ประวัติศาสตร์อย่างย่อการวัดอัตราเร็วแสง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 5 เม.ย. 2023
  • หนังสือ "คัมภีร์สัมพัทธภาพพิเศษฉบับทฤษฎีไอน์สไตน์ไม่สมบูรณ์"
    คุณภัทรเดช ตรรกะธีรยากร ผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ เป็นคนที่หลงใหล กับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอนไสตน์ เขาได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นเวลากว่าสิบปี
    หนังสือเล่มนี้ เหมาะกับผู้สนใจขั้นต้นจนถึงขั้นสูง ผู้สนใจทั่วไปที่ไม่มีความรู้เรื่องฟิสิกส์ก็สามารถอ่านได้ เหมาะกับนักเรียน นักศึกษา วิศกร นักวิชาการ ที่ต้องการหาแรงบันดาลใจแปลกใหม่แห่งโลกฟิสิกส์ ผู้เขียนได้ใช้ภาษาที่ง่ายต่อการเข้าใจ ไล่ลำดับตั้งแต่เนื้อหาที่ง่ายไปยาก อ่านง่าย อ่านมันส์
    และจากการจมดิ่งกับทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษเป็นเวลานาน เขาก็พบว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอนไสตน์ มีความไม่สมบูรณ์และขัดแย้งอยู่บางอย่างและมีนัยสำคัญ
    ผู้เขียน และ ดร.จิตกร ผลโยญ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ที่ปรึกษางานเขียนนี้ ก็ได้คิดค้นทฤษฎี ที่จะมาเติมเต็มความไม่สมบูรณ์ของไอนไสตน์ โดยเขาตั้งชื่อทฤษฎีนี้ว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของตรรกะธีรยากร ซึ่งเขาก็ได้เขียนถึงทฤษฎีนี้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย
    ทฤษฎีนี้เพิ่มสัจพจน์ข้อที่ 3 เข้าไป คือ หลักแห่งสามสถานะ ใช้เป็นรากฐานในการสร้างทฤษฎีใหม่นี้ ซึ่งให้ผลแตกต่างเรื่องการยืดหดของเวลา ที่แตกต่างจากทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอนไสตน์ ในลักษณะเติมเต็มให้กับทฤษฎีสัมพัทธพิเศษ
    ซึ่งเขาก็ได้เสนอให้พิสูจน์ทดสอบทฤษฎีใหม่นี้จากการใช้ดาวเทียม 2 ดวงโคจรสวนกันด้วยความเร็วที่ต่างกัน เพื่อพิสูจน์ทฤษฎีนี้ว่าถูกต้องหรือไม่
    สั่งชื้อได้ที่
    / iii3iii.book
    www.iii3iii.com
    คลิปสุ่มผู้โชคดี รับหนังสือฟรี 10 เล่ม • สุ่มผู้โชคดี 10 คน รับ...
    -------------------------------
    แต่ผมต้องขอคอมเมนต์ส่วนนี้ด้วยว่า ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของตรรกะธีรยากร ยังไม่ได้ตีพิมพ์ใน Paper หรือ วรสารวิชาการนานาชาติ ยังไม่ได้ถูกรีวิวจากนักฟิสิกส์ทั่วโลก
    หรือพูดง่ายๆ ก็คือ ทฤษฎีนี้ยังไม่ถูกตรวจพิสูจน์ทางวิชาการระดับสากล แต่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อให้ผู้สนใจได้ช่วยกับขบคิดวิพากษ์วิจารณ์ ถกเถียงกัน เพื่อให้ได้ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษที่สมบูรณ์ขึ้นในที่สุด
    ผู้เขียนแค่เสนอแนวคิดหนึ่งของเขา ว่าแนวคิดนี้จะเติมเต็มทฤษฎีสัมพัทธภาพได้ และเปิดให้คนอื่นๆ มาวิพากษ์ มาถกเถียง ว่าถูกต้อง เป็นไปได้หรือไม่
    เอาเป็นหนังสืออ่านเล่นสนุกๆ เพื่อเป็นความรู้รอบตัว เรียนรู้แนวคิด ที่มาที่ไปทางฟิสิกส์ของผู้เขียนก็ได้อยู่ครับ
    -------------------------------
    เราอยู่กับแสงสว่างมาตั้งแต่เกิด เมื่อเราลืมตา เราก็มองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว มันเป็นเรื่องธรรมดามาก จนเราไม่นึกตั้งคำถาม หรือสงสัยอะไรเกี่ยวกับความสว่างนี้
    หรือตอนกลางคืนที่ควรจะมืดมิด เพียงแค่เรากดเปิดไฟ ทั้งห้องก็สว่างทันที แสงหรือความสว่าง เหมือนปรากฏขึ้นทันทีทั่วทั้งบริเวณห้อง ใครจะไปคิดล่ะ ว่ามันมีความเร็ว มันต้องใช้เวลาเดินทางจากหลอดไฟมาถึงผนังห้องเหมือนกัน
    ซึ่งความเร็วก็คือ ระยะทางหารด้วยเวลา ยิ่งเวลาน้อยเท่าไหร่ ความเร็วก็จะสูงขึ้นเท่านั้น
    อริสโตเติล นักปรัชญาชื่อดังสมัยกรีกโบราณ ยังคิดเลยว่า แสงไม่มีความเร็ว หรือความเร็วมันเป็นอนันต์ คือมันสามารถเดินทางไปปรากฏตัวได้ทุกที่ทันที โดยไม่ต้องใช้เวลา หรือถ้าเขียนแบบสมการก็คือ ระยะทาง หารด้วยเวลาที่เท่ากับศูนย์ ซึ่งนั่นก็ทำให้ความเร็ว มีค่าอนันต์ หรือ Infinity
    ยิ่งสมัยนั้น เชื่อกันว่า แสงถูกปล่อยออกจากตาของเรา แล้วเมื่อแสงไปชนอะไร เราก็มองเห็นสิ่งนั้น ซึ่งคนดังๆ อย่าง Ptolemy และ Euclid ก็สนับสนุนแนวคิดนี้
    ต่อมา เฮโรแห่งอะเล็กซานเดรีย ก็บอกว่า เมื่อเราลืมตา เราสามารถมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ทันที ไม่ว่ามันจะอยู่ห่างไกลสักแค่ไหน ดังนั้น แสงต้องมีความเร็วเป็นค่าอนันต์อย่างแน่นนอน
    โอเค ในปัจจุบันนี้ เราก็รู้แล้วว่า ตาของเราไม่ได้ปล่อยแสง แต่แสง ไปกระทบกับวัตถุแล้วเข้าตาเราต่างหาก และแสง ก็มีอัตราเร็วที่จำกัด ไม่ใช่ Infinity โดยมันถูกกำหนดให้มีอัตราเร็วเท่ากับ 299,792,458 เมตร ต่อวินาที ในสุญญากาศ ถ้ามันเดินทางผ่านตัวกลางอย่างอากาศหรือนำ มันก็จะมีอัตราเร็วลดลงเล็กน้อย
    แต่มันเร็วมากๆ ในเวลาเพียงแค่ 1 วินาที แสงก็เดินทางรอบโลกได้ถึง 7 รอบครึ่งแล้ว มันก็ไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมคนสมัยก่อนถึงเข้าใจว่าแสงมีความเร็วเป็นอนันต์
    แต่สังเกตกันไหมครับว่า อัตราเร็วแสง มีค่าเท่ากับ 299,792,458 m/s เป๊ะ ลงตัว ไม่มีเศษ ไม่มีจุดทศนิยมเลย มันบังเอิญขนาดนั้น หรือเราวัดมันได้แม่นยำขนาดนั้นจริงๆ เหรอ
    คำตอบคือ ไม่ใช่ครับ ค่านี้ไม่ได้มาจากการวัด แต่เรากำหนดค่าให้ความเร็วแสงเท่ากับเท่านี้เลยต่างหาก ทำไมเราถึงทำแบบนั้น การจะไปหาคำตอบเรื่องนี้ เราต้องมาเริ่มกันตั้งแต่ ความพยายามแรกๆ ของมนุษย์ ที่จะวัดความเร็วแสง ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ใครที่ไหน กาลิเลโอ กาลิเลอี นักดาราศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่นั่นเองครับ
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น • 268

  • @thenaturally01
    @thenaturally01 ปีที่แล้ว

    แจ่มมากครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ แน่นมาก

  • @pongkittikhun9603
    @pongkittikhun9603 ปีที่แล้ว +7

    Thanks!
    ทำคลิปมีประโยชน์ดีครับ

  • @pongkittikhun9603
    @pongkittikhun9603 ปีที่แล้ว +1

    คุณพระ!!!!!
    วัดความเร็วแสงจากไมโครเวฟ
    อัจฉริยะจริงๆ

  • @satyas7885
    @satyas7885 ปีที่แล้ว +1

    ชีวิตนี้มีอะไรน่าสงสัยเยอะมากและช่องนี้ก็ทำให้หายสงสัยในลางอย่าง รักช่องนี้มากครับ

  • @kritsadachanthes4325
    @kritsadachanthes4325 ปีที่แล้ว

    มีความรู้จากคลิปนี้แล้ว รู้สึกเท่ห์มากเลยครับ

  • @coachpock1977
    @coachpock1977 ปีที่แล้ว

    สาระแน่นๆ เลยครับ ขอบคุุณครับ

  • @yajuedch
    @yajuedch ปีที่แล้ว +4

    ชอบช่องคุณเอกมากๆครับรอดูทุกคลิป❤

  • @sanfran5607
    @sanfran5607 ปีที่แล้ว

    คลิปนี้เยี่ยมมากครับ 👍

  • @onginov
    @onginov ปีที่แล้ว

    สนุกมาก ๆ เลยเด้อ ❤

  • @user-dx5jm9fp4u
    @user-dx5jm9fp4u ปีที่แล้ว

    ตามมาจากช่องพี่หนุ่มคงกระพันคร้าบบบ
    ฟังเพลินมากๆครับ

  • @neti1136
    @neti1136 ปีที่แล้ว

    ดูจบคลิปแล้วค้าบบ 🎉

  • @khonfairu
    @khonfairu ปีที่แล้ว +14

    ขอบคุณความรู้ดีๆ ที่ฟังเพลินๆ และอธิบายเรื่องยากให้เข้าใจง่ายด้วยนะครับ ❤🎉

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  ปีที่แล้ว +4

      ผมมีไอดอลเป็นคนใฝ่รู้ครับ!

    • @khonfairu
      @khonfairu ปีที่แล้ว +2

      @@curiosity-channel อวยกันเองอยู่นี่แหล่ะ 😂😂

    • @parcwparcw3822
      @parcwparcw3822 ปีที่แล้ว +1

      Fc ทั้ง2ช่องครับ ❤

    • @Destroyer_channel_
      @Destroyer_channel_ 10 หลายเดือนก่อน +1

      ​@@khonfairu ชอบทั้ง 2 ช่องเลยครับ555 KFC ครับ555

  • @arnutsrikotchakrai850
    @arnutsrikotchakrai850 ปีที่แล้ว

    ขอขอบคุณ

  • @user-fx4lo3hh6z
    @user-fx4lo3hh6z 8 หลายเดือนก่อน

    เพลงท้ายคริปเพราะมากคับ

  • @user-py5tc5bw1s
    @user-py5tc5bw1s 4 หลายเดือนก่อน

    ขอให้น้องที่ทำวิดีโอนี้ มีความสุขมากๆ น่ะครับ

  • @mpex-shop
    @mpex-shop ปีที่แล้ว

    ขอขอบคุณ​ และสนับสนุน​ความรู้

  • @pddd_dr
    @pddd_dr ปีที่แล้ว +1

    โอ้โห😲 คลิปนี้ว้าวมาก รู้ที่มาของความเร็วแสง ที่สำคัญพึ่งรู้ว่าความยาวที่ใช้ทุกวันนี้มาจากอะไร😂

  • @einzainnb3867
    @einzainnb3867 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณมากสำหรับรางวัลหนังสือครับ 🎉🎉🎉😊😊😊

  • @user-gh8cw6bh1x
    @user-gh8cw6bh1x 9 หลายเดือนก่อน

    คนสมัยก่อนเก่งมากจริงๆ

  • @Puindy-jp1ls
    @Puindy-jp1ls ปีที่แล้ว +1

    ว้าวววววว หนังสือน่าอ่านมากค่ะ อาจารย์ ม.อุบลฯ บ้านเรานี่เอง

  • @MrYellowAndYacello
    @MrYellowAndYacello ปีที่แล้ว +1

    Finally! After I've been waiting.

  • @007ASTN
    @007ASTN 4 หลายเดือนก่อน

    Thanks!

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  4 หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณมากเลยครับ

  • @mrsirah1904
    @mrsirah1904 ปีที่แล้ว

    อย่างย่อ ดูเวลาคลิปสามสิบนาที นี่ย่อแล้วเนอะครับแอด 😊

  • @PANDA-js2zg
    @PANDA-js2zg ปีที่แล้ว +1

    มึนตึบ มนุษย์ทำไมเก่งจริงๆ

  • @user-bp8yn7xp5l
    @user-bp8yn7xp5l ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากจ้า...🥰🥰🥰

  • @AB_12973
    @AB_12973 ปีที่แล้ว +7

    ไม่ได้ฟังช่องนี้มานาน รู้สึกเลยว่าออกเสียงชัดดีขึ้นมาก ขอชมนะครับ และ เนื้อหาดีเช่นเคย

    • @nightking1607
      @nightking1607 ปีที่แล้ว

      คิดว่าดีก็โอนเลยครับ โอนรึยังครับบัง

  • @intouchsuri2253
    @intouchsuri2253 8 หลายเดือนก่อน

    แสงมีอายุขัยหรือไม่ครับ

  • @chaowaritkoonjah4702
    @chaowaritkoonjah4702 ปีที่แล้ว +6

    อยากให้ทำเรื่อง การสื่อสาร การเกิดคำศัพท์ ที่เราใช้สื่อสารกันว่าเกิดจากอะไร มนุษย์เริ่มพูดเป็นภาษากันเมื่อไหร่อ่ะคับ 👍👍👍

    • @user-ic2ec5ns3c
      @user-ic2ec5ns3c ปีที่แล้ว

      ยากมากครับ

    • @uresia3700
      @uresia3700 ปีที่แล้ว

      ผมก็สงสัยเหมือนกันเลยครับ

    • @user-pn1wi3hg7m
      @user-pn1wi3hg7m 11 หลายเดือนก่อน

      เกิดจากการคุยกัน เกิดเมื่อไหร่คงไม่มีใครตอบได้มั้ง

  • @wern4165
    @wern4165 ปีที่แล้ว +1

    ดูช่องของพี่ผมเก็ตกว่าที่โรงเรียนเสียอีก
    ต่อไปอยากให้ พี่พูดเกี่ยวกับรูหนอนได้ไหมครับ อยากรู้ว่ามันคืออะไร.

  • @arkeam8203
    @arkeam8203 ปีที่แล้ว

    รบกวนช่วยขยายความเรื่องการวัดความเร็วแสงทางเดียวด้วยครับ ประวัติศาสตร์การวัดเป็นการวัดความเร็วแสง 2 ทางไปและกลับตลอดเลยครับ

  • @GamePlayPloy
    @GamePlayPloy ปีที่แล้ว +1

    มาแล้ววว

  • @warathitsirilet9664
    @warathitsirilet9664 ปีที่แล้ว +2

    เย้ๆๆๆ คิดถึงโคตรๆ

  • @canconan
    @canconan ปีที่แล้ว

    สงสัยครับว่า ถ้าเราใช้กรรไกรตัดกระดาษด้วยความเร็วแสง, ตรงปลายกรรไกรจะเคลื่อนที่ด้วยครามเร็วเท่าไร

  • @philosophy1837
    @philosophy1837 ปีที่แล้ว

    Very interesting

  • @user-AekSiamThai1986
    @user-AekSiamThai1986 ปีที่แล้ว

    ทุกอย่างไม่ได้เคลื่อนที่ มีเพียงการหมุนอยู่กับที่ แต่แสงนั้นมาจากดวงอาทิตย์ ที่เดินทางแบบแนวตั้งของโลก เรา เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นสูงเท่าไหร่ คลื่นจากแสงดวงอาทิตย์จะขยายออกไปกว้างรอบทิศทางที่แสงเดินทางไปการเดินทางของแสงดวงอาทิตย์ คือการที่คลื่นที่ขึ้นสู่ที่สูงเท่าไหร่ ยิ่งทำให้แสงเดินทางไกลเท่านั้น แสงดวงอาทิตย์เดินพร้อมด้วยคลื่นพลังงานความร้อน

  • @rotto99
    @rotto99 ปีที่แล้ว

    พี่เจ้าของช่องชื่อว่าอะไรหรอครับ

  • @monke5887
    @monke5887 6 หลายเดือนก่อน

    รักช่องนี้สุดๆ

  • @egch1yearago21
    @egch1yearago21 ปีที่แล้ว +2

    นักวิทยาศาสตร์คือ พ่อมดหมอผี มีสมการตัวแปร กฎต่างๆเป็นคาถา ผลลัพธ์คือเทคโนโลยีต่างๆที่เราใช้อยู่ในปัจจุบัน
    หมอผี บ้านเรา มีคาถา สักยันต์บูชาโน่นนั่นนี่ ห้ามกินโน่นนั่นนี่ ผลลัพธ์ ของขลังเต็มบ้าน ลูกศิษย์เยอะ บ้านเมืองเจริญเท่าเดิม ส่วนคาถาถึงเราท่องได้แต่ทำอะไรได้ สิ่งที่มองไม่เห็นมีไฟฟ้า สนามแม่เหล็ก คลื่นความถี่ต่างๆ เลือกเอานะ จะเชื่อ จะบูชา อะไร

    • @user-cj7hs9jp7k
      @user-cj7hs9jp7k ปีที่แล้ว

      นักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่หมอผีค่ะ คนละความหมายกัน ว่างๆก็ไปเปิดราชบัณฑิตนะคะ อย่าเอาคำนั้นแทนคำนี้ ไม่งั้นจะมีการสร้างนามสรรพนามทำไม ใช้คำเดียวกันสิ 5555

    • @user-pn1wi3hg7m
      @user-pn1wi3hg7m 11 หลายเดือนก่อน

      ประเด็นอยู่ตรงไหนเนี่ย

  • @pongsatronlertrung7895
    @pongsatronlertrung7895 11 หลายเดือนก่อน

    พอดีสงสัยคำว่าผลที่เกิดจากสิ่งหนึ่ง จะกระทบอีกสิ่งหนึ่ง ด้วยความเร็วไม่เกินความเร็วแสง อะครับ
    กระบองไม้ทรงกลมเล็กเรียว ยาวมากๆ ประมาณซัก 1 ล้านกิโลเมตร แล้วผมหมุนกระบองไม้นี้จากต้นกระบอง 1 รอบ ด้วยความเร็ว 1 วินาที
    ที่สงสัยคือ ปลายกระบองของไม้ จะหมมุนตามทันทีไหมครับ
    หรือภาพที่เห็นที่แท้จริง คือมันหมุนแบบ เกรียว ค่อยๆไหลไปถึงปลายครับ

  • @user-tr1dg1pf2r
    @user-tr1dg1pf2r ปีที่แล้ว

    แสงจากสปอร์ตไลท์ฉายแสงออกไปจากแหล่งกำเนิดตอนกลางคืน แต่ทำไมแสงไฟจากสปอร์ตไลท์จึงเดินทางไปในช่วงระยะทางหนึ่งเท่านั้นแสงจะหยุดเดินทางโดยปลายสุดท้ายของแสงเป็นรูปทรงกลมคล้ายโดนัทห่างจากจุดกำเนิดประมาณ2-3กิโลเมตร คนที่ไม่เคยเห็นจะตื่นตกใจกลัวคิดว่าเป็นกระสือหรือเป็นการกระทำของมนุษย์ต่างดาว หรือนี่คือจุดเปลี่ยนจากการเดินทางของแสงไปเป็นคลื่น.

  • @ufo428
    @ufo428 ปีที่แล้ว

  • @UzumakiDLuffy-sg1iy
    @UzumakiDLuffy-sg1iy 8 หลายเดือนก่อน

    ล้ำสุดๆ 1เมตรวัดจากความเร็วแสง ถ้าแสงคือค่าคงที่

  • @nohnohh2235
    @nohnohh2235 ปีที่แล้ว

    ສະບາຍດີ ຈາກປະເທດລາວເດີ,Hello from Laos

  • @badsectorz
    @badsectorz 12 วันที่ผ่านมา +1

    ขอบคุณที่เลิกหลอกลวงขายแว่นตัดแสงสีฟ้า สักที

  • @user-AekSiamThai1986
    @user-AekSiamThai1986 ปีที่แล้ว

    การเดินทางของแสง จะเดินทางพร้อมคลื่นความถี่ของคลื่นวิทยุ ในการวัดระยะทาง

  • @S13E31
    @S13E31 ปีที่แล้ว

    ❤❤❤❤

  • @dusitz
    @dusitz ปีที่แล้ว

    ชื่อผมขึ้นเป็นผู้โชคดีอันดับแรกเลย ขอบคุณมากครับ

    • @iii3iii610
      @iii3iii610 ปีที่แล้ว +1

      ยินดีด้วยครับ คุณดุสิต ส่งชื่อ,ที่อยู่,เบอร์โทร มาที่ inbox แล้ว , กำลังจัดส่งให้นะครับ

  • @user-AekSiamThai1986
    @user-AekSiamThai1986 ปีที่แล้ว

    นักวิทยาศาสตร์ในอดีต เขาศึกษาแสงและการเดินทางของแสงจากดวงอาทิตย์ และความเร็วแสงสามารถวัดการเดินทางของแสงโดยวัดการคลื่นที่ของกระแสแสงที่เดินทางผ่านเลนส์การตรวจจับโดยคลื่นแม่เหล็กวัดอุณหภูมิความร้อนของแสงที่เดินทางอางไป เมื่อแสงเดินทางไปชนบางอย่าง ที่แสงไม่สามารถผ่านได้ การเคลื่อนที่กี่จะหยุด

  • @NormalVillager
    @NormalVillager ปีที่แล้ว

    รอเม้นพุทโธเลี่ยนมาเคลม

  • @piyasang1
    @piyasang1 11 หลายเดือนก่อน

    อยากรู้ axion

  • @DRtr-ro5yo
    @DRtr-ro5yo 8 วันที่ผ่านมา

    เจ้าของช่องน่ารัก

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  8 วันที่ผ่านมา +1

      ขอบคุณครับ ภรรยาผมก็บอกแบบนั้นเหมือนกันครับ

    • @DRtr-ro5yo
      @DRtr-ro5yo 8 วันที่ผ่านมา

      ดูลุคต้าวหมี พ่อไมโครเวฟดีครับ

  • @S13E31
    @S13E31 11 หลายเดือนก่อน

    พวกเราแค่ยังไม่เข้าใจทั้งหมด แต่ก๊ถือว่าสุดยอดล่ะที่วัดได้

  • @SnackEyE
    @SnackEyE 6 หลายเดือนก่อน

    👍❤️

  • @booska5
    @booska5 หลายเดือนก่อน

    👍👍👍

  • @pingping1211
    @pingping1211 ปีที่แล้ว +59

    ตายตาหลับแล้ว รู้สักทีว่าวัดยังไง😂

    • @tubtimthachang9845
      @tubtimthachang9845 ปีที่แล้ว +8

      เดี๋ยวอย่าเพิ่งตายดิ😂

    • @Vey-Lar-Tee-Mear_Gu-Fine
      @Vey-Lar-Tee-Mear_Gu-Fine ปีที่แล้ว

      ไปสู่สุคตินะครับ ไม่น่ารีบเลยนะครับ โถๆๆ

    • @w3andrea712
      @w3andrea712 ปีที่แล้ว +5

      มีอีกเยอะให้เรารู้ หลายศาสตร์ อย่าพึ่งรีบตายเอาความรู้ไปสืบทอดให้ รุ้นหลังด้วย

    • @user-jh4mm6rs8y
      @user-jh4mm6rs8y ปีที่แล้ว +2

      เดี๋ยวก่อนครับมันมีอะไรที่เร็วกว่าแสงอีก

    • @w3andrea712
      @w3andrea712 ปีที่แล้ว +2

      @@user-jh4mm6rs8y ตอนนี้ยังไม่มี

  • @sitthichaisodsai4474
    @sitthichaisodsai4474 11 หลายเดือนก่อน +1

    อึ้งวิธีวัดความเร็วแสงโดยใช้ฟันเฟืองอะ คิดได้ไง โคตรฉลาด เมื่อก่อนผมเคยคิดตามประสาคนธรรมดาว่าอยากวัดความเร็วแสงจังว้า แต่คิดไม่ออก555

  • @user-rq9cg2yg9f
    @user-rq9cg2yg9f 2 หลายเดือนก่อน

    ขอทราบว่าความเร็วแสง ที่แน่นอนว่าหน่วยที่ใช้วัดความเร็วแสงที่เป็นค่ามาตรตฐาน เป็นเมตรต่อวินาที หรือ กิโลเมตรต่อวินาที เพราะว่าในคลิป ที่นำเสนอ มีการใช้ความเร็วแสงระบุทั้งสองอย่าง ก็เลยไม่ทราบว่าเป็นเมตร หรือกิโลเมตรอันไหนเป็นค่าที่แท้จริง

  • @citizenlovedevelopment
    @citizenlovedevelopment ปีที่แล้ว

    โบราณคิดนั้น ใช้ไม่ได้อีกต่อไป ใช้หลักการนี้เฉพาะในดาวในจักรวาล และไม่สามารถไปใช้กับการอวกาศ ที่ไร้แรงโน้มถ่วงใดๆ และสามารถเร่งเพิ่มความเร็วได้ ตามปัจจัยแรงขับ ทั้งหยุดและต่อเนื่อง แต่ทิศทางนั้นจะต้องควบคุม

  • @tkbababa4181
    @tkbababa4181 ปีที่แล้ว

    พี่ครับ ผมว่าเสียงในคลิปมันเบาไปหน่อยนะครับ อยากให้เพิ่มให้ดังกว่านี้อีดนิดครับ เป็นกำลังใจให้ต่อๆไปครับ

  • @jimkassana
    @jimkassana ปีที่แล้ว

    ถ้าแสงออกจากตาได้ เราต้องมองเห็นในที่มืดได้ทุกที่

  • @pondpond8625
    @pondpond8625 ปีที่แล้ว +1

    พี่ครับ จะอุดหนุนหนังสือได้ที่ไหนครับ

  • @yaazilla
    @yaazilla ปีที่แล้ว

    ❤❤❤😊

  • @ytpm019b
    @ytpm019b 10 หลายเดือนก่อน

    มีคนเก่งกว่า ไอสไตน์อีก สุดยอด 😅

  • @ottovarinthon
    @ottovarinthon ปีที่แล้ว

    เพลงท้ายคลิปเพราะมากครับ 55555555

  • @imznoname8896
    @imznoname8896 8 หลายเดือนก่อน

    เจอแต่ช่องที่โชว์ภูมิ บอกว่าความเร็วแสงมีค่าเท่าไหร่แต่ถามว่าใครวัดมา ไม่มีใครตอบ เพิ่งจะเจอช่องนี้แหละครับ ที่บอกว่าใครไปวัดความเร็วแสงมา ขอบคุณครับ

  • @wiwatadeemak628
    @wiwatadeemak628 ปีที่แล้ว +1

    แมลงวัน​ตัวนั้นบินด้วยอัตรา​ความเร็ว​เท่าไหรคับ😂

  • @Pongsakorn_Kamfuk
    @Pongsakorn_Kamfuk ปีที่แล้ว

    ความเร็วแสงว่าเร็วแล้ว แต่ถ้าเจอการเดินทางระหว่างดวงดาวเร็วกว่าแสงเยอะครับ😊😂😂😂😂🤖👽💯%

  • @user-jx9iz6xq1m
    @user-jx9iz6xq1m ปีที่แล้ว

    😊

  • @user-by6hq1er7h
    @user-by6hq1er7h 3 หลายเดือนก่อน

    สมมุติถ้าเราลอยตัวเหนือพื้นเดินได้ ลอยจะลอยไปตามโลกหรือหยุดนิ่งอยู่ที่เดิมครับ

  • @34-suepsakun
    @34-suepsakun ปีที่แล้ว +3

    ทำไมผมจำได้ว่าความโน้มถ่วงเร็วกว่าแสง ถ้าดวงอาทิตย์หายไปโลกจะหลุดวงโคจรทันทีแต่แสงต้องรออีกแปดนาที... สงสัยผมจะจำผิด คงต้องไปนั่งไล่หาว่าจำมาจากไหน

    • @ronncruz7815
      @ronncruz7815 2 หลายเดือนก่อน

      แสงที่เราเห็นที่ส่งมาจากดวงอาทิตย์ แสงใช้เวลาเดินทางมาถึงโลก 8 นาทีคับ ด้วยระยะห่างที่ไกลมาก

  • @MrLemonchang
    @MrLemonchang ปีที่แล้ว

    ให้วัดให้ถูกจริงๆคงต้องไปนับยอดคลื่นเฉลี่ยต่อเวลาต่อความยาวคลื่น แต่วิธีการนี่ยังไงหว่า แล้วก็ยังติดเรื่องเวลาอีกว่าเวลามีจริงมั้ย เวลามีการเปลี่ยนแปลงที่คงที่มั้ยอีก ไม่งั้นทุกอย่างก็แตกหมด 😅

  • @Zeeawon
    @Zeeawon ปีที่แล้ว

    ลึกซึ้งง งง ในงง

  • @club1199
    @club1199 10 หลายเดือนก่อน

    การิเลโอ มีทุกงานจริงๆ😅😅😅

  • @moknarak
    @moknarak ปีที่แล้ว

    15.00 แมลงวัน ก็มาด้วย 55

  • @kittipong04
    @kittipong04 ปีที่แล้ว +1

    ทำไมผมมองแต่แมลงวันที่แขน

  • @oxy20001
    @oxy20001 ปีที่แล้ว

    สวัสดีครับ

  • @reaguesmanga969
    @reaguesmanga969 8 หลายเดือนก่อน

    ชอบมากครับ เปิดความเข้าใจผมเลยขากไม่ชอบ วิทย์กลายเป็นคลั่งเลยทุกสูตรทุกตัวแปลมีที่มาละใช้งายได้จริงสุดยอดมากครับวิเศษมากครับ

  • @isusmoss
    @isusmoss 9 หลายเดือนก่อน

    ขนาดผมตั้งใจฟังยัง งง เลยครับนับถือนักวิทยาศาสตร์จริงๆ

  • @chanapis
    @chanapis 3 หลายเดือนก่อน

    สมมุติดวงอาทิตย์หายไป ทำไมอีกแปดนาทีแรงโน้มถ่วงถึงหายไป ครับ พร้อมความเร็วแสงเลย

    • @ronncruz7815
      @ronncruz7815 2 หลายเดือนก่อน

      เราห่างจากดวงอาทิตย์มากคับ ดังนั้นถ้าดวงอาทิตย์หายไป กว่าเราจะรับรู้ได้ต้องรอผ่านไป 8 นาทึ กว่าเรรจะเห็นว่าแสงหายไป

  • @user-vr8mb9vd2p
    @user-vr8mb9vd2p ปีที่แล้ว

    แล้วเวลาละรู้ได้ไงว่ามันถูกต้องอะครับ ในเมื่อตวามเร็วแสงก็ตั้งขึ้นเอง ด้วยระยะทางส่วนเวลา

    • @bonddna1986
      @bonddna1986 ปีที่แล้ว

      เวลาในที่นี้ ถ้าหมายถึงที่เป็นหน่วยวินาที เรามีค่ากลางสากลวัดอยู่ โดยอ้างอิงจากธรรมชาติของธาตุซีเซียม-133 รายละเอียดไปหาเพิ่มเติมนะครับ// แต่ถ้าเวลาที่เป็นแบบ "เวลา" เลยเนี่ย ต้องไปดูทฤษฎีสัมพันธภาพเลยครับ ยาวววว .. แต่เท่าที่เข้าใจ จขมน่าจะหมายถึงแค่ วินาที ใช่ไหมครับ

    • @unirax8628
      @unirax8628 ปีที่แล้ว

      @@bonddna1986 แล้วเวลาพวกวินาทีอะไรแบบนี้เราใช้การหมุนของโลกมาเป็นตัวเทียบแล้วหารเป็นสเกลมาเป็นวินาทีนาทีใช่ใหมครับ

    • @unirax8628
      @unirax8628 ปีที่แล้ว

      @@bonddna1986 อันนี้ก็ถือเป็นค่านิยามคำว่าเวลาแค่ในโลกเราใช่ใหมครับ จะเอานิยามเวลาอันนี้ไปใช้ที่ดาวอื่นที่แตกต่างจากเราไม่ได้ใช่ใหมครับ

    • @bonddna1986
      @bonddna1986 ปีที่แล้ว

      @@unirax8628 ตามที่ผมเข้าใจนะครับ ถ้าดาวอื่นนี่หมายถึงมนุษย์โลกเดินทางไปวัดที่ดาวอื่น ก็ยังคงใช้นิยามนี้ได้ หน่วยวินาทีภายในกรอบอ้างอิง น่าจะเท่ากันทั้งหมด // แต่ถ้าดาวอื่นนี่หมายถึงเอเลี่ยนจะใช้หน่วยวินาทีเหมือนกันไหม ผมคิดว่าไม่น่าเหมือนกัน เค้าอาจจะนิยามหน่วยของตัวเองไปอีกแบบ ตามสภาพแวดล้อมหรือวัฒนธรรมของเขา ///สรุปคือวินาทีเป็นหน่วยที่มนุษย์เราตั้งขึ้นเอง ก็จริง แต่เรามีวิธีที่เป็นมาตรฐานพอที่จะเป็นหน่วยที่เสถียรกว่าการตั้งเองลอยๆ แบบที่จขมแรกสงสัย ประมาณนี้อะครับที่ผมอยากจะสื่อ

    • @user-pn1wi3hg7m
      @user-pn1wi3hg7m 11 หลายเดือนก่อน

      มันไม่ยากนะ เหมือนเงินบาทเอาไปใช้ในอเมริกา

  • @peradolthaimanit
    @peradolthaimanit 5 หลายเดือนก่อน

    น่าสนใจไม่หาความเร็วแสงว่าเร็วเท่าไหร่ แต่นิยามขึ้นมาเลยและปรับ ระยะ 1 เมตรให้สัมพันธ์กับความเร็วแสงแทน และทำไมไม่นิยามให้ รวามเร็วแสงเท่ากับกับ 300,000 km/h ไปเลยล่ะครับ จะได้คำนวนง่าย

    • @seksan4507
      @seksan4507 2 หลายเดือนก่อน

      เขาเอามาจากค่าที่ทดสอบ แล้วได้ค่าสูงสุดไงครับ ตามที่คลิปบอก

  • @gigabeatep
    @gigabeatep ปีที่แล้ว

    นักวิทย์ทดลองยังไงหรอครับว่าแรงโน้มถ่วงมีค่าเท่ากับความเร็วแสง

  • @khemp.9974
    @khemp.9974 ปีที่แล้ว

    ผมมีข้อสงสัยครับ สมมติว่ามีเฟืองอยู่2ชิ้น อยู่บนโลก1ชิ้นและอยู่บนดาวอังคาร1ชิ้น คล้องกันด้วยโซ่แบบรถจักรยาน ถ้าหมุนเฟื่องที่อยู่บนโลกแล้วเฟื่องที่อยู่บนดาวอังคารจะหมุนตามทันทีไหมครับ และถ้าหมุนตามทันทีจะถือว่าพลังงานจลน์เร็วกว่าแสงไหมครับ

    • @tsctossapol
      @tsctossapol ปีที่แล้ว +1

      ไม่ครับ เพราะอนุภาคของโซ่ยึดกันด้วยแรงแม่เหล็กไฟฟ้าซี่งส่งแรงยึดกันด้วยอนุภาคโฟตอน(แสง) ทำให้กว่าจะส่งแรงดึงได้ ก็ไม่เร็วกว่าแสงอยู่ดีครับ

    • @user-pn1wi3hg7m
      @user-pn1wi3hg7m 11 หลายเดือนก่อน +1

      ถ้าโซ่ของคุณดีมาก มีความคงทนระดับอนุภาค การต้านทานการส่งต่อพลังงานเป็น0 ผมว่าก็ได้นะ

    • @seksan4507
      @seksan4507 2 หลายเดือนก่อน

      ถ้าไกลขนาดนั้น...ต้องใช้แรงเท่าไรละครับ 😂😂😂

  • @worakornnattamangkang3658
    @worakornnattamangkang3658 ปีที่แล้ว

    อยากให้คนช่างสงสัย ทำคลิปเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ของ Sex เกี่ยวกับการวิวัฒนาการของมนุษย์ ทำไมมนุษย์ถึงมีSexเพื่อความเพลิดเพลินไม่เหมือนสิ่งมีชีวิตอื่น ที่ใช้ Sexเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์

  • @kaptanjay26
    @kaptanjay26 ปีที่แล้ว

    นี้ถ้ากาลิเลโอมาเกิดในชาตินี้เราคงได้รู้ความลับจักรวาลมากกว่านี้แน่ๆ😅คนอะไรฉลาดเกิ้นนน

  • @popnijtawat5987
    @popnijtawat5987 2 หลายเดือนก่อน

    นาที 13.10 ค่าคลาดเคลื่อนที่ 0.4% ผิดนะคับ ต้อง 0.04% มิฉะนั้นคือผิดพลาดเกือบครึ่ง

  • @RayOutThurston
    @RayOutThurston ปีที่แล้ว

    เค้าจ้างแบรรี่อันเลน ไปวัดค่าให้

  • @aotto7792
    @aotto7792 ปีที่แล้ว

    ิอยากใด้หนุงสืออ่ะครับเอก😅😂

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  ปีที่แล้ว

      ซื้อที่ inbox ในเพจ facebook.com/curiositychannelth ได้เลยครับ

  • @wutichaijidrajumnong7667
    @wutichaijidrajumnong7667 ปีที่แล้ว

    อยากสั่งหนังสือผ่านคนช่างสงสัยพร้อมส่วนลด 12% ต้องทำยังไงครับ

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  ปีที่แล้ว

      ทัก inbox ในเพจเลยครับ facebook.com/curiositychannelth

  • @alphathanatchanan9800
    @alphathanatchanan9800 ปีที่แล้ว

    ผมชอบเวอร์ชั่นไม่ใส่แว่นแบบนี้มากกว่า

  • @gz1532
    @gz1532 ปีที่แล้ว

    แต่พระบิณฑบาตเร็วกว่าแสงนะครับ

  • @user-mn2qs2mh1z
    @user-mn2qs2mh1z 3 วันที่ผ่านมา

    แต่จักรวาลดันขยายตัวเร็วกว่าความเร็วแสงซะงั้น

  • @user-me9kc2ec9g
    @user-me9kc2ec9g ปีที่แล้ว

    ถ้าแสงมีความเร็วเป็นอนันเราจะเห็นภาพเป็นยังไงครับ

  • @NQQNE
    @NQQNE ปีที่แล้ว

    ดูวิดีโอจบแล้วและกดถูกใจให้แล้ว แต่จะไม่เม้น วันนี้อารมณ์ไม่ดี

    • @vanhydroultimate3228
      @vanhydroultimate3228 ปีที่แล้ว

      เราก็ไม่กล้าเม้นๆนี้เพราะเขาอารมณ์ไม่ดี

  • @user-fl1jt6yw6e
    @user-fl1jt6yw6e ปีที่แล้ว

    ส่องดวงจันทร์ไอโอวัดแสงตั้งแต่ยังไม่มีสุโขทัยเลยนะนั่น น่าทึ่ง
    9:02 ความจริงดาวพฤหัสก็ไม่ได้อยู่นิ่ง ๆ นะ โคจรรอบดวงอาทิตย์เหมือนกัน การคิดคำนวณเรขาคณิตจริง ๆ คงจะซับซ้อนกว่านี้มาก และตอนนั้นเขารู้เส้นผ่าศูนย์กลางของดาวพฤหัสรวมถึงระยะห่างจากไอโอกับพื้นผิวดาวพฤหัสได้อย่างไรนะ

  • @OngSK1983
    @OngSK1983 ปีที่แล้ว

    มาเงียบๆๆๆ

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  ปีที่แล้ว +1

      อันนี้เร่งรีบมาก เลยไม่ได้โปรโมทเลยครับ

  • @Issara87
    @Issara87 ปีที่แล้ว

    ช่วงนาที23ครึ่ง ไม่ทราบว่าพี่เอกพูดผิดเปล่าครับ ที่ว่าหากเกิดอะไรกับดาวอังคาร เฉลี่ยประมาณ12นาทีจะมีผลมาถึงโลก
    ถ้าจำไม่ผิดดวงอาทิตย์ห่างโลก8นาทีแสง ดวงอังคารห่างโลก4นาทีแสง พี่เลยหลงเอาตัวเลขมารวมกันเป็นระยะจากดวงอาทิตย์มาดาวอังคารหรือเปล่า หรือเหตุผลอื่นที่ผมไม่ทราบ

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  ปีที่แล้ว +1

      แสงเดินทางจากดาวอังคารมายังโลกเมื่อวงโคจรเข้าใกล้กันมากที่สุดแสงจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 182 วินาทีหรือ 3.03 นาที และเมื่อวงโคจรออกห่างไกลกันมากที่สุดแสงจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 1,342 วินาทีหรือ 22.4 นาที โดยระยะเวลาเฉลี่ยที่แสงเดินทางจากดาวอังคารมายังโลกโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 751 วินาทีหรือเพียง 12.5 นาที
      ประมาณนี้ครับ
      แต่ก็ขอบคุณที่ท้วงติงครับ เพราะบางทีผมก็หลุดจริงๆ จะได้คอมเมนต์แก้ไขได้

    • @Issara87
      @Issara87 ปีที่แล้ว

      @@curiosity-channel ใช่ครับ ผมก็จำแค่ค่าเดียว ลืมว่ามีระยะห่างวงโคจรที่ไม่เท่ากันด้วย

    • @user-pn1wi3hg7m
      @user-pn1wi3hg7m 11 หลายเดือนก่อน

      ที่เขาพูดช่วงนั้นว่า"12นาทีจะมีผลมาถึงโลก" เขาไม่ได้พูดถึงแสง แต่พูดถึงแรงโน้มถ่วง ฟังใหม่ครับ

    • @Issara87
      @Issara87 11 หลายเดือนก่อน

      @@user-pn1wi3hg7m บอกตัวเองไปฟังใหม่นะ มั่วจริง ทำความเข้าใจแสงและแรงโน้มถ่วงก่อนดีมั้ย

    • @user-pn1wi3hg7m
      @user-pn1wi3hg7m 11 หลายเดือนก่อน

      @@Issara87 โอ๊ะ จำเลขผิด แต่เขาก็พูดถึงแรงโน้มถ่วงปะ 8นาทีหลุดจากวงโคจร ไม่ใช่มืด

  • @osion1846
    @osion1846 ปีที่แล้ว +1

    ไม่ใช่ 300,000 km/s หรอคับ?

    • @spiderpocky
      @spiderpocky ปีที่แล้ว

      ถ้าจะปัดกลมๆ ให้คำนวนง่ายๆ สไตล์ ฟิสิกส์ ม.6 ก็โอเคอยู่ครับ

  • @SaharatLM10
    @SaharatLM10 ปีที่แล้ว

    ผมงงอ่ะ ใช้ความเร็วเเสงในการกำหนดหน่วยเมตร ทั้งๆที่ความเร็วเเสงมันก็ยังใช้หน่วยเมตรอ้างอิงอยู่เลย ถ้ามันอ้างอิงกันเอง เเบบนี้ ถ้าเราไม่รู้ความยาว 1 เมตร เราก็ไม่รู้ความเร็วเเสง เเล้วเราก็จะกำหนดความยาวเมตรไม่ได้สิ งงไหม😅

    • @god_rhythm
      @god_rhythm 6 หลายเดือนก่อน

      เขาบอกว่า ค่าของแสงมันคงที่ครับ มันไม่ได้วัดจากเมตร
      เขาเลยเปลี่ยนหน่วยเมตรให้ค่าคงที่ของแสงไม่มีทศนิยมเพื่อให้มันง่าย
      และที่เขารู้ค่าคงที่ของแสงได้มันก็อยู่ในคำถามอะแหละ
      แสงเป็นค่าคงที่ จะกำหมดให้มันอยู่ในการวัดแบบไหนก็มีค่าเท่าเดิมเสมอ
      เขาเลยกำหนดค่าคงที่ของแสงไว้เลย
      แล้วค่อยเปลี่ยนหน่วยเมตรให้สอดคล้องกับค่าคงที่ของแสง
      1เมตร=1/ค่าคงที่ของแสงใน1วิ
      1/ค่าคงที่ของแสงใน1วิ=1เมตร
      จบ
      จบสวยด้วย

  • @rattanapinsukkasam9772
    @rattanapinsukkasam9772 ปีที่แล้ว +1

    อุณหภูมิล่ะครับ มีความเร็วมั้ยครับ

    • @rattanapinsukkasam9772
      @rattanapinsukkasam9772 ปีที่แล้ว

      เพราะว่า มากไปก็ร้อน น้อยไปก็หนาว

    • @curiosity-channel
      @curiosity-channel  ปีที่แล้ว

      อุณหภุมิ คือการสั่นไหวของอนุภาคครับ ความเร็วของมันก็เท่ากับความเร็วในการถ่ายพลังงานจลน์ของอนุภาค คือเร็วมากๆ แต่ก็ไม่ถึงความเร็วแสงครับ