้ แต่ยังเป็นการชิงอำนาจในหมู่ เสียน ด้วยกัน อีกด้วย เพราะเสียนทางใต้ถือว่าตัวเป็นเจ้าสมุทรไม่เป็นมิตรกับจีน ) ดังนั้น ในประวัติศาสตร์อยุธยาจึงปรากฏว่า เมืองในคาบสมุทรทางใต้ถึง เมืองนครศรีธรรมราช เป็นเมืองขึ้นมาแต่ตั้น โดยไม่ปรากฏที่มาที่ไป นี่จึงอาจเป็นประวัติศาสตร์ที่ขาดหายไป
ขอสนับสนุนความคิดเห็นนี้
น่าสังเกตสมัยพ่อขุนราม จีนหยวนถึงยอมส่งอานม้าทองคำให้ก็เเสดงว่าสุโขทัยมีอำนาจมากเเละให้ความสำคัญเพราะทรงขยายอำนาจไปถึงสุมาตรา กองเรือรบสุโขทัยต้องมีมากจึงถึงลงมากันเลย เพราะอะไรเดิมศรีวิชัยอาณาจักรเก่ามีเขตอำนาจสุมาตราขึ้นมาถึงไชยา แดนประเทศไทยตอนนี้หลังจากล่มสลายสาเหตุอะไร แต่ข้อมูลว่าเกิดโรคระบาดขึ้น หลังล่ม สุโขทัยต้องการฟื้นฟู แต่มีการที่มีอำนาจใหม่จะมาปกครองทั้งสุมาตราลามขึ้นมาแพร่ขยายอาจเข้ามาถึงนครศรีซึ่งเป็นมิตรสุโขทัย จึงส่งเรือมาปะทะกัน กองเรือสุโขทัยน่าจะเหนือกว่า ซึ่งหยวนทราบจึงไม่อยากให้สุโขทัยไปรังเกรงเพราะ หยวนจะเอาสะเอง จะได้ปกครองเองน่าคิด อาณาจักรนั้นนะจะคือ ผู้สถาปนาอาณาจักรมัชปาหิต ก็คือ การ์ตะราชะสา (Kertarajasa) หรือ ระเด่นวิชัย ลูกเขยของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสิงหะส่าหรี ซึ่งอยู่บนเกาะชวาเช่นกัน หลังจากสิงหสารีแผ่อำนาจกว้างไกลจนกลุ่มศรีวิชัยต้องถอยออกไปจากเกาะชวา ใน ค.ศ. 1290 อำนาจอันยิ่งใหญ่ของสิงหสารีก็เป็นที่สนใจแก่กุบไลข่านในจีน ซึ่งได้ส่งทูตมาขอเครื่องราชบรรณาการ ในเวลานั้นการ์ตะนคร ผู้ปกครองอาณาจักรสิงหสารีทรงปฏิเสธที่จะส่งมอบเครื่องราชบรรณาการ กุบไลข่านจึงส่งกองเรือถึง 1,000 ลำมาประชิดชายฝั่งชวา ในปี ค.ศ. 1293. ช่วงเวลาพ่อขุนรามมีอำนาจ สรุป ห้ามสุโขทัยแต่จะชงเอง และตบเอง
น่าคิดครับ
อยากทราบว่าไทยเราปัจจุบันนี้ยังจดประวัติศาสตร์อยู่มั้ยค๊ะ (ข้อมูลทุกวันนี้ก็จะเป็นประวัติศาสตร์ของยุคลูกหลานเหลนโหลนต่อไปเหมือนกัน)
18:10 หม่าป้าเอ๋อร์ = มัชปาหิต(ศรีวิชัยโบราณ)
เสียนคือเมืองสุพรรณบุรี (ราชวงศ์สุพรรณภูมิ)บรรทึกบอกว่าอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระนครซึ่งชี้ไปทางสุพรรณบุรี ส่วนล้อหู่คือละโว้(ราชวงศ์อู่ทอง)เดิมเป็นคนล่ะอาณาจักร ต่อมาทั้ง2เมืองรวมศูนย์กลางมาที่อยุธยาจีนเลยเรียกอยุธยาว่าเสียนล้อ หรือเสียนล้อหู่
มีข้อสังเกตุเพิ่มเติมครับ
หมิงสือลู่ เรียก สุพรรณภูมิ ว่า “ซูเหมินปัง”
ส่วนคำว่า “เซียน-หลัวหู” ก็ยังอยู่ (แต่บรรณาธิการใช้คำแปลว่า สยาม-ละโว้)
@@hoyapisak จากหนังสือ "สมเด็จพระนครินทราธิราชข ในหมิงสือลู่ โดย รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล" มีอ้างอิงข้อความในหมิงสือลู่ว่า "暹羅斛國王世子蘇門邦王昭祿群膺"
暹羅斛國王世子 (เซี้ยนหลัวหู กั๋ว หวาง ซื่อจื๋อ) แปลว่า รัชทายาท(世子)ของกษัตริย์(王)ประเทศ(國)เซียนหลัวหู(暹羅斛)
蘇門邦王 (ซู้เหมินปั๊ง หวาง) แปลว่า กษัตริย์(王)แคว้น(邦)ซูเหมิน(蘇門) (ทับศัพท์คำว่า สุพรรณ)
昭祿群膺 (เจ๊าลู่ฉุนอิ๊ง) เป็นทับศัพท์คำว่า เจ้านครอินทร์ (คำว่า ฉุน เป็นการอ่านแบบจีนกลางปัจจุบัน แต่ถ้าเป็นจีนกลางสมัยหมิงต้นๆ อาจจะอ่านว่า คุน ก็ได้ เพราะมีสำเนียงอื่น เช่น ฮกเกี้ยน อ่านว่า ขุน แต้จิ๋ว อ่านว่า คุง กวางตุ้งอ่านว่า ขวั่น )
แปลข้อความนี้โดยรวมทั้งหมด เป็นวลีอธิบายว่า "เจ้านครอินทร์ ผู้เป็นรัชทายาทประเทศเซียนหลัวหู และเป็นกษัตริย์/เจ้าครอง แคว้นสุพรรณ"
สังเกตว่า 暹羅斛 (เซียนหลัวหู หรือน่าจะเป็น อยุธยา) ในบันทึกใช้คำว่า 國 ส่วน 蘇門 (สุพรรณ) ใช้คำว่า 邦
ทั้งสองคำ (國 และ 邦) แปลว่าประเทศได้เหมือนกัน แต่บางที จะใช้คำว่า 邦 ในความหมายนัยว่าเป็นเมืองขึ้น ซึ่งในที่นี้ น่าจะแสดงให้เห็นว่า เมืองสุพรรณ (ตอนนั้น) คงมีสถานะด้อยกว่าอยุธยา
@@hilatchikkakul8980 ขอบคุณครับ
จริง ๆ ข้อความนี้ในหมิงสือลู่ (ฉบับแปลไทย เล่มสีม่วง) ก็มีเช่นกัน (ดังที่ผมยกมาตอบใน comment แรกของผม)
มันทำให้เรารู้ว่า หมิงเรียกสุพรรณภูมิว่า ซูเหมินปัง ในขณะเดียวกัน หมิงเรียกอยุธยาว่า เซียน-หลัวหู )สยาม-ละโว้
ในเล่มสีม่วงนี้ หน้า 50-51 บรรณาธิการอธิบายว่า จีนใช้คำว่า เซียน ในการหมายถึง สุโขทัย-พิษณุโลก
โดยในช่วงดังกล่าว จีนมีปัญหาภายใน กำลังผลัดเปลี่ยนจากหยวน ไปสู่หมิง อาจทำให้จีนตกข่าวความเป็นไปในช่วงสำคัญของเรา คือ สุพรรณภูมิได้ผนวก สุโขทัย-พิษณุโลก ไว้ได้ แต่จีนน่าจะเข้าใจว่าคนผนวกคือ หลัวหู
และภายหลัง เมื่อถึงสมัยเจ้านครอินทร์ครองอยุธยา จีนก็เรียกอยุธยาย่อ ๆ ว่า เซียน (สยาม)
ดังนั้น คำว่า เซียน ที่จีนเรียกในแต่ละห้วงเวลา จึงมีความหมายต่างกัน
ถ้าคุณมีเล่มสีม่วงในมือ ลองพลิกอ่านดูอีกทีนะครับ
@@hoyapisak ขอบคุณมากครับ กระจ่างขึ้นอีกมากเลยว่าแต่ละชื่อใช้ต่างกันในต่างช่วงเวลาเพราะอะไรบ้าง ผมยังไม่มีเล่มสีม่วงครับ พอดีเล่มของคุณรุ่งโรจน์ มาหาได้ออนไลน์ เพราะสงสัยว่า ซูเหมินปัง เขียนภาษาจีนยังไง พอเจอข้อความนี้ ก็ทำให้แน่ใจว่า เขาแยกกันจริงๆ เลยเอามาเขียนอธิบายแบ่งปันด้วย
นาทีที่ 8:24 ที่คุณหอยแจ้งว่า "จิ้มก้อง หรือจีนกลางออกเสียงว่า จิ้นกัง" ไม่ถูกต้องครับ ที่ถูกต้องคือ 進貢 (ตัวเต็ม) หรือ 进贡 (ตัวย่อ) ถ่ายเสียงในระบบพินอินว่า jìngòng เทียบเสียงภาษาไทยได้ว่า จิ้น ก้ง (อาจดูผิด เห็น "ไม้โท" เป็น "ไม้หันอากาศ")
ขอบพระคุณมากครับ เป็นที่ผมพิมพ์สคริปต์มาผิด จากไม้โท เป็นไม้หันอากาศครับ
ผู้ครองนคร อาณาจักร หริภุญไชย
องค์ สุดท้าย คือ องค์ ที่ 47
ชื่อ "พญาญี่บา" ซึ่งครองราชย์ ระหว่าง ปี พ.ศ.1814 - 1836 ( 22 ปี ) คับ อาจารย์ หลังจากนั้น ก็เสีย นคร อาณาจักรหริภุุญไชย ให้แก่ พญาเม็งราย แห่งอาณาจักร ล้านนา คับ อาจารย์ เป็นอัน อวสาร แห่งอาณาจักรหริภุญไชย ที่ ปกครอง นครแห่งนี้ มานาน ถึง 630 ปี และมีเจ้าปกครองนคร ถึง 47 พระองค์ ตั้งแต่ ปี 1206 -1836 คับ อาจารย์
Well, I like the information that makes me going back to the past like adventure ❤❤😮
Thanks 😀
เค้าว่า สมัย กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่มากๆ เป็นมหาอำนาจในแถบเอเชียตะวันออกครับ ค้าขายกันมากที่สุด เจริญที่สุด ไม่แปลกที่พม่าอยากจะท้าบุกไปตีกรุงศรีให้ได้ เพราะ ความยิ่งใหญ่และอาณาจักรที่กว้างใหญ่มากๆ พอๆกับอินเดียเลยครับ เสียดายไทยเราเสียดินแดนให้ฝรั่ง
น้าหอยครับช่วยทํา ช่วยทําความรู้เกี่ยวกับ กรุ่งรัตนโกสินทร์ หน่อยครับ
สุดยอดครับ
จิ๋มก้อง ในความหมายมันอาจ งง...แต่ให้เข้าใจง่ายๆก็คือ การเครรพผู้ใหญ่เวลาเราไปบ้านเขาเพื่อทำมาหากินหรือค้าขาย คือไปสวัสดีเจ้าของบ้านเอาของฝากไปให้
ถูกต้อง
進 จิ้น แปลว่า ให้
貢 ก้ง แปลว่า ของขวัญ ของบรรณาการ
ก็แปลตรงๆจริงๆ
ขอบคุณที่นำมาลงให้ฟังแต่พวกเราคนอีสานไม่มีเขื้อสายสุโขทัย ลพบุรี อยุทธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์เหมือนในประวัติศาสตร์พวกเราคือลาวล้านช้างเข่นเดียวกันกับคนลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง มาสสามิภักดิ์รัตนโกสินทร์ภายหลัง
เขาเอาแค่ไทยภาคกลางไม่เกี่ยวกับภูมิถาคอื่นของไทย
ติดตามนะครับ
ขอบคุณครับ
เสียดายสยามไม่มีแบบนี้ ไม่เช่นนั้นประวัติศาสตร์คงน่าเชื่อถือกว่านี้
หมายถึง การบันทึกประวัติศาสตร์
ด้วยความเคารพ จำปา (จามเป๋นนครเมือง แถวปากแม่น้ำโขง เขมรรบ กับจาม มากสุด น่าจะเป็นชน ชาติฟิลิพปินส์ มาก่อตัวเวียตนานมายุ่งด้วยจีนมารบยุ่งด้วย ) อีก ชามสังคโลกนี่ จีนช่วยสร้างเตาเผาด้วย ติดต่อกันดีมาก เราส่งออกไป อาหรับ แล้วเลยไป ยุโรป ขายต่อ ๆ กันไปน่าจะมี ช่วงหลังพ่อขุุนราม ส่งขายของ ส่งจีนมีหรือจีนขายต่อ กันไปปรากฏที่ยุโรป ครับ ด้วยความเคารพ