4 ข้อห้ามเนื้อหาในพินัยกรรม & 2 เงื่อนไขที่ทำได้ และ แนวทางการแก้ข้อความในพินัยกรรม | SIL EP.6

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 27 มิ.ย. 2024
  • พินัยกรรม ทำอย่างไร🧐
    เบื้องต้นเรามาทำความรู้จักกับคำว่า “พินัยกรรม” ก่อนว่าคืออะไร พินัยกรรมเป็นการแสดงเจตนาเผื่อตายหรือกำหนดการเผื่อตายในเรื่องของทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะเป็นผลให้บังคับได้ตามกฎหมาย การทำพินัยกรรมนี้ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ทุกคนต้องทำแต่อย่างใด
    พินัยกรรมจึงเป็นการกำหนดการไว้เผื่อตายใน 2 เรื่องด้วยกัน คือ
    💱เรื่องทรัพย์สิน ว่าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินหรือประโยชน์ให้แก่ใคร ทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่จะยกให้นั้นต้องเป็นของตนเอง มิใช่เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์ของคนอื่น เช่น เรื่องลิขสิทธ์ ซี่งเป็นสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา เจ้ามรดกอาจจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในลิขสิทธิ์นั้นร่วมกับผู้อื่นอีกก็ได้ ดังนั้นสามารถทำพินัยกรรมยกเฉพาะส่วนที่ตนมีสิทธิเท่านั้นให้แก่ผู้อื่นได้
    📝เรื่องกำหนดการอื่น ๆ การทำพินัยกรรมนอกจากจะกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินหรือสิทธิอันใดแล้ว ยังสามารถระบุเรื่องอื่น ๆ ไว้ได้เช่นกัน เช่น การจัดการเรื่องพิมพ์หนังสือที่ระลึกในงานศพ การจัดตั้งผู้จัดการศพ หรือการระบุบริจาคร่างกายของตนให้แก่โรงพยาบาล เป็นต้น
    ในการทำพินัยกรรม กฎหมายกำหนดรูปแบบไว้ 5 แบบด้วยกัน ดังนี้
    1.พินัยกรรมแบบธรรมดา
    2.พินัยกรรมแบบเขียนเองทั้งฉบับ
    3.พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมือง
    4.พินัยกรรมแบบเอกสารลับ
    5.พินัยกรรมแบบทำด้วยวาจา
    ใน EP ที่แล้วได้อธิบายไว้เรียบร้อยแล้ว
    🔰นอกจากแบบที่จะต้องทำให้ถูกต้องเพื่อความสมบูรณ์และบังคับใช้แล้ว
    ใน คลิปนี้จะพูดถึงเนื้อหา ต้องห้าม 4 เนื้อหาในพินัยกรรม
    2 เงื่อนไขที่สามารถเขียนได้ในพินัยกรรม
    และ แนะนำแนวทางแก้ไขข้อความพินัยกรรม เพื่อให้ไม่พลาด
    ในเจตนารมย์ที่ต้องการส่งต่อ ❤️💌
    🥸ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการทำพินัยกรรม
    ✅พินัยกรรมเป็นนิติกรรมที่ต้องทำตามแบบที่กำหนดเท่านั้น
    ✅ต้องเขียน วัน เดือน ปี ลงลายมือชื่อทั้งผู้ทำพินัยกรรมและผู้ที่เป็นพยาน
    ✅ผู้ที่เป็นพยานจะต้องไม่เป็นผู้เยาว์หรือผู้หย่อนความสามารถ และต้องไม่เป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดกนั้นด้วย
    ✅ผู้ทำพินัยกรรมต้องมีอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
    ✅พินัยกรรมควรจะตั้งผู้จัดการมรดกโดยสามารถระบุผู้ทำหน้าที่ผู้จัดการมรดกที่เจ้ามรดกไว้ใจลงในพินัยกรรมไปได้เลย
    ✅สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ก็สามารถกำหนดในพินัยกรรมได้
    ✅ทรัพย์สินที่ระบุในพินัยกรรมต้องเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิของผู้ทำพินัยกรรมเท่านั้น ทั้งต้องแยกสินส่วนตัวออกจากสินสมรสด้วย
    ✅เงินประกันชีวิต เงินบำเหน็จตกทอด เงินมีบำนาญตกทอด เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ตกทอด ไม่อาจเป็นมรดกที่ระบุลงในพินัยกรรมได้ เพราะไม่ใช่ทรัพย์ที่เจ้ามรดกมีอยู่ก่อนตาย
    ❌เมื่อได้อ่านรายละเอียดเรื่องพินัยกรรมข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนอะไรมาก แต่ก็มีข้อควรระวังเพื่อให้พินัยกรรมมีผลใช้บังคับและสามารถให้ทรัพย์สินของเรามอบให้แก่คนที่เราไว้ใจได้ ภายหลังจากที่เราลาจากโลกใบนี้ไปแล้ว
    00:00 Intro
    01:44 หลักเกณฑ์ที่มีผลต่อความสมบูรณ์ในพินัยกรรม
    02:14 พยานในพินัยกรรมฉบับธรรมดาห้ามเป็นผู้รับพินัยกรรม
    03:23 พินัยกรรม "ห้ามโอน" มีข้อควรปฏิบัติเรื่องอะไรเพื่อความสมบูรณ์
    05:05 ห้ามทำพินัยกรรมในลักษณะต่างตอบแทน
    05:53 เนื้อห้า "ให้โอน" เป็นเนื้อหาที่ใช้ไม่ได้
    07:01 concept เงื่อนไข บังคับก่อน บังคับหลัง
    08:41 เงื่อนไขบังคับก่อนในพินัยกรรม
    12:35 เงื่อนไขบังคับหลังในพินัยกรรม
    15:26 การแก้ไขเนื้อหาข้อความในพินัยกรรม
    เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกัน
    การวางแผนส่งต่อ วางแผนมรดก (Roadmap) |Special In Law EP.1|
    ✳️ • การวางแผนส่งต่อ วางแผน...
    สินสมรส สินส่วนตัว | การจัดการทางการเงินและกฎหมายต้องสอดคล้องกัน |Special In Law EP.2|
    ✳️ • สินสมรส สินส่วนตัว | ก...
    หนี้ร่วมระหว่างสามีภรรยา : การจัดการทางการเงิน ที่ต้องวางแผนตามกฎหมาย | Special In Law EP.3|
    ✳️ • หนี้ร่วมระหว่างสามีภรร...
    การแบ่งมรดก | กรณีไม่มีพินัยกรรม ทายาทโดยธรรม มุมมองข้อระวังในการจัดการมรดก | Special In Law| EP.4
    ✳️ • การแบ่งมรดก | กรณีไม่ม...
    พินัยกรรม 5 แบบ | เข้าใจง่ายชัดเจน เลือกใช้ได้เอง ส่งต่อมรดกตามเจตนารมณ์ที่ถูกต้อง (Special In Law) EP.5
    ✳️ • พินัยกรรม 5 แบบ | เข้า...
    __________________________________________________________________
    สำหรับผู้ชมที่เข้ามาใหม่ ฝากกด Subscribe กดกระดิ่งติดตาม
    ✅ th-cam.com/channels/RSa.html...
    __________________________________________________________________
    ช่องทางการติดต่อ NanInsure
    Facebook : / naninsuresure
    Line OA : lin.ee/PibtfuN
    #พินัยกรรม #เนื้อหาต้องห้ามในพินัยกรรม #SpeacialInLaw
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 9

  • @naninsure
    @naninsure  2 ปีที่แล้ว +1

    มีประเด็นคำถาม หรือเนื้อหาที่อยากให้ทำเสนอแนะเข้ามาได้นะคะทุกคน
    ช่องทางการติดต่อ NanInsure
    Facebook : facebook.com/Naninsuresure
    Line OA : lin.ee/PibtfuN

  • @tamnuaysak
    @tamnuaysak 2 ปีที่แล้ว +1

    ดีมากคับ

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากค่ะ

  • @user-du7pu3on8p
    @user-du7pu3on8p ปีที่แล้ว

    อยากขอคำแนะนำหนอยค่ะในกรณีแม่มีชีวิตยุได้ทำเงินประกันอสมไว้ให้ลูกเจ้าของ2คนกับลูกสามีแล้วก็สามีนำแต่ก็หย่าแล้วอยากรู้ว่าจะทำอยากไง

  • @nawinchantip8376
    @nawinchantip8376 ปีที่แล้ว

    ทำพินัยกรรมฉบับหนึ่งเสร็จแล้วและเวลาผ่านไประยะหนึ่ง..ได้ที่ดินมาอีกแปลงอยากเพิ่มเข้าไป..ในพินัยกรรมที่ทำเสร็จแล้วได้ไหมครับ..หรือต้องทำเพิ่มอีกฮบับใหม่เลย

  • @gutoyindy765
    @gutoyindy765 2 ปีที่แล้ว +1

    อยากสอบถามหน่อยครับพอดีย่าทำพินัยกรรมไว้ไห้แล้วตอนนี้ย่าเสียไปนานแล้วเกินสิบปีพินัยกรรมได้เปิดแล้วย่ายกที่ดินไห้หลาน3คนมีพี่ชาย 2คนผม1คนแต่ตอนนี้ที่ดินยังไม่ได้แบ่งกันเลยเพราะว่าพวกพี่ๆไม่ยอมมายังงี้ผมทำยังไงได้บ้างครับเรื่องคาราคาซังมานานมากแล้ว ตั้งแต่เปิดพินัยกรรม ก็ไม่ได้เจอพวกพี่ๆอีกเลย10กว่าปีแล้วครับ

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว

      พินัยกรรมส่วนนี้มีใครเป็นผู้จัดการมรดกค่ะ เกี่ยวข้องอยู่ภาย 1 ใน 3 คน หรือไม่อย่างไร

    • @gutoyindy765
      @gutoyindy765 2 ปีที่แล้ว

      @@naninsure ลุงเป็นผู้จัดการมรดกครับ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในที่ดินพื้นนี้ แต่ลุงแกดันสร้างบ้านไว้ในที่ดินของพวกผม3คนครับ เคยโทรไปถามลุงแกๆบอกว่าต้องรอพี่ๆไห้มาถึงจะแบ่งที่ดินกันได้ครับ

    • @naninsure
      @naninsure  2 ปีที่แล้ว

      @@gutoyindy765 รบกวน add FB เพจ Nan insure เข้าไปด้วยนะคะ น่าจะต้องคุยรายละเอียดกันต่อค่ะ มีหลายประเด็นที่ต้องรู้ข้อมูลเพิ่มค่ะ