ชัวร์ก่อนแชร์ : เสาหลักแห่งการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ จริงหรือ?

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 20 ต.ค. 2021
  • Q : เสาหลักแห่งการป้องกันอัลไซเมอร์ ที่เขาแชร์กันนี้จริงไหม ?
    A : โดยภาพรวมก็ใช้ได้
    เป็นแนวทางการป้องกันที่ทุกข้อก็มีหลักฐานอยู่
    Q : ข้อแรก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ประมาณ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
    จะป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ 50% ?
    A : ตั้งต้นก่อนว่าโดยปกติแล้วแต่ละข้อมีน้ำหนักในการป้องกัน
    โดยเฉลี่ยประมาณเท่ากว่า ๆ ถึง 2 เท่า
    ถ้าจะบอกว่าลดลงมา 50% แปลว่าต้องลดลงไป 2 เท่า
    ทุกข้อจริง ๆ ก็ไม่ถึงขนาดนั้น
    แต่ว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
    โดยเฉพาะสัปดาห์ละ 3-5 ครั้งขึ้นไป ก็จะช่วยได้
    เป็นการสะสมกันประมาณสัปดาห์ละ 150 นาที
    ถ้าออก 3 ครั้ง (ต่อสัปดาห์) ครั้งนึงอาจจะประมาณ 45-50 นาที
    ถ้าออก 5 ครั้ง (ต่อสัปดาห์) ก็อาจจะเป็นครั้งละประมาณ 30 นาที
    Q : สำหรับผู้สูงอายุ การทำงานบ้าน
    ทำสวน ดูแลสวน หรือการขยับร่างกายอย่างสม่ำเสมอ
    ก็เป็นการออกกำลังกายที่ดีและเหมาะสมแล้ว ?
    A : คือการที่ทำงานบ้านก็ช่วยได้ระดับนึง
    เพียงแต่ว่ามันใช้พลังงานออกไปไม่มากนัก
    เพียงแต่ดีกว่าไม่ทำอะไรเลย ถ้าออกกำลังกายที่เหมาะ
    ก็มักจะต้องเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยเรื่องของหัวใจ
    หลอดเลือด แล้วก็เมตาบอลิซึมของร่างกาย
    เช่นการเดินเร็ว การวิ่งเหยาะ การเต้นรำ อะไรต่าง ๆ
    Q : 2. อ่านหนังสือและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
    ใช้สมองให้มากขึ้น เพราะเมื่อเราไม่ใช้สมองเราจะเสียมันไป ?
    A : เรื่องเกี่ยวกับการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ รวมจนถึงการศึกษา
    อันนี้มีผลมาตั้งแต่วัยเด็กเลย
    ถ้าเด็ก ๆ ที่ได้รับการเรียนรู้กระตุ้น การเรียนรู้พัฒนาการต่าง ๆ
    ก็จะช่วยทำให้สมองมีกำลังสำรองค่อนข้างที่จะมาก
    ฉะนั้นการฝึกฝนสมองบ่อย ๆ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ก็เป็นสิ่งที่ดี
    ก็ช่วยป้องกันได้
    Q : 3. ทานผักและอาหารสดต้องเยอะ ?
    A : เขาพบว่ากลุ่มอาหารที่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมที่สำคัญ
    ก็คือทานอาหารที่มีผักมาก ๆ
    แล้วก็ทานปลา ทานผลไม้ ทานเมล็ดธัญพืช
    น้ำมันก็เป็นน้ำมันที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว
    เช่น น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันจากพืชต่าง ๆ
    แล้วก็เลี่ยงพวกไขมันอิ่มตัว เช่น เครื่องใน
    สัตว์เนื้อแดง หรือว่าเนื้อติดมัน ติดหนัง
    แล้วก็พวกครีม พวกเนย
    ถ้าทานนมก็ทานเป็นนมที่พร่องไขมันเนย
    ก็พบว่าถ้ากลุ่มที่ทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวลดลง
    แล้วก็ทานผัก ผลไม้ เมล็ดธัญพืชมาก ๆ ทานปลามาก ๆ
    ทานไขมันไม่อิ่มตัวมาก ๆ
    ก็จะลดความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมลงได้
    Q : น้ำมันปลา หรือ fish oil เป็นอาหารเสริมที่ดี ?
    A : ถ้าทานที่เป็นแบบเม็ด ๆ เลยในการป้องกัน ข้อมูลยังค่อนข้างจะบวกลบ
    ส่วนใหญ่ก็จะเป็นมาจากธรรมชาติ
    เช่นเขาก็พบว่าคนที่ทานปลาชนิดที่มีไขมันปลาค่อนข้างมาก
    เช่นปลาทะเลน้ำลึก หรืออะไรต่าง ๆ
    ก็จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคสมองเสื่อมลงได้
    เทียบกับคนที่ไม่ได้ทาน
    ก็คือมีความเสี่ยงต่างกันอยู่บ้าง
    Q : 4. นอนวันละ 7-8 ชั่วโมง เพราะการนอนน้อยเป็นการสั่งสมองให้ทำลายตัวเอง ?
    A : คือความพอดีของการนอนกลางคืนของแต่ละคนมันไม่เท่ากัน
    แต่ว่าโดยเฉลี่ยก็ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ได้
    การนอนน้อยมีผลกระทบกับสมอง
    คนที่นอนไม่ค่อยหลับ หรือว่าบางคนที่หลับแล้วมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
    เช่น กรน หรือว่ามีการหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ในช่วงที่นอน
    พบว่าจะมีระดับการทำงานของสมองที่ลดลง เทียบกับคนที่นอนปกติ
    Q : ผู้สูงอายุควรนอนกลางวันด้วย
    เพราะสมองของผู้สูงอายุ ต้องการการพักผ่อนมากกว่าวัยรุ่นหรือวัยทำงาน ?
    A : อันนี้จริง ๆ ก็ค่อนข้างที่จะเป็นธรรมชาตินิดนึงอยู่แล้วว่า
    พออายุมากขึ้น กลางคืนก็อาจจะหลับได้ไม่ลึก แล้วก็ไม่ได้ยาวมากนัก
    เทียบกับคนที่เป็นวัยรุ่น หนุ่มสาว
    แต่จะมีลักษณะของการง่วงบ่อย เช่นในช่วงกลางวัน
    ฉะนั้นก็มีการนอนพักบ้างในช่วงกลางวัน
    แต่ว่าถ้านอนนานเกินไป หรือนอนกลางวันหลังบ่ายสาม
    ก็อาจจะมีผลกระทบต่อการนอนหลับตอนกลางคืนอีก
    ฉะนั้นถ้าเกิดว่านอนในตอนกลางวัน
    ก็พยายามนอนก่อนบ่ายสาม แล้วก็งีบหลับเป็นระยะเวลาสั้น ๆ
    ครึ่ง-1 ชั่วโมง ก็อาจจะโอเคนะครับ
    Q : 5. พยายามทำให้ตัวเองอยู่ในสภาวะที่เครียดน้อยที่สุด
    เมื่อเราเครียดเซลล์สมองจะทำลายตัวเองเร็วมาก ?
    Q : คงไม่ถึงกับว่าเซลล์สมองทำลายตัวเอง
    เพียงแต่ว่าเป็นลักษณะที่ว่าความเครียดกับอารมณ์ซึมเศร้า
    เขาพบว่าเป็นความเสี่ยงอันนึงที่อนาคตการทำงานของสมองอาจจะถดถอยลง
    Q : 6.อยู่กับคน เมื่อไหร่ที่เราไม่ได้เข้าสังคม
    หรือขาดการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบ่อย ๆ จะทำให้สมองฝ่อ ?
    A : อาจจะไม่ได้ถึงกับทำให้สมองฝ่อ
    เพียงแต่ว่าการเข้าสังคม การพบปะสังสรรค์ มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
    ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง
    ก็จะมีส่วนในการที่จะลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะสมองเสื่อมลงได้
    อันนี้ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
    Q : หากเป็นโรคอัลไซเมอร์แล้ว
    วิธีเหล่านี้ก็จะช่วยให้ใช้ชีวิตไปจนถึงบั้นปลายได้ ?
    A : การที่เราดูแลสิ่งเหล่านี้จริง ๆ เป็นการป้องกันก่อนเกิดโรค
    แต่เมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว การชะลอการถดถอยต่าง ๆ
    ก็อาจช่วยประคับประคอง แต่จะไม่สามารถที่จะหยุดยั้งได้
    ยังไง ณ เวลาที่ผ่านไป ก็คงจะค่อย ๆ มีการถดถอยไป
    Q : ปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรระวังในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ?
    A : คนที่มีการบกพร่องการได้ยิน ก็พบว่าก็จะไม่ค่อยได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
    ฉะนั้นคนที่มีปัญหาเรื่องการได้ยินก็จะต้องพยายามแก้ไข
    Q : เบาหวาน ความดัน ?
    A : คนที่สมองเสื่อม บางคนเสื่อมจากหลอดเลือด
    เลือดไปเลี้ยงสมองไม่ค่อยดี
    ฉะนั้นการคุมปัจจัยเสี่ยงของหลอดเลือด เช่น เบาหวาน ความดัน
    ก็จะช่วยในกรณีนี้
    Q : อีก 2 อัน ก็คือบุหรี่กับเหล้า ?
    A : เหล้านี่ก็คือถ้าดื่มเกินสัปดาห์ละ 21 ดริ๊งก์ ก็คือวันละไม่เกิน 3 ดริ๊งก์
    1 ดริ๊งก์ ก็ประมาณเบียร์ 1 กระป๋อง
    คือถ้าดื่มมากเกินไปพบว่ากลายเป็นผลเสียกับสมอง
    มลพิษทางอากาศ เช่น PM 2.5 จะมีผลกระทบอยู่เหมือนกัน
    นอกจากนั้นก็จะมีเรื่องของอุบัติเหตุที่สมอง
    สมองได้รับการกระทบกระเทือน
    Q : สรุป ?
    A : ทั้ง 6 ข้อ ก็เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะสมองเสื่อม
    ซึ่งควรที่จะปฏิบัติตามนั้น
    เพียงแต่อาจจะมีบางคำที่ อาจจะไม่ได้ 100 เปอร์เซนต์ตามนั้นทีเดียว
  • บันเทิง

ความคิดเห็น • 12

  • @icedteagames
    @icedteagames 2 ปีที่แล้ว +4

    อังคารหน้า พี่มีเรียน Alzheimer's พอดี ขอบคุณ สำหรับคลิป นี้ ค่ะ

  • @user-ln7gy9td9u
    @user-ln7gy9td9u ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ🙏🌹💝

  • @pramuanchutham7355
    @pramuanchutham7355 2 ปีที่แล้ว +3

    คุณหมอเป็นนักวิชาการคนแรก ที่ไม่ค้านหัวชนฝาทุกเรื่อง(ข้าเก่งคนเดียว) เหมือนหลายๆคนที่ได้ยินมา ครับ

    • @chalobolchalermsri9807
      @chalobolchalermsri9807 2 ปีที่แล้ว +1

      อาจารย์เราเองค่ะ...เก่งและใจดี แถมใจเย็นกับคนไข้และนักเรียนมากๆ แสนภูมิใจในตัวครู^^

  • @medeedee3494
    @medeedee3494 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากๆ ช่องชัวร์ก่อนแชร์ค่ะ🙏👍👍👍และคุณหมอ👍👍👍🫡

  • @matepong9500
    @matepong9500 2 ปีที่แล้ว +3

    ผู้เชี่ยวชาญแต่ละคน ก็อาจมีความเห็นที่แตกต่างในเรื่องเดียวกัน เป็นขีดจำกัดของรายการที่ไม่มีเวลา+งบพอที่สอบถามความเห็นหลายๆคนมาประมวลผลสรุปได้

    • @MrSomchais
      @MrSomchais 2 ปีที่แล้ว +3

      ขออนุญาตไม่เห็นด้วย
      ถ้าจะให้ชัวร์ก่อนแชร์ ข้อมูลต้องรอบด้านกว่านี้ ไม่ใช่ไปถามความเห็นนักวิชาการคนเดียว แล้วก็มาสรุปเห็นด้วย หรือหักล้างกับข้อมูลที่เค้าแชร์ๆกันอยู่ในโซเชียล ประหนึ่งว่านักวิชาการคนนี้เก่งที่สุดในจักรวาลแล้ว ทุกคนต้องเชื่อคนนี้คนเดียว
      ถ้าทำรายการแบบนี้ มันก็จะเข้าข่ายแชร์ก่อนชัวร์ ไม่ต่างอะไรกับที่เค้าแชร์ๆกัน มันก็แค่ข้อมูลมาจากคนละแหล่งแค่นั้นเอง
      รายการนี้ไม่น่าเชื่อถือ ฟังความข้างเดียว คับแคบ ไม่รอบด้าน

  • @nonza3661
    @nonza3661 2 ปีที่แล้ว +2

    ปลาสวยมีมันเยอะกินบ่อยมีผลกับอ้วน.ไขมันในเลือดสูงหรือไม่ครับ

  • @user-hz6rx8mo7u
    @user-hz6rx8mo7u ปีที่แล้ว

    ขอบพระคุณค่ะคุณหมอ

  • @user-rg5eb7sk1z
    @user-rg5eb7sk1z 2 ปีที่แล้ว

    ดีครับชัวร์

  • @user-ln2ut8xi4c
    @user-ln2ut8xi4c 2 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณสำหรับสาระดีดีที่นำมาเสนอครับ.