หินปูนเกาะหลอดเลือด -- วิธีแก้ไข -- กิน

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 17 ม.ค. 2025

ความคิดเห็น • 266

  • @thisisnathathai
    @thisisnathathai หลายเดือนก่อน +66

    หินปูนเกาะหลอดเลือด -- วิธีแก้ไข -- กิน #Calcium แล้วยิ่งเป็นหรือไม่
    สวัสดีครับ
    ปัจจุบันก็มีคนไปตรวจร่างกายกันเยอะขึ้นแล้วก็ไปเจอว่ามีแคลเซียมเกาะอยู่ที่บริเวณเส้นเลือดของเรา ก็ได้ยินมาว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดีอาจจะทำให้มีการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจหรือหลอดเลือดส่วนอื่นๆได้ก็เลยมีความสงสัยว่าเราจะสามารถลดแคลเซียมเหล่านี้ได้อย่างไร รวมทั้งมันมีบริเวณอื่นในร่างกายที่จะเกิดแคลเซียมแบบนี้ขึ้นได้หรือไม่ ทำไมมันถึงเกิดขึ้น แล้วเราจะป้องกันมันได้ไหม ถ้ามันเกิดขึ้นเราแก้ไขยังไง วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังเลยนะครับ
    พบกับผมนายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน เป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอดและวิกฤตบำบัดนะครับ

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai หลายเดือนก่อน +13

      1️⃣
      การเกิดแคลเซียมตามบริเวณต่างๆของร่างกายจริงๆมันเป็นกลไกบางอย่างของร่างกายในการป้องกันการเกิดอันตราย แต่ถ้าเกิดว่าสิ่งที่ทำให้มันเกิดขึ้นมันยังคงไม่หายไปไหนมีอยู่เรื่อยๆแคลเซียมที่ไปเกาะตามบริเวณต่างๆก็จะทำให้เกิดปัญญหาขึ้นมา แคลเซียมมันสามารถเกาะได้ในหลายบริเวณ เช่น ในหลอดเลือดของเราหรือตามเนื้อเยื่อส่วนต่างๆขึ้นกับเหตุผลที่จะเกิดขึ้น เช่น ถ้ามันเป็นในหลอดเลือดของเราเหตุผลที่มันเกิดก็เพราะว่ามีการอักเสบเรื้อรัง เช่น คุณมีความดันโลหิตที่สูงอยู่ตลอดเวลา เวลาที่ในท่อหลอดเลือดของเรามันมีแรงดันสูงๆก็จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ง่ายนั่นก็คือเหตุผลหนึ่ง ยิ่งถ้าเกิดว่าคุณมีเบาหวานที่คุมน้ำตาลไม่ได้แน่นอนว่าการที่มีน้ำตาลสูงอยู่เรื่อยๆมันก็จะเกิดการอักเสบที่ตัวหลอดเลือดได้เรื่อยๆ บางคนไม่พอครับมีการพ่วงโรคอื่น เช่น ถ้ามีโรคไขมันสูง มีโรคไตก็จะยิ่งเกิดการอักเสบในหลอดเลือดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป บางคนเป็นโรคหลอดเลือดอักเสบโดยตรง เช่น ในโรคกลุ่มภูมิต่อต้านตัวเอง โรค SLE โรครูมาตอยด์หรือโรคอื่นๆที่มีการอักเสบของหลอดเลือด พวกนี้ก็จะเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือดได้ง่าย แล้วร่างกายของเราเวลาที่มันเกิดการบาดเจ็บของหลอดเลือดมันก็ต้องป้องกันไม่ให้หลอดเลือดของเรามันฉีกขาดออกมาถูกไหมครับแต่เซลล์ของหลอดเลือดของเราจริงๆมันมีประกอบไปด้วยเซลล์ที่เป็นเรียกว่า Vascular Smooth Muscle หรือกล้ามเนื้อเรียบที่หลอดเลือด เซลล์พวกนี้มันจะมีความยืดหยุ่นสูงแต่ว่ามันจะทนแรงกระทำต่อมันหรือการอักเสบเรื่อยๆไม่ได้ ถ้าเกิดว่ามันทนไม่ไหวจริงๆมันก็ต้องแปลงร่างกลายไปเป็นกลุ่มเซลล์ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่านั้น ในที่นี้มันก็จะกลายไปเป็นเซลล์ตัวหนึ่งซึ่งมีชื่อเรียกว่า Osteoblast-like cells นะครับ Osteoblast นี่จริงๆมันเป็นเซลล์ซึ่งอยู่ในกระดูกของเรามีหน้าที่ในการสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกที่มีการเกี่ยวข้องกับการเอาพวก Calcium Hydroxyapatite หรือพวกนี้มาทำให้กระดูกของเรามันแข็งแรงขึ้นแต่เหตุการณ์นี้ก็สามารถไปเกิดที่อื่นได้ เช่น ในตัวหลอดเลือดของเรา ที่มันเกิดขึ้นมันเกิดขึ้นในผนังของหลอดเลือดของเราเลยนะครับ ในผนังในตัวผนังเลยบางคนอาจจะคิดว่าในตัวที่มันเกิดขึ้นน่ะไม่ได้เกิดที่ผนังแต่มันเกาะอยู่กับผนังหรือเปล่า แล้วถ้าไปแกะมันออกมันก็น่าจะหาย?

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai หลายเดือนก่อน +8

      2️⃣
      ➡️เปล่าครับ พวกนี้บางทีมันลงลึกไปจนถึงตัวผนังเองเลยด้วยซ้ำไปแต่ก็มีส่วนที่มันเกาะอยู่ข้างนอกเหมือนกันนะครับ ส่วนที่มันเกาะอยู่ข้างนอกเป็นตัวที่มีปัญหาได้เพราะว่าบางทีถ้ามันมีการอักเสบของหลอดเลือด เช่น จากความดันที่มันสูงอยู่นานๆแล้วเราไม่ยอมไปลดมันสักทีมันอาจจะมีการปริขาดของหลอดเลือดเล็กน้อยเวลามันปริมันจะปริด้านในก่อน หลอดเลือดของเราคิดดูมันเป็นหลอดกลมๆมันไม่ปริด้านนอกมันปริด้านในก่อนเพราะว่าด้านในมีแรงดัน มีเลือดวิ่งอยู่แรงๆมีความดันที่มันสูง พอมันปริมันก็จะเป็นร่องเป็นรูอย่างนี้ขึ้นมา 3:53 แต่ว่ามันยังไม่ขาดทั้งอันสิ่งที่ร่างกายมันทำพอมันเปิดอย่างนี้ขึ้นมาแล้วมันต้องหาเอาอะไรมาอุด เช่น พวกเกล็ดเลือดต่างๆนะครับ มาอุดปุ๊บเกิดการอักเสบ มีเกล็ดเลือด มีการแข็งตัวของเลือดบริเวณนั้น บางคนไขมันสูงมันก็มาเกาะอยู่ตรงนั้น เกาะไปเรื่อยๆปุ๊บมันก็เกิดการอักเสบเรื้อรังสุดท้ายก็จะมีแคลเซียมมาเกาะเพราะว่าแคลเซียมมันเป็นสิ่งที่แข็งแรงที่สุดในบรรดาของที่เรามีในร่างกาย เหมือนคุณมีสายยางเส้นหนึ่งรั่วแล้วตอนแรกเอาพลาสเตอร์บางๆมาแปะมันอาจจะอยู่ไม่ได้มันก็เลยต้องเอาสิ่งที่แข็งแรงกว่านั้นในที่นี้ในร่างกายคนก็คือแคลเซียมนี่แหละครับ ดังนั้นแคลเซียมถ้ามันมีเหตุผลของมัน เช่น การอักเสบ การบาดเจ็บแคลเซียมก็จะมาเสริมตรงนี้เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือด แต่ระยะยาวสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือแคลเซียมพวกนี้มันไม่ได้ยืดหยุ่นเหมือนกับผนังหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดของเรานี่มันไม่ใช่เป็นท่อแข็งๆนะมันมีความยืดหยุ่นมันขยายตัวแล้วก็หดตัวได้เป็นปกติ แล้วอันนี้มันเป็นสิ่งที่ดีสิ่งที่สำคัญสำหรับร่างกายเราถ้ามันไม่ได้ยืดหยุ่นเดี๋ยวก็จะมีปัญหาเรื่องของความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งเรื่อยๆมันก็จะยิ่งมีความอักเสบ มีแรงดัน มีการบาดเจ็บต่อหลอดเลือดสูงขึ้นก็จะยิ่งมีแคลเซียมเข้ามาใหญ่นะครับ ดังนั้นการที่มีแคลเซียมเยอะๆมันก็ทำให้หลอดเลือดของเราไม่ยืดหยุด

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai หลายเดือนก่อน +7

      3️⃣
      แล้วไม่เพียงแค่นั้นแคลเซียมส่วนที่มันเกาะอยู่ในท่อหรือในหลอดเลือดของเรามันอาจจะสามารถหลุดออกไปได้ ถ้ามันหลุดออกไปแล้วไปอุดตันสักที่นึงก็จะเกิดโรคขึ้นมาได้ เช่น เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจมันอุดตัน ในที่นี้ก็เลยเป็นที่มาของการการตรวจ Calcium Score บางคนอาจจะเคยได้รับการตรวจมาแล้วก็เจอแคลเซียมอยู่ตรงนั้น การเจอแคลเซียมตรงนั้นมันไม่ได้บอกว่าแคลเซียมนั้นมันอยู่ที่ไหน มันอาจจะอยู่ตรงผนังหลอดเลือดก็ได้หรือมันอาจจะอยู่ทั้งผนังหลอดเลือดข้างนอกแล้วก็ข้างในก็ได้ สิ่งที่เรากลัวคือในท่อในหลอดของเลือดมันมีแคลเซียมไปอยู่ในนั้นมันทำให้มันตีบลงแบบนี้น่ากลัว แต่ถ้ามันอยู่แค่ผนังอย่างเดียวอันนี้ยังไม่ได้น่ากลัวเท่ามันอยู่ในตัวหลอดเลือดเองเพราะว่าสิ่งที่อยู่ในตัวหลอดเลือดมันจะทำให้ทางเดินของเลือดของเราแคบลงแล้วถ้าโชคร้ายมันอาจจะหลุดไปอุดตันตรงบริเวณปลายหลอดเลือดอันนี้ก็จะเกิดเรื่องขึ้นมาได้ ดังนั้นการรักษาก็ขึ้นอยู่กับว่าหลอดเลือดของเรามันมีแคลเซียมไปเกาะตรงไหนกันแน่ การตรวจ Calcium Score มันเป็นการตรวจรวมๆโดยที่บอกไม่ได้ว่าตกลงแล้วมันอยู่ตรงไหน ก็ต้องมีการไปตรวจอย่างอื่นเพิ่มเติม เช่น การสวนหัวใจ หรือการทำ CT แบบฉีดสีเข้าไปเพื่อที่จะดูว่าสีมันเข้าไปตรงเส้นเลือดหัวใจของเราแล้วมันมีการโชว์ว่ามันตีบหรือไม่ตีบนะครับนี่คือกรณีของหลอดเลือด

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai หลายเดือนก่อน +8

      4️⃣
      แต่แคลเซียมก็เกาะที่อื่นได้อีกครับ เช่น ในตัวลิ้นหัวใจของเรา ในคนบางคนเป็นโรคลิ้นหัวใจก็จะสามารถมีแคลเซียมมาะเกาะได้ คนอายุเยอะก็ยิ่งมีแคลเซียมมาเกาะที่ลิ้นหัวใจได้ง่ายขึ้น บางคนเป็นโรคไตโดยเฉพาะโรคไตวายเรื้อรังพวกนี้มันจะมีความผิดปกติของสมดุลแคลเซียม ฟอสเฟต แล้วก็สารต่างๆในร่างกายก็จะทำให้แคลเซียมสามารถไปเกาะบริเวณอื่นๆได้ เช่น ในปอด ในกล้ามเนื้อ ในเส้นเอ็นได้หมดทั้งร่างกายเลยทีเดียว ภาวะนี้ก็จะเป็นภาวะที่รักษาได้ยากมากแล้วก็บางทีทำให้เกิดแผลเรื้อรังหรือว่าอาการที่ผิดปกติได้
      นอกจากนี้การอักเสบของเรามันก็ไม่ได้จำกัดเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นในร่างกายโดยตัวเอง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมัน ไม่ได้เกิดขึ้นแค่นั้นแต่มันยังมีอย่างอื่นอีก เช่น การไม่สบาย เช่น คุณเป็นวัณโรค วัณโรคร่างกายมันพยายามจะกำจัดแต่มันกำจัดไม่ได้มันก็เลยบอกว่าวัณโรคอยู่ตรงกลางใช่ไหมเราสร้างเกราะที่มันเป็นแคลเซียมขึ้นมาหุ้มมันเลยจะได้ไม่แพร่ออกไปข้างนอกบางคนก็จะเกิดเป็นแคลเซียมให้เราเห็นขึ้นมา หรือบางคนที่เป็นสุกใสนะครับถ้าเกิดว่าเจอคนไหนที่เป็นสุกใสรุนแรงจนกระทั่งสุกใสมันลงไปในปอดเวลามันหายแล้วมันจะเป็นจุดแคลเซียมเต็มไปหมดเลยเต็มปอดไปเลยเพราะว่าร่างกายเรามันจะพยายามกำจัดเชื้อกำจัดไม่ได้มันก็เลยสร้างแคลเซียมขึ้นมาหุ้มไม่ให้เชื้อมันแพร่ออกไปที่อื่นก็เลยเกิดเป็นจุดแคลเซียมพวกนี้ขึ้นมา

    • @thisisnathathai
      @thisisnathathai หลายเดือนก่อน

      5️⃣
      ดังนั้นจะเห็นว่ากลไกของร่างกายในการสร้างแคลเซียมมันมีเหตุมีผลของมันครับ การไปทำลายกระบวนการนี้มันอาจจะไม่ได้ช่วยอะไรเพราะว่ามันไม่ได้กำจัดต้นเหตุของมัน ดังนั้นตอนนี้เราพอรู้และว่าแคลเซียมของเรามันมีไว้ทำอะไรเวลามันไปเกาะตามอวัยวะต่างๆนะครับ แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งคนเราก็ต้องการแคลเซียมเข้าไปเสริมที่กระดูกและฟัน ทุกคนอยากได้แคลเซียมไปเสริมเพราะว่าบางคนบอกว่าอายุเยอะแล้วเป็นผู้หญิงหมดประจำเดือนเดี๋ยวกระดูกพรุนเราก็ต้องกินแคลเซียมเสริม แต่เราก็ฟังไปฟังมาก็เริ่มกลัวว่าถ้ากินแคลเซียมเสริมมันจะไปพอกในไส้เลือดของเราหรือเปล่า? มันจะไปพอกตามอวัยวะต่างๆของเราไหม? นี่แหละเดี๋ยววันนี้จะเล่าให้ฟังในรายละเอียด และแคลเซียมถ้ามันพอกในกระดูกก็ดีมันควรจะอยู่ตรงนั้นนั่นแหละ แต่ถ้ามันไปพอกที่อื่น เช่น เส้นเลือด ปอด อวัยวะต่างๆจากการอักเสบหรือจากอะไรก็แล้วแต่มันจะทำให้อวัยวะนั้นทำหน้าที่ผิดปกติไปได้โดยเฉพาะถ้ามันพอกเยอะๆ ปอดก็จะหายใจไม่ได้ หลอดเลือดก็จะไม่ยืดหยุ่นก็จะมีการอักเสบอย่างอื่นตามมาแล้วก็ยิ่งเป็นมากกว่าเดิมก็ได้ เลือดก็อาจจะไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะส่วนปลายไม่ดี นี่คือปัญหา

  • @pitchyjeen7548
    @pitchyjeen7548 หลายเดือนก่อน +78

    สุดยอดคุณหมอยืนหนึ่งเดียวในประเทศไทย คาดเดาได้ว่าประชาชนอยากทราบเรื่องอะไร ตั้งหัวเรื่องถูกใจประชากรไทยนะคะ

    • @MrMarbella1
      @MrMarbella1 หลายเดือนก่อน +1

      คุณหมอเป็นแพทย์อยู่อเมริกา ค่า

  • @FragranzaTrippa
    @FragranzaTrippa หลายเดือนก่อน +47

    ขอบคุณสำหรับคลิปค่ะอาจารย์... ขอสรุปในส่วนของ "อาหารเสริม" และ "ยาตัวใหม่" ที่ใช้ในการลดการสะสมของหินปูนในหลอดเลือด
    🔵อาหารเสริมที่มีบทบาทที่น่าสนใจ ได้แก่...
    1. แมกนีเซียม ช่วยควบคุมสมดุลของแคลเซียมและฟอสเฟตในร่างกาย และป้องกันการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือด... มีผลลดการอักเสบในหลอดเลือดและช่วยรักษาความยืดหยุ่นของผนังหลอดเลือด... การทานแมกนีเซียมในระดับที่เพียงพอเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงของ หลอดเลือดแดงแข็งตัว และการสะสมแคลเซียมในหลอดเลือด
    2. วิตามิน K2... ช่วยกระตุ้นโปรตีน MGP (Matrix Gla-Protein) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการป้องกันการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดและช่วยพาแคลเซียมเข้าสู่กระดูก... ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะยาว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ
    3. ยาสแตติน... ช่วยลดระดับ คอเลสเตอรอล LDL ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการก่อตัวของคราบไขมัน และลดการอักเสบในหลอดเลือด แม้ว่าสแตตินจะไม่ได้ลดการสะสมแคลเซียมโดยตรง แต่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดคราบไขมันใหม่และลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ
    4. วิตามิน D3 มีบทบาทสำคัญในการดูดซึมแคลเซียมและควบคุมสมดุลแคลเซียมในร่างกาย อย่างไรก็ตาม บทบาทของวิตามิน D3 ต่อการสะสมแคลเซียมในหลอดเลือดขึ้นอยู่กับปริมาณที่ได้รับและความสมดุลกับสารอาหารอื่น ๆ เช่น วิตามิน K2 ค่ะ
    🔵ยากลุ่มใหม่ที่อยู่ระหว่างการพัฒนา ช่วยจัดการกับการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดหรืออวัยวะต่างๆ ได้แก่...
    🚩ยา SNF472
    1. เป็นสารประกอบที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการตกตะกอนของแคลเซียมฟอสเฟต ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการเกิดหลอดเลือดแข็งตัว
    2. ช่วยลดการสะสมของแคลเซียมในหลอดเลือดโดยตรง... มีการทดลองในผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้รับการฟอกไต ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการเกิดการสะสมแคลเซียมในหลอดเลือด
    3. ผลการทดลองในเฟส 2 แสดงให้เห็นว่ายาช่วยลดการสะสมแคลเซียมในหลอดเลือดได้อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยา
    4. ยาอยู่ระหว่างการทดลองในเฟส 3 เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและประสิทธิภาพ
    🚩TNAP Inhibitors (Tissue Nonspecific Alkaline Phosphatase Inhibitors)
    1. TNAP เป็นเอนไซม์ที่มีบทบาทในกระบวนการสะสมแคลเซียมในเนื้อเยื่ออ่อน เช่น หลอดเลือด
    2. TNAP inhibitors ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของ TNAP เพื่อป้องกันการเกิดแคลเซียมฟอสเฟตในหลอดเลือด
    3. การศึกษายังอยู่ในช่วง ระยะเริ่มต้น และทดลองในสัตว์
    4. เบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการยับยั้ง TNAP สามารถลดการสะสมแคลเซียมในหลอดเลือดของสัตว์ทดลองได้
    5. ยาตัวนี้ยังไม่ได้มีการทดลองในมนุษย์ในวงกว้าง

  • @praneesiltham3836
    @praneesiltham3836 หลายเดือนก่อน +13

    อาจารย์หมอน่ารักจัง อยู่ไกลถึงอเมริกายังเป็นห่วง คนไทยนะ ใจดีจัง ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุข มากๆนะคะ

  • @เรณุกาพูนผลทวีลาภ
    @เรณุกาพูนผลทวีลาภ หลายเดือนก่อน +4

    คลิปของอาจารย์หมอท่านนี้ ฟังเข้าใจง่าย คุณหมอใช้ภาษาไทยที่ช่วยแปลภาษาศัพท์ทางการแพทย์ให้ คนทั่วๆไปที่ไม่มีความรู้ทางด้านวิชาชีพนี้ได้ฟังอย่างเข้าใจง่ายขึ้น ขอบคุณน่ะค่ะที่เป็นคนไทย และไปเรียนเมืองนอก ได้ทำงานในตำแหน่งที่สำคัญทางการแพทย์ ใช้ชีวิตรอยู่เมืองนอก แต่ไม่เคยลืมภาษาไทย หรือไม่ลืมที่จะช่วยเหลือคนไทย ขอบคุณค่ะ

  • @boomsong5729
    @boomsong5729 หลายเดือนก่อน +12

    สวัสดีค่ะคุณหมอธนีย์
    การมีแคลเซียมเกาะหลอดเลือด แม้จะรักษาได้ด้วยการใช้ยา
    แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำ คือการควบคุมโรคประจำตัวเช่น
    ☘️เบาหวาน
    ☘️ไขมันในเลือดสูง
    ☘️ความดันโลหิตสูง
    ☘️สูบบุหรี่เป็นประจำ
    ซึ่งอาจก่อให้เกิดการแข็งตัวของเลือด ก็จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงเป็นหลอดเลือดตีบได้
    *การตรวจ Calcium Score จะช่วยให้ทราบได้ว่ามีปัจจัยเสี่ยงอยู่หรือไม่*
    อย่าลืม "พื้นฐานการใช้ชีวิตที่ดี 6 ข้อ" ที่คุณหมอพูดบ่อยๆค่ะ
    ไม่งั้นแล้ว..คนที่มีร่างกายแข็งแรง อาจกลายเป็นคนอ่อนแอได้ หากไม่ใส่ใจสุขภาพค่ะ
    ขอบคุณมากค่ะคุณหมอแทน
    ทานอาหารค่ำให้อร่อยนะคะ
    🏡🍎🍇🍈🧡🍍🍊🍏🏕

  • @กันตาเกาฏีระ
    @กันตาเกาฏีระ หลายเดือนก่อน +26

    ติดตามช่องคุณหมอได้ความรู้ดีๆมากมายขอให้คุณหมอมีแต่ความสุขความเจริญคุณพระคุ้มครอง🙏🏻🙏🏻🙏🏻

  • @nokyoongamfm2888
    @nokyoongamfm2888 หลายเดือนก่อน +6

    เด่วนี้ความรู้ดีๆหาได้ง่ายๆ ล้างจานไปฟังไปได้ ประโยขน์และความรู้

  • @daoroongweerakul2493
    @daoroongweerakul2493 หลายเดือนก่อน +10

    รักเธอ หมอ แทน-หมอคนไทย ที่เก่งและรัก ห่วงใย คนไทย ด้วยกัน

  • @penpugsuwan7447
    @penpugsuwan7447 หลายเดือนก่อน +2

    หินปูนเกาะสะสมบริเวณหลอดเลือดหัวใจ เป็นผลให้หลอดเลือดตีบแคบลง อุดตันทำให้ ขาดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ และตายฉับพลันได้ การป้องกันที่ดี คือ ดื่มนำ้ให้พอ การออกกำลังกายทุกส่วน ในแต่ละวัน ขอบคุณอาจารย์ค่ะ

  • @EedWatcharapornTubrutn
    @EedWatcharapornTubrutn หลายเดือนก่อน +8

    ขอบคุณสำหรับความรู้เรื่อง แคลเซี่ยม ค่ะ ถ้าอยู่ที่กระดูกจะดี แต่ถ้าอยู่หลอดลือดจะไม่ดี ควรรีบรักษาโรคที่เป็นอยู่ เบาหวาน ความดัน หัวใจ ต้นเหตุต้องรีบจัดการ ก่อนที่ แคลเซี่ยมจะมาเกาะ
    การออกกำลังกายแบบ cardiovascular ไม่สูบบุหรี่

  • @sombatsaraburi
    @sombatsaraburi หลายเดือนก่อน +3

    เป็น FH type2A ครับ ทาน Statin มา 20 กว่าปี ปัจจุบัน อายุ 52 ปี ปี 2018 เคยไปฉีดสีหัวใจ พบว่าตีบทั้ง 3 เส้น มากสุดเส้นนึง 50% ครับ พร้อมทำ CAC ได้ 450 เลยเริ่มทาน Baby aspirin คุณพ่อเสียด้วย MI ตอนอายุ 72 ปี ถ้าไม่กินยาเลย total cholesterol >300 ครับ เคยวัดได้ 380 พอกินยา crestor 10 mg+Ezetrol 10 mg. Total cholesterol

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +3

      ถ้าเป็นผมก็คงพยายามทำให้ LDL ต่ำกว่า 70 ครับ และ statin เพิ่มโดสไม่ได้ ก็ต้องใช้ PCSK-9 inhibitor แทนครับ มันเป็นยาฉีดที่มีราคาแพง หรือไม่ก็ใช้ยากิน bempedoic acid ซึ่งก็แพงเหมือนกันครับ

  • @orapinpui8779
    @orapinpui8779 4 วันที่ผ่านมา

    คุณหมอให้ความรู้มากมาย จบท้ายก็ไม่ได้ขายของ ขอบคุณมากนะคะคุณหมอ

  • @Fong14
    @Fong14 หลายเดือนก่อน +8

    ขอบคุณคุณหมอ เกี่ยวกับเรื่อง หินปูนเกาะหลอดเลือดค่ะ ได้ความรู้เยอะมากๆเลยค่ะ😊😊🙏🙏

  • @AL86898
    @AL86898 หลายเดือนก่อน +12

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอแทน🙏😍วันนี้มาฟังคุณหมอพูดให้ความรู้เรื่อง วิธีแก้ไข หินปูนไปเกาะ ที่หลอด ยิ่งกินแคลเซี่ยม แล้วยิ่งเป็นหรือไม่เป็นอย่างไรมาฟังคุณหมอค่ะ
    เนื่องจาก มีการตรวจร่างกาย แล้วพบว่ามีแคลเซี่ยมไปเกาะที่เส้นเลือด ที่ให้เกิดการอุดตันของหลอดเลือด ไปเลี้ยงหัวใจทำไมเกิดขึ้น และมีการป้องกันและแก้ไขอย่างไร
    การเกิดแคลเซี่ยม ตามร่างกาย บริเวณต่างๆ นั้น เป็นกลไกในการป้องกันตัวของร่างกายการเกิดอันตราย แต่ถ้าสิ่งที่กิดขึ้นบ่อยๆนั้น ไม่หายไปทำให้ร่างกายมีปัญหาเช่นกัน แคลเซี่ยมเกาะได้ในหลอดเลือด ตามเนื้อเยื่อ มีการอักเสบรื้อรัง มีความดันโลหิตสูงตลอดเวลา ท่อหลอดเลือดมีแรงกันสูง เกิดการอักเสบ เบาหวานที่คุมไม่ได้มีน้ำตาลสูงเรื่อยๆ ได้ก็เกิด การอักเสบ โรคไขมันในเส้นเลือด ก็เกิดการอักเสบโรครูมาตอยค์โรคไต เกิด การอักเสบในหลอดเลือด ได้และโรคหลอดเลือดอักเสบโดยตรงโรคSLEโรคภูมิต่อต้านตัวเอง 🌟แคลเซี่ยม เกาะที่ในตัวผนังหลอดเลือด มีส่วนเกาะข้างนอกอาจมีปัญหาได้เกิดปริขาดจากด้านใน ร่างกายรู้จะหาอะไรมาปิด เช่น ไขมัน และแคลเซี่ยมจะมาเป็นตัวปิด ไม่ให้รั่ว เพราะมันจะแข็งแรง แต่มันเกาะมากๆทำให้ หลอดเลือดแข็งไม่ยืดหยุ่น หรือมันอาจหลุด ออกไปที่อวัยวะ อื่นอุดตันปลายหลอดเลือดหัวใจอันตราย จึงมีการตรวจแคลเซี่ยมสกอร์ ดูจำนวนแคลเซี่ยม กลั วว่ามันอยู่ในตัวหลอดเลือด ทำให้ทางเดินเลือดแคบลง นอกจากนี้มันยังไปเกาะตามอวัยวะอื่นอีก ตรวจ ด้วยการฉีดสี แคลเซี่ยมเกาะลิ้นหัวใจ เกาะ ในปอด กล้ามเนื้อ ไปได้หลายที่ ความดันไขมัน วัณโรค สุกใส เหล่านี้ร่างกายจะสร้างแคลเซี่ยมตามเหตุผลของมัน เราต้องการกินแคลเซี่ยมเสริมสำหรับผู้หญิง หมดปะจำเดือน เราต้องการแคลเซี่ยมไปเสริมที่กระดูกและฟัน แล้วมันจะพอก ที่กระดูกดี แต่ไปพอกที่อื่นล่ะเช่นที่ปอด ปอดทำงานไม่ดี
    🌟การป้องกัน ลดโรคความดัน ลดคุมน้ำตาล ในโรคเบาหวาน โรคภูมิต้านทานตัวเอง ต้องคุม ไขมัน ด้วย
    ดูแลตนเอง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แคลเซี่ยม จะไม่เกาะ
    ไม่สูบบุหรี่ ทั้งสองแบบ เพื่อลดความดันโลหิตูง
    ทานอาหาร พักผ่อน อยู่กับธรรมขาติ บ้าง การกินแมกนีเซี่ยม ถ้าเป็นโรคไตต้องถามคุณรักษาคุณ แมกนีเซี่ยมช่วยขัดขวางไม่ให้แคลเซี่ยมไม่ไปเกาะเป็นก้อน ช่วยได้
    แมกนีเซี่ยมออกไซค์4000 มิลิกรัม คนเป็นโรคไต ต้องระวังการกิน คนกล้ามเนื้ออ่อนแรง การฉีด แมกนีเซี่ยมอันตราย แมกนีเซี่ยมมีหลายฟอร์ม เลือกตามชอบ
    🌟วิตามิน K2 และK2.7 กระตุ้น สารที่ทำให้ ลดการเกิด แคลเซี่ยมที่เกาะเส้นเลือด แต่จะทำให้ไปเกาะที่กระดูกแทน คนกินยาวาฟารินต้านลิ่มเลือด กินไม่ได้ อย่ากิน
    🌟คนที่กินได้ใช้เวลา3-6เดือน จึงจะเห็นผล K2
    🌟Statin ช่วยลดไขมัน ในเส้นเลือด การกินขึ้นอยู่แต่ละคนมีเป้าหมายไม่เหมือนกัน ในการกิน ลดไขมันว่ามีเท่าไหร่ ที่ตัวเอง มี เช่นคนเป็น เบาหวาน เป็นต้น
    สแตติน ช่วยป้องกัน เรื่องตระกัน ด้วย ๆ(ใช้กลุ่มอาโทวาสแตตินอยู่ สามารถลดไขมันลงได้ ปกติ)
    แคลเซี่ยมกิน1200 มิลลิกรัมต่อวัน
    วิตามิน D3 จะดูดแคลเซี่ยมเข้ามาทางเดินอาหารเยอะ ต้องตรวจ และลองกินก่อน VD ควรกิน 4000 อินเตอร์เนชั่นเนลยูนิต
    ทุกอย่าง ต้องคุมโรคประจำตัวให้ดี สำหรับ การกินแคลเซี่ยม
    ร่างกายสร้างแคลเซี่ยมมาก ต้อง ตามหน้าที่ของมัน เราควรคุม ป้องกันด้วย เริ่มด้วยการ การออกกำลังกาย อาหารเสริมนั้น กินได้ แต่อยากมากเกินไป เพราะมีแคลเซี่ยมในอาหารปกติอยู่แล้ว ขอบคุณค่ะ🙏🌹❤️

    • @AL86898
      @AL86898 หลายเดือนก่อน +1

      หัวใจหาย อีกแล้วค่ะ อ่านเร็วมาก ค่ะ แก้ไขเพิ่ม0ตัวเดียว 400เป็น4000ก็พิมพ์4000นะ เครื่องเรา ช้ามาก ตอนแก้ไข ต่อไป ต้องดีกว่านี้ค่ะ ขอบคุณเสมอ😊😊🙏

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 หลายเดือนก่อน +1

      🥰 นั่นซิคะ คุณหมอจะอ่านเร็วไปไหนคะ 🥰
      กดหัวใจให้พี่แอ๋วรัวๆค่า
      💌💘🤎💖💜💗
      💕💙❤️‍🩹💚❤️💛

    • @AL86898
      @AL86898 หลายเดือนก่อน +1

      @boomsong5729 ขอบคุณค่ะ🙏คุณหมออ่านเร็ว แอ๋วพิมพ์ช้า🤭 หัวใจ❤️มาขึ้นที่แจ้งเตือนแล้วค่ะ😁

  • @tarungtiwa2710
    @tarungtiwa2710 หลายเดือนก่อน +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณมากค่ะวันนี้มาให้ความรู้ หินปูเกาะหลอดเลือด-วิธีแก้ไข-กิน #Calcium แล้วยิ่เป็นหรือไมค่ะ 🙏❤️🌹

  • @tassaneeboonngien8215
    @tassaneeboonngien8215 หลายเดือนก่อน +1

    กราบขอยพระคุณ มากๆๆค่ะ คุณหมอ เพราะความกรุณา ที่นำเสนอ สาระที่ดี เข้าใจได้ง่าย จึงช่วยให้ ดิฉัน(75. ป่วย โจเกร้น ซินโดรม สุดทรมาน คุมอาการให้นิ่งไม่ได้เลย เแลี่ยนแปลงเกือบทุกวัน ไปทุกระบบ เพราะ สาระความรู้ ทุ่ได้รับจากคุณหมอ จึงทำให้ สามารถประคองตัวได้ทุกวัน ค่ะ ❤

  • @oilovetaam
    @oilovetaam หลายเดือนก่อน +2

    เป็นบุญของประชาชนที่คุณหมอให้ความรู้ดีๆที่ไม่เคยรู้มาก่อน ขอบคุณมากๆค่ะ

  • @p_daiewdai
    @p_daiewdai หลายเดือนก่อน +6

    ขอขอบคุณ

  • @byandfamily3485
    @byandfamily3485 หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณคุณหมอเสมอ กับความรู้เรื่องสุขภาพ คุณหมอเก่งมากเลยค่ะ รอบรู้เกือบจะทุกเรื่อง😊

  • @chotmaneeariyakabuth8331
    @chotmaneeariyakabuth8331 23 วันที่ผ่านมา

    ❤ขอบคุณค่าคุณหมอ 3:03

  • @jirawat_ch
    @jirawat_ch หลายเดือนก่อน +1

    เยี่ยม หัวข้อน่าสนใจ และมีประโยชน์มากครับ ต่อชีวิต พฤติกรรมการบริโภค

  • @arreechuntanaskulwong5950
    @arreechuntanaskulwong5950 หลายเดือนก่อน

    อยาหกให้เพิ่มข้อความใต้คลิปในคำศัพท์บางคำด้วยค่ะ ช่วยเพิ่มความรู้ดีมากๆ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      อ่านจากคอมเมนต์ปักหมุดได้ครับ มีทุกคลิปครับ

  • @tem288
    @tem288 หลายเดือนก่อน +7

    ขอบคุณครับคุณหมอ

  • @NittayaWirojwattanakul
    @NittayaWirojwattanakul หลายเดือนก่อน +1

    ผู้ป่วยเป็นชายอายุ 57 ปี เคยตรวจแคลเซียมสกอร์ ได้ 700 กว่าค่ะ จึงนำผลตรวจไปให้แพทย์ รพ. ที่รักษาประจำ แพทย์หัวใจ ให้ตรวจแอคโค่ วิ่งสายพาน และตรวจคลื่นหัวใจ หมอบอกปกติ ยังวิ่งได้ดีไม่มีหอบเหนื่อยค่ะ
    จึงให้ทานยาลดไขมันต่อไป (ทานมาเกือบ 10 ปี)
    แต่ได้ยาเป็น ซิมวาสแตติน เพราะค่าตับมักผิดปกติ(ไขมันพอกตับ)
    บางครั้งมีโปรตีนรั่วในปัสสาวะค่ะ
    หมอให้ลดน้ำหนัก ออกกำลังกาย ไม่กล้าไปสวนหรือฉีดสีค่ะ
    จะสามารถรักษาแบบนี้ไปได้เรื่อยๆ มั้ยคะ
    ผ่านมา 2-3 ปี ยังไม่มีอะไรอาการเจ็บหน้าอก หรือเหนื่อย (แต่น้ำหนักแทบไม่ลดเลยค่ะ) เป็นเบาหวานเล็กน้อย น้ำตาลเกิน 126 นิดหน่อยค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน

      ถ้าไม่กล้าไปตรวจละเอียด เราก็บอกไม่ได้ว่าตอนนี้เป็นยังไงครับ แต่สิ่งที่ทำอยู่มันก็สมควรที่จะต้องทำอยู่แล้วครับ

    • @NittayaWirojwattanakul
      @NittayaWirojwattanakul หลายเดือนก่อน

      @ ขอบคุณค่ะ

  • @suriyawong75
    @suriyawong75 หลายเดือนก่อน +3

    สวัสดีค่ะคุณหมอ ขอบคุณนะคะ ข้อให้คุณหมอมีสุขภาพแข็งแรงค่ะ😊😍😍

  • @ยินดีแก้วกําเนิด-พ4ธ
    @ยินดีแก้วกําเนิด-พ4ธ หลายเดือนก่อน

    คุณหมอชื่อแทนสมชื่อมากคือ แทนคนไทยให้คนไทยรู้เรื่องสุขภาพค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

  • @exercise1p4b40
    @exercise1p4b40 หลายเดือนก่อน

    🙏🙏 ขอบพระคุณมากๆค่ะ อาจารย์หมอ ที่ ให้ความรู้ ติดตาม ตลอด ตั้งแต่โควิด 19 ได้ความรู้มากหลากหลาย 👍👍👍...ฟังจนติดแล้วค่ะ😁😁😁

  • @thienchailuechaiprasit6677
    @thienchailuechaiprasit6677 10 วันที่ผ่านมา

    มีประโยชน์มากครับ

  • @kanjanapornplodpai7480
    @kanjanapornplodpai7480 26 วันที่ผ่านมา

    ขอบคุณหมอมากๆค่ะ 🙏🤍

  • @MaiX-nv2us
    @MaiX-nv2us หลายเดือนก่อน +5

    เป็นแคลเซียมเกาะหลอดเลือดอยู่ค่ะ ไปตรวจสุขภาพแล้วเจอ

    • @กกเปสว
      @กกเปสว หลายเดือนก่อน +1

      แล้วหมอรักษาให้ยังไงคะมีอาการอะไรบ้าง

    • @MaiX-nv2us
      @MaiX-nv2us หลายเดือนก่อน +1

      หมอกินแมกนีเซียม บอกให้ออกกำลังกายค่ะ สาเหตุที่เป็นอาจจะเพราะว่าเรากินวิตามินและกินแคลเซียมเยอะเกินไป ซื้อกินเองค่ะ😢

    • @ประภัสสรไทรวิจิตร
      @ประภัสสรไทรวิจิตร หลายเดือนก่อน +2

      ขอสอบถามค่ะ มีอาการอะไรบ่งบอกว่ามีแคลเซียมเกาะค่ะ หรือ สงสัยจึงตรวจค่าเลือดค่ะ ?

    • @RedMiNote11s-ou6em
      @RedMiNote11s-ou6em หลายเดือนก่อน +1

      ​@@MaiX-nv2usซื้อมาทานเอง เป็นเวลานานมั้ยคะ รบกวนขอความรู้หน่อยเพราะซื้อมาทานเหมือนกัน

    • @moo18956
      @moo18956 หลายเดือนก่อน

      Ezetimibe จะมีผล​ stabilize plaque มั้ยคะ

  • @amornratanawuttivoradit6746
    @amornratanawuttivoradit6746 23 วันที่ผ่านมา +1

    คุณหมอจะดูย้อนหลังทำยังไง สว.คะ

    • @DrTany
      @DrTany  23 วันที่ผ่านมา

      เข้าไปที่หน้ายูทูปผมแล้วเลื่อนดูตามคลิปที่ต้องการเลยครับ

  • @maniethings1156
    @maniethings1156 หลายเดือนก่อน +1

    อยากให้คุณหมอทำคลิปเรื่อง Red Yeast Rice supplement ในการช่วยลด LDL ค่ะ
    Costco มีขาย ยี่ห้อ Weider

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +4

      ไม่ค่อยได้ช่วยอะไรครับ ในนั้นมันมีสาร Lovastatin ซึ่งก็เป็นสาร statin เช่นเดียวกับยาลดไขมันที่เราใช้ในปัจจุบัน แต่ฤทธิ์มันอ่อนกว่ามาก และปริมาณที่มีในแต่ละขวด ไม่แน่นอน อาจจะมากหรือน้อยก็ได้ มันไม่มีการตรวจสอบหรือควบคุมครับ

  • @saowapanReynolds
    @saowapanReynolds หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากนะค่ะ จาก Oklahoma กำลังกิน Rosuvastatin calcium 10MG 1t/d/
    Aspiring EC 81MG
    6้เดือนกลับพบแพทย์

  • @spra88
    @spra88 หลายเดือนก่อน +1

    นึกถึง cysticercosis เม็ดข้าวสาร กระจายทั่วตัวเลย แม้ในสมอง

  • @Hoshi1451
    @Hoshi1451 หลายเดือนก่อน +2

    😊ขอบคุณอจ.หมอมากนะคะ🙏

  • @pannko8888
    @pannko8888 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอที่รักวันนี้ใส่กำไลตะปูใส่เสื้อเด็กใส่สร้อย เทอมคอยส์คิดถึงนะคะ❤

  • @LAILAUNAHAWAT-vc8ju
    @LAILAUNAHAWAT-vc8ju หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอ
    🙏❤

  • @Chaweewan8769
    @Chaweewan8769 หลายเดือนก่อน

    คลิปนี้้อาจารย์ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับแคลเซียมให้ฟังโดยละเอียด ขอบพระคุณมากค่ะ🙏🙏

  • @การะเกดสิทธิศักดิ์
    @การะเกดสิทธิศักดิ์ หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ 🙏🌹👨‍🎨

  • @luckluck1176
    @luckluck1176 หลายเดือนก่อน

    ขอบพระคุณ คุณหมอมากๆค่ะ ฟังเพลินและมีประโยชน์ค่ะ

  • @pongthi4318
    @pongthi4318 หลายเดือนก่อน

    แคลเซียมเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดนิ่วในกระเพาะปัสสะวะมั้ยคะ แล้วถ้ามีนิ่วอยู่ควรทานได้วันละไม่เกินเท่าไหร่คะ ขอบพระคุณค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      ไม่ได้เกี่ยวกันครับ ผมเคยเล่าในคลิปนี้ครับ th-cam.com/video/wvGD8xfh_Ik/w-d-xo.htmlsi=QE0WRckz68YKI1iU

  • @nung-noppapat
    @nung-noppapat หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณค่ะอาจารย์🙏🥰

  • @JidapaTammarat
    @JidapaTammarat หลายเดือนก่อน +2

    ขอบคุณ สำหรับคลิป นะคะ คุณหมอ

  • @Euang-Mali
    @Euang-Mali หลายเดือนก่อน +3

    😊🌸🍃ขอบคุณมากนะคะ🙏

    • @boomsong5729
      @boomsong5729 หลายเดือนก่อน +1

      แวะมาบอกข่าวดีค่า
      ช้างน้อย "เจือจุน"..
      รักษาตา หายดีแล้วค่า
      กลับไปบ้านเชียงใหม่แล้วนะคะ เย้ๆ
      คุณครูมดสบายดีนะคะ
      ขอให้งานเขียนไหลลื่นค่า 💕🐘

    • @Euang-Mali
      @Euang-Mali หลายเดือนก่อน +1

      @boomsong5729
      😊🩷สวัสดีค่ะ
      คุณมนต์ สบายดีค่ะ
      ขอบคุณที่แวะมาทักทาย
      คุณมนต์สบายดีนะคะ ดีใจกับน้องด้วยเหมือนกันจากเชียงใหม่มารักษาตัวที่คชบาลลำปางเดือนกว่าๆน้องคงคิดถึงบ้านแย่แล้ว อิอิ

  • @dusadeeubonpong4102
    @dusadeeubonpong4102 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณ"คุณหมอ"
    มากมากค่ะ ❤

  • @สุนทรีจินดารัตน์
    @สุนทรีจินดารัตน์ หลายเดือนก่อน

    สวัสดีค่ะ🙏 เพิ่งตรวจแคลเซียมสกอร์ได้1,238 อายุ45 เป็นsleระบบไตมา24ปีค่ะ คุณหมอสั่งแอสไพริน 81MGกับเพิ่มขนาด statin ปกติเดินวิ่ง4-6โลทุกวัน ตอนนี้เริ่มคุมอาหารเข้มค่ะ ถ้าทานยากับปรับพฤติกรรมแบบนี้พอจะช่วยให้ยืดการเกิดโรคหัวใจหรือstrokeมั้ยคะ ขอบคุณค่ะ🙏

  • @wonsilapattawee8134
    @wonsilapattawee8134 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอความรู้ดีๆ ขอบคุณมากๆค่ะ

  • @subbvhj625
    @subbvhj625 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณค่ะคุณหมอคนเก่ง

  • @สุทธิดาลักษณ์มีศิลป์
    @สุทธิดาลักษณ์มีศิลป์ หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณค่ะคุณหมอที่ให้ความรู้

  • @khuanchitsaichan4576
    @khuanchitsaichan4576 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณอาจารย์หมอมากค่ะ🥰

  • @sawartmcdonld8972
    @sawartmcdonld8972 หลายเดือนก่อน

    Thanks U very much Doctor , from , Texas ติดตาม และ เรียน จาก คุณหมอ ตลอด ,

  • @KruewanBuasuwan
    @KruewanBuasuwan หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณคะคุณหมอ

  • @สิริการย์โชคชัยพุฒิพงษ์

    ขอบคุณหมอมากๆนะคะ

  • @ThrBoyStudio-o8n
    @ThrBoyStudio-o8n หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณค่ะคุณหมอ ได้ความรู้มากๆเลย❤❤❤

  • @ruai2222
    @ruai2222 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณค่ะอาจารย์หมอ

  • @จันทนาตันงามตรง
    @จันทนาตันงามตรง หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะอาจารย์หมอ ขอบคุณมากค่ะ

  • @N_utto
    @N_utto หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณความรู้จากคุณหมอค่ะ

  • @patcharinsirivong3931
    @patcharinsirivong3931 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณคะ ทานแมกนีเชียม หลับได้ดีขึ้นมาก

  • @patriyaangchandrpen701
    @patriyaangchandrpen701 หลายเดือนก่อน +2

    สวัสดีค่ะคุณหมอแทนนี่...ได้ฟังคลิปนี้ของคุณหมอรวมถึงคลิปที่คุณหมอคุยกับคุณหมอเตย ยิ่งมีความมั่นใจว่า ถึงแม้อายุ 54 ปี ก็วิ่งได้ไม่ได้ทำร้ายข้อเท้าข้อเข่าหรือหลัง อย่างที่คนพูดๆ กัน แต่ก็ต้องวิ่งในท่าทางที่ถูกต้องเพื่อลดแรงกระแทกและลดความเสี่ยงการบาดเจ็บ เช่น วิ่งลงน้ำหนักที่ตำแหน่งกลางเท้าและไม่วิ่งเร็ว ได้ผลดีมากกว่าผลเสียค่ะ น้ำหนักลด ความดันอยู่ในระดับ 123-125 / 68-70 เคยวิ่งแค่ 3 วันต่อสัปดาห์ วิ่งวันละ 3 กม. ใช้เวลา23นาที แต่ช่วงฝุ่นมาต้องหยุดวิ่ง แย่เลยค่ะ

  • @wanidakueppers9797
    @wanidakueppers9797 หลายเดือนก่อน +1

    อยากให้คุณหมอทำคลิปเป็นเวอชั่นภาษาอังกฤษบ้างเพราะเป็นประโยชน์มากๆคะสำหรับคนทั่วไปทั้งคนไทยและต่างชาติแต่สำหรับคนต่างชาติบางคนก็ฟังภาษาไทยเข้าใจแต่บางคนพูดไม่ได้ฟังก็ไม่เข้าใจซึ่งน่าเสียดายที่คลิปของคุณหมอฟังได้และใจสำหรับคนที่เข้าใจภาษาไทยเท่านั้นแต่ขอบพระคุณๆหมอมากๆคะที่ทำคลิปที่เป็นประโยชน์ออกมากให้ได้เรียนรู้ ขอบคุณคะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +2

      อย่างดีผมก็ใช้ TH-cam translator แปลเอาครับ แต่มันก็แปลผิดเยอะมากจนบางทีฟังก็ไม่รู้เรื่องอยู่ดี การจะให้ผมทำภาษาอังกฤษเอง มันเสียเวลามากและคงไม่ได้ทำครับ

  • @sidapornpatmayothin9149
    @sidapornpatmayothin9149 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณมากค่ะที่ให้ความรู้ค่ะ

  • @นวพรตะเคียนนุช
    @นวพรตะเคียนนุช หลายเดือนก่อน

    ขอยพระคุณค่ะ

  • @ninaschannel4440
    @ninaschannel4440 25 วันที่ผ่านมา

    เป็นความดันสูงค่ะ ทานยาและตรวจตามนัดสม่ำเสมอ คุณหมอให้ตรวจค่า Electrolyte ครั้งแรกเดือน กย ปรากฏว่าค่าโปรแตสเซียมต่ำ ก็ทานกล้วย เมล็ดทานตะวัน ผลไม้เยอะขึ้นกว่าเดิมมากๆค่ะ และทานทุกวัน พอตรวจครั้งที่ 2 ต้น ธค โปรแตสเซียม ก็ยังต่ำเท่าเดิมอยู่ค่ะ สงสัยว่าทำไมร่างกายเราไม่ดูดซึมโปรแตสเซียมเหรอคะ และควรต้องทำอย่างไรคะ นี่ก็พยายามทานผลไม้สีเหลืองทุกวันอยู่ค่ะ😊 ขอบคุณค่ะ อจ.หมอ😃🙏

    • @DrTany
      @DrTany  25 วันที่ผ่านมา +2

      ต้องดูด้วยว่ายาที่ทานมันทำให้ potassium ต่ำด้วยรึเปล่า ถ้าเป็นยาขับปัสสาวะ HCTZ, furosemide ก็จะมีปัญหานี้ได้ เปลี่ยนยาก็หายครับ แต่ถ้าไม่ใช่ก็ต้องหาเหตุผลอื่นแล้ว บางคนมีสาเหตุที่ทำให้ทั้งความดันสูง และมี potassium ต่ำ เช่น กินชะเอมมากไป หรือร่างกายมีการสร้างฮอร์โมน renin, aldosterone, cortisol มากเกิดไป มีเส้นเลือดแดงที่ไตมันตีบ เป็นต้นครับ

    • @ninaschannel4440
      @ninaschannel4440 25 วันที่ผ่านมา

      @DrTany โอ้ว ค่ะ ขอบพระคุณ อจ.หมอ มากๆค่ะ🥰🙏

  • @OradeeMaliwan-cp4qk
    @OradeeMaliwan-cp4qk หลายเดือนก่อน

    อยากซื้อเครื่อง​ PEMF​ มา​ Heal ตัวเองค่ะแต่ไม่ค่อยมีความรู้และเลยเลือกไม่ถูกว่าจะเอารุ่นไหนดีที่คุ้มค่าที่สุดหและอยากรู้ขัอมูลในเชิงลึกด้วยค่ะแต่ไม่ค่อยมีใครทำคลิปเกี่ยวกับการฮีลพลังงาน​เลยค่ะถ้าคุณหมอพอมีเวลารบกวน​ช่วยทำคลิปที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเครื่องฮีลพลังงาน​ชีวิตให้หน่อยนะคะ.. ขอบคุณ​ค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน

      ไม่ได้ช่วยอะไรขนาดนั้น ดังนั้นสามารถเลือกเองตามที่ถูกใจได้ครับ

  • @kanokpornmartinez6155
    @kanokpornmartinez6155 หลายเดือนก่อน

    ❤❤ขอบคุณจ้าา

  • @TomT1K
    @TomT1K หลายเดือนก่อน +3

    กำลังสนใจอยู่เลยครับเรื่องนี้เพราะว่า สว. ที่รู้จักหลายๆคนเป็นกันเยอะ

  • @pareechapramthed9216
    @pareechapramthed9216 หลายเดือนก่อน +1

    สุ้ๆครับ

  • @aimmonnualma4770
    @aimmonnualma4770 หลายเดือนก่อน

    วิตามินD3เกินค่า109กินแมกนีเซียมได้ไหมค่ะคุณหมอแทน ขอบคุณค่ะ❤

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      กินได้ แต่ไม่ได้ช่วยอะไรครับ

  • @BuaKlangbueng
    @BuaKlangbueng หลายเดือนก่อน

    ขอเรียนถาม อจ หมอ เรื่องอื่นนะคะ การนอนตะแคงซ้าย ควรทำหรือไม่คะ เพราะได้ยินเสียงหัวใจตุ๊บๆ ชัดเจนมากจนแอบกังวลค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      ถ้ากังวลก็อย่าทำครับ

  • @กาศกาจ
    @กาศกาจ หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณครับ😊

  • @MMm-um5uy
    @MMm-um5uy หลายเดือนก่อน

    สวัสดีค่ะคุณหมอ😊😊

  • @areeratasudhasirikul952
    @areeratasudhasirikul952 หลายเดือนก่อน

    Just back from my friends' house for Thanksgiving. Will catch up tomorrow!

  • @WisutichaiWithithamasak
    @WisutichaiWithithamasak หลายเดือนก่อน +1

    ขอบคุณครับ

  • @jitpinantarerngrum7937
    @jitpinantarerngrum7937 หลายเดือนก่อน

    ขอบคุณค่ะ❤❤❤❤

  • @breezemiui5700
    @breezemiui5700 หลายเดือนก่อน +1

    ผมชอบนอนตะแคง

  • @siriwansaengow2024
    @siriwansaengow2024 หลายเดือนก่อน +2

    คุณหมอครับเป็นหลอดเลือดสมองตีบรักษาอยู่แต่เริ่มปกติแล้วแขนขาไม่อ่อนแรงมีมึนๆนิดหน่อยในบางวัน..กินแอสไพริน+อะทอวาสสแตติน+ยาความดันแอมโลปีน..สามารถกินแมกนีเซียมเสริมได้ไม๊ครับ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      ได้ครับ แต่อาจจะไม่ได้ช่วยอะไรมากนะครับ

  • @patriciamikkelsen9292
    @patriciamikkelsen9292 หลายเดือนก่อน

    What kind of DRs I should go check up with all this problems thanks 🙏

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      Internist or cardiologist whatever you prefer.

  • @ninanapapha
    @ninanapapha หลายเดือนก่อน

    อาจารย์หมอค่ะ เรียนสอบถามค่ะ ทานแคลเซี่ยมคู่กับแมกนีเซียม คู่กัน จะมีผลกับร่างกายอย่างไรไหมค่ะ ตัวดิฉัน เป็นโรคความดันสูงแต่ควบคุมได้ค่ะ คุณหมอผู้ที่ดูแล แจ้งว่าควบคุมได้ดีค่ะ ปกติออกกำลังสัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 1 ชม ค่ะ ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน

      ไม่ได้มีปัญหาครับ

    • @ninanapapha
      @ninanapapha หลายเดือนก่อน

      @ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ อาจารย์

  • @nisakonmeebosap5274
    @nisakonmeebosap5274 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะคุณหมอ

  • @swisstime88
    @swisstime88 หลายเดือนก่อน +1

    No1 🙏

  • @benjatawat8739
    @benjatawat8739 หลายเดือนก่อน +1

    สวัสดีค่ะ คุณหมอ

  • @sheilapraneesatrawaha22
    @sheilapraneesatrawaha22 หลายเดือนก่อน +1

    ทานวิตามินรวม Cal Mag D3 1 เม็ดก่อนนอน (ข้างกล่องบอกว่า 3 เม็ด/วัน แต่ทานแค่วันละเม็ดเดียวค่ะ)เพราะหลับได้ดีค่ะ กลัวจะเป็นนิ่วไหมคะ แต่ถ้าไม่ทานก็นอนไม่ดีเท่ากับทานค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน

      ถ้ากลัวก็ลองไปตรวจดูได้ครับ

  • @prs2243
    @prs2243 หลายเดือนก่อน

    แม่เป็นอัมพฤกษ์ ตั้งแต่อายุ72มีไขมัน ความดัน ใด้แคลเซียมวันละเม็ด พออายุ80กว่าพบแคลเซี่ยมเกาะหลอดเลือดในช่องท้องเป็นแนวทางยาว ปริเป็นเส้นเลือดแดงใหญ่โป่ง แตก เราเลยไม่กล้ากินต่อเนื่องตอนอายุมากขึ้น

  • @bunyadwongcharoentham1047
    @bunyadwongcharoentham1047 หลายเดือนก่อน +1

    วิตามิน เค ทู อยู่ในอาหารประเภทใดครับ ตับ เนื้อ หรือ ผักอะไร ครับ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +2

      เยอะสุดในนัตโตะครับ ที่เหลือก็มีบ้างในไก่ ไข่แดง เป็นต้น แต่ก็ไม่มากครับ

  • @nittidanunbhakdi7164
    @nittidanunbhakdi7164 หลายเดือนก่อน +2

    การทานวิตามิน D3 , K2 เป็นประจำทุกวัน จำเป็นต้องเว้นวรรคไหมคะ เช่น ทานจ-ศ เว้น ส- อา หรือ ทาน3เดือน หยุด 1 เดือน

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +2

      แล้วแต่ครับ เรื่องนี้ไม่ได้มีใครแนะนำ ดังนั้นเรื่อง K2 คงตอบไม่ได้ ส่วน D3 ควรดูที่ระดับวิตามินในร่างกายครับ

    • @nittidanunbhakdi7164
      @nittidanunbhakdi7164 หลายเดือนก่อน

      @ ขอบพระคุณค่า

  • @JimmyJamin-h6i
    @JimmyJamin-h6i หลายเดือนก่อน

    พ่อผมอายุ70 ไปตรวจหมอบอกแคลเซียมเกิน พ่อไม่เคยกินอาหารเสริมหรือพวกนมเลย แต่พ่อแกชอบกินพวกปลา

  • @ภูริตาเทียมทัด
    @ภูริตาเทียมทัด หลายเดือนก่อน

    แล้วแม็ดนีเชียม มันอยุ่ในอาหารแบบไหนบ้างค่ะคุณหมอ เช่นในปลา ในผลไม้ไม่ บางที่คนเป็นโรคหัวใจก็ไม่กล้าสั่งทานค่ะกลัว คือเป็นทั้งลิ้นหัวใจรั่ว หนึ่งข้าง หัวใจตีบ ต้องระวังค่ะ และยังไม่ได้ผ่าค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +2

      ผักใบเขียวเข้มๆครับ

  • @sirisasirisa9704
    @sirisasirisa9704 หลายเดือนก่อน +1

    เป็นเลือดจาง ควรกินAcide folique CCD เสริมไหมคะ, ไม่ท้องและอายุใกล้วัยทอง

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      ต้องหาสาเหตุที่เลือดจางก่อน ไม่ใช่ไปหาอะไรมากินครับ

  • @Sahrah420
    @Sahrah420 หลายเดือนก่อน

    ถ้ากรณีคนที่เป็นเส้นเลือดโป่งพอง และรับยาจากคุณหมอ และมีอาการอ่อนแรงบ้าง แบบนี้ควรเลี่ยง magnesium หรือทานได้มั้ยค่า

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      ทานได้ครับ

  • @ธัญรดีญาดาสิทธิพล-ฉ7ฉ
    @ธัญรดีญาดาสิทธิพล-ฉ7ฉ หลายเดือนก่อน +1

    คนป่วยที่ทำบอลลูนหัวใจมาแล้วทาน แมกนีเซียมได้ไหมคะคุณหมอ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      ได้ครับ ถ้าไม่มีโรคอย่างที่ผมเล่าในคลิป แมกนีเซียม ซึ่งถ้าจำไม่ได้ คุณก็ต้องลองไปค้นฟังดูครับ

    • @ธัญรดีญาดาสิทธิพล-ฉ7ฉ
      @ธัญรดีญาดาสิทธิพล-ฉ7ฉ หลายเดือนก่อน +1

      @ ขอบคุณมากค่ะคุณหมอ

  • @กัมฟาตาขาว
    @กัมฟาตาขาว หลายเดือนก่อน +3

    คุณหมอครับ ยาลดความดัน ประเภท calcium chanal blocker ทำให้เเคลเซียมในร่างกายสูงผิดปกติไหมครับ

  • @pasitachanphen4765
    @pasitachanphen4765 หลายเดือนก่อน

    ปกติไม่เป็นอะไรอายุ61ตรวจสุขภาพประจำปีค่าเลือดอยู่ในเกณฑ์ ต้องตรวจแคลเซียมสกอร์ไหมค่ะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +2

      ไม่ได้จำเป็นครับ

    • @pasitachanphen4765
      @pasitachanphen4765 หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณมากค่ะ​@@DrTany

  • @Huang5334
    @Huang5334 หลายเดือนก่อน +5

    👍👍👍👍

  • @lemongrassthailand3300
    @lemongrassthailand3300 หลายเดือนก่อน +1

    ทานวิตามินดี20,000 IU 1 เม็ดต่อสัปดาห์ตามแพทย์สั่งค่ะ มากหรือน้อยไปคะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      ปกติครับ ให้ทำตามแพทย์สั่ง ปกติเราจะสั่งตามระดับวิตามินดีในร่างกายครับ ถ้าเรากังวล สงสัยตรงไหนก็ถามไปตรงๆเลยครับ

  • @sudapornwi3623
    @sudapornwi3623 หลายเดือนก่อน +1

    เป็นSLE ด้วยค่ะคุณหมอ แล้วเป็นกระดูกพรุนต้องกินแคลเซียม แต่ 3:54 ได้ฉีดยารักษากระดูกพรุนแล้วปีละครั้ง ไม่มีเบาหวาน ความดัน เสี่ยงใช่ไหมคะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน

      เสี่ยงครับ ถ้ากังวลก็ต้องเล่าให้หมอที่ดูแลฟังครับ

    • @sudapornwi3623
      @sudapornwi3623 หลายเดือนก่อน

      @@DrTanyขอบคุณค่ะ

  • @MrNroro
    @MrNroro หลายเดือนก่อน +4

    ผมดื่มนมถั่วเหลืองตามท้องตลาดแต่เป็นยี่ห้อที่เขาเสริมแคลเซียม1000mgต่อกล่อง หากดื่มวันละ3-4กล่องจะเป็นอันตรายเกาะผนังเส้นเลือดเช่นเดียวกับแคลเซียมเสริมไหมครับ? และ Calcium Score กับค่าแคลเซียมในเลือดมีความสัมพันธ์กันไหมครับ?

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +7

      ผมไม่ทราบเหมือนกันครับ ทราบแต่ถ้าเป็นยาเม็ดแคลเซียม ถ้ากินขนาด 4000 mg มันก็เกิน ส่วนจากนมถั่วเหลือง ผมไม่รู้ว่ามันดูดซึมได้เยอะขนาดยารึเปล่าครับ

    • @surasakanakekanjanapan
      @surasakanakekanjanapan หลายเดือนก่อน +3

      กินแค่นี้ไม่มีผลอะไรหรอกครับ การจะมีปัญหาเรื่องแคลเซียมเกาะหลอดเลือดได้นั้น คุณจะต้องมีแคลเซียมในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานๆก่อน จึงอาจจะเกิดได้. การเกิดแคลเซียมเกาะหลอดเลือด จะเกิดได้จากการที่หลอดเลือดมีการอักเสบ มากกว่า การที่แคลเซียมในเลือดสูง. Calcium Score กับ ค่าแคลเซียมในเลือด ไม่มีความสัมพันธ์กัน. คนที่ Calcium Score สูง ก็ไม่ได้มีค่าแคลเซียมในเลือดสูง.

  • @OrapanMeenarin
    @OrapanMeenarin หลายเดือนก่อน

    VitD3กับvitD2 ต่างกันยังไงในการเลือกใช้คะ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      D2 กินสัปดาห์ละครั้ง ส่วน D3 ต้องกินทุกวันครับ ส่วนขนาดขึ้นกับระดับวิตามินดีในร่างกาย ไม่สามารถบอกได้ว่าใครต้องกินขนาดเท่าไหร่จนกว่าจะรู้ว่าในร่างกายเรามีระดับเท่าไหร่ครับ

  • @chatsaengthanaruckchok6726
    @chatsaengthanaruckchok6726 หลายเดือนก่อน +1

    ขอบพระคุณคุณหมอที่กรุณาให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์เสมอคะ, ขอสอบถามคะ พ่อฟอกไตสามครั้งต่อสัปดาห์ หลัง bypass surgery ปี 2015, ประมาณเดือนกันยายนนี้ คุณหมอเริ่มให้ calcium carbonate 1,000mg 3 ครั้งต่อวัน หลังการ feed อาหารทางหน้าท้อง ควรขอให้คุณหมองดการให้ calcium หรือไม่คะ

    • @KJJLKPO
      @KJJLKPO หลายเดือนก่อน +2

      ถ้าไม่สบายใจ ถามคุณหมอเจ้าที่ดูแลน่าจะให้คำตอบได้ดีกว่าครับ เพราะเขามีข้อมูลของคนไข้มากที่สุดแล้ว

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +1

      ให้ทำทุกอย่างตามหมอบอก อย่าเปลี่ยนการรักษาเองครับ ถ้ากังวลควรต้องถามหมอเขาเสมอเลยครับ

    • @chatsaengthanaruckchok6726
      @chatsaengthanaruckchok6726 หลายเดือนก่อน

      ขอบคุณคะ​@@DrTany

  • @pgm_vejr00413kqbl
    @pgm_vejr00413kqbl หลายเดือนก่อน +1

    ผมทานclopidogrel ทานK2ได้ไหมครับ

    • @DrTany
      @DrTany  หลายเดือนก่อน +2

      ได้ครับ มันไม่ได้ต้านฤทธิ์กัน แต่จะทานอะไรต้องแจ้งหมอที่รักษาเสมอครับ

    • @pgm_vejr00413kqbl
      @pgm_vejr00413kqbl หลายเดือนก่อน

      @@DrTany
      ขอบคุณ อ.หมอธนีย์มากครับ ❤️