พระจำพรรษา1รูป รับกฐินได้

แชร์
ฝัง
  • เผยแพร่เมื่อ 4 ก.ย. 2018
  • ตอบปัญหาคาใจในโครงการพุทธธรรมนำสุข
    โดย พระครูบูรพาธรรมบัณฑิต
    พระมหาสุพล สุจิณโณ
    ในวันที่ 3 กันยายน 2561
    ณ วัดหนองโมงบูรพาราม ต.รอบเมือง อ.หนองพอก จ.ร้อยเอ็ด
    **"* หลักฐาน
    #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
    ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
    #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
    สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
    ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
    (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
    หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
    #อรรถกถา
    คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
    คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
    หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
    ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
    #สรุป
    จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม
    ความเป็นกฐิน
    • ความเป็นกฐิน
    กระดูกผู้ตายหาย! ทำบุญให้จะได้รับไหม
    • กระดูกผู้ตายหาย! ทำบุญ...
    เบิกบุญเก่าอุทิศให้ญาติได้ไหม
    • เบิกบุญเก่าอุทิศให้ญาต...
  • แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต

ความคิดเห็น • 539

  • @panuphanchaimongkhon5223
    @panuphanchaimongkhon5223 3 ปีที่แล้ว +15

    ตามหลักพระธรรมวินัยแล้ว วัดหรือภิกษุรูปใดจะรับกฐิน วัดนั้นจะต้องมีพระจำพรรษาครบถ้วนไตรมาส3เดือนโดยไม่ชาด และ ต้องมี5รูปขึ้นไปถึงจะรับได้ และ ได้อนิสงส์บุญกฐินแบบเต็มๆเลย แต่ถ้าวัดไหนมีไม่ถึง5รูปถือว่าเป็นกฐินเดาะ อนิสงส์บุญขาดได้ไม่เต็มสมบูรณ์ตามที่พระวินัยพุทธานุญาติที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้

  • @supavonkaenel6870
    @supavonkaenel6870 ปีที่แล้ว +3

    น้อมกราบนมัสการพระคุณเจ้าด้วยความเคารพนอบน้อม เจ้าค่ะ ประมาณ
    2 -3 ผ่านมา โยมได้ดูยูทูบฯของวัดนาปาพง ได้ฟังหนึ่งรอบ ยังไม่ได้ทบทวนอีก ก็กล่าวแบบท่านพระอาจารย์เจ้าค่ะ
    บังเอิญ 🙏🙏🙏 โยมและเพื่อนๆๆ กำลังถกปัญหาเรื่องนี้อยู่ และเข้ามาค้นเห็นในยูทูบ พุทธมรดก ซึ่งทุกอย่างล้วนมีเหตุปัจจัย ให้มาพบกำลังถกกะปัญหาธรรมะเรื่องนี้พอดี 🙏🙏🙏 สาธุๆๆ กราบขอบพระคุณท่านพระอาจารย์ทั้งาองรูปที่เป็นองค์ ถาม ตอบ ด้วยความเคารพนอบน้อมเจ้าค่ะ.

  • @user-ho4ue6de2s
    @user-ho4ue6de2s 4 ปีที่แล้ว +11

    อ่านๆซะ
    #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
    สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
    “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
    ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
    (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
    หมายเหตุ : ถ้าผ้านั้นไม่ได้จัดเป็นผ้ากฐินแล้ว พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
    #อรรถกถา
    คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
    คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
    หมายเหตุ : จากข้อความในอรรถกถา ท่านอธิบายว่า ถ้ากรานกฐินได้อานิสงส์ ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ ๑ เดือน แล้วถ้าผ้านั้นไม่ใช่ผ้ากฐินแล้วจะกรานกฐินได้ยังไงเล่า?
    #สรุป
    จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม (หลักฐานเรื่องจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้นี้ จริงๆ มีมาก แต่หากนำมากล่าวไว้ทั้งหมด ก็จะยาวเกินไป ทั้งเห็นว่า หลักฐานที่ยกมานี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว)

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว +2

      อนุโมทนาด้วยครับ

  • @user-pl1rg1gb7o
    @user-pl1rg1gb7o 6 หลายเดือนก่อน

    ถูกต้องครับพระรูปเดียวรับกระถินได้ครับแต่เวลาเข้าไปไนโบสนิมนพระมาได้ครับ หลวงพ่อเข้าไจจริงอนุโมทนาครับ

  • @nuttapoljarugtam5223
    @nuttapoljarugtam5223 5 ปีที่แล้ว +1

    ตอบดีมากท่าน ญัตติเป็นพระในพรรษาได้ด้วย เอาสิ นิมนต์จากทางอื่นมาให้ครบก็ได้ แหม สุดยอดไปเลยท่าน เยี่ยมไปเลย เป็นบุญยิ่งนัก ที่ได้รับข้อมูลที่แปลกใหม่จากที่เคยได้ยินพ่อแม่ครูบาอาจารย์สอนมา ยอดไปเลย ขออย่างเดียว ตอบคำถามนี้ตรงนี้ที่เดียวนะท่าน อย่าไปตอบแบบนี้ที่ไหนอีก ให้ที่อื่นเขาเชื่อแบบเดิมดีแล้วนะ กราบล่ะ สาธุ

  • @poofat3319
    @poofat3319 2 ปีที่แล้ว +9

    ผมไม่ทราบว่าพระในคลิปท่านเป็นใคร แต่ท่านพูดถูกนะ
    เพราะกฐินแยกเป็น 2 ตอน
    1,การรับ คือภิกษุที่อยู่จำพรรษาในอาวาสตลอดถ้วนไตรมาสเท่านั้น (กี่รูปไม่เป็นประมาณ)
    2, คือการกราน ซึ่งต้องประกอบพร้อมด้วยองค์3 คืออยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาส ในอาวาสเดียวกัน และมีภิกษุครบหมู่ห้า จึงจะทำสังฆกรรมได้
    สรุปคือ รับได้ แต่ไม่ได้อานิสงส์กฐิน เพราะกรานกฐินไม่ได้ (นี่เป็นส่วนเฉพาะของภิกษุ เพราะเกี่ยวเนื่องกับอานิสงส์ที่จะยืดเวลาออกไป)
    แต่ส่วนของผู้ถวายๆแล้วก็คือเสร็จ ได้อานิสงส์ตั้งแต่พระท่านรับ ก็ยังได้ชื่อว่าได้ทำบุญทอดกฐินครับ
    การทอดกฐิน ก็ไม่ต่างอะไรกับการถวายสังฆทาน เพียงแต่พระผู้รับต้องเป็นผู้อยู่จำพรรษาครบสามเดือนในที่นั้นเท่านั้น..
    ส่วนพระรับแล้วจะกรานได้หรือไม่ได้ อันนี้ไม่เกี่ยวกับผู้ถวาย ไม่เกี่ยวกันกับการรับ
    ภิกษุแม้เพียงรูปเดียวจึงรับกฐินได้
    แต่ท่านจะได้อานิสงส์กฐินหรือไม่นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง..

    • @J-zels
      @J-zels 10 หลายเดือนก่อน +1

      มีมาในพระไตรปิฎกครับ

  • @suriya1820
    @suriya1820 5 ปีที่แล้ว +11

    พระไตรปิฎกมีกันทุกวัด ฉบับภาษาไทยมี๔๕เล่มฉบับมหาจุฬาฯหรือจะชอบฉบับของมหามกุฏราชวิทยาลัยก็มีหาอ่านกันได้เป็นความรู้ เราชาวพุทธจะได้มีความรู้ ไม่โดนพระหลอกเอาเงินทุกวันนี้เรื่องกฐินเน้นที่จำนวนเงินกันได้มากได้น้อยคุยกันที่เงิน จริงๆเรื่องกฐินมันเป็นเรื่องของผ้าซึ่งเป็นคหบดีจีวรเป็นผ้านอกครองหรือผ้าไตรกรานกฐินแล้วใช้ได้แค่๔เดือน ต้นบัญญัติเรื่องกฐินก็นางวิสาขาเป็นผู้ทอดถวายคนแรกในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าสมณะโคดม

    • @pu0077
      @pu0077 4 ปีที่แล้ว

      ทุกวันนี้.. กฐิน.คือเงิน.ใจลึกๆคือเงินทอง

    • @user-yd5qx4dr4c
      @user-yd5qx4dr4c 3 ปีที่แล้ว +1

      นางวิสาขาถวายคนแรก จริงหรือ??
      ขอที่มาด้วยครับ

    • @user-dg1yb7nj2d
      @user-dg1yb7nj2d 7 หลายเดือนก่อน

      นางวิสาขาถวายผ้าอาบน้ำฝนไม่ได้ถวายกฐินนะ😊

  • @DhammaULike
    @DhammaULike 2 ปีที่แล้ว +7

    ท่านชื่อ พระมหาสุพล สุจิณโณ อาจารย์สอนพระวินัยและอภิธรรม
    *คลิปวินิจฉัยพร้อมหลักฐาน* ปี 63
    th-cam.com/video/sPUctoCAHFw/w-d-xo.html
    สอนวินัยปี 64
    th-cam.com/video/1giav2Dsoi8/w-d-xo.html

  • @Salakjit4425
    @Salakjit4425 2 ปีที่แล้ว +1

    แรกๆโอเครอยู่ แต่หลังจากนาทีที่ 7 ไป อิหยังว่ะ ครั้งพุทธกาลมี จ.อ.,จ.จ.,พระครู เจ้าคุณ มีสมเด็จด้วยหรือ ยกตัวอย่างได้ชวนมึนแท้

  • @ZeNEng
    @ZeNEng 2 ปีที่แล้ว +4

    ปัจจุบันกฐินไม่ได้จำเป็นอะไรเลยสำหรับภิกษุ เพราะผ้ามันเฝ้อ จุดประสงค์ของกฐินคือ ให้ภิกษุเปลี่ยนผ้า
    เพราะแต่ก่อนผ้าหายาก มาดูปัจจุบันผ้าหายากหรือง่าย?
    แต่ทุกวันนี้ไม่ได้หาผ้าละ น่าจะหาเงินอย่างเดียวเอาไปพัฒนาวัดแข่งกัน ฝากไว้ให้คิด.

    • @user-vv8xf9kl4x
      @user-vv8xf9kl4x 2 ปีที่แล้ว

      บางรูปยังอยากได้ผ้าอยู่นะ

  • @Boonpa-jf8ph
    @Boonpa-jf8ph 5 ปีที่แล้ว +5

    สรุปง่ายๆ คือวัดมีพระจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้ แต่ต้องนิมนต์พระที่สวดกรานกฐินได้ มาจากวัดอื่นอีก4รูป เพื่อทำพิธีให่ถูกต้อง และปัจจุบันพระระดับ4 รูป
    คงต้องใส่ซององค์ล่ะพัน พระ1รูป เลยไม่อยากรับจองกฐิน
    ด้วยไม่แน่ใจว่าจะได้บริวารกฐิน
    มากน้อย ถวายผ้ากฐินคือผ้า
    ผลพลอยได้คือบริวารหรือเงิน

    • @palmtreealone4723
      @palmtreealone4723 2 ปีที่แล้ว

      คงไม่น่าจะใช่ ครับที่ประสงค์ปัจจัย คือ ท่านกลัวว่าวันทอดกฐิน จะนิมนต์พระมาสวด ไม่ได้ต่างหาก เพราะหลังออกพรรษาบางวัดอาจจะมีพระไม่กี่รูป หากทอดฯ ตรงกัน จะทำอย่างไร วัดที่ตนจำพรรษา กับวัดที่รับกิจนิมนต์ทำพร้อมกัน

  • @user-xg4hy3xo4r
    @user-xg4hy3xo4r 5 ปีที่แล้ว +1

    ต้องทำความเข้าใจที่มาของการกำเนิดกฐินก่อน เพื่อวัตถุประสงค์อะไร ก็จะเข้าใจ ผ้าป่า มีก่อนผ้ากฐิน ผ้าป่าคือผ้าที่เก็บตกเศษเล็กเศษน้อย พอนุ่งห่มได้ก็เอามาซักตัดเย็บย้อม ตามผ้าที่จะเปลี่ยนนั้น กาลภายหลังมีคนศรัทธาศาสนาพุทธมาก ไม่อยากให้พระเก็บเศษผ้ากว่าจะได้ครบตามต้องการดูลำบาก เลยถวายผ้าผืนใหญ่สามารถตัดเย็บย้อมครบผ้าไตรพระพุทธองค์ทรงอนุญาติ จุดประสงค์คือต้องการให้พระมีเครื่องนุ่งห่มไม่ต้องลำบากในการหาผ้า และให้พระเปลี่ยนนุ่งห่มรูปเดียว ถ้าอารามใดมีพระหลายรูปเลือกพระที่ผ้านุ่งห่มชำรุดมากกว่าเป็นผู้รับ ฉะนั้นรูปเดียวรับได้ ตัวอย่างหากมีพระรูปเดียว หาพระที่ไหนในโลกไม่มีจะทำยังไง และศรัทธาที่มีก็จะเสื่อมถ้าไม่รับ แต่เมื่อมีพระมากพระอยู่อาวาสอื่นรูปเดียวรับได้แต่ต้องผ่านสงฆ์คือต้องนิมนต์จากพระวัดอื่นมาร่วมพิธีกรรมให้ครบสงฆ์

  • @crystalwheel1888
    @crystalwheel1888 3 ปีที่แล้ว +5

    ท่านที่อ้างวินัยมุขซึ่งอนุกีฎาอันจะขัดแย้งจากพระไตรปิฎกไม่ได้​ ผมเห็นว่าคำกล่าวของพระอาจารย์​อ้างมีที่มาชัดเจนดี​ แต่ผู้เห็นแย้งไม่มีใครยกข้อความในพระไตรปิฎกมาแย้งได้เลย​ มีความรู้สึกล้วนๆจึงได้แต่ถอนหายใจกับชาวพุทธในเมืองไทยที่เลือกที่จะเชื่อตามครูมากกว่าค้นหาความจริง

    • @stevengerrard1236
      @stevengerrard1236 2 ปีที่แล้ว

      จะเชื่อครูบาอาจารย์หรือจะเชื่อธรรมวินัยพระพุทธเจ้า

  • @tevainter5772
    @tevainter5772 5 ปีที่แล้ว +16

    พระท่านพูดถูกแล้ว แต่พระบางพวก โยมบางพวกศึกษามาไม่ดีก็เลยแย้งท่าน แต่ถ้าใครมาแย้งท่านเท่ากับแย้งคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยตรง มีวาทะเป็นข้าศึกต่อพระพุทธเจ้าต้องไปตั้งอยู่ในนรกตลอด 1 กัปป์ ไม่อยากพูดมากเจ็บคอ

    • @prasitrakson1546
      @prasitrakson1546 5 ปีที่แล้ว +3

      เอ้งไปอ่านพระไตรปิฏกเสียบ้าง อย่าเอาแต่เชื่ออย่างคนไร้ปัญญา

    • @prasitrakson1546
      @prasitrakson1546 5 ปีที่แล้ว +1

      เอ้งศึกษามาดีแล้ว ชาติโง่

    • @user-ws9iv8ww7b
      @user-ws9iv8ww7b 4 ปีที่แล้ว +2

      @ศิวารักษ์ ภาคภากรณ์ ดูใต้คลิปจะได้ไม่โง่ครับ

  • @juntankruger5266
    @juntankruger5266 4 ปีที่แล้ว +1

    กราบ.ๆๆๆ.สาธุ.ๆๆ.เจ้าค่ะ

  • @subarashi9302
    @subarashi9302 4 ปีที่แล้ว +2

    ไม่รู้อย่าสอนผิดๆครับ ไม่แน่นก็ไปศึกษาดีๆ ครับ รับได้ แต่ไม่ได้อานิสงส์กฐินครับ รับผ้าไตรกลายเป็นผ้าไตรจีวรธรรมดา แต่ไม่ใช่ผ้ากฐิน เขาเรียกว่ากฐินเดาะ เนื่องด้วยต้องมีพระภิกษุสงฆ์ ต้องจำพรรษาอย่างน้อย 5 รูป แล้วในสมัยนั้น 4รูปภายใน5รูปนี่ เรยีกว่าองค์สงฆ์ ได้ ตกลงพร้อมใจกัน จะทำผ้ามาถวายแก่รูปนึง จึงนำผ้า มาถัก มาร้อย แล้วนำมาถวายให้แก่พระรูปนี้ ซึ่งสมัยนี้ญาติโยมชาวบ้านจะเป็นเจ้าภาพนำมาถวาย ก็ให้คิดซะว่า ญาติโยม ก็คือส่วนหนึ่งของพระ4รูป นำผ้าไตรจีวรในวันที่รับกฐินมาถวายแก่พระสงฆ์ แล้วพระสงฆ์รับ แล้วพระสงฆ์5รูป พร้อมใจจะถวายให้แก่รูปใดรูปหนึ่ง (ที่ว่าต้องมีพระจำพรรษาอย่างน้อย5รูปคือต้องจำพรรษาวัดนั้นด้วย เพื่อจะได้สอดส่องดูแลว่าใครเป็นผู้สมควร จะให้พระวัดอื่นมาอปโลกน์ก็ไม่ได้ครับ เพราะไม่ได้อาศัยอยุ่ร่วมกันตลอด3เดือน หรือตลอดพรรษาด้วยกัน) แล้วในคำอปโลกน์รูปที่ก็ได้บอกว่า และ มีคำพระอรรถกถาจารย์ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ รู้ธรรม 8 ประการ มีบุรพกิจเป็นต้น ภิกษุรูปนั้นจึงสมควรเพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ใช่ว่าใครก็สามรถรับได้ บางวัดเอาพระใหม่มารับ แต่ไม่มีคุณสมบัติ เมื่อพระผู้ใหญ่ รับผ้ากฐิน ถ้าท่านมีเมตตา จะสละผ้าไตรที่ตนครองก่อนหน้านั้น ให้พระที่มีพรรษาลงมาตามลำดับ สรุปคือ ต้องพระภิกษุ๕ รูปขึ้นไป พร้อมใจกันตกลงว่าจะมอบให้แกพระภิกษุรูปนี้ จึงนำมามอบถวาย ส่วนโยมก็แค่ถวายให้แค่สงฆ์เฉยๆ สงฆ์ต่างหากที่พิจารณาว่าใครสมควรได้รับ / ถ้าครบองค์ถูกต้องหมด อานิสงฆ์ก็จะได้รับ ทุกขั้นตอนครับ แม่แต่โยม จนไปถึงพระสงฆ์ 4รูป แล้วตลอดถึงภิกษุผู้ครองผ้ากฐิน

  • @user-yd5qx4dr4c
    @user-yd5qx4dr4c 3 ปีที่แล้ว +6

    เห็นมีคนถามเยอะมากทำนองว่า พระไปเอามาจากไหน มีที่มาจากหนังสือเล่มไหน หน้าไหน ?
    ก่อนที่จะตั้งคำถามนี้ ท่านทั้งหลายอ่านจบหรือยัง ถ้ายังอ่านไม่จบ กลับไปอ่านให้ดีก่อน ค่อยมาถามก็ยังไม่สาย
    เจ้าของคลิปท่านลองที่มาของหนังสือ บอกหน้าชัดเจนแล้ว
    ถ้าท่านยังสงสัยอยู่ ก็ควรตามไปเปิดดูในพระวินัยปิฎก ตามเลขหน้าที่เจ้าของคลิปบอกเอาไว้

  • @DhammaULike
    @DhammaULike 2 ปีที่แล้ว +5

    พอจ.ท่านอ้างหลักฐานอรรถกถาและพระไตรปิฏก มีคนบอกว่ามั่ว แต่กลับยกเอา หนังสือนักธรรมมาอ้าง ... คุณรู้จักลำดับการศึกษาคัมภีร์มั้ยครับ
    ผู้ไม่รู้ศาสนา ใจผู้นั้นจะคิดมุ่งไปว่า "กฐิน=เงิน=การหาเงิน"
    ผู้รู้ศาสนา มุ่งคิดไปว่า "กฐิน=ผ้า"
    🤗พระจำพรรษารูปเดียว ก็รับกฐินได้
    😡เป็นพระอยากได้อยากมี ขี้โลภขนาดนั้นเลยรึ ต้องจำพรรษา 5 รูปขึ้นไป จึงรับกฐินได้
    🤗ถ้าคิดว่าพระจะขี้โลภอยากได้เงินทองมากมาย ก็เอากฐิน ที่มี #เฉพาะผ้า ไปถวายท่านสิครับ ท่านจะรับหรือไม่รับล่ะ ท่านจะมีหน้ายิ้มแย้มหรือบูดบึ้ง
    🤔ถ้าเข้าใจตรงๆว่าพระ 1 รูปจำพรรษาทอดกฐินได้ ชาวพุทธก็ได้โอกาสทำบุญ+พระที่จำพรรษาท่านก็ได้อานิสงส์กฐิน 5 ประการด้วย.... แต่ถ้าเข้าใจผิดว่า ต้อง 5 รูปขึ้นไป จึงทอดกฐินได้ วัดที่มีพระจำพรรษา 1-4 รูป พระก็เสียโอกาสได้อานิสงส์กฐิน ชาวบ้านก็เสียโอกาสทำบุญกฐิน วัดที่มีพระจำพรรษา 5 รูปขึ้นไป ตามชนบทหาได้ยากมาก
    😡 1 รูป ไม่ถึง 5 รูป จำนวนไม่ครบสงฆ์ ไม่สามารถเป็นกฐินได้หรอก
    🤗 ประเด็นจำพรรษา1-2-3-4 รูป กับประเด็นการครบสงฆ์ มันคนละวาระ จะจำพรรษากี่รูปก็รับได้ นี้ประเด็นหนึ่ง
    แต่หากจะทำสังฆกรรม เพื่อสวดญัตติ มอบผ้ากฐินที่คฤหัสถ์ #ถวายแก่สงฆ์ ให้แก่พระรูปใดรูปหนึ่ง ต้องมีองค์ประชุม 5 รูปขึ้นไป ถ้าจำพรรษา 1 รูป ก็ถือผ้าไปหาพระวัดอื่นหรือนิมนต์พระวัดอื่นมาให้ครบ 5 รูป เพื่อสวดญัตติ สงฆ์มอบผ้าให้แก่พระที่จำพรรษาในวัดนั้นๆ ตามขั้นตอนเงื่อนไขการทำสังฆกรรม นี้อีกประเด็นหนึ่ง
    ลิ้งค์วีดีโอการบรรยายเรื่อง #กฐิน
    th-cam.com/video/gjqzAQ1TFRU/w-d-xo.html
    th-cam.com/video/ULN7St2IqDE/w-d-xo.html
    fb.watch/8VQzCDzPPt/
    fb.watch/8VQyCf0NFt/
    facebook.com/PhraSupol.Sujinno/videos/190667199222050/
    facebook.com/PhraSupol.Sujinno/videos/191094899179280/
    facebook.com/PhraSupol.Sujinno/videos/191156332506470/
    fb.watch/8VQyCf0NFt/
    fb.watch/8VQzCDzPPt/

  • @user-yk2kd9ix3x
    @user-yk2kd9ix3x 4 ปีที่แล้ว +3

    วัดใดจัดทอดกฐินขึ้นเอง เขาเรียก "กฐินเดาะ" ได้บุญครึ่งเดียว เดี๋ยวนี้ทางวัดกำหนดจัดทอดกฐินขึ้นเองทั้งนั้นทั้งวัดบ้านวัดป่า เพราะต้องการเงินมาก ๆ สมัยโบราณ ทางวัดต้องอยู่เฉย ๆ ผู้ใดมีศรัทธาอยากได้บุญก็จะส่งแมวมองไปถามไถ่เจ้าอาวาสว่ามีคนจองกฐินหรือยัง พอได้คำตอบว่า "ยัง" เขาก็แอบไปจองกฐิน โดยนำหนังสือประกาศว่า ข้าพเจ้านาย.....อยู่บ้านเลขที่...บ้าน...หมู่ที่...ตำบล...อำเภอ...จังหวัด...ขอจองกฐินวัด...จะทำการทอดวันที่...ขึ้น/แรม... เดือน...ปี...เขาเขียนอย่างละเอียดแล้วนำไปปิดประกาศไว้หน้าประตูวัด ในที่มองเห็นง่าย เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นมาจองกฐินทับซ้อนกัน โดยที่เจ้าอาวาสก็ไม่รู้ตัวว่ามีคนมาจองกฐินแล้ว พอพระเณรออกบิณฑบาตรกลับมาเห็นประกาศจองกฐินก็จะไปกราบนมัสการให้เจ้าอาวาสทราบ เมื่อทางวัดรู้ฐานะผู้จองกฐินแล้วบางทีก็ดีใจเพราะผู้จองกฐินมีฐานะดีทางวัดจะได้ข้าวของเครื่องใช้ปัจจัยเงินทองมากด้วยขาดแคลนมานาน แต่ถ้าผู้จองกฐินมีฐานะยากจน ทางวัดก็ต้องจำยอมให้ผ่านไปปีหนึ่ง ปีหน้าผู้จองกฐินมีฐานะรวยหรือจนก็อยู่ที่บุญกรรมของวัดนั้น ๆ จะปฏิเสธขับไล่เขาก็ไม่ได้ ปัจจุบันนี้ทอดกฐินกันเป็นสิบเป็นร้อยเป็นพันล้าน เพราะทางวัดเป็นผู้กำหนดจัดการควบคุมเองทั้งสิ้น อานิสงค์จึงไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร

    • @user-of6gq3gr9g
      @user-of6gq3gr9g ปีที่แล้ว

      ไม่มีหลอกครับแบบนั้น อาจเป็นทายกจองก็ได้หรือภิกษุวัดอื่นจองเป็นปฐมบทก็ได้ แล้วเปิดเป็นสามัคคี

  • @naja8499
    @naja8499 5 ปีที่แล้ว +33

    รับกระฐินใด้..เเต่อานิสงฆ์กระฐินไม่ใด้..ถ้าอยากใด้อานิสงฆ์..พระต้องจำพรรษาครบ5รูปตามพระธรรมวินัย.

    • @supanutmanit8515
      @supanutmanit8515 5 ปีที่แล้ว +3

      อานิสงส์ของกระฐินคืออะไรครับ ที่คุณบอกว่าถ้าอยากได้อานิสงส์ต้องพระจำพรรษา5รูปหมายเอาผู้ถวายหรือผู้รับ

    • @sujinnodee9536
      @sujinnodee9536 5 ปีที่แล้ว +14

      เดียวดาย naja อย่าพูดสั้นๆแค่นี้สิ...ต้องพูดให้จบสิ....(ว่าถ้าพระจำพรรษารูปเดียว พระรูปนั้นได้อานิสงส์รูปเดียว อีก4รูปที่นิมนต์มาจากที่อื่นไม่ได้อานิสงส์ ได้แต่บุญที่มาอนุเคราะห์สวดสังฆกรรมให้ผ้ากฐิน...,และถ้าจำพรรษา2,3,4 จะได้อานิสงส์แค่2,3,4รูปเท่านั้น ส่วนพระที่นิมนต์มาจากที่อื่น ไม่ได้อานิสงส์กฐิน5ข้อ แต่ได้บุญเต็มๆครับ....ส่วนญาติโยมจะถวายกี่ครั้ง ก็ไม่เรียกว่าได้อานิสงส์แห่งกฐิน5ข้อเหมือนพระ แต่ได้อานิสงส์แห่งกฐินทานเต็มๆ100%ครับผม)

    • @user-sc7yc4cj6m
      @user-sc7yc4cj6m 4 ปีที่แล้ว +1

      @@supanutmanit8515 ทั้งสอง​คือผู้​รับและ​ผู้​ให้​

    • @pu0077
      @pu0077 4 ปีที่แล้ว

      @@sujinnodee9536 สาธุ​ถูกต้อง​

    • @user-sb9ei6pr7f
      @user-sb9ei6pr7f 3 ปีที่แล้ว

      พูดบิดเบือน

  • @user-to7ho6ve7g
    @user-to7ho6ve7g 5 ปีที่แล้ว +1

    สาธุครับ

  • @frankphakphoom9479
    @frankphakphoom9479 ปีที่แล้ว +2

    พระทั้งสองท่านนั้นต้องไปเรียนใหม่ค้นคว้าใหม่พระวินัยขันท์ อีกพวกท่านตอบที่ปลายเหตุ พระต้องจำพรรษาให้ครบห้ารูปขึ้นไป จึงจองกระฐิน หรือทอดกระฐินได้ ถ้าพระจำพรรษาไม่ถึงห้ารูปขึ้นจะบาปทั้งผู้จแงแบะพระผู้รัยด้วย

  • @krithora2207
    @krithora2207 2 ปีที่แล้ว +3

    แม้จำพรรษารูปเดียวก็รับได้ แต่เวลารับให้ไปนิมนต์พระวัดอื่นมาร่วมรับให้ครบ 5 รูป

  • @user-uh8zt7wc4z
    @user-uh8zt7wc4z 2 ปีที่แล้ว

    สาธุๆๆๆค่ะ

  • @user-sz8mb1bz9b
    @user-sz8mb1bz9b ปีที่แล้ว

    ถูกต้องครับ

  • @pinphone7429
    @pinphone7429 6 หลายเดือนก่อน

    ถูกของท่านแล้ว กฐินเกี่ยวกับผ้า ไม่ได้เกี่ยวกับเงิน อยู่รูปเดียวก็รับได้ ถ้าที่วัดมีโบสถ์ก็นิมนต์พระวัดอื่นมา 4 รูป มอบผ้า ส่วนกรานกฐินพระที่อยู่รูปเดียวในวัดนั่นแหละกราน

  • @user-od4iw5dt3c
    @user-od4iw5dt3c 7 หลายเดือนก่อน

    มีโยมเจตณานำผ้ามาถวายในกฐินฤดูโดยไม่ได้แจ้ให้ทราบร่วงหน้าท่านเรียกกฐินโจร พระอยู่จำพรรษาแม้รูปเดียวก็สามารถรับได้ แต่ไม่มีอานิสงส์ เพียงแต่รับเพื่อฉลองศรัทธา แต่ถ้าจะทำให้ถูกต้องควรถวายเป็นอัฏฐกฐิน หรือจุลกฐินจะดีกว่านะ

  • @user-pt4vh4ke4h
    @user-pt4vh4ke4h 4 ปีที่แล้ว +4

    งานกฐินเป็นเรื่องผลประโยชน์
    เป็นเรื่องความบันเทิงสนุกสนาน
    ....เจ้าภาพกฐินบางราย อยากได้หน้า
    จ้างหมอลำ 3 แสน ล้มวัว 3 ตัว ใส่ซองถวายพระ 3 ร้อย
    ..จ้างหมอลำ 3 แสน แถมมวยหน้าฮ้านฟรีตลอดคืน 😁😁😁😁😁😂😂😂🤣🤣🤣🤣🤣🤣🤣🤣🤣🤣🤣🤣

    • @baba-fm5ug
      @baba-fm5ug 4 ปีที่แล้ว +1

      สรุปผลแล้ว คือว่า ได้ บาป ไป3เท่า

    • @user-pt4vh4ke4h
      @user-pt4vh4ke4h 4 ปีที่แล้ว +1

      @@baba-fm5ug ถูกต้อง 😁

  • @user-zx8di9qb4b
    @user-zx8di9qb4b 5 ปีที่แล้ว +1

    พระพรหมบัณฑิต เทศน์พระภิกษุไม่อยู่จำพรรษาผิดหรือไม่ มีพูดถึงการทอดกฐิน นาที1.35 แม้นมีภิกษุครบ5รูป แต่มีพระ1รูปขาดพรรษาก็รับกฐินไม่ได้ ถ้ารับก็ผิดวินัย เรียกว่ากฐินเดาะ ขอให้ศึกษาพระธรรมวินัยให้ถูกต้อง จะดีกว่านะ ปล.ผ้ากฐินทานนี้ลอยมาจากนภากาศ ตกลงท่ามกลางสงฆ์ (สงฆ์แปลว่าพระต้องครบ5รูป ถ้าจะทอดกฐินหรือรับกฐิน)

    • @DhammaULike
      @DhammaULike 2 ปีที่แล้ว

      ท่านสอนวินัยมีรายละเอียดมากแต่ในคลิปแค่มาตอบคำถามแก่โยมครับ มีทั้งหมด 6 คลิป ปี 63/64 ปีละ 3 คลิป ลองตามดูได้ครับ
      th-cam.com/video/1giav2Dsoi8/w-d-xo.html
      th-cam.com/video/sPUctoCAHFw/w-d-xo.html

  • @yonsrirong5627
    @yonsrirong5627 3 ปีที่แล้ว

    สาธุ​

  • @thitikonpasannachittochaiy2319
    @thitikonpasannachittochaiy2319 2 ปีที่แล้ว

    สาธุๆ

  • @ngoasian4548
    @ngoasian4548 4 ปีที่แล้ว +2

    เคยบวชมาฯ แต่ไม่เคยได้ยินคำสอนแบบนี้(ยังงง)ครับฯ

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว

      ที่มาใต้คริปครับ

  • @user-po2lm6mx1t
    @user-po2lm6mx1t 5 ปีที่แล้ว +6

    อะไรที่มันสุ่มเสียงพระวินัยถกเถียงกัน พระก็อย่า อยากได้นักเลย โยมก็อย่าบ้าบุญนัก ถามจริงๆ กฐินเป็นเรื่องผ้า ที่ว่ารับได้นั้น อยากได้เงินหรืออยากได้ผ้า พระวัดได ไม่ถึง ๕ รูปก็อย่าอยากได้นักเลยมันแสดงถึงความไม่สามัคคีไม่เลื่อมใส ถ้ารูปเดียวรับได้ มันสอนให้พระเห็นแก่ตัว หาแต่ทางเป็นเจ้าวัด อยากอยู่ผู้เดียวรับผู้เดียว

    • @user-yq2hv8th8m
      @user-yq2hv8th8m 4 ปีที่แล้ว

      อ่านหลายคน..แต่อ่านคำพูดของท่าน...โดนใจครับ ฯ

    • @nutagul
      @nutagul 2 ปีที่แล้ว

      สาธุ ถูกต้องที่สุดครับ

  • @paisalinnoi2195
    @paisalinnoi2195 5 ปีที่แล้ว +2

    ต้องสอดคล้องกับธรรมวินัยด้วยว่า มีวินัยบัญญัติว่า อย่างไร ถ้าถูกตามวินัยก็ควรทำ...ถ้าแม้ยังสงสัย ไม่แน่ใจ ก็ยังถือว่า ไม่ควร..

  • @user-jl8gl9md2h
    @user-jl8gl9md2h 5 ปีที่แล้ว +9

    ตอบอธิบายได้ถูก ตามพระพุทธองค์ทรงรับรองในพระไตรปิฏก เรื่องมีอยู่ พระรูปเดียวรับกฐินได้มีจริงครั้งพุทธกาล พระรูปเดียวที่เมืองสาวัตถีจำพรรษารูปเดียวรับกฐินพระพุทธองค์ทรงรับรอง..แต่ที่บอกรับกฐินต้อง 5 รูปขึ้นไปนั้นมาแต่งใหม่เขียนไว้โดยสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญานวโรรส เขียนในหนังสือหลักสูตร นักธรรม ตรี โท เอก วินัยเรื่องกฐิน มาให้ท่านพระเณรเราท่านเรียนและพอไปเทียบเคียงในพระไตรปีฏกอีกจะเทียบเคียงเข้าใจถูกได้ว่า รูปเดียวรับกฐินได้จริง.

    • @prasitrakson1546
      @prasitrakson1546 5 ปีที่แล้ว +2

      สมเด็จฯก็เอามาจากพระไตรปิฏกไม่ไดันิพนธ๋ขึ้นเองตามใจฉัน ในสมัยพุทธกาลท่านทำจีวรกันอย่างไรไปเปิดดู กฐินไม่ใช่เงิน ไม่ใช่แอบอ้างกฐินเพื่อหาเงินรูปเดียว อยากไดีเงินตัองไปชวนพวกมาอีก4ให้กลายเป็น5 มันคนละปวารณาต่างอาวาสกัน เข้าใจตามนึ้

    • @user-jl8gl9md2h
      @user-jl8gl9md2h 5 ปีที่แล้ว

      ไม่เกี่ยวกับสมเด็จ สมเดิดที่ไหนทิไหน..ใดๆเลยนะท่าน เกี่ยวคือเป็นพุทธพจน์พระพุทธองค์ทรงตรัสรับไว้ว่าพระจำพรรษา 1 รูป .รับกฐินได้ถ้าครบถ้วนไตรมาสจ้าท่านเอย แล้ว.รับผ้ากฐินรูปเดียว ได้ ไม่ต้อง 5 รูปขึ้นไปนะ นี่ เป็นพระพุทธดำรัส แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า..จ้า ไม่ใช่มาเชื่อคำแต่งใหม่แต่งสมัยหลังน่ะท่าน เขามาเขียนเอง ในหลักสูตรนักธรรมนี่ของแต่งใหม่จ้า. มาให้ความหมายเอง เรื่องกฐินน่ะ ไม่เหมือนในพระไตรปิฏกตรงพุทธะรับรองน่ะท่านนะ.ส่วนเรื่องเงินทอง.มาโยงกับกฐิน คนละประเด็น ประเด็น คือ พระพุทธเจ้าตรัสรับรอง คำว่ารับผ้ากฐิน เป็นกฐิน 1 รูปรับได้ ตรงนี้.

  • @chaturongkedrungsee6622
    @chaturongkedrungsee6622 2 ปีที่แล้ว

    ถูกต้องแล้ว
    1.คำว่าในอาวาสเดียวกัน หมายถึงพระที่จะมีสิทธิ์ในอานิสงส์กฐินได้นั้นต้องอยู่ในอาวาสเดียวกัน จึงมีสิทธิ์รับอานิสงส์ และไม่ได้ความว่าจะต้องมีครบ 5 รูป
    2.แต่ในขั้นตอนมอบผ้าต้องมีพระครบ 5 รูป หากไม่ครบจะเป็นพระจากที่ไหนก็ได้ (ดูในจีวรขันธกะจากพระไตรปิฎก)
    3.สงฆ์พิจารณาได้ถึงแม้ไม่ได้อยู่ในวัดเดียวกันก็สามารถพิจารณาได้ หากมีพระจำพรรษา 2-3 รูป ก็พิจารณาจาก 1.จีวรเก่า 2.รู้ธรรมแปดประการ 3.ศีล 4.พระที่อยู่ต่างยินยอมกัน โดยถือเอา จีวรเก่าเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอันดับแรก ส่วนถ้าท่านอยู่เพียงรูปเดียวอยู่แล้วสงฆ์ก็ไม่มีสิทธิ์พิจารณารูปอื่นต้องให้ท่านโดยอัตโนมัติ เพราะรูปอื่นไม่มีสิทธิ์
    4.พระทุกรูปที่จำพรรษามีสิทธิ์รับกฐินแม้จำพรรษาในวัดนั้นเพียงรูปเดียว ไม่มีเหตุอันใดจะมาห้ามสิทธิ์ท่านได้ ไม่อย่างนั้นต่อไปหากท่านอยู่รูปเดียว ท่านก็จะถือเอาเป็นเหตุไม่จำพรรษาได้ จึงไม่ควรตัดสิทธิ์

  • @user-wb6gl4dt1j
    @user-wb6gl4dt1j 5 ปีที่แล้ว +1

    สาธุ. ..... สาธุ. สาธุชนสมัยใหม่. และพระสงฆ์. ในปัจจุบัน. มุ่งเน้นในการสร้าง ศาลา สร้าง โบสแข่งกัน. สมัยพุทธกาลไม่มีศาลาไม่มีโบส. ไม่มีน้า. -ไฟ. แบบพอเพียง. สมัยนี้ เจริญ. แต่แข่งกันทางวัตถุ. ... มาก. กว่า. ทางศิลธรรม.

    • @pungkeenaga1245
      @pungkeenaga1245 2 ปีที่แล้ว

      ยังไม่เข้าใจ เรื่องของศาสนากับสังคม สิ่งก่อสร้างใหญ่โตทางศาสนาก็เคยมีมาแล้ว นับกว่าสองพันกว่าปี
      ศาสนาอยู่ในประเทศก็ต้องเป็นไปตามประเพณี วัฒนธรรมของประเทศนั้น เช่นคริสต์ในมาเลเซียก็เป็นแบบอืสลาม คริสต์ในไทยก็สร้างโบสถ์แบบไทย มีช่อฟ้าใลละกา หางหงส์เช่นกัน ก็คล้ายกับพุทธ อยู่ในลาว พม่า เขมร เวียตนาม จีน เกาหลี ก็แตกต่างกัน

  • @user-lt2se2qv7e
    @user-lt2se2qv7e 5 ปีที่แล้ว +9

    รับได้ครับ แต่อนิสงฆ์ไม่ได้ครับ เท่ากับทำผ้าป่า กฐินวัด1 สามารถรับได้แค่ครั้งเดียวต่อปี กฐินอานิสงฆ์ครบสมบุรณ์ต่อมีพระจำพรรษาอย่างน้อย5รุปขึ้นไป อานิสงฆ์จะสมบุรณ์ทั้งพระทั้งโยม

    • @phod54
      @phod54 2 ปีที่แล้ว +1

      รับกฐินได้ทำไมอานิสงส์กฐินไม่ได้ รับได้ก็ต้องได้อานิสงส์สิ เหตุผลขัดแย้งกัน

    • @jesadalerpoka7554
      @jesadalerpoka7554 2 ปีที่แล้ว

      ที่ระบุจำพรรษา 5รูปก็เพื่อจะให้ครบองค์สงฆ์ ตอนสวดให้ผ้าแก่องค์ที่จะครองผ้ากฐิน เพราะผ้ากฐินมีแค่ชุดเดียวและองค์เดียวเท่านั้นที่จะได้รับ.. เพราะฉะนั้น องค์เดียวรับผ้ากฐินได้ แต่ได้แค่รับเท่านั้น ยังเอาไปพินทุ อธิฐาน และครองยังไม่ได้ จะต้องไปนิมนต์พระ วัดอื่นอย่างน้อย 4รูปรวมองค์ครองผ้ากฐินอีก 1 เป็น5รูป มาสวดญัตติให้ผ้าเสียก่อน องค์ครอง จึงจะสามารถนำผ้านั้น มาพินทุ อธิฐาน แล้วก็ครอง หรือนำผ้านั้นมาห่ม เมื่อห่มเสร็จ ก็สวด อนุโมทนา กฐิน เป็นอันเสร็จสิ้น..

    • @phod54
      @phod54 2 ปีที่แล้ว

      @@jesadalerpoka7554 พระรูปเดียวรับกฐินไม่ได้
      เป็นสังฆกรรมวิบัติ www.naewna.com/likesara/367199

    • @jesadalerpoka7554
      @jesadalerpoka7554 2 ปีที่แล้ว

      @@phod54 ตอนผมสอบ นักธรรมตรี โท เอก ผมก็เข้าใจว่ารูปเดียวรับกฐินไม่ได้ต้องมี พระจำพรรษาในอาวาสเดียวกัน 5รูปขึ้นไป ถึงจะรับได้ ลองฟังท่านพระมหาภาคภูมิ อธิบายดูได้ครับ ท่านบอกว่ารับได้ ท่านไม่ได้ว่ารับได้เฉยๆ ท่านอธิบายด้วยว่าทำไมถึงรับได้ ลองหาดูครับ ในยูทูปนี่แหละ พิมพ์คำว่า พระรูปเดียว รับกฐินได้หรือไม่ ก็น่าจะเจอ พระวินัย บางครั้งก็ต้องให้ผู้รู้ตีความ เรื่องนี้มีทั้งที่บอกว่ารับไม่ได้ กับบอกว่ารับได้..ลองฟังท่านมหาภาคภูมิ ท่านอธิบายดูครับ เพราะท่านบอกว่ารับได้..

    • @phod54
      @phod54 2 ปีที่แล้ว +1

      @@jesadalerpoka7554 พระมหาภาคภูมิ วินิจฉัยผิดเพี้ยนจับประเด็นตรงคำที่ว่ารูปเดียวรับกฐินได้ ภิกษุจำพรรษารูปเดียวเข้าไปถามพระพุทเจ้า
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      "ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      คำว่าจีวรก็คือจีวร ทำไมมหาภาคภูมิบิดเบือนคำสอนไปตีความหมายว่าจีวรเป็นผ้ากฐิน ผ้ากฐินคือผ้าขาวบริสุทธิ์ยังไม่เป็นจีวรสำเร็จ จนถึงคราวเดาะกฐินหมายถึงว่าเป็นอานิสงส์จำพรรษาสามารถรับอดิเรกไตรจีวรได้1เดือนหรือหมดฤดูกฐินหรือฤดูเดาะกฐินเสร็จ

  • @wittayakaidee9345
    @wittayakaidee9345 3 ปีที่แล้ว +2

    ทอดกฐินเรื่องของโยม กรานกฐินเรื่องของพระ
    วัดใดมีพระ วัดนั้นโยมทอดได้ ...

    • @katingphone5466
      @katingphone5466 3 ปีที่แล้ว

      ถูกต้องแค่เอาไปถวายนอกนั้นเปนเรื่องของพระ

  • @user-uo4iq2el8c
    @user-uo4iq2el8c 4 ปีที่แล้ว +2

    ใช้แล้ว ไม่น่ามาให้ความรู้เลย ตอบไปไหนก็ไม่รู้ ไม่เอาเนื้อยังไปน้ำมาปนอีกต่างหาก

  • @hdhdhdhdhdhs6211
    @hdhdhdhdhdhs6211 3 ปีที่แล้ว

    รุปเดียวก้อรับได้ แต่ไม่ใชกฐิน. ก้อรับได้ได้บุญเหมือนกัน

  • @user-he4lv5wl8p
    @user-he4lv5wl8p ปีที่แล้ว

    ควรศึกษาคำว่า สังฆกรรมให้ตรง
    ของมีมากแล้ว จะยังน้อมเข้ามา เป็นอกุศลมูลเปล่าคะ พระเจ้าข้า

  • @tranceprogressive8414
    @tranceprogressive8414 5 ปีที่แล้ว +2

    ถ้าคิดให้ลึกกว่านี้ ถึงจะครบ 5 รูปกฐินก็ไม่บริสุทธิ์ เพราะเจ้าอาวาสเที่ยวแสวงหาพระมาจำพรรษา ถึงขนาดต้องจ้างให้คนในหมู่บ้านมาบวชเพื่อให้ครบ 5 รูปก็มีมาแล้ว กฐินที่แท้จริงพระต้องมาด้วยความบริสุทธิ์ใจ มาจากทั่วสารทิศ ถึงจะเป็นอานิสสงค์กฐินที่แท้จริง ส่วนรูปเดียวรับกฐินได้อันนี้ผมเปิดดูพระไตรปิฏกดูไม่ปรากฏเห็นเลยครับ

    • @DhammaULike
      @DhammaULike 2 ปีที่แล้ว

      ค้นคว้าเพิ่มครับ

  • @user-kr7fv7yk4t
    @user-kr7fv7yk4t 3 ปีที่แล้ว

    ไม่ได้หรอกครับมันผิดตั้งแต่มากรานหรือจองไว้แล้ว ที่ว่าได้เพราะความอยากหรือตัณหาความโลภอยากได้ปัจจัยเขาเท่านั้นเหตุผลใดๆก็ตามในเรื่องกฐินถ้าผิดจากวินัยนี้ถือเป็นโมฆะทั้งนั้น คนทอดได้แค่อานิสงฆ์ทานสังฆทานแต่ไม่ได้อานิสงฆ์จากบุญกฐินเพราะกฐินเป็นโมฆะ ส่วนพระไม่ได้อะไรเลยนอกจากบาปที่เกิดจากความโลภอยากได้ของเขาและเงิน เป็นพระอย่าสอนโยมในทางที่ผิดมันบาปเป็นโมฆะบุรุษเรียนมากให้รู้อะไรผิดอะไรถูกมั่งอย่าเห็นแก่ลาภปัจจัยมันเป็นการทำลายศาสนา สอนโยมแบบนี้ยังกล้าเป็นพระอยู่อีกเหรอ

  • @choochertwangyenklang4293
    @choochertwangyenklang4293 5 ปีที่แล้ว +5

    ท่านอธิบายถูกแล้ว ในพระไตรปิฎกก็บอกไว้

    • @user-fb8uh5js7h
      @user-fb8uh5js7h 5 ปีที่แล้ว +2

      เล่มไหน?หน้าไหน?ฉบับไหน?

    • @P-Not2787
      @P-Not2787 5 ปีที่แล้ว +2

      ไช่เล้มไหนหน้าไหนฉบับไหนบอกมาสิ

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

    • @user-yd5qx4dr4c
      @user-yd5qx4dr4c 3 ปีที่แล้ว

      ท่านก็เขียนไว้แต่แรกแล้วนะ ว่าหน้าไหน เล่มไหน
      อ่านกันไม่ถึง 8 บรรทัดเอง
      อ่านให้จบก่อน ค่อยมาพิมพ์ ก็ยังทัน

  • @adminnapat7889
    @adminnapat7889 5 ปีที่แล้ว +26

    เอาตามพุทธานุญาติสิในพระวินัยบอกใว้อย่ามั่วนะพระต้องครบห้ารู้มิใช่รึไปนิมนต์จากวัดอื่นมันใช่รึเอามาสวดให้ สวดบอกว่ารูปนี้สมควรรับผ้า ไม่ใด้จำพรรษาด้วยกันจะรู้หรือไม่ว่าควรมิควร ...

    • @user-le9if7jx2l
      @user-le9if7jx2l 5 ปีที่แล้ว +2

      ถูกครับ
      จำนวนสงฆ์ทำสังฆกรรมทั้ง ๔ นั้นคือ
      ๑.จตุวรรค สงฆ์มีจำนวน ๔ รูป ทำสังฆกรรมได้ทุกอย่างยกเว้น ปวารณากรรม กฐิน อุปสมบท และ อัพภานกรรม
      ๒. สังฆปัญจวรรค มีสงฆ์จำนวน ๕ รูป ทำปวารณา ให้ผ้ากฐิน อุปสมบทเฉพาะใน ปัจจันตชนบท
      ๓.สงฆ์ทสวรรค สงฆ์จำนวน๑๐ รูป ทำสังฆกรรมได้ทุกอย่าง เว้น อัพภาน
      ๔.สงฆ์วีสติวรรค สงฆ์จำนวน๒๐ รูป ทำสังฆกรรมได้ทุกอย่าง จนถึงอัพภาพ
      (ตามพระวินัยบัญญัติ ว่าด้วยเรื่อง สังฆกรรม )

    • @kraingkraisreejarung1900
      @kraingkraisreejarung1900 5 ปีที่แล้ว +1

      รูปเดียวเขาเรียกปักต้นกะฐินปักได้แต่รับไม่ได้ต้องมนต์พระมาให้ครบสงฆ์

    • @user-fr6nn5bm4y
      @user-fr6nn5bm4y 5 ปีที่แล้ว +1

      มึงอย่ามั่วลองไปแหกตาดูพระไตรปิฎกใหม่ดูด้วยตาไม่ใช่ดูที่หู

    • @user-sf2le1ij2w
      @user-sf2le1ij2w 4 ปีที่แล้ว

      555..ทุกข์หนอ

    • @jesadalerpoka7554
      @jesadalerpoka7554 4 ปีที่แล้ว +1

      AminNoi napat วัดอื่นมารับผ้ากฐินไม่ได้ครับ แต่มาสวดให้ผ้ากฐินได้ครับ เมื่อมีพระรูปเดียว
      จะไปบอกว่าไม่สมควรรับก็ไม่ได้ เพราะถ้าบอกว่าไม่สมควร จะต้องมีรูปอื่นที่สมควรกว่าอยู่จำพรรษาในวัดนั้นด้วย
      แต่ถ้ามีรูปเดียว ก็ต้องบอกว่าสมควรครับ..

  • @bboy8137
    @bboy8137 ปีที่แล้ว

    วินัยก็บอกชัดเจนแล้ว/ไม่เคยศึกษากันบ้างรึไงคับท่านนักปราช์เสียงใส

  • @bthong100
    @bthong100 4 ปีที่แล้ว +1

    อานิสงค์ผลบุญจากการทอดกฐินน่ะไม่ได้เพราะผิดวินัย แต่พระได้เงินเจตนามันอยากได้เงินมากกว่า อันนี้เขารู้กันทั้งบ้านทั้งเมือง

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

  • @greatwisdom129
    @greatwisdom129 5 ปีที่แล้ว +2

    ถ้าว่าด้วยตามพระวินัยโดยตรง รับไม่ได้ และถ้าทำอย่างนั้นได้ ก็บิดเบือนพระวินัยพุทธบัญญัติครับ

    • @user-jt4re2ue5u
      @user-jt4re2ue5u 4 ปีที่แล้ว

      ไปศึกษา​ให้​ลึกซึ้ง​กว่านี้ครับ​ ก่อนหน้านี้ผมเองก็คิดเหมือนท่าน​

  • @user-eg3cv4zj9n
    @user-eg3cv4zj9n 5 ปีที่แล้ว

    ทอดกฐิน คือความสามัคคีของพระคับ

  • @user-ql5vp9ue8l
    @user-ql5vp9ue8l 4 หลายเดือนก่อน

    อ่าน ตรงวรรคใหนครับว่า ทำได้

  • @bbphonebbphone4115
    @bbphonebbphone4115 3 ปีที่แล้ว

    กฐินกล่าวถึงเรื่องผ้าครับ การที่เขามีจิตตั้งใจที่จะบำรุงพระพุทธศาสนาแล้ว อันเป็นกุศล ก็สมควรที่รับได้องค์เดียว แล้วสงฆ์ครบ5รูปวัดอนิสงฆ์ผิดชอบชั่วดีได้เยอะหรือเปล่า แล้วความว่าหลุดพ้นจะมีไว้เพื่อทำอะไร พระ5รูปสมควรรับมากกว่าพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบงั้นหรือเปล่า ผมจะไม่สนใจในกฏที่บอกว่าอย่างโง้นอย่างงี้เราเอาความจริงและโลกปัจจจุบันมาวัดกันดูดีกว่าพูดไปมันยาว

  • @giggokable
    @giggokable 4 ปีที่แล้ว +1

    รับก็ไม่ได้อย่าได้อย่าว่าแต่เรื่องอนิสงเลยครับ เขาพูดเลี่ยงบาลีเพื่อให้มันรับกะถินได้ก็เท่านั้นเอง

  • @user-hq4rc8yf4y
    @user-hq4rc8yf4y 5 ปีที่แล้ว +7

    ท่านไปศึกษาพระวินัยมาใหม่นะครับ ท่านพูดแบบนี้จะเกิดความวิบัติในพระวินัย
    แล้วคำอุปโลกน์กฐิน เกล่าว่า ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ.........
    ผู้ประกอบด้วยศรัทธา อุตสาหะ ได้พร้อมเพรียงกันนำมาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษาครบถ้วนในไตรมาสนี้ ไม่ใช่ในไตรมาสโน้น จะเอาพระมาสวดจากไตรมาสโน้นไม่ได้ พูดแบบนี้เสียหายมาก

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว +3

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

    • @wittayakaidee9345
      @wittayakaidee9345 3 ปีที่แล้ว +1

      อปโลกน์ ไม่ใช่สังฆกรรม ซักซ้อมเฉยๆ ท่านแสดงธรรมถูกแล้ว

    • @katingphone5466
      @katingphone5466 3 ปีที่แล้ว

      @@wittayakaidee9345 ท่านพูดถูกแล้วคับคนที่บอกผิดต้องไปศึกษาดูใหม่คับ

    • @user-yq6gs4ge2h
      @user-yq6gs4ge2h 9 หลายเดือนก่อน

      ถูกจริงๆๆ

  • @toywek3904
    @toywek3904 5 ปีที่แล้ว

    เพี่อกันไม้ให้พระหมดไปจากวัดจิ่งไห้มีห้าเนี่องจากมีพิทีสัฆกรรมไม้ถึงห้าสังฆกรำมิได้
    แต่ควนให้มีแต่ห้าขึ้นไปจี่งได้อานิสงมาก
    เขกห่างไกกันดานหมดตำบนมีพระสงแค้สององแต่โยมเขามีสัทาก่อถวายเปันกถินแต่ไม้ได้อุปะโลกมีแต่น้อมถวายก่อจบเอาแต่ปัจัยเปันวัถุก่อส้างส่วนผ้ากะถินก่อมีแต่พระสององว่ากันองไดจรับก้อรับไม้ขัดเพราะไม้มีหลายอะนุโลมได้
    แต่องเดียวก่อรับได้เพราะไม้มีองไหนขัดแต่ไห้อทิดถานเปันผ้าป่าหลึบังสกุนเนี่องจากไม้ได้สังคะกำ.

  • @user-hc2eh3cc7n
    @user-hc2eh3cc7n 5 ปีที่แล้ว +1

    อ่านแล้วจกฐินขันธกะ(วินย. 5/96/136)และจืวรขันธกะ(วินย.๕/164/222)

  • @user-tf7gm3pj2v
    @user-tf7gm3pj2v 5 ปีที่แล้ว +1

    พอเถอะ​ครับพอเถอะ​

  • @user-qf4ts3vz8d
    @user-qf4ts3vz8d ปีที่แล้ว

    ดูพระไตรปิฎกเลิมที่ 7..จะได้คำตอบที่ถูกต้อง

  • @nsjcjxjndkcnzmkdkvkmdmcmc1079
    @nsjcjxjndkcnzmkdkvkmdmcmc1079 5 ปีที่แล้ว +1

    ถ้าพระจำพรรษาไม่ครบ.4.ถึงห้ารูปถ้าถวายกฐินก็เป็นกฐินเน่าทุกวันนี้.มีแต่พระวินัยสะดวกทำตามความคิดตัวเอ็งหลวงปู่มั่นท่านยังไม่เคยรับกฐินโยมขอแล้วขออีกท่านก็ไม่อณุญาติท่านกลัวโยมและพระเป็นบาปถ้าทำไม่ถูกต้องก็เป็นเปรต

  • @user-eg3cv4zj9n
    @user-eg3cv4zj9n 5 ปีที่แล้ว +4

    พระรูปเดียวทอดกฐินได้รับได้ แต่กฐินนั้นไม่สำเร็จ

    • @hiqmakham79
      @hiqmakham79 4 ปีที่แล้ว

      รับได้แต่ไม่สำเร็จ..หมายถึงอนิสงย์กฐินโยมหายไปได้ไม่เต็ม...สองพระรับกระฐินแล้วไม่ได้ อานิสงฆ์ เหตุที่ไม่ได้คือทำไม่ถูก..แล้วจะรับทำไม...ตอบ..รับเพื่อปัจจัย ส่วนผ้าช่างมัน...แบบนี้ถูกไม่ครับ

  • @tonystark4345
    @tonystark4345 5 ปีที่แล้ว

    ໃມໄດ້ພະບໍ່ມີເຖີງ 3_4_5ອົງຂື້ນຈີງຈະໄດ້ບໍ່ຄືເກົ່າແນວຊອກຫາເລືອກບໍ່ເອົາໃຫ້ຈົບໂອຍນໍບໍ່ຄືບໍ່ສໍພໍຫຼາຍ

  • @chanal3121
    @chanal3121 3 ปีที่แล้ว +1

    อย่าละเมิดพระธรรมวินัยนะครับเดี๋ยวนรกจะกินหัวพระพุทธเจ้าตัดยังไงก็ต้องทำอย่างนั้น

  • @phibunykhamon6187
    @phibunykhamon6187 2 หลายเดือนก่อน

    มีรูปเดียว
    ก็ไปนิมนต์พระมาอีก4รูป
    (ทุกวันนี้วัดหนึ่งๆจะมีพระ1-2รูป

  • @paranotkahawong8815
    @paranotkahawong8815 4 ปีที่แล้ว +2

    จำให้ดีนะครับ ผ้ากฐินทานนี้ นะครับ ไม่ใช่เงินจำนวนนี้ นะครับ เรามักจะเข้าใจผิด คิดว่า ต้องนำเงินมาทอดกฐิน หรือทอดผ้าป่่า ซึ่งผิดวินัยบัญญัติ ครับ

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

  • @primeprime533
    @primeprime533 5 ปีที่แล้ว +2

    พระ 1 รูป รับกฐินได้แต่ถวายแล้วเป็นผ้าป่า
    พระ4รูปขึ้นไป เป็นชาวพุทธอย่าเถียงกัน ทุกคนมีศีล5

  • @user-jq9zb9re2w
    @user-jq9zb9re2w 4 ปีที่แล้ว +21

    ท่านครับอย่าบิดเบือนพระวินัยเลยครับ อย่าสอนหรือบอกผิดๆๆ อันตรายต่อพระพุทธศาสนาครับ กฐินนั้น จำกัดกาล บุคคล สถานที่ มิใช่หรือครับ

    • @suriyaphikunphonchannel5996
      @suriyaphikunphonchannel5996 3 ปีที่แล้ว +3

      ไช่ครับ

    • @pathomvit1
      @pathomvit1 3 ปีที่แล้ว

      th-cam.com/video/vC9fZWEOXh8/w-d-xo.html

    • @pathomvit1
      @pathomvit1 3 ปีที่แล้ว

      th-cam.com/video/gz2MHUuMTcY/w-d-xo.html

    • @user-of6gq3gr9g
      @user-of6gq3gr9g ปีที่แล้ว

      ไม่ผิดครับ ตามวินัย ที่ว่าห้ารูปถึงได้นั้นเป็นการถือตามๆกันมา มันมีในไตรปิฏก คนเรียนไม่ถึงส่วนใหญ่ขังไว้ในตู้

    • @user-gy3ic6gg7m
      @user-gy3ic6gg7m 11 หลายเดือนก่อน

      พระจำพรรษารูปเดียว นิมนต์พระมาเพิ่ม ๔รูป เรียกพระปูรณะ

  • @user-ed7ub5hj8g
    @user-ed7ub5hj8g 4 ปีที่แล้ว +2

    ปัญหาที่พลาดเยอะทุกวันนี้ส่วนนึ่งก็มากจากการแต่งเพิ่ม​ พระไตรปิฎก​มีเกือบทุกวัด​ ดันไม่อ่าน​ ไปอ่านพวกฉบับย่อ​ ไปอ่านตัวเค้าแต่เสริมแต่งเพิ่ม​ อ่านพระไตรปิฎกดีสุดแล้วยาวหน่อยแต่ละเอียด

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

  • @suriya1820
    @suriya1820 5 ปีที่แล้ว +33

    ถ้าความรู้ไม่แน่นพออย่ามาให้ความรู้โยมเลย มันจะหลงทางจะแสดงธรรมอะไรหัวข้ออะไรต้องมีที่มาที่ไปอ้างอิงนะท่าน

    • @jungjung3533
      @jungjung3533 5 ปีที่แล้ว +2

      มั่วครับ!เสียหมดโยมเค้าใจผิด

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว +5

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว

      #อานิสงส์ของกฐิน
      อานิสงส์กฐินมีทั้งแก่ภิกษุและแก่ทายกผู้ถวาย ดังนี้ :-
      *#อานิสงส์แก่พระภิกษุ
      พระพุทธเจ้าตรัสว่า
      "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาแล้วกรานกฐิน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กรานกฐินแล้วจะได้อานิสงส์ ๕ อย่าง คือ
      ๑. ไป[ที่อื่นจากที่รับนิมนต์]ได้โดยไม่ต้องบอก[ภิกษุอื่นก่อน]
      ๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
      ๓. ฉันคณโภชนะได้
      ๔. ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ
      ๕. พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในวัดนั้น
      ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอผู้กรานกฐินแล้วย่อมได้อานิสงส์ ๕ อย่างนี้"
      อานิสงส์ ๕ อย่าง มีคำอธิบายตามลำดับดังนี้ :-
      ๑. #ไปได้โดยไม่ต้องบอก
      คือ รับนิมนต์ที่ทายกออกชื่อโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งไว้บ้านหนึ่งแล้ว จะไปที่อื่นจากที่รับนิมนต์นั้น โดยไม่ได้บอกพระในวัดก่อนก็ได้ ไม่เป็นอาบัติ (ผ่อนปรนจาริตตสิกขาบท สิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค)
      ๒. #ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
      คือ เก็บจีวรผืนใดผืนหนึ่งไว้ได้โดยไม่ต้องนำจีวรติดตัวไปครบทั้ง ๓ ผืน ไม่ต้องอาบัติ (ผ่อนปรนอุโทสิตสิกขาบท สิกขาบทที่ ๒ แห่งจีวรวรรค)
      ๓. #ฉันคณโภชนะได้
      คือ พระตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ฉันอาหารที่เขานิมนต์โดยออกชื่ออาหาร (เช่น ข้าวเหนียวไก่ย่าง แกงเขียวหวานไก่ เป็นต้น) ได้ ไม่ต้องอาบัติ (ผ่อนปรนคณโภชนสิกขาบท สิกขาบทที่ ๒ แห่งโภชนวรรค)
      ๔. #ทรงอดิเรกจีวรไว้ได้ตามต้องการ
      คือ เก็บอดิเรกจีวร (คือผ้าที่ไม่ได้อธิษฐานหรือวิกัป) ได้เกิน ๑๐ วัน โดยไม่ต้องอาบัติ (ผ่อนปรนกถินสิกขาบท สิกขาบทที่ ๑ แห่งจีวรวรรค)
      ๕. #พวกเธอจะได้จีวรที่เกิดขึ้นในวัดนั้น
      คือ ภิกษุผู้จำพรรษาครบในวัดนั้น จะได้รับส่วนแบ่งผ้าที่เขาถวายสงฆ์ในวัดนั้น ตั้งแต่กรานกฐินแล้วจนถึงกลางเดือน ๔ เท่าๆ กัน (โดยภิกษุพวกอื่นจะไม่ได้รับส่วนแบ่งผ้าด้วย)
      หมายเหตุ : อานิสงส์ทั้ง ๕ ข้อนี้ มีผลไปจนถึงหมดเขตอานิสงส์กฐิน คือ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ หรือจนกว่ากฐินจะเดาะ (กฐินเดาะ คือ ยกเลิกอานิสงส์กฐิน) เท่านั้น
      *#อานิสงส์แก่ทายกผู้ถวาย
      (ผู้ถวายกฐิน จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้)
      กฐินเป็นสังฆทาน คือ ทานที่ถวายแก่พระสงฆ์ พระพุทธองค์ตรัสไว้ในทักขิณาวิภังคสูตร (ม.อุ.) ว่า ในบรรดาทานทั้งหลาย สังฆทาน จัดว่าเป็นทานที่มีผลมาก
      และได้ตรัสถึงอานิสงส์ของทานไว้ในทานานิสังสสูตร (องฺ.ปญฺ.) ว่า
      "ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้ อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
      ๑. ผู้ให้ทานย่อมเป็นที่รักที่พอใจของคนหมู่มาก
      ๒. สัตบุรุษผู้สงบย่อมคบหาผู้ให้ทาน
      ๓. กิตติศัพท์อันงามของผู้ให้ทานย่อมขจรไป
      ๔. ผู้ให้ทานย่อมไม่ห่างเหินจากธรรมของคฤหัสถ์ (คือศีล ๕)
      ๕. ผู้ให้ทานหลังจากตายแล้วย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
      ภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์การให้ทาน ๕ ประการนี้"
      ส่วน #อานิสงส์ของการถวายผ้าแก่พระสงฆ์ มีดังนี้ คือ
      #ถ้าเป็นชาย ย่อมเป็นปัจจัยให้ได้เป็นเอหิภิกษุ คือผู้ที่พระพุทธองค์ทรงอุปสมบทให้ด้วยพระองค์เอง ได้รับผ้าไตรจีวรและบริขารต่างๆ อันสำเร็จด้วยบุญฤทธิ์
      #ถ้าเป็นหญิง ย่อมเป็นเหตุให้ได้เครื่องประดับ ชื่อว่า มหาลดา อันเป็นเครื่องประดับชั้นเลิศมีราคามาก ทั้งยังเป็นเหตุแห่งการได้วรรณสมบัติ (ความถึงพร้อมด้วยผิวพรรณ) ต่างๆ มีความเป็นผู้มีผิวพรรณดังทอง มีผิวปราศจากธุลี (ปราศจากไฝฝ้า) มีรัศมีผ่องใส (ผิวพรรณเปล่งปลั่ง) และมีผิวเกลี้ยงเกลาเป็นต้น (ดู ปิลินทวัจฉเถราปทาน ขุ.อป.) ดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
      วตฺถโท โหติ วณฺณโท
      ผู้ให้ผ้า ชื่อว่า ให้ผิวพรรณ (กินททสูตร สํ.ส.)
      นอกจากอานิสงส์ที่กล่าวไปแล้ว การถวายผ้ากฐินนี้ ยังเป็นสังฆทานที่ได้บุญมากกว่าถวายผ้าเป็นสังฆทานธรรมดา เพราะมีประโยชน์กับคนจำนวนมาก อธิบายว่า เมื่อมีงานกฐินคราวใด ก็เป็นโอกาสให้ผู้ใฝ่บุญจำนวนมากได้ร่วมแรงร่วมใจกัน จัดหาผ้าและสิ่งของต่างๆ มาถวายแก่พระสงฆ์ ได้รับความอิ่มเอิบใจในบุญกุศลกันถ้วนหน้า และได้ชื่อว่า มีส่วนช่วยให้พระสะดวกขึ้น โดยทำให้พระได้รับอานิสงส์ต่างๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
      (เนื้อหาบางส่วนเรียบเรียงและสรุปความจากหนังสือ "กฐิน ตามนัยแห่งพระไตรปิฎก อรรถกถา และฎีกา ของพระมหามงคล วชิโร หรือถ้าจะดูหลักฐานจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาโดยตรงก็ดูได้ในกถินขันธกะ)

    • @katingphone5466
      @katingphone5466 3 ปีที่แล้ว

      @@gobap1 ทุกวันนี้มีการเข้าใจผิดคำว่ากฐินคับที่ท่านพูดถูกต้องคับ

    • @usangi_tabo
      @usangi_tabo 3 ปีที่แล้ว

      @@gobap1 ถ้าจะเอาอรรถกถา ก็ต้องทิ้งบาลีเลยสิ เหมือนเอากฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ไปแย้งรัฐธรรมนูญนั่นแหละ มันทำไม่ได้

  • @teresabonita8484
    @teresabonita8484 3 ปีที่แล้ว +3

    5รูปขึ้นไปรับได้..1รูปรับไม่ได้จบ..อย่าเลี่ยงบาลี..จะตั้งวินัยเป็นศาสดาเองเรอะ

    • @DhammaULike
      @DhammaULike 2 ปีที่แล้ว

      ท่านสอนวินัยมีรายละเอียดมากแต่ในคลิปแค่มาตอบคำถามแก่โยมครับ มีทั้งหมด 6 คลิป ปี 63/64 ปีละ 3 คลิป ลองตามดูได้ครับ
      th-cam.com/video/1giav2Dsoi8/w-d-xo.html
      th-cam.com/video/sPUctoCAHFw/w-d-xo.html

  • @user-ws9iv8ww7b
    @user-ws9iv8ww7b 4 ปีที่แล้ว +4

    พวกท่านที่มาถาม หาที่มาพระไตรปิฎกกรุณาดูใต้คลิปด้วยนะ อย่าถามเพื่อเอาชนะอย่างคนโง่เลย ถามแล้วไปเปิดดูว่ามันจริงหรือไม่....

  • @user-lc1in3dr7j
    @user-lc1in3dr7j ปีที่แล้ว

    ผิดท่านกล่าวผิด กรุณากล่าวให้ถูก ถ้าบวชเณรที่อายุครบบวชและบวชมาให้เนื่องในกฐินได้แต่ถ้าภิกษุจำพรรษาไม่ครบถ้าจะให้ถูกต้องๆทอดเป็นผ้าป่าแต่อานิสงของผ้าเหมือนกฐิน ท่านกรุณาอย่าบิดเบือนพระวินัย

  • @user-pb1sv7pg1x
    @user-pb1sv7pg1x 3 ปีที่แล้ว +1

    โกหกประชาชน โกหกบาบไหมจำพรรษาคือจำพรรษาในอาวาสเดียวกัน พระวินัยอาบัดไปหมดแล้วเดียวนี้

  • @user-fb8uh5js7h
    @user-fb8uh5js7h 5 ปีที่แล้ว

    ดูความหมายของคำและก็สอดข้องกับความจริงด้วย"กฐิน"แปลว่า ไม้สะดึง ที่ใช้ขึงผ้าออกเพื่อจะเย็บ พิจารณาตามเป็นจริง คนเดียวคงไม่สามารถทำได้ต้องประมาณ4-5คน กำลังดี ในหนังสือสารานุกรมพระพุทธศาสนา ประมวลจากพระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หน้า 94 บรรทัด 18 ก็ว่า 5 รูปขึ้นไปจึงรับได้เช่นกัน.

    • @user-jl8gl9md2h
      @user-jl8gl9md2h 5 ปีที่แล้ว +2

      พระเณร เรียนนักธรรมที่แต่งโดย สมเด็จพระมหาสมณเจ้ามาทั้งประเทศ จะเข้าใจผิดเรื่องเรื่องผ้ากฐิน เหตุเพราะ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่งให้ความหมายเอาเองเรื่องรับกฐิน ว่า ต้อง 5 รูปขึ้นไป จึงรับได้ แต่นั่นแต่งเอง ส่วนมาในพระไตรปิฏก พระพุทธองค์ทรงตรัสเองว่ารูปเดียวรับได้น่ะท่าน.

  • @user-md1qn4mw4s
    @user-md1qn4mw4s ปีที่แล้ว

    พระ1รูปหรือสองรูปสามรูป ไม่สามารถรับกฐินได้ ต้องครบองค์5 พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้กระทําตามด้วย บางคนไปเอาพระมาใสเพิ่มครบองค์แล้วรับกฐิน พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน ทํากันตามอําเภอใจ และพระรับกฐินต้องรู้ธรรม8ประการด้วย และครองผ้าต้องรู้ธรรม8ประการมีอะไรบ้าง แล้วบอกให้ครบองค์8ประการ จึงจะครองผ้ากฐินได้ ถ้าไม่รู้มักมีอวค์8 ให้พันษามากหรือน้อยไม่มีสิทธิ์ครองผ้ากฐิน เพราะไม่รู้วินะยพระการรับกฐินผ้าครองบุคคลนั้น ทุกวันนี้ให้แต่เจ้าอาวาสองค์เดียวครองตลอด พระที่มีจีวรขาดปะและเก่าควรครองผ้ากระกฐิน มิใช่เจ้าอาวาสครองตลอดปีมิใช่ ไปสึกษาวินัยพระพุทธเจ้าจะได้หายโว้ และฉลาดกว่าพระ จะไม่ถูกพระหลอกอุปโหลกเอา ที่เห็นๆม่เจ้าอาวาสตลอดปี มีมากมาย

  • @user-tz8po8nj9w
    @user-tz8po8nj9w 3 หลายเดือนก่อน

    พระ​จำพรรษา​5รูป​เท่านั้น​จึงรับ​กฐิน​ได้​นิมนต์​พระวัดอื่นมาสวดไม่ได้

  • @user-yj4xj3nz9y
    @user-yj4xj3nz9y 3 ปีที่แล้ว +1

    องค์เดียวรับไม่ได้ครับ

  • @user-dy3ns2iv2l
    @user-dy3ns2iv2l 3 ปีที่แล้ว

    มีพระดร.บรรยายเรื่องกฐินถึงพระมีสิธิ์ผ้ากฐินต้องห้าพรรษา ในวินัย3เล่มหาไม่พบครับ

  • @user-dm5pr4ng3f
    @user-dm5pr4ng3f 5 ปีที่แล้ว +1

    ศึกษาให้ดี แล้วค่อยพูด ครับท่าน

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว +1

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

  • @user-po2lm6mx1t
    @user-po2lm6mx1t 5 ปีที่แล้ว

    ทำผ้าป่าก็ได้ ไม่จำเป็นต้องกฐิน ถ้ารูปเดียว พระพุทธองไม่ได้บังคับ แต่อนุญาต ทำก็ได้ไม่ทำก็ได้ อยากได้เงินก็หาเงินเยอะๆสิ อยากได้ผ้าก็หามาเยอะๆสิ ก็แค่นั้น

  • @sorapuspunthunon2718
    @sorapuspunthunon2718 2 ปีที่แล้ว +2

    🙏🙏🙏💐🍀💐🍀🏝

  • @nam1tueanjaiton308
    @nam1tueanjaiton308 ปีที่แล้ว

    เวลาพูดเอาไมค์ใกล้ ๆปาก จะได้ยินเสียงชัดเจนหน่อย

  • @bugbrother8534
    @bugbrother8534 4 ปีที่แล้ว +1

    🐃🐂🦏😱🐎ภิกษุจำพรรษาในไตรมาสนั้นไม่ครบ๕รูป เป็นได้แต่ ผ้าป่า เท่านั้น

  • @user-ko4jv2fk2m
    @user-ko4jv2fk2m 3 ปีที่แล้ว

    อันนั้นมันอุปโลกแล้ว

  • @user-yx4ui2nn4w
    @user-yx4ui2nn4w 4 ปีที่แล้ว +1

    คริๆน้องๆวิษณุ

  • @myphone2311
    @myphone2311 5 ปีที่แล้ว +1

    รูปเดียวก็ได้ขอให้มีเงิน

  • @Ohooooooo
    @Ohooooooo 2 ปีที่แล้ว

    กฎกติกาเขามีอยู่ เป็นสงฆ์เขามีระเบียบปฏิบัติของสงฆ์ไทย ไม่ใช่อยู่ๆก็ออกมาพูดเองเออเอง ความเป็นพระจะเป็นพระได้มันต้องมีอุปัชฌาย์บวชให้และต้องอยู่วัดจำพรรษา ไม่ใช่พอบวชแล้วอพยพตัวเองไปอยู่รูปเดียว แอบตั้งสำนักสงฆ์โดยที่มีพระรูปเดียว พระฝ่ายปกครองไม่ควรปล่อยให้มีกรณีเช่นนี้

  • @treepibomo
    @treepibomo 5 ปีที่แล้ว +1

    ถามท่าน ป.อ ประยุทธ จะได้กระจ่าง

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

  • @user-bj1zq5ks1z
    @user-bj1zq5ks1z 4 ปีที่แล้ว +2

    ทำได้แต่เขาไม่นิยม.ผมเป็นพระผมบอกโยมไปเลยว่าไม่ต้องทำถ้าจะทำทำเป็นผ้าป่าดีกว่า..สั้นๆจบ

    • @BankMobile-zv2do
      @BankMobile-zv2do 4 ปีที่แล้ว

      ใช่ถูกต้อง องค์เดียว ไม่ต้องคิดมาก ไม่เอาก็สิ้นเรื่อง ผ้าป่าก็จบ

  • @user-rp8iv2zk3c
    @user-rp8iv2zk3c 5 ปีที่แล้ว

    กี่รูปก็รับไปเถอะไม่ถึง5ก็รับเป็นผ้าป่าไป..อย่าลืมกฐินอานิสงส์อยู่ที่ผ้ากฐินไม่ใช่ที่ปัจจัย

  • @pvpgamerhackerguytv1625
    @pvpgamerhackerguytv1625 4 ปีที่แล้ว

    สนับสนุนความเห็นขอวคุณธงชัย อยู่ยิ่งค่ะ พระพูดแบบนี้ทำให้คนไม่รู้เข้าใตผิดๆ

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

  • @sanpetchsripaingam492
    @sanpetchsripaingam492 5 ปีที่แล้ว +7

    5 รูป จำพรรษาในวัดเดียวกัน ไม่ขาดพรรษา ถึงรับกฐินได้ นอ.ทองย้อย แสงสินชัย ปธ .9 ท่านค้นคว้าอย่างละเอียดแล้ว
    ดูที่ กูเกิล กฐิน นอ.ทองย้อย แสงสินชัย ครับ

    • @tumtumtumtum177
      @tumtumtumtum177 5 ปีที่แล้ว +1

      ศึกษาให้มากๆๆ

    • @user-jl8gl9md2h
      @user-jl8gl9md2h 5 ปีที่แล้ว

      ศึกษาที่มาในพระไตรปิฏก ครับจะชัดขึ้นน่ะครับ.

    • @sanchaichinorot3558
      @sanchaichinorot3558 6 หลายเดือนก่อน +2

      รูป​เดียวไม่ใช่กถิน

  • @user-fb8uh5js7h
    @user-fb8uh5js7h 5 ปีที่แล้ว +3

    อยู่ในพระไตรปิฎกเล่มไหน?ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า รูปเดียวรับกฐินได้?ครับ ข้องใจจริงๆ

    • @user-jl8gl9md2h
      @user-jl8gl9md2h 5 ปีที่แล้ว +1

      เบื้องต้น ท่าน เข้าไปเปิดดูในยูทูฟ ที่จะเชื่อม พระไตรปิฏก พระมหาภาคภูมิ สีลานันโท. จะมีข้อมูลไว้อยู่ หากสนใจ...พอว่างก็เชิญ อย่าเชื่อนะ แต่ ลองไปทำความเข้าใจพระไตรปีฏกเองได้.

  • @chaivichitpm.5429
    @chaivichitpm.5429 5 ปีที่แล้ว +2

    การตอบแบบนี้ผิดอย่างมากท่านอย่าเอาความคิดตังเองมาตัดสินถึงรับก็ไม่เป็นกฐิน เพราะคำว่ากฐินแปลว่าไม้สดึ่งคือไม้ขึงผ้าต้องใช้พระ4รูปจับคนละมุมอีก1รูปเย็บผ้า สอนผิดๆๆแบบนี้คนถึงถือผิดตามบาปมาก

    • @gobap1
      @gobap1  4 ปีที่แล้ว

      หลักฐาน
      #วินิจฉัยเรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียวรับกฐินได้หรือไม่?
      ปัจจุบัน มีชาวพุทธจำนวนมากทั้งที่เป็นภิกษุและฆราวาส เข้าใจว่าจะรับกฐินได้ ต้องมีพระจำพรรษา ๕ รูปขึ้นไป แต่จริงๆ แล้ว เป็นอย่างนั้นหรือไม่? จะยกหลักฐานในเรื่องนี้มาให้ดูบางส่วนดังนี้ :-
      #เรื่องภิกษุจำพรรษารูปเดียว
      สมัยนั้น #ภิกษุรูปหนึ่งอยู่จำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า “พวกเรา #ขอถวายแก่สงฆ์” ต่อมา ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุมี ๔ รูปเป็นอย่างน้อย ชื่อว่าสงฆ์’ แต่เรามีผู้เดียว และคนเหล่านี้ได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ อย่ากระนั้นเลย เราพึงนำจีวรของสงฆ์เหล่านี้ไปกรุงสาวัตถี” แล้วได้นำจีวรเหล่านั้นไปยังกรุงสาวัตถี ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
      พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
      “ภิกษุ #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน
      ภิกษุทั้งหลาย แต่ในกรณีนี้มีภิกษุจำพรรษารูปเดียว คนทั้งหลายในถิ่นนั้นได้ถวายจีวรด้วยกล่าวว่า ‘พวกเราขอถวายแก่สงฆ์’ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตจีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน”
      (วิ.มหา.๕/๓๖๓/๒๐๙-๒๑๐ จีวรขันธกะ)
      หมายเหตุ : ถ้าภิกษุรูปที่จำพรรษารูปเดียวนั้นกรานกฐินไม่ได้ พระองค์ก็ไม่ทรงจำเป็นต้องตรัสว่า "จนถึงคราวเดาะกฐิน" เลย
      #อรรถกถา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอผู้เดียว มีความว่า จีวรเหล่านั้นแม้ที่เธอถือนำไปแล้วในที่อื่น ย่อมเป็นของเธอเท่านั้น, ใครๆ อื่นไม่เป็นใหญ่แห่งจีวรเหล่านั้น. ก็ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้วจึงตรัสคำว่า อิธ ปน เป็นอาทิ เพื่อแสดงว่า แม้ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักเป็นผู้ไม่มีความสงสัยถือเอา
      คำว่า #จีวรเหล่านั้นแก่เธอรูปเดียวจนถึงคราวเดาะกฐิน มีความว่า หากว่า #ได้ภิกษุครบคณะ (เพื่อมาทำสังฆกรรมสวดมอบผ้ากฐิน) กฐินเป็นอันกรานแล้ว จีวรเหล่านั้นเป็นของเธอตลอด ๕ เดือน ถ้าไม่ได้กรานกฐิน ตลอดเดือนจีวรเดือนเดียวเท่านั้น (วิ.อฏฺ.๓/๒๒๐)
      หมายเหตุ : ภิกษุรูปนี้มิได้กรานกฐินด้วยผ้านั้น แต่ได้กรานกฐินมาก่อนแล้ว โดยในเรื่องนี้เป็นการแสดงถึงวิธีการบริหารผ้าของภิกษุผู้ได้อานิสงส์กฐินข้อที่ ๕
      ***ถ้าภิกษุผู้จำพรรษาแรกมี ๔ รูป ๓ รูป ๒ รูป หรือ ๑ รูป ก็พึงทำภิกษุนอกนี้ให้เป็นคณปูรกะแล้วกรานกฐินได้ (คำว่า ภิกษุนอกนี้ หมายถึง ภิกษุผู้ขาดพรรษา ภิกษุผู้จำพรรษาหลัง และภิกษุผู้จำพรรษาในวัดอื่น ที่ท่านได้กล่าวไว้แล้วก่อนหน้านี้) (วิ.อฏฺ.๓/๑๙๒)
      #สรุป
      จากหลักฐานที่ยกมา จะเห็นได้ว่า ภิกษุจำพรรษารูปเดียวก็รับกฐินได้ เพียงแต่ในตอนสวดกรรมวาจามอบผ้า ต้องนิมนต์พระมาสวดมอบผ้ากฐินให้เท่านั้น เพราะการมอบผ้ากฐินเป็นญัตติทุติยกรรม

  • @user-eh4do7yn4g
    @user-eh4do7yn4g 5 ปีที่แล้ว

    คือถ้าภิกษุน้อยไม่ครบสงฆ์ ผ้านั้นไม่เป็นอันกราน

  • @vichaihirunyasuwan2072
    @vichaihirunyasuwan2072 ปีที่แล้ว

    ต้อง 5 รูปถึงรับได้

  • @user-px4qs4kr9l
    @user-px4qs4kr9l 4 ปีที่แล้ว +2

    ท่ามกลางสงฆ์ รูปเดียวเป็นสงฆ์หรือไม่ ตกลงต้องมี 5 รูปหรือมากกว่านั้นถึงจะถูกต้องตามพระธรรมวินัย

  • @supanrakadra2850
    @supanrakadra2850 4 ปีที่แล้ว +1

    หนึ่งรูปไม่ได้แน่นอน เพราะไม่ครบองค์ ถือว่าเป็นผ้าป่า หนึ่งผู้รับต้องมีปติคาหกด้วย..อย่ามั่วไปศึกษามาใหม่

  • @panat2501
    @panat2501 ปีที่แล้ว

    อย่าเลี่ยง บาลี. ครับท่าน
    พระมีผ้าเก่าสุด ใครทราบว่าท่านเก่าจริง (ถ้าอยู่ ต่างวัด)
    อย่า อยากได้ เกิน...
    สันโดด มักน้อยคือพระแท้

  • @user-ke6dy3iw4j
    @user-ke6dy3iw4j 2 ปีที่แล้ว

    ไม่ได้หลอกต้อง4-5รูปขึ้นไป

  • @user-yb4jb2de7g
    @user-yb4jb2de7g 5 ปีที่แล้ว +2

    ไม่ใช่ครับ พระภิกษุ แค่ ๔ รูป ก็รับได้ด้แล้วครับท่านเณรไม่จำเป็นต้อง อฐิฐานพรรษาครับ