พระจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่? โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 12 ส.ค. 2017
  • สอนพระวินัย เรื่อง #พระจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
    อธิบายเรื่องกฐิน ทั้งในส่วนขั้นตอนของกฐิน ภิกษุผู้มีสิทธิ์รับกฐิน และบริวารกฐิน
    โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
    ณ วัดดอนคำพวง ต.ทรายมูล อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
    #อธิบายประเด็นสำคัญ
    หลักฐานจากจีวรขันธกะที่ยกมา ในเนื้อเรื่องพระบาฬี ผ้าที่เขาถวายสงฆ์นั้นไม่ใช่ผ้ากฐิน แต่เป็นหลักฐานว่าภิกษุที่จำพรรษารูปเดียวนั้นได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว ทำไมถึงทราบได้?
    ตอบว่า เพราะพระองค์ตรัสว่า "ผ้านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน" ซึ่งเป็นอานิสงส์ของกฐินข้อที่ ๕ คือ จีวรที่เกิดขึ้นแก่สงฆ์ในจีวรกาลจะถึงแก่ผู้จำพรรษาในวัดนั้นเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้แก่ผู้ที่จำพรรษารูปเดียวนั้น
    หมายเหตุ :
    นาทีที่ ๙ ในคลิปมีพูดพลาดเรื่องผ้าที่มิได้ตัดว่าจะอธิษฐานเป็นไตรจีวรไม่ขึ้น หากเก็บไว้เกิน ๑๐ วันผ้าจะเป็นนิสสัคคีย์ แก้ใหม่เป็น ถึงผ้าจะไม่ได้ตัดหรือตัดไม่ครบทุกชิ้น ก็อธิษฐานเป็นไตรจีวรขึ้น แต่จะต้องอาบัติทุกกฏเพราะใช้ผ้าไตรที่มิได้ตัด (ดู วิ.มหา.๕/๓๔๕/๑๔๙)
    นาที่ที่ ๒๖.๓๕ และนาทีที่ ๓๐.๓๔ ในคลิปพูดผิดไปเรื่องผ้าที่เขาถวายสงฆ์ว่าเป็น ผ้ากฐิน แก้ใหม่เป็น #ผ้ากาลจีวร
    #หลักฐานเรื่องพระจะจำพรรษากี่รูปก็รับกฐินได้
    หลักฐานต่อไปนี้นำมาเฉพาะส่วนที่อธิบายกฐินขันธกะโดยตรง
    ภิกฺขูนํ วุฏฺฐวสฺสานํ​​​ กถินตฺถารมพฺรวิ
    ปญฺจนฺนํ อานิสํสานํ​​​ การณา มุนิปุงฺคโว.
    พระมุนีผู้ประเสริฐตรัสการกรานกฐินไว้สำหรับภิกษุที่ได้จำพรรษาแล้ว เพราะเหตุแห่งอานิสงส์ ๕ ประการ (วินยวินิจฉย. ๒๗๓)
    พระฎีกาจารย์ท่านอธิบายดังต่อไปนี้
    พระมุนีผู้ประเสริฐ คือพระผู้มีพระภาคผู้ทรงอุดมกว่าอคาริกมุนี (ฆราวาสผู้บรรลุมรรคผล) เป็นต้นทั้งปวง ด้วยหมู่คุณทั้งมวล ตรัส คืออนุญาตการกรานกฐินว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้กรานกฐินสำหรับภิกษุที่ได้จำพรรษาแล้ว" แก่ภิกษุ คือภิกษุ ๑ รูป, ๒ รูป, ๓ รูป, ๔ รูป, ๕ รูป หรือมากกว่านั้น ซึ่งได้จำพรรษาแล้ว คือได้เข้าจำพรรษาต้น มิให้ขาดราตรี อยู่จนครบถึงวันมหาปวารณา เพราะเหตุจะได้รับอานิสงส์ ๕ ประการ มีการจาริกไปไม่ต้องบอกลาเป็นต้น ซึ่งจะกล่าวต่อไป
    เมื่อสงฆ์จตุวรรค (๔ รูป) โดยกำหนดอย่างต่ำ มอบผ้ากฐินให้ภิกษุผู้ควรกรานกฐินด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาแล้ว เธอผู้ควรกรานได้กรานด้วยจีวรนั้น ชื่อว่า กฐิน จึงมีได้ (จึงสำเร็จเป็นกฐิน) เมื่อไม่ได้มอบให้ กฐินก็มีไม่ได้ (ไม่สำเร็จเป็นกฐิน), ฉะนั้น เมื่อไม่ได้สงฆ์จตุวรรค แม้จะกล่าวสักพันครั้งว่า "ข้าพเจ้าถวายกฐิน" ชื่อว่ากฐิน ก็มีไม่ได้ (ไม่สำเร็จเป็นกฐิน)
    เพราะฉะนั้น ในเขตพำนักที่ท่านกำหนดด้วยอุปจารสีมา (เขตวัด) มีภิกษุอยู่จำพรรษา ๑ รูป ๒ รูป ๓ รูป หรือ ๔ รูป เมื่อกฐินจีวรเกิดขึ้นในอุปจารสีมานั้น ให้หา (นิมนต์) จากที่อื่น เมื่อมีภิกษุครบจำนวน ๕ รูป คือ สงฆ์จตุวรรค + ผู้รับผ้า ๑ รูป ก็ได้กรานกฐิน, หากมีไม่ครบ ก็ไม่ได้กรานกฐิน, อย่างนี้แหละ เมื่อสงฆ์มี กฐินจึงมีได้, เมื่อสงฆ์ไม่มี กฐินก็มีไม่ได้ (วินยาลังการฎีกา ๒/๘๓)
    ท่านอธิบายเหมือนกันทุกฎีกาว่า ๕ รูปที่ว่านี้ ไม่ใช่หมายถึง การกราน แต่หมายถึง สังฆกรรมมอบผ้า ดังหลักฐานว่า
    เพราะข้อความที่มาในกังขาวิตรณีฎีกาว่า "ข้อความว่า ย่อมควร แก่ภิกษุ ๕ รูป หมายความว่า สมควรแก่ภิกษุ ๕ รูป คือ ๔ รูป โดยกำหนดอย่างต่ำเป็นผู้ให้ผ้ากฐิน รูป ๑ เป็นผู้รับ จึงทำให้รู้ได้ว่า บทกัตตา (บทประธาน) ของบทกิริยาว่า วฏฺฏติ ในประโยคนั้น ท่านกล่าวว่าเป็น โส กถินตฺถาโร (การกรานกฐินนั้น) ดังนั้น ด้วยคำว่า อตฺถาโร (การกรานกฐิน) นี้ ท่านมิได้มุ่งหมายถึงกิริยาการกรานที่กล่าวว่า อิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ (ข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าสังฆาฏินี้) แต่มุ่งหมายถึงการให้ด้วยญัตติทุติยกรรมแก่ภิกษุผู้กรานหนึ่งรูป จากภิกษุผู้ให้ ๔ รูป (วินยาลังการฎีกา ๒/๑๐๘)
    พระฎีกาจารย์กล่าวไว้ในวินัยวินิจฉัยฎีกาว่า
    คำนี้ว่า "ภิกษุเหล่าไหนได้สิทธิ์กรานกฐิน, เหล่าไหนไม่ได้สิทธิ์กรานกฐิน? อันดับแรก ว่าด้วยจำนวน ภิกษุ ๕ เป็นอย่างต่ำ ได้สิทธิ์กรานกฐิน, มากกว่านั้น แม้พันรูปก็ได้ แต่ต่ำกว่า ๕ รูป ย่อมไม่ได้สิทธิ์" ในอรรถกถา
    พระอรรถกถาจารย์กล่าวมุ่งหมายถึง #กรรมคือการให้ผ้ากฐินของสงฆ์แก่ภิกษุผู้กราน (วินยวินิจฉยฎีกา ๒/๒๑๓)
    สรุปใจความจากหลักฐานทั้งหมดคือ
    #ไม่ว่าพระจะจำพรรษากี่รูปก็รับกฐินได้ แค่ขั้นตอนการมอบผ้ากฐิน #ต้องหาพระมาให้ครบสงฆ์เพื่อทำสังฆกรรมมอบผ้ากฐินให้
    หลักฐานที่ว่ามาเหล่านี้ล้วนแต่มาในตอนอธิบายกฐินขันธกะทั้งหมด เพื่อตอบผู้ที่แย้งว่าหลักฐานเรื่อง #พระจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้ ที่เคยพูดไว้นั้นมาจากจีวรขันธกะ ซึ่งถ้าท่านอ่านแล้วลองพิจารณาตามหลักฐานดูแล้ว จะเห็นว่ามิได้ขัดแย้งกันเลย หากใครยังเห็นว่า จะรับกฐินได้ ต้องจำพรรษาวัดเดียวกันเท่านั้นอย่างน้อย ๕ รูป ก็ขอจง #ยกหลักฐานจากพระบาฬีและอรรถกถา มาคุยกันดูนะว่ามีมั้ยที่ว่าต้อง ๕ รูปถึงรับกฐินได้เนี่ย เพราะเท่าที่ศึกษาพระวินัยมาไม่เคยเจอพระบาฬี อรรถกถา หรือฎีกาพระวินัยจุดใดอธิบายไว้เช่นนั้น
    การพูดคุยวิชาการทางศาสนา ควรหาข้อยุติด้วยหลักฐาน
    วากฺยํ สาธกวิกลํ ยํ ตํ โหติ พหฺวาครุ
    คำพูดที่ปราศจากหลักฐาน
    เป็นคำพูดที่ไร้น้ำหนักอย่างมาก
    ติดตามในช่องทางอื่นๆ:
    Facebook : เพจนานาวินิจฉัย / mahasilananda
    Facebook : พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท / mahaparkpoom
    TikTok : พระมหาสีลานันท์ / mahasilananda
    Instagram : พระมหาสีลานันท์ / mahasilananda

ความคิดเห็น • 446

  • @MahaSilananda
    @MahaSilananda  5 ปีที่แล้ว +57

    #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
    ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
    #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
    สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
    ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
    (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
    หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
    #อรรถกถา
    คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
    คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
    หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
    ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
    #สรุป
    จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม
    จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม
    ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน

    • @user-zb5yd4nt8d
      @user-zb5yd4nt8d 5 ปีที่แล้ว +1

      นานาวินิจฉัยพระวินัย
      นมัสการครับ อยากให้ยกหลักฐานอ้างอิงเพิ่มเติมอีก ซัก ๒-๓ แห่ง เพื่อประโยชน์ในการศึกษา

    • @user-qy5bg4er9s
      @user-qy5bg4er9s 5 ปีที่แล้ว +10

      ควรดูคำว่าพระนอกสีมา...มันจะมาสวดได้อย่างไร(แม้ไม่ได้อานิสงส์) อีกอย่างควรเป็นแค่ความเห็นก่อนต่อเมื่อขึ้นไปหารือกับสงฆ์แล้วจึงควรตัดสินว่าได้หรือไม่ ทุกวันนี้นี้ที่จะเริ่มขัดแย้งกันทางวินัยก็เพราะการทำตัวแบบท่านนี่แหละวิเคราะห์วินิจฉัยประเด็นใหญ่แต่ใช้ความเห็นตนลำพัง อ้างแต่ว่าพระไตรปิฎกเขียนไว้ แม้เขียนไว้จริงแต่พระไตรปิฎกก็มีอรรถกถาแสดงไว้ซึ่งอาจผิดพลาดได้เช่นกัน ทางที่ดีควรช่วยผลักดันให้มีการวินิฉัยผ่านสงฆ์ในสังฆมณฑลเช่นกรณีนี้ให้เป็นที่ประจักษ์เสียก่อน ให้มีผู้รู้หลายท่านได้ร่วมคัดค้านวินิจฉัยหรือส่งเสริมเสียก่อนจึงน่าจะสมควรกว่า

    • @user-jo4hz6ok2e
      @user-jo4hz6ok2e 5 ปีที่แล้ว +1

      เหตุการณ์นั้นคล้ายๆเป็นต้นบัญญัติจะถือว่าผิดก็ได้จะถือว่าถูกก็ได้ แต่นี่ท่านมหารู้ความหมายว่าเขาถวายแก่สงฆ์ แล้วเราไปรับควรไม่ควรแล้วแต่พิจารณา

    • @pm-ub9mh
      @pm-ub9mh 5 ปีที่แล้ว

      จริงหรือไม่ครับที่พระรับผ้ากฐิน ต้องอยู่อีก3เดือน

    • @vilayphanhchanthamany9039
      @vilayphanhchanthamany9039 5 ปีที่แล้ว +1

      นานาวิ

  • @thippapornthongthip305
    @thippapornthongthip305 ปีที่แล้ว +7

    เป็นความรู้ที่ดีสำหรับผู้ไม่รู้ และผู้ที่รู้แล้วจะได้ทำถูกต้อง..สาธุ สาธุ สาธุ

    • @ADPRAT1
      @ADPRAT1 ปีที่แล้ว

      สาธุครับ เป็นความรู้มากเลยครับ

  • @user-go4rf4hw8c
    @user-go4rf4hw8c 2 ปีที่แล้ว +2

    สาธุเจ้าค่ะ ตั้งใจถวายผ้ากฐินปีนี้ วัดแถวบ้านมีพระจำพรรษา4รูป ค่ะ จะไปหาวัดที่มีพระ5รูปขึ้นไป เดี๋ยวนี้หาไม่ค่อยได้ มี1รูป2รูปก็มีเยอะมาก ฟังท่านแล้วมี1รูปก็รับกฐินได้ โยมก็สบายใจเจ้าค่ะ สาธุคะ

  • @user-or8ed4gn5p
    @user-or8ed4gn5p 3 ปีที่แล้ว +5

    ฟังแล้วก็สับสนเหมือนกันครับ ท่านมหา อธิบายแบบไปช้าๆหน่อย แยกๆทีละประเด็นๆ ก็คงจะพอตามเข้าใจได้..

  • @user-wf9qv6ep1m
    @user-wf9qv6ep1m 6 ปีที่แล้ว +10

    สาธุ...ที่ท่านได้วินิจฉัย ตามพระธรรมวินัยที่พระศาสดาบัญญัติไว้....สมแล้วที่เป็นศากยะบุตร...สาวกของตถาคต

  • @watchararattavorn2544
    @watchararattavorn2544 ปีที่แล้ว +1

    ...สาธุ ครับ...เป็นประโยชน์แก่ชาวพุทธมากครับ...

  • @user-tj9wc5im9z
    @user-tj9wc5im9z ปีที่แล้ว +4

    สาธุ...ท่านที่ให้ความรู้กับคนที่หลงทาง

  • @user-vr2wj1is4b
    @user-vr2wj1is4b 2 ปีที่แล้ว +1

    ธรรมทั้งปวง ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น... ฟังเรื่องที่พูดมาแล้วดูยุ่งยาก วุ่นวายดีนะครับ

  • @user-ft2ov3xk3c
    @user-ft2ov3xk3c 6 ปีที่แล้ว +42

    อาจารย์มหาพูดไวไป ฟังไม่ค่อยทันนะ สาธุ

    • @user-mg9uv9ki6i
      @user-mg9uv9ki6i 5 ปีที่แล้ว +2

      กราบนมัสการขอรับ..

    • @thapanapongsarapin5983
      @thapanapongsarapin5983 4 ปีที่แล้ว +2

      พระอาจารย์ครับทำไหมพระที่จะสึกออกพรรษาจ้องแต่จะเทศแค่วันออกพรรษาเพื่อหวังแค่ป้จัยเรียนก้อไม่เรียนขอพระอาจารย์ชี้แนะดว้ยครับเขาว่าถ้ามีหลักฐานเขาจะหยุดอธิบายดว้ยครับ

    • @user-oi7wo8qw9z
      @user-oi7wo8qw9z ปีที่แล้ว +1

      กดเล่นช้าได้พระอาจารย์สาธุ

    • @ayutthya9814
      @ayutthya9814 ปีที่แล้ว

      -0.75

  • @MahaSilananda
    @MahaSilananda  5 ปีที่แล้ว +9

    #กฐินวินิจฉัย
    #กฐินแปลว่าอะไร?
    กฐิน แปลว่า #มั่นคง (เพราะสามารถทำอานิสงส์ ๕ ประการไว้ภายในเขตของตน คือตั้งแต่กรานกฐินเสร็จ จนถึงกลางเดือน ๔) (ดู สารัตถทีปนี ๓/๔๐๔)
    #กฐินคืออะไร?
    กฐิน คือ #ผ้าชนิดหนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษาแรกครบสามเดือนโดยไม่ขาดพรรษา
    อธิบายว่า เป็นวินัยบัญญัติที่ทรงอนุญาตเกี่ยวกับการใช้ผ้านุ่งผ้าห่ม โดยทรงกำหนดขั้นตอนต่างๆ ไว้มากมาย ทั้งที่เป็นพิธีกรรม สังฆกรรม ที่เกี่ยวข้องกับผ้า บุคคล สงฆ์ สถานที่ และกาลเวลา เป็นต้น โดยผ่านผ้าผืนหนึ่ง เพื่อผ่อนปรนสิกขาบทบัญญัติที่ทรงห้ามไว้ก่อน ให้พระสาวกปฏิบัติได้สะดวกขึ้น
    #กฐินทำอย่างไร?
    การกรานกฐินมีวิธีการดังต่อไปนี้ คือ
    ๑) ผู้มีจิตศรัทธานำผ้ากฐินเข้ามาถวายแก่สงฆ์
    ๒) สงฆ์สรรหาพระผู้จะกรานกฐิน ที่ทั่วไปเรียกว่า “ผู้ครองกฐิน” โดยจะเลือกจากผู้มีจีวรเก่า ถ้าผู้มีจีวรเก่ามีหลายรูป ก็จะให้โอกาสแก่พระผู้มีพรรษามากกว่าก่อน
    ๓) สงฆ์ประชุมกันในสีมา สวดญัตติทุติยกรรมวาจามอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุผู้ครองกฐิน
    ๔) ภิกษุทุกรูปช่วยกันกะ ตัด เย็บ และย้อมทำให้เป็นจีวร ให้เสร็จภายในวันที่ถวายนั้น (ถ้าผ้าทำสำเร็จมาแล้วก็ข้ามขั้นตอนนี้ไป)
    ๕) ภิกษุผู้จะกรานกฐินถอนผ้าผืนเก่าของตน ทำกัปปพินทุและอธิษฐานผ้าผืนใหม่ในบรรดาผ้า ๓ ผืนมีผ้าสังฆาฏิเป็นต้น แล้วทำพิธีกรานกฐิน โดยกล่าวว่า
    อิมาย สงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ (ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสังฆาฏิผืนนี้) (หากกรานด้วยผ้าอุตตราสงค์
    กล่าวว่า อิมินา อุตฺตราสงฺเคน,
    หากกรานด้วยผ้าอันตรวาสก
    กล่าวว่า อิมินา อนฺตรวาสเกน)
    ๖) ภิกษุผู้ครองกฐินนั่งกระหย่ง ประนมมือ ประกาศให้สงฆ์ คณะ หรือบุคคลอนุโมทนา ว่า อตฺถตํ ภนฺเต สํฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทถ.
    (ท่านผู้เจริญทั้งหลาย กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินประกอบด้วยธรรม (กรานถูกต้อง) ขอพวกท่านจงอนุโมทนาเถิด)
    ๗) สงฆ์ คณะ หรือบุคคล กล่าวคำอนุโมทนาว่า
    อตฺถตํ ภนฺเต สํฆสฺส กฐินํ, ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทาม.
    (ท่านผู้เจริญ กฐินของสงฆ์กรานเสร็จแล้ว การกรานกฐินประกอบด้วยธรรม (กรานถูกต้อง) พวกเราขออนุโมทนาด้วย)
    เพียงเท่านี้ ก็เป็นอันเสร็จพิธีการกรานกฐิน
    หมายเหตุ :
    #เฉพาะขั้นตอนสวดกรรมวาจามอบผ้าเท่านั้นที่เป็นสังฆกรรมต้องทำในสีมา และต้องใช้ภิกษุอย่างน้อย ๕ รูป จึงจะสามารถทำได้ โดยรูปหนึ่งเป็นผู้รับผ้า อีก ๔ รูปเป็นสงฆ์ผู้มอบผ้าให้ ส่วนขั้นตอนที่เหลือทั้งหมด ไม่ใช่สังฆกรรม สามารถทำที่ใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเขตวัดที่ตนจำพรรษา
    หมายเหตุ : ตอนสวดมอบผ้ากฐิน จะสวดมอบในสีมาของวัดใดก็ได้ แต่ตอนกรานกฐิน ต้องกรานในวัดที่ตนจำพรรษา

    • @MahaSilananda
      @MahaSilananda  5 ปีที่แล้ว +2

      #กฐินมีประโยชน์อย่างไร ?
      ๑. #ไม่ต้องรีบร้อนเดินทางจาริกไปในที่อื่น
      ตามปกติ หลังออกพรรษาแล้ว หากไม่มีกิจกรรมอย่างอี่นในวัดที่ตนจำพรรษา ภิกษุทั้งหลายก็จะพากันเดินทางจาริกไปในที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาจีวรใหม่บ้าง เพื่ออนุเคราะห์ญาติมิตรและประชุมชนในทั้องถิ่นอื่นๆ บ้าง ทำให้ได้รับความลำบากและประสบปัญหาในการเดินทาง เพราะยังอยู่ในช่วงฤดูฝน หนทางยังเต็มไปด้วยน้ำและโคลนตม แต่เมื่อภิกษุทั้งหลายมีกิจกรรมร่วมกันเกี่ยวกับกฐิน จะเป็นการยืดระยะเวลาในการเดินทางออกไปอีก และเมื่อกรานกฐินเสร็จแล้ว อยู่ในช่วงสิ้นสุดฤดูฝน ทำให้เดินทางได้สะดวกขึ้น
      ๒. #ได้ความสามัคคี
      เนื่องจากกิจกรรมเกี่ยวกับกฐิน พระพุทธองค์ทรงกำชับให้ภิกษุทุกรูปร่วมมือกันทำจีวร จะถือตนว่าเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์หรือเป็นพระเถระผู้ใหญ่ไม่ได้ ดังนั้น การที่ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เสมอกัน ไม่ถือตน ร่วมกันจัดทำและช่วยเหลือกันอยู่เช่นนี้ จึงก่อให้เกิดความสามัคคีสนิทสนมคุ้นเคยกัน นำความผาสุกมาสู่หมู่คณะ
      ๓. #ภิกษุผู้มีจีวรเก่าได้จีวรผืนใหม่
      ในสมัยพุทธกาล ภิกษุหาผ้าได้ยาก เมื่อพระพุทธองค์ทรงอนุญาตกฐิน จึงทำให้ภิกษุไม่ต้องลำบากในการแสวงหาผ้า
      ๔. #ภิกษุได้รับการผ่อนปรนในหลายสิกขาบท (เช่น สิกขาบทว่าด้วยการเก็บจีวรเป็นต้น)
      ๕. #เป็นโอกาสให้ผู้มีศรัทธาได้ขวนขวายทำทานกุศลแด่พระสงฆ์
      #สรุป
      กฐิน คือ การถวายผ้าแก่สงฆ์แล้วพระทุกรูปที่รวมอยู่ในสงฆ์นั้นต้องเสียสละส่วนของตนๆ ในผ้านั้นถวายแก่พระรูปหนึ่ง เท่านี้ยังไม่พอ ยังต้องสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันกะ ตัด เย็บ ย้อมให้สำเร็จเป็นจีวรภายในวันนั้นอีกด้วย พระผู้มีจีวรเก่าก็ได้จีวรผืนใหม่ผลัดเปลี่ยนผืนเก่าสมปรารถนา เมื่อสมปรารถนาแล้ว ท่านก็ไม่ลืมบุญคุณ ขอให้พระทุกรูปร่วมอนุโมทนายินดีกับท่าน เป็นเหตุให้พระทุกรูปได้รับอานิสงส์เหมือนๆ กัน
      ด้วยเหตุนี้ กฐินจึงเป็นสังฆกรรมที่ก่อให้เกิดการเสียสละ ความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจ ทำให้ได้รับความสุขสมความปรารถนาทั้งฝ่ายของพระภิกษุสงฆ์และญาติโยมจำนวนมาก
      (เนื้อหาบางส่วนเรียบเรียงและสรุปความมาจากหนังสือ "กฐิน ตามนัยแห่งพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา" ของพระมหามงคล วชิโร และหนังสือ "กฐินมีปัญหา" ของต้นไม้ใบใหม่ หรือถ้าต้องการหลักฐานจากพระไตรปิฎกเป็นต้นโดยตรงก็สามารถศึกษาได้จากคัมภีร์มหาวรรค กฐินขันธกะและบางส่วนของจีวรขันธกะพร้อมทั้งอรรถกถา)
      พระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท
      จิรํ ติฏฺฐตุ สทฺธมฺโม
      ขอพระสัทธรรมจงดำรงมั่นตลอดกาลนาน

    • @user-ys8jv7wl6c
      @user-ys8jv7wl6c ปีที่แล้ว

      อยู่องค์เดียวเกี่ยวไรกับสงฆ์สรรหาพระผู้จะกราน​กฐิน​ งงๆ ย้อนแย้งคำว่า สงฆ์ผู้จำพรรษาครบไตรมาส

  • @user-dd2qo5vl7y
    @user-dd2qo5vl7y 7 หลายเดือนก่อน +1

    อาจารย์มหาพูดชัดเจนมากครับ

  • @yaichumthreenork
    @yaichumthreenork 9 หลายเดือนก่อน +1

    กราบสาธุเจ้าค่ะ

    • @yaichumthreenork
      @yaichumthreenork 9 หลายเดือนก่อน +1

      สาธุผู้หญิงคนหนึ่งอยากรู้สาธุ(..นานา.)

  • @rachanawong
    @rachanawong 6 ปีที่แล้ว +1

    ชอบที่พระอาจาร์ยให้ความรู้ครับ

  • @user-bt5jl8gi3k
    @user-bt5jl8gi3k 6 ปีที่แล้ว +2

    อนุโมทนาสาธุครับ.

  • @moveonandkillthemwithsucce4612
    @moveonandkillthemwithsucce4612 6 ปีที่แล้ว +4

    ได้ความรู้ค่ะ สาธุท่าน

  • @chomaunta233
    @chomaunta233 2 ปีที่แล้ว

    ชัดเจนดี.🙏🙏🙏

  • @S1000rr-ss6pe
    @S1000rr-ss6pe 7 หลายเดือนก่อน +1

    สาธุ​ ครับพระอาจารย์

  • @saifonmatangka4948
    @saifonmatangka4948 ปีที่แล้ว +1

    ข้าน้อยกำลังคิด จะทำกะฐิน ทำบุญให้บรรพบุรุษ ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ได้รับฟังแล้ว สาธุ

  • @user-ds9tv5kv3b
    @user-ds9tv5kv3b 5 ปีที่แล้ว +2

    สาธุครับผมพระ อาจารย์

  • @chakkreesukhumpanich6242
    @chakkreesukhumpanich6242 4 ปีที่แล้ว

    กราบอนุโมทนาสาธุครับ

  • @user-et1mi4px8y
    @user-et1mi4px8y 2 ปีที่แล้ว +1

    สาธุ... ชัดเจน ครับ

  • @user-fq9jm6wf1t
    @user-fq9jm6wf1t 5 ปีที่แล้ว +2

    อนุโมทนาสาธุกระจ่างเลยครับ🙏🙏🙏

  • @user-eq4ie2pl6r
    @user-eq4ie2pl6r 4 ปีที่แล้ว

    สาธุๆๆถูกต้องดีแล้ว ขออนุโมทนาบุญครับ

  • @karnchiangrai
    @karnchiangrai 2 ปีที่แล้ว

    สาธุๆๆ ครับ

  • @user-hq3xe7cx6e
    @user-hq3xe7cx6e 5 ปีที่แล้ว

    สาธุค่ะ ...

  • @teetee8262
    @teetee8262 3 ปีที่แล้ว +2

    สาธุท่านอธิบายเข้าใจดี

  • @user-qm4bx1yx5f
    @user-qm4bx1yx5f 6 ปีที่แล้ว +6

    ได้ความรู้ดีครับท่านพระอาจารย์....
    ผมขออนุโมทนาบุญ

  • @user-oq7bw6xw9y
    @user-oq7bw6xw9y ปีที่แล้ว

    สาธุขออนุญาตแชร์ครับความรู้

  • @pramotpramot6487
    @pramotpramot6487 3 ปีที่แล้ว

    สาธุ สาธุ สาธุ ครับ

  • @user-ms1ov2fd5l
    @user-ms1ov2fd5l 5 ปีที่แล้ว +6

    พูดได้ตรงตามคำสอนเจ้าค่ะ กราบอนุโมทนา

    • @user-kd9fb5io8q
      @user-kd9fb5io8q 3 ปีที่แล้ว

      รู้ได้ยังไงว่าตรงคำสอน...แค่ถูกใจของคุณเองต่างหาก..

  • @user-td7pr9uv5j
    @user-td7pr9uv5j 2 ปีที่แล้ว

    สาธุครับผม

  • @user-bs9fg9wz1o
    @user-bs9fg9wz1o ปีที่แล้ว

    สาธุๆๆพระธรรมวินัยพระคุณเจ้าครับ

  • @user-ge3vn4ec6z
    @user-ge3vn4ec6z 7 หลายเดือนก่อน

    สาธุครับ

  • @SsSs-wt6ku
    @SsSs-wt6ku ปีที่แล้ว

    สาธุ.ครับท่าน

  • @SucheepSucheep-qg4ry
    @SucheepSucheep-qg4ry ปีที่แล้ว

    เก่งพระมหารูปนี้สวดปาฎิโมกได้ด้วย

  • @user-rg3rf6me9w
    @user-rg3rf6me9w 2 ปีที่แล้ว

    อยากให้อาจารย์ไปฟัง พุทธวจนะ ฟังแล้วให้อาจารย์วินิจฉัย อ.คึกฤทธ์ ดูผมสับสนมากครับ

  • @zitamausa448
    @zitamausa448 5 ปีที่แล้ว +1

    สาธุๆๆ

  • @user-yf6nf6fq2k
    @user-yf6nf6fq2k ปีที่แล้ว

    สาธุสาธุสาธุครับ

  • @molermolee8995
    @molermolee8995 5 ปีที่แล้ว

    สาธุ สาธุ สาธุ

  • @winsiripounyo7294
    @winsiripounyo7294 6 ปีที่แล้ว +3

    #ບັນຍາຍໄດ້ດີຫຼາຍພຣະອາຈາຣຍ໌ ກ່ຽວກັບພຣະວິນັຍ ໂດຍສະເພາະ ໃນເລື່ອງຂອງຜ້າກະຖິນ ຂ້ານ້ອຍເອງ ຂໍອະນຸໂມທະນາກັບພຣະອາຈາຣຍ໌ຫຼາຍໆເດີ ສາທຸ...!
    #บรรยายได้ดีมากพระอาจารย ์เกี่ยวกับพระวินัย โดยเฉพาะในเรื่องของผ้ากฐิน กระผมขออนุโมทนากะพระอาจารย์มากๆนอสาธุ...!

  • @userlp66amn09cp
    @userlp66amn09cp ปีที่แล้ว

    สาธุ ที่ให้ฆราวาสไดัเห็นแสงสว่าง ที่ชาวพุทธได้มืดบอดมาตลอด ต้องนำผ้าไตรมาทำพิธีสงฆ์ที่โบสถ์ก่อน1คืน รุ่งเช้ามาวัดอีกเพื่อทำพิธิต่างๆ เวียนรอบโบสถ์ แล้ว
    พระผู้ใหญ่อุปโลกน์ให้พระทุกรูปที่มาร่วมพิธี นำไปห่ม แล้วกลับมาทำพิธีจนจบพิธี
    จบเที่ยงวัน

  • @user-cs6sh7pz3q
    @user-cs6sh7pz3q 6 ปีที่แล้ว

    สาธุ

  • @sangtham1053
    @sangtham1053 2 ปีที่แล้ว

    เปิดฟังทบทวน นี้เป็นการดีครับ

  • @ronnakornwongwai613
    @ronnakornwongwai613 2 ปีที่แล้ว +1

    สาธุอนุโมทามิ ได้ความรู้ดีครับ พระอาจารย์ แม้บวชมาสามพรรษาก็ยังไม่เคยทราบเรื่องจริงๆ ส่วนที่พระอาจารย์นำเสนอมานี้ได้ความรู้สว่างเลยครับ

  • @arc8592
    @arc8592 5 ปีที่แล้ว

    สาธุการ

  • @montongtong5582
    @montongtong5582 6 ปีที่แล้ว

    ดีๆสาธุๆ

  • @sontayachannel2830
    @sontayachannel2830 6 ปีที่แล้ว +12

    อนุโมทนา ครับ หายาก พระที่จะมาสอน เข้าใจง่าย

    • @user-nj2eg3eb2h
      @user-nj2eg3eb2h ปีที่แล้ว

      พูดเร็วไปหรือเปล่าครับ ท่านมหาครับ
      อนุโมทนาสาธุครับ

  • @MahaSilananda
    @MahaSilananda  3 ปีที่แล้ว +1

    ทั้งผู้กรานกฐิน ทั้งผู้อนุโมทนา กรณีได้ผ้าสำเร็จแล้ว มันจะหมดเรื่องจีวรปลิโพธ หากออกจากวัดไปโดยคิดว่าจะไม่กลับมาอีก มันจะหมดอาวาสปลิโพธ ถ้าหมดปลิโพธทั้งสอง อานิสงส์กฐินก็เป็นอันสิ้นสุด (กฐินเดาะ) ดังนั้น ถ้าอยากได้อานิสงส์อยู่ ถึงจะไปที่อื่นก็ผูกใจไว้ว่า จะกลับมาอยู่ แต่ถ้าไม่สนใจเรื่องอานิสงส์ก็ไปได้เลยครับ ไม่มีอาบัติอะไร (เรื่องกฐินเดาะเกี่ยวกับปลิโพธนี้ เดาะเฉพาะรายบุคคล ใครหมดปลิโพธทั้งสองก็เดาะ ที่จะเดาะพร้อมกันทั้งหมดได้ มีเฉพาะกรณีสงฆ์สวดเดาะกฐิน หรือหมดช่วงอานิสงส์กฐิน)

  • @thitikonpasannachittochaiy2319
    @thitikonpasannachittochaiy2319 2 ปีที่แล้ว

    สาธุๆ

  • @natr2442
    @natr2442 5 ปีที่แล้ว +7

    สาธุครับพระอาจารย์..ถ้าพระอาจารย์บรรยายให้ช้าสักหน่อยจะดีมากครับ..เป็นการบรรยายที่ให้ความรู้ดีมากครับพระอาจารย์..

    • @moonshadow305
      @moonshadow305 ปีที่แล้ว +1

      กดลดสปีดการฟังได้ที่(เลือกปุ่ม3ขวาบนมือ)
      เลือกความเร็วในการเล่นวิดีโอ

  • @user-ht2bg8np6t
    @user-ht2bg8np6t ปีที่แล้ว +3

    ชาวพุทธ ทั้งหลายควรตื่น ควรเลือกทำในวัดที่กันดารจริงๆบางวัดไม่มีเลยกฐินหลายๆปีที่ผ่านมาน่าสงสาร

  • @user-me4ui5zt5h
    @user-me4ui5zt5h ปีที่แล้ว +3

    อาจารย์เรื่องกฐินนี้อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหนคัป ผมอยากจะศึกษาดูบ้างคัป ชี้แนะด้วบน่ะคับผม ขอบคุณคัป

  • @user-pe4js9wx8z
    @user-pe4js9wx8z 3 ปีที่แล้ว +1

    กระผมเคยบวชเณรบวชพระจบน.ธ เอก. พึ่งจะกระจ่าง คิดว่าบางที่บางวัดปฎิบัติไม่ถุกมานานแน่

  • @bravojorn7734
    @bravojorn7734 4 ปีที่แล้ว +3

    ถูกครับสิ่งพูดมา แต่ ทำไมนวโกวาทถึงได้สอนว่าสังฆกรรมถ้าไม่ครบองค์สงฆ์ถึงไม่เป็นสังฆกรรม อธิบายด้วยครับ กลับสิ่งพูดดมา

  • @TaiKham-yd9ge
    @TaiKham-yd9ge 8 หลายเดือนก่อน

    ສາທຸສາທຸສາທຸ

  • @user-ho9fu3yq2p
    @user-ho9fu3yq2p 5 ปีที่แล้ว

    สาธุ สาธุ สาธุครับ

  • @nithedphochareon3436
    @nithedphochareon3436 5 ปีที่แล้ว +1

    ขอความเมตตาพระอ.จ.ช่วยอธิบายเรื่อง จุลกฐิน มหากฐินด้วยครับ.กราบขอบพระคุณครับ

  • @user-dn6tz8sl9r
    @user-dn6tz8sl9r 5 ปีที่แล้ว +5

    สุดยอดครับพระอาจารย์ ได้ความรู้เพิ่มขึ้น

  • @phonphom2514
    @phonphom2514 5 ปีที่แล้ว +3

    สำหรับหรับท่านที่ไม่ตั้งใจฟังกรุณากลับไปฟังใหม่นาทีที่24,28,30,คือรูปเดียวก็สามารถรับกฐินได้และจะไปทำพิธีมอบที่วัดไหนก็ได้หรือจะนิมนต์พระมาทำพิธีมอบที่วัดที่ตัวท่านจำพรรษาอยู่แต่ต้องครบห้ารูปและต้องทำในสีมา ส่วนเมื่อมอบผ้าเสร็จแล้วจะต้องกรานกฐินภายในวัดที่ตัวเองจำพรรษาอยู่เท่านั้น สรุปก็คือรูปเดียวก็เป็นกฐินได้ ส่วนอยากได้หน้าหรือหน้าใหญ่จะนิมนต์พระมาทั้งประเทศเพื่อประดับบารมีก็ไม่เป็นไร

    • @happylucky5076
      @happylucky5076 4 ปีที่แล้ว

      ☸️ จริงครับ

    • @user-di1ue2bk6z
      @user-di1ue2bk6z ปีที่แล้ว

      อย่าพูดถึงแต่เรื่องของผ้ากฐินเลยเรื่องของพระจะรับผ้ากฐินก็ไม่สมควรที่จะได้รับก็เห็นมีมากมาย

  • @somphongsomphong6994
    @somphongsomphong6994 5 ปีที่แล้ว +9

    ถามองค์เดียวรับได้หรือเปล่าพูดให้ตรงประเด็นหน่อยท่าน....
    รับได้ได้อย่างไร...
    รับไม่ได้เป็นอย่างไร
    ไม่ใช่พูดน้ำท่วมทุ่งไม่มีที่ลงไม่ตรงประเด็น.....ความรู้แค่นี้ก็มาอวดคุย...

    • @krithora2207
      @krithora2207 4 ปีที่แล้ว

      Somphong Somphong ตั้งใจฟังจะรู้เรื่อง

  • @user-ze8cb4cp3u
    @user-ze8cb4cp3u 3 ปีที่แล้ว

    ผ้าทุกวันนี้รู้ๆกันเย็บมาผิดหมดใช่อย่างที่ทา่นพูดแต่ทำไงล่ะกระผมก็เคยรับนะถ้าผิดก็ผิดหมดตั้งแต่เริ่มแล้วครับเพราะสว่นใหญ่ไม่ศึกษาไม่สนใจดว้ยพอเราบอกให้รู้เกิดรำคาญซะ.สาธุๆๆอีกอย่างแต่นั่งสอ่งเฟสบุ๊ค

  • @user-ni7tk7oh7s
    @user-ni7tk7oh7s 5 ปีที่แล้ว

    ขอคำกล่าวอาราธณา ตั้งญัตติ ปวารณา หน่อยครับ

  • @catkitty1120
    @catkitty1120 5 ปีที่แล้ว +11

    รูปจำพรรษารูปเดียวให้เปลี่ยนเป็นผ้าป่า ส่วนจำพรรษา 4-5รูปให้เป็นผ้ากฐิน ง่ายๆแค่นี้เอง
    รูปเดียวรับกฐินได้ แต่ไม่ได้อานิสงกฐิน

    • @hunsuthi2526
      @hunsuthi2526 5 ปีที่แล้ว +2

      จะพูดอะไรให้มีหลักฐานมาประกอบด้วยถ้าไม่รู้อย่าเอาความโง่มาโชว์

    • @user-vs6ox5ne7n
      @user-vs6ox5ne7n 5 ปีที่แล้ว

      ท่านพูดเหมือนกับผมเป๊ะเลย

    • @user-ry4zg2jd3k
      @user-ry4zg2jd3k 3 ปีที่แล้ว +1

      ฝ่ายธรรมยุติก็ถือคติปฏิบัติอีกแบบนะ โดยเฉพาะสายอีสาน

    • @sokuengchea1177
      @sokuengchea1177 3 ปีที่แล้ว

      ท่าน Cat kitty พูดไม่ถูกต้องครับ .
      เอาวินัยมาจากไหน รูปเดียวรับกฐิน
      ได้ แต่อานิสงส์ไม่ได้ ! รูปเดียวรับได้ อานิสงส์กฐินก็ได้ , ถ้ามีรูปเดียว ก็ไปหาพระ 4 รูปมาเพิ่ม ก็สามารถกรานกฐินได้แล้ว !

    • @user-ci4lp3yv9m
      @user-ci4lp3yv9m 3 ปีที่แล้ว

      ถูกครับ

  • @peterls6687
    @peterls6687 ปีที่แล้ว

    ถามครับ

  • @user-od4iw5dt3c
    @user-od4iw5dt3c 7 หลายเดือนก่อน +1

    ภิกษุรูปเดียวรับกฐินท่านเรียกกฐินโจรครับท่าน และผ้าที่เย็บย้อมมาแล้วเอามาถวายเพื่อที่จะให้พระนำไปกรานกฐินนั้นมันกรานบ่มิขึ้น กะไว้แล้ก็ดี ขีดไว้แล้วก็ดี เย็บไว้แล้วก็ดี ย้อมไว้แล้ก็ดี เหล่านี้กรานไม่ขึ้น ต้องนำผ้าขาวบริสุทธิ์มาบรรจุขันและย้อมน้ำฝาดให้ได้สีเสียก่อน และกฐินไม่ใช่ผ้าแค่ผืนเดียวกฐินเป็นไตร
    ท่านจึงเรียกไตรกฐินเพียงแต่ท่านให้เย็บย้อมผืนใดผืนหึ่งเสียก่อนเพื่อที่จะนำมากรานให้ทันเวลา ถ้าข้องใจหรือสงสัยให้หาอ่านได้ที่บุพพสิกขาบรรพชา (ย้ำ) บุพพสิกขาบรรพชา (อัฏฐตาการและอณัตฐตาการ) แต่หายากหน่อยนะครับเท่าที่ทราบจากหลวงปู่ท่านบอกพบเจอแค่ไม่กี่เล่ม

  • @attapornsangwirat3630
    @attapornsangwirat3630 5 ปีที่แล้ว +3

    ท่านพูดช้าช้าหน่อย กระผม มีปัญญาน้อยและช้า(คิดตามไม่ทัน)ขอบพระคุณครับ

  • @jamesri109
    @jamesri109 5 ปีที่แล้ว +6

    โลกมันเจริญ ผ้าก็ไม่ได้หายากเหมือนสมัยก่อน ไม่ต้องมีผ้ากฐินก็ได้

    • @user-ur7mu4qs1z
      @user-ur7mu4qs1z 5 ปีที่แล้ว

      เห็นด้วยครับ

    • @user-kd9fb5io8q
      @user-kd9fb5io8q 3 ปีที่แล้ว

      ทุกวันนี้.งานกฐินพูดถึงกันแต่เรื่องเงิน..สรุป.เอากฐินมาแสวงหาประโยชน์อื่นๆ.นอกจากเจตนาเพื่อจะทำตามพุทธบัญญัติ..

    • @user-ry4zg2jd3k
      @user-ry4zg2jd3k 3 ปีที่แล้ว

      เงินก็บริจาคต่อโรงพยาบาลและโรงเรียน อยู่แล้วก็ได้ประโยชน์หลายต่อ วัดรวยๆเขาก็ทำแบบนั้นอยู่แล้ว

    • @user-zv8np9ht8h
      @user-zv8np9ht8h 3 ปีที่แล้ว

      ขอโทษครับโลกเปลี่ยนแต่พุทธบรรหยัดไม่เปลี่ยนนะครับ

  • @user-io7uj8fo1n
    @user-io7uj8fo1n 4 ปีที่แล้ว +4

    กราบนมัสการ กราบเรียนถามว่า หากออกพรรษาแล้ว ไม่เกินหนึ่งเดือนหลังออกพรรษาแล้ว พระสงฆ์ได้จีวรกาลมาในการรับยถวายมาในการถวายของโยม แต่ไม่ได้กล่าวคำถวายแบบกฐิน โยมกล่าวคำถวายแบบจีวรธรรมดา หากไม่มีคนมาถวายกฐิน อยากทรายว่าพระที่ได้รับถวายจีวรนั้นจะเอาจีวรนั้นมาสวดมอบเป็นผ้ากฐินแล้วกราณกฐินได้หรือไม่ขอรับ

  • @user-ym1kl4ld2x
    @user-ym1kl4ld2x ปีที่แล้ว

    ท่านแตกฉานมาก ได้ความรู้มากครับ

  • @user-jf4bc1js6k
    @user-jf4bc1js6k 2 ปีที่แล้ว

    ยุคนี้กฐินยุคใหม่คับ จาร
    แต่ให้เป็นไป ตามพุทธบัญญัติ

  • @user-ji6eo9je7w
    @user-ji6eo9je7w 8 หลายเดือนก่อน +1

    😊 เรียนธรรมให้รู้ให้เข้าใจดีและพิจารณาเนื้อความ 😊 ความเป็นมาเรื่องกฐินนี้พระองค์ตรัสแก่ภิกษุ 30 รูป ที่เดินทางมาจากเมืองปาเฐยยะเพื่อจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ. วัดพระเชตวัน เมืองสาวัตถี แต่ขณะเดินทางมาถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างเมืองสาวัตถีเพียง ๖ โยชน์(ประมาณ ๙๖ กิโลเมตร)ก็ถึงวันเข้าพรรษาพอดี เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็รีบเดินทางไปเมืองสาวัตถีทันที เนื่องจากขณะนั้นยังไม่สิ้นฤดูฝน จึงมีฝนตกชุก พื้นดินก็เต็มไปด้วยโคลนตม ทำให้จีวรของภิกษุเหล่านั้นเปียกชุ่ม เปรอะเปื้อน ด้วยโคลนตม ครั้นพระพุทธองค์ทรงทราบเรื่อง จึงตรัสอนุญาตให้ภิกษุจำพรรษาครบไตรมาสแล้วกรานกฐิน😊 ต้องแยกแยะประเด็นให้ถูก 😊 คุณสมบัติของสงฆ์ ผู้รับกฐิน ภิกษุผู้จะรับกฐินหรือ กรานกฐินได้นั้น จะต้องประกอบด้วยองค์กำหนด 3 ประการ ขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ถ้าขาดถือว่าไม่เป็นกฐินคือ ๑. เป็นผู้อยู่จำพรรษาครบไตรมาส (๓ เดือน) ๒. ต้องจำพรรษาในวัดเดียวกัน ๓. มีจำนวนตั้งแต่ 5 รูปขึ้นไป แยกประเด็นออกมาให้ดูแล้วอันนี้เป็นเรื่องการกรานกฐิน ส่วนเรื่องจีวรนั้นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสแก่ภิกษุผู้จำพรรษารูป 1 กาลต่อมาอีกพระองค์ทรงตรัสแก่ภิกษุรูปหนึ่งอีก ที่อยู่ตลอดฤดูกาล นอกฤดูฝนก็คือช่วงออกพรรษาไปแล้วนั่นเอง กาลต่อมาอีกพระพุทธองค์ทรงตรัสแก่ภิกษุจำพรรษา 3 รูป ส่วนเรื่องนี้เกี่ยวกับจีวรไม่ได้เกี่ยวกับกรานกฐิน มันก็เลยแย้งกัน 🤔🤔🤔

    • @MahaSilananda
      @MahaSilananda  8 หลายเดือนก่อน

      ขอหลักฐานจากพระบาฬีหรืออรรถกถาหน่อยเนาะ องค์กำหนด 3 อย่างที่เราว่า

  • @user-sk1hd4sy8v
    @user-sk1hd4sy8v ปีที่แล้ว

    สอบถามครับ ผู้รับผ้าจำเป็นต้องอยู่ครองผ้าที่วัดนั้นตลอดรึเปล่าครับ ถ้าออกไปนอกวัดจำเป็นมั้ยครับว่าต้องกลับมาภายในกี่วันครับ

  • @user-mn5ee9gc8d
    @user-mn5ee9gc8d 5 ปีที่แล้ว

    พระอาจารย์ครับ ขอคำถอนผ้าครองหน่อยคับ มันมีอิมายะด้วยหรือเปล่าคับ ขอบคุณคับ

  • @user-gz4rx8cp2e
    @user-gz4rx8cp2e 5 ปีที่แล้ว +3

    อ้างอิง ตามพระไตรปิฎก ก็ถูกต้อง
    เพราะยุคนั้น เป็นการถวายผ้า
    ...แต่ยุคนี้ เป็นเรื่องเงิน ไปชะแล้ว
    และผ้าก็หาง่าย เกรงว่าจะเป็นการแอบอ้าง หาทรัพย์ไป
    ...ทุกสิ่งมีที่มาที่ไป จะว่าเป็นธรรมเนียมนิยมก็ได้
    ...อีกข้อ วัดไม่มีพระ วัดร้าง มีมากมาย
    แต่กลับเกิดสำนักสงฆ์มากมาย ทำไมกัน ??
    ...ดังนี้ ก็ควรยึดตามปัจจุบันนี้ล่ะ
    (ขนาดมีเงื่อนไขมากขนาดนี้ กฐินยังเป็นการระดมทุน แล้วรูปเดียวรับได้จะขนาดไหน)

  • @user-ub9ip5gk8z
    @user-ub9ip5gk8z 4 ปีที่แล้ว

    สาธุครับพระอาจารย์เป็นความรู้ที่มีประโยชน์มากครับผมพระปรีชาชอบฟังและติดตามครับ สวัสดีครับพระอาจารย์

  • @noy-tk1vi
    @noy-tk1vi ปีที่แล้ว +1

    มันอยู่ที่ใจครับท่านให้คิดยังไงช่างหัวมันไม่รับกฐินมันก็เป็นพระเหมือนเดิมนั่นแหละไปสนใจอะไรกับกฐินอยู่ที่ประชาชนศรัทธาเลื่อมใสมากกว่าการรับกฐินนั่นบ่งบอกถึงการกระทำของพระองค์นั้นในวัดนั้นๆที่ได้ครองผ้าพระกฐินยึดติดทำไม

  • @eufhjhxbnk6594
    @eufhjhxbnk6594 ปีที่แล้ว

    มี​หนึ่ง​อย่าง​ที่​พระ​พุทธเจ้า​บัญญัติ​ไว้​ กฎสามารถ​ปรับเปลี่ยน​ให้​เหมาะสม​กับ​สภาพ​เวลา​นั้น​

  • @user-sb9kw1rx4m
    @user-sb9kw1rx4m ปีที่แล้ว

    ขอนุญาตถามนะครับ.การทีพระสงฑ์สวดมนต์ในงานต่างๆผิดมั้ย.เพราะการสวดมนต์ไม่ใช้คำสอนของพระพุทธเจ้าแต่พระสงฑ์เอามาสวดหากินกันจนรวยกันไปหลายๆรูป.มันเข้าการหลอกรวงโยมมั้ยครับ(กราบสาธุๆๆ

  • @yutfjgfd5574
    @yutfjgfd5574 2 ปีที่แล้ว +1

    พระสมัยนี้ไม่เห็นทำอย่างที่ท่านพูดเลย เขาเน้นเรื่องเงินครับมหา และขอถามว่าภิกษุไม่ใด้รับกฐินผิดไหม

  • @MrBoonna2496
    @MrBoonna2496 6 ปีที่แล้ว +5

    ยาครูพูดเก่งแต่พูดเร็วไปครับท่าน

    • @user-tx8mp3tu2l
      @user-tx8mp3tu2l 4 ปีที่แล้ว +1

      ตั้งค่าให้พูดช้าก็ได้ครับ

    • @user-tx8mp3tu2l
      @user-tx8mp3tu2l 4 ปีที่แล้ว

      ตั้งค่าให้พูดช้าก็ได้ครับ

  • @user-ht2bg8np6t
    @user-ht2bg8np6t ปีที่แล้ว

    กฐินแบบฟุ้งเฟ้อ มีเยอะทำเพื่อให้ได้หน้า พอได้พุ่มเยอะๆก็ลงเฟส คุยและอวดกันยิ่งได้ปัจจัยเยอะจะยิ่งได้หน้า

  • @chum1965
    @chum1965 3 ปีที่แล้ว

    ผ้าที่จะถวายเป็นผ้ากฐินแต่ยังไม่ได้ถวายสามารถตั้งฉลองกับกองบริวารกฐินภายในวัดที่จะทำการทอดถวายได้หรือเปล่าครับ(ตั้งไว้ค้างคืน) บางอาจารย์บอกว่าไม่ได้ ผมสับสนครับ ขอความกระจ่างหน่อยครับ

  • @baanmobile3061
    @baanmobile3061 2 ปีที่แล้ว

    ทำไมพระที่วัดไม่พูดไม่บอกกับผู้คนที่ไปวัด และยากให้พระทุกๆวัด บอกกล่าวกับพวกเขาทั่งหลายว่าสำคัญอย่างไรเงิน หรือผ้ากะฐิน พระบางวัดอาจไม่ทราบ

  • @palmtreealone4723
    @palmtreealone4723 2 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าพระรูปเดียวทำอะไรได้ทุกอย่าง อยู่คนเดียว ทำอะไรไม่มีใครรู้ ใครเห็น สวดรูปเดียวก็ไม่ต้องพะวง จะผิดถูก ไม่มีลำดับพรรษา ท่านก็ปลอดภัย

  • @user-ci6tn7sy9m
    @user-ci6tn7sy9m ปีที่แล้ว

    สํานักสงฆ์ทอดกฐินได้หรือเปล่าครับ

  • @frxffcfv6045
    @frxffcfv6045 4 ปีที่แล้ว +2

    ฟังธรรมแล้วน่าจะเกิดความกระจ่างร่มเย็นนะ อย่าให้การได้ฟังธรรมแล้วเกิดอารมณ์เหมือนเสียงปราศัทำให้เกิดภาวะอารมณ์ที่จะไปเป็นจุดเริ่มของโมหะ

  • @phunchalchansawang57
    @phunchalchansawang57 2 ปีที่แล้ว

    เอา5รูปและถูกต้อง

  • @user-gx2xi5pt3d
    @user-gx2xi5pt3d 3 ปีที่แล้ว +1

    ร้อยพระก็ร้อยคำพูดคำสอนอีกฝ่ายก็ว่าฆ่าทำถูกท่านทำผิดบางฝ่ายก็ฆ่าถูก ...อะไรที่ว่าดีก็ทำไปโลดมีไหมที่พระไม่อาบัติไม่มีดอก...

  • @malasrisanguanshap5747
    @malasrisanguanshap5747 5 ปีที่แล้ว +1

    เป่าหมายของพระพุทธเจ้า ที่บันหยัดผ้ากฐินขึ้น เพื่อจะให้พระภิกษุมีความสามัคคีหาผ้ามาทำเป็นผ้ากฐินขึ้นแต่ผ้านั้นจะสำเร็จได้ด้วยพระรูปเดียว. ต่อมานางวิสาขาเห็นความลำบากของพระภิกษุจึงอาสาจะทำผ้าถวายพระพุทธองค์จึงอนุญาตให้คฤหัสถ์ถวายผ้ากฐินให้พระได้. พระพุทธองค์พอใจในความสามัคคีของสงฆ์ จึงผ่อนผันวินัยลงไห้ห้าขอ เรียกว่าอานิสงส์ห้า แต่พระภิกษุที่ถือผ้าต้อง รักษาสาผ้าเรียกว่า มติกาแปดคือมีอยู่แปดข้อที่จะรักษาผ้าไม่ให้เดาะก่อนกำหนด นี่สำหรับพระที่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนั้น ไม่ใช่อาวาสอื่น

    • @biw8888
      @biw8888 3 ปีที่แล้ว

      บัญญัติ

    • @nathaphonnathaphon5245
      @nathaphonnathaphon5245 3 ปีที่แล้ว

      ผมความรู้น้อยใคร่อยากขอถาม มติกาแปดมีอะไรบ้างขอรับ

  • @user-lz9sl9gr1g
    @user-lz9sl9gr1g 2 ปีที่แล้ว

    ฟังยากเข้าใจยากมาก ฟังสิบเที่ยวก็ไม่เข้าใจ

  • @saisai-sv1ol
    @saisai-sv1ol 2 ปีที่แล้ว

    ผมขอถามท่านหน่อยได้ไหมมีข้อสงสัย สมมุติว่าผมเป็น สามเณร แต่เรียนภาษาญี่ปุ่น ผิดหลักพระธรรมวินัยไหมครับ

  • @user-tf8hw9mx7p
    @user-tf8hw9mx7p ปีที่แล้ว

    สรุป ผิดกันทั้งประเทศเป็นส่วนมาก ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ให้อภัยไม่ว่าใคร ใครผิดวินัยก็เรื่องของท่าน ภาษาที่เราเข้าใจคำว่า "บาป"ก็เรื่องของท่าน เพราะฉะนั้นอยู่ที่ตัวผู้แสวงบุญเองว่ามีปัญญาพิจารณาหรือไม่ที่จะบำรุงพระศาสนา

  • @user-kd9fb5io8q
    @user-kd9fb5io8q 3 ปีที่แล้ว +1

    ดาบสองคมครับ..โยมผู้มีศรัทธาจิตวิตก.และจะห่างจากศรัทธานี้ไปเรื่อยๆ.กฐินเป็นเรื่องของพระควรที่จะเป็นเรื่องที่คณะสงฆ์ทั่วไปคุยกันถกกันเอง..เถระสมาคมมีไว้ทำไม.ประกาศเรื่องให้ชัดเจนไปเลยว่า..ไหนได้ไม่ได้..ไม่ใช่ให้แต่ละวัดทำตามความเข้าใจของตัวเอง.เพราะการศึกษาและปัญญาของคนเรามันไม่เท่ากัน.ไม่ใช่ร้อยวัดร้อยแบบอยู่เช่นนี้.อย่างน้อย.ถ้าประกาศออกมาจาก.เถระสมาคมแล้ว.ทุกคนจะได้เข้าใจตรงกัน.ไม่ว่าพระ.ไม่ว่าโยม..เพราะทุกวันนี้คนน้อยนักที่จะใช้หลักกาลามสูตรมาพิจารณา...แค่คิดว่าอาจารย์ของกูว่าอย่างนี้.เท่านั้น..เจ้าอาวาสจะทำอย่างนี้..สรุป..กฐินวัดท่านปีนี้ได้เงินเท่าไหร่..นี่คือ.คำถามแรกที่พระเจอกัน.หลังงานกฐินเสร็จแล้ว..

    • @user-qq2bn8yp7c
      @user-qq2bn8yp7c 2 ปีที่แล้ว

      ใช่เลยทุกอย่างไม่ลงตัว.วัด.ก.วัด.ข.ทำไมไม่รู้😁🙏🙏🙏😇

  • @pornpennaewphaya7998
    @pornpennaewphaya7998 3 ปีที่แล้ว

    ต้องมีห้ารูปขึ้นไปคะ

  • @thanaphonreichukorn435
    @thanaphonreichukorn435 2 ปีที่แล้ว

    นมัสการฯครับ
    ขอถามเพื่อความรู้ครับ
    1.พระสังฆาธิการกระทำอนาจารสามเณร ที่มีอายุ 13 ปี ถ้ากระทำจริง ก็มี กม.อาญา ม.279 เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สามเณรให้การว่ามีการกระทำอนาจารฯลฯ แต่พระสังฆาธิการ บอกไม่ได้กระทำเพียงแต่เอ็นดูและหยอกล้อ(เหตุเกิดในห้องส่วนตัวเวลา 20.00-21.00น.) ซึ่งขาดวัตถุพยาน และมีโยมผู้อุปถัมภ์พระสังฆาธิการองค์นั้น ได้เข้าไปพบผู้ปกครองสามเณร เสนอเงินให้ 3 ล้านบาท เพื่อไม่ให้เอาเรื่อง แต่ไม่มีการรับเงิน(ฐานะเขารวยอยู่แล้ว) ถ้ามีการกระทำอนาจารจริง แต่ปฏิเสธ เพื่อจะได้ไม่ถูกถอดถอนจากตำแหน่ง และดำเนินคดีตามกฏหมาย ความผิดได้สำเร็จแล้ว แต่ไม่ได้ข้อวินิจฉัย

    • @thanaphonreichukorn435
      @thanaphonreichukorn435 2 ปีที่แล้ว

      ขอต่อนะครับ?แต่ยังไม่ได้มีการทางคดีและอธิกรณ์(ซึ่งได้ยื่นเรื่องต่อพระสังฆาธิการระดับปกครองที่สูงขึ้นไปแล้ว ประเด็นนี้จะถือว่าปรับอาบัติปาราชิกข้อที่ 2 ได้ไหม เพราะหลังจากได้กระทำอนาจารฯแล้ว ก็ยังมีความพยายามปฏิเสธ เพื่อจะได้อยู่ในตำแหน่ง(เกิน 3 ปีแล้ว) ซึ่งตำแหน่งพระสังฆาธิการก็มีค่านิตยภัตร์และปัจจัยลาภที่เกิดจากตำแหน่ง เท่ากับมีไถยจิตคิดเอาทรัพย์เกิน ๕ มาสก( 1 บาท) ในกรณีดังกล่าว การพ้นจากตำแหน่งพระสังฆาธิการ ไม่จำเป็นที่จะต้องถูกการพิจารณาว่าได้กระทำความผิดฯที่เข้าองค์ประกอบที่จะต้องถูกถอดถอน พระสังฆาธิการ ย่อมรู้ชัดใน พ ร.บ.คณะสงฆ์และกฏหมายบ้านเมืองเป็นอย่างดี เพราะถือว่า พระสังฆาธิการ เป็นเจ้าพนักงานตามกฏหมาย การกระทำความผิดย่อมรู้อยู่แก่ใจ ซึ่งถ้ามีหิริโอตตัปปะ ก็สามารถลาออกจากตำแหน่งพระสังฆาธิการได้ แต่ถ้ายื้ออยู่ต่อไป ถ้ากระทำจริง อาบัติได้ปรับอัตโนมัติแล้ว ใข่ไหมครับ?
      ผู้รู้น้อย!!!

  • @user-mb6jy4iz6d
    @user-mb6jy4iz6d ปีที่แล้ว +1

    เรื่องพระวินัย จะปรากฏอยู่ในหนังสือสมันตปาสาทิกา หลักสูตรชั้นเปรียญธรรม ๖-๗-๘ นะครับ ในพระไตรปิฎก หมวดพระวินัย ย่อ อา(อาทิกัมมิกะ) ปา (ปาจิตตีย์) มะ (มหาวรรค) จุ(จุลวรรค) ปะ(ปริวารวรรค) จากครูมหาเปรียญธรรม ครูฝึกสอนสวดมนต์ทำนองสรภัญญะ

  • @user-kg7oc9sv6x
    @user-kg7oc9sv6x 5 ปีที่แล้ว

    กระผมฟังไม่ทันครับท่านอาจารย์มหา อยากจะขอให้พูดช้าลงนิดจักเป็นพระคุณยิ่ง จะได้ไม่ฟังขาดตกในข้อใดข้หนึ่งไปนะครับท่าน สาธุ

    • @MahaSilananda
      @MahaSilananda  5 ปีที่แล้ว +1

      ถ้าเปิดในคอมมันลดสปีดได้นะ (ดูตรงปุ่มล่างขวา) หรือไม่ตรงไหนฟังไม่ทันก็กดย้อนกลับแล้วฟังซ้ำเอา

    • @user-pl6lh6mk5v
      @user-pl6lh6mk5v 4 ปีที่แล้ว

      @@MahaSilananda 7@-

  • @BKPCHANNEL2024
    @BKPCHANNEL2024 ปีที่แล้ว

    ข้อความตอนหนึ่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น ตรงคำว่า ภิกษุนั้นเท่านี้น หมายถึงเฉพาะภิกษุที่ไปถามพระพุทธเจ้า ใช้หรือไม่

  • @pra9310
    @pra9310 4 ปีที่แล้ว +5

    รับได้ แต่ พระรูป นั้น ต้องไปหาพระให้ครบ องค์สงฆ์ คือ 4 รูป ทั้ง ผู้รับเป็บ 5 เรียก ว่า คะณะปูระกะ แต่ การ กรานกฐิน อานิงฆ์ อยู่ที่ พระผู้จำพรรษา วัด นั้น ได้ผู้เดียว คือ 4 เดือน มี 5 อย่าง ที่พระพุทธเจ้า อนุญาติ

  • @user-bp9hs6vc6f
    @user-bp9hs6vc6f ปีที่แล้ว

    นมัสสการ พระคุณเจ้า อ้างอิงดีๆ ตามคัมถีร์ อย่าโชว์พราว
    บ้านข้อย เจ้าคุณ ปธ.๙ แอนด์ อภิธรรมบัณฑิต ๒สำนัก ยังไม่ออกตัวเลย ขอรับ