สถิติวิจัย I การสืบค้นงานวิจัยและบันทึกตารางสรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง I How to search research paper

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 ส.ค. 2021
  • เพื่อการสร้างรากฐากที่ดีสำหรับการทำวิจัย องค์ความรู้แรกเริ่มที่นักวิจัยควรต้องมี คือ การสืบค้นงานวิจัยให้เป็น รู้จักแหล่งที่เก็บงานวิจัย และเมื่อได้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้ว นักวิจัยควรจะสรุปสาระสำคัญของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นภาพรวมของงานวิจัยทั้งหมดอย่างกระจ่างชัด
    1) How to search research paper?
    2) How to Write a Conclusion for a Research Paper?
    การสืบค้นใดๆ จะสามารถสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วได้นั้น ผู้สืบค้นจำเป็นที่จะต้องทราบแหล่งสืบค้นที่เหมาะสม สำหรับนักวิจัยก็เช่นกัน การค้นหางานวิจัยอ้างอิง นักวิจัยต้องรู้จักแหล่งค้นหางานวิจัยอ้างอิงหลายๆ แหล่ง เพราะบางครั้งบริบทที่เราสนใจศึกษา อาจไม่ได้อยู่ในแหล่งเดียว เราจำเป็นต้องใช้ความรอบรู้ในการค้นหาอย่างเต็มที่ และจะต้องทำทราบหลักการค้นหาที่ดี เช่น การกำหนดคำสำคัญต่างๆ และเมื่อได้งานวิจัยอ้างอิงที่ต้องการแล้ว ก็ต้องสามารถสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเขียนการทบทวนวรรณกรรม รวมถึงใช้ในการอภิปรายผลต่อไปได้
    #finding #researchpaper #journal #database #researchtips #basicstatistics #statistics #statisticsfordatascience
    #research #businesscoach #accounting #financialeducation #marketanalysis #marketingstrategy #businessidea #businessideas #leadershipdevelopment #leadershipskills #AI #python #iot
    ติดตามคอร์สสอนด้านสถิติ วิจัย ธุรกิจ บัญชี ภาษี การตลาด และ AI & IOT ได้จากลิ้งค์ด้านล่างนี้นะคะ
    #สถาบันกวดวิชา
    สถาบันวิจัยและพัฒนาธุรกิจ SEMec Centre
    #ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ #startup #semec
    TeachSEMbyDr...
    Address: 106/3 ซอยรามคำแหง 43/1 แขวง/เขตวังทองหลาง กทม.10310
    Tel :089-4099945
    Email: semeccentre@gmail.com
    Line ID: thip_chigo

ความคิดเห็น • 30

  • @user-bx6xb9gt7t
    @user-bx6xb9gt7t 2 ปีที่แล้ว +7

    หลักในการทำวิจัย จะประกอบไปด้วย 3 key point
    1. ต้องมีงานวิจัยที่เป็น Masterpiece เพื่อเป็นต้นแบบในการเขียนงานวิจัยที่เราสนใจ
    2. ค้นคว้าตัวแปรหรือความสัมพันธ์ของตัวแปร ในบริบทของเราที่สนใจในการทำวิจัย
    3. ตรวจสอบงานวิจัยของเรา กับการสืบค้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่า งานวิจัยของเราไม่ซ้ำกับใคร
    ซึ่งจาก Clip อาจารย์แจงถึงแหล่งข้อมูลที่เราสามารถสืบค้นงานวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงเป็นงานวิจัยที่ไม่เก่าเกินไปกว่า 5 ปีและเป็นการสืบค้นเพื่อให้มั่นใจได้ว่างานวิจัยของเราที่ทำการวิจัย มั่นใจได้ว่าไม่ซ้ำกับใคร รวมถึงมาเป็นการสนับสนุนสมมติฐานของเรา โดยตาราง Excel เมื่อดำเนินการหาแหล่งที่มาหรือวิทยานิพนธ์ที่นำมาอ้างอิงก็จะสามารถส่งผลให้เราสามารถทำงานวิจัยในช่วงของบทที่ 4 - 5 ได้รวดเร็วขึ้น

  • @Shoutaianshabu.Staff1
    @Shoutaianshabu.Staff1 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณอาจารย์มากๆ ที่ช่วยนี้แนะ ทางสว่าง ตอนนี้กำลังทำวิจัยอยู่ที่ไม่ทราบจะหาข้อมูลยังไง ทำสถิติยังไง อาจารย์อธิบายได้ละเอียดทุกขั้นตอน มีประโยชน์และเป็นบุญมากๆ ในการให้วิชาความรู้ 🙏

  • @user-kx1zp1kb4i
    @user-kx1zp1kb4i ปีที่แล้ว

    การสืบคันหางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้เราได้ไอเดียร์เป็น Masterpiece ต้นแบบ เป็น Best practice ให้กับเราในการเลือกหัวข้อ ทั้งนี้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้มาก็สามารถนำมาเป็นใช้สนับสนุนสมมุติฐาน, กรอบแนวคิดของเรา และที่สำคัญที่สุดคือทำให้เราหลีกเลี่ยงงานวิจัยที่ซ้ำซ้อนซึ่งท้ายที่สุดก็จะถูกตีความว่าเป็นงานวิจัยที่ Copy เขามาไม่ได้มีประโยชน์มีคุณค่า ไม่ได้มีองค์ความรู้ใหม่ๆแต่อย่างได
    ผมเองก็คิดเตรียมไว้หลายหัวข้อแต่ก็เพิ่งรู้ว่าการหาหัวข้อวิจัยนั้นจะคิดขึ้นมาเองเฉยๆนั้นไม่ได้, ทั้งที่เพิ่งเรียนมาเมื่อเทอมที่แล้วก็คืนอาจารย์ไปเสียหมด
    ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ, กับสื่่อการสอน Digital ดีๆ, เนื้อหาใน VDO มีหลายหัวข้อที่มีประโยชน์ จำได้ว่าผมเปิดฟังก่อนสอบถือเป็นการทบทวนได้เป็นอย่างดีเลยครับ

  • @amonwadeechikrui4790
    @amonwadeechikrui4790 2 ปีที่แล้ว +2

    ได้ทราบแนวทางการทำวิจัย จะต้องมีผลงาน masterpiece เพื่อที่จะได้เป็นต้นแบบที่ดีในการทำวิจัย และได้ทราบถึงวิธีการค้นคว้าวิจัยและแหล่งข้อมูลในบริบทที่เราสนใจ เพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัยที่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และการค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวกับจะต้องไม่เกิน 5 ปี เพื่อให้ข้อมูลไม่เก่าเกินไป และจะต้องค้นคว้าชื่อวิจัยเพื่อไม่ให้ซ้ำกับผู้วิจัยที่ศึกษามาแล้ว

  • @216.9
    @216.9 2 ปีที่แล้ว +2

    จากวิดิโอที่อาจารย์สอน ทำให้สามารถเข้าในConcept ในการทำวิจัย อีกทั้งอาจารย์ยังแนะนำแนวทางในการหาบทความหรือวิจัยอ้างอิงที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิจัยที่นักศึกษาสนใจอยากทำวิจัยในหัวข้อวิจัยนั้นๆ มีแนะนำในส่วนของแหล่งข้อมูลที่นักศึกษาสามารถนำบทความวารสารต่างๆที่เกี่ยวข้องที่สามารถดาวน์โหลดไฟล์มาดูแนวทางในการทำวิจัยโดยมีหลายแหล่งข้อมูล และที่สำคัญอาจารย์ยังเสนอการทำตารางสรุปรายละเอียดต่างๆไม่ว่าจะเป็นหัวข้อที่นักศึกษาสนใจจะทำและบทความที่เกี่ยวข้องว่าส่วนไหนสัมพันธ์กับหัวข้อของนักศึกษาซึ่งคิดว่าสามารถนำมาปรับใช้ในการทำวิจัยในส่วนของบรรณานุกรมได้ ขอบคุณครับ

  • @user-lp9ug7je4j
    @user-lp9ug7je4j ปีที่แล้ว +2

    อาจารย์สอนสนุกดีครับ ได้ความรู้เรื่องการทำงานวิจัยได้ละเอียดมาก ๆ ครับ ชอบเว็บไซต์ ฐานข้อมูลวิชาการของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่อาจารย์เอาแชร์ครับ พอหาคีย์เวิร์ดที่ใช่แล้วค้นหาเจอเยอะเลยครับ คอมเม้นครับอยากให้อาจารย์ตัดคลิปทำเป็น EP แต่ละอันไม่เกิน 30 นาที นี่จะเป็นซีรีส์เกี่ยวกับการทำงานวิจัยที่น่าติดตามมาก ๆ ครับ ดันให้ขึ้นฟีดครับ

  • @user-uv5nj6dw6u
    @user-uv5nj6dw6u ปีที่แล้ว

    ได้รู้จักหลักการทำวิจัย 3 key point คือ มีงานวิจัยที่เป็น masterpiece ซึ่งจะเป็นงานวิจัยที่เป็นต้นแบบในการทำวิจัย การค้นคว้าตัวแปรต้น ตัวแปลตาม และการตรวจสอบว่าหัวข้อวิจัยที่เราจะทำมีผู้ใดทำมาก่อนหรือยัง รวมทั้งวิธีการเขียนตารางที่ อ. แนะนำว่าเขียนอย่างไร แต่ละช่องมีความสำคัญอย่างไรและหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งงานวิจัยต้องวิจัยไม่เกิน 5 ปี และอาจารย์ยังสอนให้ค้นหาวิจัยได้จากแหล่งข้อมูลใดบ้าง เข้าใช้งานอย่างไร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับการทำงานวิจัย clip นี้มีประโยชน์มากๆช่วยให้เข้าใจว่าต้องเริ่มต้นการทำสิจัยจากตรงไหน ขอบคุณค่ะ

  • @user-vi7jk9gh4x
    @user-vi7jk9gh4x ปีที่แล้ว +1

    จากวิดิโอที่อาจารย์สอน ทำให้สามารถเข้าใจในการหาต้นแบบ และทำให้รู้จักคำว่า masterpiece ด้วยค่ะ
    ช่วยในหาข้อมูลในการเขียนงานวิจัย เพื่อค้นคว้าตัวแปรหรือหาความสัมพันธ์ของตัวแปรและการตรวจสอบงานวิจัยว่ามีคนทำแล้วหรือยังเพื่อไม่ให้ซ้ำ

  • @022chalothon3
    @022chalothon3 ปีที่แล้ว +1

    การสืบค้นงานวิจัยเป็นส่วนที่สำคํญในกระบวนการทำงานวิจัย ซึ่งการสืบค้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องช่วยให้เราทราบถึงแนวทางการทำวิจัย หาตัวแปร ความสัมพันธ์ของตัวแปร ในบริบทที่เราสนใจ และเพื่อตรวจสอบว่ามีใครทำมาก่อนหรือยัง โดยระดับความน่าเชื่อถือ journal จะมีมากกว่า thesis เนื่องจากมีการทำ peer review ซึ่งวารสารที่นำมาอ้างอิงควรใช้งานวิจัยที่ผ่านมาภายใน 5 ปี ซึ่งจรรยาบรรณในการทำวิจัยจะต้องไม่คัดลอกมาจากงานวิจัยอื่น การทำตารางสรุปงานวิจัยจะทำให้เราเขียนได้ง่ายขึ้น อาจารย์ให้รายละเอียดการค้นหาเอกสารจากหลายแหล่งข้อมูลมาก ทำให้เห็นภาพรวมว่าเราสามารถหาจากที่ไหนได้บ้าง

  • @oradaseeharach1170
    @oradaseeharach1170 2 ปีที่แล้ว +2

    ขอบพระคุณมากค่ะ อาจารย์

  • @user-sc3bq1px8v
    @user-sc3bq1px8v ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณครับสำหรับความรู้

  • @parnpoon1967
    @parnpoon1967 2 ปีที่แล้ว +1

    ทำให้ทราบว่าวัตถุประสงค์ของการสืบค้นงานวิจัย ประกอบด้วย
    1. ใช้เป็นต้นแบบในการเขียนงานวิจัย
    2. ใช้เพื่อค้นคว้าตัวแปรหรือหาความสัมพันธ์ของตัวแปร ในเรื่องที่เราสนใจ
    3. มีการตรวจสอบงานวิจัยว่ามีคนทำแล้วหรือยัง
    ซึ่งทำให้มองเห็นภาพรวมของการทำวิจัยมากขึ้น และทำให้ทราบถึงแหล่งสืบค้นข้อมูลในส่วนของวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัยของตัวเอง

  • @user-em4pi8hh3i
    @user-em4pi8hh3i ปีที่แล้ว

    ละเอียดมากเลยคะ อาจารย์ ขอบคุณมากคะ

  • @mosrp1990
    @mosrp1990 8 หลายเดือนก่อน

    หลังจากได้ดู VDO ของท่านอาจารย์แล้ว ผมขอสรุปข้อมูลตามความเข้าใจได้ดังนี้ครับ 1. การทำวิจัย IS ต้องมีการค้นคว้างานวิจัยที่เป็นต้นแบบ (Masterpiece) เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการทำวิจัยของเรา 2. ความสำคัญของตัวแปรต้น และตัวแปรตามนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่อการทำวิจัย หากกำหนดตัวแปรผิด หรือไม่สอดคล้องกันอาจจะทำให้งานวิจัยไปต่อไม่ได้ 3. การทำวิจัยเชิงปริมาณสิ่งสำคัญที่สุดคือเราสามารถทำแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดได้จริงหรือไม่ เพราะหากไม่สามารถทำได้จริงจะทำให้งานวิจัยไม่ประสบผลสำเร็จ และสิ่งสุดท้าย และสำคัญที่สุดคือการตรวจสอบงานวิจัยที่เราจะทำว่ามีคนได้ค้นคว้าหรือทำหัวข้อวิจัยลักษณะแบบนี้ บริบทแบบนี้ไปแล้วหรือยัง ไม่เช่นนั้นงานวิจัยจะไม่สามารถถูกอนุมัติให้ผ่านไปได้

  • @231-ti1sh
    @231-ti1sh 2 หลายเดือนก่อน

    สวัสดีครับ อาจารย์
    ขอสรุปข้อมูลตามความเข้าใจของผม ดังนี้
    1. การทำวิจัยควรจะต้องมีการค้นคว้างานวิจัยที่เป็นต้นแบบ (Masterpiece) เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการทำวิจัย
    2. ตัวแปรต้น และตัวแปรตามนั้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ต่อการทำวิจัยที่จะทำให้งานวิจัยไปต่อได้ หรือไม่ได้
    3. การตรวจสอบงานวิจัยที่เราจะทำว่ามีคนอื่นๆที่ได้ทำหัวข้อวิจัยลักษณะแบบนี้ บริบทแบบนี้ไปแล้วหรือยัง ไม่เช่นนั้นงานวิจัยจะไม่ผ่านการอนุมัติ และการทำวิจัยเชิงปริมาณสิ่งสำคัญที่สุดคือเราต้องสามารถทำแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างที่กำหนดได้จริงเอที่จะทำให้งานวิจัยของเราประสบผลสำเร็จ

  • @mathareemaau6855
    @mathareemaau6855 ปีที่แล้ว +1

    จากคลิปวีดีโอ ทำให้ทราบว่าวัตถุประสงค์ของการสืบค้นงานวิจัย เพื่อ ใช้เป็นต้นแบบในดารวิจัย เพื่อนค้นคว้าตัวแปร ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสนวิจัยของเรา ทำให้สามารถทำให้เรามองเห็นภาพรวมของงานวิจัยมากขึ้น

  • @chaichanapinunthikulpanmee7947
    @chaichanapinunthikulpanmee7947 ปีที่แล้ว +2

    ขอ sheets ที่อาจารย์สอนได้มั้ยครับ เพื่อนำมาประกอบการทำวิจัยครับ ขอบคุณครับ

  • @user-jh4nd6vd2s
    @user-jh4nd6vd2s 8 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากครับอาจารย์

  • @user-zk7rb1ng6u
    @user-zk7rb1ng6u ปีที่แล้ว +1

    ในคลิปนี้มีเนื้อหาหลักทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกันคือ
    1. การค้นหางานวิจัยอ้างอิง
    2. การทำตารางสรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    3. ตัวอย่าง เค้าโครงงานวิจัย
    การค้นหางานวิจัยอ้างอิง นั้น วัตถุประสงค์เพื่อ หาต้นแบบ (Masterpiece) หาเพื่อสนับสนุนสมมติฐาน และค้นบริบทว่ามีซ้ำหรือไม่ โดยแต่ละวัตถุประสงค์นั้นควรใช้ประเภทของงานวิจัยที่ใช้อ้างอิงแตกต่างกันตามรายละเอียดในคลิป
    และในคลิปยังมีข้อมูลแหล่งในการใช้ค้นหางานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ทรงคุณค่ามากๆ
    การทำตารางสรุปงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นั้น หากผู้วิจัยเริ่มต้นสืบต้นงานวิจัยโดยทำตารางสรุปแบบนี้ จะทำให้เป็นประโยชน์ต่อการทบทวนงานวิจัยในอนาคตมากๆ และเห็นภาพเมื่อเทียบกับงานวิจัยที่เราต้องการทำได้มากขึ้น
    เค้าโครงงานวิจัยในคลิป เป็นการแสดงตัวอย่างเค้าโครงงานวิจัยที่ต้องมีการทำส่วนที่ 1 (ค้นหา) และส่วนที่ 2 (ตาราง) ก่อน ถึงจะได้เค้าโครงที่มีแนวโน้มสมบูรณ์

  • @user-fo7it4us1j
    @user-fo7it4us1j ปีที่แล้ว +1

    วีดีโอทำให้ทราบถึงช่องทางในการหาข้อมูลงานวิจัยจากเว็บไซต์ต่างๆที่หลากหลายช่วยให้เราสามารถเห็นงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นและการหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการประกอบการเลือกทำงานวิจัยเพื่อให้งานวิจัยไม่ซ้ำกับท่านอื่นและเป็นการต่อยอดงานวิจัยให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

  • @piyaaonjunton8207
    @piyaaonjunton8207 ปีที่แล้ว

    ต้องมีงานวิจัยที่เป็น Masterpiece เพื่อเป็นต้นแบบในการเขียนงานวิจัยที่เราสนใจ ค้นคว้าตัวแปรหรือความสัมพันธ์ของตัวแปร ในสิ่งที่เราสนใจ และต้องสืบค้นว่างานวิจัยของเราจะไม่ซ้ำกับคนอื่นค่ะ

  • @user-ov3gf2sn3m
    @user-ov3gf2sn3m ปีที่แล้ว

    key point
    1. เพื่อศึกษาแนวทางการทำวิจัย สำหรับใช้เป็นต้นแบบ (Masterpiece) วิทยานิพนธ์ หรือ ดุษฎีนิพนธ์ฉบับเต็ม
    2. เพื่อค้นคว้าหาตัวแปร ความสัมพันธ์ของตัวแปร : ดูได้จากบทความ (Articale) / วารสาร (Journal) ที่ตีพิมพ์แล้วเท่านั้น ไม่ควรเก่าเกิน 5 ปี คือ เอาฉบับเต็มมาย่อย หรือ สังเคราะห์ให้กระชับเป็นบทความสำคัญ ประมาณ 15-20 หน้า
    3. หัวข้อวิจัยที่สนใจทำ มีผู้ใดทำมาก่อนหรือยัง
    ขอขอบคุณท่านอาจารย์ที่ช่วยแนะนำการสืบค้นงานวิจัยจากลิ้งค์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแนะนำการลงการบันทึกตารางโดยมีตัวอย่างมาให้ดูด้วยค่ะ

  • @sawitreepanya936
    @sawitreepanya936 9 หลายเดือนก่อน

    หลังจากได้ดูคลิป ทำให้ทราบ 3 Key point หลักๆในการทำวิจัย คือ
    1. การค้นหางานวิจัยเพื่อนำมาอ้างอิง เป็นการค้นคว้าหางานวิจัยต้นแบบ (Masterpiece) Format ที่ดีเป็นอย่างไร เพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการทำวิจัย
    2. เพื่อค้นคว้าหาตัวแปร ความสัมพันธ์ของตัวแปร บริบทที่เราสนใจ เพื่อสนับสนุนสมมติฐานและนำไปพัฒนากรอบแนวความคิดงานวิจัยจองเรา ซึ่งดูได้จากยทความและวารสารที่ตีพิมพ์แล้วเท่านั้น บทความไม่เกิน 5 ปี, Journal จะมีแค่สาระสำคัญ 15-20 หน้า
    3. เพื่อตรวจสอบว่า หัวข้องานวิจัยที่เราสนใจทำ มีผู้ใดทำมาก่อนหรือยัง งานเราไม่ซ้ำซ้อนกับใคร และไม่โดนการคัดลอกงานของผู้อื่น

  • @kessalawantetthong
    @kessalawantetthong 9 หลายเดือนก่อน

    จากวีดีโอสรุปได้ว่า
    Key Point
    1.ค้นหาวิจัยต้นแบบ (Master piece)เพื่อเป็นแนวทางในการทำวิจัย
    2.คิดสมมติฐานและกรอบแนวคิดของวิจัยที่สนใจจะทำ และหาวิจัยคู่แบบทั้งในบริบท และ ตัวแปรที่สอดคล้องกัน
    3.ควรใช้งานวิจัยปีวิจัยไม่เกิน 5 ปี
    วิจัยแบบออกเป็น 2 ประเภท
    1. วิจัยเชิงปริมาณ
    2. วิจัยคุณภาพ
    ตัวแปร มี 2 ประเภท ตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และจะมีตัวแปรพิเศษ คือตัวแปรขั้นกลาง คือคือตัวแปรที่ส่งผลต่อตัวแปรต้น และตัวแปรตาม
    ประชากร คือประชาชนในประเทศ เราต้องหาสถิติ เพื่อที่จะได้รู้กลุ่มตัวอย่าง เพื่อนำมาใช้ในงานวิจัย
    หลักในการเขียนปัญหาที่มาและความสำคัญ จะเขียน 2-3 หน้า 3 ย่อหน้า และประเด็นของปัญหา 5-10 บรรทัด
    ส่วนแหล่งส์บค้นงานวิจัย
    1.สืบค้นวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ ในมหาลัย
    2.สืบค้น บทความวารสาร งานวิจัยในประเทศ
    3.สืบค้น บทความ วารสารงานวิจัยต่างประเทศ
    ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทำวิจัยอย่างมาก ได้รู้เรื่องเทคนิคต่างๆ การคิดหัวข้อในการปักหมุด และ ได้หาวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  • @user-mm1kn9qy6w
    @user-mm1kn9qy6w 9 หลายเดือนก่อน

    ประโยชน์ของการสืบค้นข้อมูลจากงานวิจัย
    1. เพื่อศึกษาแนวทางงานวิจัย เพื่อหางานวิจัยที่เป็นต้นแบบให้กับวิจัยของเรา ดูจากวิทยานิพนธ์
    2. เพื่อหาตัวแปร และความสัมพันธ์ของตัวแปร ดูจากวารสาร
    3. เพื่อตรวจสอบหัวข้อวิจัย ที่สนใจว่ามีใครทำมาก่อนหรือยัง ดูจากที่ไหนก็ได้
    - ต้องหางานวิจัยอย่างน้อย 5 งานวิจัยมาสนับสนุน เพื่อให้งานวิจัยดูหน้าเชื่อถือ
    - ใช้งานวิจัยไม่เกิน 5 ปี เพื่อไม่ให้งานวิจัยเก่าจนเกินไป
    - สถิติที่ใช้ที่ใส่ในงานวิจัยอ้างอิง ต้องเป็นตัวเดียวกับที่เราระบุไว้ในสมมุติฐานเดียวกัน ถ้าใช้สถิติต่างกันจะไปอภิปรายผลเปรียบเทียบในบทที่ 5 ไม่ได้ เพราะผลมันต่างกัน
    - ถ้าอ่านบทคัดย่อไม่เข้าใจ ให้ไปอ่านสรุปผลการวิจัยด้วย เพื่อให้เข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น
    แหล่งค้นหาข้อมูลงานวิจัย
    - คลังปัญญาจุฬาลงกรณ์
    - ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ ม.ธรรมศาสตร์
    - DPU e-Theses
    - DSpace
    - PSU knowledge Bank
    - หอสมุดกลาง ม.รามคำแหง
    การสืบค้นงานวิจัยหลายๆงานวิจัยจะทำให้เรามีแนวทางในการทำงานวิจัยของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น เราสามารถหาตัวแปรต้น และตัวแปรตามจากตัวอย่างงานวิจัยที่สัมพันธ์กับงานวิจัยที่เราจะทำได้