กฏหมาย "PDPA" เริ่มแล้ววันนี้! คุ้มครองสิทธิอย่างไรบ้าง? สรุปให้ครบจบใน 3 นาที : TNNONLINE

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 พ.ค. 2022
  • กฏหมาย "PDPA"
    เริ่มแล้ววันนี้! สรุปครบ...จบใน 3 นาที ทำความเข้าใจ "PDPA" คุ้มครองสิทธิอย่างไรบ้าง?
    PDPA คืออะไร
    พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA (Personal Data Protection Act) ซึ่งหมายถึง พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีขึ้นเพื่อให้ภาคเอกชนและภาครัฐ (บุคคล/นิติบุคคล) ที่เก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผย และ/หรือ โอนข้อมูลส่วนบุคคลในไทยให้เป็นไปตามมาตรการปกป้องข้อมูลของผู้อื่นจากการถูกละเมิดสิทธิส่วนตัว โดย PDPA เรียกได้ว่าถอดแบบมาจากกฎหมายต้นแบบอย่างกฎหมาย GDPR (General Data Protection Regulation) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (EU) โดยมีเป้าหมายหลัก ๆ ที่จะใช้กับทางผู้ประกอบการเอกชน
    โดยหลักเกณฑ์หลัก ๆ คือกฎหมายฉบับนี้ ระบุให้ต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ก่อนการเก็บ รวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลเสมอ เป็นกฎหมายแรกของไทยในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต
    โดยการประกาศใช้ครั้งแรก มีกำหนดการว่าจะเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2019 แต่ก็เลื่อนไปบังคับใช้วันที่ 1 มิถุนายน 2021 จนสุดท้ายก็เลื่อนเป็น 1 มิถุนายน 2022 จึงได้ประกาศใช้ในที่สุด
    กฎหมายฉบับนี้ มีผลบังคับใช้ผูกพันระหว่างผู้ที่เป็นเจ้าของข้อมูล กับผู้เอาไปใช้ ทั้งภาครัฐ, เอกชน หน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร, คนธรรมดา และนิติบุคคล ที่อาศัยอยู่ในไทยและต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปิดเผย, ใช้, ถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลในไทย
    ใจความหลักคือเจ้าของข้อมูล ต้องยินยอม และผู้เก็บ ต้องแจ้ง ส่วนเจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์เข้าถึง ขอสำเนา แก้ไข ทำลาย ยกเลิกข้อมูล เช่นการเข้าไปในเว็บไซต์ จะมีข้อความแจ้งนโยบายความเป็นส่วนตัว
    เราจะเจอสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ PDPA ได้ที่ไหนบ้าง
    หากเราใช้อินเทอร์เน็ตเป็นประจำอยู่ทุกวัน แน่นอนว่าต้องเจอการแชร์ลิงก์ผ่านแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กอยู่แล้ว และหากเว็บใดที่เมื่อคลิกเข้าไปแล้ว ปรากฏกล่องข้อความ (Pop-Up) ขึ้นมาว่า “เว็บไซต์นี้มีการเก็บคุกกี้ เพื่อพัฒนาประสบการณ์การใช้งาน” ข้อความเหล่านี้ คือการแจ้งเตือนผู้ใช้ว่า มีการเก็บข้อมูลร่องรอยการเยี่ยมชม (Cookie) อยู่ ซึ่งผู้ใช้สามารถเลือกได้ว่าจะยินยอมให้ข้อมูลอย่างไรบ้าง โดยสามารถปรับแต่งว่าจะยินยอมเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้ หรือไม่ยินยอมให้เว็บไซต์ดังกล่าวใช้ได้เลยก็ตาม ตัวอย่างง่าย ๆ เช่นนี้ คือการแจ้งเพื่อขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล ซึ่งเข้าข่ายกฎหมาย PDPA โดยตรง
    ส่วนข้อมูลที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย PDPA นั้น โดยหลัก ๆ แล้วจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประจำตัวประชาชน ข้อมูลทางการแพทย์ เป็นต้น แต่ที่น่าสนใจก็คือ ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง หรือพฤติกรรมทางเพศ เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ก็อยู่ภายใต้กฎหมาย PDPA เช่นกัน
    สิทธิ์พึงมีของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
    ในรายละเอียดของกฎหมาย PDPA ระบุไว้ว่า เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิต่าง ๆ ดังนี้
    - สิทธิในการถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้
    - สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด
    - สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
    - สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล
    - สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
    - สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
    - สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
    - สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล
    และหากมีคำถามว่า กฎหมายนี้เป็นเพียงการตั้งรับรอเหตุหรือไม่ ขอยกตัวอย่างไปที่รายละเอียดกฎหมาย PDPA มาตรา 37(4) ซึ่งระบุไว้ว่า
    “ในกรณีที่เหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล มีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายกำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่ แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ พร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า (มาตรา 37(4))”
    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าตัวกฎหมายดังกล่าวมีแนวทางเป็นเชิงรุก และอยู่ในทิศทางของการปกป้องผู้บริโภคโดยกำหนดให้ฝ่ายผู้ใช้งานข้อมูล ต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลทันทีหากมีเหตุการณ์ที่มีผลกระทบเกี่ยวข้องกับตัวเจ้าของข้อมูลเกิดขึ้น
    PDPA สั่งห้ามเอกชนเก็บข้อมูลส่วนตัวโดยเด็ดขาดเลยหรือ?
    อ่านต่อที่ www.tnnthailand.com/news/tech...
    หัวข้ออื่นๆ
    "PDPA" คืออะไร? เผย 10 เรื่องที่ประชาชนต้องรู้ ก่อนบังคับใช้ 1 มิ.ย.นี้
    bit.ly/3GzEU5y
    บทลงโทษหากไม่ปฏิบัติตาม PDPA หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
    bit.ly/3zaxnbz
    เปรียบเทียบความรับผิดทางแพ่งของ "กฎหมาย PDPA" กับกฎหมายอื่น จ่ายต่างกันแค่ไหน? bit.ly/3x3kbUl
    #PDPA #TNN #TNNThailand #TNNช่อง16 #TNNONLINE
    ช่องทางติดตามสถานีข่าว TNN ช่อง16
    www.tnnthailand.com
    tv.trueid.net/live/tnn16
    / tnn16
    / tnnthailand
    / tnn16live
    / tnnthailand
    / tnn_online
    / tnnonline
    Line @TNNONLINE หรือคลิก lin.ee/4fP2tltIo
    ทันโลก ทันเศรษฐกิจ ทันทุกความจริง กับ TNNช่อง16 สถานีข่าวที่ถือหลักการของการนำเสนอข่าวตรงประเด็น รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ และเป็นกลาง โดยทีมข่าวมืออาชีพ

ความคิดเห็น • 32

  • @h42an.13
    @h42an.13 2 ปีที่แล้ว +6

    ประเด็น คือ บางคนด่าก่อนแล้ว แต่ไม่ได้ศึกษาเลย ถ้าไม่ชอบอ่าน คลิปนี้สรุปสั้นๆเนี่ย แค่ 3 นาทีเอง
    สละเวลาสักหน่อยก่อนจะด่าก็ดีครับ เรื่องพวกนี้มันเบสิค Privacy มากๆ
    เราอยากพัฒนาก็ต้องรู้จักปรับตัว ไม่ใช่เอะอะก็ด่าไปก่อนแล้ว อย่าเชื่อมากใน Tiktok อะ
    บางคนลงรูป เบลอหน้าเพื่อน พร้อมแคปชั่นกลัวโดนจับ มันก็ยิ่งสร้างความเข้าใจผิดอีก

  • @user-ey9ej6kn4p
    @user-ey9ej6kn4p 2 ปีที่แล้ว +4

    ที่เกาหลี เขาทำตั้งนานแล้ว ไทยเพิ่งเริ่มทำ ขนาดเขาทำข่าว ตามท้องถนน เขายังเบลอหน้า เบลอชื่อร้านชื่อแบลน และเบลอทะเบียนรถ ทุกคันเลยครับ

    • @allrounder262
      @allrounder262 2 ปีที่แล้ว +2

      ยังดี ที่ไทยได้ทำแล้ว ดีกว่าไม่เริ่มเลย

    • @popeyepopcorn2966
      @popeyepopcorn2966 2 ปีที่แล้ว +1

      มิน่าฆ่าตัวตาย เป็นโรคประสาทเยอะ ใช้ชีวิตลำบาก หวาดระแวง นี่เอง

  • @idonknowhaha
    @idonknowhaha 2 ปีที่แล้ว +5

    เอาจริงๆ พรบ นี่ควรใช้ในวงการข่าวมากกว่า อย่างเช่น กรณีสายสืบไปจับคนร้าย นักข่าวไม่เซ็นเซอร์หน้าเเละชื่อ ทําให้ครั้งต่อไปเจ้าหน้าที่ก็จะทํางานได้ไม่สะดวก เเละอีกหลายกรณีที่สมควรจะทํา

  • @kurachan162
    @kurachan162 2 ปีที่แล้ว +3

    คุ้มเข้ม อย่างกับ ประเทศจีน

  • @user-xq2ts3vi6s
    @user-xq2ts3vi6s 2 ปีที่แล้ว +1

    กราบขอบพระคุณอย่างสูง
    🙏🙏🙏

  • @user-ni7qt2bz6h
    @user-ni7qt2bz6h ปีที่แล้ว

    ผมรอ กฏหมายที่มาระบรองข้อมุลส่วนบุคคลมานานเเล้วในที่ สุดผมก็คิดถูก ว่าไม่นานต้องมีมา ขอบคุณจริงไปครับ

  • @boonluerpunyasampan6517
    @boonluerpunyasampan6517 2 ปีที่แล้ว +2

    ดีครับ เข้าใจง่าย

  • @lunasea889
    @lunasea889 2 ปีที่แล้ว +1

    เปิดร้านอาหาร ถ่ายรูป ลูกค้าที่มากินที่ร้าน ต้องเบลอหน้ามั้ย มันเป็นการแสวงหากำไร อย่างนึง คืออยากให้คนรู้ว่าร้านเรามีคนมากินเยอะ เข้าข่ายแสวงหาประโยชน์ส่วนตัว แสวงหากำไร อยู่น่ะ เครียดเลย

  • @user-bt2dc4ju5n
    @user-bt2dc4ju5n 2 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าพบว่า ถูกละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลต้องไปฟ้องที่ไหนครับ

  • @taweechunkaphan7
    @taweechunkaphan7 2 ปีที่แล้ว +1

    เข้าใจคุ้มครองเข้าใจแล้วครับดีครับชี้แจงชัดเจน

  • @jirapunxzs7769
    @jirapunxzs7769 2 ปีที่แล้ว

    ชอบนะ

  • @thaweesinintha9431
    @thaweesinintha9431 2 ปีที่แล้ว +1

    แล้วไปเจอเหตุการณ์คนทะเลาะกัน เราอัดคลิปไว้จะผิดไหม และ ตร.ค้นรถอัดคลิปได้ไหม

    • @user-zy2me3do8k
      @user-zy2me3do8k 2 ปีที่แล้ว +2

      ตำรวจค้นรถถ่ายได้ครับ เพราะกำลังปฎิบัติหน้าที่อยู่ เพราะหน้าที่ของตำรวจคือบริการประชาชน แต่ถ้าไปถ่ายเขานอกเวลาราชการ มีความผิดครับ เพราะไปละเมิดความเป็นส่วนตัวของเขา

  • @Marissare
    @Marissare ปีที่แล้ว

    จนถึงตอนนี้ยามยังขอบัตรประชาชนอยู่เลย

  • @prapan7960
    @prapan7960 2 ปีที่แล้ว +2

    ใครถ่ายติดกู...กูฟ้องหมด

    • @popeyepopcorn2966
      @popeyepopcorn2966 2 ปีที่แล้ว +2

      ได้เงินใช้ฟรีๆ

  • @llookttann.s1311
    @llookttann.s1311 ปีที่แล้ว

    อยากทราบว่ากฎหมายpdpaนี้เป็นกฎหมายเอกชนหรือมหาชนหรอคะ

  • @user-zt4yx2oj1c
    @user-zt4yx2oj1c 2 ปีที่แล้ว

    คนทำไม่ได้ใช้คนใช้ไม่ได้ทำครับ

  • @justplayit06
    @justplayit06 2 ปีที่แล้ว

    .

  • @thesun5710
    @thesun5710 ปีที่แล้ว +3

    จังคอลเซอรเตอร์ให้หมดก่อนค่อยมาออกกฏหมายสนน…เเบบนี้

  • @user-iv4kc4wz4j
    @user-iv4kc4wz4j 2 ปีที่แล้ว +3

    กฎหมายนี้ออกมาคงจะมีผลเสียมากกว่าประโยชน่แทนที่สถานการณ์ทุกวันนี้จะคลายเครียดกับมาต้องกังวล

  • @chadchart6401
    @chadchart6401 2 ปีที่แล้ว +1

    มันคือ กฎหมาย​ที่แบ่งชนชั้น ระหว่าง คนธรรมดา​ กับ สื่อมวลชนและตำรวจ

  • @user-rz7wf2ql5p
    @user-rz7wf2ql5p 2 ปีที่แล้ว

    เพื่อไหร่หรอ

    • @Squier123
      @Squier123 2 ปีที่แล้ว +1

      เพื่อให้คนที่ไม่รู้เรื่องถาม

  • @user-cb3ui7gb1c
    @user-cb3ui7gb1c 2 ปีที่แล้ว

    เอามาทำไม

    • @Squier123
      @Squier123 2 ปีที่แล้ว +1

      ดีครับรู้สึกปลอดภัยขึ้นเยอะในโลกอินเตอร์เน็ต