ลายฟ้อนสาละวัน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 29 ธ.ค. 2023
  • ลำสาละวัน เป็นวัฒนธรรมของชนชาติลาวอีกประเภทหนึ่ง การลำสาละวันที่เก่าแก่ที่กำเนิดมาจากการทรงผีไท้ผีแถน ตามความเชื่อดั้งเดิมแล้วกลายมา เป็นมหรสพของชุมชน แล้วได้ประยุกต์เพิ่มกลอนลำให้เกิดความสนุกสนาน ประกอบท่าทางการเคลื่อนไหวของร่างกายโดยอิสระตามธรรมชาติ แรกเริ่มเป็นการเล่นโดยทั่วไปในหมู่ชาวบ้าน แล้วแพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย ได้รับความนิยมมายาวนาน ด้วยท่วงทำนองที่ไพเราะ จังหวะสม่ำเสมอ
    เนื้อความของลำสาละวัน นอกจากจะสะท้อนให้เห็นแนวทางการเกี้ยวพาราสีระหว่างชายหญิงแล้ว โวหารเปรียบเทียบที่ใช้ในกลอนลำ ได้สะท้อนให้เห็นถึงความงามของการใช้ภาษา นอกจากนั้น ท่วงทำนองของการลำ ยังมีการเอื้อนที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว
    “ลำสาละวัน” จึงเป็นเอกลักษณ์ของชาวสาละวันมายาวนาน ยังคงไว้ซึ่งความไพเราะ และเป็นการร้อยเรียงภาษาที่บอกเล่าเป็นทำนอง ให้ทราบถึงอดีตที่รุ่งเรืองของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อย่างดียิ่ง
    ລຳສາລະວັນ" ເລື່ອງລາວສິລະປະວັນນະຄະດີພື້ນເມືອງທີ່ມາໃນຮູບແບບຂັບລຳທ້ອງຖິ່ນ ທີ່ສະທ້ອນໃຫ້ເຫັນເຖິງຫົວຄິດປະດິດສ້າງຂອງປະຊາຊົນລາວ,​ ຄວາມສວຍງາມທາງວັດທະນະທຳອັນເປັນເອກະລັກໂດດເດັ່ນ.
    ປັດຈຸບັນລຳສາລະວັນ ຍັງເປັນຫນຶ່ງໃນກອນລຳອຳມະຕະທີ່ບໍ່ໄດ້ເປັນສະເພາະຊັບສົມບັດຂອງຄົນສາລະວັນ ແຕ່ຍັງເປັນຂອງຄົນລາວທັງຊາດ,​ ການຟ້ອນປະກອບລຳສາລະວັນໄດ້ກາຍເປັນຫນຶ່ງໃນທ່າລຳວົງມາດຕະຖານອັນເປັນທີ່ນິຍົມຊົມຊອບ ຈົນຖືກຂະຫນານນາມໃຫ້ວ່າເປັນ ''​ລຳມະຫາອຳນາດ''​ ແລະກ້າວສູ່ການເປັນມໍລະດົກໂລກ.​ "
    "ลำสาละวัน" ในฝั่งทาง สปป.ลาว นั้นเป็นศิลปะขับลำท้องถิ่นที่สะท้อนให้เห็นถึงการคิดประดิดประดอย ความสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่น ปัจจุบัน ลำสาละวัน ไม่ได้เป็นสมบัติของคนในเมืองสาละวัน ทางตอนใต้ของ สปป.ลาว เท่านั้น แต่เป็นสมบัติของคนลาวทั้งชาติ เพราะการฟ้อนประกอบท่ารำสาละวันได้กลายเป็นหนึ่งในท่ารำวงมาตรฐานของลาวที่ผู้คนนิยมชมชอบ ถึงกับขนานนามให้ว่าเป็น "ลำสาละวัน-ลำมหาอำนาจ" และกำลังถูกเสนอให้เป็นมรดกโลกทางด้านศิลปวัฒนะธรรมจากองค์การยูเนสโกด้วย
    เหตุใด? จึงเรียกว่า "ລຳມະຫາອຳນາດ'' ท่วงท่าในการรำวงสาละวันนั้นจะมีท่อนร้องที่ให้ผูร่วมในการร่ายรำต้องทำตาม เช่น "สาละวันจับหู จับหูสาละวัน" หรือท่อนที่บอกว่า "สาละวันเตี้ยลง เตี้ยลงสาละวัน สาละวันลุกขึ้น ลุกขึ้นสาละวัน" ผู้ลำต้องทำตามที่สั่งเสมอ ไม่ว่าผู้ร่ายรำในขณะนั้นจะเป็นใคร ชาวบ้าน หนุ่ม-สาว เด็กน้อย เจ้าแขวง เจ้าเมือง หรือแม้แต่รัฐมนตรี ก็ต้องทำตามทั้งสิ้น นี่จึงเป็น "​ລຳມະຫາອຳນາດ'' อย่างแท้จริงนั่นเอง

ความคิดเห็น • 3

  • @user-me1rd3ke2c
    @user-me1rd3ke2c 2 หลายเดือนก่อน +1

    ❤❤ซอบฟัง..ซอบดูซมเพลงลายฟ้อนรำสาระวันมากๆคับ❤

  • @merlinsstudio
    @merlinsstudio 5 หลายเดือนก่อน +2

    เพลงยอดเยี่ยม​ครับ😊

  • @newyugsangeet
    @newyugsangeet 5 หลายเดือนก่อน

    Very nice and Very beautiful song subscribe done yor chainal ❤️❤️❤️❤️👌👌👍👍🙏🏻🙏🏻