นกแขกเต้า มันคือนกแก้วชนิดหนึ่ง Psittacula alexandri

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 30 พ.ย. 2022
  • สำหรับพื้นที่ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ นั้นผมพบนกแขกเต้าครั้งแรกที่ เขาแหลม เขตตำบลห้วยตามอญ ซึ่งเป็นภูเขาเตี้ยๆเป็นแนวต่อจากเขาพนมดงรักลึกเข้ามาทางทิศเหนือห่างเขตชายแดนไทยกัมพูชาราวๆ 30 กิโลเมตร และเริ่มพบได้บ่อยๆในเขตภูเขาเหนือเขื่อนโอตาลัต ตำบลโคกตาล ซึ่งเป็นเขตป่าที่เชื่อมติดต่อกับเขาพนมดงรัก ซึ่งผมเห็นมันอยู่เพียงตัวเดียวกำลังกินน้ำหวานจากดอกทองหลางป่า หรือไม่ก็อาจกินเกสรหรือกลีบดอกไม้ หรือกินทั้งน้ำหวานหรือกลีบดอกก็อาจเป็นได้ครับ ต้นทองหลางป่าที่ออกดอกในช่วงประมาณปลายเดือนธันวาคมไปถึงกุมพาพันธ์ แต่โดยปกติมักเห็นนกแขกเต้าอยู่เป็นกลุ่มตั้งแต่ 4-5 ตัวขึ้นไป ช่วงต้นฤดูหนาวผมมักเห็นมันบินจากยอดไม้ต้นหนึ่งไปต้นหนึ่งและส่งเสียงดังกังวาลก้องป่าขณะบินและไล่จิกกันบ้างเป็นบางครั้ง ซึ่งช่วงฤดูหนาวไปถึงฤดูร้อน เป็นช่วงที่นกแขกเต้าเริ่มจับคู่สร้างรังวางไข่ โดยใช้โพรงตามต้นไม้ตกแต่งบริเวณปากโพรงเป็นรังในการวางไข่ ปรกติจะมีไข่ประมาณ 3-4 ฟอง ต่อรัง การฟักไข่ใช้เวลาประมาณ 17-19 วันโดยพ่อกับแม่นกจะช่วยกันฟักไข่ และช่วยกันเลี้ยงดูลูกต่อไปอีก 3-4 สัปดาห์ ลูกนกจึงจะแข็งแรงสามารถหาอาหารเองได้แล้วจึงทิ้งรังไป
    นกแขกเต้า เป็นนกแก้วชนิดหนึ่ง ถือว่าเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นภาคใต้เท่านั้นที่ไม่พบ

ความคิดเห็น • 9

  • @user-gu6uu8ni9m
    @user-gu6uu8ni9m  ปีที่แล้ว +1

    ขอบคุณทุกท่านที่รับชมครับ

  • @user-dz6to9hz5v
    @user-dz6to9hz5v ปีที่แล้ว

    สวยๆค่ะ..

    • @user-gu6uu8ni9m
      @user-gu6uu8ni9m  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ

  • @appsamsung5382
    @appsamsung5382 ปีที่แล้ว

    ติดตามครับ มาให้กำลังใจ ครับผม

    • @user-gu6uu8ni9m
      @user-gu6uu8ni9m  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ

  • @user-is2zc4hm9s
    @user-is2zc4hm9s ปีที่แล้ว

    เข้ามารับชมนกค่ะ

    • @user-gu6uu8ni9m
      @user-gu6uu8ni9m  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ

  • @ttffff5743
    @ttffff5743 ปีที่แล้ว

    เข้ามาติดตามแล้วนะ

    • @user-gu6uu8ni9m
      @user-gu6uu8ni9m  ปีที่แล้ว

      ขอบคุณมากครับ