อายุความมรดก 4 เรื่องต้องรู้เพื่อจัดการมรดกก่อนจะสาย | Special in Law |

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 19 ก.พ. 2022
  • "คดีมรดก" หมายถึง คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในการรับมรดกด้วยกันตามกฎหมายหรือตามพินัยกรรม หรือคดีที่ทายาทหรือผู้จัดการมรดกถูกฟ้องในฐานะทายาท ให้รับผิดชอบหนี้ที่ผู้ตายเป็นหนี้อยู่
    เราสามารถแยกกำหนดอายุความมรดกได้ดังนี้ คือ
    1.อายุความฟ้องคดีมรดก ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมายหรือทายาทโดยธรรม คือ พ่อแม่ คู่สมรส บุตรของผู้ตาย ต้องฟ้องคดีมรดกภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตายหรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย
    2.อายุความสิทธิเรียกร้องตามข้อกำหนดพินัยกรรม ผู้ฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งอาจเป็นบุคคลใดๆ ก็ได้ที่ผู้ตายยกมรดกให้ต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม แต่มิให้ฟ้องเกิน 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย
    อายุความฟ้องคดีเรียกร้องมรดกตามข้อกำหนดพินัยกรรม ให้เริ่มนับตั้งแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิที่ผู้รับพินัยกรรมมีอยู่ตามพินัยกรรม เพราะกฎหมายบัญญัติว่า " สิทธิและหน้าที่ใดๆ อันเกิดขึ้นตามพินัยกรรมให้มีผลบังคับเรียกร้องกันได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไป" ถ้าเขายังไม่ตายทรัพย์สินของเขาก็ยังมิใช่ทรัพย์มรดกที่จะตกทอดให้ใครๆได้
    แต่มีกรณียกเว้น คือ ถ้าผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย หรือตามข้อกำหนดพินัยกรรม หากเป็นกรณีที่ผู้นั้นครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังไม่ได้แบ่ง แล้วฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ก็สามารถฟ้องได้แม้จะเกิน 1 ปีแล้วก็ตาม ไม่อยู่ในบังคับที่ต้องฟ้องภายใน 1 ปี อายุความมรดก 1 ปี อยู่ภายใต้บังคับว่า "ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน ทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปี แล้วก็ดี" ดังนั้น สำหรับทายาทคนที่ครองครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งกันนั้น แม้ฟ้องขอแบ่งมรดกเมื่อกำหนดอายุความมรดกกี่สิบปีก็ตามก็ฟ้องขอแบ่งได้ ไม่ขาดอายุความมรดก 1 ปี
    เมื่อทายาทคนใดฟ้องเรียกร้องส่วนแบ่งมรดกเกินหนึ่งปี นับแต่ได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก และทายาทผู้นั้นไม่ได้ครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกัน จะเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้น เมื่อล่วงพ้นกำหนดอายุความ 1 ปีไม่ได้ และถ้าทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในทรัพย์นั้นยกอายุความตาม 1 ปี ขึ้นต่อสู้ คดีย่อมขาดอายุความ ศาลจะพิพากษายกฟ้อง ส่วนทายาทที่ครองครองมรดกเกินกำหนดอายุความ ถือว่ามีสิทธิในทรัพย์มรดกที่ตนครอบครอง มีอำนาจในฐานนะเจ้าของกรรมสิทธิ์
    3.อายุความสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้กองมรดก เจ้าหนี้ของผู้ตายจะต้องฟ้องเรียกร้องสิทธิภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก แต่ไม่ให้เกิน 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตาย
    สำหรับเจ้าหนี้ผู้ตายนั้น นอกจากเจ้าหนี้โดยทั่วไปแล้ว ยังมีเจ้าหนี้ประเภทที่ผู้ตายนำทรัพย์ไปเป็นประกัน เช่น เจ้าหนี้จำนอง เจ้าหนี้จำนำ เจ้าหนี้ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง กฎหมายบัญญัติว่า "ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือผู้ทรงสิทธิบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้ ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือที่ได้ยึดถือไว้ แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม ฯลฯ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก" ดังนั้น แม้เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงหรือเจ้าหนี้บุริมสิทธิ ซึ่งอาจมีอายุความในการบังคับเอาแก่ตัวทรัพย์นั้นยาวกว่า 1 ปี ก็ต้องฟ้องภายใน 1 ปี มิฉะนั้นคดีขาดอายุความ
    4.อายุความ 10 ปี อย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่าข้างต้นนั้น มิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย กล่าวคือ ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิในกองมรดกที่ไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกก็ดี ผู้รับพินัยกรรมที่ไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรมก็ดี หรือเจ้าหนี้กองมรดกไม่รู้หรือไม่ควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดกก็ดี ซึ่งอาจฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่มารู้ถึงความตายของเจ้ามรดกหรือสิทธิตามพินัยกรรมในภายหลังได้ แต่จะอ้างความไม่รู้ดังกล่าวมาเป็นเหตุฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี นับตั้งแต่เจ้ามรดกตายไม่ได้ เพราะไม่เช่นนั้น ก็จะต้องมีการฟ้องร้องกันไม่สิ้นสุด
    5.สิทธิยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้ ใครบ้างที่มีสิทธิยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ กฎหมายกำหนดบุคคล 3 ประเภทซึ่งมีสิทธิยกอายุความ 1 ปีขึ้นต่อสู้ไว้ชัดเจนว่าต้องเป็นทายาท (ทายาทโดยธรรม หรือผู้รับพินัยกรรม) หรือคนที่มีสิทธิที่จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก ดังนั้น บุคคลอื่นที่มิใช่ทายาทหรือบุคคลซึ่งชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทหรือผู้จัดการมรดกจะยกเอาอายุความมรดก 1 ปี นี้เป็นข้อต่อสู้ไม่ได้
    เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน
    การแบ่งมรดก | กรณีไม่มีพินัยกรรม ทายาทโดยธรรม มุมมองข้อระวังในการจัดการมรดก | Special In Law| EP.4
    ✳️ • การแบ่งมรดก | กรณีไม่ม...
    การตัดไม่ให้รับมรดก | การเสียสิทธิในการรับมรดก (ตัดขาดหรือไม่ ? มีกระบวนการอย่างไร) | SIL
    • การตัดไม่ให้รับมรดก | ...
    การสละไม่รับมรดก | มุมมองสองแง่ที่น่าสนใจในทางกฎหมาย SIL
    • การสละไม่รับมรดก | มุม...
    การถูกกำจัดมิให้รับมรดก ฐานะเป็นผู้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดก |SIL
    • การถูกกำจัดมิให้รับมรด...
    การกำจัดมิให้รับมรดก | ฐานผู้มิสมควรรับมรดก | SIL
    • การกำจัดมิให้รับมรดก |...
    อายุความมรดก 4 เรื่องต้องรู้เพื่อจัดการมรดกก่อนจะสาย | Special in Law | ตอนที่ 1
    • อายุความมรดก 4 เรื่องต...
    _____________________________________________________
    สำหรับผู้ชมที่เข้ามาใหม่ ฝากกด Subscribe กดกระดิ่งติดตาม
    ✅ th-cam.com/channels/RSa.html...
    ช่องทางการติดต่อ NanInsure
    Facebook : / naninsuresure
    Line OA : lin.ee/PibtfuN
    #naninsure
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 19

  • @User-lz6sl
    @User-lz6sl ปีที่แล้ว +2

    เข้าเรื่องช้า น้ำท่วมทุ่งเยอะจัง

  • @wanyoungklai5230
    @wanyoungklai5230 2 ปีที่แล้ว +2

    เยิ่นเย้อไปนิด ควรเข้าเรื่องให้เร็วกว่านี้

  • @wenitsomrit6427
    @wenitsomrit6427 ปีที่แล้ว +1

    ผู้จัดการมรดกร่วม.อีกฝ่ายไม่ยอมเซ็นแบ่งไห้ ทำงัยดีครับ(ขอบคุณครับ❤

  • @user-wh3zp7pc5u
    @user-wh3zp7pc5u ปีที่แล้ว +1

    รายการนี้ดีมากครับ

  • @kanyaphatbaiyaphat8305
    @kanyaphatbaiyaphat8305 11 หลายเดือนก่อน

    รายการนี้ดีมากเลย ที่บ้านฟ้องคดีมรดกมา11 ปีแล้ว กว่าจะเรียกทรัพย์คืน จนถึงแบ่งทรัพย์ ตอนนี้ยังแบ่งไม่ได้เลย ตกลงกันไม่ได้😢

  • @user-jn6xl1eu7y
    @user-jn6xl1eu7y ปีที่แล้ว

    เข้าใจยาก

  • @user-bu6qj8hh9n
    @user-bu6qj8hh9n 2 ปีที่แล้ว +2

    สวัสดีค่ะ..ติดตามรายนี้พูดได้ชัดเจนมากค่ะ...อยากถามว่าน้องสาวพี่เสียชีวิตมา5ปีสามีของเขาเป็นผู้จัดการมรดกไม่จัดการแบ่งมรดกให้บิดามารดาด้วยต่อมาบิดามารดาเสียชีวิต..ทางญาติเพิ่งรู้ว่าบิดามารดาต้องได้รับมรดกที่ดินด้วยแบบนี้ต้องทำอย่างไร(ผจก..โอนให้ตัวเองคนเดียว...ลูก เขาก็ยังไม่ได้รับ)...

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว +1

      โดยหลักแล้ว พ่อแม่มีสิทธิ์ได้รับมรดกของน้องสาวที่เสียชีวิต ส่วนผู้ถามจะได้รับมรดก ของพ่อแม่สืบต่อ แต่การแบ่งมรดกของน้องสาวที่ว่านั้น ไม่แน่ใจว่าแบ่งมรดกเสร็จสิ้นมาแล้วนานหรือยัง เพราะถ้าแบ่งมรดกของน้องสาวเสร็จสิ้นมานานแล้ว อาจจะมีปัญหาเรื่องอายุความการจัดการมรดกซึ่งจะต้องร้องขอต่อศาลภายใน 1 ปีนับแต่วันที่การจัดการมรดกเสร็จสิ้น เพราะฉะนั้น ถ้าจัดการมรดกเสร็จเกิน 1 ปีแล้ว ถึงพ่อแม่จะไม่ได้รับส่วนแบ่งเลย ก็คงจะแก้ไขอะไรลำบากแล้วครับ
      แต่นี่เป็นความเห็นเบื้องต้นโดยยังไม่ได้ทราบข้อเท็จจริงโดยละเอียดเท่านั้นนะครับ แนะนำว่าลองปรึกษาทนายความแล้วนำข้อเท็จจริงให้ดูโดยละเอียด อีกทีนึงเพื่อความชัวร์นะครับ

    • @user-bu6qj8hh9n
      @user-bu6qj8hh9n 2 ปีที่แล้ว

      @@naninsure ขอบคุณมากค่ะ

    • @AAa-cr5nq
      @AAa-cr5nq 2 ปีที่แล้ว +1

      สวัสดีครับ.มีคำถามเกี่ยวกับผู้สืบสันดานของเจ้ามรดกในกรณีไม่มีบุตรแล้วพ่อแม่เสียหมดแล้วแต่เมียมีลูกติดมาลูกติดคนนี้นับเป็นทายาทมั้ยคับ

    • @mongchonchisaetaiw6758
      @mongchonchisaetaiw6758 ปีที่แล้ว

      ขออนุญาติครับ จากที่บอกว่า "สามีผู้เสียชีวิต เป็นผจก.มรดก ยังไม่ได้แบ่งมรดก" ถ้าข้อเท็จจริงเป็นแบบนี้ก็เท่ากับว่า ผจก.มรดก ยังแบ่งมรดกไม่เสร็จ
      ***ตามหลักถ้าผจก. แบ่งเสร็จแล้ว เราจะฟ้อง ผจก.ด้วยอายุความ5ปีได้ นับแต่ผจก.จัดการมรดกเสร็จ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดการ และกรณีนี้ไม่ใช่อายุความปีเดียวตาม1754 เพราะการตั้งผจก.มรดก ทำให้อายุความนี้สะดุด
      ส่วนกรณีที่ยังจัดการไม่เสร็จ ก็อาจใช้ม. 1720 คือเขาอนุโลมให้เอาบัญญัติเรื่องตัวการตัวแทนมาใช้ได้
      คำตอบคือ ผมคิดว่าน่าจะฟ้องได้ ไม่ขาดอายุความตาม ม.1720ครับ
      *****ยังไงก็สอบถามทนายอีกทีครับ พอดีผมกำลังเรียนเรื่องนี้อยู่ ก็เลยสนใจเข้ามาตอบครับผม

  • @user-jn6xl1eu7y
    @user-jn6xl1eu7y ปีที่แล้ว

    อายุความไม่มีกำหนด

  • @user-oo3if5cv2o
    @user-oo3if5cv2o ปีที่แล้ว

    ถามหน่อยครับ
    แม่กับแฟนเก่าแม่รับเด็กผู้หญิงมาแฟนแม่แจ้งเกิดในสูติบัตรเป็นบิดา มารดาไม่ได้จดทะเบียนบุตรบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของแม่มั๊ยครับ

  • @kkpenthouse
    @kkpenthouse 8 หลายเดือนก่อน

    กรณีเพิ่งทราบว่าเปนพินัยกรรมปลอมล่ะ อายุความกี่ปีคะ

  • @rungratsaengkla602
    @rungratsaengkla602 2 ปีที่แล้ว

    ขอสอบถามหน่อยค่ะ
    พ่อ มีลูก 3 คน ที่ดินพ่อนำไปจำนอง เป็นชื่อพ่อ และ และไห้ลูกคนกลางเป็นลูกหนี้แทน
    ตอนไปจำนอง ลูกคนกลางไปเซ็นกู้ร่วม
    และลูกคนกลางเป็นเจ้าบ้าน
    จะมีส่วนได้ส่วนเสีย มั้ยค่ะ

  • @user-rd9vq8qq5y
    @user-rd9vq8qq5y ปีที่แล้ว

    สวัสดีครับ!แม่ตายมา7ปีแต่ไมีรุ้ทรัพสินของแม่ แต่รุ้ว่ามีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกเพราะผมเซ็นไป2ครั้งแต่เขาบอกว่าแม่ไม่ได้ให้ไรผมเลย(ไม่มีพินัยกรรม)ทำไรได้บ้างคับเพราะมันนานมาก

  • @user-jn6xl1eu7y
    @user-jn6xl1eu7y ปีที่แล้ว

    ?ไม่รับรู้มีการจัดการละ

  • @user-xu9gw7xz9f
    @user-xu9gw7xz9f 2 ปีที่แล้ว

    พี่ชายได้มรดกจากพ่อ พี่ชายได้จดทะเบียนกับเมียก่อนแล้ว แต่ไม่มีลูกด้วยกัน ถ้าพี่ชายตายใครได้มรดกของพี่ชาย มันเป็นสินเดิมไช่ไหมค่ะ

    • @mongchonchisaetaiw6758
      @mongchonchisaetaiw6758 ปีที่แล้ว

      คือ มรดกจากพ่อเนี้ย พี่ชายได้มาระหว่างที่สมรสกับแฟนเขาใช่ไหมครับ ถ้าใช่
      มรดกชิ้นนั้นเป็นสินส่วนตัวของพี่ชายคุณครับ พี่ลองค้นหา ปพพ.1471(3)
      ถ้าพี่ชายตายใครได้มรดก / แฟนเขา ถ้าแม่ยังอยู่แม่ก็ได้ แต่ผู้ถามไม่ได้ครับ