บุหลันเถา : ปี่พาทย์เสภา คณะครูสุรเดช กิ่​ม​เปี่ยม

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 เม.ย. 2021
  • บุหลันเถา : ปี่พาทย์เสภา คณะครูสุรเดช กิ่​ม​เปี่ยม​
    ปี่ใน : ครูสุรพล หนูจ้อย
    ระนาดเอก : ครูสุรเดช กิ่มเปี่ยม
    ระนาดทุ้ม : ครูเผชิญ กองโชค
    ฆ้องวงใหญ่ : ครูสาธิต แสงบุญ
    ฆ้องวงเล็ก : ครูศักดิ์ชัย ลัดดาอ่อน
    กลองสองหน้า : ครูสมพงษ์ นุชพิจารณ์
    ฉิ่ง : ครูอุทัย ปานประยูร
    การแสดงบรรเลงปี่พาทย์เสภารายการดนตรีไทยพรรณนา ตอน เสือ สิงห์ กระทิง แรด จัดการแสดงเมื่อวันที่ ๑๘ ตุลาคม ๒๕๒๓ ณ โรงละครแห่งชาติ ซึ่งประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของการจัดปี่พาทย์ประชันวง รายการประชันนี้มีอาจารย์เสรี หวังในธรรม เป็นพิธีกรดำเนินรายการ
    ซึ่งเป็นการประชันวงบรรเลงเพลง ๔ ช่วง คือ โหมโรง เพลงเถา เดี่ยวเครื่องมือ และเพลงลา โดยมีวงดนตรีที่ประชันกันในครั้งนั้นทั้งหมด ๔ วง ประกอบด้วย
    ๑.วงครูสุพจน์ โตสง่า
    ๒.วงครูสุรเดช กิ่มเปี่ยม
    ๓.วงครูพัฒน์ บัวทั่ง
    ๔.วงครูเมธา หมู่เย็น
    - ประวัติเพลงบุหลันเถา -​
    เพลงบุหลันเดิมเป็นเพลงอัตราจังหวะสองชั้นทำนองเก่า นิยมนำไปบรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงละครนอก ไม่นิยมใช้กับละครในหรือโขน เป็นเพลง ๒ ท่อนสั้นๆ เดิมเรียกชื่อว่า เพลงชกมวย
    ต่อมาครูทัต นักดนตรีในวงดนตรีของสมเด็จ เจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ ได้แต่งขยายเป็นอัตราจังหวะสามชั้นเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยรวบทำนองเพลงชกมวยอัตราจังหวะสองชั้นซึ่งมี ๒ ท่อนให้เป็นเพลงท่อนเดียว และนำทำนองใบ้คลั่งท่อนที่ ๓ มาดัดแปลงทำนองใหม่ให้เป็นท่อน ๒ เรียกชื่อใหม่ว่า เพลงบุหลัน
    ครั้งต่อมา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงนำเพลงบุหลันสามชั้นของครูทัต มาดัดแปลงทำนองและเปลี่ยนเสียงใหม่เพื่อให้เหมาะกับการบรรเลงด้วยแตรวง ทรงพระนิพนธ์เพลงนี้เมื่อยังดำรงพระยศเป็นเสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ราว พ.ศ.๒๔๕๖ ถึง พ.ศ.๒๔๖๓ นอกจากนี้ยังมีนักดนตรีนำเพลงบุหลันชกมวยสามชั้นของครูทัต ไปแต่งตัดเป็นอัตราจังหวะสองชั้นและชั้นเดียว ครบเป็นเพลงเถาหลายทางด้วยกัน คือ
    ๑.ทางพระเพลงไพเราะ (โสม สุวาทิต) แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕
    ๒.ทางวังบูรพา คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง อธิบายว่า หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)​ แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๕ ขณะที่อายุ ๒๕ ปี โดยแต่งทั้งเที่ยวแรกและเที่ยวกลับทางเปลี่ยน
    ๓.ทางวังบางขุนพรหม จางวางทั่ว พาทยโกศล แต่งเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๓ ในอัตราจังหวะสามชั้นเที่ยวแรกแต่งโดยดำเนินลีลาตามแนวของครูทัต เที่ยวกลับได้แต่งเปลี่ยนลีลาใหม่ ในอัตราจังหวะสองชั้น แต่งให้มีสำเนียงเขมร ส่วนในอัตราจังหวะชั้นเดียวโดยแต่งให้มีสำเนียงลาว
    - บทร้องบุหลันเถา -
    สำหรับบทร้อง จากเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒ ตอนท้าวดาหาและบริวารเสด็จกลับจากการแก้บนและเที่ยวชมวิลิศมาหราคีรี ในระหว่างทางเมื่อมืดลงดวงจันทร์ได้ส่องแสงโชติช่วงอยู่เบื้องบน เบื้องล่างมีแสงโคมส่องทางสว่างไสว ระเด่นบุษบาประทับมาในราชรถคันหนึ่ง เผยม่านออกชมแสงจันทร์อย่างเพลิดเพลิน หาทราบไม่ว่าอิเหนากับสี่พี่เลี้ยงได้ปลอมตัวเป็นอำมาตย์ขับขี่ม้าวนเวียนอยู่ในขบวนใกล้ราชรถนั้น .
    - สามชั้น ท่อน ๑ -​
    ครั้นค่ำสนธยาราตรีกาล
    จึงเผยม่านออกชมแสงบุหลัน
    - สามชั้น ท่อน ๒ -​
    ทรงกลดหมดเมฆอยู่พรายพรรณ แสงจันทร์จับแสงรถทรง
    - สามชั้น ท่อน ๓ -​
    แสงโคมประทีปทองส่องสว่าง กระจ่างจับพุ่มไม้ไพรระหง
    - สามชั้น ท่อน ๔ -​
    พวงพยอมหอมหวลลำดวนดง สายหยุดประยงค์โยทะกา
    - สองชั้น ท่อน ๑ -​
    หอมกลิ่นกล้วยไม้ที่ใกล้ทาง ตรัสบอกบาหยันพลางแล้วแลหา
    - สองชั้น ท่อน ๒ -​
    ลมหวนอวลกลิ่นสุมาลย์มา ระคนกลิ่นบุหงาร่ำไป
    - สองชั้น ท่อน ๓ -​
    เรไรจักจั่นสนั่นเสียง เพราะเพียงดนตรีปี่ไฉน
    - สองชั้น ท่อน ๔ -​
    บุหรงร้องพร้องเพรียกพงไพร ฟังเพลินเจริญใจไปมา
    - ชั้นเดียว ท่อน ๑ -​
    เมื่อเอยเมื่อนั้น
    ระเด่นมนตรีในกล้า
    - ชั้นเดียว ท่อน ๒ -​
    เป็นทัพหลังรั้งพลโยธา เวลาค่ำคำนึงถึงเทวี
    - ชั้นเดียว ท่อน ๓ -​
    จึงปลอมแปลงเป็นอำมาตย์ ชวนพี่เลี้ยงราชทั้งสี่
    - ชั้นเดียว ท่อน ๔ -​
    ทรงสินธพชาติพาชี ฝ่าพลมนตรีขึ้นมา.
    (ที่มาข้อมูลการบรรเลง : อาจารย์​อานันท์​ นาค​คง
    ที่มาประวัติเพลง : อาจารย์​สมพล อนุตตรังกูร)​
    เทปเสียงนี้ ได้บันทึกเสียงจากการออกอากาศสดทางรายการวิทยุ ประมาณปี พ.ศ.๒๕๔๗
    ที่มา​ภาพ​ถ่าย​ : เพจปี่พาทย์ธนากร คีตการ
    สำเนาเสียงจากเทปคาส​เซ็ท​ : ฉ​ั​ต​รกร​ เกตุ​มี
    เพื่อการเผยแพร่อนุรักษ์​เพลงไทย​ใน​การศึกษา​ มิได้มีเจตนาละเมิดลิขสิทธิ์และแสวงหารายได้
    ติดตามเพิ่มเติมได้ที่ : / @deklenkhimchannel7019

ความคิดเห็น • 6

  • @moomc5560
    @moomc5560 11 หลายเดือนก่อน

    ทางระนาดเอก ของครูเดช ช่างสวยงามจริงๆ ครับ รสมือท่านสุดยอดมากๆ

  • @Iwasbornin_
    @Iwasbornin_ 3 ปีที่แล้ว +1

    สายประชันแห่งกรมศิลป์ต้องยกให้เขา 👍

  • @ekhachaikokbua9831
    @ekhachaikokbua9831 2 ปีที่แล้ว +2

    กลอนระนาดสุดมาก

  • @tanutsu
    @tanutsu 3 ปีที่แล้ว +2

    ครูดวงเนตร ร้องใช่ไหมครับ

    • @kesiwattanayothin2053
      @kesiwattanayothin2053 3 ปีที่แล้ว +1

      เป็นคนร้องของกองดุริยางค์ทหารอากาศ.ชื่อ.จริยา.เอนกศรี.สมัยเดียวกับครูละมูล.เผือกทองคำ.คนระนาด

    • @user-cu9eg3ii5o
      @user-cu9eg3ii5o 2 ปีที่แล้ว +2

      @@kesiwattanayothin2053 จริยา เอนกศรี เป็นลูกศิษย์ครูชม รุ่งเรือง บ้านดุริยะประณีต สมัยครูชมสอน ขับร้องที่โรงเรียน สตรีวัดระฆัง