พินัยกรรม 5 แบบ | เข้าใจง่ายชัดเจน เลือกใช้ได้เอง ส่งต่อมรดกตามเจตนารมณ์ที่ถูกต้อง (Special In Law)

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 24 มิ.ย. 2024
  • พินัยกรรม ทำอย่างไร🧐
    เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า “พินัยกรรม” ก่อนว่าคืออะไร พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาเผื่อตายหรือกำหนดการเผื่อตายในเรื่องของทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะเป็นผลให้บังคับได้ตามกฎหมาย การทำพินัยกรรมนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องทำแต่อย่างใด
    พินัยกรรมจึงเป็นการกำหนดการไว้เผื่อตายใน 2 เรื่องด้วยกัน คือ
    💱เรื่องทรัพย์สิน ว่าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินหรือประโยชน์ให้แก่ใคร ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่จะยกให้นั้นต้องเป็นของตนเอง มิใช่เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์ของคนอื่น เช่น เรื่องลิขสิทธ์ ซี่งเป็นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เจ้ามรดกอาจจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์นั้นร่วมกับผู้อื่นอีกก็ได้ ดังนั้นสามารถทำพินัยกรรมยกเฉพาะส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้นให้แก่ผู้อื่นได้
    📝เรื่องกำหนดการอื่น ๆ การทำพินัยกรรมนอกจากจะกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือสิทธิอันใดแล้ว ยังสามารถระบุเรื่องอื่น ๆ ไว้ได้เช่นกัน เช่น การจัดการเรื่องพิมพ์หนังสือที่ระลึกในงานศพ การจัดตั้งผู้จัดการศพ หรือการระบุบริจาคร่างกายของตนให้แก่โรงพยาบาล เป็นต้น
    ในการทำพินัยกรรม กฎหมายกำหนดรูปแบบไว้ 5 แบบด้วยกัน ดังนี้
    1.พินัยกรรมแบบธรรมดา ผู้ทำต้องทำเป็นหนังสือ คือการพิมพ์ข้อความพินัยกรรมลงในกระดาษ มากน้อยหรือจำนวนกี่แผ่นก็ต้องแล้วแต่เนื้อหาหรือจำนวนทรัพย์สิน ลงวัน เดือน ปี ที่ทำให้ชัดเจน และผู้ทำต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คน และพยานต้องลงลายมือชื่อรับรองการทำพินัยกรรมในขณะทำด้วย
    2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ ผู้ทำพินัยกรรมจะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ แต่ผู้ทำนั้นต้องเขียนพินัยกรรมนั้นด้วยลายมือตนเอง ลงวัน เดือน ปีที่ทำ และที่สำคัญต้องลงลายมือชื่อผู้ทำด้วย กรณีนี้จะมีพยานมารับรู้การทำพินัยกรรมด้วยหรือไม่มีก็ได้
    3.พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง เป็นแบบพินัยกรรมที่ต้องอาศัยกระบวนการโดยเฉพาะที่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้ามาเกี่ยวข้อง ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งความประสงค์โดยให้ถ้อยคำข้อความของตนแก่เจ้าพนักงานที่เขตหรืออำเภอพร้อมพยานอย่างน้อย 2 คน เจ้าพนักงานจะอ่านข้อความให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง เมื่อเห็นว่าถูกต้องครบถ้วนแล้ว ผู้ทำพินัยกรรมพร้อมพยานทั้งสองต้องลงลายมือชื่อไว้ ต่อจากนั้น เจ้าพนักงานจะลงลายมือชื่อ วัน เดือน ปี ที่ทำ พร้อมประทับตราตำแหน่ง
    4.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ ผู้ทำพินัยกรรมทำพินัยกรรมแล้วปิดผนึก และนำไปที่ที่ทำการอำเภอหรือเขต ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อและพยานอีกอย่างน้อย 2 คน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน เจ้าหน้าที่จะบันทึกถ้อยคำลง วัน เดือน ปี ที่ทำพินัยกรรมแสดงไว้บนซองและประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญโดยผู้ทำพินัยกรรม พยานและเจ้าหน้าที่ต้องลงลายมือชื่อไว้หน้าซองตรงที่ปิดผนึก
    5.พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา กรณีมีพฤติการณ์พิเศษที่บุคคลไม่สามารถทำพินัยกรรมแบบอื่นที่กล่าวมาข้างต้น เช่น การตกอยู่ในภยันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในระหว่างสงคราม หรือเกิดมีโรคระบาด เราสามารถทำพินัยกรรมแบบทำด้วยวาจาก็ได้ โดยผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนาทำพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย 2 คนพร้อมกัน พยานต้องรับฟังข้อความนั้นแล้วไปแจ้งต่อทางราชการโดยเร็วที่สุด ทั้งยังต้องแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ทำพินัยกรรมและพฤติการณ์พิเศษนั้นด้วย เจ้าพนักงานต้องจดข้อความที่พยานแจ้งไว้ และพยาน 2 คนนั้นต้องลงลายมือชื่อไว้
    🥸ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม
    ✅พินัยกรรมเป็นนิติกรรมที่ต้องทำตามแบบที่กำหนดเท่านั้น
    ✅ต้องเขียน วัน เดือน ปี ลงลายมือชื่อทั้งผู้ทำพินัยกรรมและผู้ที่เป็นพยาน
    ✅ผู้ที่เป็นพยานจะต้องไม่เป็นผู้เยาว์หรือผู้หย่อนความสามารถ และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย
    ✅ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
    ✅พินัยกรรมควรจะตั้งผู้จัดการมรดกโดยสามารถระบุผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกที่เจ้ามรดกไว้ใจลงในพินัยกรรมไปได้เลย
    ✅สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ก็สามารถกำหนดในพินัยกรรมได้
    ✅ทรัพย์สินที่ระบุในพินัยกรรมต้องเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น ทั้งต้องแยกสินส่วนตัวออกจากสินสมรสด้วย
    ✅เงินประกันชีวิต เงินบำเหน็จตกทอด เงินมีบำนาญตกทอด เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ตกทอด ไม่อาจเป็นมรดกที่ระบุลงในพินัยกรรมได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่เจ้ามรดกมีอยู่ก่อนตาย
    ❌เมื่อได้อ่านรายละเอียดเรื่องพินัยกรรมข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอะไรมาก แต่ก็มีข้อควรระวังเพื่อให้พินัยกรรมมีผลใช้บังคับและสามารถให้ทรัพย์สินของเรามอบให้แก่คนที่เราไว้ใจได้ ภายหลังจากที่เราลาจากโลกใบนี้ไปแล้ว
    00:00 Intro
    02:00 พินัยกรรมคืออะไร
    03:06 พินัยกรรมมีกี่แบบ
    03:57 พินัยกรรมธรรมดา ทั่วไป
    06:42 พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ
    08:06 พินัยกรรมฝ่ายเมือง
    11:29 พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
    13:38 พินัยกรรมทำในสภาวะฉุกเฉิน
    16:52 หลักในการเลือกทำพินัยกรรม
    เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน
    การวางแผนส่งต่อ วางแผนมรดก (Roadmap) |Special In Law EP.1|
    • การวางแผนส่งต่อ วางแผน...
    สินสมรส สินส่วนตัว | การจัดการทางการเงินและกฎหมายต้องสอดคล้องกัน |Special In Law EP.2|
    • สินสมรส สินส่วนตัว | ก...
    หนี้ร่วมระหว่างสามีภรรยา : การจัดการทางการเงิน ที่ต้องวางแผนตามกฎหมาย | Special In Law EP.3|
    • หนี้ร่วมระหว่างสามีภรร...
    การแบ่งมรดก | กรณีไม่มีพินัยกรรม ทายาทโดยธรรม มุมมองข้อระวังในการจัดการมรดก | Special In Law| EP.4
    • การแบ่งมรดก | กรณีไม่ม...
    __________________________________________________________________
    สำหรับผู้ชมที่เข้ามาใหม่ ฝากกด Subscribe กดกระดิ่งติดตาม
    th-cam.com/channels/RSa.html...
    __________________________________________________________________
    ช่องทางการติดต่อ NanInsure
    Facebook : / naninsuresure
    Line OA : lin.ee/PibtfuN
    #พินัยกรรม #5แบบพินัยกรรม #SpeacialInLaw
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 18

  • @naninsure
    @naninsure  2 ปีที่แล้ว +2

    มีประเด็นคำถาม หรือเนื้อหาที่อยากให้ทำเสนอแนะเข้ามาได้นะคะทุกคน
    ช่องทางการติดต่อ NanInsure
    Facebook : facebook.com/Naninsuresure
    Line OA : lin.ee/PibtfuN

  • @gdwtrainning3266
    @gdwtrainning3266 2 ปีที่แล้ว +2

    คลิปสนุกมากค่ะ เป็นประโยชน์มาก

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณมากนะคะสำหรับการติดตามค่ะ เดี่๋ยวมีคลิปดีๆออกมาให้ฟังติดตามต่อไปนะคะ

  • @pornsawanluangwiphu9286
    @pornsawanluangwiphu9286 2 ปีที่แล้ว +3

    ขอบคุณมากๆนะคะ รอติดตาม :)
    สรุปเรื่องยุ่งยากให้ฟังง่ายแล้วเข้าใจเลย ชอบมากๆเลยค่ะ

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากค่ะ

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากค่ะ

  • @Yoyoo-sansuk
    @Yoyoo-sansuk 9 หลายเดือนก่อน

    พินัยกรรมแบบให้อำเภอทำพยานต้องหาเองแล้วค่ะ
    ส่วนทรัพย์สินที่ยกให้ต้องไม่ติดจำนอง หรือติดไฟแนนซ์
    และบางอำเภอต้องจองคิวด้วยคะ

  • @chomponua
    @chomponua ปีที่แล้ว +1

    สีผมสวย

  • @apichatchanlakhon5835
    @apichatchanlakhon5835 ปีที่แล้ว

    ขอบคุณมากนะครับสำหรับข้อมูล
    ผมมีคำถามเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
    1) บัญชีธนาคาร: กรณีนี้ผู้ทำพินัยกรรมสามารถระบุ/มีผลทางกฎหมาย ให้ผู้รับ สามารถเข้าตรวจสอบยอดเงิน และเป็นผู้รับทอดมรดกส่วนนี้ได้มั้ยครับ
    2) ทรัพย์สิน/บัญชีเงิน/สิทธิผลประโยชน์ ที่อยู่ต่างประเทศ: กรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมทำงาน/พำนักอยู่ต่างประเทศ สามารถที่จะส่งต่อทรัพย์สินดังกล่าว ตามข้อ 1 ได้มั้ยครับ
    3) สถานที่เก็บพินัยกรรม/ฉบับ copy: เราสามารถ scan เก็บไว้ในระบบ email ได้มั้ยครับ (หากได้ ควรจะต้องระบุเนื้อหานี้ในพินัยกรรมมั้ยครับ)
    4) การเขียนพินัยกรรม: สามารถที่จะใช้รูปแบบเขียนด้วยมือ ผสมกับการพิมพ์ได้มั้ยครับ

  • @tammakit
    @tammakit 2 ปีที่แล้ว

    พินัยกรรมแบบเอกสารลับ สามารถพิมพ์ได้ไหมครับ

  • @puriwatathichoktanaparn5165
    @puriwatathichoktanaparn5165 2 ปีที่แล้ว

    แล้วพยานของพินัยกรรมแบบฉุกเฉิน รับพินัยกรรมได้มั้ยคับ

  • @mystudyjourny42
    @mystudyjourny42 ปีที่แล้ว

    ถ้าหนูไปทำพินัยกรรมฝ่ายเมือง แต่ไม่บอกใครเลยสักคน เช่น ไม่อยากให้รู้ว่าใกล้ตายแล้ว พอตายไปจะมีใครรู้มั้ยคะ หรือต้องบอก

  • @chatchalermk.5213
    @chatchalermk.5213 2 ปีที่แล้ว +1

    มีพินัยกรรม และเวลาภายไป 10 ปีแล้วนับตั้งแต่เจ้ามรดกตาย แต่ไม่นำออกมาแสดงให้ทายาทคนอื่นรู้ ถ้านำมาแสดงตอนนี้พินัยกรรมยังมีผลอยู่หรือไม่ ครับ

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว

      ขอถามเพิ่มเติมค่ะ ว่าภายใน 10 ปีที่ผ่านมาก่อนเจอพินัยกรรม ได้มีการจัดการมรดกเรียยร้อยแล้วหรือยังคะ?

    • @chatchalermk.5213
      @chatchalermk.5213 2 ปีที่แล้ว

      @@naninsure ยังไม่ได้มีการจัดการมรดกครับ แต่ตอนนี้ทายาทโดยธรรมไปร้องต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดก ผ่านมาเดือนกว่าได้คำสั่งจากศาลมาเรียบร้อยแล้ว ถ้าเราเอาพินัยกรรมไปแสดงตอนนี้พินัยกรรมจะยังมีผลอยู่ไหมครับ

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว

      สามารถนำไปยื่นให้ศาลประกอบการพิจารณาได้ค่ะ แนะนำให้นำไปยื่นค่ะ

    • @chatchalermk.5213
      @chatchalermk.5213 2 ปีที่แล้ว +1

      ขอบคุณครับ

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว

      @@chatchalermk.5213 ยินดีค่ะ รีบดำเนินการนะคะ ให้ศาลจัดการต่อให้เลยค่ะ