สนทนาธรรม : ธรรมบท จิตตวรรค (ภาคิเนยยสังฆรักขิต ตอนที่ ๒) - ๑๙ ธ.ค. ๒๕๖๗

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 24 ธ.ค. 2024
  • จิตฺตสฺส หิ มกฺกฏสุตฺตมตฺตกํปิ ปุรตฺถิมาทิทิสาภาเคน คมนา-คมนํ นาม นตฺถิ,
    ทูเร สนฺตํปิ อารมฺมณํ สมฺปฏิจฺฉตีติ ทูรงฺคมํ นาม ชาตํ.
    สตฺตฏฺฐจิตฺตานิ ปน เอกโต กณฺณิกพทฺธานิ เอกกฺขเณ อุปฺปชฺชิตุํ
    สมตฺถานิ นาม นตฺถิ,
    อุปฺปตฺติกาเล เอเกกเมว จิตฺตํ อุปฺปชฺชติ,
    ตสฺมึ นิรุทฺเธ ปุน เอเกกเมว อุปฺปชฺชตีติ เอกจรํ นาม ชาตํ.
    จิตฺตสฺส สรีรสณฺฐานํ วา นีลาทิปกาโร วณฺณเภโท วา นตฺถีติ อสรีรํ นาม ชาตํ.
    คุหา นาม จตุมหาภูตคุหา, อิทญฺจ หทยรูปํ นิสฺสาย ปวตฺตตีติ คุหาสยํ นาม ชาตํ.
    ก็ชื่อว่าการไปและการมาของจิต โดยส่วนแห่งทิศมีทิศบูรพาเป็นต้น (สิ้นกาล) แม้สักว่าความหลับแห่งลิง ย่อมไม่มี,
    จิตนั้นย่อมรับอารมณ์ แม้มีอยู่ในที่ไกล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทูรงฺคมํ.
    อนึ่ง จิต ๗-๘ ดวง ชื่อว่าสามารถเกิดขึ้นเนื่องเป็นช่อโดยความรวมกันในขณะเดียว ย่อมไม่มี,
    ในกาลเป็นที่เกิดขึ้น จิตย่อมเกิดขึ้นทีละดวงๆ, เมื่อจิตดวงนั้นดับแล้ว, จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นทีละดวงอีก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกจรํ.
    สรีรสัณฐานก็ดี ประเภทแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้นเป็นประการก็ดี ของจิต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อสรีรํ.
    ถ้ำคือมหาภูต ๔ ชื่อว่า คูหา, ก็จิตนี้อาศัยหทัยรูปเป็นไปอยู่ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า คุหาสยํ.

ความคิดเห็น •