โรคโบทูลิซึ่ม (Botulism) ภัยร้ายจากอาหารกระป๋อง

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 21 ก.ย. 2024
  • #Botulism #โบทูลิซึ่ม #อาหารกระป๋อง
    โรคโบทูลิซึ่ม (Botulism)ภัยร้ายจากอาหารกระป๋อง
    - โบทูลิซึมคือโรคอะไร ?
    - อาการเริ่มต้นเมื่อได้รับสารพิษโบทูลินัมท็อกซิน
    - อาการที่ควรรีบไปพบแพทย์
    - วิธีป้องกันโรคโบทูลิซึม
    โรคโบทูลิซึ่ม คือโรคอะไร ?
    โบทูลิซึ่มเป็นโรคที่เกิดจากการได้รับสารพิษ ชื่อโบทูลินัมท็อกซิน
    สารพิษของโบทูลินัมท็อกซินถูกสร้างขึ้นมาจากแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้เป็นแบคทีเรียที่เกลียดออกซิเจน
    จึงมักเจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ไม่มีออกซิเจนอยู่ เช่น กลุ่มของอาหารกระป๋อง อาจจะเคยได้ยินโรคที่ไปรับประทานอาหารกระป๋องที่บุบๆบวมๆ
    หรือไปรับประทานหน่อไม้ปิ๊ปที่ปรุงไม่ได้เหมาะสม แล้วมีการปนเปื้อนของสารพิษโบทูลินัมท็อกซิน
    "ผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษจะมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย หายใจติดขัดจนกระทั่งเสียชีวิต"
    อาการเริ่มต้นเมื่อได้รับ "สารพิษโบทูลินัมท็อกซิน"
    "โรคโบทูลิซึม" ที่พบบ่อยที่สุดคือการรับปรทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ
    อาหารกระป๋องที่บุบ บวม และมีแบคทีเรียไปโตอยู่ในนั้นแล้วได้สร้างสารพิษทิ้งไว้ หรืออาหารที่เป็นอาหารกระป๋องที่ไม่ได้อุ่นก่อนรับประทาน
    ทำให้ได้รับสารพิษเข้าไป อาการเบื้องต้นหลังได้รับสารพิษโบทูลินัม 4-6 ชั่วโมง
    - คลื่นไส้ อาเจียน
    - ถ่ายท้อง ท้องเสียก่อน
    หลังจากนั้นตัวสารพิษจะดูดซึมจากทางเดินอาหารเข้าสู่ระบบประสาท ทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
    ซึ่งกล้ามเนื้ออ่อแรงจะเกิดบริเวณใบหน้าก่อน จะมีเรื่องของหนังตาตก พูดลำบากมากขึ้น พูดไม่ชัด
    เพราะมีการควบคุมของกล้ามเนื้อใบหน้าได้ลำบากและทำให้เกิดการอ่อนแรงบริเวณกล้ามเนื้อคอ บ่า สะโพก
    หลังจากนั้นจะมีอาการอ่อนแรงเพิ่มมากขึ้นจนอาจจะพูดไม่ได้ ขากน้ำลายไม่ออกหรือหายใจไม่ไหวและเสียชีวิตได้
    อาการที่ควรรีบไปพบแพทย์
    ถ้าสงสัยโรคโบทูลิซึม ให้โรงพบาบาล อย่ารอให้อาการหนัก เนื่องจากอาการของโรคโบทุลิซึม ถ้าเป็นรุนแรงจนมีกล้าม
    เนื้ออ่อนแรง การฟื้นตัวจะช้า ถ้าหากมาถึงโรงพยาบาลเร็ว คุณหมอวินิจฉัยแล้วนึกถึงภาวะนี้ มียาต้านพิษโบทูลินัมท็อกซิน
    มียาต้านพิษอยู่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นยาไม่ได้เก็บไว้ทุกโรงพยาบาล ต้องมีการขนส่งยาไปให้ผู้ป่วย ถ้าให้ยาต้านพิษเร็ว จะสามารถชะลอ
    การอ่อนแรงที่จะรุนแรงมากขึ้นได้ คนที่จะฟื้นตัวจากการอ่อนแรงกลับมามีเรี่ยวแรงตามปกติก็จะเร็วขึ้นด้วย
    ผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านพิษหลังมีอาการ 3-4 วัน สามารถลดอัตราการเสียชีวิตได้
    วิธีป้องกัน "โรคโบทูลิซึม"
    บริโภคอาหารอย่าลืมอุ่นอาหารก่อน โดยเฉพาะอาหารกระป๋อง อาหารแช่แข็งต้องอุ่นให้ร้อนก่อน
    ถ้าจะทำอาหารประป๋องหรือบรรจุกระป๋องเก็บไว้ เช่น หน่อไม้ปี๊ปหรือพริกดอง เก็บไว้รับประทานเองในอนาคต ต้องผ่านความร้อนอุณหภูมิ 120 องศา 30 นาที
    สารพิษชนิดนี้เป็นสารพิษที่ไม่ทนความร้อน ถ้ารับประทานหรือบริโภคอาหาร อุ่นก่อนก็จะเป็นการสลายสารพิษตัวนี้ทิ้งไป
    ผู้บริโภคควรเลือกซื้ออาหารกระป๋องที่ไม่บุบ ไม่บวม ไม่มีรูรั่ว เพระถ้ามีรูรั่วก็มีแบคทีเรียโตอยู่การที่บุบหรือบวม เป็นการที่แบคทีเรีย
    เข้าไปเจริญเติบโต
    ข้อมูล : www.rama.mahid...
    ช่องทางการติดตาม STKC
    Website : www.stkc.go.th
    Facebook : / stkcsociety
    TikTok : www.tiktok.com...
    TH-cam : / stkcsocietyofficial

ความคิดเห็น •