EP.2 ปฎิบัติการ "ไตรโคเดอร์ม่า" ปราบรากเน่าโคนเน่า "ไฟทอปธอร่า" ในสวนทุเรียนร้อยปี !!!

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 10 มิ.ย. 2020
  • โรครากเน่าโคนเน่า หรือ "ไฟทอปธอราในทุเรียน" เป็นโรคที่สำคัญและเป็นปัญหามากที่สุดกับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน โดยเฉพาะพื้นที่ทางภาคใต้ ซึ่งมีฤดูฝนยาวหรือฝนตกชุกต่อเนื่องติดกันหลายวัน เพราะหากเกิดการระบาดมีโอกาสทำให้ต้นทุเรียนตายในระยะเวลาค่อนข้างเร็ว ต้นที่แสดงอาการของโรคเริ่มแรกใบจะค่อยๆเหลือง เมื่อขูดบริเวณโคนต้นจะพบรากฝอยเน่าและแข็งมีสีดำ เนื้อเยื่อโคนต้นใต้ดินและรากแขนงที่ต่อจากโคนต้นจะแสดงอาการเน่าด้วย หากถากเปลือกออกเนื้อเยื่อโคนต้นและเนื้อเยื่อรากแขนงจะมีลักษณะคล้ำสีน้ำตาลปนม่วง โดยเชื้อไฟทอปธอรา สามารถก่อให้เกิดอาการโรคได้ทุกส่วนของต้นพืช ตั้งแต่รากที่อยู่ใต้ดิน ลำต้นและใบ ไปจนถึงบนผลทุเรียน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เชื้อแพร่กระจายเข้าทำลายในต้นพืช
    เชื้อไฟทอปธอราจะเข้าทำลายต้นทุเรียนทางรากหรือโคนต้นระดับดิน เชื้อจะเข้าสู่ระบบท่อน้ำของลำต้น เมื่อเชื้อโรคเจริญเติบโต ก็จะแพร่กระจายไปทั่วต้น จะเห็นแผลเน่าบนเปลือกของลำต้น ที่เราเรียกกันว่า “โคนเน่า” แต่อาการที่พบโดยทั่วในสวนทุเรียน เรามักเห็นอาการแผลอยู่บนลำต้นมากกว่าที่โคนต้น แผลของโรคมีลักษณะเป็นแผลตกสะเก็ดสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมม่วง ตามด้วยอาการใบเหลือง เมื่อโรคแพร่กระจายไปสู่ยอดก็จะเกิดอาการใบยอดหลุดร่วง เหลือแต่กิ่งในช่วงทุเรียนติดผล โรคก็อาจลุกลามไปที่ผล ทำให้เปลือกของผลทุเรียนมีอาการเน่า ต้นทุเรียนที่ถูกเชื้อไปทอปธอราเข้าทำลาย จะทรุดโทรมไปเรื่อยๆ ผลผลิตลดลง ผลทุเรียนไม่สมบรูณ์ และยืนต้นตาย ในที่สุด โรคไฟทอปธอราจึงเป็นโรคเรื้อรังในต้นทุเรียน เมื่อต้นทุเรียนทรุดโทรมจากโรคมากขึ้น เกษตรกรก็จะโค่นต้นเก่าทิ้ง แล้วปลูกทดแทนใหม่บนพื้นที่เดิม ต้นใหม่ก็จะเป็นโรคอีก โรคไฟทอบธอราจึงไม่เคยหมดไปจากสวนทุเรียนเลย
    เชื้อไฟทอปธอรา เป็นจุลินทรีย์ขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาศัยอยู่ในดิน มีหลายชนิดที่เข้าทำลายทุเรียน แต่นักวิชาการรายงานว่า เชื้อไฟทอปธอรา ที่มีชื่อว่า Phytophthora palmivora (ไฟทอปธอรา ปาล์มมิโวลา) เป็นชนิดหลักในสวนทุเรียน โดยเชื้อจะสามารถสร้างสปอร์พิเศษมีผนังหนาที่ทนสภาพแวดล้อมได้ดี มีชีวิตอยู่ในดินได้นานภายใต้สภาวะที่ไม่เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อไฟทอปธอรา เช่น อากาศแห้งแล้ง ดินขาดน้ำ เมื่อดินได้น้ำในหน้าฝน เชื้อก็จะเจริญเติบได้ต่อไป ดังนั้น เราอาจจะพบว่าในช่วงหน้าแล้ง โรคจะไม่ระบาด ดูเหมือนว่าไม่มีโรคไฟทอปธอราบนต้นทุเรียน แต่เมื่อเข้าหน้าฝนโรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น เชื้อไฟทอปธอราอาจมีหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์อาจมีความรุนแรงของการเกิดโรคแตกต่างกัน และสามารถต้านทานสารเคมีกำจัดโรคพืช หรือที่เราเรียกว่า “ดื้อยา” นั่นเอง
    เพราะฉะนั้น การใช้วิธีป้องกันกำจัดโรครากและโคนเน่าของทุเรียน "ไฟทอปธอรา" ด้วยวิธีธรรมชาติ หรือชีววิธี ด้วยการใช้เชื้อราชั้นสูง เชื้อราปฎิปักษ์ไตรโคเดอร์มา ควบคุมเชื้อราไฟท็อปธอร่าในดิน โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าสดที่ขยายดีแล้ว ฉีดพ่นทรงพุ่มและราดลงดิน หรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์ม่าผสมกับรำข้าวและปุ๋ยหมักนำไปโรยรอบโคนต้น จึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยแก้ปัญหาให้ได้ผลดี และสร้างภูมิคุ้มกันให้กับต้นทุเรียนอย่างยั่งยืนอีกด้วยครับ
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ความคิดเห็น • 4

  • @user-lp7om6gp8d
    @user-lp7om6gp8d 4 ปีที่แล้ว

    รับชมด้วยคนน่ะครับ..

    • @kasetjourney
      @kasetjourney  4 ปีที่แล้ว

      ยินดีมากๆครับ แวะเวียนเข้ามาแลกเปลี่ยนแนวคิดดีๆด้านเกษตรกันบ่อยๆนะครับ

  • @kitsanaphollipithirakon8238
    @kitsanaphollipithirakon8238 3 ปีที่แล้ว

    ต้องเเช่น้ำไว้ก่อนใหมครับ

    • @kasetjourney
      @kasetjourney  3 ปีที่แล้ว

      ไม่ต้องแช่ครับ