คนดังกับโรค : คุณ นิรุติ ไปดำน้ำอยู่ๆดีๆ ลิ้นหัวใจรั่วเฉยเลย ...สาเหตุจากอะไรมาฟังกัน !!!

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 9 พ.ค. 2023
  • คนดังกับโรค : คุณ นิรุติ ไปดำน้ำอยู่ๆดีๆ ลิ้นหัวใจรั่วเฉยเลย ...สาเหตุจากอะไรมาฟังกัน !!!
    ลิ้นหัวใจรั่ว
    โรคลิ้นหัวใจรั่วมีสาเหตุมาจากอะไร
    โรคนี้สามารถเกิดขึ้นภายใต้อาการรั่ว และตีบของลิ้นหัวใจ ที่จะส่งผลต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง โดยสาเหตุของการเกิดโรคนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เราจึงแบ่งสาเหตุทั้งหมดตามช่วงอายุ ได้แก่ ช่วงแรกเกิด ช่วงเด็กหรือผู้ใหญ่ และช่วงสูงอายุ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากปัจจัยภายนอกได้อีกด้วย
    ช่วงวัยเด็กแรกเกิดนั้นจะเกิดจากความผิดปกติแต่กำเนิด ซึ่งไม่สามารถป้องกันได้
    ช่วงวัยเด็กโต หรือเป็นผู้ใหญ่มักเกิดจากการเป็นไข้รูมาติก (อ่านบทความไข้รูมาติก คลิก)
    ช่วงวัยผู้สูงอายุเกิดจากความเสื่อมสภาพของลิ้นหัวใจเอง
    เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การติดเชื้อจากเข็มฉีดยา การติดเชื้อจากการเจาะรูต่าง ๆ ตามร่างกาย
    นอกจากสาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นโรคนี้ยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ เกิดจากลิ้นหัวใจติดเชื้อ เป็นต้น
    จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่ว หรือตีบ
    โรคที่เกี่ยวกับหัวใจมีความอันตรายมากอยู่แล้ว เพราะหัวใจถือว่าเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ ของร่างกายอยู่แล้ว ดังนั้นการสังเกตว่าเรามีอาการสุ่มเสี่ยงกับโรคลิ้นหัวใจจึงเป็นสิ่งที่ต้องรู้ไว้ก่อน โดยอาการของลิ้นหัวใจรั่วจะเกิดขึ้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลิ้นที่เกิดความเสียหาย ได้แก่
    ลิ้นหัวใจด้านขวา การทำงานของอวัยวะฝั่งขวาจะเสื่อมลง นอกจากนี้ยังมีอาการท้องอืด คอโป่ง อวัยวะต่าง ๆ บวม เช่น ขา ตับ และหัวใจฝั่งขวา
    ลิ้นหัวใจด้านซ้าย จะมีผลกับการลำเลียงออกซิเจนจึงส่งผลให้เหนื่อยเร็วกว่าปกติ ในระดับรุนแรงอาการเหนื่อยจะเกิดขึ้นแม้ว่าจะนั่งอยู่เฉย ๆ ก็ตาม
    วินิจฉัยลิ้นหัวใจรั่วอย่างไร
    สามารถตรวจการทำงานของหัวใจได้ ผ่านการทำอัลตราซาวด์ หรือทำคลื่นเสียงสะท้อน ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที ซึ่งการตรวจจะทำให้ทราบการไหลเวียน และการสูบฉีดของเลือด รวมไปถึงการปิดการเปิดของลิ้นหัวใจว่ามีการรั่วหรือไม่
    ทำอย่างไรหากเป็นลิ้นหัวใจรั่ว
    ในช่วงแรกยังสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ แต่เมื่อมีอาการเหนื่อยล้าต้องงดกิจกรรมที่ออกแรงมากทุกรูปแบบ แม้ว่าจะเป็นการออกกำลังกายก็ตาม รวมถึงต้องงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และต้องระมัดระวังแผลติดเชื้อตามจุดต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย อย่างไรก็ตามควรเข้ารับการรักษาเพื่อแก้ปัญหาถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
    การรักษาลิ้นหัวใจรั่ว
    สามารถรักษาได้ผ่านการผ่าตัด ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 2 รูปแบบ คือ
    ผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียม เป็นการรักษาด้วยการเอาลิ้นหัวใจที่เสียหายออก และนำลิ้นหัวใจเทียมใส่เข้าไปแทนซึ่งมีอยู่หลายแบบทั้งจากโลหะ หรือเนื้อเยื่อของสัตว์ โดยอายุของลิ้นหัวใจใหม่นี้จะอยู่ที่ประมาณ 10 ถึง 15 ปี ควบคู่กับการทานยาเพื่อป้องกันเลือดแข็งตัว การผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถตั้งครรภ์ได้
    ผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ เป็นการผ่าตัดซ่อมแซมแก้ไขส่วนที่เสียหายของลิ้นหัวใจ โดยใช้เนื้อเยื่อหัวใจของผู้ป่วยเอง การรักษาด้วยวิธีนี้ถือว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด เพราะร่างกายของผู้ป่วยจะไม่ต่อต้าน และสามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงแบบเดิมอีกด้วย
    ป้องกันลิ้นหัวใจรั่วอย่างไร
    โรคนี้ยากที่จะป้องกัน เนื่องจากปัจจัยในการเกิดโรคเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เช่น การเป็นแต่กำเนิด และการเสื่อมสภาพตามอายุ ถึงจะเป็นอย่างนั้นเราก็ยังสามารถป้องกันปัจจัยอื่น ๆ ได้ เช่น ไข้รูมาติก ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้
    หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้รูมาติก
    หากรู้ว่ามีการแพร่เชื้อโรคของไข้รูมาติก ควรหลีกเลี่ยงการไปยังพื้นที่นั้น หรือพยายามหลีกเลี่ยงชุมชนแออัด
    ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับไข้รูมาติก
    ดูแลสุขอนามัยของสถานที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานที่สำคัญที่มีผู้คนพลุกพล่าน เช่น โรงเรียน เป็นต้น
    โรคลิ้นหัวใจรั่วป้องกันได้บางปัจจัย และผลของโรคนั้นถือว่ารุนแรง ดังนั้นหากเป็นโรคนี้ควรเข้ารับการรักษาก่อนจะอันตราย ถ้าจะให้ดีกว่านี้เราควรตรวจการทำงานของหัวใจเพื่อหาความผิดปกติในหัวใจ เพราะเราอาจไม่รู้เลยว่าหัวใจของเรานั้นยังคงทำงานได้อย่างสมบูรณ์อยู่หรือไม่

ความคิดเห็น • 69

  • @user-hq2vi7pk4t
    @user-hq2vi7pk4t ปีที่แล้ว +16

    สมัยก่อนผมก็เคยไปหาปลาไปดำน้ำ ดำแบบตื้นๆตามแม่น้ำลำคลอง ผมกลั้นหายใจได้ไม่ถึงนาทีครับ(ไม่เชื่อคุณลองกลั้นแล้วจับเวลาดูก็ได้) จนมีน้าคนหนึ่งตายเพราะถูกน้ำดูดที่ฝาย ผมจึงเลิกนับแต่นั้น อีกอย่างบางทีเวลาดำน้ำอาจจะมีน้ำเข้าจมูกด้วย(ใครเคยจะรู้สึกว่ามันจี๊ดๆขึ้นสมอง)เห็นข่าวอะมีบากินสมองนึกย้อนกลับไปก็เสียวเหมือนกันตอนนั้น

  • @patpatchannel4019
    @patpatchannel4019 2 หลายเดือนก่อน +2

    ฟังย้อนหลัง..ขอบคุณค่ะคุณหมอ..
    เคยดูสารคดี..กลุ่มสตรี เกาหลีและญี่ปุ่น...ที่ ดำน้ำ เก็บหอยเม่น พวกเธอเก่งมากและแข็งแรงมากๆ...การทำอาชีพดำน้ำแบบนี้ ฝึกมานานมากๆ...จนร่างกายเคยชิน

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  2 หลายเดือนก่อน

      ใช่ครับ

  • @krijgertje7014
    @krijgertje7014 ปีที่แล้ว +6

    ขอวินิจฉัยโรคของคุณเอส กันตพงษ์ด้วยค่ะคุณหมอเกมส์

  • @user-fj9zv7fw1r
    @user-fj9zv7fw1r หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณครับคุณหมอ

  • @user-cx9rx5ei8h
    @user-cx9rx5ei8h 10 หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ..ดิฉันเป็นโรคลิ้นหัวใจรั่วข้างขวา..ขอความกรุณาคุณหมอช่วยทำคลิปโรคนี้ให้เป็นความรู้ในสาเหตุและการรักษาอย่างไรบ้างค่ะ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  10 หลายเดือนก่อน +1

      ได้ครับ เดี๋ยวหาเคส ทำให้ครับ

  • @user-xp2uo3nb9f
    @user-xp2uo3nb9f ปีที่แล้ว +10

    ลูกสาวเคยไปดำน้ำเกิดภาวะหูดับฝากไว้ให้ทุกคนระวังด้วยน่ะค่ะ

  • @maiariya944
    @maiariya944 11 หลายเดือนก่อน +1

    ดีมากๆ

  • @OppoOppo-pw8in
    @OppoOppo-pw8in ปีที่แล้ว +4

    เกาหลีใต้ก็มี กลุ่มหญิง ฮันยอ ดำน้ำ แข็งแรงมากครับ

  • @user-yb3qg2cm2w
    @user-yb3qg2cm2w ปีที่แล้ว +6

    ที่เกาะกระดาน จ.ตรัง ผมเคยดำน้ำตัวเปล่าลงไปเก็บแว่นสน็อกเกิ้ลดำน้ำที่เช่ามา เพราะถ้าไม่เก็บคืนจะโดนปรับเงิน มันร่วงลงไปประมาณ5เมตร รู้ซึ้งเลยครับว่าการดำน้ำยิ่งลงไปๆหัวและตัวเหมือนจะระเบิดออก

  • @Cindy...ann333
    @Cindy...ann333 ปีที่แล้ว +6

    ขอบพระคุณมากค่ะคุณหมอ...เทคแคร์นะคะ...💝💗💗

  • @paiboolchewapruk8472
    @paiboolchewapruk8472 ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณครับ

  • @korrapatpalakawong4187
    @korrapatpalakawong4187 ปีที่แล้ว +2

    ส่วนมากเห็นเพื่อนฝรั่งดำแบบนี้เก่ง และชาวเล ชาวประมง ดำน้ำเก่ง เพราะซ่อมเครื่องยนต์ใต้น้ำ

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 ปีที่แล้ว +2

    โรคเกี่ยวกับปอดเช่นกัน เป็นกับชายมากกว่าหญิงค่ะ

  • @user-nf2tf7ji9q
    @user-nf2tf7ji9q ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

  • @smartphonesamsung9243
    @smartphonesamsung9243 10 หลายเดือนก่อน +3

    คุณหมอครับ สคูบา เพื่อการสันทนาการใช้ถังอัดอากาศธรรมดาครับ ไม่ใช่ถัง อัดออกซิเจน เพราะออกซิเจนบริสุทธิ์เป็นพิษต่อร่างกายที่ความลึกที่ลึกกว่า21 ฟุตขึ้นไป ( oxigen toxicity )ออกซิเจนบริสุทธิ์ใช้ในงานเฉพาะทางบางอย่าง และทางทหารกับโดยเป็นระบบปิด

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  10 หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณมากครับ

  • @phanasak1291
    @phanasak1291 ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณมากครับ

  • @danittnhong9833
    @danittnhong9833 ปีที่แล้ว +8

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ🙏ขอบคุณมากๆค่ะที่ให้ความรู้ฟังไม่เบิ่อเลยค่ะ ตั้งใจฟังทุกครั้งค่ะ❤

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณครับ🙏🙏🙏❤️❤️❤️

  • @maiariya944
    @maiariya944 11 หลายเดือนก่อน +1

    คุณหมอบอกว่าไม่ได้ขาดจากการดำน้ำเสมอ​แต่เป็นไปได้และพบน้อย​

  • @gracececilia9689
    @gracececilia9689 ปีที่แล้ว +5

    ขอบคุณ​ค่ะ❤

  • @yanikakb4622
    @yanikakb4622 ปีที่แล้ว +2

    ขอบคุณ อจ.หมอ มากๆค่ะ

  • @patchareekalayanamit1127
    @patchareekalayanamit1127 ปีที่แล้ว +5

    ขอบคุณคุณหมอที่นำสาระความรู้ดีๆมาบรรยายให้ฟังค่ะเป็นอีกอาการเจ็บป่วยทีอาจเกืดขึ้นกับใครๆก็ได้

  • @saisabaibang564
    @saisabaibang564 ปีที่แล้ว +4

    ขอบคุณนะคะคุณหมอ

  • @warareee
    @warareee ปีที่แล้ว +5

    จริงๆแล้วอยากทำคลิปชวนกันไปเลือกตั้งสินะคะ
    น่ากลัวตรงไม่รู้ว่าทำไมถึงรั่ว แล้วนี่เด็กความดัน หัวใจดิ้นเยอะใช้ได้อีก

  • @morkmuang
    @morkmuang ปีที่แล้ว +6

    ขอบคุณครับ อธิบายสั้น เข้าใจง่าย

  • @user-mx1yf3mi6n
    @user-mx1yf3mi6n ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณค่ะ

  • @user-ii4nv6iu3b
    @user-ii4nv6iu3b ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณค่ะ❤

  • @wantanatangweerakiet7102
    @wantanatangweerakiet7102 ปีที่แล้ว +2

    🙏🏻🙏🏻🙏🏻

  • @user-lv4jc2sb2n
    @user-lv4jc2sb2n ปีที่แล้ว +5

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ก่อนรับชมคลิปขออวดก่อนค่ะว่าเม้นแรก❤❤❤❤

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  ปีที่แล้ว +1

      555 ขอบคุณครับ🙏🙏🙏

  • @krongkaewarunsiri8866
    @krongkaewarunsiri8866 ปีที่แล้ว +4

    สวัสดีค่ะคุณหมอขอบพระคุณค่ะอนุโมทนาสาธุค่ะ🙏🙏🙏

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 ปีที่แล้ว +9

    สังเกตว่าโรคเกี่ยวหัวใจเป็นกับผู้ชายมากกว่าหญิง ดูจากภาพตัวอย่าง และบุคคลที่คุณหมอนำเล่าให้ฟังค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

    • @penpugsuwan7447
      @penpugsuwan7447 ปีที่แล้ว

      รายนี้ประมาท ไม่พร้อมด้านอุปกรณ์ร่างกายประสบการณ์ดำน้ำลึก ทำให้ระบบหายใจ ทำงานหนักเกินไปจนหัวใจ ปอดบาดเจ็บ

    • @chariwirun504
      @chariwirun504 ปีที่แล้ว

      ผู้หญิงมีฮอร์โมนเอสโตเจนช่วยคะ

    • @sameerakamae5108
      @sameerakamae5108 ปีที่แล้ว

      สูบบุหรี กินเหล้า

  • @armsang3219
    @armsang3219 ปีที่แล้ว +3

    ชอบตอนจบที่ชวนไปเลือกตั้งนะครับ คุณหมอมีอึ้งๆ ฮ่าๆๆ😂

  • @sfghjzcbhh184
    @sfghjzcbhh184 ปีที่แล้ว +1

    💖💖💖

  • @luckyeuro2222
    @luckyeuro2222 ปีที่แล้ว +3

    😱omg.🙏

  • @surakiza
    @surakiza ปีที่แล้ว +3

    เสียวเลยครับ คุณหมอ ขอบคุณที่นำมาเสนอครับ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  ปีที่แล้ว +1

      ยินดีครับ ❤️❤️❤️

  • @user-bn6ud7ft1d
    @user-bn6ud7ft1d ปีที่แล้ว +6

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ น้ำท่วมปอดคือเลือดท่วมปอดใช่ไหมคะ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  ปีที่แล้ว +5

      ใช่แล้วครับ

    • @daoroongweerakul2493
      @daoroongweerakul2493 ปีที่แล้ว +3

      คุณหมอ ให้ความรู้ดีมากค่า

  • @pongpaka2587
    @pongpaka2587 ปีที่แล้ว +1

    😊😊❤

  • @noonuy
    @noonuy 10 หลายเดือนก่อน +1

    คุณหมอค่ะ เคยปอดรั่ว จะไม่สามารถดำน้ำได้อีกเลยใช่ไหมค่ะ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  10 หลายเดือนก่อน +1

      ใช่ครับ

    • @noonuy
      @noonuy 10 หลายเดือนก่อน

      @@DoctorNearU เป็นเศร้า

  • @DriftMasterz
    @DriftMasterz ปีที่แล้ว +10

    scuba แบบ Recreational ใช้ถังอัดอากาศปกติครับอาจารย์ ไม่ใช่ถัง O2 .. อากาศในถังถือ ไนโตเจน 79% และมี ออกซิเจน 21% ครับ
    นอกเหนือจากนี้มีอากาศผสม แต่ไว้ค่อยกล่าวในบริบทหน้าครับ
    เราเรียกว่าถังอากาศครับ ไม่ใช่ถังออกซิเจน
    ด้วยรักและเคารพอาจารย์ครับ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  ปีที่แล้ว +4

      ขอบคุณมากครับ..ที่มาให้คำแนะนำ...🙏🙏🙏...จานดำน้ำไม่เป็น 555...มีอะไร เรื่อง ดำน้ำ แนะนำเพิ่มเติมได้เลยครับ

    • @DriftMasterz
      @DriftMasterz ปีที่แล้ว +3

      @@DoctorNearU ติดตามอาจารย์มาตลอดครับ ขอบคุณจารย์ที่เผยแพร่ความรู้นะครับ FC ฮะ

    • @YUNYUWADEE
      @YUNYUWADEE ปีที่แล้ว +3

      จานน่ารักจังค่ะ😊

  • @user-fi4kl4ki5p
    @user-fi4kl4ki5p ปีที่แล้ว +1

    หมอคะ แล้ว ผนังหัวใจรั่ว กับลิ้นหัวใจรั่ว เป็นอาการป่วยเดียวกันไหมคะ และวิธีรักษาเหมือนกันไหมคะ

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  ปีที่แล้ว +2

      ไม่เหมือนครับ...แต่อาการอาจคล้ายกัน การรักษา ถ้า ผนังรั่วกว้าง ต้องผ่าตัดปะผนังครับ /// ส่วน ลิ้นหัวใจ มีผ่าตัดหลายแบบ ขึ้นกับสภาพลิ้น../ สาเหตุการที่ให้ ลิ้นรั่วครับ ..บางเคสผ่าเปลี่ยนทั้งลิ้น / บางเคส แค่เย็บซ่อม chordae tendenes

  • @wutthichaibunchongpru5842
    @wutthichaibunchongpru5842 ปีที่แล้ว +1

    ถังออกซิเจนดำน้ำไม่ได้ มันเป็นอากาศอัด

  • @user-jh1pl9bk9v
    @user-jh1pl9bk9v ปีที่แล้ว +9

    ในฐานะ ที่เป็นครูสอนดำน้ำ ทั้ง Scuba และ Freedive เป็นวีดีโอที่ดีในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรคนะครับ
    คุณหมอเองก็ไม่น่าที่จะโทษว่าเกิดจากการดำน้ำทั้งหมด เพราะคุณหมอเองก็ไม่น่าจะอยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้น ซึ่งคุณหมอเองก็บอกเองว่าเกิดได้จากหลายปัจจัย จากที่ฟังมาคุณหมอยังไม่ได้เรียนดำน้ำ เพราะฉนั้นผมอยากให้คุณหมอมาลองเรียนดูก่อนครับว่าจริงๆ แล้วดำน้ำเป็นกีฬาที่ค่อนข้างปลอดภัย ถ้าปัฏิบัติตามกฏพื้นฐาน
    ถ้าจะกล่าวว่าเกิดจากการดำน้ำจริง 1)คุณหมอควรจะทำวิจัยเก็บข้อมูลก่อน
    2)คุณหมอควรจะหาข้อมูลจาก paper ต่างๆมาสนับสนุน
    3) คุณหมอควรจะเรียนดำน้ำก่อนนะครับ
    4) ถ้าเกิดจากดำน้ำจริงคุณก็ควรจะอยู่ในเหตุการณ์ พร้อมทั้งวินิจฉัย ณ.หน้างานจริง
    การให้ความรู้ที่ถูกต้องมันดีครับแต่ก็ไม่ควรที่จะศึกษาให้ถ่องแท้กว่านี้ครับ
    ขอบพระคุณครับ
    จากครูสอนดำน้ำท่าหนึ่ง

    • @DoctorNearU
      @DoctorNearU  ปีที่แล้ว +3

      ขอบคุณที่แนะนำครับ...ยินดีเสมอ สำหรับ Comments ที่มีประโยชน์ครับ 👍👍👍

    • @user-jh1pl9bk9v
      @user-jh1pl9bk9v ปีที่แล้ว +3

      ลองหาข้อมูลดูนะครับว่าการดำแบบ freedive สามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจได้นะครับ มีสาระคดีที่เข้าทำเรื่องนี้อยู่ครับ ปกติ หัวใจเต้นเฉลี่ย 60-80ครั้ง/นาที
      แต่นักดำน้ำ freedive ที่ได้รับการฝึกฝนที่ถูกต้องสามารถจะดึงอัตราการเต้นหัวใจให้ต่ำลงได้ครับ
      ในสาระคดีถ้าจำไม่ผิดดึงลงไปได้ต่ำกว่า 30 ครั้งต่อนาทีครับ

    • @apbd5939
      @apbd5939 ปีที่แล้ว

      ควร หรือ ไม่ควร คะ

    • @sumitrad.4168
      @sumitrad.4168 ปีที่แล้ว +1

      ใช่ค่ะ ไม่น่าใช่จากการดำน้ำ เค้าดำกันมานานกี่ศตวรรษแล้วไม่เห็นมีแบบนี้ ควรนึกถึงวาคซี..น..นะ เพราะเกิดไม่พ้นเรื่องหัวใจ

  • @pituckk
    @pituckk ปีที่แล้ว +4

    วัคซีนกำลังทำงาน

  • @sricutejandee5508
    @sricutejandee5508 ปีที่แล้ว +1

    ช่วงนี้ ฮีทสโตค หอบหืด ไหลตาย เยอะมากๆๆ ไม่พอ ยังมีไซยาไนอีก น่ากลัว ระแวงไปหมด

  • @0835406296
    @0835406296 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณความรู้ครับ

  • @siriwanpiriyasyangkul2491
    @siriwanpiriyasyangkul2491 ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะ