รามาวนาคมนัม l นาฏศิลป์สร้างสรรค์ระดับชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 7

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 ธ.ค. 2023
  • รามาวนาคมนัม
    ผู้สร้างสรรค์ : นายอติชาติ จันทร์สุข นางสาวสุคนธา ทัศกุล
    นางสาวศิรประภา ชนะหวังโชคชัย นางสาวชนม์นิภา แสงอุทัย นางสาวบุณฑริกา ละลมชัย
    อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ทรัพย์สถิต ทิมสุกใส อาจารย์อัชฌายง ตรีสมุทร
    วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
    แนวคิดในการสร้างสรรค์งาน
    การแสดงสร้างสรรค์ ชุด รามาวนาคมนัม ได้แนวคิดมาจากมหากาพย์เรื่องรามายณะ ตอน พระรามเดินดง ซึ่งศึกษาความแตกต่างด้านโครงเรื่อง ลำดับโครงเรื่อง ชื่อตัวละคร บริบทของตัวละคร สถานที่เครื่องแต่งกาย และขนบธรรมเนียมประเพณีของมหากาพย์รามายณะ ฉบับวาลมีกิกับบทพระราชนิพนธ์ เรื่องรามเกียรติ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตอน พระรามเดินดง การแสดงสร้างสรรค์ ชุด รามาวนาคมนัม เป็นการแสดงที่ผสมผสานระหว่างนาฏศิลป์ไทย และนาฏศิลป์ตะวันออก (ภารตนาฏยัม) โดยใช้ทฤษฎีคัมภีร์นาฏยศาสตร์ ได้นำการใช้ “มุทรา” มาออกแบบกระบวนท่าที่ใช้ในการประกอบการแสดง อาทิ ท่าภมร ท่ามุทราเคียม ท่ากะฎะกะ ท่าปะตากะ โดยสร้างสรรค์ท่ารำจากภารตนาฏยัม และนาฏศิลป์ไทย ส่วนกระบวนท่ารำใช้หลักการผสมผสานนาฏยจารีต 2 รูปแบบ คือ ภาพลายเส้นในตำราท่ารำนาฏศิลป์ไทยกับภาษามือหรือที่เรียกว่า “มุทรา” ในภารตนาฏยัม ผสมผสานกัน
    รูปแบบการแสดง
    นำแนวคิดในการสร้างสรรค์การแสดงโดยนำขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของรามายณะในการแสดงสร้างสรรค์ ชุด รามาวนาคมนัม โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
    ช่วงที่ 1 สัญจาระพนา นำเสนอเรื่องราวการเดินดงของสามกษัตริย์
    ช่วงที่ 2 บริพัตรวัตถา สื่อให้เห็นถึงการชำระล้างเพื่อเข้าสู่การแปลงเพศเป็นบรรพชิต
    ช่วงที่ 3 สัทธาคงคา การล่องเรือข้ามแม่น้ำและขอพรต่อพระแม่คงคาในการข้ามฝั่ง
    องค์ประกอบในการแสดง
    นักแสดง กำหนดให้ผู้แสดงเป็น พระราม 1 คน พระลักษมณ์ 1 คน นางสีดา 1 คนตัวระบำชาย 2 คน ตัวระบำหญิง 5 คน โดยจะต้องเป็นผู้ที่มีพื้นฐานด้านนาฏศิลป์ไทย มีท่าทางที่สวยงามและสง่าเหมาะสม เพื่อให้การแสดงมีความสมดุลและสวยงาม
    เครื่องแต่งกาย นำแนวคิดในการออกแบบเครื่องแต่งกายมาจากภาพในหนังสือมหากาพย์เรื่อง รามายณะ
    เพลงและดนตรี แนวคิดในการสร้างสรรค์ทำนองเพลงมาจากการนำเรื่องราวตอน พระรามเดินดงรวมไปถึงการสื่ออารมณ์จากจินตนาการของผู้ประพันธ์ ซึ่งบทเพลง รามาวนาคมนัม ได้นำทำนองเพลงและวัฒนธรรมของอินเดียตอนใต้มาเป็นแนวทางในการประพันธ์ทำนอง โดยใช้วงดนตรีร่วมสมัย ผสมผสานระหว่างดนตรีไทยและดนตรีอินเดียตอนใต้เข้าด้วยกัน จนเกิดเป็นทำนองที่มีความร่วมสมัยและสื่อถึงสำเนียงของอินเดียตอนใต้ สอดคล้องกับอารมณ์ของผู้ประพันธ์ที่ต้องการถ่ายทอดเรื่องราวของวรรณกรรม
    อุปกรณ์ กิ่งไม้ ผ้าสายน้ำ พานทอง พานดอกไม้ คันธนู

ความคิดเห็น •