รามายณะ รามเกียรติ์ l นาฏศิลป์สร้างสรรค์ระดับชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ครั้งที่ 7

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 ธ.ค. 2023
  • รามายณะ รามเกียรติ์
    ผู้สร้างสรรค์ : อาจารย์เอกลักษณ์ หนูเงิน
    คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
    แนวคิดในการสร้างสรรค์งาน
    วรรณกรรมรามายณะของประเทศอินเดีย ได้รับความนิยมแพร่หลายในหลายประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งยังได้กลายเป็นวรรณคดีที่มีการดัดแปลงเป็นรามเกียรติ์วรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย ผนวกกับผู้วิจัยที่เคยได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาภารตนาฏยัม ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอินเดีย ได้เล็งเห็นถึงความเชื่อมโยงของการแสดงโขน เรื่องรามเกียรติ์ และการแสดงรามยณะในการแสดงภารตนาฏยัม ของประเทศอินเดีย จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์การแสดงการแสดงสร้างสรรค์ นาฏยภารตะ ชุด รามายณะ รามเกียรติ์ บนพื้นฐานนาฏศิลป์ไทยและนาฏศิลป์อินเดียภารตนาฏยัม เพื่อสื่อ ความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยและประเทศอินเดีย
    รูปแบบการแสดง
    การแสดงสร้างสรรค์นาฏยภารตะ ชุด รามยณะ รามเกียรติ์ เป็นการแสดงละครแบบใหม่ที่เล่าเรื่องราวรามเกียรติ์ และรามายณะเข้าด้วยกัน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังเกิดเป็นมิติใหม่ในการสร้างสรรค์การแสดงของทั้งสองประเทศ รวมถึงยังสามารถใช้นำไปเผยแพร่ได้ทั้งในไทย และอินเดีย การสร้างสรรค์นาฏศิลป์มาบูรณาการไว้ด้วยกัน โดยแบ่งออกเป็น 9 ช่วง ดังนี้ ช่วงที่ 1 พระราม กายะตรี มันตรา ช่วงที่ 2 รามาวนาคมนัม ช่วงที่ 3 พระรามตามกวาง ช่วงที่ 4 สิตาหรัญ หรือลักสีดา ช่วงที่ 5 จตายุโมคชัม ช่วงที่ 6 ถวายพล-จองถนน ช่วงที่ 7 ยกรบ ช่วงที่ 8 ชัยยะแห่งราม ช่วงที่ 9 ศรีราม
    องค์ประกอบในการแสดง
    ผู้แสดง ผู้แสดงจำนวน 9 คน นักแสดงหลักฝ่ายนาฏศิลป์อินเดียจำนวน 3 คน คือ พระราม พระลักษมณ์ และนางสีดา
    นักแสดงฝ่ายไทย 2 คน คือ ทศกัณฐ์และหนุมาน นักแสดงสมทบตัวระบำ จำนวน 4 คนโดยนักแสดงทั้ง 9 คนจะต้องผ่าน
    การฝึกฝนนาฏศิลป์และนาฏศิลป์อินเดียภารตนาฏยัมเป็นอย่างดี เนื่องจากการแสดงชุดนี้จะต้องให้ทักษะของนาฏศิลป์ทั้ง
    สองประเภท
    เครื่องแต่งกาย ได้แนวคิดและแรงบันดาลใจรวมถึงต้นแบบจากรูปแบบการแต่งกาย คือ การแต่งกายนาฏศิลป์อินเดีย
    ภารตนาฏยัมในการแสดงละครของวังกลักเชตราและปฏิมากรรมอินเดีย การแต่งกายของภาพวาดจากตำรารำ จิตรกรรม
    ฝาผนัง ประติมากรรมไทย และการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายของนักแสดงสมทบที่ถูกผสมผสาน
    เพลงหรือดนตรี ผสมผสานเครื่องดนตรี ทำนองเพลงของทั้งสองประเทศอินเดียและไทยให้บรรเลงด้วยกันอย่างลงตัวโดยสอดรับกับอารมณ์การเล่าเรื่องการแสดง
    อุปกรณ์ ธนู อย่างอินเดีย ศรไทย พวงมาลัยคล้องคอ ผางเทียน

ความคิดเห็น • 10

  • @pornchananpusri8131
    @pornchananpusri8131 7 วันที่ผ่านมา

    สวยมากกกกก
    เพลินทุกจังหวะ

  • @Balancier16
    @Balancier16 22 วันที่ผ่านมา

    ชอบมาก ชอบตอนที่ทำเป็นพระนารายณ์ให้หนุมานเห็น และ ตอนที่ทศกัณฐ์ยี่สิบมือ แล้วทำท่าแบบ คล้ายแยกร่าง แต่มือยังสั่น นั่นชัดมากเลย ชอบจุดนี้ แสดงความเป็ฯตัวละครชัดเจน

  • @goany22
    @goany22 4 หลายเดือนก่อน +3

    ผสมผสานสวยงามมากครับ

  • @SS-zi4vh
    @SS-zi4vh 4 หลายเดือนก่อน +1

    สุดยอดดดด เก่งมาก สวยมาก🥰🥰👏👏👏👏🙏

  • @namaoyaoy5761
    @namaoyaoy5761 3 หลายเดือนก่อน

    สวยงาม เพลินใจค่ะ

  • @TheDumsri
    @TheDumsri 2 หลายเดือนก่อน

    สวยงามแปลกตา เข้าใจดำเนินเรื่อง แต่ติดเรื่องตำแหน่งยืนของตัวแสดงหลัก มีบังกันบ้างนะครับ แต่รวม ๆ แล้วดีเลิศครับ

  • @pramotevisalnit492
    @pramotevisalnit492 4 หลายเดือนก่อน

    สุดยอด

  • @crabbycool1008
    @crabbycool1008 4 หลายเดือนก่อน

    ❤❤❤

  • @user-yl8ch1sq2d
    @user-yl8ch1sq2d 5 หลายเดือนก่อน

    ดียยยยยน์

  • @appleThai1957
    @appleThai1957 4 หลายเดือนก่อน

    👏👏👏👏❤️